เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 8468 รบกวนถามไวยากรณ์เรื่อง "กว่า"
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 22:18

แทรกเข้ามาอย่างไม่ค่อยจะมีมารยาทครับ

ท่านรอยอินว่า กว่า คือ เกิน     แล้วกรณีคำว่า  "น้อยกว่า..."   "เล็กกว่า..."  "ต่ำกว่า..."  ละครับ ฮืม

ขอเข้าซอยไปนิดเีดียว    "ก่อนถั่วจะสุก งาก็ใหม้"  หรือ  "กว่าถั่วจะสุก งาก็ใหม้"  วลีไหนถูกครับ  หากวลีหลังถูก "กว่า" ก็มีอีกความหมายหนึ่ง คือ "ก่อน" 



ผมไม่เคยได้เกรดวิชาภาษาไทย จึงขอแสดงความเห็นแบบผู้ไม่รู้

"กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้" คำ "กว่า" ในที่นี้ต่างกับโจทย์ที่ท่าน "เพ็ญชมพู" ตั้งมาเพราะในโจทย์นั้นเกี่ยวข้องกับปริมาณ

"กว่า" ในวลีที่ว่า  "กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้" จะเห็นภาพชัดถ้าเป็นวลีที่ว่า "จนกว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้(แล้ว)"

ผิดถูกอย่าถือสานะครับ (แล้ว "สา" รูปร่างเป็นเช่นใด? จะถือด้วยมือได้หรือไม่?)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 22:40

ถามคุณเพ็ญชมพู  ขยิบตา มีอีกวลีหนึ่ง "กว่าจะรู้เดียงสา"  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 22:47

ขอบคุณมากครับ กระจ่างเลย

ขอหลบมุมไปนั่งฟังต่อครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 22:58

ถ้าแปลคำว่า กว่า เป็นภาษาอังกฤษ อาจจะเข้าใจง่ายขึ้นไหมคะ
กว่า ที่มาจาก "จนกว่า" อาจจะตรงกับคำว่า until หรือ till
จนกว่าจะพบกันอีก = Until we meet again.

กว่า ที่แปลว่า than  ก็มี
มากกว่า = more  than
น้อยกว่า = less than

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 08:39

ในภาษาไทยโบราณมีคำคำหนึ่งซึ่งยังมีบางคนพูดติดปากมาจนปัจจุบัน คือ คำว่า "ล้มหายตายกว่า"
เอ  "กว่า" ใน คำไทยโบราณคำนี้  ควรจะมีความหมายว่าอะไร  ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 08:48

รู้จักแต่คำว่า ล้มหายตายจาก   พจนานุกรมของราชบัณฑิตเก็บความหมายไว้ 

ล้มหายตายจาก    ก. ตายจากไปแล้ว, หายหน้าไปนานจนทำให้คิดว่าตาย
   ไปแล้ว.

แต่ท่านไม่ได้เก็บคำว่า ล้มหายตายกว่า   ดิฉันเองไม่เคยได้ยินสำนวนนี้ และไม่เคยใช้   คุณเพ็ญชมพูกับคุณ siamese อาจจะรู้จัก?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 09:49

ในภาษาไทยโบราณมีคำคำหนึ่งซึ่งยังมีบางคนพูดติดปากมาจนปัจจุบัน คือ คำว่า "ล้มหายตายกว่า"
เอ  "กว่า" ใน คำไทยโบราณคำนี้  ควรจะมีความหมายว่าอะไร  ฮืม

หากคุณหลวงอ่านคำอธิบายของท่านรอยอินโดยละเอียด แล้วจะร้อง "อ๋อ เป็นเช่นนี้เอง"

รอยอินท่านอธิบาย "กว่า" ไว้มากกว่านั้น

กว่า [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทางที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก.

เนื้อความในจารึกมีดังนี้


 ต่อไปนี้คือเนื้อความในจารึกหลักที่ 1 ปริวรรตเป็นตัวอักษรไทยปัจจุบันโดยมหาฉ่ำ ทองคำวรรณ


(ด้านที่ 1)

พ่อกูชื่สรีอินทราทีตย แม่กูชื่นางเสือง พี่กูชื่บานเมือง

ตูมีพี่น๋องท๋องดยวห๋าคน ผู๋ชายสาม ผู๋หญิงโสง พี่เผือ

ผู๋อ้ายตายจากเผือตยมแต่ญงงเลก เมื่อกูขึ๋นใหญ่ได๋

สิบเก๋าเข๋า ขุนสามชนเจ๋าเมืองฉอดมาท่เมืองตาก พ่อกูไปรบ

ขุนสามชนหววซ๋าย ขุนสามชนขับมาหววขวา ขุนสาม

ชนเกลื่อนเข๋า ไพร่ฟ๋าหน๋าใสพ่อกู หนีญญ่ายพายจแจ้

น กูบ่หนี กูขี่ช๋างเบกพล กูขับเข๋าก่อนพ่อกู กูต่อ

ช๋างด๋วยขุนสามชน ตนกูพุ่งช๋าง ขุนสามชนตววชื่

มาสเมือง แพ๋ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึ่งขึ๋นชื่กู

ชื่พระรามคํแหง เพื่อกูพุ่งช๋างขุนสามชน เมื่-

อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู กูได๋ตวว

เนื้อตววปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได๋หมากส๋มหมากหวา-

น อนนใดอนนกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตี-

หนังวงงช๋างได๋ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่บ๋านท่เมื-

อง ได๋ช๋างได๋งวง ได๋ป่ววได๋นางได๋เงือนได๋ทอง กูเอา

มาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบํเรอแก่พี่

กู ฎงงบำเรอแก่พ่อกู พี่กูตาย จึงได๋เมืองแก่กูท๋งง

(ก)ลํ เมื่อช่ววพ่อขุนรามคํแหง เมืองสุโขไทนี๋ดี ในน๋ำ

มีปลา ในนามีข๋าว เจ๋าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่-

อนจูงวววไปค๋า ขี่ม๋าไปขาย ใครจกกใคร่ค๋าช๋างค๋า ใคร

จกกใคร่ค๋าม๋าค๋า ใครจกกใคร่ค๋าเงือนค๋าทองค๋า ไพร่ฟ๋าหน๋าใส

ลูกเจ๋าลูกขุนผู๋ใดแล๋ ล้มตายหายกว่าเหย้าเรือนพ่อเชื้อ

เสื้อคำมนน ช๋างขอลูกเมียยียเข๋า ไพร่ฟ๋าข๋าไท ป่า

หมากป่าพลูพ่อเชื้อมนน ไว๋แก่ลูกมนนสิ้น............


ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 10:04

คุณเพ็ญชมพูอ่านรอยอินละเอียดมาก  ยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 10:28

ตกลงว่าคำที่ถูกต้องคืออะไร  ล้มหายตายกว่า  หรือล้มตายหายกว่า ?
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 11:17

เรียนอาจารย์เพ็ญชมพู

"กว่า [กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคําใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คําหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคํา จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทางที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก."

ข้อมูลข้างต้นนี้หาจากเว็ปไซด์ราชบัณฑิตอย่างเดียวหรือว่ามีข้อมูลจากแหล่งอื่นครับ

ถ้ามี รบกวนเขียนลิงค์ที่มาได้ไหมครับ ผมจะไปสืบค้นต่อ

ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 11:21

คุณ han_bing ช่วยเล่าเรื่องการใช้คำว่า "กั่ว"  ในภาษากวางตุ้งบ้างค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 11:41

ข้อมูลข้างต้นนี้หาจากเว็ปไซด์ราชบัณฑิตอย่างเดียวหรือว่ามีข้อมูลจากแหล่งอื่นครับ

ถ้ามี รบกวนเขียนลิงค์ที่มาได้ไหมครับ ผมจะไปสืบค้นต่อ

ขอบพระคุณครับ

ข้อมูลจาก  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ 

http://rirs3.royin.go.th


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 11:45

เดี่ยวพิมพ์รายงานเสร็จจะแปลเป็นไทยลงครับ

จริงๆคำว่า "กั่ว" (过:guo) ในภาษาจีนกลางปรกติแล้วเป็นคำกริยาจะหมายถึง ข้าม ผ่าน เกิน

เว็ปไซด์ http://en.wiktionary.org/wiki/%E8%BF%87 อธิบายง่ายๆดังนี้

Verb

过 (simplified, Pinyin guò, traditional 過)

    To cross.
    To go over.
    To pass (time).
    To live.

อย่างไรก็ตามในภาษากวางตุ้ง นอกจากจะใช้ในบริบทข้างต้น ยังสามารถใช้ในการเปรียบเทียบได้ การวางโครงสร้างประโยคเหมือนกับคำว่ากว่าของไทยทุกประการ

เรื่องนี้ไว้ปั่นงานเสร็จจะเล่าให้ฟังอย่างละเอียด

อยากเรียนถามเพิ่มเติมคือ ที่ว่า "โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทางที่จะกว่า. (ม. คําหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คําหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ล๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม). กว่าชื่น (โบ) ว. ยิ่ง, ยิ่งนัก."

หมายความว่า ปัจจุบันนี้ไม่ได้ใช้ในบริบทนี้แล้วใช่ไหมครับ

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 24 พ.ค. 12, 15:43

ตกลงว่าคำที่ถูกต้องคืออะไร  ล้มหายตายกว่า  หรือล้มตายหายกว่า ?

ล้มตายหายกว่า

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง