เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 11618 สมควรที่จะมีหัวข้อ "ประวัติศาสตร์ต่างประเทศ" เพิ่มขึ้นหริอยัง?
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 23 พ.ค. 12, 20:37

ส่วนข้อที่คุณเพ็ญชมพูว่ามีการนำคำว่าเทศมาใช้ลอยๆในความหมายว่าต่างประเทศนั้น ผมเห็นด้วยครับ แต่อยากจะชี้ให้เห็นว่าล้วนแล้วแต่เป็นการใช้ในคำพาดหัว ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษครับ และผมคิดว่าจะไม่แปลกเช่นเดียวกันหากเราจะพบใช้ในภาษากวี แต่การใช้ในเชิงบรรยาย ผมคิดว่ายังมาไม่ถึงครับ คุณเพ็ญชมพูอาจจะเป็นผู้ริเริ่มใช้เป็นท่านแรกก็เป็นได้ครับ ถ้าคำนี้เกิดฮิตเป็นคำใหม่ขึ้นมา อาจต้องให้เครดิตคุณเพ็ญชมพูครับ

: )

ไม่แน่ใจว่าคำว่า "ไทยเทศ" ของคุณประยอม ซองทอง ในบทกวีข้างล่างนี้ หมายถึงท้องถิ่นไทย หรือคนไทยและคนต่างประเทศ

              แปดสิบสี่พรรษาศุภมังคลาธิษฐาน
   
        กรองร้อยสร้อยบุปผา      ทิพมาลาบูชาพระบาท
นวมินทร์มหาราช         มิ่งขวัญชาติทุกชั้นชน
   ร้อยรวงพวงกุหลาบ      หลากกลิ่นซาบสีถกล
ดั่งไทยเทศทั่วมณฑล      เกริกเกียรติก้องซ้องสรรเสริญ
   กรองร้อยสร้อยฝ้ายคำ   เหลืองคลาคล่ำราชดำเนิน
แซ่ซ้อง “ทรงพระเจริญ”      เกินคลื่นครอบขอบนภา
   หกสิบห้าปีทองฉัตร      ป้องราษฎร์รัฐยุติธรรมา
ทศธรรมนำประชา         หาผ่อนพักหนักทุกข์ผอง
   ร้อยรวงฟ้ามุ่ยฟ้า      สดสีจ้าฟ้าลำยอง
รองบาทลาดสำนอง         ฉลองพระองค์ทรงเฉิดฉัน
   แต้มใจไทยทั่วหล้า      พระผ่านฟ้าฟื้นคืนพลัน
ขวัญหล้าชนานันท์         ฉัตรปกเกล้านิรันดร์กาล
   ร้อยรวงพวงชมพู      ตรูฤดีเปรมปรีดิ์มาน
ประกาศราชสราญ         โรคาพาธประลาตสลาย
   ก้าวลงทรงดำเนิน      เชิญมาลาผคมถวาย
พระชนกชนนีฉาย         เฉิดฉัพพรรณกตัญญู
   น้ำตาชนเต็มตื้น      ก้อนสะอื้นครืนพรั่งพรู
ซึ้งจิตติดตาตรู         พระเกียรติก้องเกริกสากล
   กรองร้อยสร้อยใบตอง      ขจีผองพรรณพฤกษ์ผล
ส่องฉายทิพไพรสณฑ์      พระเสกสรรค์เนิ่นพรรษา
   เฉกฉลัก “ป่ารักษ์น้ำ”      คุณค่าล้ำ “น้ำรักษ์ป่า”
รวมปลูกชีพประชา         เทิดคุณธรรมนำทวยไทย
   แปดสิบสี่ชนมพรรษา      มิ่งมหามงคลชัย
ขอพรพระรัตนตรัย         นิรัติศัยเฉลิมพระชนม์
   ตราบกาลนิรันดร      สถาวรวิมงคล
ปิ่นฉัตรรัฐมณฑล         จิรัฐิติกาลเทอญ
      ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
           ข้าพระพุทธเจ้า หนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์
   (นายประยอม  ซองทอง  ศิลปินแห่งชาติ ร้อยกรอง)



ถ้าความหมายหลัง ถึงแม้เป็นบทกวีแต่ก็เป็นบทกวีเชิงบรรยาย

คุณม้าเห็นจะต้องในเครดิตคุณประยอมแล้วกระมัง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 22:10


สิ่งของเครื่องใช้ หรือผ้าผ่อนสไบในสมัยก่อนจะเป็นของฝรั่งอาหรับหรือของอิหร่าน มักเป็นสินค้าที่อินเดียรับช่วงนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เราเรียกสิ่งที่เรามีอยู่เดิมแต่ได้แปลกเข้ามาใหม่จากต่างประเทศ โดยมาผ่านมาทางอินเดียว่าเทศ เช่น ม้าเทศ เป็ดเทศ นกกระจอกเทส ผ้าขาวเทศ เครื่องเทศ มันเทศ น้ำดอกไม้เทศ มะนาวเทศ มะขามเทศ จันทร์เทศ พริกเทศ มะเขือเทศ ซึ่งล้วนมีความหมายว่ามาจากเมืองเทศหรือต่างประเทศทั้งนั้น ยังจำได้มาแต่เด็กว่า "อะไรเอ่ย มาจากเมืองเทศ มีจุกมีเกศ มีตารอบตัว" ท่านรู้ไหมว่าเป็นอะไร ไม่รู้โปรดถามเด็ก คนอินเดียวชาวเมืองคุชราฐ ซึ่งส่วนมากเป็นพ่อค้านำสิ่งของเหล่านี้มาขาย เราก็เรียกว่าแขกเทศด้วย มาภายหลังสินค้าจากต่างประเทศไม่เรียกว่าของเทศ มักเรียกกันว่าของนอก คงจะมาเปลี่ยนคำจากเทศเป็นนอก เมื่อสั่งของตรงมาจากยุโรป คือ เมืองนอกคู่กับเมืองเทศ ซึ่งในสมัยโน้นส่วนมากคงหมายถึงอินเดีย

"อะไรเอ่ย มาจากเมืองเทศ มีจุกมีเกศ มีตารอบตัว" ใครพอจะบอกได้บ้างครับว่าท่านเสฐียรโกเศศกล่าวถึงอะไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 23 ก.ย. 12, 23:04

"อะไรเอ่ย มาจากเมืองเทศ มีจุกมีเกศ มีตารอบตัว" ใครพอจะบอกได้บ้างครับว่าท่านเสฐียรโกเศศกล่าวถึงอะไร

V
V
ยังไม่เห็นใครตอบ เลยอาสาตอบเองตามรูปข้างล่างค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 09:19

สับปะรดคงเดินทางจากเมืองเทศเข้ามาเมืองไทยก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะในหนังสือของลาลูแบร์ก็กล่าวถึง Saparot  มีคำบรรยายอย่างละเอียดพร้อมภาพประกอบเหมือนของจริงผิดกับ รูปประกอบต้นไม้ผลชนิดอื่น ๆ

The Ananas, in Siamese Saparot, has the meat white, and the taste of our Peaches. Its meat is mixed with little wood, not a wood which separates, as there is in our nuts, but with a wood that adheres thereto, and which is only the meat over-hardned; and it is at the Center that it begins to grown hard. The Ananas is believed unwholsom, because that its juice, they say, corrodes Iron. It is yellow when it is ripe, and then to smell it without opening it, it has the scent of a roasted Apple. Its Figure is like a great Pine Apple, it has little rindes curiously ranged, under which, to behold them, one would think that the kernels are. The Plant which produces it bears it at the top of its stalk, which is not three foot high. The Ananas keeps directly upon the little end; and at the great end there is a tuft of Leaves, like little Corn-flags, short, bent outwards, and toothed. Sometimes from the body of this Fruit, and at the sides, there grows like Wens; one or two other little Ananas, which have also their Tufts. Now every Tuft cut and put in the ground, may produce another Ananas, but every Plant bears only one, and bears no more than one.

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 17:22


สับปะรดมีมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์แล้ว ถ้าเช่นนั้นสับปะรดที่ท่านเสฐียรโกเศศหมายถึงคือสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย ไม่ใช่สับปะรดพันธุ์พื้นเมือง เป็นเพราะสับปะรดพันธุ์พื้นเมืองไม่เป็นที่นิยม คนสมัยนั้นไม่รู้จักคุ้นเคย เมื่อมีสับปะรดอร่อย ก็เลยตั้งปริศนาถามกันเล่น หรือว่าปริศนานี้มีคำตอบเป็นอย่างอื่นได้อีก

สับปะรดมีแหล่งกำเนิดจากทวีปอเมริกาใต้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Ananas comosus มาจาก nanas ภาษา Tupi หมายถึง excellent fruit
สับปะรดในไทย พันธุ์ปัตตาเวียมีที่มาดังนี้ "... กว่าร้อยปีที่แล้ว ประเทศไทยได้มีการติดต่อทำการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยส่วนใหญ่ จะเดินทางค้าขายกันทางเรือ และในปี พ.ศ. 2455 มีแขกปาทาน จากมลายู เดินทางมาติดต่อค้าขายวัว โดยเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล ถึงอ่าวไทย และมุ่งเข้าสู่แม่น้ำปราณบุรี โดยแวะขึ้นฝั่งที่บ้านท่าข้าม (ปัจจุบันคือบ้านฝั่งท่า  หมู่ที่ 5  ตำบลวังก์พง  อำเภอปราณบุรี  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) และพักค้างคืนที่บ้านของผู้ใหญ่ทอง  อิ่มทั่ว โดยผู้ใหญ่ทอง ได้จัดอาหารมาต้อนรับแขกปาทาน ซึ่งในสำรับนั้นมีสับปะรดพันธุ์อินทชิต ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมือง มาให้แขกรับประทานด้วย เมื่อแขกได้ชิมสับปะรดแล้ว ก็บอกกับผู้ใหญ่ทอง ว่าที่เมืองของเขามีสับปะรดที่อร่อยมากกว่าที่นี่  และในระหว่างที่แขกพักค้างที่นั่น ได้เกิดเจ็บป่วย ผู้ใหญ่ทอง จึงพาไปให้พระช่วยรักษา จนหายป่วย ทำให้แขกผู้นั้นซาบซึ้งในน้ำใจ ผู้ใหญ่ทองมาก  เมื่อแขกผู้นั้นมีโอกาสมาติดต่อการค้าที่นี่อีกครั้งหนึ่ง ก็ได้นำหน่อสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย มาจำนวน 5 หน่อ ให้กับผู้ใหญ่ทอง จากนั้นผู้ใหญ่ทอง ก็นำไปปลูกบริเวณบ้าน เมื่อผลผลิตออกจึงรู้ว่ามีรสชาติดี จึงขยายหน่อให้ลูกหลานไปปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน และมีการขยายหน่อไปสู่เกษตรกรในพื้นที่ปลูกเพื่อการค้าเรื่อยมา จนกระทั่ง ในปี พ.ศ. 2510 ก็มีโรงงานแปรรูปสับปะรดขึ้นมาแห่งแรก จึงทำให้เกษตรกรมีการขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้นตามความต้องการของตลาด   
                จากเรื่องราวดังกล่าว ทำให้ชุมชนบ้านฝั่งท่าเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจ และต้องการเผยแพร่ให้คนทั่วไปได้รับทราบ จึงได้ดำเนินการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้โดยจัดทำแปลงสับปะรด ไว้ ณ บริเวณบ้านผู้ใหญ่ทอง  อิ่มทั่ว ซึ่งปัจจุบันครอบครองโดยทายาทของผู้ใหญ่ทอง  คือ นางสุดจิตร  เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา"
บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 17:38

ส่วนสับปะรดภูเก็ต ได้เข้ามาจากทางมลายู  คนใต้ออกเสียงว่า หยานัด เป็นสับปะรดสายพันธุ์ควีน queen ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือ เนื้อจะหวานกรอบ กลิ่นหอม มีเยื่อใยน้อย (แต่กินมากแล้วแสบลิ้น) ทำให้คนทั่วไปเรียกว่า สับปะรดภูเก็ต ตามชื่อแหล่งปลูก

นางแล เป็นสายพันธุ์ยาเคน เป็นพันธุ์ย่อยของปัตตาเวีย นำมาจากสิงคโปร์ ปี 2480 30 หน่อ 3 สายพันธุ์ มาปลูกที่ตำบลนางแล อ.เมือง จ.เชียงราย ปลูกไปปลูกมาก็เปลี่ยนจากเนื้อสีขาวหวานกรอบกลายเป็นสีน้ำผึ้งหวานฉ่ำ ได้ขยายพันธุ์เพิ่มและเป็นที่นิยม เรียกชื่อว่าสับปะรดนางแลตามชื่อตำบล

ภูแล    เป็นสับปะรดสายพันธุ์ควีน เมื่อปี พ.ศ. 2520 นายอเนก ประทีป ณ ถลาง นำหน่อจากภูเก็ตมาปลูกที่นางแล ด้วยลักษณะภูมิศาตร์ได้ลักษณะพิเศษต่างจากสับปะรดภูเก็ต จึงตั้งชื่อเป็นภูแล โดยผสมมาจากชื่อภูเก็ตและชื่อนางแล

สับปะรดศรีราชา เป็นพันธุ์ปัตตาเวีย ปลูกแถวศรีราชา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 24 ก.ย. 12, 17:51

สับปะรดนางแล


บันทึกการเข้า
นิลนนท์
มัจฉานุ
**
ตอบ: 58


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 07:51

โดยผู้ใหญ่ทอง ได้จัดอาหารมาต้อนรับแขกปาทาน ซึ่งในสำรับนั้นมีสับปะรดพันธุ์อินทชิต ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมือง มาให้แขก

ขอแก้เป็นพันธุ์อินทรชิต ไม่ใช่อินทชิต
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 16:45

ถ้าจำไม่ผิด แม้แต่กล้วยหรือพริก ที่ปัจจุบันมันไทยมากๆ ก็มีต้นกำเนิดจากอเมริกาใต้เช่นกัน
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 20:15

ตามตำราว่ากำเนิดกล้วยอยู่ในภูมิภาคนี้

หน้าตากล้วยสมัยพระนารายณ์ในหนังสือของลาลูแบร์

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 25 ก.ย. 12, 21:59

ฮิฮิฮิ  จำผิดจริงๆ ด้วยครับ กล้วยมีต้นกำเนิดแถวบ้านเราจริงๆ ด้วย มีแต่พริกที่มีต้นกำเนิดแถวอเมริกากลางและใต้
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 02 ต.ค. 12, 08:33

ส่วนข้อที่คุณเพ็ญชมพูว่ามีการนำคำว่าเทศมาใช้ลอยๆในความหมายว่าต่างประเทศนั้น ผมเห็นด้วยครับ แต่อยากจะชี้ให้เห็นว่าล้วนแล้วแต่เป็นการใช้ในคำพาดหัว ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษครับ และผมคิดว่าจะไม่แปลกเช่นเดียวกันหากเราจะพบใช้ในภาษากวี แต่การใช้ในเชิงบรรยาย ผมคิดว่ายังมาไม่ถึงครับ คุณเพ็ญชมพูอาจจะเป็นผู้ริเริ่มใช้เป็นท่านแรกก็เป็นได้ครับ ถ้าคำนี้เกิดฮิตเป็นคำใหม่ขึ้นมา อาจต้องให้เครดิตคุณเพ็ญชมพูครับ

เพิ่งเห็น เหตุว่าเป็นห้องของกระทู้ฮอตเรื่องคำจากภาษาอังกฤษ ๑๗๖ คำ

คงต้องให้เครดิต "เรือนไทย" ด้วย

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 02 ต.ค. 12, 11:37

อีกห้องหนึ่ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 02 ต.ค. 12, 12:38

ไทยและเทศจาก google.com

ประวัติศาสตร์เทศ จาก google.com

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 06 ต.ค. 12, 09:45

คงไม่ได้เกี่ยวกับที่ท่านผู้รู้หลายท่านกำลังพูดคุยกันเรื่อง "เทศ" แต่เพราะไม่รู้จะฝากความเห๋นทั่วไปไว้ที่ใด จะไปฝากกระทู้อื่นก็เกรงใจ จขกท. ก็เลยมาแปะไว้ที่กระทู้ที่ผมเร่มเอง

เรื่องราวเป็นประการฉะนี้ขอรับ

คือผมดูว่า ในเว็บนี้มีกระทู้ที่น่าสนใจมากมาย นอกจากน่าสนใจแล้วยังมีประโยชน์ในการให้ความรู้ซึ่งจะทำให้เราไม่หลงเป็นเหยื่อคนอื่น (โดยเฉพาะกระทู้ของคุณลุงเนาวรัตน์ในเรืองประวัติศาสตร์การเมือง) ปลูกจิตสำนึก ปลูกฝังค่านิยมที่ดี และปลูกฝังความเป็นคนไทย

อย่างไรก็ตามกระทู้เหล่านี้ก็จะถูกดันตกไปจากหน้ากระดานหน้าแรกเพราะหลังๆมีผู้เข้าตั้งกระทู้เพิ่มเติมโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นคำถาม(ไม่ว่าจะถามทดสอบสติปัญญา หรือถามเพื่อเอาคำตอบไปทำรายงาน ซ่งกรณีหลังนี้สังเกตว่า เมื่อได้คำตอบแล้วก็จบหรืออาจมีผู้ให้ความรู้เพิ่มเติมบ้าเล็กน้อยงแล้วก็จบ) ทำให้ผู้ที่แวะเยี่ยมเข้ามาต้องพลาดโอกาสที่จะได้รับรู้เรื่องราวดีๆจากกระทู้ดีๆ หรือถ้าจะเจอกระทู้เก่าๆที่ดีได้ก็ต้องเป็นกระทู้ที่มีผู้รู้เก่าๆหยิบยกขึ้นมาพูดคุย หรือผู้มาแวะเยี่ยมเยียนต้องเปิดไปในแต่ละหน้าของแต่ละกระทู้ซึ่งบางกลุ่มมียี่สิบกว่าถึงสามสิบหน้าซึ่งยากในทางปฏิบัติ (รวมทั้งสำหรับตัวกระปมด้วย)

ผมจึงเรียนปรึกษาหารือและใคร่อยากเสนอให้จัดพื้นที่บนเว็บเพิ่มเติมจากที่มีอยู่(ไม่ว่าจะด้วยเทคนิค(เขียนถูกหรือเปล่าครับ ชักไม่แน่ใจตั้งแต่เจอ 176 คำของราชบัณฑิต)ใดๆ) เพื่อการเข้าถึงที่สะดวก โดยเพิ่ทช่องทางนำเสนอการจัดอันดับกระทู้เรียงตามลำดับที่ "มีผู้เข้าอ่านมากสุด" จากมากไปน้อย และเรียงลำดับกระทู้ที่มี "ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นมากสุด" จากมากไปน้อย โดยเฉพาะถ้าสามารถกระทำดังที่ผมเสนอลงไปในแต่ละกลุ่ม ทุกกลุ่ม (กลุ่มวรรณคดี กลุ่มประวัติศาสตร์ไทย ฯลฯ)

ไม่ทราบว่าพี่ๆ เพื่อนๆ ลุง ป้า น้า อา โดยเฉพาะท่านเจ้าเรือนและเว๊บมาสเต้อร์(พยายามเขียนแบบราชบัณฑิต) จะมีความเห็นประการใดบ้างครับ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง