เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 33071 ประวัติศาสตร์จีน
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


 เมื่อ 22 พ.ค. 12, 18:37

ในฐานะผู้ร้องขอให้เปิดหน้า "ประวัติศาสตร์โลก" กระผมจึงใคร่ขอเปิดกระทู้แรกสำหรับหน้านี้ หวังว่าทุกท่านคงกรุณา

ผมขอเริ่มด้วยเรื่องประวัติศาสตร์ของชาติที่ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต มีความยิ่งใหญ่และเป็นที่หมายปงของตาช่างชาติตลอดมา เพียงแต่อาจหลับไหลไปข้างในบางช่วงของกาลเวลา นั่นคือ ประวัติศาสตร์ของจีน

        ประวัติศาสตร์ของจีนนับแต่อดีตกาลที่มีเรื่องเล่าต่อกันมา เริ่มจากเรื่องราวตำนานของผานกู่เบิกฟ้าแยกดินและเทพหนี่อัวสร้างมนุษย์ที่เล่าขานกันต่อมา ทว่า ความเจริญทางวิทยาศาสตร์ในยุคต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทางโบราณคดีและมนุษย์โบราณ รวมถึงทางธรณีวิทยา ได้เปิดเผยความลับต้นกำเนิดของแผ่นดิน และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในโลกมนุษย์ ปัจจุบันนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีและมนุษย์โบราณได้ขุดพบซากฟอสซิลของมนุษย์ ซึ่งมีอายุกว่า 3,000,000 ปีในทวีปอาฟริกา ดังนั้น จึงเชื่อถือกันว่าทวีปอัฟริกาเป็นสถานที่ต้นกำเนิดของเผ่าพันธุ์มนุษย์

        สำหรับในประเทศจีนนั้น ที่อำเภออูซานในมณฑลฉงชิ่งก็ได้มีการขุดพบซากฟอสซิลโบราณของ ‘มนุษย์อูซาน’ที่มีอายุกว่า 2,000,000 ปี นอกจากนี้ ยังพบซากฟอสซิลมนุษย์โบราณจำนวนมากในบริเวณกว้างอาทิ มนุษย์หยวนเหมย มนุษย์หลันเถียน มนุษย์ปักกิ่ง และ มนุษย์ถ้ำ เป็นต้น ดังนั้น นักโบราณคดีจีนจึงได้เสนอว่า พื้นที่ในแถบเอเชียอาคเนย์ ก็เป็นแหล่งต้นกำเนิดเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ด้วยเช่นกัน
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 18:53

       ที่มาของวิวัฒนาการมนุษย์มีส่วนสัมพันธ์กันอย่างมากกับการใช้แรงงาน เนื่องจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มนุษย์ยุคแรกทำขึ้นเองนั้นได้แก่เครื่องมือหินกระเทาะ ซึ่งนักโบราณคดีได้ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างเครื่องมือหินในยุคหลังที่เป็นเครื่องมือที่เกิดจากการฝนหรือลับ ดังนั้นพวกเขาจึงแบ่งยุคของการใช้เครื่องมือหินที่เกิดจากการกะเทาะนี้ว่า ยุคหินเก่า ส่วนช่วงเวลาที่มีการใช้วิธีการฝนหินในการสร้างเครื่องมือหิน เรียกว่า ยุคหินใหม่ 

 ยุคหินเก่า

       เพื่อสะดวกในการศึกษาทางโบราณคดี พวกเขายังแบ่งแต่ละยุคออกเป็น 3 ตอนได้แก่ ตอนต้น ตอนกลางและตอนปลาย โดยยุคหินเก่าที่แบ่งเป็น 3 ตอน นั้นจัดแบ่งตามลักษณะพิเศษของการยืนตัวตรงของมนุษย์ ได้แก่ มนุษย์วานร มนุษย์โบราณ และมนุษย์ยุคใหม่ ซึ่งเครื่องมือหินที่ผลิตในยุคหินเก่าตอนต้นนั้น มีลักษณะที่เรียบง่าย หยาบ หนาและหนัก รวมทั้งมีลักษณะพิเศษที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือได้หลายชนิด เมื่อมาถึงยุคหินเก่าตอนปลายนั้น เครื่องมือหินที่ทำการผลิตออกมานั้นมีขนาดเล็กลงและหลากหลายมากขึ้น โดยแบ่งเป็นชนิดของเครื่องมือต่าง ๆ ที่ขุดพบได้แก่ ธนู หอกพุ่ง เป็นต้น ซึ่งต้องใช้เทคนิคในการขุดเจาะ อีกทั้งยังพบเครื่องมือหินส่วนหนึ่งที่เกิดจากการฝนหินหรือลับหินอีกด้วย

       ในยุคหินเก่านั้น ผู้คนต้องยังชีพด้วยการเก็บผลไม้ป่าและการตกปลาล่าสัตว์ พวกเขาไม่รู้จักการสร้างบ้าน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันตามโพรงถ้ำ ในยุคหินเก่าตอนต้นนั้น ผู้คนรู้จักการใช้ไฟแล้ว โดยเริ่มจากการเก็บกิ่งไม้ที่เกิดจากไฟไหม้ป่า ต่อมาภายหลังจึงรู้จักวิธีการจุดไฟด้วยตัวเอง เช่นการตีหินให้เกิดประกายไฟ การฝนไม้ให้เกิดความร้อน เป็นต้น และการรู้จักใช้ไฟนี้เองมีส่วนสำคัญต่อวิวัฒนาการของมนุษย์เป็นอย่างมาก พวกเขาเริ่มใช้ไฟส่องทาง ขับไล่สัตว์ป่าที่ดุร้าย ขับไล่ความหนาวเย็น และยังได้เปลี่ยนแปลงความเคยชินจากการบริโภคอาหารดิบมาเป็นอาหารสุกอีกด้วย       

        "จากการกินอาหารที่สุกในยุคหินเก่านี้เอง ได้ช่วยลดกระบวนการในการย่อยอาหาร ทำให้ร่างกายมนุษย์ได้รับสารอาหารที่มากขึ้น และทำให้ระบบการหมุนเวียนโลหิตเปลี่ยนแปลงไป และเร่งการเจริญเติบโตทางสมองยิ่งขึ้น มนุษย์ปักกิ่งเมื่อ 300,000 ปีก่อน มีปริมาตรสมองโดยเฉลี่ย 1,059 มล. ในขณะที่ มนุษย์ถ้ำซึ่งอาศัยอยู่ในช่วงเวลา 100,000 ปีก่อน มีขนาดสมองเฉลี่ย 1,200 – 1,500 มล. ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาตรสมองของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน"
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 19:28

เพื่อให้เห็นภาพรวมก่อนจะลงไปในรายละเอียด จึงขออนุญาตแสดงข้อมูลการครองราชย์ของแต่ละยุคสมัยนับแต่อดีตกาลเสียก่อน


ผู้ปกครอง                   เมืองหลวง                                 ปี
ก่อนประวัติศาสตร์                                                     3 ล้านปี - ศตวรรษที่ 21 ก่อนคริสต์ศักราช(B.C.)
ราชวงศ์เซี่ย                                                              ศตวรรษที่21 - 17 B.C.
ราชวงศ์ซาง                      อิน (殷)             1350 ปีก่อน ค.ศ. - 1046 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์โจวตะวันตก.           เฮา (鎬)             1046 ปีก่อน ค.ศ. - 771 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์โจวตะวันออก         ลั่วหยาง (洛陽)              770 ปีก่อน ค.ศ. - 256 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์ฉิน            เสียนหยาง (咸陽)              221 ปีก่อน ค.ศ. - 206 ปีก่อน ค.ศ.
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก       ฉางอาน (長安)              206 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 9
ราชวงศ์ชิน               ฉางอาน (長安)                         ค.ศ. 8 - ค.ศ. 23 (พ.ศ. 551 - พ.ศ. 566)
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก          ลั่วหยาง (洛陽)                       ค.ศ. 25 - ค.ศ. 194 (พ.ศ. 568 - พ.ศ. 737)
ราชวงศ์ฮั่นสมัยเฉาเชา         ซวี่ฉาง (许昌)                      ค.ศ. 194 - ค.ศ. 220 (พ.ศ. 737 - พ.ศ. 763)
ราชวงศ์จิ้นตะวันตก           ลั่วหยาง (洛陽)                      ค.ศ. 265 - ค.ศ. 316 (พ.ศ. 808 - พ.ศ. 859)
ราชวงศ์จิ้นตะวันออก          เจียนขั่ง (建康).                     ค.ศ. 317 - ค.ศ. 420 (พ.ศ. 860 - พ.ศ. 963)
ราชวงศ์สุย                 ต้าซิง (大興)                    ค.ศ. 581 - ค.ศ. 618 (พ.ศ. 1124 - พ.ศ. 1161)
ราชวงศ์ถัง              ฉางอาน (長安)                      ค.ศ. 618 - ค.ศ. 907 (พ.ศ. 1161 - พ.ศ. 1450)
ราชวงศ์ซ่งเหนือ                ไคฟง (開封)                      ค.ศ. 960 - ค.ศ. 1127 (พ.ศ. 1503 - พ.ศ. 1670)
ราชวงศ์ซ่งใต้              หลินอัน (臨安).                    ค.ศ. 1127 - ค.ศ. 1279 (พ.ศ. 1670 - พ.ศ. 1822)
ราชวงศ์หยวน                 ต้าตู (大都)                  ค.ศ. 1264 - ค.ศ. 1368 (พ.ศ. 1807 - พ.ศ. 1911)
ราชวงศ์หมิง               นานกิง (南京)                  ค.ศ. 1368 - ค.ศ. 1420 (พ.ศ. 1911 - พ.ศ. 1963)
ราชวงศ์หมิง                ปักกิ่ง (北京)                  ค.ศ. 1420 - ค.ศ. 1644 (พ.ศ. 1963 - พ.ศ. 2187)
ราชวงศ์ชิง                ปักกิ่ง (北京)                  ค.ศ. 1644 - ค.ศ. 1911 (พ.ศ. 2187 - พ.ศ. 2454)
สาธารณรัฐจีน                 ปักกิ่ง (北京)                    ค.ศ. 1912 - ค.ศ. 1928 (พ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2471)
สาธารณรัฐจีน                นานกิง (南京)                  ค.ศ. 1928 - ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2471 - พ.ศ. 2480)
สาธารณรัฐจีน.                 อู่ฮั่น (武漢)                  ค.ศ. 1937 (พ.ศ. 2480 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)
สาธารณรัฐจีน                ฉงชิ่ง (重慶)                  ค.ศ. 1937 - 1945 (พ.ศ. 2480 - 2488)
สาธารณรัฐจีน               นานกิง (南京)                  ค.ศ. 1945 - 1949 (พ.ศ. 2488 - 2492)
สาธารณรัฐจีน              กว่างโจว (廣州)                    ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492 สงครามกลางเมืองภายในจีน)
สาธารณรัฐจีน                 ฉงชิ่ง (重慶)                    ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492 สงครามกลางเมืองภายในจีน)
สาธารณรัฐประชาชนจีน        ปักกิ่ง (北京)                  ค.ศ. 1949 (พ.ศ. 2492) - ปัจจุบัน
 
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 19:31

ต้องขออภัยด้วยครับที่แถวตอนดูบิดเบี้ยว อันนี้คงสุดปัญญาเพราะได้พยายามจัดเป็นแถวตอนที่สวยงามแล้วเมื่อตอนลงข้อมูล แต่เมื่อปรากฏจริงกลับบิดเบี้ยว
ข้าน้อยสมควรตาย ขอทุกท่านโปรดอภัยด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 20:53

ดิฉันก็ไม่เคยตั้งแถวได้ตรงเหมือนกันค่ะ    ไม่ต้องเป็นห่วง

มาติดตามอ่าน และหาภาพประกอบมาเพิ่มเรตติ้ง


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 22:49

ขออนุญาตครับ

ช่วงรอยต่อระหว่าง ฮั่นตะวันออก ก่อนมาราชวงศ์จิ้นตะวันตก น่าจะต้องมีราชวงศ์เว่ย ด้วยนะครับ เพราะ เฉาพิ(โจผี) ได้ปราบดาภิเษกเป็น เว่ยเหวินตี้ และพระราชทานยศให้พระราชบิดา(เฉาเชา: โจโฉ) เป็นที่ เว่ยอู่ตี้ ถึงแม้ราชวงศ์นี้จะสั้น ๆ แต่นักประวัติศาสตร์จีนก็ยอมรับเป็นราชวงศ์นะครับ

อีกประการ ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกยุคเฉาเชา ตรงนี้ส่วนใหญ่เขาก็ไม่ค่อยจะนับกัน เพราะยังถือว่า ฮั่นเสวียนตี้ (เหี้ยนเต้) ยังเป็นจักรพรรดิอยู่นะครับ และราชวงศ์ฮั่นมาสิ้นสุดเมื่อ เว่ยเหวินตี้ ปราบดาภิเษกครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 23:11

พระเจ้าโจผี หรือ เฉาพิ( 曹丕  หรือ Cáo Pi)


บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 23:27

ขออนุญาตครับ

ช่วงรอยต่อระหว่าง ฮั่นตะวันออก ก่อนมาราชวงศ์จิ้นตะวันตก น่าจะต้องมีราชวงศ์เว่ย ด้วยนะครับ เพราะ เฉาพิ(โจผี) ได้ปราบดาภิเษกเป็น เว่ยเหวินตี้ และพระราชทานยศให้พระราชบิดา(เฉาเชา: โจโฉ) เป็นที่ เว่ยอู่ตี้ ถึงแม้ราชวงศ์นี้จะสั้น ๆ แต่นักประวัติศาสตร์จีนก็ยอมรับเป็นราชวงศ์นะครับ

อีกประการ ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกยุคเฉาเชา ตรงนี้ส่วนใหญ่เขาก็ไม่ค่อยจะนับกัน เพราะยังถือว่า ฮั่นเสวียนตี้ (เหี้ยนเต้) ยังเป็นจักรพรรดิอยู่นะครับ และราชวงศ์ฮั่นมาสิ้นสุดเมื่อ เว่ยเหวินตี้ ปราบดาภิเษกครับ

ต้องขอบพระคุณที่ช่วยชี้แนะ ผมขอเวลาในการศึกษาประเด็นที่ท่านทักท้วงก่อนนะครับ ถ้าได้ข้อสรุปอย่างไรจากการศึกษา ผมจะขออนุญาตปรึกษาท่าน samun007 อีกครั้งนะครับ ตอนนี้ขออภัยที่จะคงเช่นนี้ไว้ก่อน เพราะต้องรีบไปเตรียมการประชุมสำหรับพรุ่งนี้เช้าครับ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 23:39

ขอขอบพระคุณท่านเทาชมพูที่ช่วยเพิ่มเรตติ้งโดยการหารูปมาประกอบ
ที่จริงผมก็อยากหารูปมาประกอบครับ เพียงแต่ว่า ผมใช้ iPad มิได้ใช้คอมฯ จะบอกว่า โหลดรูปมาลงด้วย iPad ไม่เป็นก็รู้สึกกระดากอายอย่างมาก
ช่วยชี้แนะผมด้วยครับ
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 15:12

ขออนุญาตครับ

ช่วงรอยต่อระหว่าง ฮั่นตะวันออก ก่อนมาราชวงศ์จิ้นตะวันตก น่าจะต้องมีราชวงศ์เว่ย ด้วยนะครับ เพราะ เฉาพิ(โจผี) ได้ปราบดาภิเษกเป็น เว่ยเหวินตี้ และพระราชทานยศให้พระราชบิดา(เฉาเชา: โจโฉ) เป็นที่ เว่ยอู่ตี้ ถึงแม้ราชวงศ์นี้จะสั้น ๆ แต่นักประวัติศาสตร์จีนก็ยอมรับเป็นราชวงศ์นะครับ

อีกประการ ราชวงศ์ฮั่นตะวันออกยุคเฉาเชา ตรงนี้ส่วนใหญ่เขาก็ไม่ค่อยจะนับกัน เพราะยังถือว่า ฮั่นเสวียนตี้ (เหี้ยนเต้) ยังเป็นจักรพรรดิอยู่นะครับ และราชวงศ์ฮั่นมาสิ้นสุดเมื่อ เว่ยเหวินตี้ ปราบดาภิเษกครับ

ช่วงรอยต่อนั้นแท้ที่จริงแล้วมีสองช่วงคือ ระหว่างปี ค.ศ. 194 ถึง 265 และระหว่าง ค.ศ. 420 ถึง 581
เหตุที่เป็นดังนี้เพราะในช่วงแรกนั้นเป็นสมัยของ "สามก็ก" เข้าใจว่าคงตัดสินยากว่าใครคือฮ่องเต้ที่แท้จริง ข้อมูลที่ค้นมาแต่แรกจึงเว้นว่างไว้ (ฮั่นเฉาเชาก็ืคือ โจโฉ ตัวละครเอกในสามก๊ก ซึ่งที่จริงแล้วควรเอาออกจากตารางดงกล่าวข้างต้น จึงเรียนมา ณ ที่นี้)
เช่นเดียวกับในช่วงหลังที่เป็นข่วงสมัยของ "รัฐเหนือใต้" ซึ่งก็เช่นกันเพราะยากที่บอกว่าใครคือฮ่องเต้ที่ปกครองผืนแผ่นดินจีนทั้งปวง

ท่านใดมีความเห็นต่างเชิญแถลงเพื่อเป็นวิทยาทานด้วยครับ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 15:19

ผมขอเริ่มในรายะเอียดจากราชวงศ์เซี่ยก่อนนะครับ และค่อยๆไล่เรียงไปตามยุคสมัย ถ้าท่านใดมีข้อมูลก็เชิญเข้ามาร่วมกันไขข้อกระจ่างด้วยนะครับ

ราชวงศ์เซี่ย (2,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 1,700 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

                    ราชวงศ์เซี่ยถือเป็นราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์จีนที่เริ่มระบบการปกครองแบบพ่อสืบทอดให้ลูก จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของซือหม่าเชียน ทำให้นักประวัติศาสตร์จีนมักเริ่มนับยุคสมัยเซี่ยโดยเริ่มจากเซี่ยหวี่ ถึงลวี่กุ่ย หรือเซี่ยเจี๋ย ในระยะเวลา 400 กว่าปี มีกษัตริย์ครองบัลลังก์ 17 พระองค์ มีการสืบทอดอำนาจถึง 14 ชั่วคน       

                    การก่อตั้งราชวงศ์เซี่ยซึ่งมีรากฐานของอำนาจจากการยึดครองทรัพย์สินเป็นของส่วนตัว เป็นสัญญาณว่าสังคมยุคดึกดำบรรพ์ที่ทรัพย์สินเป็นของสาธารณะอันยาวนาน กำลังถูกแทนที่ด้วยสังคมแบบยึดครองทรัพย์สินส่วนตัว และนี่ก็เป็นวิวัฒนาการในประวัติศาสตร์ช่วงเวลาหนึ่ง ทว่า โดยปกติการก่อเกิดของระบบใหม่ มักต้องเผชิญกับแรงต้านจากฝ่ายอนุรักษ์ เมื่อเซี่ยฉี่ บุตรของเซี่ยหวี่เข้ารับสืบทอดตำแหน่งของบิดา ก็ได้เชิญบรรดาหัวหน้าชนเผ่าจากดินแดนต่าง ๆ มาร่วมในงานเลี้ยง เพื่อรับรองการขึ้นสู่ตำแหน่งใหม่ของเขา       

                    กลุ่มฮู่ซื่อไม่พอใจเซี่ยฉี่ ที่ยกเลิกระบบ การคัดสรรผู้มีความสามารถเพื่อดำรงตำแหน่งผู้นำที่มีอยู่เดิม จึงไม่ได้เข้าร่วมในงานเลี้ยงนั้น เซี่ยฉี่จึงยกกองทัพออกไปปราบฮู่ซื่อ โดยทำศึกกันที่กานฮู่ซื่อพ่ายแพ้ถูกลบชื่อออกไป ชัยชนะจากการรบครั้งนี้ ทำให้ก้าวแรกของระบบอำนาจใหม่นี้แข็งแรงขึ้น

                    ระบบการปกครองแบบใหม่นี้ค่อย ๆพัฒนาขึ้น ขณะที่ผู้ปกครองคนใหม่ ต้องเผชิญปัญหาการขาดประสบการณ์ในการปกครอง รากฐานของอำนาจที่มาจากการยึดครองทรัพย์สินเป็นของส่วนตัว ในช่วงระยะของการฟูมฟักของการก้าวขึ้นสู่อำนาจที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ สภาพการขูดรีด แย่งชิง และความกระหายในการเสพสุขของผู้ปกครองก็ยังเป็นไปอย่างรุนแรง และย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงจากการแย่งชิงผลประโยชน์และอำนาจในกลุ่มผู้ปกครองด้วยกันเองได้        

                    ดังนั้น เมื่อเซี่ยฉี่ตายลง บุตรชายของเขาทั้งห้าคนก็แย่งชิงอำนาจกัน ผลคือเมื่อไท่คังได้ขึ้นครองบัลลังก์ต่อจากฉี่ (ครองราชย์ 29 ปี) ก็ไม่สนใจดูแลกิจการงานเมือง เฝ้าหมกมุ่นอยู่กับสุรานารี ต่อมาจึงถูกอี้ซึ่งเป็นผู้นำของรัฐฉง สบโอกาสเข้าแย่งชิงอำนาจ ภายหลังเมื่ออี้ถูกขุนนางของเขาที่ชื่อหานจั๋วสังหารแล้ว เส้าคัง (ครองราชย์ 21 ปี) บุตรชายของไท่คังซึ่งหลบหนีไปรัฐโหย่วหวี ได้รับความช่วยเหลือจากโหย่วหวี รวบรวมขุมกำลังเก่าของเซี่ยขึ้นใหม่ แล้วอาศัยช่วงเวลาที่ภายในของกลุ่มหานจั๋วเกิดความวุ่นวาย เข้าช่วงชิงอำนาจเพื่อกอบกู้ราชวงศ์เซี่ยกลับคืนมา       

                    นี่คือเหตุการณ์ที่เป็นหลักหมายทางประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์เซี่ย ที่เรียกขานกันว่า ‘ไท่คังเสียเมือง อี้ยึดครองเซี่ย และเส้าคังฟื้นฟูเซี่ย ’

                    เมื่อถึงปลายราชวงศ์เซี่ย ศูนย์อำนาจภายในเกิดความวุ่นวาย ภายนอกก่อหวอดไม่หยุดยั้ง ข้อขัดแย้งทางชนชั้นนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อเซี่ยเจี๋ย ได้ขึ้นครองบัลลังก์(ช่วงก่อนคริสศักราช 1763 ครองราชย์ 52 ปี) ก็ไม่คิดจะปฏิรูปแก้ไขสิ่งใด ยังคงเห่อเหิมฟุ้งเฟ้อในอำนาจ โดยสั่งให้ก่อสร้างตำหนักพระราชวัง ใช้จ่ายเงินทองฟุ่มเฟือยมากมาย ร่ำดื่มสุรานารีทุกคืนวัน โดยไม่สนใจใยดีต่อความทุกข์ยากของเหล่าประชาราษฎร์

                     ไพร่ฟ้าจึงพากันก่นด่าประณาม เหล่าขุนนางที่จงรักภักดี กลับถูกสั่งคุมขังหรือประหารชีวิต บรรดาเจ้านายชั้นสูงต่างก็พากันเอาใจออกห่าง เซี่ยเจี๋ยจึงตกอยู่ในฐานะโดดเดี่ยว ซางทัง ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ซาง เห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงใช้ข้ออ้าง ‘ฟ้ากำหนด’ กล่าวหาว่าเซี่ยทำผิดต่อฟ้า จึงต้องถูกลงทัณฑ์ โดยขอให้ทุกคนรวมพลังกันเข้าโจมตี เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์แห่งฟ้า การศึกระหว่างซางทังและเซี่ยเจี๋ยที่หมิงเถียว ซางทังชนะ เจี๋ยหลบหนีไป และเสียชีวิตที่หนันเฉา ราชวงศ์เซี่ยจึงถึงกาลอวสาน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 15:40

ยุคราชวงศ์เซี่ย นี้ใช่ที่ขุดค้นพบกระดองเต่าทำนาย ใช่หรือไม่ครับ  ฮืม
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 16:35

ยุคราชวงศ์เซี่ย นี้ใช่ที่ขุดค้นพบกระดองเต่าทำนาย ใช่หรือไม่ครับ  ฮืม

เท่าที่ถามอากู๋ดูปรากฏว่าเป็นราชวงศ์ซางครับ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 20:23

ขอปรับเสียงอ่านนิดนึงนะครับ

鎬 เฮ่า
许昌 สวี่ชาง
建康 เจี้ยนคัง
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 22:06

ขอปรับเสียงอ่านนิดนึงนะครับ

鎬 เฮ่า
许昌 สวี่ชาง
建康 เจี้ยนคัง

นี่แหละครับคือความประสงค์ที่ต้องการของผม นั่นคือ ผมตั้งกระทู้และรับผิดชอบปั่นไปเรื่อยๆ และหวังว่าท่านผู้รู้ทั้งหลายจะมาช่วยกันปรับแก้ไขเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์จะได้เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่แวะเข้ามาอ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งคืออนุขนคนไทยของเราที่จะต้องดูแลบ้านเมืองต่อไป

ดังนั้นขออย่าได้เกรงใจที่จะชี้แนะปรับปรุง

ต้องขอขอบพระคุณท่าน CrazyHorse เป็นอย่างมากที่ชี้แนะ ขอบคุณครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง