เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 28447 ขออนุญาตเรียนเชิญทุกท่านเปิดบันทึกพฤษภาทมิฬ พ.ศ. ๒๕๓๕ ครับ
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 15 มิ.ย. 12, 21:35

แกนนำกลุ่มการเมืองบางท่านถูกจับไปแล้ว ภายหลังออกมา และได้ยศใหญ่กันทั่วหน้า

แกนนำกลุ่มการเมืองบางท่านถูกจับไปแล้ว ทุกวันนี้ยังไม่ได้ออกมา

แกนนำกลุ่มการเมืองบางท่านถูกจับไปสอบสวน ไม่รู้จะเป็นเช่นไร

แกนนำกลุ่มการเมืองบางท่านไม่ได้ถูกจับเลย และมีแรงออกมาประท้วงสืบไป สืบๆไป

ท่านท้ายสุดนี้ท่านคงทำบุญมาดีและทำมาเยอะจริงๆ เลยสามารถรอดปลอดภัยมาได้

คิดไปประท้วงยุคนี้ก็มีแปลกๆเยอะแยะ อาทิ เอาผ้าอนามัยไปวางรอบพระบรมรูปทรงม้า แสดงอวัยวะเพศ เทเลือด ยึดสนามบินกับยึดรัฐสภา เรื่อยไปถึงการทลายงานประชุมนานาชาติ และมีการวางเพลิง

ถือว่าแกนนำทุกฝ่ายสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้แก่ประเทศไทย น่าชื่นใจยิ่ง นี้ก็อุตส่าห์มาประท้วงกันอีกหน คงจะมีรูปแบบการประท้วงใหม่ๆเกิดขึ้นมาอีกเรื่อยๆ ให้เรานั่งวิเคราะห์กัน
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 20:07

เขามีส่วนเลวบ้าง ก็ช่างเขา
จงเลือกเอาส่วนดี เขามีอยู่..............ฯ

กลอนท่านพุทธทาสสอดคล้องกับภาษิตจีนที่ให้พิจารณาคน   โดยชั่งน้ำหนักว่าเขามีดีกี่ส่วน เลวกี่ส่วน แล้วค่อยตัดสิน...............




ยังจำได้ว่าครั้งหนึ่ง หลัง 14 ตุลา ไม่นานนัก คุณเสกสรรค์ ประเสริฐกุล บุกขึ้นไปที่กทม.ก่นด่าทะเลาะกับเจ้าหน้าที่ดุจคนคลั่ง
บางคนตำหนิเสกสรรค์ ไม่มีชิ้นดี...............แต่ลืมมองไปว่า สิ่งที่ทำให้เขาออกอาการเหล่านั้น ทีแท้มาจากความที่มีจิตใจรักประชาชน รังเกียจที่กทม.ไปรังแกหาบเร่แผงลอยที่หาเช้ากินค่ำ ข้างถนน(ในมุมมองของเขา) และทั้งหมดนั้น เสกสรรค์ไม่ได้ทำเพื่อตนเองเลย  จิตใจที่รักประชาชนมีอยู่ในทุกวีรบุรุษตัวจริง เช่นเดียวกับประธานเหมาฯที่คนจีนเทอดทูนดุจจักรพรรดิ์






.
"บ้านเรามีแต่นักการเมือง........หาวีรบุรุษได้ยากนัก หรือไงหนอ???"



 ตกใจ

ข้อที่ว่าประธานเหมานี้คนจีนบูชาเทิดทูนดุจจักรพรรดิ์ ใช่ เป็นจริง ช่วงที่เหมาเรืองอำนาจ แต่หลังจากนั้น เหมาได้สร้างการปฏิวัติวัฒนธรรม ซึ่งนักประวัติศาสตร์ชาวจีนหลายคนบอกว่า เพื่อดึงอำนาจมาสู่ตนอีกครั้ง ทำเอาบ้านเมืองปั่นป่วนวุ่นวาย วินาศ หลังจากเหมาสิ้นไป เติ้งเสี่ยวผิงได้ดำเนินนโยบายเลิกยกย่องอย่างบ้าคลั่ง และมองประธานเหมาอย่างที่เป็นจริง

ทุกวันนี้ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าคนจีนบูชาเหมาหรือเปล่า แต่เท่าที่เห็นผ่านตาคนในชาติก็ไม่ได้สนใจอะไรมากมายไม่ได้ยกย่องวิเศษอะไร และมีนักวิชาการหลายคนมาโจมตีเงียบๆ เรื่อยๆ แต่พูดดังไม่ได้เพราะจะเจอข้อหาอันร้ายแรง อาจารย์ข้าพเจ้าบางคนผ่านยุคนั้นมา พูดกับข้าพเจ้าตรงๆเงียบๆ ก็ไม่ได้พูดในทัศนคติเทิดทูนอะไร นักศึกษาที่เรียนด้วยกันก็พูดไม่ได้ต่างกัน แค่พูดดังๆไม่ได้
.
"บ้านเรามีแต่นักการเมือง........หาวีรบุรุษได้ยากนัก หรือไงหนอ???"

วางใจเถิดครับ นักการเมืองมีอยู่ทุกที่แหละ และจะกลายเป็นวีรบุรุษเมื่อเราอยากจะยกย่อง ทั้งๆที่จริงๆ ก็เลว ถ่อย ทราม ไม่ได้แตกต่างจากผู้อื่นเลยก็เป็นได้ เราอาจจะยกให้เขาดีขึ้นมาเฉยๆก็ได้

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 20:20

บ้านเรามีแต่นักการเมือง........หาวีรบุรุษได้ยากนัก หรือไงหนอ?

A statesman is he who thinks in the future generations, and a politician is he who thinks in the upcoming elections.
 
Abraham Lincoln

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 22:20

เท่าที่ทราบ รู้สึกว่าความเสียหายมหาศาลจากการปฏิวัติวัฒนธรรมในจีนมาจากฝีมือเจียงชิง(และแก๊งค์4คน) ภริยาประธานเหมามากกว่าเป็นตัวประธานเหมาเอง จนที่สุดเหมาจึงเปิดไฟเขียวให้จัดการ จึงสงบลงได้
ประธานเหมานั้นท่านวิจารณ์ตนเองอยู่เสมอ และยอมรับในข้อผิดพลาดมากมายที่เคยทำ.............

ความเคารพนับถือของประชาชนจีน มีมากจริงๆ จนที่สุดแล้ว เติ้งเสี่ยวผิงเกรงจะเกิดกลายเป็นลัทธิบูชาตัวบุคคล จึงให้เพลาๆลงจนถึงขั้นปลดรูปออกจากประตูเทียนอันเหมิน และติดกลับคืนในช่วงหลังไม่นานนัก



เลนไปจีนจนได้.............

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 16 มิ.ย. 12, 22:53

ไปจีนมาหลายหนแล้ว  เคยคุยกับนักวิชาการและชาวบ้านร้านถิ่น  เท่าที่สังเกตหนุ่มสาวจีนวัย 20-30 กว่าๆคือ พวกที่เติบโตขึ้นมาหลังยุคเหมา  เป็นคนจีนที่ไม่เหมือนยุคพ่อแม่พวกเขา     คนยุคก่อนดูเหมือนจะถูกปลูกฝังเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองมากกว่ายุคลูก  มีชีวิตสมถะเรียบง่าย  จะพูดจะจาก็ระมัดระวัง  พูดน้อย เงียบ สันโดษ
ข้อหลังนี้สังเกตจากคนจีนในยุค 70s ปลาย ที่ได้ทุนมาเรียนที่อเมริกา    เป็นยุคปลายๆของเหมาที่จีนเริ่มเปิดประเทศ   ส่งนักเรียนจีนมาเรียนวิชาวิศวฯ วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ ฯลฯ  ที่มหาวิทยาลัยของดิฉันก็มีคนจีนได้ทุนมาเรียนกันหลายคน

พี่ไทยกินอยู่กันสนุกสนาน  ทำแกงเขียวหวาน ส้มตำ ไก่ย่าง ลาบเนื้อ  กันเป็นประจำทุกวัน     นักเรียนจีนจากแผ่นดินใหญ่ต้มบะหมี่น้ำกินชามเดียวอิ่ม   เสร็จแล้วไปดูหนังสือต่อ
พอเรียนจบวันนี้  พรุ่งนี้แพ็คกระเป๋าเดินทางกลับบ้าน  ไม่รอวันรับปริญญาด้วยซ้ำ

ห่างไปจนถึงเข้าศตวรรษใหม่    ไปเมืองจีน  เห็นเด็กหนุ่มสาวจีนยุคนี้ทำให้ดิฉันนึกถึงหนุ่มสาวอเมริกัน  ไม่ว่ารูปร่างที่สูงใหญ่แข็งแรงเพราะกินอาหารดีๆ เช่นเนื้อและนมเนย   แต่งกายแฟชั่นแบบอเมริกัน    กิริยาท่าทางของวัยรุ่นเวลาเดินเที่ยวเตร่เฮฮากัน ก็เป็นเหมือนหนุ่มสาวตะวันตกไม่มีผิด       
ส่วนพวกที่อยู่ในวัยทำงานแล้ว  พวกนี้คล้ายๆคนจีนในประเทศเสรีนิยม  คือขยันขันแข็ง กระตือรือร้น ทำงานที่จะหารายได้ดี  ต้องการสร้างฐานะตนเอง   ชอบค้าขายทั้งงานผลิตสินค้าและงานเซอร์วิส  ขอแต่เพียงได้ผลตอบแทนคุ้มค่าเหนื่อยก็พอ
ถ้าถามเรื่องการเมือง  จะไม่ค่อยได้คำตอบเหมือนเขาไม่สนใจกันนัก    เขากระตือรือร้นจะสร้างอนาคตให้ตนเองมากกว่า   จนบัดนี้ยังไม่เคยได้ยินเขาคุยเรื่องอุดมการณ์ทางการเมืองกันเลย
เคยถามถึงผู้นำทางการเมืองที่เขานับถือ  ได้คำตอบว่า เติ้งเสี่ยวผิง

แต่นี่ก็เป็นการพบคนจีนอย่างผิวเผิน  รู้จักแต่คนเดินถนนทั่วไปหรือไม่ก็คนที่ทำงานเกี่ยวข้องกันอย่างพวกนักวิชาการ  ไม่ได้เจาะลึกเข้าไปถึงระดับผู้บริหารสูงๆ     เลยยังไม่รู้ว่าอุดมการณ์ของเขายังเข้มข้นแบบเดิม หรือยังนับถือประธานเหมาหรือเปล่า
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 11:10

นักวิชาการฝ่ายที่ออกมาปกป้องเหมาเจ๋อตุงบอกว่า ปัญหาทั้งหมดทั้งมวลล้วนเกิดจากแก๊งสี่คน แต่นางเจียงชิง ภรรยาของประธานเหมาบอกว่า "ข้าพเจ้าเป็นสุนัขของท่านประธานเหมา ท่านบอกให้ข้าพเจ้าเห่า ข้าพเจ้าก็เห่า" จะสื่อนัยใดก็เหลือจะคิด

ทุกวันนี้ในวงวิชาการประวัติศาสตร์จีนแบ่งเป็นสองส่วน บางส่วนบอกว่า แก๊งสี่คนทำกันเอง บางส่วนบอกว่า เหมามีบทบาทอยู่เบื้องหลัง

ข้าพเจ้าไม่ขอบอกว่าฝ่ายใดถูก ท่านในศึกษาประวัติศาสตร์ก็พินิจกันเอง ตำราเขียนมีกันสองฝ่าย อาจารย์ที่สอนข้าพเจ้ายกตัวอย่างมาหลายเรื่อง จะมองว่าเหมาเป็นอัศวินกู้ชาติ เลยออกมาสั่งห้ามตอนสุดท้ายก็ได้ หรือจะบอกว่าเหมาปราบปรามแล้ว แต่ไม่เป็นผล เลยต้องผ่อนปรนลงมา ก่อนที่ตัวเองจะล้มก็บอกได้

ก่อนหน้าโน้น ในจีนมีเรื่อง "ปล่อยโอกาสให้ดอกไม้บาน ร้อยสำนักประชันความคิด" คือในวิจารณ์พรรคได้ เหมาเป็นคนเสนอ ปล่อยไปสักพักก็สั่งห้าม และคนวิจารณ์แรงๆก็ถูกลงโทษ ถูกปลดบ้าง เรื่องนี้เหมาทำเอง หรือใครทำก็ไม่กล้าจะพูด

ประวัติศาสตร์โดยเฉพาะตัวบุคคลมีสองด้านเสมอ จะมองให้เป็นทรชนคนทราม หรือวีรบุรุษกู้ชาติก็ได้ แล้วแต่จะมองเน้นฝ่ายได้ หรือเชื่อเรื่องราวใด

ทั้งนี้ เรื่องการเมืองคนจีนเขาไม่ค่อยสนใจกันเท่าไร เพราะว่า พรรคควบคุมทุกอย่าง ต่อต้านพรรคไม่ใช่แค่ตัวเองติดคุก แต่ครอบครัวตัวเองก็ต้องโทษ ถูกกักบริเวณ ลูกหลานเข้าเรียนเข้าทำงานมิได้ เป็นต้น
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 11:15

ข้าพเจ้าคัดจาก

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1

คิดว่าบรรยายได้ดีพอควร ลองให้ทุกท่านอ่านดู พึงระลึกว่าการเขียนเช่นนี้ในจีนคงไม่ค่อยจะกล้าเขียนเท่าไร

การปฏิวัติทางวัฒนธรรม (อังกฤษ: Cultural Revolution; (จีนตัวเต็ม: 無產階級文化大革命; จีนตัวย่อ: 无产阶级文化大革命; พินอิน: Wúchǎn Jiējí Wénhuà Dà Gémìng) เป็นชื่อเรียกการปฏิวัติหนึ่งในประเทศจีน ช่วงปี พ.ศ. 2509-2519 (ค.ศ. 1966-1976)

ในสมัยที่ประเทศจีนปกครองโดยคอมมิวนิสต์ใหม่ ๆ นั้น ได้มีการใช้ระบบคอมมูน (แนวคิดว่าทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐ) โดยคอมมูนนี้เป็นจุดเริ่มของการปฏิวัติวัฒนธรรมเพราะคอมมูนการเลี้ยงดูได้ปลูกฝังแนวคิดสังคมนิยม และคอมมิวนิสต์ให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ของจีนในสมัยนั้น เป็นผลให้ระบบเครือญาติที่เคยเข้มแข็งอ่อนแอลง

ทศวรรษแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรม 1966-1976 文化大革命 ต้นทศวรรษ 1960 ฐานะของเหมาในพรรคคอมมิวนิสต์ถูกลดบทบาทลง เขาจึงได้เริ่มรุกกลับในปี 1962 เพื่อ “ปกป้องพรรค” จากในสิ่งที่เขาเชื่อว่าการคืบคลานเข้ามาของทุนนิยม และการต่อต้านสังคมนิยมกำลังเป็นภัยต่อประเทศ ในฐานะนักปฏิวัติที่ผ่านร้อนผ่านหนาวจากสถานะการณ์อันเลวร้าย เหมาเชื่อว่าระบบการให้รางวัลแก่ชาวนาตามแนวทางปรับปรุงและฟื้นฟูของเติ้ง เป็นวิธีการฉ้อราษฏร์บังหลวงและเป็นการต่อต้านการปฏิวัติ

การต่อสู่ทางความคิดในพรรคนำไปสู่การกวาดล้างพวกที่ถูกเรียกว่า “ฝักใฝ่ทุนนิยม” หรือฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดสุดโด่งของเหมา ซึ่งมีตัวแทนคือ หลิวซ่าวฉี 刘少奇 กับเติ้งเสี่ยวผิง 邓小平 เหมากล่าวว่า “ขณะนี้ เพียงมีเนื้อหมูสามกิโลกับบุหรี่ไม่กี่ซอง ก็สามารถทำให้คนขายอุดมการณ์ได้แล้ว จึงมีเพียงการศึกษาแนวทางลัทธิสังคมนิยมเท่านั้น ที่จะยับยั้งลัทธิแก้ 修正主义 ได้”

โดยต่อมาการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นไปอย่างแพร่หลาย ผู้นำสังคมในยุคนั้นปลูกฝังประชาชนให้ให้ยึดมั่นอย่างเคร่งครัด ใครไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง โดยมีหน่วยงานสนับสนุนที่สำคัญ คือ พวกกองทัพพิทักษ์แดง (เรดการ์ด - Red Guard) หรือก็คือเยาวชนที่ผลิตโดยคอมมูนการเลี้ยงดูนั่นเอง

กาลียุคแห่งการปฏิวัติ ปี 1966 คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ได้ตัดสินใจแนวทางการปฏิวัติวัฒนธรรม หลังจากที่เหมาเข้าควบคุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จในพรรคได้อีกครั้ง โดยมีผู้สนับสนุนสำคัญคือ หลินเปียว 林彪 เจียงชิง 江青 (ภรรยาคนที่สี่ของเหมา) และเฉินป๋อต๋า 陈伯达 การปฏิวัติมีจุดมุ่งหมายเพื่อ “โค่นล้มพวกลัทธิทุนนิยม และ วิพากษ์ศิลปะวัฒนธรรมที่แบ่งแยกชนชั้น” โดยการปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปศิลปะวัฒนธรรม และปฏิรูปทุกอย่างที่ขัดกับแนวทางลัทธิสังคมนิยม

ผลของการปฏิวัติวัฒนธรรม คือ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่แสดงถึงวัฒนธรรมของจีนต้องถูกทำลาย เช่น หนังสือ วัดวาอาราม รูปปั้น งานศิลปะต่าง ๆ และทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกันระหว่างครอบครัว เพื่อนบ้าน เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่าใครจะเป็นผู้แจ้งให้ทางการรู้เกี่ยวกับละเมิดกฎ

วันที่ 18 สิงหาคม 1966 เหมาเจ๋อตงกับหลิวเปียวได้ปรากฏตัวที่จตุรัส-เทียนอันเหมิน天安门广场 พบกับพวกหงเว่ยปิงหรือเรดการ์ด 红卫兵 ที่ทยอยมาจากทั่วประเทศจำนวนรวมสิบกว่าล้านคน หลังจากนั้น ทั่วประเทศจีนก็เข้าสู่กาลียุคเมื่อพวกเรดการ์ดกระจายไปทั่วสารทิศแจกใบปลิว ติดโปสเตอร์ ป้ายคำขวัญ ตั้งเวทีอภิปราย บางส่วนก็บุกเข้าไปในวัดโบถส์ พิพิธภัณฑ์สถาน ทำลายวัตถุโบราณ เผางานศิลปะ งานประพันธ์ ตอนหลังก็มีการบุกค้นบ้าน โดยเฉพาะพวกผู้ดีเก่า ปัญญาชน ศิลปินหัวอนุรักษ์นิยม จะถูกจับแห่ประจาน ทรมาร ตอนหลังแม้แต่พระสงค์ แม่ชีและนักบวชก็ไม่เว้น พวกที่มีญาติอยู่ต่างประเทศก็โดนข้อหา “มีความสัมพันธ์กับต่างประเทศ” หลายคนทนรับเหตุการณ์ไม่ได้ก็ฆ่าตัวตาย

ในส่วนของผู้นำในพรรคคอมมิวนิสต์เองก็ใช่ว่าจะได้รับการยกเว้น เติ้ง-เสี่ยวผิง กับหลิวซ่าวฉี (ตอนหลังตายในที่คุมขัง)ถูกปลด เผิงเต๋อหวาย 彭德怀 กับเฮ่อหลง 贺龙 ถูกทรมานจนเสียชีวิต วันที่ 22 สิงหาคม เหมาประกาศ “ห้ามตำรวจขัดขวางความเคลื่อนไหวของนักศึกษาปฏิวัติ” ในช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า “แดงสยอง” 红色恐怖 เฉพาะในเป่ยจิง มีคนถูกฆ่าตายถึง 1700 คน และทั่วประเทศมีคนฆ่าตัวตายถึง 2 แสนคน วันที่ 5 กันยายน ทางพรรคคอมมิวนิสต์ประกาศสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับนักศึกษาและอาจารย์ที่จะเข้ามาเคลื่อนไหวในเป่ยจิง วันที่ 9 ตุลาคม หลินเปียวกล่าวหาเติ้งเสี่ยวผิงกับหลิวซ่าวฉีเป็นตัวแทนของทุนนิยม

อวสานของหลินเปียว 1969-1971 ปี 1969 ในที่ประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 1 เมษายน หลิวเปียว ถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ในอำนาจสูงสุดต่อจากเหมา ในขณะที่หลิวซ่าวฉีถูกโค่น และโจวเอินไหลถูกลดบทบาทลง ในที่ประชุมสมัชชา หลินเปียวกล่าวสดุดีเหมาด้วยคติพจน์เหมา และสนับสนุนการใช้กองกำลังอาวุธ ประนามหลิวซ่าวฉีเป็นพวกต่อต้านการปฏิวัต แก้ไขธรรมนูญพรรค ให้ตนเองเป็นผู้สืบทอดอำนาจของเหมาในอนาคต หลังจากนั้น ชื่อของหลิวเปียวกับเหมาเจ๋อตงมักจะปรากฏคู่กันเสมอในที่ต่าง ๆ ในการคัดเลือกผู้นำพรรคใหม่ในครั้งได้ ได้คัดเลือกเหมาเจ๋อตง หลิวเปียว เฉินป๋อต๋า 陈伯达 โจวเอินไหล คังเซิน 康生 เป็นสมาชิกถาวรคณะกรรมการกลางพรรค สี่ในห้าเป็นการได้ตำแหน่งด้วยผลพวงของการปฏิวัติวัฒนะธรรม ขณะที่โจวเอินไหลเป็นเพียงคงสถานะตนเอง

หลังจากได้รับการยืนยันที่จะได้รับเป็นผู้สืบทอดของเหมา หลิวเปียวจึงขอฟื้นฟูตำแหน่งประธานประเทศขึ้นมาใหม่ หลังจากที่เหมาได้ยกเลิกไป โดยหลินเปียวมุ่งหวังที่จะเข้ารับรองประธาน โดยมีเหมาเจ๋อตงเป็นประธาน

วันที่ 23 สิงหาคม 1970 การประชุมเต็มคณะครั้งที่สองของสมัชชาพรรคครั้งที่ 9 ได้จัดขึ้นที่หลูซาน 庐山 อีกครั้งหนึ่ง เฉินป๋อต๋า 陈伯达 เป็นคนแรกที่ขึ้นกล่าวในที่ประชุม เขาได้กล่าวยกย่องสดุดีเหมาเสียเลิศเลอและตามด้วยการขอฟื้นตำแหน่งประธานประเทศขึ้นมาใหม่ เหมารู้ถึงเบื้องลึกของเฉิน จากนั้นไม่นานเฉินก็ถูกปลดออกจากคณะกรรมการกลางของพรรค และเรื่องนี้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทั่วประเทศ และเฉินก็กลายเป็นพวกตัวแทนของหลิวซ่าวฉี ซึ่งเป็นมาร์กซิสจอมปลอมและพวกปลิ้นปล้อนทางการเมือง

การปลดเฉินออกถือเป็นสัญญาณเตือนหลินเปียว แต่หลิวเปียวก็ไม่หยุดที่เรียกร้องให้แต่งตั้งตำแหน่งประธานประเทศ ทางรัฐบาลกลางได้ชี้ให้เหมาเห็นถึงความทะเยอทะยานของหลิวเปียวที่จะขจัดเหมาออกจากอำนาจ การขอเป็นรองประธานก็เพื่อให้เขามีความชอบธรรมที่จะได้ขึ้นเป็นประธานเมื่อเหมาถึงแก่อสัญกรรม

เมื่อแผนการล้มเหลว หลินเปียวจึงคิดจะยึดอำนาจด้วยการใช้กำลัง เนื่องจากอำนาจในพรรคของเขานับว่ายิ่งน้อยลง ๆ หลินเปียวได้ร่วมกับลูกชาย หลินลิกั่ว 林立果 และคนสนิทใกล้ชิดก่อการในซ่างไห่ 上海 โดยวางแผนใช้กองทัพอากาศทิ้งระเบิดปูพรม เมื่อยึดอำนาจสำเร็จก็จัดการจับกุมพวกฝ่ายตรงข้ามและเขาก็ก้าวสู่อำนาจสูงสุด ดังที่เขาได้กล่าวในเอกสารชื่อ “อู่ชิยี่กงเฉินจี้ย่าว” 五七一工程记要 (คำว่า 五七一 อู่ชิยี่หรือ 571 เป็นคำพ้องเสียงเพื่อสื่อความหมาย 武装起义 คือก่อการด้วยอาวุธ) ไว้ว่า “การต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจครั้งใหม่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าเราไม่สามารถยึดอำนาจการนำปฏิวัติสำเร็จ อำนาจก็จะตกไปอยู่ในมือของคนอื่น”

เมื่อการยึดอำนาจไม่สำเร็จ ข่าวลือเกี่ยวกับการลอบสังหารเหมาเกิดขึ้นมาไม่ขาดระยะ ลือกันตั้งแต่เหมาถูกฆ่าบนขบวนรถไฟในเป่ยจิง การบุกเข้าไปลอบสังหารถึงที่พัก โดยคนใกล้ชิดของหลินเปียว หลังวันที่ 11 กันยายน หลินเปียวก็ไม่เคยปรากฏให้เห็นในที่สาธารณะอีก ในขณะที่ผู้ใกล้ชิดของหลินเปียวที่หนีไปทางฮ่องกงถูกจับกุมทั้งหมด วันที่ 13 หลินเปียวขึ้นเครื่องบินเตรียมหนีไปโซเวียต แต่เครื่องบินไปตกในมองโกลในไม่มีผู้ใดรอดชีวิต ในวันเดียวกันทางเป่ยจิงเรียกประชุมด่วนเกี่ยวกับเรื่องของหลินเปียว จนถึงวันที่ 14 กันยายน ข่าวหลินเปียวเสียชีวิตจากเครื่องบินตกจึงทราบถึงทางเป่ยจิง ในวันที่ 1 ตุลาคม ทางการจีนประกาศงดจัดฉลองวันชาติที่จตุรัสเทียนอันเหมิน


แก๊งสี่คน 四人帮 1971-1976 หลังการเสียชีวิตของหลินเปียว เหมายังมองไม่เห็นผู้สืบทอดอำนาจ จึงได้ย้าย หวางหงเหวิน 王洪文 จากซ่างไห่มาเป่ยจิงในเดือนกันยายน 1972 และได้เป็นคณะกรรมการกลางของพรรคในอันดับสองรองจากโจว เอินไหล เหมือนหมายมั่นจะให้เป็นผู้สืบทอด ในขณะเดียวกันเติ้งเสี่ยวผิง ก็ได้กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งภายในความช่วยเหลือของโจวเอินไหล จากผลกระทบในการแย่งชิงอำนาจของหลินเปียว ทำให้เหมาไม่อาจที่จะไม่พึ่งพาโจวเอินไหลกับเติ้งเสี่ยวผิง แต่เหมาก็ไม่คิดจะถ่ายโอนอำนาจให้ เติ้ง แต่ถ้าเทียบกำลังอำนาจ “ฝ่ายซ้ายจัด”ของฝ่ายตนแล้ว เหมาก็ยังไม่ค่อยชอบ“ฝ่ายขวา”ของเติ้งนัก

กรกฏาคม 1973 เหมาวิพากษ์ว่าทั้งกั๊วหมิงต่างกับหลินเปียวล้วนแต่เป็นพวกฝักใฝ่ลัทธิขงจื้อ มกราคม 1974 เจียงชิงพร้อมพวกซึ่งเป็นพวกฝักใฝ่เหมาเจ๋อตงที่แท้จริง ก็เริ่มเคลื่อนไหว “วิพากษ์หลินวิจารณ์ข่ง” 批林 批孔运动 โดยมีเป้าหมายอยู่ที่โจวเอินไหล เนื่องจากโจวเป็นคู่แข่งคนสำคัญทางการเมืองหลังจากหลินเปียวเสียชีวิต แต่ความเคลื่อนไหวนี้ก็ไม่ได้รับความสนใจมากนัก

ตุลาคม 1974 โจวเอินไหลป่วยหนักเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ภาระกิจทั้งหมดจึงมอบหมายให้เติ้ง ในฐานะรองนายกฯเป็นคนรับผิดชอบแทน เติ้งดำเนินตามนโยบาย “สี่ทันสมัย” 四个现代化 ของโจวเอินไหล (สี่ทันสมัยคือความทันสมัยด้านเกษตร ด้านอุตสาหกรรม ด้านเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ และด้านการทหาร) กันยายน 1975 เหมาล้มป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอีกคน

สิ้นสุดการปฏิวัติวัฒนะธรรม ปี 1976 เป็นปีที่สำคัญสำหรับการปฏิวัติวัฒนะธรรม วันที่ 8 มกราคม โจว เอินไหลเสียชีวิตด้วยโรงมะเร็ง ในวันต่อมาประชาชนต่างหลั่งไหลในที่อนุสาวรรีย์วีรชนเพื่อไว้อาลัยแก่โจวเอินไหล วันที่ 15 เป็นวันจัดงานศพของโจวเอินไหล เติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้กล่าวไว้อาลัยอย่างเป็นทางการ

กุมภาพันธ์ กลุ่มแก๊งสี่คนออกมาโจมตีเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งเป็นคู่แข่งที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวอีกครั้ง โดยได้รับไฟเขียวจากเหมา เติ้งถูกลดอำนาจอีกครั้ง แต่เหมาก็ไม่ได้แต่งตั้งใครจากกลุ่มสี่คนเข้ารับตำแหน่งแทน แต่หันไปแต่งตั้งหัวกั๊วเฟิง 华国锋 แทน วันที่ 4 เมษายน วันชิงเม้ง 清明 ตามประเพณีจีน ประชาชนประมาณสองล้านคนรวมตัวกันที่จตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อรำลึกโจวเอินไหล ขณะ เดียวกันก็มีกลุ่มสนับสนุนเติ้งเสี่ยวผิง และโจมตีแก๊งสี่คนปรากฏภายในจตุรัส เอกสารต่อต้านกลุ่มสี่กลุ่มเผยแพร่ออกมาจำนวนมาก กลุ่มแก๊งสี่คนจึงสั่งให้ตำรวจเข้าไปสลายการชุมนุม แก๊งสี่คนโจมตีเติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้วางแผนอยู่เบื้องหลังสำหรับการชุมนุมครั้งนี้ เติ้งถูกปลดออกจากทุกตำแหน่งทางการเมือง และแต่งตั้งหัวกั๊วเฟิงเป็นรองนายกฯอันดับหนึ่งแทน

กันยายน 1976 เหมาถึงแก่อสัญกรรม แก๊งสี่คนเห็นหัวกั๊วเฟิงไม่ยอมเชื่อฟังพวกเขาจึงเตรียมที่จะล้มหัว แต่วันที่ 6 ตุลาคม หัวกั๊วเฟิงภายใต้การสนับสนุนของกองทัพก็ชิงลงมือก่อน โดยส่งตำรวจเข้าจับกุมสมาชิกแก๊งสี่คนทั้งหมด การปฏิวัติวัฒนธรรมจึงปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์
การสิ้นสุดของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม

การเสียชีวิตของ เหมาเจ๋อตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น มีผลต่อการล่มสลายของการปฏิวัติทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ผู้สืบอำนาจต่อมา คือ เติ้งเสี่ยวผิง นั้นได้ผ่อนคลายกฎลง ทำให้ภาวะการณ์คลี่คลาย โดยเฉพาะเมื่อมีการจับกุมกลุ่มผู้นำการปฏิวัติ ทำให้การปฏิวัติทางวัฒนธรรมสิ้นสุดลง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 11:55

ซ้าย นางเจียงชิงกับประธานเหมา เมื่อสมรสกันใหม่ๆ
ขวา  นางเจียงชิงในวัยที่กุมอำนาจทางการเมือง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 11:59

หากเรื่อง "ประธานเหมา นักการเมืองหรือรัฐบุรุษ"  ยังมีต่อให้วิพากษ์กันอีกยืดยาว

แยกกระทู้ใหม่เป็นไรมี

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 12:07

ต้องแล้วแต่คุณ han_bing จะเห็นสมควรค่ะ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 18:01

“我是毛主席的一条狗,毛主席叫我咬谁我就咬谁。你们打狗也得看主人啊”

wo shi mao zhu xi de yi tiao gou, mao zhu xi jiao wo yao shei wo jiu yao shei. ni men da gou ye dei kan zhu ren a!

ข้าพเจ้าเป็นสุขัขตัวหนึ่งของท่านประธานเหมา ท่านประธานเหมาบอกให้ข้าพเจ้ากัดใคร ข้าพเจ้าก็กัดคนนั้น พวกคุณจะตีสุนัขก็ต้องมองไปถึงเจ้าของสุนัขด้วย!

วาทะนางเจียงชิงหลังสิ้นอำนาจ

(咬: yao ในภาษาจีนจะแปลว่า "กัด" หรือ "เห่า" ก็ได้ แต่ข้าพเจ้าคิดว่าในบริบทนี้น่าจะเป็น "กัด" มากกว่า "เห่า")
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 21:39

^
"น้ำไหลเปลี่ยนใจปลา  เงินตราและเวลาเปลี่ยนใจคน" ครับคุณ Sir Siam..เป็นคำตอบสุดท้าย  ยิงฟันยิ้ม

ถ้าใช้ทฤษฏีของ Maslow มาอธิบาย "เงิน" ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายครับ

Self Esteem ต่างหากครับ ในความเห็นผมนะ

ไม่งั้นคงไม่เกิด "คาร์บ๊อง" แน่ ๆ

ถ้าดูหนัง HolleyWood บ่อย ๆ จะเห็นสถานการณ์แบบนี้เยอะมาก อย่าง The Rock (ปู่ฌอน คอนเนอร์ลี, นิโคลาจ เคจ) บทของผู้พันหน่วยซีล นั่นล่ะครับ คำตอบของเรื่อง Self Esteem

เอาภาษาบ้าน ๆ ทางพระท่านบอกว่า "ยศฐานบรรดาศักดิ์" นั่นเอง

ถ้าตามประวัติท่านพัลลภมานาน จะเข้าใจครับ ไม่ต้องอื่นไกล "ผอ.รมน." นั่นล่ะครับตัวอย่างที่ดีของ Self Esteem ในเรื่องนี้

ว่าไปว่ามา  มันก็เข้าหรอบเดิม  "...เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล...."  เผอิญทำไม่สำเร็จ มันก็ต้องมี Strike Back กันบ้าง ฮ่า ๆ ๆ

โลกนี้ก็แบบนี้ล่ะหนอ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 21:47

คงไม่ใช่เรื่องแปลกอันใด ที่ใครก็ตามหากเกาะติดหรือมีส่วนร่วมในการต่อสู้ของประชาชนมาก่อน สามารถวิเคราะห์ทิศทางการแพ้ชนะได้ถูกต้องจากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
ทันทีที่ฝ่ายกุมอำนาจรัฐ เริ่มทำร้ายประชาชน (ซึ่งเริ่มก่อนคุณจำลองถูกจับกุมหนึ่งวัน-มีประชาชนถูกเจ้าหน้าที่ทำร้าย หัวเแตกเลือดอาบ) หรือจับกุมแกนนำ......................สามารถประเมินได้ทันทีว่า สุจินดากำลังจะแพ้แน่นอน................

การสู้อำนาจรัฐเผด็จการ โดยที่ฝ่ายประชาชนมีอดีตนายทหารที่ผ่านสมรภูมิการวสู้รบ ในสงครามจริงๆมา ย่อมทำให้การต่อสู้นันมีทิศทาง ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี ที่ชัดเจนและได้ผลกว่าที่จะเป็นไปแบบไร้ทิศทาง
การสู้แบบมีการวางแผนล่วงหน้า ย่อมดีกว่า?  หากใครก็ตามที่เดินตามคุณจำลองในการต่อสู้ครั้งนั้น ไม่รู้ล่วงหน้าว่าตนเองแต่ละคน มีสิทธิ์เป็นวีรชน(ตาย)ได้ทุกคน ก็ถือว่าเป็นละอ่อนมากๆ ไม่มีใครหลอกใครได้หรอก แต่ละคนสู้ด้วยจิตสำนึกของตนเองมากกว่า

 พฤติกรรมของแต่ละคน สะท้อนจุดยืนของคนนั้นๆ จึงไม่แปลกที่ในที่สุด คุณจำลองจะถือว่าคุณวัลลพ คือคนที่เคยเป็นเพื่อน
นักเลงจริงเขาไม่ขายเพื่อนกันใช่ไหม?
 ยิ้ม

มันไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกครับ ในประวัติศาสตร์การลุกฮือต่อต้านอำนาจเดิมทั่วโลก ฝ่ายที่ "มีการจัดตั้งอย่างเป็นระเบียบ" ย่อมสามารถทำให้เป้าหมายของตนเองประสบความสำเร็จได้

ตรงกันข้ามกับฝ่ายที่ "ไม่มีการจัดตั้ง" อย่างแน่นอน เพราะสุดท้าย ฝ่ายที่ไม่ได้จัดตั้งและวางระเบียบองค์กรปฏิวัติของตนเองดีพอ ก็จะกลายเป็น "กบฎ" ไปนั่นเอง

ทั้งนี้ การรับรู้ของแต่ละคน ในเฟืองแต่ละชิ้นขององค์กรย่อมต่างกันไป อยู่ที่ว่าท่านใดจะเลือก "มองมุมไหน" และ "การรับรู้ข่าวสารในระดับของตัวเอง" จะเป็นเช่นไร


สำหรับผมที่เกิดทันพฤษภาคม 2535 ถ้าให้เทียบกับ ตุลาคม 2516  ผมมองว่ายัง "....ห่างกันไกลนัก....."

แต่ถ้าจะให้เทียบ ผมมองว่า ตุลาคม 2519 มีลักษณะการดำเนินไปของเหตุการณ์เหมือนกับ พฤษภาคม 2535 ครับ

หมายเหตุ เป็นความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ

 
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 22:04

ในโลกแห่งความเป็นจริง  "เก้าอี้" มันมีอยู่ไม่กี่ตัว แต่คนที่พร้อมจะเล่นเกมนี้ "มีเยอะ"  ก็เป็นธรรมดาที่จะต้อง "แก่งแย่ง" กันไป ใครแรงเยอะกว่า อดทนกว่า พร้อมจะเปลืองตัวมากกว่า ก็ทำสำเร็จไป (แต่ก็อาจจะต้องแลกมาด้วยอะไรต่อมิอะไรมากมาย ที่อาจจะไม่คุ้มก็ได้ ? )

บางหน่วยงาน ที่ได้ชื่อว่า "เคารพในระบบอาวุโส" และ "มีความเป็นระบบอย่างสูง"

เอาเข้าจริง ก็เห็นได้ข่าวว่ารุ่นน้อง "ปีนเกลียว" กับ รุ่นพี่ อยู่บ่อย ๆ กลายเป็นตำนาน รุ่นนั้นไม่ถูกรุ่นนั้น รุ่นนี้ไม่ถูกรุ่นโน้น บางรุ่นอยู่ตรงกลางระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้อง กลายเป็น "รุ่นโลกลืม" ไปก็มี

อนิจจา ........อำนาจ วาสนา บารมี ชื่อเสียง เงินทอง ......... มันช่างเย้ายวนอะไรเช่นนี้


ในโลกนี้ ที่เคยเห็นคนที่พอจะต่อต้านมันได้ และทำเพื่อคนจริง ๆ หา "ได้ยากเหลือเกิน"

จะมีใคร ที่ทำได้อย่าง  จางเหลียง หรือแม้แต่ สวินอี้ (ซุนฮก) บ้างหนอ....


เขียนถึงเรื่องนี้ พาลให้นึกถึงเพลงนี้ 



เพิ่งเข้าใจก็วันนี้ ทำไมจอมยุทธเขาถึงหลีกกาย หลีกเร้น เพื่อหาวิเวก

บันทึกการเข้า
paganini
องคต
*****
ตอบ: 406

ทำงาน


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 01 ก.ค. 12, 23:10

แฮ่กๆๆ ตามอ่านจนเหนื่อย พอเจอกระทู้ไหนที่ตัวเองสนใจต้องมาดันกระทู้เอาไว้ก่อน อิอิอิ

สมัยพฤษภาทมิฬผมก็มีส่วนร่วมในเหตุการณ์อยู่น้อยนิด ว่างๆจะมาเล่าประกอบเพือเป็นข้อมูลไว้ครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 19 คำสั่ง