เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 49367 ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 17:31

ครูมอรันต์ (Robert Morant) นี้  ม.ล.ปิ่น  มาลากุล เล่าไว้ว่า เป็นหลานของฟลอเรนซ์  ไนติงเกล  และเมื่อกลับไปอังกฤษแล้วได้ดำรงตำแหน่งสุดท้ายเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการอังกฤษ

ครูวิกกี้ บอกว่าตำแหน่งสุดท้ายของ "ครูโรฟ" คือ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 21:39

ครูพุ่ม สอนที่โรงเรียนราชกุมาร ร.ศ. ๑๑๕


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 27 พ.ค. 12, 11:35


จากข้อความในตอนต้น  คุณหลวงท่านเล่าไว้ว่า
ครั้นวันที่  ๗  แห่งเดือนมกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๑  อันเป็นปีที่ ๒๕ แห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เวลาเช้าแล้วยามหนึ่ง  จึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จฯ จากพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทไปยังพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แล้วเสด็จฯ ออก
ไปยังโรงพักที่ประทับ  ซึ่งมีนักเรียนเข้าแถวรอรับเสด็จอยู่  นักเรียนถวายคำนับ แล้วกล่าวขับคำ
พรรณนาพระเดชพระคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  จบแล้ว  เสด็จฯ ไปทรงเปิดผ้า
คลุมแผ่นป้ายกระดาษ ซึ่งมีข้อความนามโรงเรียนที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ว่า "โรงเรียนราชกุมาร"
ในขณะนั้น  นักเรียนเปล่งวาจาแสดงความยินดีปรีดาว่า "โห่ฮิ้ว" ขึ้น ๓ ลา ๒ ครั้ง  พิณพาทย์ที่อยู่
ณ หน้าพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทำเพลงสรรสเริญพระบารมี 

จากคำบอกเล่าข้างต้นแสดงว่าพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมารนั้นน่าจะอยู่ตรงข้ามกับอาคารโรงเรียนราชกุมารซึ่งตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก 
ทสงด้านทิศตะวันตกของประตูพิมานไชยศรี  แธนั้น พระตำหยักน่าจะอยู่ที่ด้านหลังศาลาสหทัยสมาคม 
ตรงที่เป็นตึกสำนักงานพระคลังข้างที่ในปัจจุบันหรือไม่?


คุณวีมีท่าทางจะรีบร้อนมาก  เลยสะกดคำผิดพลาดไปหลายแห่ง  ดีว่าพอจะเดาความได้ 

หามิได้ครับ  คุณวีมีสันนิษฐานที่ตั้งของพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกูฎราชกุมาร คลาดเคลื่อนไปแล้วครับ 

ขอเท้าความไปเมื่อครั้งทูลกระหม่อมใหญ่ยังทรงพระเยาว์ ประทับอยู่ที่ตำหนักประธาน
หรือพระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระตำหนักนี้  เดิมรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็น
ที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง
ครั้นเมื่อสมเด็จพระนางสุนันทากุมารีรันต์ สิ้นพระชนม์แล้ว  คงเหลือแต่สมเด็จพระนางเจ้า ๒ พระองค์
ประทับพร้อมด้วยพระราชโอรสพระราชธิดา  ภายหลังสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ
เสด็จฯ ไปประทับที่พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์  ในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระตำหนักนี้จึงเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี
พระตำหนักนี้ ยังคงเหลือสิ่งที่แสดงถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมารหลายสิ่ง ประการหนึ่งคือตราประจำพระองค์สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้น
(ตราจุลมงกุฎขนนก) ที่หน้าบัน  บานกระจกของตู้ ซุ้มประตูเหล็ก ฯลฯ
ตราเหล่านี้เป็นเครื่องแสดงว่า ที่แห่งนี้ เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เมื่อทรงพระเยาว์
พระตำหนักนี้ในในเขตพระราชฐานฝ่ายใน  อนึ่งทราบว่า  พระตำหนักนี้มีสะพานเรือกที่เชื่อมต่อกับ
หมู่พระทั่งจักรีมหาปราสาทด้วย  ต่อมาได้ทำการรื้อลง  เนื่องจากผุพังและไม่ได้ใช้งาน


ส่วนพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ในกาลต่อมา
คือ อาคารที่อยู่ตรงข้ามกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  อาคารนี้ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
ดดยชั้นแรกคงเป็นที่ทำการราชการอยู่ก่อน  (หมู่อาคารที่อยู่ตรงข้ามกับพระที่นั่งจักรีฯ และพระที่นั่งอมรินทรฯ
ได้มีการรื้ออาคารทำการราชการเก่าออกเพื่อสร้างใหม่ ให้มีรูปแบบอาคารรับกับพระที่นั่งจักรีฯ
ถ้าหันหน้าเข้าพระที่นั่งจักรีฯ ตรงปากประตูพิมานไชยศรี  ด้านซ้ายมือ คือศาลาว่าการพระราชวัง
(กระทรวงวัง) ส่วนด้านขวามือ คือ อาคารศาลารัฐมนตรีสภา  ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จ
พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  ภายหลังได้ทรงผ่านพระราชพิธีโสกันต์ เมื่อปี ๒๔๓๓ แล้ว
ทั้งนี้เป็นะรรมเนียมในราชสำนักมาแต่เดิมว่า  พระราชโอรสที่ทรงเจริญวัยและผ่านพระราชพิธีโสกันต์แล้ว
ต้องเสด็จออกไปประทับนอกเขตพระราชฐานชั้นใน  (ส่วนเหตุผลเป็นเพราะอะไร  คงไม่ต้องกล่าวถึง
เพราะเข้าใจซึมทราบกันดีอยู่แล้ว แต่จะอภิปรายขยายกันต่อก็ไม่ว่ากระไร)  อาคารหลังนี้ได้เป็นที่ประทับ
ของทูลกระหม่อมใหญ่มาจนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี ๒๔๓๗  ต่อมาอาคารหลังนี้ก็ได้กลายเป็น
ที่ประชุมรัฐมนตรีสภา  และเป็นเก็ยสิ่งของสำคัญของกรมราชเลขานุการและกระทรวงมุรธาธร

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ อาคารหลังนี้ ได้เคยเป็นที่ทำการกรมพระตำรวจหลวงและห้องเวรชาววัง
จนท้ายที่สุด  อาคารหลังนี้ ได้ใช้เป็นอาคารสำนักราชเลขาธิการ  ดังปรากฏชื่อสำนักที่ด้านหน้าอาคาร
อาคารหลังนี้  มีบันไดทางขึ้นตรงกลางขนาดใหญ่  เมื่อขึ้นที่ชั้นพักจะมีประตูเปิดเข้าสู่ชั้นลอยของอาคาร
ซึ่งเข้าใจว่าเป็นส่วนที่ต่อเติมปรับปรุงขึ้นภายหลัง  เดิมน่าจะเป็นประตูที่เชื่อมต่อกับสะพานเรือกหรือทางเชืื่่อมต่อ
กับโรงเรียนราชกุมาร  ซึ่งอยู่ด้านหลัง  ต่อมาเมื่อ คงรื้อลง และต่อเติมส่วนนนี้เป็นชั้นลอยสำหรับในเป็นที่ทำการ
จากบันใดใหญ่ มีบันแยกขึ้นชั้น ๒ ซ้ายขวา   ชั้นสองนี้เป็นท้องโถงเพดานสูง  ด้านตะวันตกมีบันไดขึ้นไปยัง
ที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช   อาคารหลังนี้ ภายหลังได้ใช้เป้นอาคารทำการ
ของฝ่ายห้องสมุดเฉพาะ  สำนักราชเลขาธิการ   และเรียกชื่อว่า อาคารสำนักราชเลขาธิการเดิม บ้าง
ในปัจจุบันอาคารหลังนี้  (๒๕๕๕) กำลังอยู่ในระหว่างบูรณะซ่อมแซมทั้งหลัง เพื่อใช้ประดยชน์ในการอื่น
ส่วนหน่วยราชการที่เคยปฏิบัติในอาคารดังกล่าวได้ย้ายไปอยู่ที่ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ
ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 

ฉะนั้นคุณวีมีสันนิษฐานมานั้น  จึงไม่ถูกต้องด้วยประการฉะนี้   
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 27 พ.ค. 12, 13:22

จัดแผนที่สิ่งก่อสร้างให้คุณ V_mee จะได้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นครับ


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 08:27

ขอบพระคุณคุณหลวงและคุณ Siamese เป็นอย่างยิ่ง
ทั้งสองท่านได้ช่วยกันไขปริศนาเรื่องพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ที่พระราชฐานชั้นกลางที่เป็นที่สงสังมาช้านานให้กระจ่างชัดขึ้นครับ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 10:57

มารออ่ีาน ด้วยความกระหายรู้ ขอบพระคุณขอรับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 19:04


คุณวีมีท่าทางจะรีบร้อนมาก  เลยสะกดคำผิดพลาดไปหลายแห่ง  ดีว่าพอจะเดาความได้  

หามิได้ครับ  คุณวีมีสันนิษฐานที่ตั้งของพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร คลาดเคลื่อนไปแล้วครับ  

ขอเท้าความไปเมื่อครั้งทูลกระหม่อมใหญ่ยังทรงพระเยาว์ ประทับอยู่ที่ตำหนักประธาน
หรือพระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระตำหนักนี้  เดิมรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้เป็น
ที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง
ครั้นเมื่อสมเด็จพระนางสุนันทากุมารีรัตน์ สิ้นพระชนม์แล้ว  คงเหลือแต่สมเด็จพระนางเจ้า ๒ พระองค์
ประทับพร้อมด้วยพระราชโอรสพระราชธิดา  ภายหลังสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ
เสด็จฯ ไปประทับที่พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์  ในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
พระตำหนักนี้จึงเป็นที่ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี
พระตำหนักนี้ ยังคงเหลือสิ่งที่แสดงถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ
สยามมกุฎราชกุมารหลายสิ่ง ประการหนึ่งคือตราประจำพระองค์สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นั้น
(ตราจุลมงกุฎขนนก) ที่หน้าบัน  บานกระจกของตู้ ซุ้มประตูเหล็ก ฯลฯ
ตราเหล่านี้เป็นเครื่องแสดงว่า ที่แห่งนี้ เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เมื่อทรงพระเยาว์
พระตำหนักนี้ในในเขตพระราชฐานฝ่ายใน  อนึ่งทราบว่า  พระตำหนักนี้มีสะพานเรือกที่เชื่อมต่อกับ
หมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทด้วย  ต่อมาได้รื้อลง  เนื่องจากผุพังและไม่ได้ใช้งาน


ส่วนพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ในกาลต่อมา
คือ อาคารที่อยู่ตรงข้ามกับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  อาคารนี้ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
โดยชั้นแรกคงเป็นที่ทำการราชการอยู่ก่อน  (หมู่อาคารที่อยู่ตรงข้ามกับพระที่นั่งจักรีฯ และพระที่นั่งอมรินทรฯ
ได้มีการรื้ออาคารทำการราชการเก่าออกเพื่อสร้างใหม่ ให้มีรูปแบบอาคารรับกับพระที่นั่งจักรีฯ)
ถ้าหันหน้าเข้าพระที่นั่งจักรีฯ ตรงปากประตูพิมานไชยศรี  ด้านซ้ายมือ คือศาลาว่าการพระราชวัง
(กระทรวงวัง) ส่วนด้านขวามือ คือ อาคารศาลารัฐมนตรีสภา  ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จ
พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ  ภายหลังได้ทรงผ่านพระราชพิธีโสกันต์ เมื่อปี ๒๔๓๓ แล้ว
ทั้งนี้เป็นธรรมเนียมในราชสำนักมาแต่เดิมว่า  พระราชโอรสที่ทรงเจริญวัยและผ่านพระราชพิธีโสกันต์แล้ว
ต้องเสด็จออกไปประทับนอกเขตพระราชฐานชั้นใน  (ส่วนเหตุผลเป็นเพราะอะไร  คงไม่ต้องกล่าวถึง
เพราะเข้าใจซึมทราบกันดีอยู่แล้ว แต่จะอภิปรายขยายกันต่อก็ไม่ว่ากระไร)  อาคารหลังนี้ได้เป็นที่ประทับ
ของทูลกระหม่อมใหญ่มาจนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี ๒๔๓๗  ต่อมาอาคารหลังนี้ก็ได้กลายเป็น
ที่ประชุมรัฐมนตรีสภา  และเป็นคลังที่เก็บสิ่งของสำคัญของกรมราชเลขานุการและกระทรวงมุรธาธร

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ อาคารหลังนี้ ได้เคยเป็นที่ทำการกรมพระตำรวจหลวงและห้องเวรชาววัง
จนท้ายที่สุด  อาคารหลังนี้ ได้ใช้เป็นอาคารสำนักราชเลขาธิการ  ดังปรากฏชื่อสำนักที่ด้านหน้าอาคาร
อาคารหลังนี้  มีบันไดทางขึ้นตรงกลางขนาดใหญ่  เมื่อขึ้นที่ชั้นพักจะมีประตูเปิดเข้าสู่ชั้นลอยของอาคาร
ซึ่งเข้าใจว่าเป็นส่วนที่ต่อเติมปรับปรุงขึ้นภายหลัง  เดิมน่าจะเป็นประตูที่เชื่อมต่อกับสะพานเรือกหรือทางเชื่อมต่อ
กับโรงเรียนราชกุมาร  ซึ่งอยู่ด้านหลัง  ต่อมาเมื่อ คงรื้อลง และต่อเติมส่วนนี้เป็นชั้นลอยสำหรับเป็นที่ทำการ
จากบันไดใหญ่ มีบันไดแยกขึ้นชั้น ๒ ซ้ายขวา   ชั้นสองนี้เป็นท้องโถงเพดานสูง  ด้านตะวันตกมีบันไดขึ้นไปยัง
ที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช   อาคารหลังนี้ ภายหลังได้ใช้เป้นอาคารทำการ
ของฝ่ายห้องสมุดเฉพาะ  สำนักราชเลขาธิการ   และเรียกชื่อว่า อาคารสำนักราชเลขาธิการเดิม
ในปัจจุบันอาคารหลังนี้  (๒๕๕๕) กำลังอยู่ในระหว่างบูรณะซ่อมแซมทั้งหลัง เพื่อใช้ประโยชน์ในการอื่น
ส่วนหน่วยราชการที่เคยปฏิบัติในอาคารดังกล่าวได้ย้ายไปอยู่ที่ศูนย์สารสนเทศ สำนักราชเลขาธิการ
ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม  

ฉะนั้นคุณวีมีสันนิษฐานมานั้น  จึงไม่ถูกต้องด้วยประการฉะนี้  


มาแก้ไข  เนื่องรีบพิมพ์  ทำให้มีที่ผิดพลาดหลายแห่ง   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 19:48

เรายังอยู่ที่โรงเรียนราชกุมาร 

ผมสงสัยเรื่องมิศเตอร์ มอรันต์ (มอแรนต์)  กับ ครูโรฟ เป็นคนเดียวกันจริงหรือ?
เพราะข้อมูลที่ค้นได้ในปี ร,ศ, ๑๑๑ ระบุว่า

คนต่างประเทศรับราชการในกระทรวงธรรมการ มีดังนี้

ครูโรงเรียนสุนันทาลัย  มิศเตอร์ เอม. เอ. คัลเบิดซัน

ครูสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  มิศเตอร์ บิี. เอ. ดักคลัศ

ครูโรงเรียนฝึกหัดอาจาริย์  มิศเตอร์ บี. เอ. ครินดรอด

หมอโรงพยาบาล  ดอกเตอร์ เอม. ดี. เฮส

นักปราชญ์พิพิธภัณฑสถาน  ดอกเตอร์ ฟิ. ดิ. ฮาเซ

ครูสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  มิศเตอร์ เยมส

ครูสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  มิศเตอร์ บี. เอ. ลูวิส

ครูโรงเรียนสุนันทาลัย ดอกเตอร์ ดี. ดี. แมกฟาแลนด์

หมอโรงพยาบาล  ดอกเตอร์ ยอชแมกฟาแลนด์

พระครูสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  มิศเตอร์ เอม. เอ. มอรันต์

ครูโรงเรียนสวนกุหลาบ  มิศเตอร์ โรล์ฟ

ครูโรงเรียนใหม่  บาบู รามสวามี

ครูโรงเรียนศัพทเลข  มิศเตอร์ ซันเดอร์สัน

ครูช่างเขียน  ซิยวร ตรุกี

ครูช่างปั้น  ซิยวร โตรสะเชล

ครูโรงเรียนสวนกุหลาบ  มิศเตอร์ ยัง

 ฮืม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 20:15

พอมาถึงปีรัตนโกสินทรศก ๑๑๒ ข้อมูลที่ได้ระบุว่า

ข้าราชการในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

พระยาเทเวศร์วงษวิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน)
พระอาจาริย์มอแรนต์
เจ้าหมื่นไวยวรนารถ
นายจ่ายง
นายจ่าเรศ บาญชีเงิน

ข้าราชการโรงเรียนราชกุมาร สังกัดกระทรวงวัง

หลวงราชบุตรบำรุง  หัวหน้ามหาดเล็ก  (คนนี้ต่อมา คือ พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์))
มิสเตอร์ เชยมส์  อาจาริย์
มิสเตอร์ เลวิส  อาจาริย์
มิสเตอร์ โรล์ฟ  อาจาริย์
ขุนบำนาญวรวัจน์  อาจาริย์
ขุนบัญญัติวรวาท  อาจาริย์
นายนกยูง  อาจาริย์  (ใช่นายนกยูง ที่แปล "ความพยาบาท" หรือเปล่า?)


ฟากกระทรวงธรรมการให้ข้อมูลว่า

โรงเรียนอังกฤษ  พระตำหนักสวนกุหลาบ

อาจารย์ใหญ่  มิศเตอร์โรลฟ  ยืมไปรับราชการ
เปนอาจารย์โรงเรียนราชกุมาร แทนอาจารย์ใหญ่ มิศเตอร์ยัง

อาจารย์  นายพุ่ม

เอาล่ะสิ  ตกลง  ครูโรฟ  กับครูมอรันต์  เป็นคนคนเดียวกัน หรือเป็นครูคนละคนกันแน่
ช่วยกันอภิปรายกันหน่อยนะครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 20:19

เรายังอยู่ที่โรงเรียนราชกุมาร  

พระครูสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  มิศเตอร์ เอม. เอ. มอรันต์

ครูโรงเรียนสวนกุหลาบ  มิศเตอร์ โรล์ฟ


Robert Laurie Morant น่าจะเป็น อาร์ แอล มอรันต์ มากกว่า เอม. เอ. มอรันต์

ฤๅจะเป็น M.A. = Master of Arts

 ฮืม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 20:54

เรายังอยู่ที่โรงเรียนราชกุมาร  

พระครูสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  มิศเตอร์ เอม. เอ. มอรันต์

ครูโรงเรียนสวนกุหลาบ  มิศเตอร์ โรล์ฟ


Robert Laurie Morant น่าจะเป็น อาร์ แอล มอรันต์ มากกว่า เอม. เอ. มอรันต์

ฤๅจะเป็น M.A. = Master of Arts

 ฮืม


ถูกแล้วครับ   ยิงฟันยิ้ม

เรายังอยู่ที่โรงเรียนราชกุมาร  

ผมสงสัยเรื่องมิศเตอร์ มอรันต์ (มอแรนต์)  กับ ครูโรฟ เป็นคนเดียวกันจริงหรือ?
เพราะข้อมูลที่ค้นได้ในปี ร,ศ, ๑๑๑ ระบุว่า

คนต่างประเทศรับราชการในกระทรวงธรรมการ มีดังนี้

ครูโรงเรียนสุนันทาลัย  มิศเตอร์ คัลเบิดซัน  เอม. เอ.

ครูสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  มิศเตอร์ ดักคลัศ บิี. เอ.

ครูโรงเรียนฝึกหัดอาจาริย์  มิศเตอร์ ครินดรอด บี. เอ.

หมอโรงพยาบาล  ดอกเตอร์ เฮส เอม. ดี.

นักปราชญ์พิพิธภัณฑสถาน  ดอกเตอร์  ฮาเซ ฟิ. ดิ.

ครูสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  มิศเตอร์ เยมส

ครูสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ  มิศเตอร์ ลูวิส บี. เอ.

ครูโรงเรียนสุนันทาลัย ดอกเตอร์  แมกฟาแลนด์ ดี. ดี.

หมอโรงพยาบาล  ดอกเตอร์ ยอชแมกฟาแลนด์

พระครูสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  มิศเตอร์  มอรันต์  เอม. เอ.

ครูโรงเรียนสวนกุหลาบ  มิศเตอร์ โรล์ฟ

ครูโรงเรียนใหม่  บาบู รามสวามี

ครูโรงเรียนศัพทเลข  มิศเตอร์ ซันเดอร์สัน

ครูช่างเขียน  ซิยวร ตรุกี

ครูช่างปั้น  ซิยวร โตรสะเชล

ครูโรงเรียนสวนกุหลาบ  มิศเตอร์ ยัง


คุณเพ็ญฯ ช่างสังเกตดีมากครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 21:20

จากเวปของราชสกุลอาภากร

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นองค์ที่ 28 มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์

การศึกษาเมื่อทรงพระเยาว์

ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกที่โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง สมัยนั้นเป็นสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มจัดการศึกษาในรูปโรงเรียน ทรงเลือกเฟ้นหาครูดีมาถวายพระอักษรแด่พระเจ้าลูกยาเธอทั้งหลาย เช่น พระศรีสุนทรโวหาร หม่อมเจ้าประภากร (พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์  ต้นราชสกุลมาลากุล) พระยาอิศรพันธุ์โสภณ (หม่อมราชวงศ์หนู อิศรางกูร) พระองค์เจ้าอาภากร ศึกษาวิชาภาษาไทยกับ พระยาอิศรพันธุ์โสภณ และศึกษาวิชาภาษาอังกฤษกับ มิสเตอร์ โรเบิร์ต มอแรนต์ ซึ่งเป็นหลานของฟลอเรนซ์ ไนติงเกิล

และทรงเข้าเป็นนักเรียนโรงเรียนหลวง ณ พระตำหนักสวนกุหลาบจนถึง พิธีโสกันต์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2435 ( ร.ศ. 111 )


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 21:29

ยินดีต้อนรับคุณ NAVARAT.C ที่กรุณามาเยี่ยมเยือนกระทู้นี้ครับ  รู้สึกเป็นเกียรติมากครับ ยิ้มกว้างๆ

หลังจากตั้งโรงเรียนราชกุมารแล้ว  ต่อมาไม่นาน ก็มีโรงเรียนราชกุมารีขึ้นในพระบรมมหาราชวังตามมา
ในขณะนั้น เรียกว่า  ศึกษาสถานพิเสศ  โรงเรียนราชกุมารี
พระอาจารย์ใหญ่  พระยาอิศรพันธุ์โสภณ (ม.ร.ว.หนู  อิศรางกูร)
อาจารย์  นายริด
อาจารย์  นายธูป  ปเรียญ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 21:34

ขยับจะเข้าหลายทีแล้วครับ คุณเพ็ญชมพูเฉือนไปก่อนแทบชนกลางอากาศทุกครั้ง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 28 พ.ค. 12, 21:42

พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) บรมครูภาษาไทย

พ.ศ. 2416 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นอาจารย์สอนพระราชวงศ์ที่ยังพระเยาว์ และบุตรหลานข้าราชการ ได้รับพระราชทานเงินเดือน เดือนละ 60 บาท


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 20 คำสั่ง