เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 34037 ทรัพยากรน้ำบาดาล
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 20 พ.ค. 12, 21:09

ลองเอารูปมาให้ดูอีกที  ว่าถูกไหมคะ
terrace + balcony+ patio

รูปซ้ายสุดกับขวาสุด ใช่ครับ terrace กับ patio
แต่รูปกลางนั้น ผมยังเห็นว่ากำกวม    balcony เป็นลักษณะของพื้นที่ที่ยื่นลอยออกมามากกว่า เหมือนกับชั้น box ในโรงละครโอเปร่า  ลักษณะดังในภาพของรูปกลางนั้น ผมเห็นว่าเป็นการออกแบบประยุกต์ผสมผสานระหว่าง balcony กับ porch ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 20 พ.ค. 12, 21:19

อ้าว  สอบตกไปข้อหนึ่งแล้ว  ลังเล ถ้าท่านอาจารย์ใหญ่กระทู้โน้นมาเห็นอาจจะถูกสั่งให้คัด ๑๐ ที    โทษฐานเรียนแล้วไม่จำ
ไม่เป็นไรค่ะ  re-exam แก้ตัวใหม่
balcony เป็นอย่างนี้หรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 20 พ.ค. 12, 21:46

ส่งการบ้าน ค่ะ
ซ้าย wave cut terrace / ขวา wave built terrace

รูปทางขวามือเป็น wave cut terrace แน่นอน ซึ่งจะเห็นว่ามีอยู่สองระดับ คือระดับที่อยู่ใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล และระดับบนที่เห็นเป็นแหลมหินยื่นออกไป

สำหรับภาพซ้ายมือนั้น ดูกำกวม คิดว่าแต่แรกเริ่มนั้นเป็น wave cut terrace และคงจะอยู่ในระดับที่ไม่สูงจากระดับน้ำทะเลมากนัก ต่อมามีคลื่นพายุนำทรายเข้ามากองทับ ซึ่งยังไม่น่าจะเรียกว่า wave built terrace ชายฝั่งในลักษณะนี้แสดงถึงชายฝั่งทะเลที่มีการยกตัวขึ้นอีกด้วย ซึ่งสังเกตเห็นได้จากระดับพื้นที่ของลานจอดรถเทียบกับระดับน้ำทะเลที่เห้นอยู่ไกลๆ สำหรับทรายที่เห็นอยู่บนพื้นนั้น เมื่อดูทางด้านขวามือของภาพจะเห็นเป็นเนินอยู่ กองทรายนี้อาจะเกิดมาจากลมพัดพามาสะสมอยู่ เรียกว่า sand dune    พวก beach dunes นี้ มักจะพบอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่หันหน้าสู่ทะเลเปิด ที่พบในไทยที่ชัดเจนและอยู่ใกล้ๆก็คือตามถนนที่ตัดเข้าไปหาบ้านเขาเต่าที่หัวหิน จะสังเกตเห็นถนนตัดผ่านกองทรายสูงๆ   สำหรับ wave built terrace นั้น ในไทยที่พอจะเห็นได้ชัดก็คือ ที่ราบที่อยู่บนเส้นทางถนนสุขุมวิทเลยจากพัทยาใต้ไปทางบางสะเหร่จนถึงสัตหีบ หรือช่วงที่เลยจากสัตหีบไปจนถึงบ้านเพ ซึ่งจะเห็นพื้นที่ทั้งสองฝั่งถนนเป็นทราย
ชายทะเลในภาพนี้ จะเห็นว่ามีหน้าผาอยู่ติดกับทะเล แสดงว่าตัวที่เป็นหาดทรายจะแคบ ความเอียงเทของหาดทรายลงไปในทะเลจะชัน ลงน้ำไปนิดเดียวก็จะท่วมหัว คลื่นลมแรง มีโขดหินโผล่และอยู่ใต้น้ำเป็นลักษณะของ rocky coast ที่ค่อนข้างจะอันตราย

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 20 พ.ค. 12, 21:49

อ้าว  สอบตกไปข้อหนึ่งแล้ว  ลังเล ถ้าท่านอาจารย์ใหญ่กระทู้โน้นมาเห็นอาจจะถูกสั่งให้คัด ๑๐ ที    โทษฐานเรียนแล้วไม่จำ
ไม่เป็นไรค่ะ  re-exam แก้ตัวใหม่
balcony เป็นอย่างนี้หรือเปล่าคะ

อย่างนี้แหละครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 20 พ.ค. 12, 21:53

^
รอดตัวไปข้อหนึ่ง
มา re-exam วิชา wave cut terrace ค่ะ     กรุณาผ่อนปรนให้คนเรียนสายศิลป์ที่ต้องมาลงวิชาธรณีวิทยานะคะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 20 พ.ค. 12, 22:54

ส่วนที่อยู่ตีนหน้าผาติดๆกับระดับน้ำทะเลนั้น ใช่ครับ จะเห็นเป็นที่ราบๆอยู่สูงกว่าระดับน้ำ
สำหรับพื้นที่ด้านบนที่เห็นราบๆนั้น เกิดจากการวางตัวของชั้นหินในแนวราบ

ในไทยก็มีครับ หากเดินทางใช้เส้นทางสุขุมวิทสายเก่า จากศรีราชามุ่งสู่พัทยา พอลงจากช่วงที่เป็นเขาเข้าสู่หุบพื้นที่ฝึกงานของ ม.เกษตร ลองมองไปทางด้านหน้าทางขวา จะเห็นพื้นที่ราบๆอยู่ในระดับเดียวกันเป็นผืนใหญ่ นั่นก็เป็นที่ราบที่เป็น wave cut terrace

คุณเทาชมพูอย่าได้วิตกไปเลยครับ ผมเรียนมายังบอกถูกบอกผิดมากมาย มันเป็นอีกวิชาหนึ่งที่บังคับต้องเรียน เรียกว่าวิชา Geomorphology การจะบอกได้นั้นต้องมีองค์ประกอบของความรู้ในวิชาอื่นๆอีกมาก เท่าที่คุณเทาชมพูได้แสดงมานั้นก็จัดว่าวิเคราะห์ได้เก่งมากแล้วครับ จริงๆ  ยิงฟันยิ้ม

ต้องขออภัยท่านผู้ติดตามอ่านทั้งหลายด้วยนะครับ ที่มีภาษาอังกฤษเต็มไปหมด  ซึ่งที่จริงแล้วก็คือคำภาษาที่ใช้กันในชีวิตประจำวันนั้นเอง เพียงพยายามให้และอธิบายไว้เพื่อให้เกิดสุนทรีย์มากขึ้นเมื่ออ่านบทความหรือคำบรรยายต่างๆที่บรรยายธรรมชาติ

ทำให้นึกถึงคำภาษาอังกฤษอีกสองคำ (ขอแยกเข้าซอยไปนิดเีดียว เพื่อการผ่อนคลายครับ)
คำแรก Outstanding payment  ดูเป็นคำในเชิงบวกนะครับ เหมือนกับว่าจ่ายให้อย่างมากมายเด่นชัดกว่าคนอื่นๆ แท้จริงแล้วมีความหมายในทางลบ คือ ยังไม่ได้จัดการกับเงินที่พึงจะต้องจ่ายให้ในระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งระยะเวลานั้นได้ล่วงเลยมาแล้ว
อีกคำหนึ่ง arrears ซึ่งออกเสียงเหมือนกับ area ต่างกันที่ไม่มีเสียงตัวเอส The arrears of .... is....กับ The area of .... is....วลีแรกเป็นเรื่องของการทวงเงิน คือ ภาระที่จะต้องชำระเงินจำนวน...ตามที่ตกลงกันไว้ยังไม่ได้กระทำ และยังไม่มีการประสานใดๆ กับวลีที่สอง เป็นเรื่องของปริมาณพื้นที่มากน้อยเพียงใด     

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 21 พ.ค. 12, 19:13

คุณตั้งโดดจากวิชาธรณีวิทยามาวิชาไฟแนนซ์เสียแล้ว    ดิฉันโดดตามไม่ไหว   ต้องปักหลักรออยู่ข้างบ่อบาดาลตามเดิม

อย่างหนึ่งที่จำได้แม่นเมื่อมาสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยภูธรใหม่ๆ  คือรู้จักน้ำบาดาลเป็นครั้งแรก   หลังจากรู้จักแต่น้ำประปา น้ำฝน น้ำคลองและน้ำแม่น้ำ  ตามแบบคนเมืองหลวงทั้งหลาย
มหาวิทยาลัยมีแท้งค์น้ำอยู่บนหลังคา  สูบขึ้นไปแล้วปล่อยลงมาตามห้องน้ำของนักศึกษา  บ้านพักอาจารย์ก็มีน้ำมาตามท่อจากบ่อบาดาลเหมือนกัน  น้ำแรงดีเวลาไฟฟ้าดี   แปลได้อีกอย่างคือถ้าไฟดับเมื่อไรน้ำก็หยุดกึกเมื่อนั้น      แล้วไฟฟ้าก็ขยันดับบ่อยเสียด้วย 
โดยมากดับตอนค่ำๆ ในเวลาที่นศ.กำลังอาบน้ำกัน   ทำให้ห้องน้ำต้องมีถังพลาสติคขนาดใหญ่สำรองน้ำเอาไว้

สิ่งที่มาพร้อมน้ำบาดาลเป็นศัพท์ใหม่ที่เพิ่งเคยได้ยิน คือคำว่า ตะกรัน   มันเป็นตะกอนสีแดงเหมือนสนิม   มาพร้อมกับน้ำ  ถ้าเปิดน้ำขังไว้ในอ่างซักผ้าหรือโอ่ง ตะกรันจะจับตัวจมอยู่ตรงก้น
ห้องน้ำทั้งหลายมีตะกรันจับเป็นครามสนิมอยู่ตามอ่างล้างมือ  ชักโครก  พื้นห้อง และทุกอย่างที่น้ำบาดาลไปถึง      เมื่อซักผ้า  ผ้าขาวจะกลายเป็นผ้าสีน้ำตาลขุ่น   เป็นที่หวาดหวั่นสำหรับอาจารย์หญิงและนศ.สาวๆมาก  ถ้าใครอยากให้เสื้อขาวคงความขาวอยู่ได้ ต้องหอบกลับไปซักที่กรุงเทพเวลากลับบ้าน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 21 พ.ค. 12, 19:14

ชั้นน้ำบาดาลในแอ่งกรุงเทพฯและปริมณฑลมีทั้งหมด 8 ชั้น แต่ละชั้นหนาประมาณ 50 เมตร แต่ละชั้นจะแยกจากกันและถูกขั้นดั่นด้วยชั้นดินเหนียว   น้ำบาดาลชั้นแรกเริ่มต้นที่ระดับประมาณ 50 เมตรจากผิวดิน ให้น้ำกร่อย ใช้ไม่ได้    ชั้นสุดท้ายเิ่ริ่มที่ระดับความลึกประมาณ 500 เมตร ซึ่งชั้นสุดท้ายนี้น้ำที่สูบขึ้นมาจะมีความร้อน (อุ่น) ที่ประมาณ 45 องศา

การสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในขณะที่ยังไม่มีการควบคุม (ขออนุญาต) อย่างค่อนข้างเข้มงวด ได้ทำให้เกิดแผ่นดินทรุดทั่วไป จึงมีการออกกฏหมายควบคุมเืพื่อแก้ไขปัญหา โดยหลักการ คือ ให้มีบ่อกระจายอยู่ห่างกัน สูบน้ำขึ้นมาใช้ในปริมาณที่พอควรแก่ความต้องการ แยกการใช้น้ำในระดับต่างๆให้เหมาะสมตามลักษณะการใช้และคุณภาพ ของน้ำ ผนวกกับการไม่อนุญาตให้มีการเจาะบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่ๆมีการบริการน้ำประปา   ผลสุดท้ายในปัจจุบันก็สามารถลดอัตราการทรุดตัวของแผ่นดินได้ในระดับที่น่าพอใจอย่างยิ่ง จนเกือบจะเรียกได้ว่าไม่มีการทรุดตัวในพื้นที่ของ กทม.เกือบทั้งหมดแล้ว ก็อดทนแก้ไขอยู่ 20 กว่าปี ในทุกรูปแบบ มีทั้งผ่อนหนักผ่อนเบาและการเข้มงวด

ชั้นน้ำบาดาลระดับลึกสุดเป็นชั้นน้ำคุณภาพดีที่มีการอนุญาตให้เจาะนำมาใช้ในการอุตสาหกรรมบางชนิด รวมทั้งการเอามาทำน้ำดื่ม (ตามที่คุณพวงแก้วได้ปุจฉามาใน คห.ที่160 ในกระทู้เรื่องแผ่นดินไหวและซึนามิ) ชั้นน้ำบาดาลนี้มีการอณุญาตให้ใช้น้อยมากครับ

เนื่องจากการเจาะบ่อบาดาลที่ลึกต้องเสียค่าใช้จ่ายมากทั้งในขั้นการเจาะและการพัฒนาบ่อเพื่อนำน้ำมาใช้ (ในระดับประมาณ 2-3 ล้านบาท) ดังนั้น บ่อลึกๆจึงมักจะเป็นของภาคอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นจริงๆในเรื่องของคุณภาพน้ำและเป็นพวกมีฐานะการเงินดี โดยทั่วไปแล้วก็จะเจาะกันในระดับความลึกประมาณ 100 และ 150 เมตร ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายหลายแสนบาททีเดียว ด้วยค่าใช้จ่ายในระดับนี้ ผู้ขอเจาะบ่อบาดาลจึงมักเป็นหมู่บ้านและอุตสาหกรรมขนาดย่อม  อย่างไรก็ตามเมื่อการประปานครหลวงได้ขยายระบบอย่างมีแบบแผน ก็ได้มีการปิดบ่อและเลิกใช้บ่อบาดาลทั้งหลายกันเป็นจำนวนมากมายแล้ว

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 21 พ.ค. 12, 20:52

.....สิ่งที่มาพร้อมน้ำบาดาลเป็นศัพท์ใหม่ที่เพิ่งเคยได้ยิน คือคำว่า ตะกรัน   มันเป็นตะกอนสีแดงเหมือนสนิม   มาพร้อมกับน้ำ  ถ้าเปิดน้ำขังไว้ในอ่างซักผ้าหรือโอ่ง ตะกรันจะจับตัวจมอยู่ตรงก้น
ห้องน้ำทั้งหลายมีตะกรันจับเป็นครามสนิมอยู่ตามอ่างล้างมือ  ชักโครก  พื้นห้อง และทุกอย่างที่น้ำบาดาลไปถึง      เมื่อซักผ้า  ผ้าขาวจะกลายเป็นผ้าสีน้ำตาลขุ่น   เป็นที่หวาดหวั่นสำหรับอาจารย์หญิงและนศ.สาวๆมาก  ถ้าใครอยากให้เสื้อขาวคงความขาวอยู่ได้ ต้องหอบกลับไปซักที่กรุงเทพเวลากลับบ้าน

ขออนุญาตเห็นต่างนี๊ดๆๆๆๆๆเดียวนะครับ
ตะกรันน่าจะตรงกับคำว่า sludge ซึ่งก็คือตะกอนที่ตกทับถมกันอย่างหนาแน่นอยู่ที่ก้นภาชนะโดยน้ำหนักของตัวตะกอน ซึ่งในบางกรณีก็เป็นการตกผลึก (เช่น กรณีหินปูนที่ตกผลึกอยู่ที่ก้นกาต้มน้ำ เป็นต้น)    สำหรับกรณีสนิมแดงที่เกาะเป็นคราบตามอ่างล้างมือหรือคอห่านของชักโครกนั้น น่าจะตรงกับคำว่า stain ซึ่งก็คือคราบสนิม ซึ่งเป็นการเกาะจับโดยตามผิว
อย่างไรก็ตาม มันก็ก้ำกึ่งกันอยู่ที่จะเป็นทั้ง sludge (หากพบคราบหนามากในที่เป็นแ่อ่ง) หรือ stain (หากเป็นคราบเกาะตามผิวผนัง)

ไม่น่าจะผิดเพี้ยนเลยที่จะบอกว่า น้ำที่ใช้นั้นเป็นน้ำบาดาล จึงทำให้ผ้าขาวที่ซักแล้วจะกลายเป็นสีน้ำตาลดังที่กล่าวมา 
ซึ่งผมเห็นว่า มีมากกว่านั้นอีกที่คุณเทาชมพูไม่ได้บรรยาย คือ ข้าวที่ก้นหม้อหุงข้าวก็จะเห็นหย่อมข้าวสีน้ำตาล หรือที่ก้นถังน้ำที่รองไว้ใช้ก็จะมีคราบสีน้ำตาล หรือแม้กระทั่งก้นขวดน้ำที่รองเก็บไว้ก็จะมีคราบสีเหลืองแดง อีกทั้งอาจจะรู้สึกว่าน้ำมีกลิ่นคาวน้อยๆอีกด้วย ซึ่งก็คือคราบของสนิมเหล็กทั้งนั้น  ซึ่งก็ไม่ใช่จะไม่ดีเสมอไปนะครับ ผมคิดว่าผลการตรวจสภาพของเม็ดเลือดด้วย smear test ของบุคคลที่ใช้น้ำในระบบนั้น น่าจะปรากฎว่ามีเ็ม็ดเลือดที่แข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ผิวเนื้อมีน้ำมีนวลสีฝาดเปล่งปลั่ง ไม่ซีด  สาเหตุก็เพราะว่าใช้น้ำที่มีธาตุเหล็กนั่นเอง

วิิธีกำจัดกลิ่นคาวและน้ำที่มีปริมาณเหล็กปนอยู่สูงนี้ ทำได้ง่ายมาก คือ ต้องให้น้ำไหลผ่านอากาศก่อนจะเข้าเก็บในถังเก็บน้ำของระบบประปา สารประกอบที่มีเหล็กละลายอยู่ในน้ำนั้นจะเกิดปฏิกริยากับอากาศ เรียกวิธีการนี้ว่า aeration ซึ่งจะทำให้เกิดปฏิกริยา oxidation ทำให้สารประกอบธาตุเหล็กซึ่งแขวนลอยอยู่ในน้ำนั้นตกตะกอน น้ำที่ปล่อยออกมาใช้ก็จะไม่มีกลิ่นคาวและมีปริมาณเหล็กที่ทำให้เกิดคราบเหลืองแดงน้องลง   ดังนั้น น้ำบ่อหรือน้ำบาดาลในถิ่นที่มีเหล็กสูงนั้น เมื่อสูบขึ้นมาก่อนที่จะปล่อยลงถังเก็บ เขาก็จะทำใ้ห้มันเป็นฝอยผ่านอากาศ (aeration) ก่อนที่น้ำจะตกลงมาผ่านกรองถ่านกัมมันต์ (activated carbon) หรือถ่านไม้ธรรมดา (charcoal) เพื่อการกำจัดกลิ่น จากนั้นจึงไหลเข้าสู่ถังเก็บน้ำ สนิมเหล็กจะตกตะกอนในถังเก็บน้ำเกือบทั้งหมด ทำให้เราได้ใช้ืั้น้ำค่อนข้างดีที่ปลายทาง

สภาพที่คุณเทาชมพูเล่ามานั้น ค่อนข้างจะแสดงว่า มีการขาดการเอาใจใส่บำรุงรักษาระบบใหญ่อย่างจริงจัง

กระบวนวิธีการที่ทำให้เกิดคราบสีแดงเกาะในอ่างล้างมือล้างหน้าหรือในโถส้วมนั้น สามรถอธิบายได้ด้วยวิชาทางเคมี ซึ่งจะไม่กล่าวถึงนะครับ  เอาเป็นเพียงว่าประสิทธิภาพของระบบใหญ่ในการกำจัดสนิมเหล็กนั้นยังไม่ดีพอหรือขาดการบำรุงรักษาตามสมควร         

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 21 พ.ค. 12, 21:18

มีมากกว่านั้นอีกที่คุณเทาชมพูไม่ได้บรรยาย คือ ข้าวที่ก้นหม้อหุงข้าวก็จะเห็นหย่อมข้าวสีน้ำตาล หรือที่ก้นถังน้ำที่รองไว้ใช้ก็จะมีคราบสีน้ำตาล หรือแม้กระทั่งก้นขวดน้ำที่รองเก็บไว้ก็จะมีคราบสีเหลืองแดง อีกทั้งอาจจะรู้สึกว่าน้ำมีกลิ่นคาวน้อยๆอีกด้วย ซึ่งก็คือคราบของสนิมเหล็กทั้งนั้น  ซึ่งก็ไม่ใช่จะไม่ดีเสมอไปนะครับ ผมคิดว่าผลการตรวจสภาพของเม็ดเลือดด้วย smear test ของบุคคลที่ใช้น้ำในระบบนั้น น่าจะปรากฎว่ามีเ็ม็ดเลือดที่แข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ผิวเนื้อมีน้ำมีนวลสีฝาดเปล่งปลั่ง ไม่ซีด  สาเหตุก็เพราะว่าใช้น้ำที่มีธาตุเหล็กนั่นเอง

ไม่กล้าใช้น้ำบาดาลหุงข้าวค่ะ    เกรงข้าวขาวจะกลายสีเป็นข้าวกล้อง    ต้องใช้น้ำดื่มหุงแทน
จำได้แต่ว่าน้ำบาดาลกลิ่นเหม็นค่ะ  แต่บอกไม่ถูกว่าเหม็นคาวหรืออะไร  รู้แต่ว่ามันเหม็นเหมือนสารเคมี
ไม่ยักมีใครบอกว่าดื่มเข้าไปแล้วจะมีน้ำมีนวล   มีแต่คนเตือนว่าอย่าดื่มเป็นอันขาด  จะเป็นโรคนิ่ว   เลยอดมีเลือดฝาดแข็งแรงสมบูรณ์จนบัดนี้    ยิ้ม 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 26 พ.ค. 12, 21:07

เว้นวรรคไปพักใหญ่ครับ  จะขอเล่าต่อให้จบ
ไปท่องเน็ตดูก็ได้เห็นว่า มีเรื่องเกี่ยวกับน้ำบาดาลอยู่มากมาย ซึ่งเมื่อได้อ่านดูแล้วก็เห็นว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน ยกเว้นในเรื่องของความละเอียดของข้อมูล ซึ่งหากเอามาประมวลแล้วก็จะได้เป็นข้อมูลและความรู้ที่ครบถ้วนเลยทีเดียว ผมจึงจะเว้นไม่กล่าวถึง

จะขอไปในเรื่องเกล็ดความรู้บางประการ

น้ำที่เรียกว่าน้ำบาดาลที่อยู่ในการควบคุมกำกับดูแลโดยกรมทรัะยากรน้ำบาดาลตามกฏหมายของไทย คือ น้ำที่อยู่ลึกกว่าระดับ 15 เมตรลงไป

หน่วยงานที่เจาะบ่อบาดาลแต่เดิมนั้น มีหลายหน่วยงาน คือ กรมทรัพยากรธรณ๊ (หัวสูบโยกสีเขียว) กรป.กลาง (หัวสูบโยกสีแสด) รพช. (หัวสูบโยกสีฟ้า) กรมโยธาธิการ (หัวสูบโยกสีเหลือง) กรมอนามัย กรมชลประทาน ซึ่งทั้งสองหน่วยหลังนี้จำสีไม่ได้    เมื่อมีการใช้ระบบสูบด้วยปั้มไฟฟ้า (submersible pump) และมีการทำระบบประปาหมู่บ้าน ถังปรับคุณภาพน้ำและถังเก็บเพื่อจ่ายน้ำก็ยังคงใช้สีตามที่กล่าวมา      ในปัจจุบันนี้ใช้ระบบการสูบด้วยไฟฟ้าทั้งหมด หัวสูบโยกจึงหายไปหมดแล้ว และสีที่แสดงถึงหน่วยงานที่มาเจาะและพัฒนาระบบก็หายไปหมดแล้วเช่นกัน 

บ่อน้ำบาดาลของทางราชการส่วนมากจะมีขนาด 3, 4 และ 5 นิ้ว บ่อขนาดใหญ่กว่านี้มักจะเป็นบ่อที่เจาะลึกสำหรับงานทางวิชาการ

ภารกิจการเจาะน้ำบาดาลเพื่อใช้ในทางสาธารณะสำหรับชุมชน ในปัจจุบันได้ถ่ายโอนไปให้กับหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ (เครื่องเจาะ) เป็นไปนโยบายและบทบัญญัติตามกฎหมายในบริบทเรื่องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น แต่ด้วยการขาดความพร้อมที่จะรองรับภารกิจ การขาดบุคลากรทางเทคนิคและการขาดงบประมาณ ทำให้เครื่องเจาะเป็นจำนวนมากถูกละทิ้งและขาดการบำรุงรักษา จึงกำลังเข้าสู่สภาพความเป็นเศษเหล็กอย่างสมบูรณ์

บ่อน้ำบาดาลเองก็มีอายุและจะต้องมีการบำรุงรักษา เช่น การเป่าล้างบ่อ ฯลฯ ตามระยะเวลาอันควร  ในปัจจุบันนี้บ่อน้ำบาดาลที่ทางราชการได้เจาะใว้ให้กับชุมชนต่างๆเป็นจำนวนมากมายหลายหมื่นบ่อได้ถูกละเลยการซ่อมบำรุงจนเข้าสู่สภาพความเสียหายอย่างถาวร

หลายๆพื้นที่ทั่วประเทศได้มีการเจาะน้ำบาดาลเพื่อใช้ในการเกษตร ทั้งเพื่อใช้ในการทำนา ทำไร่ และทำสวน

มีเอกชนเป็นจำนวนมากที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการเจาะน้ำบาดาล  ซึ่งคงจะต้องระวังให้มากในเรื่องของเล่ห์เหลี่ยมต่างๆ สัญญาส่วนมากจะผูกมัดกันที่ปริมาณน้ำว่าจะต้องสามารถสูบน้ำได้ในเพียงใดต่อชั่วโมง ซึ่งหมายถึงจะต้องมี Pumping test ตามหลักวิชาการ (ใช้เวลาเป็นวัน) ซึ่งก็อาจจะถูกหรอกหรือเบี่ยงเบนไป เช่น เอาน้ำกรอกบ่อแล้วสูบให้ดูในช่วงสั้นๆ (ปรกติคือความสามารถในการสูบได้น้ำในปริมาณที่ต้องการต่อเนื่องเป็นเวลานาน มิใช่สูบแล้วจะต้องพักให้น้ำไหลเข้าบ่อ) หรือเสนอการเจาะให้ลึกมากขึ้นเพื่อจะให้ได้น้ำในปริมาณมากๆ (ค่าใช้จ่ายจะแพงมากขึ้น ซึ่งแท้จริงแล้วขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของชั้นหินอุ้มน้ำ และความยาวของการวางท่อกรุว่าจะวางตลอดความหนาชองชั้นหินอุ้มน้ำหรือไม่) เหล่านี้เป็นต้น 

น้ำบาดาลนั้น ถึงแม้จะมีมากแต่ก็มิได้หมายความว่าจะมีให้ใช้อย่างฟุ่มเฟีอย หรือมีให้ใช้เกินกำลังที่มันสามารถจะเข้ามาทดแทนหรือฟื้นตัวเองได้ น้ำบาดาลช่วยปัดเป่าปัญหาภัยแล้งได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่จะต้องมิใช่เป็นการใช้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาทุกวันทั้งปีหลายๆปี เมื่อมีน้ำฟ้าและน้ำท่ามากพอก็ควรจะหยุดใช้ให้เขามีโอกาศฟื้นตัว

ที่ได้กล่าวใว้ว่ากระทู้นี้จะสั้น ก็จึงขอจางเลือนไปเพียงเท่านี้   
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 27 พ.ค. 12, 10:35

ถึงกระทู้นี้จะสั้นแต่ก็แยกออกจากซอยมาให้ความรู้ ...

ขอบคุณมากคะ

หวังว่าคุณตั้งจะไปตั้งกระทู้ใหม่ตามที่ขอไว้นะคะ

อ.เทาชมพู กำลังเดินทาง เมื่อถึงแล้วจะเข้ามาในเรือนไทยคะ

อ.ก็คอยให้คุณตั้งเปิดกระทู้ใหม่เช่นกันคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 29 พ.ค. 12, 21:43

ตอนนี้มาถึงจุดหมายปลายทางแล้วค่ะ
ก็เลยเข้ามากล่าวคำขอบคุณคุณตั้ง ค่ะ
รอกระทู้ใหม่เช่นกัน
บันทึกการเข้า
Dr.PPP
อสุรผัด
*
ตอบ: 3


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 17 พ.ค. 13, 21:48

 อยาก ทราบ จังครับ ว่า ถ้า เราเจาะ ที่ความลึก 50 เมตร ที่ อิสาน ถือว่าลึกพอไหมครับ ...ผมก็ใช้อยู่

 แต่หน้าฝน มันมี คราบลอย หน้า
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 09 ส.ค. 13, 19:33

ขออภัยที่ตอบช้ามาหลายเดือน เว้นไปป่วยมาครับ

ความลึกโดยเฉลี่ยของบ่อน้ำบาดาลในภาคอิสาน ในเชิงของการปฎิบัติการนั้น เราจะประมาณกันอยู่ที่ 40+/- เมตร  ลึกไปมากๆกว่านี้ก็จะเลยชั้นหินอุ้มน้ำที่ให้น้ำบาดาล และบางบริเวณก็อาจได้น้ำที่มีความกร่อยสูงมากจนใช้ไม่ได้

ความลึกของบ่อบาดาลมิได้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณน้ำที่ต้องการ ปริมาณและคุณภาพของน้ำขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของชั้นหินอุ้มน้ำที่เราจะไปดูดเอาน้ำออกมาใช้ ความลึกของการเจาะบ่อบาดาลจึงไปอยู่ที่เราจะเจาะไปเอาน้ำจากชั้นหินอุ้มน้ำที่ระดับความลึกใหน ปริมาณน้ำเพียงใด และคุณภาพใด  สำหรับในอิสานนั้น ลึกมากก็เลยชั้นหินที่ให้น้ำที่เหมาะสมทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ มีแต่จะกร่อยมาก สนิมเหล็กมาก

สำหรับกรณีที่มีฝ้าหรือมีคราบลอยหน้านั้น ตามปรกติก็คือที่เราเรียกว่าสนิมเหล็ก เป็นไปได้ทั้งที่มีอยู่ในชั้นน้ำบาดาลอยู่แล้ว หรือปนเปื้อนมาจากน้ำผิวดินที่ไหลซึมนำพาเข้าไปปนเปื้อน หากเป็นสนิมเหล็กจริงๆ น้ำนั้นจะมีกลิ่นคาว  วิธีแก้ไขง่ายๆ ก็คือให้น้ำนั้นไหลผ่านอากาศ (เช่น ผ่านฝักบัวก่อนลงสู่ถังเก็บ) แล้วให้ผ่านชั้นถ่านไม้ (เช่น ในกะละมัง) เพื่อดูดกลิ่นคาวออกไป ก่อนที่จะไปเก็บในแท๊งค์เพื่อใช้ต่อไป

   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 20 คำสั่ง