เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 28381 ขออนุญาตเรียนเชิญทุกท่านเปิดบันทึกพฤษภาทมิฬ พ.ศ. ๒๕๓๕ ครับ
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 พ.ค. 12, 19:45

เวลา 4.37 น. กำลังตำรวจตระเวนชายแดน เสริมเข้ามายังถนนจักรพรรดิพงษ์กว่า 100 นาย

เวลา 4.45 น. ผู้ชุมนุมนำรถสิบล้อ 7 คันมาปิดถนนตะนาว

เวลา 4.48 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ประกาศเรื่องกองกำลังของทางราชการได้กวาดล้างผู้ก่อความไม่สงบ ขอให้ประชาชนอย่าเดินทางไปสะพานผ่านฟ้าลีลาศและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเด็ดขาด

เวลา 4.55 น. ตำรวจและทหารได้ขอรถดับเพลิงเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีประมาณ 4 หมื่นคน

เวลาต่อไปจนถึงเวลา 5.35 น. มีร่างผู้บาดเจ็บและเสียชิวิตต่างถูกหามออกมาเรื่อย ๆ

เวลา 5.35 น. ทหารประกาศให้เวลาอีก 3 นาทีในการสลายชุมนุม

เวลา 5.37 น. มีเสียงปืนดังขึ้นบริเวณสะพานผ่านฟ้า ในขณะที่ประชาชนหมอบลง ประชาชนที่เหลือเข้าใจว่าทหารได้ลุยเข้ามา ในขณะที่ตำรวจดับเพลิงใช้ที่ฉีดน้ำเข้ากลุ่มชุมนุม ทำให้ผู้คนหนีกันอลหม่าน แตกตื่นกันไปหมด

เวลา 5.41 น. ทหาร 20 คันรถพร้อมลวดหนามวิ่งไปยังสะพานผ่านฟ้า ผู้ชุมนุม 1 หมื่นคนนั่งอยู่ที่เดิม อีก 2 หมื่นแตกกระจาย

เวลา 5.44 น. มีเสียงปืนมาจากกลุ่มผู้ชุมนุมใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ในเวลาเดียวกันประชาชนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเคลื่อนตัวเข้ามายังสะพานผ่านฟ้าลีลาศ

เวลา 5.45 น. รถดับเพลิงถอยออกจากที่ชุมนุมเพราะว่าน้ำหมด ประชาชนร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี กล่มผู้ชุมนุมลุกยืนในขณะที่ทหารยิงปืนขึ้นฟ้ารัวยาว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 พ.ค. 12, 19:56

เวลา 5.47 น. พลตรีประพาส ศกุนตนาค ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล (ประกาศเคอร์ฟิว)

เวลา 5.50 น. พลตรีประพาส ศกุนตนาค ออกประกาศว่ารัฐบาลพยายามระงับไม่ให้ลุกลาม แต่กลุ่มบุคคลไม่หยุดการกระทำจึงต้องใช้มาตรการเด็ดขาด

เวลา 5.53 น. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ เดินทางมายังถนนราชดำเนิน มีรายงานว่ามีประชาชนและผู้บาดเจ็บถูกนำตัวมาหลบที่โรงแรมรอยัลเป็นจำนวนมากและถูกบล๊อกไม่ให้ออกจากโรงแรม

เวลา 5.55 น. พลตรีจำลอง ศรีเมือง เจรจาโดยใช้โทรโข่งที่สะพานผ่านฟ้า ให้ทหารหยุดยิงประชาชน

เวลา 6.04 น. นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ส.ส. กรุงเทพฯ พรรคพลังธรรม ยกมือเหนือศรีษะ ขอเจรจากับทหาร

เวลา 6.13 น. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ออกจากถนนราชดำเนินมาถนนจักรพรรดิพงษ์ ประชาชนได้ตะโกนด่าว่า "ฮิตเล่อร์"

เวลา 6.15 น. นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ คุยกับ พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ เป็นเวลา 5 นาที ก่อนจะกลับมาเข้ากลุ่มชุมนุมพร้อมเสียงปรบมือจากฝูงชน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 17 พ.ค. 12, 20:02

เวลา 6.24 น. สำนักข่าว CNN รายงานสภาพเหตุการณ์ได้ตีข่าวไปยังทั่วโลก รายงานสดกับภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งมีการใช้กระสุนจริงในการสลายชุมชน

ในขณะที่โทรทัศน์ทุกสถานีกลับไม่มีการรายงานข่าวที่เป็นภาพร้ายแรงใด ๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นประชาชนที่ดูจากดาวเทียมที่รับสัญญาณได้จากต่างประเทศ

ขณะเดียวกัน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี อยู่ระหว่างเสด็จที่ประเทศฝรั่งเศส ภายหลังมีการให้พระราชทานสัมภาษณ์ออกโทรทัศน์ไม่ให้เกิดความรุนแรง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 17 พ.ค. 12, 20:15

เวลา 6.37 น. พลตรีประพาส ศกุนตนาค ออกประกาศให้วันที่ 18 - 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เป็นวันหยุดราชการและประกาศภาวะฉุกเฉิน ขอให้ประชาชนอยู่กับบ้านทั้งวัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย

เวลา 6.38 น. กำลังทหารจากราบ 11 ขนเอ็ม 16 พร้อมกำลังทหาร 1 คันไปเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ

เวลา 6.39 น. พลตรีจำลอง ศรีเมือง พูดโทรโข่งให้ประชาชนอยู่ชุมนุมถึง 9 โมงเช้า

เวลา 6.50 น. พลตรีจำลอง ศรีเมืองได้โทรศัพท์ถึงสมุหราชเลขาธิการ แต่ไม่พบ จึงสั่งให้ลูกสาวบอกต่อว่า "ประชาชนอยู่เฉย ๆ ก็มีทหารยิงเข้ามา บอกคุณพ่อด้วย"

เวลา 7.10 น. พลตรีจำลอง ศรีเมืองได้โทรศัพท์ไปยัง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรี เล่าเรื่องต่าง ๆ ว่ามีมือที่สามดำเนินการ เราอยู่กันอย่างสันติ แต่มีคนยิงเข้ามาขอให้ป๋าช่วยดำเนินการแล้วแต่จะกรุณา ไม่อย่างนั้นเราถูกบุกแน่ ขณะเดียวกันองคมนตรีได้ถามว่ามีคนอยู่เท่าไร และตอบไปว่ามีอยู่ 7-8 หมื่นคน พอร้องเพลงสรรเสริญฯ จบทหารก็ยิงเข้ามา

เวลา 8.00 น. พลตรีจำลอง ศรีเมืองให้สัมภาษณ์สถานีวิทยุ บีบีซี ภาคภาษาไทย

เวลา 9.00 น. พลเอกสุจินดา คราประยูร เดินทางมาประชุม ครม. ที่ทำเนียบรัฐบาล

กลุ่มผู้ชุมนุมยังคงปักหลักอยู่ที่ถนนราชดำเนินอยู่จนกระทั่ง 21.04 น. มีการยึดรถเมล์พร้อมกับโบกธงชาติ ขณะเดียวกันที่สี่แยกคอกวัว ก็มีเสียงปืนดังขึ้นเป็นระยะ

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 17 พ.ค. 12, 20:41

เวลา 23.04 น. กลุ่มผู้ชุมนุมเผาป้อมตำรวจ บริเวณสะพานผ่านพิภพลีลา

เวลา 23.47 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้ยึดรถน้ำมันเอสโซ่ขนาดใหญ่ และขับมายังกลุ่มผู้ชุมนุม ใกล้โรงแรมโรยัล

แล้วก็ล่วงเข้าวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เ

เวลา 0.01 กลุ่มผู้ชุมนุมยังคงรวมตัวกันหน้ากรมประชาสัมพันธ์ ตรงข้ามโรงแรมโรยัล และแล้วมีการจุดไฟเผากองสลาก, กรมประชาสัมพันธ์, กรมธนารักษ์ และกรมสรรพากร และบริเวณใกล้เคียง ในขณะเดียวกันกลุ่มผู้ชุมนุมได้ขี่รถจักรยานยนต์ 2,000 คันขับกระจายออกทำลายตู้โทรศัพท์ ตู้ไปรษณีย์ และสัญญาณไฟตามสี่แยกต่าง ๆ รวมทั้งป้อมตำรวจ

เมื่อไฟไหม้กลุ่มอาคารนั้น ผู้ชุมนุมได้เผารถเมล์ และรถน้ำมันที่นำเข้ามาหน้ากองสลาก และเกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ป้อมตำรวจหน้าห้างเมอร์รี่คิงส์ วังบูรพา

เวลา 1.00 น. มีผู้เข้าบริจาคเลือดที่โรงพบาบาลศิริราชและโรงพยาบาลกลางเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ

เวลา 1.10 น. กลุ่มจักรยานยนต์เจ้าทำลายป้อมตำรวจและธนาคารแห่งประเทศไทย และท่าน้ำวิสุทธิ์กษัตริย์แต่ดับไฟได้ทัน

เวลา 1.19 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจดับไฟบริเวณบางรัก เพื่อทำการยิงบรรดาจักรยานยนต์ที่ก่อการจราจล

เวลา 1.20 น. ผู้ชุมนุมได้ยึดรถบรรทุกแก๊สขนาดใหญ่ ขับไปยังโรงแรมโรยัล

เวลา 1.55 น. ประกาศทางสถานีโทรทัศน์เรื่องการปราบปรามอย่างรุนแรงเพื่อระงับเหตุ โดยผู้ไม่เกี่ยวข้องให้กลับบ้านโดยด่วน

เวลา 2.10 น. ร้านค้าริมถนนสีลม ถนนคอนแวนต์ ถูกกลุ่มอร์เตอร์ไซด์เผาและทลายบ้านเรือน และมีการนำศพผู้เสียชีวิตใส่รถเข็น ไปทิ้งไว้หน้าโรงพยาบาลเซนหลุยส์ มีการเขียนข้อความข้างศพว่า "นี่คือวีรชน"

เวลา 2.20 น. รัฐบาลประกาศว่าทหารไม่ได้ยิงประชาชน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 08:03

ร่วมกว่า 5 ชั่วโมงแห่งความโกลาหน เกิดเสียงปืนดังเป็นระยะ ๆ ที่สะพานขาว นางเลิ้ง ส่วนกลุ่มมอเตอร์ไซด์ก็ยังคงวิ่งไปทั่วกรุงเทพ และทำลายทรัพย์สินของทางราชการ จนกระทั้ง

เวลา 5.00 น. สำนักข่าว CNN ได้รายงานภาพข่าวและเหตุการณ์ไฟไหม้ตึกกองสลากและสัมภาษณ์ผู้อยู่ในเหตุการณ์

เวลา 7.22 น. เช้าแล้ว ทหารได้จับกุมตัวผู้ชุมนุมประมาณ 700 คนหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ลำเลียงขึ้นรถทหาร ทุกคนถอดเสื้อ

เวลา 9.50 น. ทางโทรทัศน์ประกาศว่า กลุ่มผู้ชุมนุมได้นำรถเมล์มาใช้เป็นเครื่องมือก่อการจลาจล

เวลา 10.30 น. หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ กองกำลังทหารได้เข้าควบคุมจับกุมตัวผู้ชุมนุมอย่างต่อเนื่อง

เวลา 11.00 น. นายวีระ มุสิกพงศ์(รองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่) เข้ามอบตัวต่อ พลตำรวจเอก พงษ์อำมาตย์ อมาตยกุล ซึ่งก่อหน้าได้มีหมายจับไปยังแกนนำคือ นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ, นางสาวจิตราวดี วรฉัตร, นายแพทย์สันต์ หัตถีรัตน์, นายแพทย์เหวง โตจิราการ และนายสมศักด์ โกไสยสุต

เวลา 15.45 น. ตำรวจนำนายวีระ มุสิกพงศ์ ย้ายออกจากเรือนจำโรงเรียนพลตำรวจ ไปฝากขังที่สถานีตำรวจดอนเมือง

ในเวลาเดียวกัน กลุ่มผู้ชุมนุมได้เริ่มขยายตัวไปบริเวณสี่แยกราชเทวี ไปรวมตัวกันที่ประตูน้ำ ซึ่งระหว่างทางได้ทำลายป้อมตำรวจ

เวลา 16.15 น. กลุ่มผู้ชุนมุมเคลื่อนตัวมายังถนนเพชรบุรี มุ่งหน้าสู่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมทั้งยึดรถเมล์สาย 23 จำนวน 2 คันหน้าโรงแรมเฟริส

ยังมีกลุ่มผู้ชุมนุมอีกกลุ่มยังคงกระจายตัวบริเวณนางเลิ้ง บางลำพู เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า เหล่านี้ล้วนมีการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างต่อเนื่อง

เวลา 18.00 น. ที่บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 และ 6 มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ แพทย์ นิสติประมาณ 300 คน มาถวายสักการะขอพระบุญบารมีเป็นทีพึ่ง ให้ประเทศรอดจากความวิบัติ ในขณะเดียวกันกลุ่มผู้ชุมนุมได้เคลื่อนถึงสี่แยกคลองตัน ซึ่งมีขบวนมอเตอร์ไซด์นำหน้า 100 - 200 คัน

เวลา 18.15 น. หัวขบวนได้ถึงมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมีการขึ้นเวทีร่วมกับนักศึกษาธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ รามคำแหงว่าจะชุมนุมกันอย่างสันติ

เวลา 20.00 น. หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มผู้ชุมนุมรวมตัวกันอยู่ประมาณสองหมื่นคน

กลุ่มผู้ชุมนุมหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ปักหลักชุมนุมอยู่จนล่วงเข้าวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 08:23

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535

เวลา 8.00 น. ญาตพี่น้องของผู้ชุมนุมทางการเมืองได้แห่กันไปเยี่ยมลูกหลานที่เรือนจำโรงเรียนตำรวจบางเขน

เวลา 9.00 น. องคมนตรีโดยท่านสัญญา ธรรมศักดิ์ และพลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา เดินทางไปที่บ้านสี่เสาเทเวศน์ เข้าพบพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ทุกท่านมีสีหน้าเคร่งเครียดเมื่อออกจากบ้านสี่เสาในเวลา 11.45 น.

เวลา 9.10 น. เจ้าหน้ากที่ กทม. เข้าทำความสะอาดถนนราชดำเนิน ล้างคราบเลือด และประชาชนเริ่มสำรวจความเสียหายและต่างวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง จนผู้คนมารวมตัวกันมากขึ้นถึงหมื่นคน มีการเผารถขยะ และทำลายกระถางดอกไม้ที่ประดับไว้ที่อนุสาวรีย์ประชาธิไตย

เวลา 12.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมที่อยู่แถวหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้นำรถบรรทุกมาจอดขวางไว้ที่ถนนพระราม 9 ตัดกับถนนรามคำแหง และใช้รถแก๊สปิดกั้นอีกชั้นหนึ่ง ส่วนถนนพระราม 9 ได้นำรถขนปูนซิเมนต์มาปิดกั้นไว้ที่คอสะพาน และแผงกั้นเหล็กขวางไว้

เวลา 13.30 น. ที่ถนนราชดำเนิน ประชาชนได้กลับเข้ามายังพื้นที่ร่วมสองหมื่นคน ในขณะเดียวกันก็มีทหารกลุ่มใหม่ถูกส่งเข้ามาควบคุมพื้นที่อีกครั้งหนึ่ง

เวลา 13.35 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจประกาศให้เพิ่มวันหยุดปิดภาคเรียนไปอีก 2 วัน

เวลา 14.00 น. ทางรัฐบาลได้ประกาศเตือนให้ผู้ชุมนุมกลับบ้าน ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิไตย มีการแจกใบปลิวให้ประชาชนหาธงชาติ ป้ายข้อความ และเชิญประชาชนมาร่วมชุมนุม ที่วงเวียนใหญ่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สนามหลวง เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ในเวลาก่อน 20.00 น. ทุกวันและให้ตะโกนว่า "สุจินดาออกไป"

เวลา 14.45 น. พลเอกสุจินดา คราประยูร แถลงการณ์ออกโทรทัศน์ช่อง 5 กล่าวว่าผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ก่อความไม่สงบ คือ นายทหารที่มีความคิดฝักใฝ่คอมมิวนิสต์

เวลา 15.45 น. มีข่าวลือสะพัดว่าจะมีการใช้เฮลิคอปเตอร์เข้าปราบปรามผู้ชุมนุมที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง

เวลา 16.08 น. มีข่าวลือว่ากองกำลังปราบปรามโดยรัฐบาลได้ควบคุมตัวในหลวงไว้ ซึ่งเป็นข่าวลือ

เวลา 17.00 น. กลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนิน สลายตัว เหลือเพียงพันคนเศษ

เวลา 19.25 น. กระทรวงมหาดไทยออกคำสั่งประกาศเคอร์ฟิว ห้ามออกจากเคหะสถาน ในระหว่าง 21.00-04.00 น.

เวลา 19.30 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจนำภาพการเข้าจับกุมตัวพลตรีจำลอง ศรีเมือง มาแพร่ภาพ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 08:29

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่พลเอกสุจินดาและพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้า

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เวลา 24.00 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจได้แพร่ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานแก่พลเอกสุจินดาและพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าและทรงตักเตือนรับสั่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขั้นด้วยการหันหน้าเข้าหากัน ไม่มีใครได้ผลประโยชน์ทั้งนั้นมีแต่ประชาชนที่เสีย และจะอ้างได้หรือว่าเป็นผู้ชนะบนซากปรักหักพัง

ภาพการเข้าเฝ้าดังกล่าวถูกตีพิมพ์ออกทางสื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ทุกสถานี
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 08:41

ล่วงเช้าวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535

การประท้วงที่ถนนราชดำเนินสลายตัวไปหมด ทิ้งไว้เหลือเพียงซากรถที่ถูกไฟไหม้ และร่องรอยกระสุนบนผนังอาคาร รองเท้า เสื้อผ้า คราบเลือดของผู้ชุมนุมได้ถูกนำมากองรวมกันไว้ที่โคนต้นไม้ พร้อมกับประชาชนเข้ามาดูเหตุการณ์และวิพากษ์กันอย่างทั่วหน้า

เวลา 9.00 น. มีการปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมราวสามพันคน ในขณะเดียวกันพลเอกสุจินดา คราประยูรได้เปิดสภาเปิดประชุมอภิปรายในเหตุการณ์ที่ผ่านมาในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้

ผู้นำเหล่าทัพประกาศให้ประชาชนเห็นใจทหารในการกระทำที่รักษาความสงบบ้านเมือง และเปิดเผยผู้เสียชีวิต 41 ราย บาดเจ็บ 681 รายพร้อมประกาศยกเลิกเคอร์ฟิว

ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศเข้าทำงานเป็นวันแรก ต่างสวมชุดดำไว้ทุกข์


วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2535

องค์กรทุกกลุ่มเรียกร้องให้พลเอกสุจินดา คราประยูรลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งหาตัวคนผิดผู้สั่งฆ่าประชาชนออกมาลงโทษ ในขณะเดียวกันพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ กระทำพิธีรับพระบรมราชโองการให้เป็นหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ เป็นผู้นำฝ่ายค้าน

กลุ่มการเมืองได้มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกันมีข่าวลือออกเป็นระยะ ๆ เกี่ยวกับการลาออกของพลเอกสุจินดา ซึ่งจะบินไปประเทศสวีเดนอีกไม่นาน
พรรคร่วมรัฐบาลเตรียมจัดตั้งรัฐบาลโดยคาดหวังให้ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทยขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

เวลา 24.00 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจออกประกาศพระราชกำหนดนิรโทษกรรมระหว่าง 17 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 09:14

วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535

เวลา 11.00 น. พลเอกสุจินดา คราประยูรประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, นายฉลาด วรฉัตร เลิดอดอาหาร, พรรคร่วมรัฐบาลเสนอพลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทยขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

สมาพันธ์ประชาธิปไตยท้วงติงรัฐบาลขาดความชอบธรรมในการจัดตั้งรัฐบาล เสนอทางออกให้มีรัฐบาลเสียงข้างน้อยหรือขอพระราชทานนายกจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานรัฐสภายื่นใบลาออก และยื่นหนังสือถึงหัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรคให้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีเข้ามา

วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 พรรคร่วมฝ่ายค้านมีมติเสอน พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

ต่อจากนั้นอีกหลายวันบรรดาพรรคการเมืองก็เร่งเจรจาเฟ้นหาต่อรองทางการเมือง ซึ่งพรรคชาติไทยได้เสนอตัวท่านเดิมคือ พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ ในขณะเดียวกันพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อเข้ามาว่าท่านมีความเห็นส่วนตัวควรเสอนชื่อ นายชวน หลีกภัย

และการเจรจาโน้มน้าวการรวบรวมเสียงข้างมากในสภาก็เกิดขึ้นมีการรวบรวมเสียงได้มาก แกนนำพรรคชาติไทยคาดว่าจะได้กลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกและแน่นอนว่าจะมาถึงในอีกไม่ช้า เมื่อมีการโปรดเกล้าฯ นายก

เวลา 16.35 น. นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถวายรายชื่อนายกรัฐมนตรีคนที่ 20 แห่งราชอาณาจักรไทย

เวลา 16.45 น. พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ ออกมาต้อนรับแขกผู้มีเกียรติพร้อมแจกพระเครื่องที่ระลึกแก่นักข่าวและผู้มาเยือนซึ่งเตรียมพร้อมเข้ารับพระราชทานตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเวลาเดียวกันรองเลขาธิการ นายวิษณุ เครืองาม ได้เดินทางมาที่บ้านเพื่อเตรียมการรอรับพระบรมราชโองการ

เวลา 18.30 น. นายบรรหาร ศิลปอาชา เลขาธิการพรรคชาติไทยสวมเครื่องแบบปกติขาวมาร่วมงาน

เวลา 18.45 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการโปรดเกล้าแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเป็น "นายอานันท์ ปันยารชุน"

เวลา 19.30 น. นายอาทิตย์ อุทัยรัตน์โทรศัพท์เข้ามายังพลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ เรื่องโปรดเกล้าพระราชทานนายกคือนายอานันท์ สมาชิกพรรคชาติไทยสีหน้าเคร่งเครียดพร้อมแถลงข่าว

เวลาเดียวกันสื่อโทรทัศน์ก็มุ่งหน้าไปยังบ้านนายอานันท์ ปัณยารชุนแถวพระโขนง และท่านให้สัมภาษณ์ว่า ท่านทราบข่าวเมื่อราว 17.00 น. ขอให้รับตำแหน่งเพื่อความสมานฉันท์ของบ้านเมือง คือมาถึงทางตันแล้ว ซึ่งทางพรรคการเมืองได้เดินมาตามกติกาแต่ไม่ได้เป็นที่ยอมรับจากคนทั่วไป แต่อีกส่วนยอมรับแต่ไม่ถูกตามกติกา และขอให้ท่านเข้าดำรงตำแหน่งเพื่อควบคุมการเลือกตั้งครั้งหน้าให้ขาวสะอาดบริสุทธิ์

พรรคร่วมรัฐบาลกล่าวตัดความสัมพันธ์กับนายอาทิตย์ อุไรรัตน์ พร้อมทั้งเสอนชื่อ นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ส่วนนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทยประกาศอำลาทางการเมือง

วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2535 ประกาศคณะรัฐมนตรีชุดนายอานันท์ ปันยารชุน และประกาศให้ยุบสภาวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2535 เพื่อให้มีการเลือกตั้งกันใหม่

นี่เป็นเหตุการณ์คร่าว ๆ ที่จะเล่าให้คุณชูพงค์ได้รับทราบ แต่ในวันและเหตุการณ์ยังมีรายละเอียดซึ่งแต่ละท่านย่อมรับทราบและรับรู้แตกต่างกันไป



บันทึกการเข้า
chupong
พาลี
****
ตอบ: 319


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 10:41

กราบขอบพระคุณคุณหนุ่มสยามอย่างสูงยิ่งครับ ที่ปรานีช่วยให้เด็กโง่ๆคนหนึ่งได้เติมสติปัญญาขึ้นอีกอักโข ผมขอเรียนสารภาพต่อทุกท่านอย่างหมดอายครับว่า ตั้งแต่เด็ก ผมไม่เคยสนใจการเมืองเลย ใครจะขึ้น ใครจะลง ช่าง เพิ่งจะมาให้ความสำคัญจริงๆก็ราวๆ พ.ศ. ๒๕๔๕ ตอนเกือบๆจะเรียนจบจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงนั่นเองครับ ต้นเหตุนั้นมาจาก อ่านงานกวี “เพียงความเคลื่อนไหว” ของท่านอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ รวมถึงวรรณกรรมเพื่อชีวิตเล่มอื่นๆแล้วงุนงงกับบริบททางสังคม จึงเริ่มค้นคว้าหาข้อมูล เริ่มรู้จักสิบสี่ตุลา หกตุลา พฤษภาทมิฬ ตามลำดับ ผมรู้สึกผิดครับผิดที่เกิดทันแท้ๆกลับเพิกเฉย เด็กอายุสิบสี่ขวบมิใช่จะเล็กจนจำอะไรไม่ได้โดยสิ้นเชิง ทว่าผมเลือกปิดกั้นตนเสียเอง มาถึงวันนี้ ผมอายุสามสิบสี่ คิดถึงความเหลวไหลของตัวขึ้นมา อยากร้องไห้ครับ ดังนั้น การตั้งกระทู้พฤษภาทมิฬ นอกจากมุ่งหมายจารึกประวัติศาสตร์เป็นปณิธานหลักแล้ว ผมยังปรารถนาจะชะล้างเปือกตมแห่งความเขลาอันพอกหนาในนิสัยครั้งวัยเด็ก เติมจิตสำนึกที่ดีเข้ามาชดเชย ฉะนั้น ความรู้ซึ่งคุณหนุ่มสยาม แหละท่านสมาชิกทุกท่านกรุณามอบให้ จึงทรงคุณูปการสำหรับผมจนเกินกว่าจะอุปมาครับ
 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 11:09

หามิได้สำหรับการว่ากล่าวตนเองจนเกินไปครับคุณชูพงค์ คนเราไม่ได้โง่หากแต่ความไม่รู้เท่านั้นที่ผูกติดอยู่กับเรา หากได้รู้ก็จะเกิดปัญญามีแนวทางต่อไปได้

เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เป็นบทเรียนอย่างดีให้กับการเมืองการปกครองของไทยครับ บทเรียนในการครอบงำสื่อสารมวลชน บทเรียนแห่งการใช้อำนาจกำลังเข้าสลายฝูงชน บทเรียนแห่งการปฏิวัติรัฐประหาร

ยังจำได้ว่าเมื่อมีการปิดกั้นการเสพข่าวจากในประเทศ ไม่ได้รับข้อมูลที่แท้จริงย่อมมีผลที่ดีต่ออำนาจรัฐที่ปิดบังไม่ให้เห็นความรุนแรง แต่ภาพข่าวจากต่างประเทศนั้นสื่อให้เห็นว่ามีการกระทำที่รุนแรง เป็นภาพความโหดร้ายของมนุษย์ที่กระทำระหว่างกัน

ด้วยพระบารมีแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เรียกตัวทั้งสองท่านเข้าหันหน้าเข้าหากัน ทุกคนในสังคมจึงผ่อนปรน เจรจาและยุติลงได้ พลตรีจำลอง ศรีเมืองคลานเข้าไปเข้าเฝ้าพร้อมกับก้มกราบพระองค์ท่านพร้อมกับใส่เสื้อม่อฮ่อมอันเป็นเอกลักษณ์ของตน กล่าว่าขอพระราชอภัยในการแต่งกายไม่สุภาพเข้าเฝ้า ทุกคนนั่งลงกับพื้นฟังกระแสพระราชโอวาทพร้อมประชาชนทั่วประเทศ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 11:18

    กระแสพระราชดำรัส
    ในวันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2535  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้พลเอก สุจินดา คราประยูรและ พลตรี จำลอง ให้เข้าเฝ้า และได้มีกระแสพระราชดำรัสพระราชทาน   ตอนหนึ่งว่า
          “…ประเทศของเรา ไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน เป็นประเทศของทุกคน เข้าหากันไม่เผชิญหน้ากันแก้ไขปัญหา เพราะปัญหามีอยู่ ที่เวลาเกิดจะใช้คำว่า บ้าเลือด เวลาคนมีการปฏิบัติรุนแรงมันลืมตัว ลงท้ายเขาไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไร แล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะ แล้วก็ใครจะชนะ ไม่มีทาง อันตรายทั้งนั้น มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้ แล้วที่แพ้ที่สุดก็คือประเทศชาติ ประชาชนจะเป็นประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่ประชาชนเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ถ้าสมมติว่า  เฉพาะในกรุงเทพมหานครเสียหายไป ประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด แล้วก็จะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวว่าชนะ เวลาอยู่บนกองซากปรักหักพัง…”

      หลังจากนั้นพลเอกสุจินดาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยมีมีชัย ฤชุพันธุ์รองนายกรัฐมนตรี รักษาการตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 11:19

ภาพประวัติศาสตร์


บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 12:30

พฤษภาทมิฬมีทหารเสียชีวิตหรือไม่ครับ ?
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 19 คำสั่ง