เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 50614 เวิ้งนครเขษม เวิ้งนครสนุก
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



 เมื่อ 27 พ.ค. 12, 18:48

เิ้วิ้งนครเขษมน่ะรู้จักครับ แหล่งเครื่องดนตรีระดับตำนานกรุงเทพและของเมืองไทย

แต่เวิ้งนครสนุกนี่สิ กลับหายสูญไป หาข้อมูลยังไม่ได้แม้แต่ตำนานและภาพ?





บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 27 พ.ค. 12, 22:26

ลุงไก่ต้องย้อนรอยไปที่ ร้านข้าวหมูแดง นครสนุก  ยิงฟันยิ้ม สี่แยกวรจักร

ในเวปไทยฟิล์ม ระบุว่า "นครสนุก" มีชื่อจีนว่า "โหล่วเก๋าเกี๊ย" หรือ "หล่อวเก่าเกี้ย"

หากข้อมูลดังที่ว่าก็ลองทำแผนที่ประกอบดูว่า หมายเลข 1 เป็นพื้นที่เวิ้งนาครเกษม และ หมายเลข 2 เป็นเวิ้งมหาสนุก มีโรงหนังมหาสนุก (คงรื้อทิ้งไปแล้ว)

ซึ่งเทียบเท่ากับตลาดคลองถมเลยไปยังแยกเสือป่า ซึ่งคลองถมนี้ถมในสมัยรัชกาลที่ 7 ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 27 พ.ค. 12, 22:30

โรงภาพยนตร์ "นิวนครสนุก" หรือ "นครสนุก" เป็นคนละโรงกับ "เทียนกัวเทียน"
ที่ตั้งเดิมของโรงนี้นั้น ปัจจุบันคือตึกธนาคารทหารไทย ที่อยู่ถัดจากโรงแรม "แกรนด์ไชน่า" บนถนนเยาวราช

ข้อมูลโรงหนังมหาสนุก http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=1966&page=1&keyword=
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 10:08

นาครเขษม หรือ นครเขษม

หนังสือ นิยายที่เหมือนเรื่องจริง ดุ่ย ณ บางน้อย เขียนเล่าไว้ว่า
"สมัยที่เป็นหนุ่มๆ เคยเป็นช่างเสียงตามเวทีละครและงานต่างๆ  ทุกครั้งที่มาจัดเสียงยังโรงละครสองแห่งที่นี้คือ นาครเขษม และ นาครสนุก ก็เลยได้ความรู้จากผู้ใหญ่ว่า  นคร แปลว่า เมือง หรือ จังหวัด  นาคร แปลว่า มนุษย์ที่อยู่ในเมืองนั้นๆ

ฉะนั้น ชื่อที่ถูกต้องคือ มี สระอา ทั้งคู่ คือ เวิ้งนาครเขษม และ โรงละครนาครสนุก"


แต่โรงละครที่กลายมาเป็นโรงหนังก่อนจะถูกรื้อทิ้งไปนั้น ผมจำได้แค่คลับคล้ายคลับคลาแต่เพียงว่าเคยเห็นโรงหนังที่ปิดตัวไปแล้ว มืดๆทึมๆอยู่ในตลาดเวิ้งนาครเขษม

จึงต้องค้นหาข้อมูลนี้ต่ออยู่นานทีเดียว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 10:11

มาเจอที่เสี่ยเจียงแห่งสหมงคลฟิมล์ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับชีวประวัติของตนเองตอนหนึ่ง

" ………..ผมเป็นเด็กในเวิ้งนครเขษม คือตอนนั้นที่เวิ้งมันจะมีโรงหนังอยู่โรงหนึ่งที่ชื่อว่านิยมไทย ผมเป็นเด็กที่เกิดที่ตรงนี้ โตที่ตรงนี้ เมื่อก่อนเราเด็กๆ ก็คือทำหนังสือการ์ตูนให้เช่า พวกดาบกายสิทธิ์ อภินิหาร ก็ไปซื้อเขามาเล่มละ 2 บาท 50 ให้คนอ่านเช่า ก็อ่านตรงนั้น คิดเล่มละ 1 สลึง ตอนนั้น 18 - 19 มั้ง เรียนหนังสืออยู่ เย็นๆ เราก็ มาเปิดร้านหนังสือ แต่ถ้าเสาร์อาทิตย์ก็เปิดเช้าหน่อย
วันที่ 4 สิงหาคม 2489 พรานบูรพ์ เปิดแสดงละครร้องเรื่องพี่ร่วมท้อง น้องร่วมไส้ ที่โรงละครนาครสนุกกรุงเทพฯ นำแสดงโดยเพ็ญแข บุญยเกียรติ มีเพลงทั้งสิ้น 31 เพลงโดยเป็นเพลงไทยสากลแต่งใหม่ 4 เพลงที่เหลือเป็นเพลงไทยเดิม …..”


ถึงตรงนี้ทำให้ได้ทราบว่าโรงหนังที่อยู่ในเวิ้งนาครเขษมนั้นชื่อ นิยมไทย ไม่ได้ตั้งชื่อตามเวิ้งแต่แรก มาเปลี่ยนชื่อเป็นเวิ้งนครเขษมซีนีมาสะโคปตามภาพในภายหลัง ก่อนที่จะปิดตัวไปเนื่องจากเข็นไม่ขึ้น
ส่วนนาครสนุกนั้น จวบจนสมัยสงคราม ยังเป็นโรงละครอยู่  และมาเปลี่ยนเป็นโรงหนังเมื่อภาพยนต์เริ่มพัฒนาขึ้นมาเบียดละครจนตกเวทีไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 10:16

โรงละครนาครสนุกอยู่ที่ไหน ก็ตามที่คุณหนุ่มสยามว่า ต้องตามแกะรอยร้านข้าวหมูแดงนครสนุกไป แต่ก็คงค้างไว้ ผมเลยต้องออกแรงติดตาม  เจอที่คุณ “มิตรภาพไม่รู้จบ” เคยเขียนไว้ในพันทิปว่า

ข้าวหมูแดงนาครสนุก ร้านนี้เป็นรุ่นลูกแล้ว ถ้านับรุ่นพ่อด้วยไม่ต่ำกว่า 60 ปีครับ เดิมขายอยู่ในโรงหนังนครสนุก ตรงข้ามกับร้านข้าวต้มปลาเซียงกี่ครับ

หลายคนคงไม่รู้จักโรงหนังนครสนุก เดิมอยู่ติดกับห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของเมืองไทยคือห้างใต้ฟ้า หลายคนก็ไม่รู้จักห้างใต้ฟ้า ที่ตอนหลังย้ายไปอยู่ที่สายใต้เก่าและปิดตัวไป

ที่ต้องย้ายก็เพราะเอาที่ไปสร้างโรงแรมแกรนด์ไชน่าปริ้นเซส  ร้องอ๋อแล้วสิครับ ตรงสี่แยกราชวงศ์ที่เป็นที่ตั้งของโรงแรมแกรนด์ไชน่าปริ้นเซส เดิมคือห้างใต้ฟ้า ติดกันคือโรงหนังนครสนุก จำได้ว่าเดิมเขียนว่านาครสนุก

พอโรงหนังทุบสร้างตึกแถว ร้านข้าวหมูแดงก็หายสาบสูญไปพักนึง มาเจอก็รุ่นลูกมาขายอยู่ตรง สี่แยกวรจักรแห่งนี้


อ๋อ....(ร้องซะหน่อย)
ในภาพคือสี่แยกราชวงศ์ที่ห้างใต้ฟ้าตั้งอยู่ และเมื่อโรงแรมแกรนด์ไชน่าปริ้นเซสได้ถูกสร้างขึ้นแทนที่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 10:19

คุณ BOBBKK เขียนในthaidvd.netให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า

ร้านนี้ เด็กเมื่อสี่สิบปีที่แล้ว จะนิยมมาก ขายอยู่หน้าโรงหนังนครสนุก เยาวราช วันไหนหนีเรียนมานอนในโรงหนังจะต้องกินข้าวหมูแดงรองท้องก่อน จำได้ว่าสมัยผม จานละ 3 บาท มีต้นหอมใส่จานให้บนโต๊ะ ผมเคยกินต้นหอมหมดจาน กินแต่หัว อาฮุยหันมาค้อนด้วยความเอ็นดู คงนึกในใจ เด็กอะไรน่ารักมาก กินผัก

ยุคนั้น โรงหนังนครสนุก(ชื่อที่เพี้ยนจากเดิมไปแล้ว)  เป็นอีกหนึ่งสถานที่สำหรับเด็กรักดี ที่ขี้เกียจเรียนหนังสือ เพราะฉาย 3 เรื่องควบ หากจะนับกันแล้ว ต้องบอกว่าเป็นต้นฉบับของการฉายหนังที่ไม่ต้องบอกชื่อหนัง ไม่ต้องขึ้นป้ายให้เสียตังค์ โรงหนังอยู่หลังตึกแถว


ผมหาภาพโรงหนังตรงๆไม่ได้ ไม่ทราบว่าที่ตั้งป้ายโฆษณาไว้ในภาพนี้ จะใช่หรือเปล่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 11:26

มีประวัติศาตร์แถมเล็กน้อย

ในเมืองไทยนั้น คนญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่นำภาพยนต์มาฉายเมื่อปลายรัชกาลที่ ๕ คนกรุงเทพเรียกว่าหนังเพราะคุ้นเคยแต่กับหนังตะลุง  ประเดิมด้วยหนังสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซีย ซึ่งคงได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลให้เข้ามาฉาย เป็นการโฆษณาชวนเชื่อในชัยชนะของเขามีต่อชาติมหาอำนาจเก่าแก่แบบช๊อคโลก
 
แต่แรกญี่ปุ่นก็กางกระโจมตั้งเครื่องฉายกลางเวิ้ง(แปลว่าที่โล่งๆ)แถวสะพานเหล็กบน ตกกลางคืนมืดดีแล้วจึงเริ่มฉาย เก็บค่าดูอย่างต่ำคนละสลึง  คนกรุงเทพทั้งไทย จีน แขก  ฝรั่ง แตกตื่นแห่กันไปดูแน่นโรงทุกๆ คืน  เกิดศัพท์ใหม่เรียกว่าหนังญี่ปุ่นที่ทำให้นายหนังตะลุงทั้งหลายต้องสะอื้น

เมื่อเห็นมีคนนิยมชมชอบหนังกันมาก ญี่ปุ่นก็ลงทุนสร้างโรงสังกะสีขึ้น คลุมพื้นดินและม้านั่งยาวๆของเดิมไว้อย่างง่ายๆพอกันฟ้ากันฝน ครั้นดำเนินธุรกิจไปได้สักปีเศษก็เกิดความมั่นใจว่าอนาคตรุ่งแน่  จึงรื้อของเดิมลงแล้วสร้างใหม่เป็นโรงถาวรเลยทีเดียว  แต่โชคร้ายขนาดหนัก พอฉายไปได้เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น ก็เกิดไฟไหม้โรงหนังที่ว่าจนวายวอด ทำเอานายโรงญี่ปุ่นต้องม้วนเสื่อกลับบ้านไปอย่างสิ้นเนื้อประดาตัว

ต่อมาที่ตรงนั้น เจ้าของได้พัฒนาขึ้นเป็นตลาดและตึกแถวที่เรียกว่า"เวิ้งนาครเขษม"  มีการสร้างโรงหนังขึ้นมาด้วย คงจะชื่อ"นิยมไทย"เพราะต้องการจะสื่อว่าไม่ใช่ของญี่ปุ่นนั่นเอง   

สมัยต่อมามีคนนำเอาความคิดของการฉายหนังกลางแปลงแบบที่ญี่ปุ่นมาริเริ่มให้ดูนี้ ไปทำธุรกิจขายตรง ที่ประสพความสำเร็จกลายเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีหลายคนก็มาจากรถเร่ตระเวนไปทั่วทุกหัวระแหง เพื่อฉายหนังแล้วขายยาซองละสลึงซองละบาทนี้แหละ       


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 11:48

คำว่า เวิ้ง หมายถึง ที่ที่เปิดเป็นช่องเข้าไป ภายในกว้าง. คำว่า เกษม เป็นคำภาษาสันสกฤต แปลว่า ความสุขสบาย ภาษาบาลีว่า เขม (อ่านว่า เข-มะ) โบราณเขียนเป็น เขษม (อ่านว่า ขะ -เสม) ก็มี คำว่า นคร แปลว่าเมือง และ นาคร แปลว่าชาวเมือง

ที่ดินที่เป็นเวิ้งนาครเขษมในปัจจุบันนั้น เดิมเป็นที่ที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้ขุดสระขนาดใหญ่ และทำเป็นสวนสำหรับเป็นที่เล่นสนานของคนทั่วไป เรียกว่า วังน้ำทิพย์  ใกล้บริเวณนั้นเป็นที่อยู่ของชุมชนชาวจีนแต้จิ๋ว.  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดังกล่าวให้สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงจัดการดูแล สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระนครสวรรค์วรพินิตทรงเห็นว่าบริเวณนี้มีชุมชนเกิดขึ้นแล้ว จึงได้ถมที่บริเวณวังน้ำทิพย์จนกลายเป็นที่โล่งกว้างใหญ่ ตั้งชื่อว่าเวิ้งนาครเขษม หมายถึงเวิ้งอันเป็นที่รื่นรมย์ของชาวเมือง ต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น เวิ้งนครเกษม.

เวิ้งนาครเขษม ในช่วงหลังจากที่มีการเลิกทาสแล้ว คนที่อยู่ในวังที่พ้นจากการเป็นทาส เมื่อย้ายออกจากวังมักได้รับทรัพย์สินสิ่งของจากนายมาบ้าง บางคนอาจขโมยมาบ้าง ได้นำของมาขายในบริเวณนี้ ชาวตะวันตกก็นำของที่ใช้แล้วมาแลกเปลี่ยน จึงเกิดเป็นตลาดค้าของเก่าขึ้น ต่อมาจึงสร้างเป็นศูนย์การค้าขนาดย่อม และเป็นแห่งแรกที่มีโรงภาพยนตร์ชื่อว่า โรงภาพยนตร์นาครเขษม.

หลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ความนิยมตะวันตกเพิ่มขึ้น กระแสดนตรีตะวันตกก็เพิ่มขึ้นด้วย เวิ้งนครเกษมเป็นแหล่งแรกที่นำเครื่องดนตรีตะวันตกเข้ามาขาย ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีชั้นดี. เวิ้งนาครเขษมจึงเป็นทั้งแหล่งค้าของเก่า เครื่องดนตรี หนังสือเก่า เครื่องทองเหลือง และมีร้านอาหารเกิดขึ้น เป็นที่ที่ชื่อว่ามีของกินอร่อย.

ปัจจุบันที่ดินบริเวณนี้เป็นสมบัติในกองมรดกรวมของตระกูล ๕ ตระกูล คือ กิติยากร (อ่านว่า กิด-ติ-ยา-กอน) สวัสดิวัตน์ (อ่านว่า สะ -หฺวัด-ดิ -วัด) เทวกุล (อ่านว่า เท-วะ -กุน)  โสณกุล (อ่านว่า โส-นะ-กุน) และบุณยะปานะ (อ่านว่า บุน-ยะ -ปา-นะ) ซึ่งสืบสายจากพระธิดาทั้ง ๕ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

ข้อมูลจาก บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 11:53

^


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 18:51

โรงละครนาครสนุกอยู่ที่ไหน ก็ตามที่คุณหนุ่มสยามว่า ต้องตามแกะรอยร้านข้าวหมูแดงนครสนุกไป แต่ก็คงค้างไว้ ผมเลยต้องออกแรงติดตาม  เจอที่คุณ “มิตรภาพไม่รู้จบ” เคยเขียนไว้ในพันทิปว่า

ข้าวหมูแดงนาครสนุก ร้านนี้เป็นรุ่นลูกแล้ว ถ้านับรุ่นพ่อด้วยไม่ต่ำกว่า 60 ปีครับ เดิมขายอยู่ในโรงหนังนครสนุก ตรงข้ามกับร้านข้าวต้มปลาเซียงกี่ครับ

หลายคนคงไม่รู้จักโรงหนังนครสนุก เดิมอยู่ติดกับห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของเมืองไทยคือห้างใต้ฟ้า หลายคนก็ไม่รู้จักห้างใต้ฟ้า ที่ตอนหลังย้ายไปอยู่ที่สายใต้เก่าและปิดตัวไป

ที่ต้องย้ายก็เพราะเอาที่ไปสร้างโรงแรมแกรนด์ไชน่าปริ้นเซส  ร้องอ๋อแล้วสิครับ ตรงสี่แยกราชวงศ์ที่เป็นที่ตั้งของโรงแรมแกรนด์ไชน่าปริ้นเซส เดิมคือห้างใต้ฟ้า ติดกันคือโรงหนังนครสนุก จำได้ว่าเดิมเขียนว่านาครสนุก

พอโรงหนังทุบสร้างตึกแถว ร้านข้าวหมูแดงก็หายสาบสูญไปพักนึง มาเจอก็รุ่นลูกมาขายอยู่ตรง สี่แยกวรจักรแห่งนี้


อ๋อ....(ร้องซะหน่อย)
ในภาพคือสี่แยกราชวงศ์ที่ห้างใต้ฟ้าตั้งอยู่ และเมื่อโรงแรมแกรนด์ไชน่าปริ้นเซสได้ถูกสร้างขึ้นแทนที่

ดูให้ดี ๆ นะครับว่า โรงหนังมหาสนุก อยู่ถนนใด ระหว่างถนนเสือป่า กับ ถนนเยาวราช เนื่องจากห้างใต้ฟ้า ตั้งอยู่หัวมุมถนน หากหันหน้าเข้าตัวอาคาร (ยืนกลางสี่แยกราชวงศ์) ขวามือถนนเสือป่า ซ้ายมือถนนเยาวราช โรงหนังตั้งตรงไหน  ฮืม

ส่วนด้านหลังเป็น "ห้างแมวดำ" ดูจากตราแมวสีดำ Black Cat หรือบริเวณที่ อ. Navarat. C เห็นป้ายไฟโฆณาโรงภาพยนต์ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 19:07

เวิ้งนาครเขษมถ่ายภาพโดยคุณกุ๊ก

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 19:15

สำหรับตำแหน่ง "โรงหนังนิวนครสนุก" นั้นปัจจุบันได้กลายเป็นที่ตั้งของ "ธนาคารทหารไทย สาขาเยาวราช" หันหน้าออกถนนเยาวราช ถัดจากโรงแรมแกรนด์ไชน่า ไปไม่กี่ห้องแถว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 19:20

ภาพโรงหนังนิวนครสนุก พ.ศ. 2499


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 19:32

^



บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง