เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
อ่าน: 49497 ว่าด้วยหนังสือพิมพ์ราชกุมาร
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


 เมื่อ 24 พ.ค. 12, 16:14

มีสหายท่านหนึ่งเพึ่งรู้จักมักจี่กันมินานนัก  ได้สอบถามว่าเคยอ่านหนังสือพิมพ์ราชกุมารหรือไม่

ก็ตอบไปว่า เคยเห็นผ่านตาแต่เป็นสำเนาที่มีคนอื่นคัดมาลงเอาไว้หนังสือเล่มหนึ่ง

สหายท่านร้องว่า  อยากอ่านบ้าง   จึงได้รับปากไปว่า  ถ้าได้ตัวเล่มหรือสำเนาหนังสือนั้นมาก

จะเอามาเล่าในเรือนไทย  แล้วสหายก็กล่าวอนุโมทนา


ณ บัดนี้  ผมได้้หนังสือดังกล่าวมาแล้ว  ก็จะคัดบ้าง เล่าด้วยสำนวนตนเอง ให้สหายและมวลมิตร

ในเรือนไทยได้ทราบพอเป็นตัวอย่างว่า  หนังสือพิมพ์ราชกุมารนี้เป็นฉันใดกันหนอ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 16:32



๐ น่าต้น  หนังสือพิมพ์ราชกุมาร ฯ ะ


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 17:02

๐สิทธิการิยะ  กิร ดังได้สดับมาหนหลังความว่า  เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง
หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง
โรงเรียนราชกุมารขึ้นพระบรมมหาราชวัง  เพื่อเป็นสถานที่สำหรับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
สยามมกุฎราชกุมาร  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ แลหม่อมเจ้าได้ทรงศึกษา
สรรพวิชาความรู้  มีวิชาหนังสือ หนังสือภาษาต่างประเทศ วิชาเลข แลวิชาภูมิศาสตร์ เป็นอาทิ
โดยได้โปรดเกล้าฯ ให้มิศเตอร์มอรันต์ พระอาจารย์แห่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เป็นผู้จัดการ
ก่อตั้งโรงเรียนราชกุมารขึ้นที่อาคารสถานเบื้องหลังแห่งพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

ครั้นวันที่  ๗  แห่งเดือนมกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๑  อันเป็นปีที่ ๒๕ แห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เวลาเช้าแล้วยามหนึ่ง  จึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จฯ จากพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทไปยังพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แล้วเสด็จฯ ออก
ไปยังโรงพักที่ประทับ  ซึ่งมีนักเรียนเข้าแถวรอรับเสด็จอยู่  นักเรียนถวายคำนับ แล้วกล่าวขับคำ
พรรณนาพระเดชพระคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  จบแล้ว  เสด็จฯ ไปทรงเปิดผ้า
คลุมแผ่นป้ายกระดาษ ซึ่งมีข้อความนามโรงเรียนที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ว่า "โรงเรียนราชกุมาร"
ในขณะนั้น  นักเรียนเปล่งวาจาแสดงความยินดีปรีดาว่า "โห่ฮิ้ว" ขึ้น ๓ ลา ๒ ครั้ง  พิณพาทย์ที่อยู่
ณ หน้าพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทำเพลงสรรสเริญพระบารมี  จากนั้น  จึ่งเสด็จฯ เข้า
ในอาคารโรงเรียนราชกุมาร ทอดพระเนตรห้องหับต่างๆ ภายใน  แล้วเสด็จฯ ออกมาพระราชทาน
พระบรมราโชวาทแก่นักเรียนที่เข้าแถวอยู่ ณ ที่นั้น  รายละเอียดพิสดารมีมากครั้นจะเก็บมากล่าวก็เกินแก่เหตุจำเป็น
จึงขอรวบรัดตัดความแต่เท่านี้  ผู้ใดมีแก่ใจจะเอื้อเฟื้อมาเพิ่มภาพหรือข้อมูลอันที่เกี่ยวข้องก็เชิญตามอัธยาศัยนะขอรับ
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 17:20

อาคารทางขวาภาพ คือ ตึกโรงเรียนราชกุมาร  ริมประตูพิมานไชยศรี  ในพระบรมมหาราชวัง
โรงเรียนนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นเป็นสถานที่เล่าเรียนของพระราชโอรสและบุตรหลานข้าราชบริพาร  เมื่อพระราชกุมารทรงจบการศึกษาชั้นต้นและเสด็จไปทรงศึกษาต่อต่างประเทศแล้ว  ได้พระราชทานตึกนี้เป็นที่ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กของกระทรวงมหาดไทย  

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อแรกพระราชทานกำเนิดโรงเรียนมหาดเล็กหลวงในวันที่  ๒๙  ธันวาคม  ๒๔๕๓  ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนมหาดเล็กหลวงเปิดการเล่าเรียนที่โรงเรียนราชกุมารปีกด้านซ้ายติดประตูพิมานไชยศรี  จนถึงวันที่  ๑  มิถุนายน  ๒๔๕๔  จึงได้ย้ายไปอยู่ที่ตั้งปัจจุบันซึ่งในระชกาลที่ ๗ ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า วชิราวุธวิทยาลัย  ส่วนปีกด้านขวาติดกับกระทรวงมหาดไทยที่ศาลาลูกขุนเดิม  คงเป็นที่ตั้งโรงเรียนมหาดเล็กที่โปรดพระราชทานนามใหม่ว่า โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อโรงเรียนนี้ย้ายไปอยู่ที่หอวังแล้ว  จึงได้มีพระบรมราชโองการให้ประดิษฐานเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เมื่อ  ๒๖  มีนาคม  ๒๔๕๙




 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 17:31

รายละเอียดการเปิดโรงเรียนราชกุมาร ขอเชิญอ่านได้จาก ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙ หน้า ๓๘๑ - ๓๘๓


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 17:39

เมื่อโรงเรียนราชกุมารเปิดดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง  สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
พระเจ้าลูกยาเธอ แลหม่อมเจ้าที่ทรงเป็นทรงเรียนในขณะนั้น ได้มีพระดำริร่วมกัน
ที่จะออกหนังสือพิมพ์ชื่อ หนังสือพิมพ์ราชกุมาร  หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ เริ่มออก
แบับแรกเมื่อวันที่เท่าไรนั้นไม่ทราบได้  แต่คงตกในช่วงเดือนใดเดือนหนึ่งของปี ร.ศ. ๑๑๒
หรือมิเช่นนั้นก็อาจจะออกมาตั้งแต่ปีร,ศ, ๑๑๑  น่าเสียดายที่หนังสือพิมพ์ราชกุมารอายุสั้น
เนื่องจากมีอุบัติเหตุบางประการทำให้ต้องยุติการออกไป  อุบัติเหตุที่ว่านั้น คือ
(โปรดพิจารณาเอกสารด้านล่างประกอบ)v
v
v
v
v
v
v
(ขออภัย  เนื่องจากเกิดเหตุขัดข้องบางประการทำให้ไม่สามารถขึ้นรูปได้
ผู้ใดมีความกระตือรือร้น  กรุณาหาดูภาพเอาเอง)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 17:48

คุณกรุ่มเล่าว่า "หนังสือพิมพ์ราชกุมาร" เจ้านายที่ทรงเรียนโรงเรียนราชกุมาร ในพระบรมมหาราชวัง ทรงช่วยกันเขียน (และเป็น บรรณาธิการ - แม่แวร ) ออกอยู่ได้ไม่นาน ก็เลิกไป เพราะเครื่องพิมพ์เสีย ดังเอกสารแจ้ง ........ หนังสือพิมพ์นี้เป็นหนังสือสำคัญ เพราะเจ้านายหลายพระองค์ ทรงนิพนธ์เรื่องต่างๆ มาลงไว้ (น่าจะเป็นเรื่องนิทานทรงแต่ง สมัยยังทรงพระเยาว์ และอาจจะเป็นข่าวในพระราชสำนักสำหรับเจ้านายทีทรงพระเยาว์ เป็นต้น - อันนี้ คุณกรุ่ม ก็สันนิษฐานเอา ไม่ทราบท่านถามเจ้าคุณปู่หรือไม่ ) ท่านใดมีเอกสารนี้อยู่บ้างไหมครับ?



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 18:02

ต่อไปนี้  จะได้เล่าเนื้อความที่มาของหนังสือพิมพ์ราชกุมารต่อไป
ซึ่งได้มาจากหนังสือที่คุณหรรษา หงสกุล ได้จัดพิมพ์ฉลองพระเดชพระคุณเจ้าคุณตา
มหาเสวกตรี พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์) ในงานพระราชทานเพลิงศพ
เมื่อปี ๒๔๘๕  หนังสือนั้นใช้ชื่อเรื่องว่า รวมเรื่องเด็ก  ของ นิด  อุดมศักดิ์

คุณหรรษา  หงสกุล หรือหรรษา  บัณฑิตย์ เป็นธิดาของพระพี่เลี้ยงหวน  อนุภาณสิศยานุสรรค์
กับหลวงอนุภาณสิศยานุสรรค์ (เรื่อ  หงสกุล)  เป็นหลานสาวของท่านเจ้าคุณสุรนันทน์ฯ
คุณหรรษาได้ประกอบอาชีพเป็นครู  และเพิ่งแก่กรรมไปไม่กี่ปีมานี้  (หนังสืองานศพปกสีส้มสวยงาม
พิมพ์งานเขียนของคุณหรรษา ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็ก นักเรียน และตัวเธอเอง)

เป็นไปได้ว่า  ท่านอาจจะเป็นเก็บหนังสือพิมพ์ราชกุมารของเจ้าคุณตาไว้

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 19:08

รูป มหาเสวกตรี พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม สุรนันทน์) ถ่ายเมื่อยังเป็นพระยาบำรุงราชบริพาร (ภาพนี้ท่านมอบให้พระพี่เลี้ยงหวน อนุภาณศิษยานุสรรค์ บุตรีของท่าน)


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 21:18

โรงเรียนราชกุมาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงจ้างครูใหญ่ชาวอังกฤษ ชื่อ "มิสเตอร์มอรันต์" มาสอนแก่พระโอรส ท่านได้แต่งตำราเพื่อใช้ในการศึกษา มีชื่อว่า "หนังสือบันไดอังกฤษ"
และมีครูสอนอีกท่านคือ "มิสเตอร์เจมส์"

ภาพแพรแถมเข็มโรงเรียนราชกุมาร (ภาพจากเวป)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 21:52

เหรียญหรือเข็มหนอ

เหรียญโรงเรียนราชกุมาร พ.ศ. ๒๔๓๕ (ร.ศ.๑๑๑) ค่ะ



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 16:19

ในการเรียนการสอนของครูมอรันต์ (Robert Morant) ได้นำความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นของแปลกใหม่มาให้พระโอรสได้เรียนรู้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การเขีนยจดหมายระหว่างกัน มีการสร้างดวงตราสำหรับปิดจดหมายขึ้นใช้งานด้วย เป็นการพิมพ์บนกระดาษ ไม่มีการปรุ แต่ใช้วิธีการตัดด้วยกรรไกร หน้าดวงมีราคา ๑ เสี้ยว ๑ ซีก และ ๑ อัฐ และมีการสร้างตราประทับ "RAJAKUMAR POST BANGKOK SIAM" ไว้สำหรับขีดฆ่าดวงตราที่ใช้งานแล้ว ซึ่งก็นับได้ว่าครูมอรันต์ ได้นำความรู้ด้านไปรษณีย์มาจากอังกฤษและถ่ายทอดให้พระโอรสได้ทดลองใช้กัน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 16:35

ต่อมาได้จัดทำดวงตราที่สวยงามขึ้นเพื่อใช้กันอย่างจริงจัง ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยใช้การพิมพ์บนกระดาษกาว เป็นภาพถ่ายและพิมพ์บนกระดาษเจาะรู ประกอบด้วยภาพเจ้านาย ๑๐ พระองค์


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 16:57

ครูมอรันต์ (Robert Morant) นี้  ม.ล.ปิ่น  มาลากุล เล่าไว้ว่า เป็นหลานของฟลอเรนซ์  ไนติงเกล  และเมื่อกลับไปอังกฤษแล้วได้ดำรงตำแหน่งสุดท้ายเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการอังกฤษ

จากข้อความในตอนต้น  คุณหลวงท่านเล่าไว้ว่า
ครั้นวันที่  ๗  แห่งเดือนมกราคม รัตนโกสินทรศก ๑๑๑  อันเป็นปีที่ ๒๕ แห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เวลาเช้าแล้วยามหนึ่ง  จึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้เสด็จฯ จากพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทไปยังพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช แล้วเสด็จฯ ออก
ไปยังโรงพักที่ประทับ  ซึ่งมีนักเรียนเข้าแถวรอรับเสด็จอยู่  นักเรียนถวายคำนับ แล้วกล่าวขับคำ
พรรณนาพระเดชพระคุณแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  จบแล้ว  เสด็จฯ ไปทรงเปิดผ้า
คลุมแผ่นป้ายกระดาษ ซึ่งมีข้อความนามโรงเรียนที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ว่า "โรงเรียนราชกุมาร"
ในขณะนั้น  นักเรียนเปล่งวาจาแสดงความยินดีปรีดาว่า "โห่ฮิ้ว" ขึ้น ๓ ลา ๒ ครั้ง  พิณพาทย์ที่อยู่
ณ หน้าพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทำเพลงสรรสเริญพระบารมี 

จากคำบอกเล่าข้างต้นแสดงว่าพระตำหนักสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมารนั้นน่าจะอยู่ตรงข้ามกับอาคารโรงเรียนราชกุมารซึ่งตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก  ทสงด้านทิศตะวันตกของประตูพิมานไชยศรี  แธนั้น พระตำหยักน่าจะอยู่ที่ด้านหลังศาลาสหทัยสมาคม  ตรงที่เป็นตึกสำนักงานพระคลังข้างที่ในปัจจุบันหรือไม่?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 17:21

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดตั้ง “โรงเรียนราชกุมาร” ขึ้น ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยว่าจ้างนายโรเบิร์ต โมรันต์ (Mr. Robert Morant) ชาวอังกฤษ แต่งตั้งให้เป็นอาจารย์ใหญ่ทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษให้แก่พระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ และนักเรียนมักเรียกสั้น ๆ ว่า “ครูโรฟ” ในการเรียนการสอน ครูโรฟได้ใช้แสตมป์เป็นสื่อการเรียนการสอน โดยสอนให้มีการเขียนจดหมายส่งถึงกันและกัน หรือจะส่งถึงครูโรฟก็ได้

ครูโรฟได้ออกแบบแสตมป์ออกมา ๑ ชุด เรียกว่า “แสตมป์ชุดราชกุมาร” มีราคา ๑ อัฐ, ๑ เสี้ยว และ ๑ ซีก ขึ้นมาในเวลานั้น เพื่อใช้ติดเป็นค่าฝากส่งของจดหมาย และประทับตราของโรงเรียนเป็นภาษาอังกฤษว่า “RAJAKUMAR POST BANGKOK SIAM”

ส่วนแสตมป์อีกชุดหนึ่ง เรียกว่า “แสตมป์ชุดราชสำนัก” หรือ “แสตมป์ชุดเจ้านาย” สันนิษฐานว่าเป็นแสตมป์อีกชุดหนึ่งที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนของโรงเรียนราชกุมารในช่วงนั้น แสตมป์ชุดนี้ไม่ระบุราคา มี ๑๐ ดวง เป็นภาพของรัชกาลที่ ๕ และพระบรมวงศานุวงศ์ แสตมป์ทั้งสองชุดในปัจจุบันหาดูได้ยากและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องและภาพจาก หนังสือคู่มือแสดมป์ไทย ฉบับสมบูรณ์ ๒๕๕๑ ฉลอง ๑๒๕ ปี ไปรษณีย์ไทย

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 20 คำสั่ง