เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 69695 เล่าเรื่องฆ่าการล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดา
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 22:00

เมื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มขึ้นอย่างขนานใหญ่  วันที่ 9 เมษายน  UN ส่งทหารประมาณพันนายพร้อมอาวุธครบมืออย่างดีเข้ามาในรวันดา แต่ภารกิจของทหารเหล่านี้คือมาเพื่ออพยพชาวต่างชาติรวมทั้งนักข่าวออกจากรวันดาเท่านั้น ไม่ได้มีภารกิจในการช่วยเหลือกองกำลังรักษาสันติภาพของ UN ที่อยู่ในรวันดาก่อนหน้า ดังนั้นจึงไม่มีกองกำลังหรือการแทรกแทรงจาก UN เพื่อหยุดยั้งการฆ่าครั้งนี้

พวกทหารบ้านฮูตูจะใช้มีดเป็นอาวุธหลักในการฆ่า  ในขณะที่วิทยุก็ออกอากาสปลุกปั่นให้มีการฆ่า บังคับให้ชาวฮูตูออกมาฆ่าชาวทุตซี่มากๆ  ชาวฮูตูคนใดที่ลังเลหรือไม่ยอมปฏบัติตามก็จะถูกถือว่าเป็นผู้ทรยศและถูกฆ่าด้วย  กองกำลังชาวฮูตูทำการปิดถนนตามที่ต่างๆ ส่งผลให้การอพยพหลบหนีเป็นไปอย่างยากลำบาก  มีการติดตามตามค้นหาและฆ่าอย่างเป็นระบบทีละพื้นที่  ฝูงชนจำนวนมากพากันอพยพหลบซ่อน โดยเฉพาะตามโบสถ์  แต่ก็ไม่สามารถรอดพ้นการฆ่าไปได้  ในกรุงคิกาลีเอง ชาวทุตซี่หลายพันคนอพยพไปที่โรงเรียนเทคนิค École Technique Officielle ซึ่งทหารเบลเยี่ยมกองกำลังรักษาสันติภาพใช้เป็นฐานทัพ แต่เมื่อกองกำลังเบลเยี่ยมถอนตัวในวันที่ 11 เมษายน ผู้อพยพทั้งหมดถูกสังหาร


การฆ่าดำเนินไปเป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ไม่มีใครรู้ยอดจำนวนผู้เสียชีวิตที่แน่นอน  มีการประมาณการผู้เสียชีวิตประมาณ 8 แสน ถึงหนึ่งล้านคน  นับว่าเร็วกว่าที่เยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้ในการกำจัดชาวยิวเสียอีก  เอกสารอย่างเป็นทางการของรัฐบาลรวันดาในภายหลัง ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,174,000 คน ในระยะเวลา 100 วัน จากประชากรทั้งประเทศ 7 ล้าน 3 แสนคน  เฉลี่ยแล้วตายวันละ 10,000 คน หรือ 400 คนทุกชั่วโมง หรือ 7 คนทุกหนึ่งนาที   ประมาณ 10% ของผู้เสียชีวิตเป็นชาวฮูตูเอง  มีผู้รอดชีวิตชาวทุตซี่หลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ประมาณสามแสนคน ผู้รอดชีวิตที่เป็นหญิงจำนวนมากถูกข่มขืน และติดเชื้อ HIV
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 22:49

อยากจะหาภาพประกอบมาให้เหมือนกระทู้อื่นๆ   แต่พออ่านคำบรรยายแล้ว  หาไม่ลงจริงๆ   มันสยดสยองเกินกว่าจะอยากเห็นค่ะ
เรื่องนี้เข้าใจว่า UN ถูกตำหนิไปเสียพอแรง ที่เป็นเสือกระดาษไม่ทำอะไรเลย  หรือทำไม่ได้ก็ไม่ทราบ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 23:33

ภาพประกอบที่โหดๆ ผมก็ละไว้ไม่เอามาลงเหมือนกันครับ เลยลงแต่ภาพบุคคล ภาพโรงแรมแทน เพราะถ้าหาในอิทรเนตร ภาพประกอบจำนวนมากโดยเฉพาะพวกเว็บรวมภาพโหดๆ เป็นภาพศพที่ดูแล้วน่าเศร้า  ทั้งลูกเด็กเล็กแดง  มีคลิปภาพข่าวเปิดดูได้หน่อยนึงเป็นภาพคนเงื้อมีดฟันๆ ผมก็ต้องปิดแล้ว  สู้ดูภาพเลดี้กาก้าไม่ได้เลย อันนั้นดูแล้วครึ้มอกครึ้มใจกว่าเยอะ  ส่วนในกระทู้ตรงที่โหดๆ เรื่องการฆ่ากันเลยจงใจละภาพไว้ดีครับ  ใครอยากดูต้องไปหาเอง

หนังเรื่องโฮเตลรวันดานี่ก็เพิ่งกัดฟันดูจนจบวันนี้เอง  ดูค้างไว้ตอนทหาร UN ทิ้งพวกรวันดาไว้ที่โรงแรมแล้วฝืนดูต่อไม่ไหวมาหลายวันแล้ว

แต่ศึกษาเรื่องรวันดา หันมามองการเมืองบ้านเรา พบรูปแบบการดำเนินการที่คล้ายกันมากในหลายส่วนเลย โดยเฉพาะเรื่องวิธีการปลูกฝังความเกลียดชัง เพียงแต่ระดับความเกลียดชัง ความขัดแย้ง มันยังไม่ถึงขนาดเทียบเท่ารวันดาเท่านั้น แต่วิธีการหลายๆ แบบที่ใช้เดินซ้ำกงล้อประวัติศาสตร์กันเลย

บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 03:43

ต้องออกตัวขออภัยท่านผู้อ่านเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาที่อาจจะไม่ปะติดปะต่อนักเพราะคนเล่าหาข้อมูลแบบอ่านไปเขียนไปตามประสาคนขี้เกียจ ไม่ได้อ่านทั้งหมดแล้วเขียนทีเดียว ดังนั้นใจความสำคัญบางส่วนอาจขาดหายไป แต่ถ้าพบอะไรที่น่าสนใจจะทยอยเอามาเล่าต่อไปเรื่อยๆ และอาจมีการเล่าย้อนหลังบ้าง    ข้อมูลส่วนใหญ่อ่านจาก wikipedia และเว็บไซต์ www.rwandanstories.org บ้าง รวมทั้งจากข่าวในเว็บหนังสือพิมพ์ต่างประเทศบ้าง

ถึงจะเล่าเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ไปแล้วแบบไม่อยากลงรายละเอียดวิธีการฆ่า เพราะหลายๆ วิธีเป็นแบบเดียวกับที่ทหารญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สองใช้ เวลาจับเชลยทหารสหรัฐฯได้ในสมรภูมิตามเกาะต่างๆ ในแปซิฟิค    รวมถึงอาจจะข้ามเรื่องเศร้าต่างๆ ที่เล่าโดยพยานที่รอดชีวิตเพราะค่อนข้างน่าสะทือนใจ  แต่ยิ่งอ่านข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะบทบาทของนานาชาติและสหประชาชาติก็รู้สึกว่าน่าสนใจและน่าโมโหยิ่งนัก รวมทั้งเรื่องของผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ ทั้งที่วางเฉยและสนับสนุนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้  และคำถามว่าทำไมการฆ่าหยุดลงในระยะเวลาประมาณ 3 เดือนได้ทั้งที่ชาวทุตซี่ยังตายไม่หมดประเทศ  รวมถึงผู้กล้าต่างๆ ที่เสี่ยงภัยเสี่ยงชีวิตช่วยเหลือคนอื่น จะทยอยๆ เล่าไปเรื่อยๆ แบบไม่เร่งรีบนะครับ

เอาภาพมาฝากอาจารย์เทาชมพูแบบไม่โหดมาให้ดู เป็นภาพม๊อบของพวกฮูตูหัวรุนแรง ที่ขี่มอเตอร์ไซค์ไปตามท้องถนน และภาพของพวกทหารบ้านที่ตั้งด่านตรวจหาพวกทุตซี่ตามท้องถนน



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 10:29

หามาแจม ครับ

             หนังเรื่อง Hotel Rwanda (ซึ่งมีหลายคนเรียกว่าเป็น African Schindler's List)
สร้างจากเรื่องจริงของ Paul Rusesabagina
           ตัวเอก(พระเอก) เป็นผู้ช่วยผู้จัดการโรงแรมใหญ่ในรวันดา พ่อของพอลเป็นฮูตู
ส่วนแม่และภรรยาของเขาเป็นทุตซี่


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 10:31

         ในช่วงเวลาแห่งการสังหารล้างเผ่าพันธุ์ - "กำจัดแมลงสาบ" นั้น  
พอลได้เปิดโรงแรมให้เป็นที่หลบภัยแก่ "แมลงสาบ" 1,268 ชีวิต

พอลเล่าว่า

           We all knew we would die, no question.
           The only question was how. Would they chop us in pieces?
           With their machetes they would cut your left hand off.
Then they would disappear and reappear a few hours later to cut off
your right hand. A little later they would return for your left leg etc.
           They went on till you died. They wanted to make you suffer
as long as possible.
           There was one alternative: you could pay soldiers so they
would just shoot you. That’s what her [his wife] father did.

Real Paul & Reel Paul


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 16:18

ขอบคุณท่าน SILA ที่มาร่วมแจมนะครับ กำลังเหงาเชียว

อีกคนหนึ่งที่มีบทบาทและต้องกล่าวถึงคือผู้บัญชาการกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ พลโทโรมิโอ (Lieutenant-General Roméo Antonius Dallaire) ผมออกเสียงนามสกุลแกไม่ถูก ขอละไว้ให้ท่านที่เชี่ยวชาญช่วยออกเสียงให้แทนนะครับ  
  
พลโทโรเมโอเกิดในปี  1946 เป็นลูกของนายทหารประทวนผ่านศึกของแคนาดา จบโรงเรียนนายร้อยแคนาดาและเป็นทหารอาชีพ   ได้รับมอบหมายภารกิจเป็นผู้บัญชาการกองกำลังของสหประชาชาติ (UNAMIR ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปภายหลัง) ในช่วงปลายปี 1993   ทำภารกิจสังเกตุการณ์ และให้ความช่วยเหลือในการเจรจากันระหว่างฝ่ายรัฐบาลและ RPF ภายใต้ข้อจำกัดจำนวนมาก เช่น ทหารสหประชาติถูกห้ามไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการขัดแย้งใดๆ  และไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้กำลังหรืออาวุธไม่ว่าในกรณีใดๆ ยกเว้นแต่เพื่อป้องกันตัวเองเท่านั้น

พลโทโรเมโอสังเกตุเห็นการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติและการเตรียมการการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของฝ่ายรัฐบาลนายฮับยาริบานา เช่นการขนส่งอาวุธจำนวนมากจากฝ่ายฝรั่งเศสให้กองทัพรวันดา โรเมโอขออนุมัติเข้ายึดอาวุธเหล่านี้แต่ไม่ได้รับอนุญาตเพราะดูจะเป็นสิ่งที่นอกเหนือภารกิจที่ได้รับมอบหมาย  โรมิโอเห็นสัญญาณผิดปกติอื่นๆ  เช่นการตรวจเช็คบัตรประชาชน ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการแยกแยะว่าใครคือฮูตู ใครคือทุตซี่   และยังได้รับข้อมูลแผนการจากพวกฮูตูเองที่อยู่ในคณะรัฐบาล กองทัพ หรือแม้แต่กองทหารบ้านเอง    
โรเมโอรู้ล่วงหน้าว่าจะต้องเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และเรียกร้องขอกำลังจากสหประชาชาติประมาณ 5000 นายซึ่งโรมิโอเชื่อว่าเพียงพอจะป้องกันไม่ให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ได้ แต่คำขอของโรมิโอไม่ได้รับอนุมัติ

ในช่วงต้นการล้างเผ่าพันธุ์ เบลเยี่ยมเป็นประเทศแรกที่ถอนทหารที่สังกัดสหประชาชาติออกไปหลังจากทหารเบลเยี่ยมที่ทำหน้าที่คุ้มกันนายกรัฐมนตรีหญิงจำนวน 10 คนถูกสังหาร  โรเมโอเหลือกำลังทหารแค่ประมาณ 200 กว่าคน เป็นกำลังจากปากีสถาน แคนาดา กาน่า ตูนิเซียและบังคลาเทศ  และได้จัดกำลังที่เหลือจัดตั้งเขตพื้นที่ปลอดภัยขึ้นในกรุงคิกาลิ  เพื่อให้ความคุ้มครองพวกผู้อพยพหนีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

โรมิโอจงใจเอาหูไปนาเอาตาไปไร่เมื่อทหารใต้บังคับบัญชาบางส่วนที่ทำหน้าที่สังเกตุการณ์เข้าไปช่วยเหลือพาชาวทุตซี่หลบหนีเข้ามาในพื้นที่ปลอดภัย  รวมถึงกำลังบางส่วนที่ยอมเสี่ยงตายไปยืนเฝ้าอยู่ตามหน้าประตูโบสถ์ที่มีพวกทุตซี่หลบอยู่ เพราะโดยมากแล้วทหารบ้านและทหารรวันดาจะไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับทหารสหประชาชาตินัก  ความกล้าหาญของทหารจำนวนเพียงหยิบมือ และการจัดตั้งเขตปลอดภัยขึ้นได้ช่วยชีวิตผู้ที่น่าจะถูกสังหารได้อย่างน้อยประมาณ 32000 คน  

ภาพพลโทเรมิโอ  และกองทหารจากกาน่าที่โรมิโอยกย่องมากทั้งในเรื่องความกล้าหาญ และความสามารถในการปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วง กานาเสียทหารไป 3 นายในภารกิจในรวันดา



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 16:33

พูดถึงกาน่าต้องขอนอกเรื่องหน่อย  ตอนนี้ผมอยู่ต่างประเทศ อยู่มาจะสามปีแล้ว เมื่อสองปีก่อนได้มีโอกาสพูดคุยกับหนุ่มกานาคนหนึ่ง ประเทศกาน่าตั้งอยู่ตรงไหนในแอฟริกาผมก็ไม่รู้  ประเทศนี้เป็นอย่างไรก็ไม่ทราบ เคยได้ยินแต่ชื่อ

พ่อหนุ่มกานาที่คุยด้วยแกมาเรียนปริญญาเอกด้านสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยเมืองที่ผมอยู่ แกจบปริญญาโทมาจากออกซ์ฟอร์ด  เรื่องที่สนทนากันคือสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศไทย ! ! !

ครับ คนกาน่าเรียนสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  แต่แกรู้ชื่อนายกไทย  รู้จักนายทักษิณ รู้เรื่องคอรัปชั่น รู้เรื่องสีเสื้อ สามารถวิเคราะห์บรรยายเรื่องเมืองไทยได้เป็นฉากๆ คุยกันได้นาน   เวลาได้คุยกับคนที่เรารู้ได้ว่ารอบรู้กว่าเรา ฉลาดกว่าเรา มันน่าทึ่งเสียนี่กระไร โดยเฉพาะเป็นคนที่มาจากประเทศที่เราคนไทยมักจะมองว่าบ้านป่าเมืองเถื่อนและเรามักมีอคติหรือตัดสินไปล่วงหน้าแล้ว
นอกจากชาวกาน่าแล้ว ตอนหลังยังได้พบกับชาวไนจีเรียที่ฉลาดมากๆ อีก แม้ไม่ได้คุยกันเรื่องการเมืองไทย แต่เห็นวิธีที่แกใช้วิเคราะห์ปัญหาต่างๆ เห็นระบบวิธีคิดแล้วต้องอึ้ง
ตอนนี้มีเพื่อนชาวอีรักอีกคน เรียนฟิสิกส์ ทำวิจัยด้าน nanotubes  แกบอกว่าแกหาวิธีประยุกต์นำ nanotubes มาใช้ประโยชน์ได้ ผลงานแกจะเป็นคั้งแรกในโลก และแกแค่กล้าหวังว่าผลงานแกอาจจะได้รับรางวัลโนเบลแค่นั้นเอง ถ้าไม่มั่นใจว่าผลงานแกพลิกโลกจริงแกคงไม่กล้าเล่าให้ผมฟัง ที่จริงแกเล่ามามากมาย แต่ผมไม่เข้าใจว่าไอ้นาโนทิวมันคืออะไรแค่นั้นเอง เคยได้ยินชื่อมาเฉยๆ
นี่ก็รออยู่ว่าถ้าแกดังเมื่อไร่ จะไปขอถ่ายรูปเอามาอวดชาวชานเรือนซะหน่อย
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 16:44

เป็นที่น่าเศร้ามาก ๆ ครับสำหรับการแบ่งแยกและรังเกียจกันระหว่างคนสองชนเผ่า ข้าพเจ้าเคยเห็นภาพการทำร้ายระหว่างกันรุนแรงถึงขั้น เผาทั้งเป็น เผาหมู่บ้านและตัดชิ้นส่วนอวัยวะออกเป็นชิ้น ๆ

สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าเกลียดกันอย่างสุดขั้วเลยก็ว่าได้ น่ากลัวมาก ๆ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 16:49

เมื่อการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เกิดขึ้นแบบไม่สามารถควบคุมได้ สหประชาชาติจึงตัดสินใจจะส่งกำลังทหาร 5500 คนเข้าไปในรวันดา ซึ่งเป็นจำนวนที่โรมิโอเคยขอมาก่อนหน้า แต่ด้วยความล่าช้าตามสไตล์การบริหารแบบองค์กรใหญ่ๆ อุ้ยอ้ายทั่วไป การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ก็สิ้นสุดลงเสียก่อนเมื่อฝ่ายกบฏ RPF ยึดเมืองหลวงคิกาลิได้ และขับไล่ทหารรวันดาและทหารบ้านให้ต้องหนีไปซาอีร์  

หลังการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์  พลโทโรมิโอป่วยด้วยความเครียดสะสมจากความเครียดในรวันดา และได้เคยพยายามฆ่าตัวตายเมื่อปี 2000  ปัจจุบันแกเป็นนักสิทธิมนุษยชน ได้รับรางวัลและปริญญากิตติมศักดิ์มาหมายจากมหาวิทยาลัยทั้งในแคนาดา สหรัฐฯ และที่อื่นๆ  เมื่อปี 2003 แกได้เขียนหนังสือเรื่อง Shake Hands with the Devil: The Journey of Roméo Dallaire เล่าเหตุการณ์และบทบาทของแกในรวันดา

ในหนังโฮเตลรวันดา นิค โนลเต้เล่นบทพันโทโอลิเว่อร์ ซึ่งสมมุติมาจากตัวพลโทโรมิโอนี่แหละ แต่ในหนังเล่นลดยศแกจากพลโทเหลือแค่พันโทเอง  แถมโรมิโอบอกว่าบทบาทของโนลเต้ในหนัง ไม่เหมือนกับตัวแกเอง แต่โดยรวมหนังเรื่องนี้ก็ "ใช้ได้"  

ภาพของพันโทโอลิเวอร์ในหนัง จำลองมาจากพลโทโรมิโอครับ


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 19:56

วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล เดินทางไปรวันดาเพื่อค้นหาบทเรี­ยนจากเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เมื่อปี ๑๘ ปีก่อน

ฟังปากคำสด ๆ จากเหยื่อความรุนแรง­ที่สามีฆ่าภรรยา เพื่อนบ้านฆ่ากัน ครูฆ่านักเรียน หลังจากการบ่มเพาะความเกลียดชัง­ผ่านสื่อต่าง ๆ มาหลายสิบปี

หลังเหตุการณ์ยุติลง ฆาตกรและเหยื่อกลับมาอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างไร



 เศร้า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 26 พ.ค. 12, 10:35

เป็นเรื่องน่าสลดใจที่สุดเรื่องหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก ค่ะ
ปัจจุบัน รวันดาเป็นอย่างไรบ้างคะ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 26 พ.ค. 12, 14:27

รวันดาวันนี้ต้องกั๊กไว้ก่อนครับ  ยิงฟันยิ้ม เดี๋ยวจะไม่สนุก  เพราะพอติดตามเรื่องรวันดาแล้วพบว่ามีข้อมูลเยอะ แค่ใน wikipedia ก็ตามอ่านกันไม่หวาดไม่ไหว มี link ข้อมูลไปตรงนั้นตรงนี้ที่น่าสนใจเยอะแยะมากครับ ทั้งบทบาทของชาติตะวันตก ใครเป็นตัวโกงบ้าง ใครเพิกเฉยบ้าง ทำไมเพิกเฉย  บทบาทที่ไม่เอาไหนของ UN หรือแม้แต่ตัวเบ้งๆ ใน UN ที่เพิกเฉยเพราะสนับสนุนรัฐบาลรวันดาอยู่กลายๆ บทบาทของพวกกบถ  เรื่องเล็กๆ ของคนหลายคนที่เสี่ยงชีวิตเข้าช่วยคนอื่นๆ   ผลกระทบต่อประเทศเพื่อนบ้าน การดำเนินคดีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภายหลัง หรือแม้แต่ทำไมคนเราถึงกลายเป็นปิศาจได้ง่ายๆ นัก  วิเคราะห์การปลูกฝังความเกลียดชังที่ใช้ในรวันดา เปรียบเทียบกับบางเหตุการณ์ในไทยบางเหตุการณ์ที่ผ่านมา ที่พบว่ามันเหมือนกันเป๊ะๆ แต่ต่างกันที่การยกระดับความรุนแรงเท่านั้น  เยอะครับ ท่าทางกระทู้นี้จะอีกยาวกว่าที่คิด

เข้าที่ดูสารคดีที่อาจารย์เพ็ญชมพูเอามาให้แล้ว ได้เห็นภาพรวันดาวันนี้ดูแล้วเจริญว่าที่คิด ประเทศก็ดูอุดมสมบูรณ์ดี  สารคดีพูดถึงความเป็นมาของเหตุการณ์ได้ดี แต่ผมคิดว่าด้วยข้อจำกัดทางเวลาบางรายละเอียดอาจจะยังไม่ละเอียดมากพอที่จะทำให้คนดูเข้าใจ และรู้ทันวิธีการเวลาที่ใครบางคนพยายามจะล้างสมองเรา เปลี่ยนเราจากคนธรรมดา ให้กลายเป็นปิศาจที่ไม่รู้สึกรู้สาได้

แต่เมื่อท่านอาจารย์อยากทราบว่ารวันดาวันนี้เป็นอย่างไร ดูภาพรวันดาเมื่อ 2 ปีที่แล้วไปพลางๆ ก่อนครับ เป็นภาพในกรุงคิกาลี เมื่อปี 2010



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 26 พ.ค. 12, 17:58

หรือแม้แต่ทำไมคนเราถึงกลายเป็นปิศาจได้ง่ายๆ นัก

คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล พิธีกรรายการในคลิปข้างบนสรุปวิธีทำให้คนดี ๆ กลายเป็นปีศาจได้ ๓ ขั้นตอน คือ

๑. แบ่งแยกออกเป็น ๒ ฝ่าย โดยใช้ถิ่นที่อยู่ ภาษา ความเชื่อ ความเห็นทางการเมือง แม้แต่การแต่งกาย สีเสื้อ เป็นตัวแบ่ง

๒. ลดคุณค่าความเป็นคนของฝ่ายตรงข้าม   สร้างความเชื่อความรู้สึกว่าอีกฝ่ายไม่ใช่มนุษย์  แต่เป็นสัตว์ เป็นปีศาจ เป็นเชื้อโรค เป็นแมลงสาบ

๓. สร้างค่านิยมว่า การทำลายทรัพย์สิน การทำร้ายร่างกาย จนถึงการฆ่าฝ่ายตรงกันข้าม เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ควรได้รับการสรรเสริญ

ทั้ง ๓ ขั้นตอนเกิดขึ้นแล้วในรวันดา ผลคือความตายของเพื่อนมนุษย์นับล้านคน

และทั้ง ๓ ขั้นตอนนี้ก็เคยเกิดขึ้นแล้วในบ้านเรา (เหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙)  และกำลังดำเนินอยู่ใน พ.ศ. ปัจจุบัน (กีฬาสี - แมลงสาบ - เผาเลย ผมรับผิดชอบ)

 เศร้า
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 27 พ.ค. 12, 18:29

กองกำลังของสหประชาชาติที่เข้าไปในรวันดา (The United Nations Assistance Mission For Rwanda) หรือ UNAMIR เป็นกองกำลังที่มีหน้าที่หลักในการให้ความช่วยเหลือในการรักษาสันติภาพ กำหนดการภารกิจตั้งแต่เดือยตุลาคม 1993 ถึง มีนาคม 1996

อย่างที่บอกไว้ว่ารวันดามีสงคามการเมืองระหว่างรัฐบาลประธานาธิบดีฮับยาริบานา กับกองกำลัง RPF  ที่นำโดยพอล คากาเม (ตัวย่อในกระทู้นี้อาจจะ RPF บ้าง FPR บ้าง ขึ้นกับจะย่อแบบอังกฤษหรือฝรั่งเศส แต่คือพวกเดียวกันนะครับ)  กองกำลังกบฏสามารถยึดพื้นที่ทางตอนเหนือได้ แต่ก็ไม่สามารถรุกคืบมากกว่านั้น แต่ก็ทำให้ทางรัฐบาลต้องเปิดการเจรจาเพื่อการแบ่งอำนาจกันและยุติสงคามกลางเมือง  ข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกับกบฏเรียกว่าข้อตกลงอรูชา (Arusha Accord)  แต่แม้ว่าทางหนึ่งรัฐบาลจะเปิดเจรจากับฝ่ายกบฏ แต่ในอีกทางรัฐบาลก็เตรียมแนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ทุตซี่ไว้ด้วย

และเนื่องจากรัฐบาลรวันดากล่าวหาว่าพวกกบฏได้รับการสนับสนุนจากอูกานดา ในขณะที่อูกานดาปฏิเสธ ทั้งสองประเทศจึงส่งข้อเรียกร้องไปยังสหประชาชาติเพื่อขอกองกำลังที่เป็นกลางเข้ามาดูแลไม่ให้มีการขนอาวุธสนับสนุนข้ามพรมแดน สหประชาชาติจึงตั้งกองกำลัง United Nations Observer Mission Uganda-Rwanda (UNOMUR) มีกำลังประมาณ 80 นายทำหน้าที่สังเกตุการณ์ และเมื่อข้อตกลงอรูชามีความก้าวหน้าขึ้น ทั้ง RPF และรัฐบาลรวันดาจึงขอความช่วยเหลือไปยัง UN  ซึ่งได้จัดกองกำลัง UNAMIR มีกำลังพลประมาณ 2000 นายที่นำโดยนายพลโรมิโอของเราเป็นผู้บังคับบัญชากองกำลัง  แต่ตัวหัวหน้าหรือประธานตัวจริงคือนายบูบู(Jacques-Roger Booh-Booh) ชาวคามรูน 

หน้าที่หลักของกองกำลังนี้คือสังเกตุการณ์  ให้ความช่วยเหลือในการเจรจาและการแบ่งอำนาจกันเป็นไปด้วยดี แต่ภายใต้บทบาทของ UN มีข้อจำกัดในไม่ให้เข้าไปแทรกแซง ห้ามใช้กำลังใดๆ

ภาพนายบูบูครับ


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 19 คำสั่ง