เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 34044 ทรัพยากรน้ำบาดาล
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


 เมื่อ 18 พ.ค. 12, 20:07

กระทู้นี้แยกมาจากเรื่องของคุณพวงแก้วในกระทู้เรื่อง แผ่นดินไหวและซึนามิครับ

น้ำบาดาลคงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่หลายท่านอยากทราบ ซึ่งผมเห็นว่าน่าจะเป็นความรู้พื้นฐานที่พึงรู้สำหรับคนทั่วไป จึงขอเริ่มกระทู้นี้ครับ ก็คงจะเป็นกระทู้สั้นๆและคงจะสั้นจริงๆ ในลักษณะของปกิณกะความรู้

จะขอบอกกล่าวเสียแต่แรกว่า ผมมิใช่นักอุธกธรณ๊วิทยา (Hydro geologist) ผมเป็นเพียงผู้ที่ได้เรียน พอมีความรู้ และได้ทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ในระดับหนึ่งเท่านั้น 

น้ำบาดาลเป็นวิชาหนึ่งที่นักธรณ๊วิทยาทุกคนต้องเรียน แล้วก็เป็นหนึ่งในสาขาวิชาหลักที่แยกออกไปเรียนได้ถึงในระดับปริญญาเอก จัดเป็นศาสตร์ที่นานาชาติใช้เป็นเครื่องมือในการจัดหาน้ำเพื่อบรรเทาการขาดแคลนน้ำของมวลมนุษย์ ที่แย่ก็คือ เป็นเรื่องที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในทุกระดับ 

น้ำบาดาลจัดเป็นทรัพยากรของประเทศและเป็นสาธารณสมบัติของปวงชนในพื้นที่นั้นๆ จึงมีบทบัญญัติทางกฎหมายเพื่อควบคุมการเจาะนำขึ้นมาใช้อย่างเป็นธรรม

น้ำบาดาลในความหมายปัจจุบันนี้ อนุโลมได้ว่า คือ น้ำทั้งหมดที่พบอยู่ใต้ผิวดินลงไป ทั้งนี้ในเชิงของกฏหมาย อาจจะมีการกำหนดให้หมายถึงระดับน้ำที่ถูกขุดเจาะนำมาใช้จากความลึกที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวดินตั้งแต่ระดับความลึกเพียงใดเป็นต้นไป   แต่ดั้งเดิมนั้น น้ำบาดาลมักจะหมายถึงน้ำใต้ดินที่อยู่ลึกกว่าระดับน้ำในบ่อน้ำ (บ่อน้ำตื้น_water well) ที่เราสามารถขุดได้ ซึ่งน้ำในระดับนี้ คือ น้ำใต้พื้นผิวดินที่เรียกว่าน้ำผิวดิน (water table) 



 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 21:06

สโนไวท์ก็ใช้น้ำบาดาลเหมือนกัน
บ่อน้ำที่เธอใช้รอกสาวถังน้ำขึ้นมา คือ water well แบบโบราณค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 21:38

มีเป็นจำนวนมากที่คิดว่าน้ำบาดาลที่กักเก็บอยู่ใต้ดินนั้น มีลักษณะเหมือนแอ่งน้ำ  มีครับ ไม่ผิดหรอก น้ำที่กักเก็บสะสมไว้ในลักษณะเหมือนสระน้ำใต้ดินนั้นพบได้ในพื้นที่ที่เป็นหินปูน  ซึ่งก็คืออ่างเก็บน้ำที่เป็นโพรงถ้ำนั่นเอง ในเมืองไทยก็พบอยู่มากพอควรทีเดียว
น้ำบาดาลเป็นส่วนมากกักเก็บอยู่ตามรูพรุนระหว่างเม็ดทรายที่อัดแน่นกันเป็นชั้นหิน   ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยพบอยู่ในลักษณะนี้เกือบทั้งหมด  
นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีการกักเก็บที่อยู่ตามร่องรอยแยกรอยแตกของหินและในระหว่างชั้นหินต่างชนิดกัน

น้ำก็คือของเหลว ดังนั้น น้ำบาดาลจึงไหลถ่ายเทไปมาได้ แต่ด้วยอัตราการเคลื่อนที่และความเร็วที่ต่างๆกัน

เมื่อน้ำบาดาลกักเก็บอยู่ระหว่างเม็ดกรวดทรายและไหลถ่ายเทได้ จึงมีอีก 2 สิ่งที่เกียวข้อง คือ ความพรุนของหิน (porosity) และความสามารถในการไหลซึม (permeability)
ปริมาณน้ำที่สามราถกักเก็บอยู่ตามความพรุนนั้น ขอให้นึกถึงภาพเปรียบเทียบระหว่างกองลูกเทนนิสในปี๊บ กับกองลูกปิงปองในปี๊บ และกับกองลูกเทนนิสผสมคละกันกับลูกปิงปองในปี๊บที่มีขนาดเท่าๆกัน จะเห็นว่า เมื่อเอาน้ำใส่ในปี๊บ ใบที่ใส่ลูกเทนนิสจะจุน้ำในปริมาณที่มากกว่า ปี๊บที่ใส่ลูกปิงปอง ปี๊บในที่จุปริมาณน้ำน้อยที่สุดคือใบที่มีทั้งลูกเทนนิสและลูกปิงปองผสมคละกัน
ในเชิงของความสามารถในการไหลซึมนั้น ไปขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของขนาดและความกลมมนของเม็ดดินทราย กล่าวคือ เม็ดดินทรายที่มีขนาดและความกลมมนเท่าๆกัน (well sorted and well roundness) จะสามารถให้น้ำไหลซึมผ่านได้สะดวกและรวดเร็วกว่าพวกคละขนาดและที่มีความมนกลมไม่สม่ำเสมอ   ทรายละเอียดที่มีขนาดเม็ดทรายเท่าๆกันจึงมีความสามารถให้น้ำซึมผ่านได้ดีและเร็วกว่าทรายหยาบคละขนาด (ทรายขี้เป็ด)

ด้วยสภาพดังกล่าวนี้ น้ำบาดาลในพื้นที่ราบลุ่ม เช่น ในแ่อ่งเจ้าพระยา ซึ่งยังคงเป็นทรายที่ยังไม่จับตัวแข็งเป็นหินจริงๆ (semi consolidated rock)  จึงมีน้ำบาดาลกักเก็บอยู่ในปริมาณมากกว่าพวกทรายที่จับตัวกันแข็งจนเป็นหินทรายแล้ว (sandstone) ดังที่พบรองรับอยู่ใต้พื้นดินของภาคอิสาน

ชั้นหินที่เป็นที่กักเก็บน้ำนี้ เรียกว่าชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) ซึ่งจำแนกออกเป็นสองพวก คือพวกที่น้ำบาดาลไม่สามารถเคลื่อนที่ไปมาระหว่างชั้นหินได้ เรียกว่า confined aquifer หรือในอีกนัยหนึ่งคือ มีชั้นหินที่ไม่ยอมให้น้ำไหลซึมผ่านได้ปิดประกบอยู่ (impermeable strata)   และสำหรับชั้นน้ำบาดาลที่น้ำสามารถเคลื่อนที่ผ่านทะลุถึงผิวดินได้ เรียกว่า open aquifer    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 22:15

สโนไวท์ก็ใช้น้ำบาดาลเหมือนกัน
บ่อน้ำที่เธอใช้รอกสาวถังน้ำขึ้นมา คือ water well แบบโบราณค่ะ

แบบโบราณ แต่ก็ยังพัฒนาแล้วนะครับ
 
บ่อน้ำตื้นของไทย นั้น ดูเหมือนทุกภาคจะใช้เรียกว่าบ่อน้ำ ในภาคเหนือนั้นน้ำที่ตักขึ้นมาใช้เรียกว่า น้ำบ่อ และภาชนะที่ใช้เชือกผูกหย่อนลงไปตักเอาน้ำขึ้นมาเรียกว่า น้ำคุ หรือน้ำทุ่ง ทำด้วยไม้ไผ่สานแล้วยาด้วยชัน เป็นรูปทรงก้นมนกลม ด้ามไม้ไขว้กัน  คนกรุงเทพในปัจจุบันเอามาใส่ไม้ดอกแขวนประดับไว้ให้สวยงาม

ของฝรั่งแบบที่สโนไวท์ใช้นั้น ในไทยไม่พบมากนัก ยกเว้นจะเป็นบ่อน้ำขนาดค่อนข้างใหญ่ที่ผนังบ่อก่อด้วยอิฐมอญ  ตั้งอยู่เป็นบ่อน้ำใช้ร่วมกันของชาวบ้าน หรืออยู่ในบริเวณวัด ซึ่งรอบๆบ่อจะดาดด้วยคอนกรีตหรือปูด้วยอิฐมอญ ที่ผมเห็นตามบ้านนอกจริงๆนั้น มักจะใช้คานไม้ไผ่ทำกระเดื่อง (เหมือนคานกั้นรถของยามเฝ้าทางเข้าหมู่บ้าน) ปลายด้านหนึ่งผูกเชือกแขวนน้ำคุ  อีกด้านหนึ่งถ่วงด้วยท่อนไม้ให้ได้น้ำหนักพอดีๆ  ผมยังชอบสังคมตอนเช้าของแม่บ้านทั้งหลายที่มานั่งเรียงรายซักผ้าอยู่รอบขอบบ่อ แต่ละคนมีอ่างน้ำและกระแป๋ง บางคนก็มีกระดานที่เป็นลอนคลื่นสำหรับขยี้ผ้าด้วย ภาพนี้หายไปจากภาคเหนือทั้งหมดในช่วงประมาณปี พ.ศ.2510  ครั้งสุดท้ายได้เห็นภาพนี้ที่ จ.น่าน แถวๆ อ.ท่าวังผา ซึ่งได้หายไปก่อนที่ตลาดสดตอนเช้ากลางเมืองน่านจะหายไป (ประมาณ 25 ปีที่แล้ว) เรื่องราวที่เหล่าแม่บ้านนำมาเม้าท์กัน ความลับในหมู่บ้านจะมีอะไรเหลือเหรอ   

 
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 23:00


ไปตั้งคำถามที่กระทู้โน่น...ขออนุญาตยกมาถามต่อในกระทู้นี้ค่ะ

ขอบคุณคะคุณตั้งที่ จะกรุณาตอบ...

น้ำบาดาลเป็นเรื่องใกล้ตัวคนไทยมาก ทั้งในกทม. และในต่างจังหวัด

สนใจวิธีการเก็บน้ำไว้ใต้ดินในระดับลึก เรามีน้ำจืดจากฟ้าฝนเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
แต่กลับปล่อยให้ไหลลงทะเลเสีย...ทั้งที่ในอนาคตก็พูดกันว่า เราอาจขาดแคลนน้ำจืด
สำหรับประเทศเกษตรกรรมอย่างไทย  น้ำมีค่ายิ่ง ถ้าในอนาคตจีนเขาทำเขื่อนกั้นน้ำ
ที่แม่น้ำโขง...อะไรจะเกิดขึ้นกับภาคอีสานของเรา รวมทั้งภาคเหนือด้วย

ความรู้เรื่องการเก้บน้ำแบบนี้คงไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับนักวิชาการด้านนี้ในบ้านเรา
แล้วทำไมจึงยังทำให้ทุกพื้นที่ที่ขาดน้ำ หรือแห้งแล้ง ดีขึ้นไม่ได้สักที

ถามมากมาย...ไม่รู้ขยายขี้เท่อหรือเปล่านะคะ  แต่เป็นความสงสัยที่มีมานานแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 19 พ.ค. 12, 08:41

ให้ภาพลักษณะของแหล่งน้ำบาดาลที่จะอยู่ใต้ดินลึกกว่าน้ำใต้ดินอยู่ใต้ชั้นหิน และจะมีแรงดันสูง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 พ.ค. 12, 15:40

มาเสริมอีกรูปค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 19 พ.ค. 12, 15:41

น้ำใต้ดินอีกแบบหนึ่ง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 19 พ.ค. 12, 19:00

นี่คือบ่อน้ำแห่งหนึ่งในอินเดีย
ลึกขนาดนี้ น้ำที่ใช้โซ่ผูกถังลงไปตัก เป็นน้ำใต้ดินระดับไหนกันนะคะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 19 พ.ค. 12, 21:41

ขอบพระคุณสำหรับภาพของคุณหนุ่มสยาม (คห.ที่ 5) และของคุณเทาชมพู (คห.ที่ 6) ผมจะขออนุญาตใช้ภาพเหล่านี้เพื่อเล่าความต่อไปนะครับ

ภาพทั้งสองภาพนี้เป็นภาพง่ายๆที่แสดงให้เห็นถึงน้ำที่อยู่ใต้ผิวดินในลักษณะต่างๆ

ในภาพของ คห.ที่ 6 มีคำอยู่หลายคำ
คำแรกคือ infiltration คือ ชั้นดินส่วนใกล้ผิวดินที่น้ำไหลซึมลงสู่ใต้ดิน จะเรียกว่า infiltration area ก็ได้   แต่หากเป็นบริเวณตำแหน่งทางสถานที่ (พิกัดตำบลภูมิศาสตร์) ที่เป็นพื้นที่เติมน้ำให้กับชั้นน้ำบาดาลที่เป็น confined aquifer ก็จะเรียกว่า recharge area   ชั้นน้ำบาดาลในแอ่งเจ้าพระยา (ที่ราบลุ่มเจ้าพระยา) มีพื้นที่เติมน้ำ (recharge area) อยู่รอบขอบแอ่งด้านทิศเหนือ ซึ่งก็คือแถบจังหวัดกำแพงเพชร

water table คือระดับน้ำใต้ผิวดิน ซึ่งภาพได้แสดงให้เห็นค่อนข้างชัดเจนแล้ว จะขอขยายต่อไปว่า ระดับน้ำนี้ คือระดับที่น้ำที่เห็นอยู่ในบ่อน้ำตื้น หรือที่เราขุดดินลงไปแล้วมีน้ำไหลออกมาขังอยู่นั่นเอง ระดับน้ำใต้ผิวดินนี้อยู่ในระดับลึกก็มี เช่น ดังภาพของคุณเทาชมพูใน คห.ที่ 8 หรืออยู่ในระดับตื้นก็มี เช่น ในพื้นที่ กทม.  ซึ่ง water table นี้จะพบต่อเนื่องขึ้นไปตามเนินหรือภูเขาต่างๆ ดังนั้น ในบริเวณลาดเชิงเขาก็สามารถขุดบ่อน้ำและมีน้ำใช้ได้ (อาจจะต้องขุดลึกหน่อย) บ่อน้ำตามลาดเอียงของเนินหรือเชิงเขานี้ เมื่อขุดแล้วอาจจะเห็นน้ำไหลเอ่อขึ้นมา ไม่แห้ง มีระดับน้ำค่อนข้างจะคงที่ไม่วาจะตักออกไปใช้มากเพียงใด ชาวบ้านจึงมักกล่าวกันว่าขุดเจอตาน้ำ ลักษณะบ่อน้ำที่มีน้ำไม่แห้งนี้ เรียกว่า artesian well ซึ่งต่างกับ water well ที่ระดับน้ำจะสูงต่ำตามฤดูกาล   ตามผนังข้างถนนที่ตัดไปตามเชิงเขาที่เราเห็นชาวบ้านเขาเอาท่อไม้ไผ่มาต่อและมีน้ำไหลรินตลอดเวลานั้น น้ำที่ไหลออกมานั้น (ชาวบ้านเรียกว่าน้ำดิบ) ก็คือการตัดผนังข้างทางที่ขุดดินออกไปในระดับที่ต่ำกว่าระดับของ water table จึงทำให้น้ำในระดับของ water table ไหลออกมา    water table นี้มีไปจนถึงชายหาดตามชายทะเล แนวระดับของมันจะต่อเนื่องไปเชื่อมต่อกับระดับน้ำทะเลที่บริเวณแนวน้ำขึ้นน้ำลง ดังนั้น หากจะหาน้ำจืดใช้แถวชายทะเล ก็ลองถอยมาขุดบ่อที่บริเวณที่เป็นตะพักชายหาด (berm) ก็จะได้น้ำจืดใช้ พวกชาวประมงและชาวเกาะก็มีน้ำจืดไช้จากบริเวณนี้แหละครับ  การนำน้ำจืดจากบริเวณนี้มาใช้ก็ต้องระวังเหมือนกัน คือ จะต้องไม่สูบไปใช้ในปริมาณมากๆอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เนื่องจากหากสูบออกไปใช้มากกว่าในอัตราที่น้ำจืดจะไหลเข้ามา น้ำทะเลก็จะแทรกเข้ามาแทนที่ บ่อน้ำนั้นๆก็จะเสียหายใช้การไม่ได้อีกต่อไป เหตุเช่นนี้เกิดตามแนวชายฝั่งทะเลของไทยมากมาย โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งอุตสาหกรรม แม้กระทั่งชั้นน้ำบาดาลบางชั้นในพื้นที่แถบสมุทรปราการยังมีน้ำเค็มเข้ามา เนื่องจากสูบเอาไปทำประปามากจนเกินไป

ในภาพของ คห.ที่ 5
จะเห็นชั้นน้ำสีฟ้าสลับกับชั้นหินหรือดินสีแดง ชั้นน้ำใต้ดินสีฟ้า (aquifer) ที่อยู่ในระหว่างชั้นดินหรือหินสีแดงนี้ จัดเป็นชั้นน้ำบาดาลที่เรียกว่า confined aquifer เป็นชั้นน้ำที่มีแรงดัน กล่าวคือ หากเจาะบ่อบาดาลลงไป สมมุติลึก 50 เมตร ระดับน้ำที่ไหลเข้ามาอยู่ในท่ออาจจะอยู่ที่ระดับเพียง 30 เมตร คือ น้ำมีแรงดันที่ดันระดับน้ำขึ้นมา หรืออีกนัยหนึ่ง คือการปรับระดับแรงดันให้เท่ากับชั้นบรรยากาศปรกติ (1 atm.) ดังนั้น แม้ว่าจะเจาะบ่อบาดาลลึกลงไปเป็นสองสามร้อยเมตร ระดับน้ำในบ่อบาดาลก็อาจจะอยู่ที่ระดับ 50 เมตรก็ได้  ทั้งนี้ เมื่อสูบน้ำออกมา ระดับน้ำก็จะลดลง ซึ่งหากสูบออกมาในปริมาณหนึ่งอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่งแล้วระดับน้ำลดลงไปอยู่ในระดับที่คงที่  ณ.จุดนี้ก็คือปริมาณน้ำบาดาลเราสามารถสูบออกมาใช้ได้ (yield capacity) โดยไม่ทำให้บ่อนั้นเสียหาย แต่หากสูบออกมาใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานวันนานปี ระดับน้ำในบ่อบาดาลก็จะลดลง ที่จะแย่ไปกว่านั้นก็คือ หากมีบ่อบาดาลอื่นๆอยู่ใกล้กันเกินควรและสูบน้ำเหมือนกัน ระดับน้ำที่ลดลงก็จะเชื่อมต่อกัน ยิ่งมีบ่อใกล้ๆกันเป็นจำนวนมาก ระดับน้ำจึงลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาโดยเฉพาะเรื่องของแผ่นดินทรุดดังที่เห็นอยู่ใน กทม.
ในภาพของ คห.ที่ 5 นี้เช่นกัน จะเห็นชั้นหินอุ้มน้ำสีฟ้าเป็นกระเปาะอยู่ ชั้นน้ำนี้เรียกว่า perched aquifer คือมีลักษณะเป็นกระเปาะนั่นเอง ไม่ต่อเนื่องกับชั้นน้ำอื่นๆ น้ำบาดาลในชั้นพวกนี้สูบออกมาใช้ก็มีแต่วันจะหมดไปเท่านั้น

(ลืมไปครับ พูดถึงแต่เรื่อง confine aquifer ที่จริงก็มี unconfined aquifer เหมือนกัน ก็คือที่ผมได้กล่าวถึงและเรียกว่า open aquifer นั่นแหละครับ)

ผมคิดว่าถึงตอนนี้เราก็คงจะมีพื้นฐานพอที่จะเห็นภาพได้ตรงกัน เพื่อที่จะสามารถสื่อสารไปในเรื่องอื่นๆที่สามารถเข้าใจกันได้แล้วครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 20 พ.ค. 12, 12:32

อ้างถึง
หากจะหาน้ำจืดใช้แถวชายทะเล ก็ลองถอยมาขุดบ่อที่บริเวณที่เป็นตะพักชายหาด (berm) ก็จะได้น้ำจืดใช้

นอกจากในมหาเวสสันดรชาดกแล้ว เพิ่งเห็นคำว่า "ตะพัก" ในครั้งนี้เองค่ะ     ทำให้รู้ว่าศัพท์นี้นักธรณีวิทยาใช้กันอยู่
ข้างล่างนี้คือตะพัก หรือ berm ที่อาศัยอินทรเนตรช่วยดูหน้าตาให้      ไม่รู้ว่าคุณตั้งหมายถึงแบบไหน


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 20 พ.ค. 12, 19:39

เพิ่งทราบว่า ตะพัก เป็นคำที่ไม่ค่อยมีคนใช้กัน

ิำberm ในทางกายภาพของพื้นที่ ก็คือลักษณะที่ปรากฎอยู่ในทั้งสามรูปที่คุณเทาชมพูนำมาแสดง แต่คำว่า berm จะใช้กับพื้นที่ชายทะเลเป็นส่วนมาก   
berm นี้หากไปเที่ยวชายทะเลและสังเกตดีๆ จะเห็นว่ามีสองระดับ ระดับที่ตำ่เรียกว่า summer berm และระดับที่สูงกว่าเรียกว่า winter berm  ตะพักทั้งสองนี้เกิดจากการที่คลื่นกระทบกัดเซาะชายฝั่งในช่วงฤดูน้ำทะเลต่ำ (หน้าร้อน) และในช่วงฤดูน้ำทะเลสูง (หน้าหนาว) หรือในอีกนัยหนึ่งก็คือแนวของระดับน้ำทะเลที่เข้ามาในพื้นที่ชายหาดในช่วงฤดูกาลต่างๆนั้นเอง และในอีกนัยหนึ่ง berm ก็คือ step ที่เราเห็นตามชายทะเล   
berm จึงหมายถึงทิวของแนวขอบของระดับของระนาบที่ยกขึ้นมาตามชายหาด เป็นคำที่มีความหมายในเชิงของนามธรรมค่อนข้างจะตรงกันกับคำว่า step มีพื้นที่ราบเล็กให้เห็นอยู่ระหว่างขั้น  ไม่ใช่ลักษณะของ terrace
terrace มีความหมายถึงที่ราบที่แผ่กว้างในระดับต่างๆ ส่วนมากจะใช้กับลักษณะของพื้นที่ในแผ่นดิน เช่น ตะพักของแม่น้ำเจ้าพระยามีหลายชั้น ซึ่งหมายถึงที่ราบที่มีระดับเดียวกันทั้งสองฝั่งของแม่น้ำ    ในอีกลักษณะหนึ่งก็ใช้เรียกพื้นที่ตามลาดเอียงของภูเขาที่ปรับใช้ในการทำนาหรือใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น เรียกว่าการทำนาแบบขั้นบันได      สำหรับในพื้นที่ชายทะเล (coastal area หรือ coastal zone) ก็มี terrace เหมือนกัน พื้นที่นี้จะอยู่ลึกเลยจากส่วนที่เป็น berm เข้ามาในแผ่นดินและอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลขึ้นลงตามปรกติประจำปี   โดยนัยง่ายๆ berm อยู่ในพื้นที่ส่วนที่เป็นหาดทราย (beach) อยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงสูงสุด (tidal area หรือ tidal zone)  แต่ terrace เป็นพื้นที่ราบที่มีต้นไม้ยืนต้นขึ้น (เป็นส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยของคน) ซึ่งอาจจะเป็นพื้นที่ๆถูกน้ำทะเลในสมัยโบราณกัดเซาะ (wave cut terrace) หรือ เกิดมาจากคลื่นพายุหอบทรายเข้ามากองไว้ (wave built terrace) ก็ได้

พูดถึงเรื่องนี้ ทำให้ต้องแยกเข้าซอยไปแง้มประตูเรื่องของเฉลียง ระเบียง ฯลฯ ของคุณนวรัตน์    ภาษาไทยจะเรียกอย่างไรว่าอย่างไรก็ตาม  ในความเข้าใจของผม terrace นั้นเป็นส่วนของพื้นอาคารที่อยู่นอกผนังของอาคาร จะเป็นชั้นบนหรือชั้นล่างก็ได้  balcony นั้น คือส่วนพื้นที่เล็กๆที่ต่อยื่นออกไปจากตัวอาคาร อาคารหนึ่งๆอาจมีหลาย balcony แยกเป็นอิสระแก่กันและเป็นส่วนที่ยื่นออกมาในระดับสูง  patio คือส่วนที่ต่อเติมเพื่อเป็นใช้ที่ทำกิจกรรมนอกอาคาร ซึ่งมักจะมีไม้ประดับหรือสวนหย่อมร่วมอยู่ด้วย   ยังไม่ได้ไปค้นศัพท์บัญญัติว่าคำใดบัญญัติไว้ว่าอะไร

รีบหนีกลับเข้าถนนใหญ่ครับ ไม่รู้ว่าหนีทันหรือเปล่า  ยิงฟันยิ้ม   
   

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 20 พ.ค. 12, 20:19

ลองเอารูปมาให้ดูอีกที  ว่าถูกไหมคะ
terrace + balcony+ patio


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 20 พ.ค. 12, 20:32

terrace เป็นพื้นที่ราบที่มีต้นไม้ยืนต้นขึ้น (เป็นส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยของคน) ซึ่งอาจจะเป็นพื้นที่ๆถูกน้ำทะเลในสมัยโบราณกัดเซาะ (wave cut terrace) หรือ เกิดมาจากคลื่นพายุหอบทรายเข้ามากองไว้ (wave built terrace) ก็ได้


ส่งการบ้าน ค่ะ
ซ้าย wave cut terrace / ขวา wave built terrace


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 20 พ.ค. 12, 20:59

เรื่องน่ากังวล......carrying capacity ที่ลืมนึกถึงกัน

เมื่อเข้าไปใช้พื้นที่ๆเป็นตะพักตามชายทะเล ซึ่งในระยะแรกๆจะไม่มีน้ำ ก็จะทำการขุดบ่อหรือเจาะนำน้ำจืดมาใช้กัน   หากพัฒนากันจนเป็นหมู่บ้านหรือรีสอร์ท มีผู้คนมาใช้น้ำมากขึ้นอย่างหรูหราแบบในเมือง น้ำจืดก็ย่อมไหลเข้ามาทดแทนไม่ทัน น้ำทะเลก็จะเข้ามาแทนที่ สภาพเช่นนี้เรียกว่า เกินกว่าความสามารถในการรองรับของธรรมชาติ (carrying capacity)  ก็มักจะเกิดความเสียหายอย่างถาวรสำหรับทรัพยากรน้ำจืดในบริเวณนั้นๆ

ประเด็นแรก คือ พื้นที่บริเวณชายฝั่งนี้เป็นรอยต่อของน้ำจืดและน้ำเค็ม ในธรรมชาติตามปรกติในพื้นที่บริเวณนั้นๆ  water table ของน้ำจืดจะไปชนกับระดับของน้ำทะเล   น้ำจืดจะทับอยู่ส่วนบนในขณะที่ส่วนลึกจะเป็นน้ำเค็มในภาพของรูปทรงแบบลิ่ม (wedge shape)   ที่ผมได้กล่าวว่าหาน้ำจืดได้หลัง berm นั้น จริงๆแล้วหากขุดลึกไปมากๆก็จะได้น้ำเค็ม    ที่มันเป็นปัญหาก็คือ แทนที่ผู้รับเหมาเจาะบ่อน้ำจะเจาะลึกลงไปเอาน้ำใน confined aquifer  (เลยระดับน้ำเค็มที่อยู่ใน unconfined aquifer) เขาเจาะเพียงตื้นๆเอาน้ำจืดที่อยู่ใน unconfined aquifer ออกมาใช้   ดังนั้น ไม่นานก็จะได้น้ำกร่อยมาใช้ ซึ่งต่อไปก็จะได้แต่น้ำเค็ม  
ประเด็นที่สอง คือ เมื่อขยายกิจการลึกเข้าไปในแผ่นดิน มีการสร้างบังกะโล กระต๊อบ น้ำเสียทั้งหลายที่ปล่อยลงในบ่อเกรอะใต้ถุนบ้านก็จะซึมผ่านชั้นทรายเข้าไปในบ่อน้ำ แล้วก็สูบออกมาใช้อีก
ดังนั้น จึงควรระวังในการไปพักผ่อนในหาดส่วนบุคคลที่เป็นเอกเทศอยู่หุบใดๆ  ซึ่งเราเรียกพื้นที่ในลักษณะนี้ว่า pocket beach

น้ำบาดาลเป็นน้ำที่สามารถถูกปนเปื้อนได้ครับ
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง