เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 21599 ภาพไตรภูมิ รัชกาลที่ ๙
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


 เมื่อ 22 พ.ค. 12, 10:15

เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังสำนักช่างสิบหมู่ เพื่อวาดสีจรดพู่กันปิดภาพไตรภูมิ รัชกาลที่ ๙ ที่มีความกว้าง ๓.๒๐ เมตร และมีความยาว ๑๖ เมตร


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 10:26

เหตุแห่งการจัดทำภาพไตรภูมิ เนื่องจากที่ผ่านมาเป็นร้อยปี ยังไม่มีการวาดภาพไตรภูมิขึ้นไว้เลย มีแต่ไตรภูมิฉบับกรุงธนบุรี ซึ่งคัดลอกต่อ ๆ กันมาและเทคโนโลยีการพิมพ์เข้ามามีบทบาท การคัดลอกด้วยลายมือจึงด้อยและถดถอยลงไป ดังนั้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะกรรมการจึงมีมติให้สร้างภาพไตรภูมิขึ้นเพื่ออนุรักษ์วิถีและปรัชญาเก่าแก่ของไทยไว้


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 10:32

อ.ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติและ อ.ปัญญา วิจินธนสาร พร้อมลูกศิษย์อีกร่วม ๒๐ คนร่วมแสดงฝีมือวาดภาพไตรภูมิ โดยใช้ต้นแบบจาก "ไตรภูมิพระร่วง" สมัยกรุงสุโขทัยแต่มาวาดใหม่ให้สมบูรณ์ขึ้น

ไตรภูมิเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในงานศิลปะไทยเกือบทุกแขนง ด้านสถาปัตยกรรม วัด วัง ตลอดจนกระทั่งบายศรีปากชาม ยังสะท้อนแนวคิดเรื่องไตรภูมิ

ขอขอบคุณภาพจาก สำนักช่างสิบหมู่ ครับ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 11:16

ไตรภูมิพระร่วง เป็นคำที่เรียกใช้วรรณกรรมทางศาสนาที่แต่งขึ้นโดยพระยาลิไท โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงนิยามไว้ "ไตรภูมิพระร่วง" เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่พระยาลิไท ที่นำมาตีพิมพ์ใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕

ชื่อดั้งเดิมชื่อ "เตภูมิกถา" ประกอบด้วย ๓ ภูมิ คือ กามภูมิ, รูปภูมิ และอรูปภูมิ   และช่างไทยได้ถ่ายทอดเนื้อหาออกมาในรูป สวรรค์, มนุษย์ และนรก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 11:22

"ปลาอานนท์พลิก" ก่อให้เกิดแผ่นดินไหว

"นรกโลกันต์" ตายไปก็ถูกเพลิงเผาผลาญ หรือ ปีนต้นงิ้วเป็นต้น...เปรต ก็ได้อาศัยวรรณกรรมเรื่องไตรภูมินี้สร้างตัวตนขึ้นมา

"สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชั้นพรหม ชั้นดุสิต" แวดล้อมไปด้วยสิ่งสวยงามทั้งปวง

เหล่านี้ล้วนเป็นคติที่คนไทยได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมดังกล่าว แต่โดยมากแล้วจะเน้นไม่ให้คนทำชั่ว ในภาพไตรภูมิจะเห็นบ่อนรกในชั้นที่แตกต่างกันไป
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 11:43

เอ  ออกขุน  ปลาอานนท์ มีเพื่อนหรือเปล่า  มีอยู่ตัวเดียวท่าจะเหงาแย่ 
โลกันตนรก  ที่ออกขุนว่ามา  ใช่หรือ มีต้นงิ้วด้วย   ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 13:59

เอ  ออกขุน  ปลาอานนท์ มีเพื่อนหรือเปล่า  มีอยู่ตัวเดียวท่าจะเหงาแย่ 
โลกันตนรก  ที่ออกขุนว่ามา  ใช่หรือ มีต้นงิ้วด้วย   ฮืม

ถ้าปลาอานนท์เหงา ก็เข้าไปว่ายที่ทะเลสีทันดรก็ได้ มีปลาว่ายเป็นเพื่อน  เจ๋ง
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 20:00

โลกันตนรก  ที่ออกขุนว่ามา  ใช่หรือ มีต้นงิ้วด้วย   ฮืม

นรกภูมิ (นิรยภูมิ) มีมหานรกใหญ่ทั้ง ๘ ขุม คือ

๑. สัญชีพนรก "นรกให้ตายแล้วกลับเป็น"
๒. กาลสุตตนรก "นรกด้ายดำ"
๓. สังฆาฏนรก "นรกบดขยี้"
๔. โรรุวนรก "นรกอื้ออึงด้วยเสียงร้องไห้ครวญคราง"
๕. มหาโรรุวนรก "นรกอื้ออึงด้วยเสียงร้องไห้ครวญครางเป็นการใหญ่"
๖. ตาปนรก "นรกเร่าร้อน"
๗. มหาตาปนรก "นรกเร่าร้อนยิ่ง"
๘. อเวจีนรก "นรกปราศจากช่องว่าง"

นอกจากมีนรกใหญ่ ๘ ขุมแล้ว ก็ยังมีนรกบริวารอีก ๑๖ ขุมด้วย

ใต้พื้นเขาจักรวาฬ คือ "โลกันตนรก"
สัตว์ทั้งหลายย่อมกัดกินเนื้อกัน ผู้ที่เห็นผิดเป็นชอบ  ไม่รู้จักคุณพระรัตนตรัย ฆ่าพ่อฆ่าแม่ ย่อมเกิดในนรกนี้

โลกันตนรกนี้ ไม่ถือเป็น "นรก" ตามไตรภูมิพระร่วง
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 20:11

เอ  ออกขุน  ปลาอานนท์ มีเพื่อนหรือเปล่า  มีอยู่ตัวเดียวท่าจะเหงาแย่ 

มิเหงาดอกใต้เท้า

เพื่อนเยอะ ตั้ง ๗ ตัวนิ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 09:35

แล้วปลาใหญ่ตั้ง ๗ ตัว จะให้ปลาอานนท์หนุนแผ่นดินโลกอยู่ตัวเดียวหรือ 
อย่างนี้  เขาเรียกว่ากินแรงน่ะสิ 

ที่ตั้งคำถามทักท้วงขึ้นมา  ก็เพราะว่า  โลกตามไตรภูมิพระร่วง หรือ เตภูมิกถา
กับไตรภูมิตามความเชื่อหรือการรับรู้สืบต่อกันมาของคนทั่วไป มีความแตกต่างกัน
ไตรถูมิพระร่วงนั้น ว่าตามรายละเอียดที่เก็บประมวลข้อมูลตามพระบาลีในคัมภีร์ต่างๆ
หลายสิบเล่ม  มาเป็นหนังสือเล่มเดียว  แต่ความเชื่อของชาวบ้านมักไม่อิงคัมภีร์
เป็นแต่ฟังคำพระเทศนาบ้าง ดูภาพฝาผนังบ้าง  ผนวกกับความเชื่อของชาวบ้านแต่ละที่แต่ละถิ่น
ย่อมมีรายละเอียดผิดแผกจากคัมภีร์บาลี  การจะสรุปว่า  ความเชื่ออย่างนี้ๆ มาแต่หนังสือไตรภูมิพระร่วง
ก็ไม่ถูกต้องนัก  เพราะเรื่องนรกสวรรค์  ยังมีอยู่ในเรื่องพระมาลัย  ซึ่งแต่ก่อนนิยมสวดฟังกันตามบ้าน
ในงานศพ หรือ งานแต่งงานในยุคก่อนนั้น  ภาพนรกสวรรค์ที่คนทั่วไปจำได้น่าจะมาจากพระมาลัย
ซึ่งมีรายละเอียดส่วนใหญ่พ้องกับไตรภูมิ  แต่ไตรภูมิมีรายละเอียดมากกว่า 

อย่างไรก็ดี  มีผู้รู้กล่าวไว้ว่า  หนังสือไตรภูมิพระร่วงไม่ใช่หนังสือที่คนรู้จักแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย
คนไทยรู้จักโลกสัณฐานตามไตรภูมิจากแหล่งความรู้อื่น และรู้มาก่อนที่จะมีไตรภูมิพระร่วง
น่าคิดเหมือนกัน 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 10:31

แล้วปลาใหญ่ตั้ง ๗ ตัว จะให้ปลาอานนท์หนุนแผ่นดินโลกอยู่ตัวเดียวหรือ 
อย่างนี้  เขาเรียกว่ากินแรงน่ะสิ 


ปลาแบกเขาพระสุเมรุไว้ ไม่เห็นบ่น นี่แค่เจ็ดตัวไม่ทำให้สะดุ้ง สะเทือนแต่ประการใด  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 10:46

ผังจักรวาล ที่ดูด้านข้างเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใข ใต้สุดจะเป็นที่อยู่ของปลาอานนท์ ในที่นี่กล่าวว่า ปลาอานนท์นั้นหนุนจักรวาล ซึ่งตีนเขาพระสุมเมรุเชื่อมกับเขาตรีกูฎ ที่ขอบจักรวาลอันตั้งอยู่รากเดียวกัน

ส่วนขุมนรกใหญ่ จะอยู่ที่เบื้องขวาของเขาสัตตบริภัณฑ์ที้งเจ็ด


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 11:26

เอ  ออกขุน  ปลาอานนท์ มีเพื่อนหรือเปล่า  มีอยู่ตัวเดียวท่าจะเหงาแย่ 

มิเหงาดอกใต้เท้า

เพื่อนเยอะ ตั้ง ๗ ตัวนิ

ปลาใหญ่ที่หนุนโลกอยู่  หนุนแบบเป็นชั้นๆ มี  7 ตัว   
1. ติมิ
2. ติมิงคละ
3. ติมิงปิงคละ
4. อานนท์
5. ติมินท์
6. อัชฌโรหะ
7. มหาติมิ

แต่ตัวที่คนไทยได้ยินชื่อบ่อยว่าเพื่อนคือปลาอานนท์




http://2.bp.blogspot.com/_MfX4tKGzQ5I/TAZ-MimzE-I/AAAAAAAAAjg/vXULVCVMuFc/s1600/e07.jpg

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 พ.ค. 12, 11:29

แล้วปลาใหญ่ตั้ง ๗ ตัว จะให้ปลาอานนท์หนุนแผ่นดินโลกอยู่ตัวเดียวหรือ 
อย่างนี้  เขาเรียกว่ากินแรงน่ะสิ 

แต่ถ้าดูตามรูปนี้จะเห็นว่าปลาอานนท์หนุนอยู่ตัวเดียวแท้ ๆ



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 27 ก.ค. 12, 21:17

เคยได้ยินเรื่องปลาอานนท์หนุนแผ่นดินมาตั้งแต่เด็ก
แต่ที่อ่านจากไตรภูมิพระร่วงไม่เห็นข้อความเรื่องปลาอานนท์หนุนโลก
มีกล่าวถึงปลาเจ็ดชนิด

ติรัจฉานอันหาตีนบมิได้ปลา ๆ ๗ ตัว ๆ หนึ่งชื่อติรนยาวได้ ๗๕ โยชน์ ตัวหนึ่งชื่อติปังคลนั้นยาวได้ ๒๕๐ โยชน์ ตัวหนึ่งชื่อ ติรปิงคลยาวได้ ๕๐ โยชน์ ตัวหนึ่งชื่ออานนท์ ตัวหนึ่งชื่อนิรย ตัวหนึ่งชื่ออชนาโรหน ตัวหนึ่งชื่อมหาติ และปลา ๔ ตัวนี้ย่อมยาวและตัวและ ๑,๐๐๐ โยชน์ ผิเมื่อปลาตัวชื่อติมรปิงคลอันยาวได้ ๕,๐๐๐ โยชน์และติงปีกซ้ายก็ดีติงปีกขวาก็ดี และติงปลายหางก็ดีติงหัวก็ดี และน้ำในสมุทรนั้นก็สะเทือนตีฟองดังหม้อแกงเดือดไกลได้ ๔๐๐ โยชน์ ผิมันติงปีกทั้งสองข้างและแกว่งหางแกว่งัววัดแวงตีน้ำเล่น น้ำนั้นสะเทือนดินตีฟองไกลได้ ๗๐๐ โยชน์ ลางคาบตีฟองไกลได้ ๘๐๐ โยชน์ แรงปลาตัวอันชื่อติมิรปิงคลนั้นมีกำลังดังกล่าวนี้แลฯ และปลา ๔ ตัวนั้นยังใหญ่กว่านี้ยิ่งมีกำลังนักแลฯ
(ต้นฉบับมีความคลาดเคลื่อนอยู่ ไม่ได้แก้ไข : ติมรปิงคล น่าจะยาว 500 โยชน์)
ในไตรภูมินี้กล่าวถึงปลาอานนท์ในฐานะ สัตว์ตัวหนึ่งในดิรัจฉานภูมิ ขนาดตัวและกำลังดูแล้วก็ไม่น่าใหญ่โตถึงขนาดจะแบกเขาพระสุเมรุหรือทวีปต่าง ๆ ได้)

ข้อความนี้ในไตรภูมิพระร่วงน่าจะได้มาจาก อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ ทุกขวรรคที่ ๖ นิทานสูตรที่ 10
ก็ในมหาสมุทร ปลาใหญ่ชื่อติมิยาว ๒๐๐ โยชน์ ปลาติมิงคละยาว ๓๐๐ โยชน์ ปลาติเมรปิงคละยาว ๕๐๐ โยชน์. ปลา ๔ อย่างเหล่านี้ คือปลาอานนท์ ปลาปนันทะ ปลาอัชโฌหาระ ปลามหาติมิยาวตั้งพันโยชน์. ในปลาทั้ง ๔ อย่างนั้น ท่านแสดงด้วยปลาติเมรปิงคละนั่นเอง. เมื่อมันกระดิกหูขวา น้ำในพื้นที่ตั้ง ๕๐๐ โยชน์ก็จะเคลื่อนไหว หูซ้าย หาง หัวก็เหมือนกัน. แต่เมื่อมันกระดิกหูทั้ง ๒ ฟาดหางเอียงหัวไปมา เริ่มจะเล่นน้ำที่คนเอาใส่ภาชนะ น้ำในที่ ๗-๘ ร้อยโยชน์ก็กระเพื่อม เหมือนยกขึ้นตั้งบนเตา น้ำในพื้นที่ประมาณ ๓๐๐ โยชน์ก็ไม่อาจจะท่วมหลัง (ของมัน). มันพึงกล่าวอย่างนี้ว่า "ชนทั้งหลายกล่าวว่า มหาสมุทรนี้ลึก ความลึกของมหาสมุทรนั้นอยู่ที่ไหน. พวกเราไม่ได้น้ำแม้เพียงที่จะท่วมหลังของพวกเราได้" ในข้อนั้น พึงกล่าวว่า "มหาสมุทรตื้นสำหรับปลาเล็กเหล่าอื่น" ปฏิจจสมุปบาทก็เหมือนอย่างนั้นแหละ พึงกล่าวว่า "ง่ายสำหรับพระอานนท์ ผู้เข้าถึงญาณ (ผู้มีปัญญามาก) แต่ไม่พึงกล่าวว่า ง่ายสำหรับภิกษุเหล่าอื่น.

แต่ใน เล่าเรื่องไตรภูมิ ของท่านเสฐียรโกเศศ พูดถึงปลาอานนท์ไว้
ปลาตัวใหญ่ ๗ ตัว ให้ชื่อครบทั้ง ๗ ตัวคือ ติรณะ ๑ ติปังคละ ๑ ติรปิงคละ ๑ อานนท์ ๑ นิรยะ ๑ อัชนาโรหนะ ๑ และมหาติ ๑ ปลาเหล่านี้มีขนาดใหญ่โตมาก อย่างเล็กยาว ๗๕ โยชน์ อย่างใหญ่ยาว ๕,๐๐๐ โยชน์ เพียงไหวหู หรือกระดิกหางครั้งเดียว ทะเลก็ปั้นป่วนตีฟองดังหม้อแกงเดือดไกลตั้ง ๘๐๐ โยชน์ก็มี ที่รู้จักกันคือ ปลาอานนท์ ซึ่งหนุนชมพูทวีปหรือโลกนี้อยู่ ถ้า “ปลากระดิกพลิกครีบทวีปก็ไหว เมรุไกรโยกยอดเพียงถอดถอน มัติมิงค์กลิ้งเล่นชโลธร คงคาคลอนคลื่นคลั่งฝั่งสินธู” ปลามัติมิงค์ ชื่อนี้แปลงเพื้ยนไปจาก ปลาติปังคละ

ก็เลยสงสัยอยู่ว่าเรื่องปลาอานนท์หนุนโลกหรือจักรวาลมีต้นเค้ามาจากที่ใด
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง