เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 49129 อยากทราบประวัติ คุณกรุ่ม สุรนันทน์
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 00:00

ว่าด้วย ผู้ได้รับพระราชแต่งตั้งเป็นเสนาบดี เมื่อรัชกาลที่ ๑ ปราบดาภิเษกคือ

๑. อัครมหาเสนาบดี นา ๑๐๐๐๐ - ๒ ตำแหน่ง


๑.๑ เจ้าพระยารัตนาพิพิธ (สน สนธิรัตน) ข้าหลวงเดิม ตามเสด็จการสงคราม มีความชอบหลายครั้ง เดิมเป็นที่ พระอักขระสุนทร เสมียนตรากรมมหาดไทย

๑.๒ เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี มารดา เป็นเชื้อสายเฉกอะหมัด?) บุตรพระยากลาโหมคลองแกลบ ตามเสด็จการสงคราม มีความชอบหลายครั้ง เดิมเป็นที่ พระยาเพชรบูรณ์ (ออกญานาหมื่น รั้งหัวเมืองชั้นโท)


๒. จตุสดมภ์ นา ๑๐๐๐๐  - ๔ ตำแหน่ง


๒.๑ เวียง (นครบาล) = พระยายมราช ฯ ( บุนนาก บุนนาค) สามีเจ้าคุณนวล ขนิษฐภคินี กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ตามเสด็จการสงคราม มีความชอบหลายครั้ง เดิมเป็นที่ พระยาอุทัยธรรม (ภายหลังรับพระราชทานเลื่อนเป็น อัครมหาเสนาบดีที่ เจ้าพระยามหาเสนา คนที่ ๓)

๒.๒ วัง = เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ ฯ ( บุญรอด เชื้อสายพราหมณ์พฤฒิบาศ) เป็นผู้คุ้นเคย รักใคร่ในพระองค์ ตามเสด็จการสงคราม มีความชอบหลายครั้ง แลรู้ธรรมเนียมการกรมวังมาก เดิมเป็นที่ พระยาธรรมาธิกรณ์อยู่ก่อนแล้ว เลื่อนเป็นเจ้าพระยาเมื่อปราบดาภิเษก

๒.๓ คลัง = เจ้าพระยาพระคลัง (สน) เป็นเจ้าพระยาพระคลังตั้งแต่กรุงธนบุรี ต่อมาสติฟั้นเฟือนถูกถอดเป็นพระยาศรีอัครราช ตั้งพระยาพิพัฒน์โกษา (หน บุญ-หลง) ขึ้นเป็นเจ้าพระยาพระคลัง แทน ( ท่านหน เดิมคือหลวงสรวิชิต ผู้ส่งข่าวจลาจลในกรุงธนบุรีให้ เจ้าพระยาจักรี (รัชกาลที่ ๑ ทรงทราบขณะรบเขมร)

๒.๔ นา = พระยาพลเทพ (ปิ่น) ข้าหลวงเดิม เป็นกำลังช่วยกรมพระราชวังหลังปราบปรามจลาจลในกรุงธนบุรี ต่อมาได้เลื่อนเป็น เจ้าพระยามหาเสนา (คนที่ ๒) และเจ้าพระยาอภัยราชา ผู้กำกับราชการ ต่อมาจึงเลื่อน เจ้าพระยาไชยพิชิต (บุนนาก บ้านแม่ลา) ผู้รักษากรุงเก่า (แทนคนเก่าที่ถูกท่านประหาร) เป็นเจ้าพระยาพลเทพแทน


๓. พระยา นา ๑๐๐๐๐ - ๖ ตำแหน่ง + หัวเมือง ๖ ตำแหน่ง

๓.๑ พระยาสีหราชเดโชไชยอภัยพิริยะปรากรมพาหุ เดโช (เพง สุรนันทน์) เจ้ากรมอาสา ๖ เหล่าขวา

๓.๒ พระยาสีหราชเดโชไชยท้ายน้ำ อภัยพิริยะปรากรมพาหุ ท้ายน้ำ ( ขุนทอง บ้านท่าช้าง) เจ้ากรมอาสา ๖ เหล่าซ้าย


๔. ขุนนางฝ่ายทหาร

๔.๑ พระรามคำแหง (บุญมา น้องเมียพระยาสีหราชฯ - เพง สุรนันทน์) เจ้ากรมอาสาขวา นา ๕๐๐๐


๔.๒ จมื่นทิพรักษา ปลัดกรมพระตำรวจนอกขวา นา ๘๐๐



๕. ขุนนางฝ่ายพลเรือน

๕.๑ พระยาสมบัดิธิบาล ( ด้วง สุรนันทน์) เจ้ากรมพระคลังในขวา นา ๓๐๐๐






บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 00:17

จากค.ห. ด้านบน จะเห็นได้ว่า ตำแหน่งสำคัญ คืออัครมหาเสนาบดี และ จตุสดมภ์ แบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ

กลุ่มข้าหลวงเดิมของรัชกาลที่ ๑ ได้แก่ เจ้าพระยารัตนาพิพิธ, พระยายมราช (บุนนาค), พระยาพลเทพ (ปิ่น)

กลุ่มข้าราชการครั้งกรุงเก่า ได้แก่ เจ้าพระยามหาเสนา, เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์, เจ้าพระยาพระคลัง  


ส่วนกลุ่มของ นายบุนนาก บ้านแม่ลา และขุนสุระฯ ที่ร่วมรบยุทธภูมิบ้านปูน ก็ได้รับพระราชทานยศบรรดาศักดิ์ แทนคุณงามความดี ไล่ตั้งแต่ เจ้าพระยาไชยวิชิต (บุนนาก บ้านแม่ลา) ครองกรุงเก่า, พระยาพลเทพ(ปิ่น) จตุสดมภ์นา, พระยาสีหราชฯ (เพง) พระยาท้ายน้ำ (ขุนทอง) พระรามคำแหง (บุนมา) คุมกรมทหารอาสาอาสา จมื่นทิพยรักษา ปลัดพระตำรวจ จะมีแต่ พระยาสมบัติบาล ที่ไปกินตำแหน่งฝ่ายพลเรือน เพียงคนเดียว

เรียกได้ว่ากลุ่มนี้ ได้คุมกองทหาร กรมใหญ่มากทีเดียว คือคุมทั้งกรมทหารอาสา ๖ เหล่า ๘ เหล่า ทั้งกรม !!!!!

(แต่ข้อสังเกตุประการหนึ่ง คือ ญาติๆ ฝ่ายพระยาสีหราช เป็นทหารตำแหน่งฝ่ายขวา คืออยู่ในการบังคับบัญชาของ เจ้าพระยามหาเสนา ซึ่งท่านที่สอง (เจ้าพระยามหาเสนา ปลี) ก็ได้ร่วมรบกันมา, แต่ไม่แน่ใจว่า ขณะนั้น ตำแหน่ง เฝ้าขวา จะคุมทหาร หรือคุมหัวเมืองฝ่ายใต้ อย่างใดกันบ้าง แม้กระทั้งตำแหน่งพระยาสมบัติบาล ก็ดูแล กรมพระคลังในขวา ....... อืออออ เวลาเฝ้า ในท้องพระโรง จะได้หมอบอยู่ฝั้งเดียวกันกระมัง ฮืม??)





บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 00:24

เรื่องกรมทหารอาสา นี้ ขออนุญาตยก ข้อเขียนของ คุณ luanglek ในกระทู้ ชาติพันธุ์วรรณา ใน ขุนช้างขุนแผน มาอธิบายครับ

"......... ประเด็นต่อมา  เรื่องอาสาหกเหล่า ตามที่เคยทราบมา อาสาหกเหล่านี้ เป็นทหารต่างชาติที่มาอาศัยและรับราชการในเมืองไทย  มีความรู้ความสามารถการรบการใช้อาวุธบางอย่างเป็นพิเศษ  อาสาเหล่านี้ คือ ทหารอาชีพสมัยก่อนนั่นเอง มีหน้าที่เป็นราชองครักษ์และผู้ชำนาญการ แต่เดิมคงจะมีอยู่หกเหล่า โดยแบ่งเป็นเหล่าตามเชื้อชาติ  เท่าที่เคยได้ยิน มีมอญเหล่าหนึ่ง พวกมอญชำนาญยุทธวิธีและการสืบข่าวทางด่านตะวันตก  จึงมีหน้าที่คอยตระเวนด่านทางแถบตะวันตก  จามเหล่าหนึ่งกับแขกมลายูชวาเหล่าหนึ่ง  สองพวกนี้ถนัดเรื่องการรบทางน้ำและการใช้เรือ จึงมีหน้าที่เกี่ยวกับกองเรือรบ  ญี่ปุ่นเหล่าหนึ่ง พวกนี้ใจเด็ดเดี่ยว ใช้ดาบเก่ง   ฝรั่งเหล่าหนึ่ง พวกถนัดเรื่องปืนไฟและปืนใหญ่  อีกพวกน่าจะเป็นลาว พวกนี้เป็นกองลาดตระเวนทางเหนือ  อาสาหกเหล่านี้ ขึ้นตรงกับพระเจ้าแผ่นดิน ตำแหน่งเจ้ากรมแต่ละเหล่าเทียบเท่าจตุสดมภ์ทีเดียว  ถ้าจะให้ชัดต้องดูในโคลงพยุหยาตราเพชรพวงกับลิลิตกระบวนแห่พระกฐินทางสถลมารคและทางชลมารคประกอบด้วย  เคยได้ยินว่า อาสาหกเหล่านี้ ชำนาญเรื่องงานช่างบางอย่างด้วย ............."

บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 00:25

และข้อเขียนของ คุณ เทาชมพู จากกระทู้เดียวกัน มีพูดถึงพระยาสีหราช และพระยาท้ายน้ำ ไว้น่าสนใจ ขอนำเอามาแปะไว้ เพื่ออธิบายตำแหน่งครับ (ขอบพระคุณ ทั้งสองท่าน)

".......ในหนังสือ "บันทึกเรื่องการปกครองของไทย สมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์" พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (เรียบเรียงจากคำสอนของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช พ.ศ. ๒๕๑๖ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒๕๔๙ นั้น มีกล่าวถึง "พระยาท้ายน้ำ" ไว้เล็กน้อยในหน้า ๓๖, ๕๗, ๕๙ และ ๖๐ แสดงว่าตำแหน่งนี้ไม่ใคร่จะสำคัญนัก


ในหน้า ๓๖ กล่าวถึงแต่เพียงว่า "การแบ่งเป็นทหารพลเรือนเป็นเพียงการขึ้นทำเนียบเท่านั้น แต่ลักษณะการงานไม่ต่างกันระหว่างตำแหน่งพลและมหาดไทย ตามกฎหมายกล่าวว่า ตำแหน่งพลของหัวเมืองเอก แม่ทัพกรุง คือ พระยาเดโช ส่วนพระยาท้ายน้ำเป็นผู้รั้ง"


ในหน้า ๕๗ ได้กล่าวถึงการแบ่งทหารว่า "ต่อมาการแบ่งทหารเปลี่ยนแปลงไป เพราะทหารช้าง (คชบาล) ทหารม้า (อัศวราช) ยกออกจากทหารไปขึ้นกับพลเรือนขึ้นตรงกับพระมหากษัตริย์เพื่อความปลอดภัยของราชบัลลังก์ เพราะมีการคิดชิงราชสมบัติอยู่เสมอ

ต่อมาแบ่งเป็นสมุหนายก สมุหพระกลาโหม

สมุหพระกลาโหมมีแม่ทัพขึ้น ๓ คน
๑. พระยารามจตุรงค์ ศักดินา ๑๐๐๐๐
๒. พระยาเดโช
๓. พระยาท้ายน้ำ (คงจะคุมฝีพาย)"

ในหน้า ๕๘-๖๐ ได้กล่าวถึงว่า
"๑. ทหารราบ แบ่งเป็น ๘ กรม ประจำการเป็นทหารอาชีพ
๑) - ๖) กรมอาสา ๖ เหล่า
๗) กรมทวนทองใน-นอก
๘) กรมเขนทองใน-นอก

พระยาเดโช พระยาท้ายน้ำ ดูแลบังคับบัญชาทหารอาสา ๖ เหล่า มีหน้าที่ป้องกันกรุง ไม่ใช้ออกนอกกรุงปราบกบฏในเขตประเทศ จะออกนอกประเทศได้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดินยกทัพหลวง ถ้าเป็นศึกไม่สำคัญใช้ทหารเกณฑ์

นอกจากจะเป็นทหารอาชีพฝึกอาวุธแล้ว ยังมีหน้าที่ศึกษาข่าวศึก ดูแลด่านเก็บภาษี

(อีกกรมหนึ่งสำหรับสืบข่าวคือ กรมอาทมาต คนในกรมเป็นมอญสำหรับสืบข่าวด้านพม่า ยามสันติก็ใช้ในกิจการอื่น ๆ ด้วย เช่น ขุนไกรพลพ่าย ดูในทำเนียบมอญ)

ทหารหน้าเหล่านี้ในยามสันติ เมื่อเวลาเสด็จราชดำเนินไปไหน ๆ ไม่ใช้ขบวนเสด็จ แต่ใช้รายทาง ถ้าเสด็จทางชลมารค ใช้ลงเรือนำและตาม หน้าที่พิเศษออกหัวเมืองกวาดต้อนคนมาสักเลก ควบคุมการทำงานสาธารณะ"

ตามพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเทพรัตนฯ ทหารอาสา ๖ เหล่า ๘ เหล่า ก็คือ ทหารราบ หรือทหารบก นั้นเอง 

ฉนั้น ถ้านับปัจจุบัน พระยาสีหราชเดโชชัย(เพง สุรนันทร์)  ก็น่าจะเรียกได้ว่า เป็น ผบ.ทบ. คนแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ คงได้กระมังครับ?

บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 00:54

พระยาสีหราชเดโชไชย (เพง) นี้ เจ้าคุณสุรนันทน์ฯ เหลนท่านได้บรรยายไว้ว่า

"...ทรงใช้สรอยเปนที่ไว้วางพระราชหฤทัยสนิทสนมมาก เมื่อเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชสงครามคราวใด ก็ได้ตามเสด็จด้วยทุกครั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้วฯ ให้เปนเจ้าพนักงานรักษาประตูค่ายน่าพลับพลาเสมอ ......."

ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าเลื่อนที่ขึ้นเป็นที่ พระยารามจตุรง หรือ รามจัตุรงค์ จางวางอาสา ๖ เหล่า ๘ เหล่า ได้พระราชทานกระบี่ฝักทอง แคร่กัญญาเปนเกียรติยศเพิ่มเติม (เรื่องเครื่องยศเพิ่มนี้ อยู่ในข้อเขียนของ พระยาสุรนันทน์เท่านั้น)

บรรดาศักดิ์สุดท้ายของท่านคือ "พระยารามจัตุรงค์" ซึ่งเป็นหนึ่งในตำแหน่ง "ขุนนางชั้นสูง ระดับนา ๑๐๐๐๐"  เท่ากับ เจ้าพระยาและ จตุสดมภ์ (และเท่ากับบรรดาศักดิ์เดิม แต่ตำแหน่งสูงกว่าเจ้ากรม คือเป็น "จางวาง" หรือผู้กำกับราชการ ตำแหน่งนี้ ในกฏหมายตราสามดวง ฉบับถ่ายจากเล่มจริง ของราชบัณฑิตยสภา ปี ๒๕๕๐ ไมไ่ด้ลง ศักดินาไว้ ? )

พูดถึงบรรดาศักดิ์ "พระยารามจัตุรงค์็" ตอนนี้กำลังฮิต  เพราะ ภาพยนต์ละครเรื่อง "ขุนศึก" เพิ่งจะจบลง  ไม้เมืองเดิม ก็รังสรรค์ให้ "อ้ายเสมา" สุดท้ายจบอย่างมีความสุข ในตำแหน่งบรรดาศักดิ์เดียวกันนี้ ภายหลังจากกรำศึก ทั้งรบ ทั้งรัก จนติดหน้าจองอมแงมกันแม่เอย......


นำภาพ อ้ายเสมา กับแม่หญิงเรไร ภาคเป็นละครแสดงสด ครั้งแรก ออกอากาศที่สถานีไทยโทรทัศน์ช่อง ๔ บางขุนพรหม ปีพ.ศ. ๒๕๐๒ โดย อารีย์ นักดนตรี (แม่หญิงเรไร) กับ กำธร สุวรรณปิยะศิริ (เสมา) กำกับการแสดงโดย ทัต เอกทัต

(เครดิตภาพ วิกิพิเดีย)





บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 01:03

พระยารามจัตุรงค์ (เพง) มีเอกภรรยา ชื่อ ท่านผู้หญิงทองอยู่ เป็นภรรยาตั้งแต่เื่มื่ออยู่บ้านวังม่วง สระบุรี (แขวงกรุงเก่าเดิม)

น้องท่านผู้หญิงทองอยู่มีปรากฏชื่ออยู่ ๒ คนคือ

๑. นายบุนมา รับราชการเป็นที่ พระยารามคำแหง เจ้ากรมอาสาขวา (ทำราชการกับพี่เขย)

๒. นายบุนษา  ไม่สมักลงมารับราชการ พระยารามจัตุรงค์, ท่านผู้หญิงทองอยู่จึงให้ควบคุมผู้คนทำไร่นารักษา ช้าง ม้า โค กระบือ อยู่ ณ บ้านเดิมวังม่วง
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 01:07

พระยารามจัตุรงค์ และท่านผู้หญิงทองอยู่ มีบุตร๓ คน ดังนี้

๑.  บุตรชายที่ ๑ ชื่อนายเรือง สืบตระกูลต่อมาจนปัจจุบัน

๒. บุตรชายที่ ๒ ชื่อนายสิงโต ทำราชการในกรมพระราชวังที่ ๒ โปรดให้เป็นที่จมื่นศักบริบาล ปลัดกรมตำรวจ

๓. บุตรหญิงที่ ๑ ชื่อ คล้อย ทำราชการเป็น นางละคร ในรัชกาลที่ ๑ หรือ ๒ (ท่านเจ้าคุณผู้เขียนไม่แน่ใจ) และโปรดให้เป็นเจ้าจอมอยู่งาน
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 01:23


(แต่ข้อสังเกตุประการหนึ่ง คือ ญาติๆ ฝ่ายพระยาสีหราช เป็นทหารตำแหน่งฝ่ายขวา คืออยู่ในการบังคับบัญชาของ เจ้าพระยามหาเสนา ซึ่งท่านที่สอง (เจ้าพระยามหาเสนา ปลี) ก็ได้ร่วมรบกันมา, แต่ไม่แน่ใจว่า ขณะนั้น ตำแหน่ง เฝ้าขวา จะคุมทหาร หรือคุมหัวเมืองฝ่ายใต้ อย่างใดกันบ้าง แม้กระทั้งตำแหน่งพระยาสมบัติบาล ก็ดูแล กรมพระคลังในขวา ....... อืออออ เวลาเฝ้า ในท้องพระโรง จะได้หมอบอยู่ฝั้งเดียวกันกระมัง ฮืม??)



ต้องเป็น เจ้าพระยามหาเสนา ปิ่น ครับ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 11:38

ประวัติพระยารามจัตุรงค์ น่าจะจบลงแล้ว แต่หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ !  แม่หญิงเรไร แม่หญิงดวงแข แล อ้ายสมบุญ .............


ปรากฏว่า มีประวัติ พระยารามจัตุรงค์ อีก ๒ สำนวน ที่กล่าวถึง บุคคลคนเดียวกันนี้ อีก

๑. จากหนังสือแจกงานฌาปณกิจศพ นายจันทร์ สุรนันทน์ (ไม่ทราบปีพ.ศ.)

กล่าวว่า "พระยารามจัตุรงค์ เปน ขุนสุระสงคราม นายกองสักเลขอยู่ ณ ลำแม่น้ำป่าสัก (สมัยอยุธยา) ซ่องสุมผู้คนร่วมกับ นายบุญมา (กรมพระราชวังบวร ในรัชกาลที่ ๑ ) ร่วมมือกับเจ้าพระยาสุรสีห์ ? (กรมพระราชวังบวร) กำจัดพระยาสรรค์. เปน พระยาสีหราชเดโชชัย ในรัชกาลที่ ๑. เปน พระยารามจตุรงค์ ในรัชกาลที่ ๑    บุตรชื่อเรือง ขุนสินธนรัตนะ ? (ต้นฉบับไม่ชัดเจน)  ปลัดกรมม้า


ประวัติเจ้าคุณรามจัตุรงค์ จากทายาทสายนี้ ( นายจันทร์เป็นทายาทสายของนายเคล้ัา มหาดเล็ก, อาชีพทนายความ สมัยรัชกาลที่ ๕-๖ เป็นน้องคนละแม่ ของพระยาราชสัมภารกร เป็นพี่คนละแม่ของ พระยาสุรนันทน์ ) ต่างกับสำนวนพี่-น้อง ที่รายละเอียด และความเป็นมา,  คือได้เกี่ยวข้องกับ กรมพระราชวังบวร (วังหน้า) แทนที่จะเป็นวังหลัง ซึ่งได้ยกไปช่วยปราบปรามที่ยุทธภูมิ บ้านปูน และเจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นผู้ร่วมกำจัดพระยาสรรค์หรือไม่ ก็หาเอกสารอ้างอิงไม่พบ?

แต่ข้อน่าสังเกตุคือ เมื่อบ้านเมืองสงบสุขแล้ว พระยาสมบัติบาล (ด้วง) ก็ส่งบุตรสาว-บุตรชาย เข้ารับราชการ คือ

หญิงชื่อหง ทำราชการเป็นเจ้าจอมอยู่งานในพระบัณฑูรที่ ๒ (น่าจะหมายถึง กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข - วังหลัง )

ชายชื่อนายเสือ เป็นหมาดเล็กในกรมพระราชวังบวร (น่าจะหมายถึง กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท - วังหน้า)

จึงเป็นที่สับสนว่า บ้านนี้ ท่านส่งบุตรหลานแยกวังกัน หรือ ข้อมูลเพี้ยนกันบ้าง.......... นี่ขนาด คนในตระกูลเดียวกัน รายละเอียดยังผิดกันเลย .... ขอเชิญดูสำนวนที่สอง ของนักประวัติศาสตร์ไทยยุคก่อนนี้ครับ..........
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 14:00

บุตรชื่อเรือง ขุนสินธนรัตนะ ? (ต้นฉบับไม่ชัดเจน)  ปลัดกรมม้า
น่าจะเป็น ขุนสินพนรัตนะ ปลัดกรมม้า  มากกว่า 
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 16:01

๒. จากหนังสือ "ต้นตระกูลขุนนางไทย" โดยประยุทธ สิทธิพันธ์ (พ.ศ. ๒๕๐๕)

หน้า ๑๙๙

"วงศ์กระตูล พระยาสัมภารากร (เลื่อน)

ความเป็นมาแห่งวงศ์ตระกูลของพระยาสัมภารากร (เลื่อน) เจ้ากรมพระคลังราชการในรัชกาลพระพุทธเจ้าหลวงนี้ สืบสวนไปก็ได้ความไม่ยืดยาวนัก แต่ก็เป็นที่น่าสนใจอยู่มิใช่น้อย ลำดับความได้ดังนี้

เดิมทีนั้น พระยาจ่าแสนยากร (ทุเรียน) มีตำแหน่งทางราชการเป็นอธิบดีกรมมหาดไทยในพระบวรราชเจ้ามหาสุรสีหนาทในรัชกาลที่ ๑ พระยาจ่าแสนยากรมีบุตรชายชื่อกระแส ๆ ได้ถวายตัวทำราชการมหาดเล็กในวังหน้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนายนรินทรธิเบศร์มหาดเล็กหุ้มแพร และในตอนปลายรัชกาลที่ ๑ ได้เป็นหลวงนายเสน่ห์รักษานายเวรกรมมหาดเล็ก

ครั้นถึงสมัยพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์กรมพระราชวังบวรฯ ในรัชกาลที่ ๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาเสน่หาภูธร (กระแส) แต่บุญของท่านนี้น้อยได้ถึงแก่กรรมเสียก่อนในรัชกาลที่ ๒ พระยาเสน่หาภูธร (กระแส) มีบุตรชายชื่อ กระเสพๆ ก็ได้เจริญรอยตามบรรพบุรุษคือถวายตัวทำราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในวังหน้ารัชกาที่ ๓ และมีโอกาสไปทำศึกเวียงจันทน์กับเขาด้วยผู้หนึ่ง เมื่อเสร็จศึกแล้วได้มีตำแหน่งเป็นนายปรีดาราชมหาดเล็กหุ้มแพรวังหน้า

ครั้งกรมพระราชวังบวรฯ ล่วงลับไปแล้ว ข้าราชการวังหน้าจึงลงมาสมทบทำรารการในวังหลวง นายปรีดาราชหุ้มแพร(กระเสพ) นั้นได้เลื่อนเป็นนายจ่าสรวิชิต โปรดให้ไปกำกับพระคลังในซ้ายขวา เป็นผู้ช่วยราชการตรวจตราราชการทั้งสามคลัง ต่อมาเลื่อนเป็นหลวงอินทรเกษาปลัดกรม พระคลังราชการ จนตลอดรัชกาลที่ ๓

ถึงรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงอินทรโกษา(กระเสพ) เป็นพระยาพิพัฒนโกษา ได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยยศ มีพานทอง, คนโทน้ำ, กระโถน ล้วยเป็นทองคำ ด้วยเหตุว่าพระยาพิพัฒนโกษาผู้นี้เป็นผู้ที่เคยไปมาเฝ้าแหนคุ้นเคยสนิทสนมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ครั้งยังทรงผนวชประทับอยู่ ณ วัดบวรนิเวศ ถึงรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาอภัยพิพิธ (กระเสพ)

บุตรของพระยาอภัยพิพิธ (กระเสพ) มีหลายคนด้วยกัน แต่ที่ควรกล่าวมีคนเดียวคือ นายเลื่อนๆ ได้ถวายตัวทำราชการเป็นมหาดเล็กหลวงในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ครั้งยังทรงอยู่ ครั้นเมื่อรัชกาลที่ ๔ เสร็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายเลื่อนเป็นหมาดเล็กรายงานตรวจราชการพระคลัง ไม่นานก็เลื่อนเป็นนายรองสรรพวิไชยและพอถึงรัชกาลที่ ๕ ก็ได้เป็นพระยาสัมภารากร เจ้ากรมพระคลังราชการ"
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 17:37

คุณประยุทธ สิทธิพันธ์ นี้ ให้ข้อมูลว่า ต้นตระกูล สุรนันทน์ เป็นข้าหลวงวังหน้า

บรรดาศักดิ์ ตำแหน่ง พระยาจ่าแสนยากร ซึ่งเป็นตำแหน่งวังหน้า เทียบเท่าสมุหนายก (ศักดินา ๕๐๐๐) เป็นเบอร์สองรองจาก เจ้่าพระยามุขมนตรี (ศักดินา ๘๐๐๐ เพิ่มเป็น ๑๐๐๐๐ - เทียบเท่าสมเด็จเจ้าพระยา) ไปค้นๆ ดูปรากฏว่า พระยาจ่าแสนยากร (ทุเรียน) ตามที่คุณประยุทธ กล่าว ก็มีจริงในประวัติศาสตร์ (คนก่อนท่านในสมัยปลายกรุงเก่าคือ เจ้าพระยามหาเสนา (เสน) บิดาของ เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาก บุนนาค)

พระยาจ่าแสนยากรนี้ ปรากฏชื่อในพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ว่า ได้ออกศึกเมืองทวายมะริด (ตอนทวายเป็นกบฏ) กับสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) โปรดให้ต่อเรือรบอยู่ที่ ช่องสิงขร กับพระยาไกรโกษา พระยาิพิไชยบุรินทรา พระยาแก้วเการพ  ....... ตอนท้ายของพระราชพงศาวดาร บทนี้ กล่าวถึงวีระกรรมของ พระยาจ่าแสนยากร (ทุเรียน) ว่า ".....พระยาจ่าแสนยากร (ทุเรียน) รับพม่าแข็งแรง พม่าหาอาจล่วงเกินเข้ามาได้ไม่....." 

( - ผลการศึกครั้งนี้ ทำให้ สูญเสียเจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) เป็นผลให้ เจ้าพระยาพลเทพ (ปิ่น) เจ้าพระยาไชยวิชิต (บุนนาก บ้านแม่ลา) ได้เลืี่อนขั้น เป็นเจ้าพระยามหาเสนา (ปิ่น)  สมุหนายก และ เจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาก บ้านแม่ลา) ตามลำดับ )

บุตรหลานของพระยาจ่าแสนยากร ก็รับราชการในวังหน้ามาโดยตลอด เริ่มจากบุตรของท่านทุเรียน คือท่านกระแส รับราชการในกรมพระราชวังบวรฯรัชกาลที่ ๒ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ) เป็นที่ พระยาเสน่หาภูธร (กระแส)

และบุตรท่านกระแส คือท่านกระเสพ รับราชการในวังหน้า รัชกาลที่ ๓ (กรมพระราชวังบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ )  เป็นที่ นายปรีดาราช หุ้มแพร วังหน้า

เมื่อสิ้นวังหน้ารัชกาลที่ ๓ มิได้ทรงตั้งวังหน้าขึ้น ข้าราชการวังหน้าทั้งปวง ก็มาสมทบกับวังหลวง นายปรีดาราช หุ้มแพร เขาทำราชการในกรมพระคลังราชการ เลื่อนเป็น นายจ่าสรวิชิต กำกับพระคลังในซ้ายขวา และหลวงอินทรเกษาปลัดกรมพระคลังราชการ พอถึงรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาพิพัฒนโกษา และเปลี่ยนเป็นพระยาอภัยพิพิธ (กระเสพ) ในรัชกาลที่ ๕

สำหรับชื่อบุตรของท่านกระเสพ คุณประยุทธ กล่าวถึงท่านเดียวคือ พระยาสัมภารกร เจ้ากรมคลังราชการ ซึ่งที่ถูกต้องเป็น พระยาราชสัมภารกร (เลื่อน) เจ้ากรมคลังราชการในรัชกาลที่ ๕


ในบันทึกของคุณกรุ่ม สุรนันทน์ ไม่ได้ชี้ ตัดสิน ว่าท่านใดผิด ท่านใดถูกต้อง ซึ่งก็คงจะยาก เพราะอาจจะเป็นได้ทั้งสองทาง ผ่านมา ๒๐๐ ปีแล้ว เอกสารก็ตัวจริงสืบทอดต่อมา (ในวงศ์ตระกูล แลนักประวัติศาสตร์ ) ฉนั้น ท่านจึงนำเสนอและรวบรวม ข้อมูลที่มีคนกล่าวถึงไว้เท่านั้น ..........





บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 18:38

สรุป พระยารามจัตุรงค์ (ต้นตระกูล สุรนันทน์)

จากเอกสาร พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน) = เดิมชื่อเพง พี่้ชื่อด้วง น้องชื่อสุร เป็นขุนสุระสงคราม - พระยาสีหราชเดโชไชย - พระยารามจัตุรงค์ รับราชการวังหลวง, บุตรชื่อเรือง (นายพลพ่าย หุ้มแพร)

จากเอกสาร พระยาสุรนันทิวัทธกุล (กริ่ม) = เดิมชื่อสุระ พี่น้องไม่ปรากฏชื่อ เป็นขุนสุระสงคราม - หลวงสุระสงคราม - พระยาสีหราชเดโชไชย - พระยารามจัตุรงค์ รับราชการวังหลวง, บุตรไม่ปรากฏชื่อ เป็น ขุนศรีกันถัด

จากเอกสาร ทายาทนายเคล้า สุรนันทน์ = เดิมไม่ปรากฏชื่อ เป็น ขุนสุระสงคราม - พระยาสีหราชเดโชไชย - พระยารามจัตุรงค์ รับราชการวังหลวง, บุตรชื่อเรือง (ขุนสินพนรัตน์)

จากเอกสาร ต้นตระกูลขุนนางไทย = เดิมชื่อทุเรียน เป็นพระยาจ่าแสนยากร รับราชการวังหน้า, บุตรชื่อกระแส (พระยาเสน่หาภูธร)


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 28 มิ.ย. 12, 19:25

สาแหรก......


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 30 มิ.ย. 12, 07:14

สุรนันทน์ ชั้นที่ ๒

ปรากฏชื่อดังนี้คือ


บุตร พระยาราชสมบัติบาล   ๑. หญิงชื่อทองคำ ๒. เจ้าจอมหง ในกรมพระราชวังหลัง? ๓. หลวงวิจิตรภูษา (บุญมี) ๔. มหาดเล็กเสือ ในกรมพระราชวังบวร


บุตร พระยารามจัตุรงค์ และท่านผู้หญิงทองอยู่ ๑.  ชื่อนายเรือง สืบตระกูลต่อมาจนปัจจุบัน  ๒. จมื่นศักบริบาล (สิงโต) ๓. เจ้าจอมคล้อย ในรัชกาลที่ ๒


ุบุตรจมื่นทิพรักษา ที่ ๑ ชื่อ พลายเพ็ช ที่ ๒ ชื่อพลายบัว บุตรที่ ๓ ชื่อ นายน่วมเรือง


ทั้งหมดปรากฏประวัติสืบต่อมาเฉพาะนายเรือง บุตรเจ้าคุณราจัตุรงค์ เพียงคนเดียว..........



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง