เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 33140 ประวัติศาสตร์จีน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 22:24

จัดหาภาพประกอบมาให้จขกท.
ไม่ทราบว่าระบบของเรือนไทยเปิดโอกาสให้ browse รูปจาก IPAD ได้หรือเปล่า   ไม่เคยลอง     ต้องรอแอดมินมาตอบค่ะ

พระเจ้าอวี่  ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เซี่ย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 22:29

เซี่ยเจี๋ย  ปัจฉิมกษัตริย์ของราชวงศ์เซี่ย


บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 23:21

ถัดจากราชวงศ์เซี่ยก็มายังราชวงศ์ซางหรือชาง

ราชวงศ์ซาง(1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 1,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

              วงการประวัติศาสตร์ของจีนมักจะเห็นว่าราชวงศ์เซี่ยเป็นราชวงศ์ที่โบราณที่สุดของจีน แต่ข้อมูลเกี่ยวกับราชวงศ์เซี่ยส่วนใหญ่เป็นบันทึกในหนังสือยุคหลังทั้งสิ้น จนถึงปัจจุบันก็ยังค้นไม่พบพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือทางโบราณคดี ส่วนราชวงศ์แรกที่มีพยานหลักฐานที่เชื่อถือได้ และได้จากการค้นพบทางโบราณคดีของจีน คือ ราชวงศ์ชาง

              ในสมัยซางได้มีความเชื่อเกี่ยวกับ ‘ฟ้า’ เกิดขึ้นแล้ว อักษรจารบนกระดูกสัตว์ที่ขุดพบมีอักษรคำว่า ตี้หรือเต้ ซึ่งก็คือ ฮ่องเต้อยู่ด้วย ดังนั้น เมื่อครั้งที่ซางทังยกทัพปราบเซี่ยเจี๋ยกษัตริย์ การขุดค้นทางโบราณคดีและการวิจัยทางศึกษาวิชาการพิสูจน์ว่า ในสมัยราชวงศ์ซาง มีประเทศเกิดขึ้นแล้ว ระบอบกรรมสิทธิ์ก็ได้กำหนดขึ้น ตั้งแต่สมัยนี้เป็นต้นมา จีนก็ได้พัฒนาเข้าสู่สมัยอารยธรรม ในรสชวงศ์ชางนี้ถือได้ว่ามีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรก โดยพบจารึกบนกระดองเต่า และกระดูกวัว เรื่องที่จารึกส่วนใหญ่เป็นการทำนายโชคชะตา จึงเรียกว่า “กระดูกเสี่ยงทาย”


                เมื่อราชวงศ์ซางสืบทอดอำนาจแทนราชวงศ์เซี่ยแล้ว ก็ถือเป็นยุคสมัยที่สองของประเทศจีนที่มีสืบทอดอำนาจแบบสันตติวงศ์ จากสมัยของรัชสมัยไท่อี่หรือซางทัง จนถึง ตี้ซิ่งหรือซางโจ้ว ทั้งสิ้น 17 รุ่น 31 รัชกาล รวมระยะเวลากว่า 600 ปี      

                หลังจากที่ซางทังก่อตั้งประเทศแล้ว เนื่องจากได้รับบทเรียนจากการล่มสลายของราชวงศ์เซี่ย จึงเลิกการกดขี่บังคับราษฎรเช่นอย่างในสมัยของเซี่ยเจี๋ย โดยหันมาใช้หลักเมตตาธรรมในการปกครอง  ทำให้การเมืองภายในของราชวงศ์ซางค่อนข้างเป็นไปด้วยดี ไม่ค่อยมีความขัดแย้ง สภาพทางการเมืองค่อนข้างมีเสถียรภาพ กำลังทหารก็เข้มแข็งมากขึ้น จึงเริ่มทำสงครามกับแว่นแคว้นรอบนอก ซึ่งโดยมากก็ประสบชัยชนะ ดังในบันทึกของเมิ่งจื่อ เมธีแห่งสำนักปรัชญาของขงจื้อ ระบุไว้ว่า ‘ทังสู่สนามรบโดยไร้ผู้ต่อต้าน’ สะท้อนให้เห็นว่าภายใต้การปกครองของซางทัง จีนได้กลายเป็นรัฐที่เข้มแข็งทางการทหาร

                ในรัชสมัยของซางทังผู้ปกครองพระองค์แรก มีเสนาบดีที่ฉลาดปราดเปรื่องคอยช่วยเหลืออยู่ถึง 2 คน ได้แก่ อีหยิ่น และจ้งฮุย จากหลักฐานบันทึกว่า พวกเขาทั้งสองมีบทบาททางการเมืองในการบริหารราชการแผ่นดินไม่น้อยทีเดียว โดยหลังจากพวกเขาดำรงตำแหน่งเสนาบดีซ้ายขวาแล้ว ก็มีผลงานดีเด่นในการบริหารบ้านเมือง รักษาความสงบ และพัฒนาการผลิต เป็นต้น หลังจากจ้งฮุยเสียชีวิต บทบาททางการเมืองของอีหยิ่นก็ยิ่งโดดเด่นมากขึ้น จนกลายเป็นเสนาบดีเก่าแก่คนสำคัญในรัชสมัยซางทังจนถึงไท่เจี่ย      

                หลังจากซางทังสิ้นพระชนม์ เนื่องจากบุตรชายคนโตไท่ติง ได้เสียชีวิตไปก่อน ดังนั้นราชบัลลังก์จึงตกเป็นของบุตรชายคนรองชื่อไว่ปิ่ง เมื่อไว่ปิ่งเสียชีวิต น้องชายของเขาจงเหยิน ก็สืบตำแหน่งต่อมา เมื่อจงเหยินสิ้นชีวิตลง ราชบัลลังก์ก็ส่งผ่านไปยังบุตรชายของไท่ติง อันได้แก่ ไท่เจี่ย ซึ่งก็ถือว่าเป็นรุ่นหลานของซางทัง      

                จากบันทึกประวัติศาสตร์ว่าด้วยชนเผ่ายิน กล่าวว่า “ไท่เจี่ยครองราชย์สามปี ไม่อยู่ในธรรม ไม่เคารพกฎของซางทัง จนถูกอีหยิ่นจับคุมขังไว้ในวังถึง 3 ปี จึงรู้สำนึกผิด อีหยิ่นจึงเชิญไท่เจี่ยกลับสู่บัลลังก์ จากนั้น ไท่เจี่ยก็ปกครองแผ่นดินด้วยเมตตาธรรม กระทั่งเหล่าขุนนางยอมสยบ ไพร่ฟ้าอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข นี่เป็นเรื่องเล่าที่แสดงว่า อีหยิ่นเป็นผู้ธำรงการปกครองโดยหลักธรรม ทำให้ราชวงศ์ซางสามารถปกครองแผ่นดินด้วยความสงบร่มเย็นมาเป็นเวลานาน และได้กลายเป็นเรื่องเล่าขานต่อมา จนทำให้ชื่อเสียงของอีหยิ่น ได้รับการเชิดชูและนำมาใช้เรียก ผู้ที่มีเมตตาธรรมและคุณธรรมสูงส่ง

                ทว่า การปกครองด้วยการแบ่งชนชั้น ย่อมไม่อาจสลายความละโมบในอำนาจและการแก่งแย่งผลประโยชน์ภายในวังหลวงได้ บันทึกประวัติศาสตร์ของชนเผ่ายิน ระบุไว้ว่า “นับแต่รัชสมัยจ้งติงเป็นต้นมา ผู้ปกครองได้ละทิ้งความชอบธรรม แต่งตั้งเชิดชูแต่พวกพ้อง เหล่าญาติมิตรต่างพากันแบ่งฝักฝ่ายเพื่อแย่งชิงอำนาจ เกิดความวุ่นวายไม่หยุดหย่อน เป็นเหตุให้เหล่าขุนนางกบฏก่อศึกล้มล้างราชบัลลังก์”      

                จากสมัยจ้งติงจนถึงผานเกิงนับได้ 9 ชั่วรุ่น เต็มไปด้วยการแย่งชิงบัลลังก์ภายในราชวงศ์ซาง อันเป็นต้นเหตุแห่งการล่มสลายของราชวงศ์ และท่ามกลางความวุ่นวายในช่วงนี้ ก็ได้มีการย้ายเมืองหลวงอยู่บ่อยครั้ง      

                มีหลักฐานระบุว่า ในสมัยราชวงศ์ซางมีการย้ายเมืองหลวงถึง 5 ครั้ง ได้แก่ รัชสมัยจ้งติงย้ายจากเมืองป๋อไปเมืองอ๋าว รัชสมัยเหอตั้นเจี่ยย้ายจากอ๋าวไปเมืองเซี่ยง รัชสมัยจู่อี่ย้ายไปเมืองปี้ รัชสมัยหนันเกิงย้ายไปเมืองอั่นและรัชสมัยผานเกิงย้ายจากเมืองอั่นไปเมืองเป่ยเหมิงหรือเมืองยิน (บริเวณเมืองอันหยางของมณฑลเหอหนานในปัจจุบัน)

                ราชวงศ์ซางนี้บางคนก็เรียกราชวงศ์อินซาง เป็นยุคแห่งไสยศาสตร์โดยแท้ นิยมการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่ากันมาก ราชวงศ์นี้ ได้มีการขุดพบหลักฐานมากมาย จึงเชื่อว่ามีอยู่จริง โดยหลักฐานที่ขุดได้เป็นแผ่นจารึกตัวอักษรโบราณและเศษกระดองเต่า เป็นยุคที่เชื่อถือในอำนาจแห่งสวรรค์มาก ถือว่าทุกสิ่งนั้นสวรรค์เป็นผู้กำหนด

               กษัตริย์องค์สุดท้ายคือ พระเจ้าอินโจวหรือโจ้ว (ติวอ๋อง) ซึ่งในประวัติศาสตร์ประณามไว้ว่า เป็นคนโหดร้ายทารุณมาก นิยมการสงคราม และหลงใหลในอิสตรี โดยเฉพาะสนมเอกชื่อ ต๋าจี หรือขันกี ซึ่งเป็นคนวิปริตผิดมนุษย์ คอยยุยงให้โจ้วฆ่าคนเป็นผักปลา สร้างสระเหล้าดงเนื้อขึ้น (เอาน้ำเหล้ามาใส่ในสระ แล้วเอาเนื้อสัตว์มาห้อยไว้ตามต้นไม้) ต่อมา โจวอู่หวัง เจ้าผู้ครองแคว้นโจว ทางตะวันตก ได้ยกทัพมาปราบโจ้วอ๋อง โดยอ้างว่า ได้รับ "อาณัติ" หรือ "เทียนมิ่ง" จากสวรรค์ให้มาปราบ และได้ชัยชนะ โจ้วอ๋องจึงฆ่าตัวตายโดยกระโดดลงกองไฟ แต่จริงๆ แล้ว นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนัก ว่าโจ้วอ๋องจะโหดร้ายเช่นนั้นจริงหรือไม่ เพราะไม่มีหลักฐานชัดเจน รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับต๋าจีด้วย เรื่องราวในตอนท้ายราชวงศ์ซางนี้ ได้มีการนำไปแต่งเป็นนิยายหลายเรื่อง หนึ่งในเรื่องนั้นก็คือ "นาจา" นั่นเอง และหนังสือพงศาวดารชื่อว่า "ฮ่องสิน" โดยจะเน้นหนักไปทางอิทธิปาฏิหาริย์เสียมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 09:13

เคยสอนพงศาวดารเรื่อง ห้องสิน ให้นศ.ปริญญาโทของสถาบันวิจัยภาษาฯ ของมหิดล เพื่อศึกษาภาษาไทยที่ใช้แปลพงศาวดารจีนสมัยต้นรัตนโกสินทร์      เรื่องห้องสิน เราเคยคุยกันมาในเรือนไทยบ้างค่ะ
พูดจากเนื้อเรื่อง ถ้าตัดส่วนที่เสริมแต่งเข้าไปเป็นปาฏิหาริย์โลดโผนตื่นเต้น    มองด้านการเมืองก็พอจะมองเห็นได้ว่า นางขันกีน่าจะเป็นไส้ศึกของฝ่ายใดฝายหนึ่งที่ประสงค์จะล้มล้างบัลลังก์พระเจ้าติวอ๋อง    นี่ตัดประเด็นว่านางเป็นโรคจิตประเภท Sadism ออกไปนะคะ     เพราะพฤติกรรมของนางที่เหี้ยมโหดบ้าคลั่ง อย่างไร้ที่มาที่ไป  ข่มเหงรังแกราชสำนักและแม่ทัพนายกองฝีมือดี  ล้วนเป็นการบั่นทอนกำลังของพระเจ้าติวอ๋องให้อ่อนแอลงจนเสียบัลลังก์ในที่สุด

ในห้องสิน  แปลปีศาจที่มาสิงนางขันกี ว่าเป็นปีศาจเสือปลา     แต่ปัจจุบันอ่านในอินทรเนตร ที่ทำเป็นหนังสือและภาพยนตร์  เรียกว่าปีศาจจิ้งจอก      ตัวนี้น่าจะเป็นตัวเดียวกับที่เกร็ดพงศาวดารจีนยุคหลังอย่างเรื่องจอยุ่ยเหม็งเรียกว่าตัวฮู่ลี้   ในเรื่องจอยุ่ยเหม็งแปลว่าชะมด   
ฝากถามคนรู้ภาษาจีนว่า ฮู่ลี้นี่มันตัวอะไรกันแน่ คะ
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 11:10

เข้ามาลงทะเบียนเรียน
แต่ยังอ่านตามไม่ทัน

ยังไม่สอบใช่ไหมเจ้าคะ
 
 ยิ้ม   ยิ้มกว้างๆ   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 13:54

ฮู่ลี้คือ 狐狸 (จีนกลางอ่านว่า หูหลี) แน่นอนว่าเป็นตัวเดียวกับปีศาจเสือปลาหรือปีศาจจิ้งจอกที่เข้าสิงนางขันกี  และก็ชะมดในจอยุ่ยเหม็งด้วยครับ

ลองเอาชื่อ 狐狸 ไปหยอดใน google ดูสิครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 14:19

狐狸 = หมาจิ้งจอก

แล้วทำไมแปลเป็นเสือปลากับชะมดไปได้

 ฮืม
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 20:33


ช่วงรอยต่อนั้นแท้ที่จริงแล้วมีสองช่วงคือ ระหว่างปี ค.ศ. 194 ถึง 265 และระหว่าง ค.ศ. 420 ถึง 581
เหตุที่เป็นดังนี้เพราะในช่วงแรกนั้นเป็นสมัยของ "สามก็ก" เข้าใจว่าคงตัดสินยากว่าใครคือฮ่องเต้ที่แท้จริง ข้อมูลที่ค้นมาแต่แรกจึงเว้นว่างไว้ (ฮั่นเฉาเชาก็ืคือ โจโฉ ตัวละครเอกในสามก๊ก ซึ่งที่จริงแล้วควรเอาออกจากตารางดงกล่าวข้างต้น จึงเรียนมา ณ ที่นี้)
เช่นเดียวกับในช่วงหลังที่เป็นข่วงสมัยของ "รัฐเหนือใต้" ซึ่งก็เช่นกันเพราะยากที่บอกว่าใครคือฮ่องเต้ที่ปกครองผืนแผ่นดินจีนทั้งปวง

ท่านใดมีความเห็นต่างเชิญแถลงเพื่อเป็นวิทยาทานด้วยครับ


ถ้าลองอ่านดูในคำศัพท์ที่ใช้บันทึกระหว่างแต่ละก๊ก นักประวัติศาสตร์อย่างเฉินโซ่ว ใช้ราชาศัพท์กับก๊กเว่ย หรือ เฉาเว่ย ครับ

ส่วนก๊กสู่ กับ ก๊กหวู ใช้คำศัพท์สำหรับหวัง(อ๋อง) ธรรมดาเท่านั้น

ในช่วง ระหว่างปี ค.ศ. 194 ถึง 265 ยังต้องนับเป็น ฮั่นตะวันตก อยู่ เพราะ เฉาเชา ไม่ได้สถาปนาตัวเองเป็น เทียนตี้(ฮ่องเต้ : Emperor) แต่เป็นแค่ เว่ยหวัง(วุยอ๋อง Wei Wang) ใน ค.ศ. ๒๑๖ เท่านั้น

จนกระทั่ง ค.ศ. ๒๒๐ เฉาผิ จึงได้ปราบดาภิเษกเป็น จักรพรรดิเว่ยเหวิน (เว่ยเหวินตี้) นั่นเอง

ตามธรรมเนียมจีน สามารถมีเจ้าผู้ครองนครในแผ่นดินได้หลายองค์ แต่เจ้าผู้ครองนครทุกองค์ ต้องอยู่ภายใต้กษัตริย์(เทียนตี้) องค์เดียวเท่านั้น

เพราะฉะนั้น จะมี ฉีหวัง, ฉู่หวัง, เว่ยหวัง, เยี่ยนหวัง, ฉินหวัง, จ้าวหวัง, หานหวัง ฯลฯ อื่น ก็ได้แล้วแต่ใครจะสถาปนาแคว้นตัวเองได้ แต่ถ้าตราบใดยังไม่ได้สถาปนาตัวเองเป็น เทียนตี้ ก็เป็นแค่สถานะเจ้าผู้ครองนครธรรมดาเท่านั้นเอง

ถ้าเทียบกับยุคอยุธยา ก็คงจะเป็น เจ้านครเชียงใหม่, พระมหาธรรมราชาแห่งพิษณุโลก , พระยาศรีธรรมาโศกราชแห่งนครศรีธรรมราช ซึ่งทั้งหมด ต้องอยู่ใต้อาณัติของ พระมหากษัตริย์แห่งพระนครศรีอยุธยานั่นเองครับ


  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 22:57

狐狸 = หมาจิ้งจอก

แล้วทำไมแปลเป็นเสือปลากับชะมดไปได้

 ฮืม
ห้องสินแปลในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ด้วยกรรมวิธีเดียวกับสามก๊ก คือมีคณะแปลทั้งจีนและไทย     ขอเดาว่าซินแสจีนคงอพยพมาอยู่ในอาณาจักรไม่นานพอจะรู้จักหมาจิ้งจอก   เมื่อพยายามอธิบายตัวหูหลีว่ามันคืออะไรให้ท่านมหาทั้งหลายฝ่ายไทยฟัง    ก็เกิดการตีความกันขึ้นทางฝ่ายไทย    แล้วคงมีใครสักคนลงความเห็นว่าเป็นเสือปลา(ละมั้ง)
ในจอยุ่ยเหม็ง เมื่อนางปีศาจแปลงตัวมาเป็นสาวงาม  ถูกจอยุ่ยเหม็งหักนิ้วกลาง ฤทธิ์ก็เสื่อม กลายร่างกลับไปเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง หน้าแหลม หางเป็นพวง ตาแดงเป็นไฟ   ผู้แปลอธิบายว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง คล้ายๆชะมด   บทต่อๆมาเรียกว่าปีศาจชะมดเต็มปาก

ชาวกรุงรัตนโกสินทร์น่าจะคุ้นกับหน้าตาชะมด และเสือปลา มากกว่าหมาจิ้งจอก   เดาจากการแปลเกร็ดพงศาวดารจีน

คุณเพ็ญชมพูคงรู้จักดีทั้งหมาจิ้งจอกและชะมด  ว่าคล้ายกันมากน้อยแค่ไหน   
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 23:30

ขอบคุณท่าน Samun007 ที่ช่วยเติมเต็มในส่วนที่ขาดครับ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 11:03

มาติดตามราชวงศ์ต่อไปของจีนกันต่อนะครับ ราชวงศ์ต่อไปคือ

ราชวงศ์โจวตะวันตก (1,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 771 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

                 โจวมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เดิมอาศัยอยู่ในแถบเสียกาน ต่อมาอพยพไปตั้งรกรากยังโจวหยวนซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอำเภอฉีซานมณฑลส่านซีของจีน เมื่อ 1,100 ปีก่อนคริสต์ศักราชชนเผ่าต้นตระกูลโจวก็มีขุมกำลังเข้มแข็งขึ้น พวกเขาทางหนึ่งรวบรวมรัฐเล็ก ๆรอบข้างเข้ามา อีกทางหนึ่งโยกย้ายนครหลวงจากโจวหยวนมายังดินแดนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเฟิง หรืออำเภอฉางอานในปัจจุบัน โดยตั้งเป็นเมืองเฟิงจิง จากนั้นแพร่ขยายอิทธิพลไปทางทิศตะวันออก ทำให้เกิดข้อพิพาทกับราชวงศ์ซาง        

                 ขณะนั้นราชวงศ์ซางในรัชสมัยตี้ซิ่งหรือซางโจ้วนั้น ได้กักขังซีป๋อชั่ง(หรือต่อมาเป็นโจวเหวินหวังผู้นำของราชวงศ์โจว)ไว้ที่โหย่วหลี่มาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ขุนนางของโจวถวายหญิงงามและเพชรนิลจินดามากมายให้แก่ซาง ตี้ซิ่งจึงยอมปล่อยตัวซีป๋อชั่ง เมื่อซีป๋อชั่งกลับถึงรัฐของตน ก็เร่งระดมพลเพื่อยกทัพบุกซาง ในเวลานั้น การเมืองภายในราชวงศ์ซางล้มเหลวฟอนเฟะ เกิดการแตกแยกทั้งภายในนอก โจวเหวินหวัง  เห็นว่าสถานการณ์สุกงอมแล้ว ขณะตนใกล้สิ้นลมจึงกำชับสั่งเสียให้บุตรชายไท่จื่อฟา หรือโจวอู่หวัง  รวบรวมไพร่พลยกทัพบุกซาง

                 เมื่อโจวอู่หวังขึ้นสืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากโจวเหวินหวัง ก็กรีฑาทัพครั้งใหญ่โดยมี พลรถ 300 พลทหารราบ 450,000 หน่วยกล้าตาย 3,000 มุ่งสู่ตะวันออก ระหว่างทางบรรดารัฐเล็ก ๆได้แก่ ยง  สู  เชียง  จง  เวย  หลู  เผิง  ผู  เป็นต้น ต่างยอมสวามิภักดิ์เข้าร่วมกับกองทัพ โจวอู่หวังได้ประกาศโทษทัณฑ์ความผิดของซางโจ้ว ซางโจ้วจึงจัดทัพ 170,000 ออกมาสู้รบด้วยโจวอู่หวัง ทว่าเหล่าทหารของซางไม่มีกำลังใจสู้รบ ต่างพากันทิ้งอาวุธหลบหนี เป็นเหตุให้ทัพโจวได้ชัยชนะ ฝ่ายซางโจ้วหลบหนีไป ภายหลังเสียชีวิตที่ลู่ไถ ราชวงศ์ซางจึงล่มสลาย นับแต่นั้นมา ประวัติศาสตร์จีนก็เข้าสู่ยุคราชวงศ์โจว 

                 โจวอู่หวังเมื่อได้ชัยชนะเหนือซางแล้ว ก็เข้าครอบครองดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของซาง อีกทั้งยังปราบปรามรัฐเล็ก ๆ รอบข้าง ทว่าปัญหาอันหนักอึ้งที่โจวอู่หวังต้องเผชิญก็คือการจะรักษาผืนแผ่นดินตะวันออกนี้ไว้ได้อย่างไร ดังนั้น เขาจึงเลือกใช้นโยบาย ‘เมืองหน้าด่าน’ โดยมอบหมายให้ญาติพี่น้องและขุนนางที่มีความดีความชอบออกไปปกครองยังดินแดนต่าง ๆ ตั้งให้เป็นผู้ครองแคว้น โดยผู้ครองแคว้นจะได้รับอำนาจในการปกครองดินแดนรอบนอกผืนหนึ่ง อีกทั้งพวกเขาเหล่านั้นยังถือเป็นผู้พิทักษ์ราชสำนักโจวอีกด้วย จึงนับได้ว่าราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์แรกที่เริ่มใช้ระบบ "ศักดินา" และเป็นราชวงศ์แรกที่เริ่มแบ่งดินแดนออกเป็นแคว้นและแต่งตั้งเชื้อพระวงศ์แซ่เดียวกันขึ้นเป็น อ๋อง พร้อมกับส่งอ๋องเหล่านั้นไป ปกครองแคว้นต่างๆ

                 โจวอู่หวังยังได้แต่งตั้งให้อู่เกิง บุตรของซางโจ้วดูแลแคว้นซาง เพื่อสามารถควบคุมชาวซางต่อไป โดยส่งน้องชายของเขา ได้แก่ ก่วนซู่  ไช่ซู่ และฮั่วซู่ ให้คอยตรวจสอบอู่เกิง นอกจากนี้ ยังแต่งตั้งให้โจวกงตั้น ไปปกครองแคว้นหลู่ ส่วนเจียงซ่างไปปกครองแคว้นฉี และเส้ากงซื่อ ไปครองแคว้นเอี้ยน        

                 หลังจากโจวอู่หวังสิ้นพระชนม์ เฉิงหวัง บุตรชายของเขาได้สืบทอดราชบัลลังก์ แต่เนื่องจากยังอยู่ในวัยเยาว์ จึงมอบหมายให้โจวกงตั้นหรือโจวกง เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เป็นเหตุให้ก่วนซู่และไช่ซู่ไม่พอใจโจวกง จึงปล่อยข่าวใส่ร้ายโจวกงกล่าวหาว่าวางแผนชิงบัลลังก์ ต่อมา อู่เกิงก็เข้าร่วมกับก่วนซู่และไช่ซู่รวบรวมแว่นแคว้นเล็ก ๆ ทางภาคตะวันออก อันได้แก่สวี เหยี่ยน ป๋อกู เป็นต้น เพื่อเป็นฐานก่อการกบฏ โจวกงจึงต้องใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม โดยใช้เวลา 3 ปี สุดท้ายจึงสามารถปราบกบฏอู่เกิง ก่วนซู่และไช่ซู่ลงได้ ประหารอู่เกิงและก่วนซู่ เนรเทศไช่ซู่ จากการปราบกบฏครั้งนี้ ทำให้ราชวงศ์โจวมีรากฐานที่มั่นคงยิ่งขึ้น 

                 สืบเนื่องจากโจวอู่หวังเมื่อล้มล้างราชวงศ์ซางแล้ว ก็กลับไปนครหลวงเฮ่าจิง (ย้ายมาจากเฟิงจิง)แล้วพบว่า ระยะทางระหว่างเมืองเฮ่าจิงกับศูนย์กลางการปกครองแห่งใหม่อยู่ห่างไกลกันเกินไป ดังนั้นจึงคิดจะย้ายมาสร้างเมืองหลวงใหม่ในแถบลุ่มแม่น้ำอีและแม่น้ำลั่ว ซึ่งเป็นศูนย์กลางของชนเผ่าเซี่ยมาแต่เดิม แต่ความคิดนี้ยังไม่ทันได้เป็นจริง ก็ล้มป่วยสิ้นพระชนม์ลงเสียก่อน จากจารึกที่ขุดได้จากเมืองเป่าจีพบว่า โจวเฉิงหวัง เมื่อได้สืบทอดราชบัลลังก์แล้ว ก็ได้สานต่อแนวปณิธานของโจวอู่หวัง โดยกำหนดตั้งเมืองหลวงใหม่บริเวณลุ่มแม่น้ำอีและแม่น้ำลั่วซึ่งอยู่ใกล้เมืองลั่วหยัง ในปัจจุบัน โดยใช้เมืองใหม่นี้เป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งใหม่ ซึ่งก็สามารถร่นระยะทางไปได้มากทีเดียว  

                 เพราะเพื่อการนี้ เฉิงหวังได้เคยแต่งตั้งให้เส้ากงซื่อหรือเส้ากง ไป ‘สำรวจ’ละแวกเมืองลั่วหยัง ไม่นานนัก เมืองหลวงแห่งใหม่คือ ลั่วอี้หรือนครหลวงตะวันออก ก็รวมเข้ากับเมืองเฮ่าจิง เมืองหลวงเดิมซึ่งโจวอู่หวังได้สร้างไว้ กลายเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรม การปกครอง และการทหารของราชวงศ์โจวตะวันตก และเพื่อล้มล้างแนวคิดกอบกู้บ้านเมืองของประชาชนชาวซาง เฉิงหวังจึงอพยพชาวยินหรือซางเข้าสู่เมืองเฉิงโจวเมืองหลวงแห่งใหม่

                 "เมื่อโจวหวังพระราชทานที่ดินและไพร่พลให้แก่บรรดาเจ้าแคว้นนั้น ก็ต้องจัดพิธีรับที่ดินและไพร่พลนั้น เหล่าเจ้าครองแคว้นที่ได้รับการแต่งตั้ง ต้องมีกำหนดเวลาแน่นอนเพื่อเข้าเฝ้าโจวหวัง โดยมีภารกิจในการปกป้องราชสำนักโจว พวกเขายังจะต้องส่งบรรณาการให้กับโจวหวังด้วย (รวมทั้งการเกณฑ์ทหารไพร่พล) หากไม่ส่งบรรณาการก็จะถือว่าคิดการก่อกบฏต่อราชสำนัก" 

               ราชวงศ์นี้มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 12 พระองค์ ก่อนที่จะสิ้นสุดราชวงศ์ในรัชสมัยของ พระเจ้าโจวอิวหวัง

               สมัยของโจวอิวหวาง กษัตริย์องค์ที่ 12 ซึ่งหลงใหลมเหสีมาก มเหสีมีนามว่า เปาสี กล่าวกันว่านางเป็นคนสวยมาก แต่เป็นคนยิ้มไม่เป็น ทำให้โจวอิวหวางกลุ้มใจมาก ถึงกับตั้งรางวัลไว้พันตำลึง สำหรับผู้ที่ออกอุบายให้นางยิ้มได้ วันหนึ่ง คิดอุบายได้ด้วยการจุดพลุให้อ๋องต่าง ๆ เข้าใจว่า ข้าศึกบุกเมืองหลวงแล้ว เมื่อยกทัพมาถึงกลับไม่มีอะไร ทำให้เปาสียิ้มหัวเราะออกมาได้ แต่อ๋องต่าง ๆ โกรธมาก แล้วในที่สุด ก็มีข้าศึกยกมาตีเมืองหลวงจริง ๆ โจวอิวหวางได้จุดพลุขึ้นอีกครั้ง แต่คราวนี้ไม่มีอ๋องคนไหนเชื่อ เลยไม่มีใครยกทัพมาช่วย ข้าศึกจึงตีเมืองได้ โจวอิวหวางถูกฆ่าตาย นางเปาสีถูกจับตัวไป ยิ้มของนางต่อมาถูกเรียกว่า "ยิ้มพันตำลึงทอง" ซึ่งเป็นยิ้มที่นำความวิบัติ มาสู่ราชวงศ์โจวโดยแท้ ต่อมา พวกอ๋องต่าง ๆ ได้ยกทัพมาช่วยตีข้าศึก แล้วตั้งโจวผิงหวาง โอรสของโจวอิวหวาง เป็นกษัตริย์ต่อไป ราชวงศ์โจวจึงต้องย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ลกเอี๋ยง (ลั่วหยาง ในปัจจุบัน) ซึ่งอยู่ทางตะวันออก เรียกว่า ราชวงศ์โจวตะวันออก หรือ ตงโจว (Eastern Zhou)

ราชวงศ์โจวตะวันออก(771-256 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองสืบต่อจากราชวงศ์โจวตะวันตกโดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ลั่วหยาง ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองซีอาน เมืองหลวงเก่าของราชวงศ์โจวตะวันตกปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์นี้คือพระเจ้าโจวผิงหวัง ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์แค่ในนามเพราะองค์กษัตริย์ทรงไร้พระราชอำนาจที่จะปกครองเหล่าอ๋องต่างๆ ได้ เนื่องจากอ๋องต่างๆ ได้แข็งเมืองและทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน
ในสมัยราชวงศ์นี้การแย่งชิงอำนาจกันของเหล่าอ๋องแบ่งเป็น 2 ยุคโดยยุคแรกเรียกว่า ยุคชุนชิว ยุคที่สองเรียกว่า ยุคจ้านกว๋อ

บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 11:41

ชุนชิว - จ้านกั๋ว (770 - 221 B.C.)

ยุคชุนชิว (แปลว่า ยุคฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วง หรือ ฤดูวสันต์และฤดูสารท ภาษาอังกฤษ: Spring and Autumn Period, ภาษาจีน: 春秋時代, พินอิน: Chūnqiū Shídài) ยุคสมัยหนึ่งกินระยะเวลาประมาณ 770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช (บางข้อมูลถือ 365 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 482 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นยุคหนึ่งในราชวงศ์โจว ราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน นับเป็นยุคสมัยที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมากในแง่ต่าง ๆ เนื่องจากเป็นยุคที่นครรัฐแต่ละรัฐรบด้วยด้วยกลอุบายที่แยบยล ก่อให้เกิดเป็นตำนานและเรื่องเล่าขานมากมายจนปัจจุบัน และเป็นต้นเรื่องที่ทำให้เกิดวรรณคดีจีนเรื่องสำคัญอีกเรื่อง คือ เลียดก๊ก ซึ่งการรบในยุคเลียดก๊กนั้นหลายเรื่องได้ถูกอ้างอิงในสามก๊กที่เกิดหลังจากนี้อีกนับพันปีต่อมา
อีกแง่หนึ่ง เป็นยุคที่นักปราชญ์บัณฑิตแต่ละสาขาได้ถือกำเนิดและมีชีวิตอยู่ ซึ่งได้แต่งตำราหรือคำสอนต่าง ๆ ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, เม่งจื๊อ, ม่อจื๊อ เป็นต้น ในส่วนของปราชญ์แห่งสงคราม ก็คือ ซุนวู นั่นเอง

                 ราชวงศ์โจวปกครองด้วยกษัตริย์อย่างเข้มแข็งมากว่า 11 องค์ จนกระทั่งถึงรัชกาลของโจวอิวหวาง รัชกาลที่ 12 อำนาจของราชวงศ์โจวก็เริ่มเสื่อมถอย เพราะโจวอิวหวางงมัวแต่หมกมุ่นกับสุราและนารี จนกระทั่งถูกข้าศึกจับกุมตัวไป 7 ปีต่อมา กองทัพผสมของอ๋องต่าง ๆ ในแต่ละรัฐได้รวมตัวกันขับไล่ข้าศึกออกไป และอัญเชิญโอรสของโจวอิวหวางขึ้นครองราชย์ มีพระนามว่า โจวผิงหวาง ได้มีการย้ายเมืองหลวงจากเมืองเฮ่าจิง มาอยู่ที่ลกเอี๋ยง (ลั่วหยาง ในปัจจุบัน) ซึ่งอยู่ทางตะวันออก ยุคนี้ต่อมานักประวัติศาสตร์จึงได้เรียกว่า ยุคราชวงศ์โจวตะวันออก (Eastern Zhou) หรือ ยุคชุนชิว นั่นเอง (ที่เรียกว่า ชุนชิว ที่หมายถึง ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงนั้นมาจากชื่อคำภีร์ของขงจื๊อที่บันทึกเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ในยุคนี้ ที่ชื่อ บันทึกแห่งฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง หรือ ชุนชิว ซึ่งเป็นคำภีร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของขงจื๊อด้วย ผู้คนจึงเรียกชื่อยุคนี้ตามคำภีร์ และคำภีร์เล่มนี้ก็นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ชุนชิว เช่นกัน) ซึ่งยุคนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุคใหญ่ต่อเนื่องกัน ๆ คือ
ยุคชุนชิว (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
ยุคจ้านกว๋อ (เลียดก๊ก ในภาษาแต้จิ๋ว) (477 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 222 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

                ในยุคชุนชิวนั้น นครรัฐต่าง ๆ ที่เคยมีอย่างมากมายในยุคราชวงศ์โจวก่อนหน้านั้น เหลือเพียง 140 รัฐ จากการถูกผนวกรวมเป็นหนึ่งเดียวกับรัฐที่เข้มแข็งกว่า มีบันทึกว่า รัฐหลู่ทำลาย 58 รัฐ รัฐจิ้นทำลาย 24 รัฐ รัฐฉินทำลาย 15 รัฐ รัฐฉีทำลาย 14 รัฐ รัฐเจิ้งทำลาย 6 รัฐ รัฐอู๋ทำลาย 5 รัฐ และรัฐทั้ง 140 รัฐนี้ มีรัฐที่เรียกได้ว่าเป็นรัฐขนาดใหญ่ มีอำนาจที่แท้จริงไม่ถึง 10 รัฐ
                รัฐใหญ่เหล่านี้ มีผู้ปกครองเรียกว่า "อ๋อง" มเหสีเรียกว่า "ฮองเฮา" และอัครมหาเสนาบดีเรียกว่า "ไจ่เซี่ยง" เช่นเดียวกับราชวงศ์โจว แม้กษัตริย์ของราชวงศ์โจวยังคงอยู่ในตำแหน่ง แต่ก็ต้องโอนเอียงไปตามความปรารถนาของอ๋องแต่ละรัฐ นับได้ว่าเป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น
สำหรับเจ้าผู้ครองรัฐใหญ่เหล่านี้ ต่างแย่งชิงกันเป็น "ป้าจู่" (ปาอ๋อง) หมายถึง เจ้าผู้ปกครองรัฐที่มีอำนาจสูงสุด สำหรับอ๋องในยุคชุนชิวที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ปาอ๋อง อย่างแท้จริงมี 5 คน คือ ฉีหวนกง, จิ้นเหวินกง, ฉินมู่กง,ซ่งเซียงกง และ ฉู่จวงหวาง

อุบายนางงามไซซี
                ไซซี หรือ ซีซือ เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน เกิดประมาณ ปี 506 ก่อนคริสตกาล ซึ่งตรงกับยุคชุนชิว ที่มณฑลเจ้อเจียง ในรัฐเยว่ (State of Yue)
                ไซซีได้รับฉายานามว่า "มัจฉาจมวารี" (沉魚) ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงปลายังต้องจมลงสู่ใต้น้ำ" (so beautiful as to make swimming fish sink)
                ในยุคเลียดก๊กที่แต่ละรัฐรบกันนั้น รัฐอู๋เป็นรัฐที่มีกองกำลังทหารที่แข็งแกร่งจึงสามารถรบชนะรัฐเยว่และจับตัว เยว่อ๋องโกวเจี้ยน และอัครเสนาบดีฟ่านหลีไปเป็นตัวประกันที่รัฐอู๋ด้วย เยว่อ๋องโกวเจี้ยนต้องการที่จะแก้แค้นเพื่อกู้ชาติแต่จำต้องยอมจงรักภักดี เพื่อให้อู๋อ๋องไว้ใจ
                ครั้งหนึ่งอู๋อ๋องเกิดมีอาการปวดท้อง บรรดาหมอหลวงทั้งหลายไม่สามารถให้การรักษาได้ เยว่อ๋องโกวเจี้ยนได้ชิมอุจจาระของอู๋อ๋องต่อหน้าเสนาธิการทั้งปวง และบอกว่าอู๋อ๋องเพียงแค่มีพระวรกายที่เย็นเกินไป หากได้ดื่มสุราและทำร่างกายให้อบอุ่นขึ้นก็จะมีอาการดีขึ้นเอง และเมื่ออู๋อ๋องได้ทำตามก็หายประชวร อู๋อ๋องเห็นว่าเยว่อ๋องโกวเจี้ยนมีความจงรักภักดีจึงปล่อยตัวกลับคืนสู่รัฐ เยว่ เมื่อกลับสู่รัฐเยว่ เยว่อ๋องโกวเจี๋ยนก็วางแผนที่จะกู้ชาติทันที โดยมีฟ่านหลี่เป็นอำมาตย์คอยให้คำปรึกษา ฟ่านหลี่ได้เสนอแผนการสามอย่าง คือ ฝึกฝนกองกำลังทหาร พัฒนาด้านกสิกรรม และ ส่งสาวงามไปเป็นเครื่องบรรณาการ พร้อมกับเป็นสายคอยส่งข่าวภายในให้ ไซซีเป็นหญิงสาวชาวบ้าน ลูกสาวคนตัดฟืนที่เขาจู้หลัวซาน (ภาษาแต้จิ๋ว กิวล่อซัว) นางถูกพบครั้งแรกขณะซักผ้าริมลำธาร นางมีหน้าตางดงามมาก พร้อมกับนางเจิ้งตัน (แต้ตัน) ซึ่งมีความงามไม่แพ้กัน ฟ่านหลี่ (เถาจูกง) เสนาบดีรัฐเยว่เป็นผู้ดูแลอบรมนางทั้ง 2 ให้มีอุดมการณ์เพื่อบ้านเมือง เป็นเวลานานถึง 3 ปี เพื่อที่จะไปเป็นบรรณาการให้กับรัฐอู่ เพื่อมอมเมาให้อู่อ๋องฟูซา เจ้านครรัฐอู่ ลุ่มหลงอยู่กับเสน่ห์ของนาง จนไม่บริหารบ้านเมือง ซึ่งอู๋อ๋องฟูซาหลงใหลนางไซซีมากกว่านางเจิ้งตัน ทำให้นางเจิ้งตันน้อยใจจนผูกคอตาย ขณะที่มาอยู่ได้เพียง 2 ปีเท่านั้น ผ่านไป 13 ปี เมื่อรัฐอู่อ่อนแอลง รัฐเยว่ก็สามารถเอาชนะได้สำเร็จในที่สุด
ภายหลังจากที่อู่อ๋องฟูซา ฆ่าตัวตายไปแล้ว นางกับอำมาตย์ฟ่านหลี่ที่ว่ากันว่า ได้ผูกสัมพันธ์ทางใจไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ก็ได้หายตัวไปพร้อมกันหลังเหตุการณ์นี้ บ้างก็ว่าทั้งคู่ได้เดินทางท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ และไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันที่ทะเลสาบไซ้โอว (ทะเลสาบซีหู) เป็นต้น

                ราชวงศ์โจวและยุคชุนชิวยุคสุดท้าย คือ ยุคจ้านกว๋อ หรือ เลียดก๊ก ซึ่งเป็นยุคที่แต่ละรัฐรบกันอย่างต่อเนื่อง ในปี 246 ก่อนคริสต์ศักราช ฉินหวังเจิ้ง (ต่อมาคือ ฉินสื่อหวง หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ ฮ่องเต้องค์แรกของจีน) ได้สืบราชบัลลังก์รัฐฉินต่อมา โดยมีที่ปรึกษาเช่น เว่ยเหลียว, หลี่ซือ เป็นต้น ช่วยเหลือในการรวบรวมแผ่นดิน บ้างใช้เงินทองล่อซื้อบรรดาขุนนางของ 6 รัฐที่เหลือ แทรกซึมเข้าไปก่อความวุ่นวายในการปกครองของนครรัฐทั้ง 6 บ้าง อีกทั้งส่งกองกำลังรุกเข้าประชิดดินแดนปีแล้วปีเล่า เมื่อถึงปี 230 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐฉินโจมตีนครรัฐหานแตกพ่ายไป เมื่อถึงปี 221 ก่อนคริสต์ศักราชกำจัดรัฐฉีสำเร็จ จากนั้น 6 นครรัฐต่างก็ทยอยถูกรัฐฉินกลืนตกไป แผ่นดินจีนจึงรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ในยุคใหม่ คือ ราชวงศ์ฉิน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 14:37

ไซซีเป็นหนึ่งในสี่หญิงงามผู้พลิกประวัติศาสตร์จีน   อีกสามคนคือหวังเจาจวิน หยางกุ้ยเฟย และเตียวเสี้ยน
(นางขันกีไม่ยักติดอันดับ)

ตอนไปเที่ยวเมืองจีน   พบว่ารูปและประวัติของสี่หญิงงามแพร่หลายอยู่ในรูปของของที่ระลึกต่างๆสำหรับนักท่องเที่ยว   ไกด์จีนที่พาเที่ยวก็ดูปลื้มๆอยู่กับนางงามของเขาไม่น้อย
ใน 4 คนนี้ดูเหมือนไซซีจะโชคดีที่สุด   หมดภารกิจในหน้าที่แล้วก็แฮปปี้เอนดิ้งไปกับคนรัก   ไม่น่าสงสารเหมือนนางงามคนอื่นๆ


บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 14:43

เปิดหน้าหลักของเว็บ "เรือนไทย" แล้วเหนื่อยใจ

เหตุที่เหนื่อยใจเพราะ กระทูนี้มี "ตอบ" เข้ามา 26 ซึ่งก็น่าจะดูดีสำหรับกระทู้ที่เพิ่งเริ่ม

แต่

กระทู้ที่อยู่เหนือขึ้นติดกันคือ "สัตว์ประหลาด" มี "ตอบ" เข้ามาถึง 2401!

เหนื่อยครับ

แต่ไม่ท้อ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 14:53

อย่าเหนื่อยเลยค่ะ   กระทู้สัตว์ประหลาดเริ่มมานานแล้วค่ะ  ตั้งแต่  13 พ.ค. 2510   จากนั้นคุณเพ็ญชมพูกับดิฉันก็ผลัดกันโพสรูปสัตว์ต่างๆ    มีคุณดีดีและท่านอื่นๆเข้ามาแจมบางครั้ง   
รูปจากดิฉันหมดสต๊อค  คุณเพ็ญชมพูก็ยังปักหลักหาสัตว์แปลกๆมาลงอย่างไม่ท้อถอย   กระทู้เข้าไป 1000 ค.ห. ดิฉันก็นึกว่าจบแล้ว     ที่ไหนได้จน 2000  ก็ยังไม่จบ
ถ้าจะให้กระทู้ประวัติศาสตร์จีน ยาวสัก 2000  เห็นจะต้องเชิญคุณเพ็ญชมพูมาเจิมทุกระยะ 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง