เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 18298 อยากทราบเกี่ยวกับพิธีกลบบัตรสุมเพลิง
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 29 พ.ค. 12, 09:53

ออกขุน  ตั้งคำถามไว้ว่า
น่าจะถามคุณหลวงเล็กเสียเหลือเกินว่า "วัดนอกกำแพงพระนคร...ท่านควรเอาไปปล่อยวัดใด ช่วยบอกข้าพเจ้าด้วยเทอญ"

วัดอะไรอยู่นอกกำแพงพระนคร  ก็เอาไปปล่อยได้ทั้งนั้น  จะต้องให้ระบุด้วยหรือ
ถ้าจะระบุวัด  แสดงว่าคนออกกฎน่าจะมีนอกมีในอะไรกับพระวัดนั้นเป็นแน่
หรือไม่วัดที่ถูกระบุ  คงจะเป็นฟาร์มเลี้ยงไก่ย่อยๆ  ขี้ไก่คงเหม็นคลุ้งไปทั้งวัด  
ที่ท่านไม่ระบุ  ก็เพราะให้ผู้นำไก่ไปปล่อยพิจารณาตามความเหมาะสม ความสะดวก และสติปัญญาของตนเอง
จะไปปล่อยไกลถึงวัดแถวทุ่งรังสิต  แขวงเมืองปทุม  หรือวัดศรีเอี่ยม  แถบทุ่งบางพลี  ก็ไม่ว่ากัน

อันที่จริง  เมื่อหลายปีมาแล้ว  ถ้าใครพอยังจำข่าวเรื่องมีการปลงพระชนม์ชีพพระราชวงศ์กษัตริย์เนปาลในพระราชวัง
ซึ่งเป็นข่าวครึกโครมสะเทือนใจไปทั่วโลก  หลังจากที่ได้มีการจัดการพระศพในคราวนั้นแล้ว
ได้มีการทำพิธีคล้ายกันกับไทย  คือ มีการเชิญพราหมณ์คนหนึ่งมาทำพิธีปัดรางควานในพระราชวัง
และเลี้ยงอาหารแก่พราหมณ์นั้นอย่างอิ่มหนำสำราญ  เมื่อพราหมณ์เหวยเสร็จแล้วก็ได้เวลาเนรเทศพราหมณ์
คือให้พราหมณ์ขึ้นช้างออกไปนอกเมืองไกลๆ   พราหมณืนี้เอง  เป็นผู้อาสานำความอัปมงคลที่เกิดขึ้นออกไปจากพระราชวัง
โดยใช้ตนเองเป็นพาหะ  ผมจำไม่ได้ว่่า  พราหมณ์ผู้นั้นจะต้องไม่มาเข้าใกล้หรือเข้ามาในเมืองนั้นเป็นเวลานานเท่าใด
อาจจะเป็นเวลาหลายปี หรืออาจจะตลอดชีวิต   ความเชื่อนั้นก็เป็นเหมือนกับการเอาไก่พาสิ่งอัปมงคลไปปล่อยที่วัด

ส่วนที่ตัดหางไก่นั้น  เข้าใจว่า เป็นการทำให้เป็นเครื่องหมายสังเกตว่า  นี่คือไก่ที่เขาเอามาปล่อยสะเดาะเคราะห์
หรือปล่อยเสนียด  ใครเห็นเข้าก็รู้  จะไม่หลงเข้าใจว่าเป็นไก่ใครหลุดมา (ไก่หลง) แล้วจับเอาไปเลี้ยงหรือทำแกงกิน
ส่วนการตัดไก่  ก็คือทำให้เสียโฉม  (แต่ไม่เสียเลือดเสียเนื้อ) ของเสียโฉมถือเป็นของอัปมงคล
แม้แต่พระพุทธรูป เทวรูป ตุ๊กตา  ศาลพระภูมิ หรือสิ่งของอันใดที่หัก แตก มีรอยร้าวรอยราน  ชาวบ้านมักถือว่า
ไม่ควรเก็บไว้ใช้   จะเป็นเสนียดแก่ตัวแก่บ้านและครอบครัว  ให้เอาไปจำเริญ (ทิ้ง) ตามโคนโพธิ์โคนไทร
ตามวัดวาอาราม  หรือทางแพร่ง  ไก่ที่ตัดหางแล้ว ก็เหมือนของที่ชำรุด  ต้องเอาไปปล่อยที่วัด  (ของดีๆ ไม่ยักกะเอาไปปล่อยวัด)
แต่ขนหางไก่นั้น  เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ขนหางที่ถูกตัดไป ก็จะหลุดไป มีขนหางใหม่งอกขึ้นมาแทน
พอไก่ขนงามดังเดิม  ทีนี้ก็ตัวใครตัวมัน  ถ้าไก่เดินออกมานอกวัด  ก็อาจจะถูกจับไปเลี้ยงหรือ ลงหม้อ ก็ได้


การใช้ไก่เป็นของพาเคราะห์ หรือรับเคราะห์แทนนี้ ก็คล้ายๆ กับเอาตุ๊กตาดินปั้นใส่กระบะกาบกล้วยหรือกระทงบัตรพลี
ไปเซ่นตามทางสามแพร่ง (สี่แพร่ง ห้าแพร่งก็ได้)  แล้วต่อยให้หัวตุีกตาหลุด  เพื่อเป็นการสะเด๊าะเขราะห์ ต่อชะตา
เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 29 พ.ค. 12, 10:00


การเสี่ยงทายเป็นอีกเรื่องหนึ่ง  แม้จะใช้ไก่เหมือนกัน แต่วัตถุประสงค์ต่างกัน
อันที่จริงไม่เฉพาะกลุ่มชนในวัฒนธรรมไท  เท่านั้น มอญ เขมร ก็ใช้เหมือนกัน
แต่ขอถามออกขุนว่า ที่ว่าทายกระดูกไก่  เขาเอากระดูกส่วนใดของไก่มาทาย
แล้วอยากให้ลองยกตัวอย่างการเสี่ยงโดยวิธีการดังกล่าวมาให้ดูด้วย

เรื่องไก่ในการเซ่นสังเวย ให้คุณหลวงหาอ่านที่
ความหมายและบทบาทของ “ไก่” ในโลกทัศน์ของชาวอ่าข่า

เอกสารดังกล่าวได้อธิบายถึง ประเพณีชาวอาข่า ที่ผูกพันกับไก่ ซึ่งนับถือผี และพิธีกรรมการเสี่ยงทายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของไก่ เช่น เนื้อ กระดูก ตับ หัว ตลอดจนใช้ไข่ไก่ในการเสี่ยงทาย

ถามแค่ว่าเอากระดูกส่วนใดของไก่มาทาย  ออกขุนก็ออกไปไหนๆ  ไม่ต้องถึงเผ่าอาข่าหรอกออกขุน
ขี้เกียจปีนดอยไปดู  เอาแถวที่ราบนี่ก็พอยกตัวอย่างได้เหมือนกัน  ไม่อยากให้กลายเป็นกระทู้ Folklore ไป
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 23 มิ.ย. 12, 07:28

ข้อมูลจากจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในรัชกาลที่ ๖  วันอังคารที่  ๕  กุมภาพันธ์  พ.ศ. ๒๔๖๖  บันทึกไว้ดังนี้

วันนี้มีเหตุเกิดขึ้นเรื่อง ๑ คือ เวลา ๑.๕๐ ก.ท.  นางสาวข้าหลวงพระองค์ผ่องคลอดบุตรในวังหลวง 
เจ้าน่าที่ได้จัดการนำออกในคืนนั้น  โปรดให้ตั้งการสังเวยอธิไทยโพธิบาทว์  พระอิศวร  พระอินทร 
พระนารายณ์  พระเพลิง  พระยม  พระพิรุณ  พระพาย  พระไพศรพณ์  ที่ประตูทั้ง ๔ ทิศ คือ
ประตูแถลงราชกิจ ๑  ประตูวิจิตรบรรจง ๑  ประตูศรีสุดาวงศ์ ๑  ประตูสนามราชกิจ ๑
กำหนดวันที่  ๒๐  กุมภาพันธ์  ศกนี้  เวลา ๔.๐๐ ล.ท.  พระสงฆ์๔ รูป  สวดมนต์ที่พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์
รุ่งขึ้นเวลา ๑๑.๐๐ ก.ท. เลี้ยงพระ  แล้วจะได้ตั้งการบวงสรวงสังเวยประตูตามพระราชประเพณีและมีลคร
ที่ประตูแถลงราชกิจเปนสมโภชด้วยโรง ๑

เรื่องนี้สอบสวนคงได้ความว่า เมื่อสิงหาคมศกก่อน  นางจูได้ทำสัญญารับเงินล่วงน่าจากเจ้าจอมมารดาแข
แล้วให้นางเล็กบุตรีทำการแทนมาตอน ๑ ครั้นถึงมีนาคมในศกนั้นเอง  นางเล็กไปมีสามี  จึงให้นางสวน
บุตรีอีกคน ๑ ทำการแทนต่อมา  นางสวนผู้นี้ไม่ใช่คนกักขังใช้เข้าออกนอกวังอยู่เสมอ  นางสวนเปนคนอ้วนใหญ่
ตั้งแต่พระองค์ผ่องลงไปจนข้าหลวงและนายประตูสังเกตเห็นไม่ได้ว่ามีครรภ์  ต่อมาเมื่อ ๒ - ๓ เดือน
ก่อนที่จะคลอด  ได้มีผู้โจทย์กันว่านางสวนมีครรภ์  เจ้าน่าที่ฝ่ายในได้เรียกตัวมาพิจารณาและสอบสวน
นางสวนปฏิเสธว่าไม่มีสามี  เจ้าน่าที่เชื่อถ้อยคำจึงได้อยู่ในวังหลวงจนวันคลอด  จึงปรากฏว่ามีสามีชื่อนายมี
การที่นางสวนได้ให้ถ้อยคำเท็จต่อเจ้าน่าที่ฝ่ายในว่า  ไม่ได้มีครรภ์และไม่มีสามี  แล้วและคลอดลูก
โลหิตตกในพระบรมมหาราชวังซึ่งผิดต่อกฎมณเฑียรบาล  เสนาบดีวังได้ให้อัยการวังไต่สวนว่ากล่าว
ตามความผิดอีกโสด ๑
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง