เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 15200 ดูละครเรื่องขุนศึกแล้วสงสัยเรื่องภาษาที่ใช้ครับ
zeffier
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


 เมื่อ 22 พ.ค. 12, 23:27

ไปสะกิดใจอยู่ 2 คำครับ คำว่า น้ำมะหน้า กับ ขอบน้ำใจ คนโบราณเขาพูดกันอย่างนี้จริงๆหรือครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 08:48

๑. น้ำมะหน้า มีคำไทยอยู่หลายคำที่แม้นมิใช่คำสมาส แต่คนไทยมักติดการอ่านแบบคำสมาสคือออกเสียง "อะ" ที่ท้ายของคำหน้า เช่นผลไม้ (ผน-ละ-ไม้), พลเรือน (พน-ละ-เรือน), กรมท่า (กรม-มะ-ท่า)  

จึงเป็นได้ว่าสมัยอยุธยาอาจออกเสียง น้ำหน้า เป็น น้าม-มะ-หน้า (หรืออาจเป็น นั้ม-มะ-หน้า) เช่นเดียวกับสมัยรัตนโกสินทร์ออกเสียงน้ำเน็ด (lemonade) เป็น น้าม-มะ-เน็ด นั่นแล

๒. ขอบน้ำใจ รอยอินท่านอธิบายไว้ดังนี้

ขอบ ๑  น. ริมรอบ เช่น ขอบโต๊ะ, ริมที่ยกให้สูงขึ้นโดยรอบ เช่น ขอบสระ ขอบถนน.

ขอบ ๒ ก. ทดแทน, ตอบ, รับ, เช่น ขอบแต่ขอมสักตั้ง. (ตะเลงพ่าย), ภายในสองนางขอบ, ธขอบคําความมนตรี. (ลอ).
 
ขอบใจ  คํากล่าวแสดงความรู้สึกพอใจในความดีที่ผู้อื่นได้มีต่อตน (เป็นคําที่ผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย).


ในลิลิตพระลอ วรรณคดีสมัยอยุธยาไม่พบการใช้คำว่า "ขอบน้ำใจ" พบแต่ "ขอบใจ"

ร่าย

ชมข่าวสองพี่น้อง ต้องหฤทัยจอมราช พระบาทให้รางวัล ปันเสื้อผ้าสนอบ ขอบใจสูเอาข่าว  มากล่าวต้องติดใจ บารนี


ถึงไม่พบตัวอย่างการใช้ แต่ก็ยังสรุปไม่ได้ว่าไม่มีการใช้

ขอบน้ำใจ ก็ฟังดูโบราณและไพเราะดี

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 17:47

      พันทิป ห้องเฉลิมไทยเย็นนี้มีกระทู้ "ขอบน้ำใจ" ซึ่งอ้างถึงกระทู้นี้ของเรือนไทย

http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A12135209/A12135209.html

ลิลิตพระลอ

        ๓๒๒ ข้ากระใดอยู่เฝ้า บอกข่าวพระลอเจ้า
สู่สร้อยสวนขวัญ ฯ

๓๒๓ ชวนกันไปนั่งไหว้ เชิญบพิตรท่านไท้
พระพาสเหล้นอุทยาน ฯ

๓๒๔ ภูบาลบานหน้าไท้ ชมดอกไม้ต้นไม้
ลูกไม้พอใจ บารนี ฯ

๓๒๕ เสด็จดูในแหล่งหล้า แย้มโอษฐ์ปราไสอ้า
ขอบน้ำใจสู บารนี ฯ

๓๒๖ สวนใครหนอใคร่รู้ สวนสมเด็จท้าวชู้
ท่านแล้พระทอง ฯ

๓๒๗ จึ่งจำนองโคลงอ้าง ถวายแด่บพิตรเจ้าช้าง
ท่านผู้มีบุญ แลนา ฯ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 18:12

คุณ SILA รวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม


บันทึกการเข้า
tnu
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 13:05

คุณ SILA รวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม

อาจารย์เทาชมพู ครับ เผอิญ ผมไปเจอคำอธิบายนี้มา ที่ dek-d.com เลยสงสัย ครับ ว่า มันมีความหมายเช่นนั้นด้วยหรือไร



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 21:03

ขอโทษ ตอบผิดค่ะ
ขอแก้ไขใหม่ ด้วยการยกมาจากเรื่องกามนิตทั้งย้อหน้า

         สำหรับผู้ที่จะให้ลืมความโทมนัสแสนสาหัส ที่เผาผลาญดวงใจอย่างเช่นข้าพเจ้านี้ เมื่อมีนางงามนำถ้วยทองอันเต็มปริ่มด้ยสุธารสความบันเทิง มาฉอเลาะรออยู่ที่ริมฝีปากแล้ว ไฉนจะไม่ดื่มโดยยินดีเล่า? อาศัยที่ข้าพเจ้ามีปฏิภาณทันใจ มีความรู้ในศิลปวิทยารู้จักการเล่นอันสมควรแก่การสมาคมทุกอย่าง นางคณิกาที่ลื่อชื่อจึ่งต้อนรับข้าพเจ้าเป็นแขกพิเศษ นางคนหนึ่งหลงใหลรักใคร่ข้าพเจ้ามาก เลยหยิ่งถึงทะเลาะกับเจ้านายองค์หนึ่งเพราะเรื่องข้าพเจ้า และเพราะได้เรียนรู้ภาษามารยาทโจรมาแล้วเป็นอย่างดี ข้าพเจ้าจึงคบหาสมาคมกับนางคณิกาชั้นต่ำด้วยอีกพวกหนึ่ง ถึงแม้ว่าความเป็นไปของพวกชั้นนี้จะเป็นชนิดที่เลวทราม ข้าพเจ้าก็ตีตนสนิทมิได้รังเกียจ จนนางพวกเหล่านั้น มีหลายคนที่ภักดีต่อข้าพเจ้าอย่างสุดชีวิตจิตใจ

          ดูก่อน ท่านอาคันตุกะ ข้าพเจ้าเปลี่ยนความประพฤติ ไปหมกมุ่นอยู่ด้วยความสนุกอย่างนี้ ที่ในเมืองข้าพเจ้าอย่างรวดเร็ว เท่ากับพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เลยมีคำพูดติดปากชาวอุชเชนีว่า "รวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม" ฉะนี้

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 21:41

Desiring to drown the grief that was eating away my life, the golden cup of pleasure, filled to the brim with its intoxicating Lethe draughts of f orgetfulness, was freely — nay, prodigally — raised to my lips by the fair hands of this joyous sisterhood. Owing to my many talents and wide knowledge of the fine arts, and not less of all social games, I became a favoured guest of the great courtesans. In fact there was even one, whose favour could scarcely be measured by gold, who fell so passionately in love with me that she quarrelled with a prince on my account. On the other hand, owing to my complete mastery of the robbers' dialect, I was soon on confidential terms with the girls of the low streets, whose company on the path of a coarser and more robust type of pleasure I by no means despised, and of whom several were heart and soul devoted to me.

Thus madly did I dive deep down into the rushing whirl of the pleasures of my native city, and it became, O stranger, a proverbial saying in Ujjeni: "As fast as young Kamanita."

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
tnu
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 22:51

ฉะนี้ นี่เอง...ขอบพระคุณครับ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 23:00

ขออภัยคุณ SILA
ตอนเอ่ยถึงสำนวนนี้ ไม่ได้คิดว่าคุณ SILA จะเหมือนกามนิตในตอนนี้แม้แต่น้อย   คิดแค่เปรียบเทียบความรวดเร็วเท่านั้นค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 09:06

คุณศิลาเหมาะกับคำว่า

"เชี่ยวชาญเหมือนมาณพกามนิต"

So that it became, my friend, a proverbial saying in Ujjeni: "Talented as the young Kamanita."

ดูก่อน ท่านอาคันตุกะ อันวิชาความรู้ของข้าพเจ้านั้น เป็นที่พูดกันติดปากของประชาชนชาวอุชเชนีว่า "เชี่ยวชาญเหมือนมาณพกามนิตทีเดียว"
 
ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 09:31

          ความจริงแล้วตำแหน่งเจ้าแห่งความรวดเร็วแห่งเรือนไทยนี้คือ คุณเพ็ญชมพู ครับ

          ชอบกระทู้นี้ตรงที่ เริ่มด้วย ขุนศึก แล้วย้อนไป พระลอ และต่อด้วย กามนิต วาสิฎฐี ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 09:53

^
ขอมอบเพลงยาวถวายโอวาทของสุนทรภู่ ให้คุณ SILA เป็นอันดับต่อไปค่ะ

อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก
แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย
เจ็บจนตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจ

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 14:02

อ้างถึง
เริ่มด้วย ขุนศึก แล้วย้อนไป พระลอ และต่อด้วย กามนิต วาสิฎฐี

^ ตอนนี้มี สุนทรภู่ ตามมา  ยิ้ม

               นอกจาก ขอบน้ำใจ และ สมน้ำมะหน้า แล้วยังมีอีกหนึ่งคำที่สะดุดหู
นั่นคือ คำว่า กระไร ที่ตัวละครพูดแทนคำว่า อะไร ครับ

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

กระไร       ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร,
                อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี,
                เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก,
                ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 14:19

ขอเชิญคุณ SILA ไปแอบฟังท้าวชัยเสนรำพึงถึงมัทนา ใน "มัทนะพาธา" พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

โอ้โอ๋กระไรเลย               บมิเคยณก่อนกาล

พอเห็นก็ทราบส้าน           ฤดิรักบหักหาย

ยิ่งยลวะนิดา                  ละก็ยิ่งจะร้อนคล้าย

เพลิงรุมประชุมภาย          ณ อุราบลาลด
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 14:40

พ่อศิลาลองพิมพ์คำว่า "กระไร" ในหน้า "ค้นหา" จะเห็นว่าชาวเรือนไทยใช้คำนี้เป็นปรกติ  (หากแต่ใช้สนทนาจริง ๆ แล้ว "กระไร" อาจไม่ปรกติ)

แลพ่อศิลาสังเกตไหมว่าชาวอยุธยาแห่ง "ขุนศึก" พูดคำว่า "ฉัน" ชัดทุกคน ไม่พูดเหน่อว่า "ชั้น" เหมือนคนกรุงเทพเดี๋ยวนี้

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง