แบบนี้คิดเร็วกว่า

๑. กว่าร้อยบาท
๒. ร้อยกว่าบาท
๓. ร้อยบาทกว่า
ในข้อแรก กว่าปี, กว่าร้อย, กว่าขวบปี แสดงว่ายังไม่เต็มหน่วนนั้น ๆ
ในข้อสอง ร้อยปีกว่า, ร้อยกว่าบาท, ร้อยกว่าปี แสดงว่า เกินพิกัดหน่วยนั้นแล้ว แต่คงไม่เกินครึ่งยืดไปถึงค่อนปลายพิกัด หากนับ 0-10 เป็นที่ตั้งแล้ว กว่า ๆ ก็ตกราว 0-4 หาก ช่วง 7-9 คงเป็นกว่าร้อย
สมมุติว่าคุณหนุ่มสยามเดินไปซื้อของหน้าซอย กำบัตรเครดิตแพลทตินั่มออกไปด้วยความเคยชิน ลืมไปว่าร้านของชำเขารับแต่เงินสด
บังเอิญเจอคุณเพ็ญชมพู หน้าร้าน ก็เลยหยุดคุยกัน
คุณหนุ่มสยาม - อ้าว ลืมเอาเงินสดมา จะซื้อกาแฟกับขนม ราคาก็กว่าร้อยบาทแล้ว มิต้องย้อนกลับไปบ้านรึนี่
คุณเพ็ญชมพู - ถ้าคุณมีเงินติดก้นกระเป๋าสักร้อยกว่าบาท ก็พอแล้วมั้ง
คุณหนุ่มสยาม - ขอผมนับก่อน อ้อ มีร้อยบาทกว่า เป็นอันว่าพอซื้อ
คำว่า "กว่า" ในที่นี้เป็นการประมาณคร่าวๆ ว่ามากกว่าหนึ่งร้อยบาท แต่จะมากเท่าไรไม่รู้ เจ้าตัวไม่ได้ต้องการระบุจำนวนเงิน เพราะในสถานการณ์นี้ไม่มีความจำเป็นอะไรที่คุณหนุ่มสยามจะต้องควักเงินออกมานับอย่างถี่ถ้วนให้คุณเพ็ญชมพูเห็นว่าผมมีหนึ่งร้อยยี่สิบสามบาทกับอีกเจ็ดสิบห้าสตางค์(หรือจะเป็นตัวเลขอื่นก็ได้นะคะ)
ความหมาย ในรูปของการประมาณคร่าวๆ มันก็ใช้ในความหมายเหมือนกันน่ะแหละค่ะ
ภาษาพูดของไทย มีการยืดหยุ่นในการวางคำหน้าหลัง ไม่ตายตัว เอาเป็นว่าสื่อสารกันเข้าใจก็พอแล้ว