เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
อ่าน: 49100 อยากทราบประวัติ คุณกรุ่ม สุรนันทน์
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 22:22

คุยเรื่อง คุณกรุ่ม สุรนันทน์ มาตั้งนานนนนนนนน ...........คุณ PAOPAI คงอยากชมรูปคุณกรุ่ม ตามที่เคยถามมา ขอนำภาพเก่ามาให้ชมครับ

ภาพนี้ คงถ่ายเมื่อ คุณพระภูมีสวามิภักดิ์ เสียชีวิตแล้ว

นั่งเก้าอี้ : นางสุดใจ ภูมีสวามิภักดิ์, ยืนด้านซ้าย : นางสาวการัณฑ์,  ยืนด้านหลัง : นางกรัด สุรนันทน์-หงสกุล, นั่งพื้น : นายกรุ่ม, ยืนด้านขวา : เด็กชาย เกริก


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 22:51

สุรนันทน์ชั้น ๔, ๕ และบุตรหลาน

สำหรับ สุรนันทน์ ชั้นต่อๆ ไปนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน จะขอแยกเป็นสายๆ ในรุ่นบุตร ของพระยาอภัยพิพิธ ครับ คือ

๑. นางฟ้อน หงสกุล

๒. พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน สุรนันทน์)

๓. นายเคล้า สุรนันทน์

๔. นางแอ๋

๕. พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม สุรนันทน์)

๖. นายแกร่ง สุรนันทน์

๗. นายปลาย สุรนันทน์


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 05 ก.ค. 12, 23:00

ขอกล่าวถึง ท่านที่มีประวัติสั้นๆ ก่อนครับ

สายที่ ๓. นายเคล้า (บุตรชายที่ ๒)

ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้รับพระราชทานเหรียญจักรพัรรดิมาลา ภายหลัง ลาจากราชการ ออกมาเป็นทนายความในสมัย รัชกาลที่ ๕-๖  ท่านผู้นี้เกิดเมื่อกำลังบิดาบริบูรณ์ไปด้วยยศศักดิ์สมบัติ จึงได้เพลิดเพลินไปด้วยการสนุกต่างๆ จนไม่เป็นราชการ ได้ความลำบากเมื่อเวลาแก่ชราลง มีบุตรกับนางสมบุญ คือ

๓.๑ นายจันทร์ สุรนันทน์ แต่งงานกับ นางผิน มีบุตรธิดาคือ  นายเจือ, จุล, นางวิทยาวุฒิ (ประชิต ชัยรัตน์) ภรรยาขุนวิทยาวุฒิ (นวม ชัยรัตน์) ครูใหญ่ โรงเรียนวัดราชบพิตร และ นางพยุง สิริสุข

๓.๒ นางเจริญ หัสดิเสวี ภรรยา พระดิษฐการ (?)

๓.๓ นายแป๊ะ

๓.๔ พ.ต.ต. หลวงศรีสารวัตร (แต้ม สุรนันทน์)



สายที่ ๔. นางแอ๋ (บุตรหญิงที่ ๒)

เป็นภรรยานาย...ไม่ปรากฏชื่อ.... เป็นมหาดเล็ก มีบุตรชาย ๓ คนที่ ๑ และ ๒ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ , คนที่ ๑ ชื่อ กือ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่นายรองไชยขรรค คนที่ ๒ ชื่อเกี่ยว คนที่ ๓ ชื่ออุ่น


สายที่ ๖. นายแกร่ง สุรนันทน์

บุตรชายคนรองสุดท้าย คนในตระกูล บ้างก็ว่าชื่อกร่าง ท่านเห็นว่า บิดายากจน จึงได้อพยบไปอยู่ ณ ตำบลแจงร้อน จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วไม่เคยได้ข่าวอีกเลย


สายที่ ๗. นายปลาย สุรนันทน์ - ไม่มีประวัติแจ้งไว้
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 06 ก.ค. 12, 00:07

สายที่ ๑. นางฟ้อน

ได้กล่าวไว้แล้วใน ค.ห. ๑๒๕ แต่มีข้อมูลเพิ่มเติมครับ

มารดารนางฟ้อน คือท่านน้อย บุตรี พระยารัตนมณเฑียร (เนียม)  นามสกุล หงสกุล แต่สืบค้นไม่ได้ว่า เป็นหงสกุลสายไหน อย่างไร ?


นางฟ้อน และขุนอินทรักษา (บุด) มีบุตร ๓ คน  บุตรชายคนโตชื่อ ร้อยเอก น้อม ,
           
ร้อยเอก น้อม หงสกุล มีบุตร ที่น่าสนใจสองคนคือ  นายเนา หงสกุล สมรสกับ นางนิ่ม, นางนิ่ม เป็นบุตรของ ขุนท่องสือ กับนางเปลี่ยน สุรนันทน์ !!!!!
(เรื่องนางเปลี่ยน ยกยอดไปเล่าไว้ ตอนพระยาสุรนันทน์กับพระภูมีฯ)


นายเนา กับนางนิ่ม มีบุตร ชื่อหน่วง กับ ถนอม , ถนอม คือ คุณหญิง ถนอม พิทักษ์เทพมณเฑียร ต.จ. ภรรยา พระยาพิทักษ์เทพมณเฑียร (กระจ่าง หงสกุล) 

........ และพระยาพิทักษ์เทพมณเฑียร (น่าจะคนเดียวกัน เพราะชื่อ กระจ่าง หงสกุล เหมือนกัน) มีภรรยาชื่อ คุณหญิง บุนนาค บุตร พระยาสุรนันทน์ฯ กับนาง แฝง หงสกุล บุตรี พระยารัตนมณเฑียร (เนียม) !!!!!!!

เท่ากับว่า นางฟ้อน เป็น ทวดของภรรยา และ ลูกพี่ลูกน้องของภรรยา พระยาพิทักษ์เทพมณเฑียร !!!!!! ......


นี่แหล่ะครับ คือความปฏิพัทธพัวพัน กันของ หงสกุล และสุรนันทน์ (แค่เริ่มต้น)

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 06 ก.ค. 12, 08:20

สายที่ ๑. นางฟ้อน

ได้กล่าวไว้แล้วใน ค.ห. ๑๒๕ แต่มีข้อมูลเพิ่มเติมครับ

มารดารนางฟ้อน คือท่านน้อย บุตรี พระยารัตนมณเฑียร (เนียม)  นามสกุล หงสกุล แต่สืบค้นไม่ได้ว่า เป็นหงสกุลสายไหน อย่างไร ?


ในเอกสารว่าด้วยลำดับตระกูลทั้งสาม (หงสกุล-เกตุทัต-บุษปะเกศ)
ได้ลำดับให้ พระยารัตนมณเฑียร (เนียน หรือ เนียม) เป็นสายสกุลชั้นที่ ๒
จึงอนุมานได้ว่า  พระยารัตนมณเฑียร (เนียน หรือ เนียม) น่าจะเป็นบุตรคนหนึ่งของเจ้าพระยาเพ็ชรพิไชย (หง) ต้นสกุลหงสกุล

พระยารัตนมณเฑียร (เนียน หรือ เนียม) มีภรรยาแต่ไม่ปรากฏชื่อ มีบุตรคือ
พระยาอร่ามมณเฑียร (โหมด)
และคุณน้อย  ภรรยาพระยาอภัยพิพิธ (เสพ  สุรนันทน์)
ทั้งสองคนนี้  เป็นสายสกุลชั้นที่ ๓

พระยาอร่ามมณเฑียร (โหมด  หงสกุล) มีภรรยาไม่ปรากฏชื่อ มีธิดา คือ
คุณหญิงแฝง  ภรรยาพระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม  สุรนันทน์)

ส่วนคุณน้อย ซึ่งได้สามีคือพระยาอภัยพิพิธ (เสพ  สุรนันทน์) มีธิดา คืิอ
คุณฟ้อน  ภรรยาขุนอินทรรักษา (บุด/บุศ หงสกุล)
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 06 ก.ค. 12, 09:16

เจ้าพระยาเพชรพิไชย (หงส์) ชั้น ๑. หงสกุล    .........   พระยาสีหราชเดโชไชย (เพง) ชั้น ๑. สุรนันทน์            

พระยารัตนมณเฑียร (เนียม) ชั้น ๒. หงสกุล    .........   ขุนศรีกันถัด (เรือง) ชั้น ๒. สุรนันทน์

พระยาอร่ามมณเฑียร (โหมด) ชั้น ๓. หงสกุล  .........   พระยาอภัยพิพิธ (เสพ) ชั้น ๓. สุรนันทน์


ถ้าสมมุติว่า พระยาพิทักษ์เทพมณเฑียร (กระจ่าง)  เป็นบุตร หรือ ชั้นเดียวกับบุตร พระยาอร่ามมณเฑียร  ก็จะเป็นชั้น ๔. เช่นเดียวกับ พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม)


เจ้าคุณสุรนันทน์ฯ เกิด พ.ศ. ๒๔๐๔ มีบุตร กับคุณแฝง เมื่ออายุ ๑๙  ( = พ.ศ. ๒๔๒๓ ) คุณบุนนาค จึงน่าจะเกิดเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๓++


พระยาอภัยพิพิธ (เสพ) ได้ท่านน้อย เป็นภรรยา ในสมัยรัชกาลที่ ๓  ตามประวัติ เมื่อท่านน้อยเสียชีวิตแล้ว ทูลกระหม่อมฟ้าใหญ่(ต่อมาคือรัชกาลที่ ๔) พระราชทาน คุณพุ่ม เป็นภรรยา ฉนั้น ท่านน้อยต้องเสียชีวิต ในรัชกาลที่ ๓ มีบุตรคือ ร.อ. น้อม ก็ต้องเกิดในรัชกาลที่ ๓ แต่ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในแผ่นดิน รัชกาลที่ ๕ และถึงแก่กรรม ในรัชกาลที่ ๕ (ตามบันทึกคุณกรุ่ม)

บุตร ร.อ. น้อม คือ นายเนา ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในแผ่นดิน รัชกาลที่ ๕ ถึงแก่กรรม ในรัชการที่ ๕

คุณหญิงถนอน บุตร นายเนา ก็ควรจะกำเนิด ในรัชกาลที่ ๕.............. (แต่รัชกาลนี้ ตั้ง ๔๐ กว่าปี )


ฉนั้น คุณหญิงบุนนาค น่าจะเป็นเอกภรรยาก่อน คุณหญิงถนอม แต่ท่านทั้งสอง น่าจะอายุไม่ห่างกันหลายสิบปี ดังเช่นชั้นเชื้อสายที่ คุณหญิงบุนนาค สืบสาย หงสกุล ชั้น ๕  และคุณหญิงถนอม เป็น หงสกุล ชั้น ๗
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 07 ก.ค. 12, 19:39



ถ้าสมมุติว่า พระยาพิทักษ์เทพมณเฑียร (กระจ่าง)  เป็นบุตร หรือ ชั้นเดียวกับบุตร พระยาอร่ามมณเฑียร  ก็จะเป็นชั้น ๔. เช่นเดียวกับ พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม)





อ่านพบในหนังสือ ไก่ขาว ว่า พระยาพิทักษ์เทพมณเฑียร (กระจ่าง หงสกุล) เป็นพี่ชาย ร่วมสายโลหิตของ หลวงอนุภาณศิสยานุสรรค์ (เรื่อ หงสกุล)

ถ้านับเจ้าพระยาเพชรพิไชย เป็นชั้น ๑ ท่านเจ้าคุณพิทักษ์ฯ จะเป็น หงสกุล ชั้น ๕ สายพระวิสูตรโยธามาตย์ (กุหลาบ)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 07 ก.ค. 12, 19:45


สายที่ ๖. นายแกร่ง สุรนันทน์

บุตรชายคนรองสุดท้าย คนในตระกูล บ้างก็ว่าชื่อกร่าง ท่านเห็นว่า บิดายากจน จึงได้อพยบไปอยู่ ณ ตำบลแจงร้อน จังหวัดสุพรรณบุรี แล้วไม่เคยได้ข่าวอีกเลย


เรื่องของนายแกร่งนี้ ในตระกูลสุรนันทน์ ท่านว่าไม่ได้ทำราชการ อพยพไปอยู่สุพรรณบุรี ไม่เคยได้ข่าวอีกเลย...... มาจากสมุดบันทึกของคุณกรุ่ม เล่มดังกล่าว ในหัวข้อของคุณ เปลี่ยน มารดา พระยาสุรนันทน์ ฯ (กริ่ม)


แต่เมื่อสอบทานกับ "จดหมายเหตุ สยามสไมย" ของครูสมิท แล้ว ในเล่ม ๒ แผ่น ๖ วัน พุฒ เดือน ๑๑ แรม ค่ำ ๑ ปี มะแม เบญจศก ๑๒๔๕ หน้า ๔๓ ปรากฏความว่าดังนี้

เชียงใหม่

มี ข่าว ว่า ความไข้ ใน เมือง นั้น ชุก ชุม นัก บางตำบล คนตาย หมด บ้าน บ้าง    นาย แกร่ง น้อง พระยาราช สมภารกร ถึง แก่ อนิจกรรม ณวัน อาทิตย เดือน สิบ ขึ้น แปด ค่ำ   พี่ชาย ก็ มี ความ ทุกข์ โทมนัศ เบน อัน มาก   เคย อาไศรย น้อง ชาย ภอ เปน ล่าม ภาษา อังคริษ   พวก พ้อง อยู่ กรุง เทพ ครู พลอย มี ความ ทุกข์ เปน อัน มาก ด้วย นาย แกร่ง คน นี้ เปน ลูก สิศ สำนักนิ์ เรียน หนั้งสือ แล ภาษา อังคริษ กับ แหม่ม สมิท  ที่กรุงเทพ เปน คน ปัญญา ดี เรียบ ร้อย  คาด ว่า คงเปน กำลัง แก่ ราชการ แ่ผนดิน บ้าน เมือง ......."

เป็นอันว่า ข้อมูลจากยุคนั้น ซึ่งลงข่าวหนึ่งเดือนเศษ หลังจากนายแกร่งเสียชีวิตที่เชียงใหม่ (ซึ่งคงเพราะตามพระยาราชฯ พี่ชาย ไปเป็นข้าหลวงฯ ที่เชียงใหม่) และครูสมิท ก็สรรเสริญว่า ได้เรียนหนังสือมากับ แหม่ม สมิท เป็นคนปัญญาดี ซึ่งถ้ารับราชการ อาจจะมีชื่อเสียงต่อมาก็เป็นได้


เป็นข้อมูลเพิ่มเติม ที่น่าสนใจ (สำหรับคนในตระกูลสุรนันทน์) ประการหนึ่ง นึกๆ แล้วก็น่าแปลกใจ เพราะหลังจากนั้น อีก ๓๔ ปีต่อมา สามีของพระพี่เลี้ยงหวน ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานอา ก็ไปเรียชีวิตที่เชียงใหม่เช่นกัน ........

ขอขอบพระคุณ คุณ Wandee ที่กรุณาแนะนำให้อ่าน สยามสไมย จึงได้ข้อมูลนี้มาโดยบังเอิญ  ยิ้ม
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 07 ก.ค. 12, 20:49

๔.๒ พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน สุรนันทน์)

บุตรพระยาอภัยพิพิธ (เสพ) และท่านพุ่ม บุตรคุณไภย (เจ้าฟ้าทัศไภย)

เป็นข้าหลวงเดิม รัชกาลที่ ๔ (คือถวายตัวตั้งแต่ยังทรงผนวชในรัชกาลที่ ๓) จึงได้ศึกษาเล่าเรียน ในสำนักวัดบวรนิเวศนวิหาร

เมื่อรัชกาลที่ ๔ ครองศิริราชสมบัตร แล้ว ทรงพระกุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น นายสรรพวิไชยหุ้มแพร นายยาม, พระแสงเวรเดช กับได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ทรงสอนวิธีถวายพระแสง หอก ง้าว ให้ด้วย



เมื่อถึงอายุสมควรแก่การบวช จึงกราบถวายบังโคมลาบวช ในสำนักสมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัศวิหาร

ครั้นสึกออกมาถวายพระราชกุศลแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่หลวงอินทรโกษา ปลัดกรมพระคลังราชการ (บรรดาศักดิ์ เดียวกับเจ้าคุณบิดา) รับราชการต่อมาจนถึง แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณตะติยานุจุลจอมเกล้าสืบตระกูลพระยาอภัยพิพิธ


แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนที่ขึ้นเป็นพระยาราชสำภารากร เจ้ากรมคลังราชการ



เป็นข้าหลวงใหญ่รักษาราชการ ณ เมืองนครเชียงใหม่ ได้รับพราราชทานโต๊ะทอง กาทองเป็นเครื่องยศ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๖ ในตำแหน่ง ข้าหลวง กำกับ ชำระความต่างประเทศ คือไปเป็นตัวกลาง ติดต่อกับฝรั่ง นั้นเอง 

ด้วย......." ถ้าไม่โปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงขึ้นไปกำกับ เมือง นครเชียงไหม่ จะวางพระราชหฤไทย ไว้.........ไม่ได้ จะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ด้วยลาว(หมายถึงภาคเหนือของไทยในที่นี้) ไม่รู้่จักขนบธรรมเนียมราชการกับชาวต่างประเทศ สมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ทรงพระราชดำริห จัดการ รักษาทางพระราชไมตรีกับอังคริษ ดั่งนี้ โดยพระราชปรีชาอันประเสริฐ ชาวยุโรป ทั้งหลาย ภา กัน สรรเสริญเป็นอันมาก"

บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 07 ก.ค. 12, 22:08

ในขณะที่ท่าน ดำรงตำแหน่ง เป็นข้าหลวง สามหัวเมือง ณ ศาลต่างประเทศ เมืองนครเชียงใหม่ พระยาราชสัมภารากร ปฏิบัติภาระกิจสำคัญ คือ


".......พระเจ้านครเชียงใหม่แจ้งความแก่ข้าพุทธเจ้าว่า พระเจ้านครเชียงใหม่ มีบุตรหญิงผู้เดียวอายุศม์ก็สมควรที่จะทำการตัดจุกอยู่แล้ว แต่การตัดจุกในเมืองนครเชียงใหม่ยังไม่เคยมีเลย ขอให้ข้าพระพุทธเจ้าเปนธุระจัดการด้วย ......" (ตัดตอนจากใบบอก พระยาราชสัมภารากร เข้ามากรุงเทพฯ)

ความในที่นี้ หมายถึง การโกนจุก พระราชชายา เจ้าดารารัศมี พระธิดา พระเจ้าอินทรวิชยานนท์ฺ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือพระองค์แรกและพระองค์เดียว ที่ไว้จุก, มีพิธีโสกันต์ ซึ่งตรงกับในหนังสือ จดหมายเหตุสยามไสมย ดังนี้


" โสกันต์ ที่ เมือง เชียงใหม่

ณวัน เสาร์ เดือน สิบสอง ขึ้นสิบเอ็ด ค่ำ   จุลศักราช ๑๒๔๕ ปี มะแม เบญจศก     มี การ โสกนต์ พระราช ธิดา ทรง พระนาม ดารารัศมี บุตร เจ้า เชียงใหม่   เปนการ โต ใหญ่ ทำ งาม ดี ที่สุด    พระยา สัมภารกร เปน เจ้า พนักงาน จัด แจง ลำดับ การ    ให้คล้าย เคียง กับ การ เช่น เคย มีี ใน กรุง เทพ  ท่าน ผู้ หลัก ผู้ ใหญ่ ท่าน เจ้าเมือง ลาว ต่างๆ  ในแขวง เมือง เชียงใหม่ ประชุม พร้อม กัน  ช่วยการ โสกันต์ พระราช ธิดา เจ้า เชียงใหม่ "

ความทราบฝ่าละอองธุรีพระบาท ว่า เจ้าอินทรวิชยานนท์ และเจ้าแม่ทิพเกสร จะทำการโกนจุกพระราชชายา รัชกาลที่ ๕ ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน  "ตุ้มหูระย้าเพชร คู่หนึ่ง" ไปเป็นของทำขวัญเช่นเดียวกับที่พระราชทานบุตรหลานข้าราชการ(แต่คงมากกว่าหน่อยหนึ่ง เพระปกติพระราชทานเงิน) โดยเมื่้อพระราชหัตถเลขา และตุ้มหูดังกล่าว มาถึงนครเชียงใหม่ี พระยาราชสัมภารากร ก็เป็นผู้เชิญ ไปถวาย มีเนื้อเรื่องปรากฏดังนี้

เวลาถวาย พระยาราชสัมภารากร ได้จัดให้เจ้าดารารัศมี ผันหน้าลงไปทางกรุงเทพฯ "...ส่งตลับต้มหูระ้าเพชรคู่หน่งให้เจ้าดารารัศมี ๆ มีความยินดีรับไปเปิดหีบตลับตุ้มหูออกเหน็บกลัดทั้งสองข้างแล้วกราถวายบังคมอีกครั้งหนึ่ง......" (อ้างจากหนังสือ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ศรีแห่งนครเชียงใหม่ โดย วรชาติ มีชูบท)

(***ซึ่งการพระราชทานตุ้มหูเพชรครั้งนี้ บางก็ว่า เป็นของที่รัชกาลที่ ๕ ทรง"จัดการ"โกนจุกเจ้าดารา และตู้มหูนี้ เป็นของหมั้น ซึ่ง จากหนังสือดังกล่าว แสดงเอกสารว่า "ไม่ใช่" )

และเมื่อถึงคราวโกนจุก พระเจ้าอินทวิชยานนท์ และเจ้าแม่ทิพเกสร ได้เชิญท่านเจ้าคุณราชสัมภารากร เป็นผู้โกนจุก ๑ ใน ๓ จุก ตามประเพณี ประกอบด้วย พระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระบิด เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ๑ ปอย เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน เจ้าผู้ครองนครลำพูน ๑ ปอย พระยาราชสัมภารากร ๑ ปอย  นับเป็นเกียรติประวัติ ของพระราชราสัมภารากร เป็นอย่างเอนกอนันต์.......



บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 07 ก.ค. 12, 22:12


เรื่องของนายแกร่งนี้ ในตระกูลสุรนันทน์ ท่านว่าไม่ได้ทำราชการ อพยพไปอยู่สุพรรณบุรี ไม่เคยได้ข่าวอีกเลย...... มาจากสมุดบันทึกของคุณกรุ่ม เล่มดังกล่าว ในหัวข้อของคุณ เปลี่ยน มารดา พระยาสุรนันทน์ ฯ (กริ่ม)


พิมพ์สับสน นางเปลี่ยน ภรรยา พระยาสุรนันทน์ ครับ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 07 ก.ค. 12, 22:47

ผลงานของพระยาราชสัมภารากร ด้านกวีนิพนธ์ ก็มีปรากฏอยู่จนปัจจุบัน คือ

๑. เมื่อคราว ฉลอง ๑๐๐ ปีพระนคร รัชกาลที่ ๕ โปรดให้ทำการบูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนัง รอบระเบียงพระอุโบสถ วัดพระแก้ว และทรงพระนิพนธ์โคลงประกอบภาพ รามเกียรติ์ ไว้ส่วนหนึ่ง และทรงให้พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการ โดยเสด็จฯ พระนิพนธ์ และแต่งโคลงถวายร่วมด้วย

พระยาราชสัมภารกร ก็ได้ร่วมแต่งบทโคลงประกอบ ถวายในการนี้ เช่น


ห้องที่  ๔๖ พระรามให้จองถนนข้ามไปกรุงลงกา หนุมานรบกันนิลพัทเรื่องรับก้อนหิน พระรามขับนิลพัทไปรั้งเมืองขีดขิน

ห้องที่  ๔๗ ทศกัณฐ์สั่งนางสุพรรณมัจฉาให้นำบริวารทำลายถนน หนุมานจับนางสุพรรณมัจฉาได้

ห้องที่  ๕๒ มัยราพณ์มาเฝ้าทศกัณฐ์ กับตั้งพิธีหุงยาสะกด

ห้องที่  ๕๓ หนุมานอาสาอมพลับพลาพระราม และมัยราพณ์สะกดทัพ

ห้องที่  ๕๔ หนุมานหักด่านต่างๆ ของไมยราพเพื่อติดตามพระรามกลับคืน รวมทั้งได้พบมัจฉานุลูกชาย

ห้องที่  ๕๕ หนุมานพบกับนางพิรากวนพี่สาวไมยราพ ซึ่งกำลังถูกลงโทษ ออกอุบายจนเข้าในเมืองได้ นางพิรากวนบอกที่ขึงพระราม หนุมานฆ่าไมยราพตาย



ห้องที่ ๕๓ ตอนหนุมานอมพลับพลา เป็นบทที่เราเห็นภาพจิตรกรรมกันบ่อย (ฮิตมาก) จึงขอยก ภาพมาประกอบ ส่วนท่านใดสนใจ รามเกียรติที่ท่านประพันธ์ สามารถหาอ่านได้ ใน วิกิซอซ และอื่นๆ มากมาย





บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 08 ก.ค. 12, 14:37

คุณ Piyasann เล่าประวัติพระยาราชสัมภารากรไว้ตอนหนึ่งว่า

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสัมภารากรขึ้นไปรับราชการในตำแหน่ง ข้าหลวง กำกับ ชำระความต่างประเทศ คือไปเป็นตัวกลาง ติดต่อกับฝรั่ง นั้นเอง 

ด้วย......." ถ้าไม่โปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงขึ้นไปกำกับ เมือง นครเชียงไหม่ จะวางพระราชหฤไทย ไว้.........ไม่ได้ จะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ด้วยลาว(หมายถึงภาคเหนือของไทยในที่นี้) ไม่รู้่จักขนบธรรมเนียมราชการกับชาวต่างประเทศ สมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ทรงพระราชดำริห จัดการ รักษาทางพระราชไมตรีกับอังคริษ ดั่งนี้ โดยพระราชปรีชาอันประเสริฐ ชาวยุโรป ทั้งหลาย ภา กัน สรรเสริญเป็นอันมาก"

เรื่องการตั้งข้าหลวงสามหัวดเมืองไปประจำที่เชียงใหม่นั้น  มีนักวิชาการล้านนาบางท่านกล่าวว่า เป็นจุดเริ่มของการที่สยามคิดจะผนวกดินแดนล้านนาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสยาม
แต่โดยข้อเท็จจริงแล้วข้าหลวงสามหัวเมืองนี้เกิดขึ้นเพราะคดีพิพาทระหว่างเจ้านครเชียงใหม่กับญาติวงศ์กับพ่อค้าชาวอังกฤษและสับเยกอังกฤษ  เป็นคดีความนับร้อยคดี
เมื่อมีคดีความเกิดขึ้นเจ้านายล้านนาก็ตัดสินความโดยถือเอาประโยชน์ของตน  หาได้ตัดสินกันด้วยหลักฐานพยาน  (ดูไปแล้วก็คล้ายๆ กับที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน)
พ่อค้าอังกฤษก็เลยนำคดีความนั้นลงมาฟ้องร้องต่อกงสุลของตนที่กรุงเทพฯ  กงสุลอังกฤษจึงมาเรียกร้องให้รัฐบาลสยามในช่วงปลายรัชกาลที่ ๔ จัดการชำระความ
ให้ความเป็นธรรมแก่คนของตน  การพิจารณาสะสางคดีคั่งค้างนี้ดำเนินมาหลายปีตั้งแต่ปลายสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงษ์ครองนครเชียงใหม่  จนล่วงมาถึง
สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์จึงสะสางคดีเก่านั้นแล้วเสร็จ 

เมื่อชำระคดีค้างเก่าแล้วเสร็จในตอนต้นแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ แล้ว  อังกฤษก็ยื่นคำขาดกับรัฐบาลสยามให้จัดการแก้ปัญหาคดีพิพาทเรื่องสัมปทานป่าไม้อย่าให้เป็นปัญหาขึ้นอีก
ฝ่ายรัฐบาลสยามในเวลานั้นสมเด็จเจ้าพระยาฯ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอยู่เห็นว่า  หัวเมืองประเทศราชล้านนานั้นเป็นเมืองสวามิภักดิ์  มิใช่ประเทศราชที่สยามไปตีชิงมา
เหมือนเมืองลาว  เมืองเขมร  ฉะนั้นสยามไม่ควรจะไปยุ่งวุ่นวายในเรื่องที่เป็นเรื่องภายในของบ้านเมืองเหล่านั้น  อังกฤษจึงอาศัยหลักกฎหมายนานาประเทศมาเล่นงานรัฐบาลสยาม
เพราะตามหลักกฎหมายนานาชาตินั้น  ประเทศราชนั้นไม่มีอำนาจที่จะดำเนินการต่างประเทศได้ด้วยตนเอง  ประเทศราชจะติดต่อกับต่างประเทศได้ก็แต่โดยการติดต่อแผ่นดินแม่
ที่มีอำนาจเหนือประเทศราชนั้น  หากสยามปฏิเสธไม่รับรู้การกระทำของประเทศราชของตนอังกฤษก็จะถือโอกาสเข้าแทรกแซงดำเนินการเสียเอง  ด้วยเหตุนี้ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕
จึงต้องเสด็จอินเดียและทรงตกลงกับรัฐบาลอังกฤษที่อินเดียจัดทำสัญญาเชียงใหม่ฉบับที่ ๑ ขึ้น  สัญญานี้มีอายุ ๑๐ ปี

เมื่อตกลงทำสัญญาเชียงใหม่ฉบับแรกขึ้นแล้ว  จึงมีการจัดตั้งศาลต่างประเทศที่เชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๔๑๗ หน้าที่ข้าหลวงใหญ่ ณ ศาลต่างประเทศเวลานั้น คือ การตรวจลงทะเบียน
สัญญาสัมปทานป่าไม้ระหว่างเจ้านายฝ่ายเหนือกับพ่อค้าขาวต่างชาติ  และพิจารณาพิพากษคดีที่ชาวต่างประเทศฟ้องชาวพื้นเมืองเป็นสำคัญ  แต่ธรรมดาของมหาอำนาจ  เมื่อได้คืบ
ก็ต้องเอาศอก  พอมีสัญญาเชียงใหม่ฉบับที่ ๑ แล้วยังไม่ำอใจ  ใกล้จะครบอายุสัญญาฉบับแรก  นอกจากจะขอต่ออายุสัญญาแล้วยังขอแถมตั้งรองกงสุลไปประจำที่เชียงใหม่อีก
โดนรุกคืบขนาดนี้ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ จึงต้องทรงปรับกระบวนทัพรับศึก  โดยโปรดให้ข้าหลวงที่รู้ภาษาอังกฤษและคุ้นเคยกับการติดต่อค้าขายกับคนอังกฤษขึ้นไปเป็นข้าหลวง
สามหัวเมืองประจำศาลต่างประเทศที่เชียงใหม่  แล้วต่อมาจึงส่งข้าหลวงที่สำเร็จการศึกษาจากอังกฤษขึ้นไปประจำที่เชียงใหม่มาเป็นลำดับ 
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 08 ก.ค. 12, 17:00

๒. โครงนิราศระยะทางเมืองนครเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๒๖

เมื่อพระยาราชสัมภารากร ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็นข้าหลวงสามหัวเมือง ประจำ ณ นครเชียงใหม่ ในระหว่างท่านเดินทางขึ้นไปได้ประพันธ์ นิราศพรรณนาเรื่องราวต่างๆ ระหว่างทาง โดยในตอนต้นของนิราศ ไปจนถึงนครลำปาง ท่านประพันธ์โดยใช้ภาษาไทยภาคกลาง และ จากนครลำปาง ไปจนนครเชียงใหม่ ได้เริ่มใช้คำภาษาล้านาเข้ามาแทรกด้วย (ข้อมูลจาก โครงนิราศระยะทางเมืองนครเชียงใหม่ ปริวรรต โดยสนั่น ธรรมธิ) ตัวอย่างเช่น

   “ถึงประตูบุเรศเขา        นครลัม- พางคแฮ
    ทวารชื่อเชียงฮายฅํา    ฟูฮอง
    เตียวตวยมัคคฤาสํา-    ฮาญสัก หยาดเลย
    คนหนานําดาดฆอง      หึ่งสะทานทางเวียง
    (เชียงฮายฅํา = เชียงรายทอง ฟูฮอง = เรียกวา  เตียวตวย = เดินตาม สําฮาญ = สําราญ )
 
    ชาวเมืองเนืองฟงทั้ง    หญิงชาย
    ขนกอเจดียทราย       สาดน้ํา
    เรียมผกผอชนหลาย    หลากงืด
    กอยบหันนุชซ้ํา        จิ่มเศรา เสริมใจ
    (ฟง = รีบ ผกผอ = แอบดู  หลากงืด = แปลกใจ กอยบหัน = มองหาไมเห็น  จิ่ม = ดวย, กับ  )
 
    ลางเหลาเอาดอกไม    อยองขัน
    ปงสุทกสลุงสัน         สูเจา
    สระสรงปูบาปน         พรผอน หื้อเอ
    บางหมูทานครัวเขา     ตุซองสัพพี
    ( อยอง = วาง สลุง = ขันเงิน  ปู = ชายมีอายุ ปนพร = อวยพร  หื้อ = ให ตุ = พระสงฆ )

โคลงนี้ แสดงให้เห็นว่า ท่านเข้าเมืองลำปาง ขณะมีเทศกาลสงกรานต์  ทำให้เห็นหลักฐาน ประเพณีการก่อพระเจดีย์ทราย การเล่นน้ำสงกรานต์ ของชาวจังหวัดลำปาง (และภาคเหนือ) และยังแสดงให้เห็นว่า ข้าราชการสมัยก่อน เมื่อขึ้นมาทำราชการที่หัวเมือง เชียงใหม่ ก็มักจะต้องเรียนรู้ภาษาท้องถิ่นไว้ด้วย ดังเช่นนี้ ระหว่างเดินทาง ท่านคงได้เรียนภาษาเหนือ กับคนติดตามในขบวนเป็นการเตรียมตัวไว้ก่อน แล้วเน้ออออออ...........

( ผมก็คงจะไปตามหา ว่า ประตู เชียงฮายฅํา นี้ อยู่ตรงไหน ?)

บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 08 ก.ค. 12, 17:08

เรื่องราวที่คุณ Vee_Mee นำมาลง น่าสนใจมากครับ ขอถามว่า ข้าหลวงสามหัวเมือง ณ ศาลต่างประเทศ นครเชียงใหม่ มีใครบ้างครับ

ทราบแต่ว่า เปลี่ยนพระยาราชเสนา (?) ลงมาแล้วส่งเจ้าคุณราชสัมภารากร ขึ้นไป  ภายหลัง เป็นกรมพิชิตปรีชากรฯ  .........

แน่นอนหล่ะครับ ไปติดต่อกับฝรั่ง ก็ต้องพูดภาษาอังคริษ ได้ดี แน่นอน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง