เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 33152 ประวัติศาสตร์จีน
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 15:19

กระทู้ที่อยู่เหนือขึ้นติดกันคือ "สัตว์ประหลาด" มี "ตอบ" เข้ามาถึง 2401!

"รูปเก่าเล่าเรื่อง-เมืองบางกอก" ทำสถิติไว้ ๓,๑๕๘

กระทู้สัตว์ประหลาดเริ่มมานานแล้วค่ะ  ตั้งแต่  13 พ.ค. 2510   

โอ้โฮ !  อายุกระทู้ "สัตว์ประหลาด" ปาเข้าไป ๔๕ ปีแล้วหรือนี่

ยังนึกว่าผ่านมาแค่ ๒ ปีเอง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 15:36

อย่าเพิ่งเหนี่อยนะครับ คุณ Sujittra การเล่าประวัติศาสตร์จีนนั้นยาวนาน แต่ละยุคย่อมมีรายละเอียดปลีกย่อยได้สนทนากันอย่างมาก

เห็นภาพสาวงามที่รวบรวมมาได้สี่ยอดงามเมือง ทราบว่าแต่ละนางนั้นไม่งามพร้อมอย่างแท้จริง ทางคนจีนมีคำเปรยว่า สี่หญิงงามนั้นมีตำหนิที่แตกต่างกันไปในแต่ละนาง

ไซซี มีปัญหาที่ เท้าใหญ่

หวังเจาจิน มีปัญหาที่ ไหล่ไม่เท่ากัน

เตียวเสี้ยน  นั้นมีปัญหาที่ ติ่งหูสั้นไป
 
หยางกุ้ยเฟย  นั้นมีกลิ่นตัวแรงมาก จึงต้องอาบน้ำเสมอ ๆ 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 15:42

ส่งแผนที่ยุคชุนชิว ประกอบเรื่องจะได้เห็นลักษณะเขตการปกครอง และเมืองต่าง ๆ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 15:45

บรรดาแคว้นรัฐต่าง ๆ แห่งยุคชุนชิว


บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 20:46

ขอบคุณทุกท่านครับที่มาร่วมเพิ่มเรตติ้ง โดยเฉพาะรูปประกอบซึ่งทำให้เรื่องน่าสนใจขึ้นมาก

ว่าแต่ทางฝ่ายเทคนิคมีคำแนะนำสำหรับผมเพื่อโหลดรูปโดยการใช้ iPad รึยังครับ

ถ้ามีรบกวนชี้แนะด้วยครับ
บันทึกการเข้า
admin
เทพารักษ์
มัจฉานุ
*****
ตอบ: 50


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 21:36

เกรงว่าจะไม่สามารถใส่รูปประกอบจาก iPad ได้ครับ เป็นข้อกำหนดในเรื่องระบบการรักษาความปลอดภัยของ iOS น่ะครับ ต้องให้ บ. Apple เป็นคนทำครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 21:48

น่าเสียดาย

ขอบคุณท่าน admin ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 21:51

คุณ Sujitra ส่งรูปที่ต้องการนำลงมาให้ดิฉันหลังไมค์ก็ได้นี่คะ   ดิฉันจะนำลงให้เอง
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 22:05


                 ราชวงศ์โจวปกครองด้วยกษัตริย์อย่างเข้มแข็งมากว่า 11 องค์ จนกระทั่งถึงรัชกาลของโจวอิวหวาง รัชกาลที่ 12 อำนาจของราชวงศ์โจวก็เริ่มเสื่อมถอย เพราะโจวอิวหวางงมัวแต่หมกมุ่นกับสุราและนารี จนกระทั่งถูกข้าศึกจับกุมตัวไป 7 ปีต่อมา กองทัพผสมของอ๋องต่าง ๆ ในแต่ละรัฐได้รวมตัวกันขับไล่ข้าศึกออกไป และอัญเชิญโอรสของโจวอิวหวางขึ้นครองราชย์ มีพระนามว่า โจวผิงหวาง ได้มีการย้ายเมืองหลวงจากเมืองเฮ่าจิง มาอยู่ที่ลกเอี๋ยง (ลั่วหยาง ในปัจจุบัน) ซึ่งอยู่ทางตะวันออก ยุคนี้ต่อมานักประวัติศาสตร์จึงได้เรียกว่า ยุคราชวงศ์โจวตะวันออก (Eastern Zhou) หรือ ยุคชุนชิว นั่นเอง (ที่เรียกว่า ชุนชิว ที่หมายถึง ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงนั้นมาจากชื่อคำภีร์ของขงจื๊อที่บันทึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ในยุคนี้ ที่ชื่อ บันทึกแห่งฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง หรือ ชุนชิว ซึ่งเป็นคำภีร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของขงจื๊อด้วย ผู้คนจึงเรียกชื่อยุคนี้ตามคำภีร์ และคำภีร์เล่มนี้ก็นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ชุนชิว เช่นกัน) ซึ่งยุคนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุคใหญ่ต่อเนื่องกัน ๆ คือ
ยุคชุนชิว (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
ยุคจ้านกว๋อ (เลียดก๊ก ในภาษาแต้จิ๋ว) (477 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 222 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

                ในยุคชุนชิวนั้น นครรัฐต่าง ๆ ที่เคยมีอย่างมากมายในยุคราชวงศ์โจวก่อนหน้านั้น เหลือเพียง 140 รัฐ จากการถูกผนวกรวมเป็นหนึ่งเดียวกับรัฐที่เข้มแข็งกว่า มีบันทึกว่า รัฐหลู่ทำลาย 58 รัฐ รัฐจิ้นทำลาย 24 รัฐ รัฐฉินทำลาย 15 รัฐ รัฐฉีทำลาย 14 รัฐ รัฐเจิ้งทำลาย 6 รัฐ รัฐอู๋ทำลาย 5 รัฐ และรัฐทั้ง 140 รัฐนี้ มีรัฐที่เรียกได้ว่าเป็นรัฐขนาดใหญ่ มีอำนาจที่แท้จริงไม่ถึง 10 รัฐ
                รัฐใหญ่เหล่านี้ มีผู้ปกครองเรียกว่า "อ๋อง" มเหสีเรียกว่า "ฮองเฮา" และอัครมหาเสนาบดีเรียกว่า "ไจ่เซี่ยง" เช่นเดียวกับราชวงศ์โจว แม้กษัตริย์ของราชวงศ์โจวยังคงอยู่ในตำแหน่ง แต่ก็ต้องโอนเอียงไปตามความปรารถนาของอ๋องแต่ละรัฐ นับได้ว่าเป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น
สำหรับเจ้าผู้ครองรัฐใหญ่เหล่านี้ ต่างแย่งชิงกันเป็น "ป้าจู่" (ปาอ๋อง) หมายถึง เจ้าผู้ปกครองรัฐที่มีอำนาจสูงสุด สำหรับอ๋องในยุคชุนชิวที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ปาอ๋อง อย่างแท้จริงมี 5 คน คือ ฉีหวนกง, จิ้นเหวินกง, ฉินมู่กง,ซ่งเซียงกง และ ฉู่จวงหวาง



ขออนุญาตขัดจังหวะครับ

๑.. นครรัฐต่าง ๆ ในยุคชุนชิว ไม่ได้เป็น "หวัง (王) : จีนกลาง , อ๋อง : จีนแต้จิ๋ว " เสมอไปนะครับ ขึ้นอยู่กับว่า นครรัฐนั้น ๆ มีขนาดใหญ่หรือเล็กแค่ไหน ซึ่งทั้งหมดต้องได้รับการพระราชทานจาก เทียนตี้ (ฮ่องเต้)
อย่าง นครรัฐไช่ เจ้าผู้ครองนครมีศักดิ์เป็นแค่ "โหว : 侯 " (พระยา : เทียบศักดินาทางไทย) เท่านั้น บางรัฐก็เป็นแค่ "กง : จีนกลาง , ก๋ง (แต้จิ๋ว)" (สมเด็จเจ้าพระยา) , แต่ก็มีบ้าง ที่ตั้งตัวเองขึ้นมาเป็น "หวัง" โดยไม่สนใจธรรมเนียมการพระราชทานลงมา เช่น เจ้าผู้ครองนครรัฐฉู่ (ฌ้อ : จีนแต้จิ๋ว) ซึ่งเป็นรัฐที่คนในกวนตง มองว่าเป็นรัฐบ้านนอก ป่าเถื่อน ไม่มีใครอยากจะคบด้วย

๒.. ภาษาจีนที่ใช้ ถ้าเป็นไปได้อยากให้แยกชัดเจนครับ เพราะบางคำที่พิมพ์เป็นแต้จิ๋ว แต่บางคำเป็นจีนกลาง ถ้าเป็นไปได้ควรใช้สำเนียงใด สำเนียงหนึ่งไปเลย แล้ววงเล็บอีกสำเนียงไว้เปรียบเทียบกัน น่าจะดีกว่าครับ

๓.. เจ้าผู้ครองนครคนแรกของรัฐไช่ (Cai : ฉั่ว : จีนแต้จิ๋ว) คือ ไช่ชูตู้(蔡叔度 : Cai Shu Du) นะครับ ชื่อเดิมของท่านคือ จี้ (姬)  ต้องขออภัยที่ต้องขัด เนื่องจากเป็นบรรพชนด้านนามสกุลของผมน่ะครับ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 26 พ.ค. 12, 00:00

ไม่ต้องขออภัยครับ

ผมต่างหากควรที่ทจะต้องขอบคุณคุณ Samun007 เพราะผมไม่สันทัดทางภาษาจีน เพียงแต่ตั้งใจให้เกิดความสมบูรณ์เท่าที่จะทำได้

ขอบคุณครับที่ช่วย edit เพื่อประโยชน์ของผู้อ่าน
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 26 พ.ค. 12, 07:46

บรรดาแคว้นรัฐต่าง ๆ แห่งยุคชุนชิว

รูปนี้จะเป็นปลาย ๆ ยุคชุนชิว ก่อนจะขึ้นเป็นจั๋นกวอครับ สังเกตได้จากหลาย ๆ นครรัฐหายไปแล้ว เพราะโดนนครรัฐอื่น ๆ ควบรวมกิจการไป ส่วนที่เห็นเขียนว่า Wei ( 卫 || เว่ย :จีนกลาง ) ตรงนี้ จะเป็นคนละนครรัฐ Wei (魏 อ่านว่า เว่ย:จีนกลาง , อุ้ย หรือ วุุ่ย ในจีนแต้จิ๋ว ) ในยุคจั๋นกวอนะครับ ชื่อรัฐทั้งสองเป็นคำพ้องเสียงครับ แต่เป็นคนละรัฐกัน

เพื่อกันความสับสน ผมขอเรียกรัฐเว่ยเล็ก สำหรับในความหมายของ Wei ( Pinyin : 卫 ) นะครับ

รัฐเว่ยเล็กเป็นนครรัฐที่อายุยืนยาวที่สุดในบรรดานครรัฐที่ตั้งมาตั้งแต่ยุคชุนชิว ยืนยาวมาคู่กับนครรัฐมหาอำนาจอย่างรัฐฉิน (จิ๋น : จีนแต้จิ๋ว) โดยที่ไม่มีใครไปล้ม ทั้ง ๆ ที่รัฐนี้ก็ไม่ได้เข้มแข็งอะไรแต่อย่างใด

รัฐนี้มาโดนล้มโดย ฉินซื่อหวัง เจ้าผู้ครองนครรัฐฉิน ที่ภายหลังปราบดาภิเษกเป็น ฉินซื่อหวังตี้ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ นั่นเอง

ส่วนนครรัฐเว่ย Wei (魏 อ่านว่า เว่ย:จีนกลาง , อุ้ย หรือ วุุ่ย ในจีนแต้จิ๋ว ) เป็นนครรัฐที่แตกออกมาจากนครรัฐจิ้น (晉 )อีกทีหนึ่ง พร้อม ๆ กับ นครรัฐจ้าว , นครรัฐหาน  
และเจ้าผู้ครองนครรัฐเว่ยนี้ จัดเป็นผู้นำของทุก ๆ นครรัฐเป็นคนแรก และเป็นรัฐมหาอำนาจรัฐแรกในยุคจั๋นกวอ


ภาพสมัยยุคชุนชิว

 


ยุคจั้นกวอ

บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 26 พ.ค. 12, 09:14

ขอบคุณท่าน samun007 ครับที่ช่วยหารูปมาประกอบพร้อมกับรายละเอียดที่น่าสนใจ

อยากให้ทุกท่านช่วยกัยเติมเต็มให้เนื้อหาเกิดความสมบูรณ์เพื่อประโยชน์สำหรับผู้ที่รักการค้นคว้าและผู้ที่สนใจ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 26 พ.ค. 12, 10:28

ดิฉันก็อยากจะมาช่วยเหมือนกันละค่ะ   แต่ขอให้คุณ Sujitra เห็นใจอย่างหนึ่งว่าหัวข้อประวัติศาสตร์จีน ไม่ใช่เรื่องที่คนไทยทั่วไปจะรู้กันแพร่หลาย     แม้แต่นักวิชาการที่ไม่ได้เรียนมาทางสาขานี้  ก็ไม่รู้
นี่ยังไม่ต้องรวมถึงคนอ่านในเรือนไทย ซึ่ง 99% นิยมอ่านเงียบๆ  มากกว่าจะเข้าร่วมวงตอบ   
เป็นคำตอบว่าทำไมคนเข้ามาตอบกระทู้นี้กันไม่กี่คน

ขณะนี้เรือนไทยมีสมาชิกทั้งหมด 2481 คน    แต่ถ้าคุณ Sujitra ลากเม้าส์ลงไปดูจำนวนสมาชิกที่ล็อคอินเข้ามาอ่าน (หมายความว่าสามารถจะตอบได้ด้วย)   ไม่เคยมีถึง 10 คนพร้อมกันเลย   ส่วนใหญ่มีประมาณ 4-5 คนก็เก่งแล้ว
ในบรรดาสี่ห้าคนที่ล็อคอินนี้ก็ไม่ได้ตอบทุกกระทู้   บางคนล็อคอินเข้ามาอ่านเฉยๆ  บางคนเข้ามาตอบกระทู้เดียวที่ตนเองสนใจ

ส่วนคำว่า ผู้ใช้งานขณะนี้  ..... บุคคลทั่วไป
ไม่ได้หมายความว่านี่คือยอดคนอ่านเรือนไทยจากทุกมุมโลกต่อวัน   แต่หมายความว่าในนาทีนั้นเดี๋ยวนั้น มีคนอ่านพร้อมกันอยู่กี่คน      พอเวลาผ่านไปสักครึ่งชั่วโมงหรือชั่วโมง  พอคนอ่านกลุ่มเดิมออกไป  คนอ่านกลุ่มใหม่เข้ามา ตัวเลขก็จะบอกจำนวนคนที่กำลังอ่านกลุ่มใหม่อีก
ดิฉันก็เลยไม่รู้เหมือนกันว่ายอดคนอ่านแต่ละวันเท่าใด   รู้แต่ว่าวัฒนธรรมเงียบ เป็นวัฒนธรรมของเรือนไทยมา 12 ปีแล้วค่ะตั้งแต่เริ่มมีห้องนี้    แต่วัฒนธรรมอ่านเติบโตขึ้นเรื่อยๆ   
ตรวจดูในฐานข้อมูล    เดือนๆหนึ่งมีการคลิกเข้ามาอ่านประมาณ 700,000 ครั้ง 

เพราะฉะนั้นถึงมีคนเข้ามาตอบน้อย  ก็ขอให้คุณ Sujitra สบายใจอยู่อย่างว่าจำนวนคนอ่านไม่ได้น้อยเหมือนคนตอบ ค่ะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 26 พ.ค. 12, 10:31

รัฐ ฉู่ จีนแต้จิ๋วว่า "ฉ้อ" ครับ
รัฐ ฉิน ว่า ชิ้ง
กง แต้จิ๋วไม่เรียก ก๋ง แต่จะเรียก กง เหมือนจีนกลางนั่นแหละครับ

เป็นปริศนาสำคัญเรื่องหนึ่งว่าทำไมวรรณยุกต์ถึงได้เพี้ยนเมื่อภาษาจีนเข้ามาในภาษาไทย แต่สาเหตุหนึ่งที่ผมเห็นว่าเป็นมากกับเด็กไทยรุ่นใหม่ คือผันวรรณยุกต์ไทยไม่ถูกครับ บางทีเขียนผิดๆ บางทีรู้ตัวว่าเขียนผิดแน่ๆ ละวรรณยุกต์ไปดื้อๆก็มี

ส่วนชื่อเก่าๆที่เพี้ยน อีกสาเหตุหนึ่งคือไปถอดเสียงเอาจากตัวโรมัน โดยไม่รู้ระบบเสียงของเขา มั่วเอาเองดื้อๆ ชื่อจุงกิง ฮวงโห ฯลฯ พวกนี้น่าจะมาทางนี้ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 26 พ.ค. 12, 10:32


เห็นภาพสาวงามที่รวบรวมมาได้สี่ยอดงามเมือง ทราบว่าแต่ละนางนั้นไม่งามพร้อมอย่างแท้จริง ทางคนจีนมีคำเปรยว่า สี่หญิงงามนั้นมีตำหนิที่แตกต่างกันไปในแต่ละนาง

ไซซี มีปัญหาที่ เท้าใหญ่


ขอแทรกด้วยเกร็ดเรื่องการรัดเท้าให้เล็กของหญิงจีน   มีตำนานที่มาหลายตำนานด้วยกัน  ตำนานหนึ่งคือนางขันกีของเรานี่เอง
ตำนานบอกว่า  ปีศาจจำแลงเป็นนางขันกี   (ในห้องสินบอกว่าปีศาจฆ่านางแล้วเข้าสิงร่าง) แต่อย่างหนึ่งที่แปลงไม่ได้คือเท้า  ยังมีลักษณะเป็นอุ้งตีนอยู่   นางปีศาจจึงใช้ผ้าพันเท้าไว้   แล้วบอกใครๆว่าการรัดเท้าเล็กเป็นความงาม
ก็เลยเกิดเป็นกระแสนิยมขึ้นมา สำหรับนางในวังและลูกสาวผู้ดีทั้งหลาย

ไซซีเป็นหญิงชาวบ้าน  ไม่ต้องรัดเท้า เพราะต้องทำงานหนักอย่างชาวชนบททั่วไป    เท้าเติบโตตามธรรมชาติ  เห็นจะเป็นอย่างนี้จึงกลายเป็นจุดด้อยว่าเท้าใหญ่ละมังคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 20 คำสั่ง