เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 48938 อยากทราบประวัติ คุณกรุ่ม สุรนันทน์
PAOPAI
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


 เมื่อ 10 พ.ค. 12, 23:51

ทราบมาจากท่านผู้รู้ในเว๊บนี้ว่าคุณกรุ่ม เป็นนักประวัติศาสตร์, นักสะสมหนังสือคนสำคัญคนหนึ่งของไทย และถึงแก่กรรมไปแล้ว ทำให้เกิดความสนใจและอยากทราบประวัติของท่านเพิ่มขึ้นครับ โดยส่วนตัวทราบแต่เพียงว่าท่านเป็นบุตรของพระภูมิสวามิภักดิ์ (เกริ่ม) และเป็นหลานของ พระยาสุรนันทน์นิวัธน์กุล (กริ่ม)เท่านั้น
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 00:33

ผมเองอยู่กับท่าน ๓ วันสุดท้ายก่อนที่ท่านจะถึงแก่กรรม ท่านมองตาเหมือนจะสั่งเสีย แต่ก็พูดไม่ได้แล้ว ผมได้แต่เดินน้ำตาไหลออกจากบ้านท่าน มาทราบอีกคุณกรัณฑ์น้องสาว กับพี่ปรีดา คนที่ดูแลท่านอยู่ ก็จัดการเสียศพเป็นที่เรียบร้อย และเกิดมหากาพย์ เรื่องมหาสมบัตินักสะสมตามมา ซึ่งผมก็ไปได้รู้จากคนอื่นในตอนหลัง.........

คุณกรุ่ม ตัวท่านเองเป็นนักเก็บสะสมจริงๆ .......... แต่ความจริง ต้องเรียกว่า ตระกูลนักสะสม เพราะท่านไม่ได้หาเก็บมาชั่วคนเดียว บรรพบุรุษท่านเก็บไว้นับได้ไม่ต่ำกว่า ๔-๕ ชั่วคนก่อนแล้ว ตัวท่านเองก็เก็บสะสมประวัติศาสตร์จากรุ่นสู่รุ่น ทั้งหนังสือ พระเครื่อง เหรียญกษาปน์ แสตมป์ เอกสารประวัติศาสตร์ ฯลฯ นับไม่ถ้วน เวลาไปพบท่าน ท่านก็เล่า เืรื่องต่างๆ ให้ฟังมากมาย  เกี่ยวกับของที่ท่านสะสมไว้ และเรื่องในประวัติศาสตร์(จำได้บ้าง ลืมบ้างน่ะครับ จะ ๑๐ ปีล่วงมาแล้ว) ท่านมีวิธีการเก็บสะสมที่น่าสนใจและน่าเอาเป็นแบบอย่างทีเดียวครับ

ผมพยายามจะรวบรวมเรื่องการเก็บสะสมของท่าน กำลังรอเอกสารบางส่วนจากผู้ที่ได้รับซื้อเอกสารส่วนตัวของท่านไว้อยู่ ถ้ารวบรวมได้เมื่อใด จะมาเล่าสู่กันฟังครับ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 00:42

ลายเซ็นต์คุณกรุ่ม สุรนันทน์   


(ต้องขออภัย ผมเผลอ เติมสระ ะ ที่นามสกุลท่าน ไปในกระทู้นามสกุล พลาดอย่างไม่น่าในอภัย  รูดซิบปาก )


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 07:06

เท่าที่ได้ฟังจากปากคุณกรุ่ม หรือ "ต๋อย" ของเพื่อนๆ  ท่านเล่าว่าบรรพบุรุษของท่านได้ถวายตัวรับราชการต่อเนื่องกันมาแต่รัชกาลที่ ๑  เมื่อท่านเยาว์วัยนั้นได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในล้นเกล้าฯ รัชกาลี่ ๗  แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปเล่าเรียนที่วชิราวุธวิทยาลัย  จนจบชั้น มัธยมปีที่ ๘  รุ่นเดียวกับ หม่อมเจ้าพิริยดิศ  ดิศกุล  และหม่อมเจ้าภีศเดช  รัชนี  แล้วไปเรียนต่อที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เนื่องจากคุณกร่มท่านมิได้สมรส  จึงมีแต่เพื่อนนักเรียนวชิราวุธที่เป็นเหมือนญาติสนิท  ในบั้นปลายชนม์ชีพ หม่อมเจ้าพิริยดิศ  ดิศกุล ยังได้ทรงมอบหมายให้บุตรของท่านชายรับเป็นอุปัฏฐากดูแลคุณกรุ่มในยามที่ท่านชายสิ้นชีพิตักษัยไปแล้ว
บันทึกการเข้า
PAOPAI
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 07:12

ลายเซ็นนี้ ใช่เลยครับ เวลาไปตามร้านหนังสือเก่า จะเจอหนังสือที่มีลายเซ็นนี้อยู่เป็นจำนวนมาก โดยที่หนังสือแต่ละเล่มมีสภาพดีมากด้วย แสดงให้เห็นว่าเจ้าของท่านทะนุถนอมหนังสือเป็นอย่างดี น่าใจหายครับที่ต้องมากระจัดกระจายไปแบบนี้ ยังเคยสงสัยว่าจะเป็นลายเซ็นของคุณพระภูมีฯหรือเปล่า? มาทราบแน่นอนจากคุณ piyasann นี่เองว่าเป็นลายเซ็นคุณกรุ่ม ขอบพระคุณครับ

ท่านถึงแก่กรรมเมื่อปีไหนครับ คุณ piyasann
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 07:21

ขอยกข้อความที่ คุณ V_mee เคยลงประวัติตระกูลสุรนันทน์ไว้ที่พันทิป ดังนี้

พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน  สุรนันทน์) อดีตข้าหลวงสามหัวเมือง ณ เมืองนครเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงประวัติต้นสกุลสุรนันทน์ไว้ใน "ราชสัมภารากรชิขิต" ว่า

เมื่อกรุงแตก นายเพง  นายด้วง นายสุจ สามพี่น้องสกุลพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช ขึ้นมาทำธุระที่กรุงศรีอยุธยา  เมื่อผ่านมาทางเมืองเพชรบุรี  ได้พบและฝากตัวกับหลวงยกรบัตร (ทองด้วง - รัชกาลที่ ๑)  เมื่อมาถึงกรุงศรีอยุธยา  ประจวบเวลาเสียกรุงแก่พม่า  จึงถูกพม่าจับกุมและนำตัวลงเรือล่องลงมาตามลำน้ำเจ้าพระยา  มาถึงตำบลบางเขนแขวงเมืองนนทบุรี  ทั้งสามพี่น้องได้คิดอุบายฆ่าพม่าที่คุมตัวมา  จมเรือแล้วพากันขึ้นบกพร้อมครัวไทยที่พม่าเกณฑ์มา  ไปตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่บ้านวังม่วงแขวงเมืองสระบุรี

ครั้นพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เป็นกษัตริย์  ทรงตั้งหลวงยกรบัตร(ทองด้วง) เป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจ  แล้วเลื่อนเป็นพระยายมราชว่าการกรมมหาดไทย  นายเพงจึงได้ฝากตัวเข้าทำราชการ  พระยายมราชตั้งให้นายเพงเป็นขุนสุระสงครามนายกองเลกกองนอกในแขวงป่าสักตั้งแต่บ้านวังม่วขึ้นไปทั้งสิ้น  ถึงปีจุลศักราช ๑๑๓๓ (น่าจะเป็น ๑๑๔๔ หรือ พ.ศ. ๒๔๒๔) เมืองเขมรแปรพักตร์ไม่ยอมสวามิภักดิ์กรุงธนบุรี  พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดให้พระยายมราชซึ่งได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาจักรีที่สมุหนายก  และเลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตรศึกคราวชนะศึกเมืองลาว  เป็นแม่ทัพยกออกไปปราบ

เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตรศึกยกกองทัพออกไปรบติดพันอยู่ทีเมืองเสียมราฐ  พระยาสุริยอภัย เจ้าเมืองนครราชสีมาได้มีหนังสือลับบอกไปยังสมเด็จเจ้าพระยาฯ ว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีพระสัญญาวิปลาส  ราษฎรทั้งหลายได้รับความเดือดร้อน  เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาฯ ทราบความแล้วก็ได้มีหนังสือตอบให้พระยาสุริยอภัยลงไปฟังเหตุที่กรุงธนบุรีก่อน  แล้วจึงจะยกกองทัพกลับตามเข้ามาภายหลัง

พระยาสุริยอภัยเมื่อลงมาถึงกรุงธนบุรีและทราบชัดว่าจะเกิดจราจลขึ้นเป็นแน่  จึงส้องสุมเสบียงอาหาร  เกลี้ยกล่อมผู้คนตั้งมั่นอยู่ที่บ้านปูนสวนมังคุต    ครั้นพระเจ้ากรุงธนบุรีทราบว่าพระยาสุริยอภัยรวบรวมผู้คนตั้งมั้นก็มีพระบัญชาให้กรมขุนอนุรักษ์เทเวศร์และพระยาสรรคบุรีที่ลงมารับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี  คุมไพร่พลขึ้นไปจับพระยาสุริยอภัย  

ฝ่ายขุนสุรสงครามซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่บ้านวังม่วงทราบข่าวว่า กรุงธนบุรีเกิดการจราจล  ในขฯเดียวกันกรมขุนอนุรักษ์สงครมและพระยาสรรค์ยกทัพขึ้นมารบกับพระยาสุริยอภัย  จึงได้ชักชวนนายบุนนากซึ่งเป็นผู้ใหญอยู่ที่บ้านแม่ลายกกำลังลงมาถึงจวนพระพระพิชิตณรงค์ผู้รักษากรุงเก่า  ซึ่งตั้งเร่งเงินอยู่  บุนสุรสงครามและนายบุนนากคุมไพร่พลกรูเข้าจับพระพิชิตณรงค์กับกรมการผู้ใหญ่หลายคนมัดไว้  เมื่อสอบถามว่ารู้เรื่องที่เกิดจราจลในกรุงธนบุรีหรือไม่  พระพิชิตณรงค์ก็รับว่ารู้และนิ่งเสีย  ถามว่าตัวจะมีความผิดหรือไม่  ผู้รักษากรุงก็นิ่งไม่ตอบว่ากระไร  ขุนสุรสงครามและนายบุนนากจึงให้ประหารชีวิตผู้รักษากรุงนั้น  แล้วยกทัพล่องลงมาบางกอกจะมาสมทบกับพระยาสุริยอภัย

เมื่อความทราบมาถึงกรุงธนบุรี  พระเจ้ากรุงธนบุรีได้มีรับสั่งให้เจ้าพระยามหาเสนาและพระยารามัญวงษ์คุมทหารขึ้นไปช่วยกรมขุนอนุรักษ์เทเวศร์และพระยาสรรค์ตีบ้านพระยาสุริยอภัยให้แตกแล้วรีบยกขึ้นไปจับผู้ร้ายที่ฆ่าผู้รักษากรุงเก่า  ข้างขุนสุรสงครามและนายบุนนากยกกองลงมาถึงบ้านพระยาสุริยอภัย  เห็นกำลังรบกันเป็นสามารถ  ข้างฝ่ายพระยาสุริยอภัยกำลังจะเสียทีจึงยกไพร่พลเข้าตีกระหนาบทัพกรมขุนอนุรักษ์เทเวศร์และพระยาสรรค์  ไพร่พลพระยาสรรค์บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก  พระยาสรรค์เห็นแล้วเกิดความท้อถอยจึงยอมเข้าวสามิภักดิ์กับขุนสุรสงคราม  ข้างฝ่ายทัพกรมขุนอนุรักษ์เทเวศร์ก็ถูกโจมตีจวนเจียนจะเสียที  กรมขุนอนุรักษ์เทเวศร์ก็ขับไพร่พลแหกด่านออกไปได้

ขุนสุรสงครามและนายบุนนากได้นำพระยาสรรค์เข้าสวามิภักดิ์ต่อพระยาสุริยอภัย  และแจ้งความประสงค์ที่จะช่วยกอบกู้บ้านเมืองให้ทราบ  ข้างฝ่ายพระยาสรรค์ได้อาสากระทำการล้างโทษ  โดยรับอาสาคุมไพร่พลไปตีกรุงธนบุรีไว้ถวายแด่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริ์ศึก  พระยาสุริยอภัยจึงให้พระยาสรรค์คุมไพร่พลไปตีกรุงธนบุรีได้แล้ว  เกิดตระบัดสัตย์  หมายจะเอาราชสมบัติเสียเอง  จึงคิดกับหลวงแพ่งผู้น้องและขุนนางเก่าหลายคนให้สึกพระเจ้ากรุงธนบุรีออกพันธนาการไว้  แล้วให้ตั้งกองประจำรักษาหน้าที่เชิงเทินเป็นกวดขัน  ฝ่ายพระยาสุริยอภัยทราบว่าพระยาสรรค์คืนคำก็มีใบบอกข้อราชการออกไปกราบเรียนสมเด็จเจ้าพระยาฯ ร เมืองนครเสียมราฐ  ครั้นสมเด็จเจ้าพระยาฯ ทราบข้อความตามใบบอกนั้นตลอดแล้ว  เกรงว่าสมณชีพราหมณ์ประชาราษฎรจะได้รับความลำบากจึงยกทัพหลวงกลับคืนมายังกรุงธนบุรี

ครั้นทัพหลวงกลับถึงกรุงธนบุรี  พระยาสรรค์ให้มีใจครั้นคร้ามพระเดชานุภาพยิ่งนัก  ก็ออกมากราบถวายบังคมพร้อมด้วยขุนนางข้าราชการทั้งหลายในที่ประชุม  จึงโปรดให้พิพากษาโทษผู้กระทำผิด  ประหารชีวิตเสียให้เป็นแบบอย่าง  เสร็จแล้วมุขมนตรีทั้งหลายได้พร้อมกันกราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ  ครั้นปราบดาภิเษกเสร็จแล้ว  โปรดให้ขุนสุรสงครามเป็นพระยาสิงหราชเดโชไชย  ถือศักดินาหมื่นหนึ่ง  ภายหลังชราลงโปรดให้เลื่อนเป็นพระยารามจัตุรงค์  จางวางได้ว่าราชการทหารอาสา ๖ เหล่า ๘ เหล่า  นายด้วงเป็นพระยาสมบัติบาล เจ้ากรมพระคลังในขวา  นายสุจ เป็นจมื่นทิพรักษา ปลัดกรมตำรวจสนมขวา
    
พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน  สุรนันทน์) ผู้บันทึกเรื่องนี้เป็นบุตรคนใหญ่ของพระยาอภัยพิพิธ (เสศ  สุรนันทน์)  ซึ่งเป็นบุตรของนายพลพ่าย หุ้มแพร (เรือง  สุรนันทน์)  บุตรชายคนใหญ่ของพระยารามจัตุรงค์

ผู้ที่ประหารชีวิตพระยาสรรค์นั้นน่าจะเป็นพระยารามจัตุรงค์  เพราะดาบที่ใช้ฟันคอพระยาสรรค์นั้นได้ตกทอดมาในสายสกุลสุรนันทน์จนถึงคุณกรุ่ม  สุรนันทน์ ผู้เป็นบุตรพระภูมีสวามิภักดิ์ (เกริ่ม  สุรนันทน์)  บุตรพระยาสุรนันท์นิวัทกุล (เกริ่ม  สุรนันทน์)  ซึ่งเป็นน้องต่างมารดาของพระยาราชสัมภารากร เป็นที่สุด  เมื่อคุณกรุม  สุรนันทน์เสียชีวิตโดยไม่มีผู้สืบสกุล  จึงไม่ทราบว่าดาบนั้นตกไปอยู่ที่ผู้ใด

ที่มา http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/01/K10192039/K10192039.html
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 10:10

ลายเซ็นนี้ ใช่เลยครับ เวลาไปตามร้านหนังสือเก่า จะเจอหนังสือที่มีลายเซ็นนี้อยู่เป็นจำนวนมาก โดยที่หนังสือแต่ละเล่มมีสภาพดีมากด้วย แสดงให้เห็นว่าเจ้าของท่านทะนุถนอมหนังสือเป็นอย่างดี น่าใจหายครับที่ต้องมากระจัดกระจายไปแบบนี้ ยังเคยสงสัยว่าจะเป็นลายเซ็นของคุณพระภูมีฯหรือเปล่า? มาทราบแน่นอนจากคุณ piyasann นี่เองว่าเป็นลายเซ็นคุณกรุ่ม ขอบพระคุณครับ

ท่านถึงแก่กรรมเมื่อปีไหนครับ คุณ piyasann

ลายเซ็นต็คุณพระภูมีสวามภักดิ์ (เกริ่ม สุรนันทน์) ครับ

ลายเซ็นนี้ จะเห็นในหนังสือยุคปลายรัชกาลที่ ๕ หนังสือที่ออกในยุครัชกาลที่ ๖ และ ๗ มากมาย ท่านจะเซ็นว่า นาย เกรมิ่ คือ สระ อิ และ ไม้เอก จะไปตกอยู่แถวๆ ตัว ม ม้า   ลายเซ็นต์นี้ จะอยู่ที่ด้านบนของหน้ากระดาษ หน้าขวามือ ท่านมีวิธีจำว่า จะเขียนอยู่ที่หน้าไหน เพื่อให้รู้ว่า เป็นสมบัติของท่าน (คุณกรุ่มเคยเล่าให้ฟัง แต่ด้วยความที่เป็นเด็กอายุเพิ่งจะ ๒๐ เลยไม่ไ่ด้จดจำ)

คุณกรุ่มถึงแก่กรรม น่าจะประมาณปีพ.ศ. ๒๕๔๕- ๔๖ ครับ


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 10:29

เรื่องดาบของพระยาสีหราชเดโช หรือขุนสุระสงครามนี้ เป็นดาบที่ถอดด้ามออกตามความเชื่อของไทย แขวนอยู่บนข้างฝาห้องพระของคุณกรุ่ม มีอยู่ ๓ เล่ม ถ้าจำไม่ผิดเป็นของขุนสุระฯ ๒ เล่ม และของบรรพบุรุษสกุลหงสกุล ๑ เล่ม เล่มบนสุดเป็นของขุนสุระฯ ที่ใช้จับตัว พระยาสรรค์  ดูแล้วไม่มีอะไรพิเศษบอกได้เลย........ ถ้าไม่สามารถสืบหาคนที่ปลดดาบออกจากที่เดิมได้ก็ไม่สามารถระบุได้ว่า เล่มไหนเป็นอะไร? ก็คงกลายเป็นดาบขึ้นสนิท เล่มหนึ่งเท่านั้น...........

อีกสิ่งหนึ่งที่ จะเรื่องราวจะสูญหายไปคือ ปั้นชา ของพระเจ้าตาก เป็นกาน้ำชาโบราณสีกะปิ เลี้ยมทองเหลือง ธรรมด๊า ธรรมดา เอง แต่กาใบนี้ มีประวัติว่า พระเจ้าตาก เคยใช้ทรงอยู่ ถูกเก็บไว้ในตู้ในห้องพระ พอออกจากตู้แล้ว ก็ไม่อาจระบุได้ครับ ประวัติศาสตร์ ที่ติดกับสิ่งของ ก็พลันสูญหายไป..........

(รูปตัวอย่าง จากเว็บไซด์ ที่เสิร์จ ได้จากกูเกิ้ล ลักษณะคล้ายกัน)


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 10:30

ตัวอย่างลายมือของ คุณกรุ่ม สุรนันทน์ (เผือท่านใดเจอลายมือเช่นนี้ จะได้ทราบว่า เป็นลายมือท่าน เป็นเอกลักษณ์ จำง่าย)

ขอขอบคุณสยามบรรณาคม ที่กรุณาใ้ห้เอกสารมาเผยแพร่ครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 10:31

ตัวอย่างลายมือของ คุณพระภูมีสวามิภักดิ์ (เกริ่ม สุรนันทน์) เผือท่านใดเจอลายมือเช่นนี้ จะได้ทราบว่า เป็นลายมือท่าน


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 10:44

ตัวอย่างลายมือของ พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม สุรนันทน์) เผือท่านใดเจอลายมือเช่นนี้ จะได้ทราบว่า เป็นลายมือของท่าน


เจ้าคุณสุรนันทน์ นี้ เป็นพระพี่เลี้ยง ในสมเด็จพระบรมฯ องค์ใหญ่ ,ทูลหม่อมแดง, พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช (น่าจะอีกหลายพระองค์)  

แต่องค์ที่ทรงติดท่านเ้่จ้าคุณมากคือ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์ฯ  เช่น เมื่อคราวเสด็จฯ ประพาสยุโรป ร.ศ. ๑๒๖ ทรงมีจดหมายจากในเรือมาถึง ท่านเจ้าคุณฯ ขณะยังเป็นหลวงนายเดช ว่า


"คิดถึงมาก หวังใจว่า แกคงจะยังไม่ตายเสียก่อนเด็จกลับไปเปนแน่.........มาในเรือมหาจักรีเงียบเหลือเกิน ถ้าแกมาจะได้เล่านิทาน"  ลงพระนาม อุรุพงษ

ตัวท่านเจ้าคุณฯ มีชีวิต ยืนยาว ผ่านงานพระศพ เจ้านายที่ท่านเป็นผู้ดูแลทุกคน แม้แต่ คุณพระภูมีฯ บุตรท่าน ก็เสียชีวิตก่อนท่าน ต้องเรียนกว่า พระองค์อุรุพงษ์ ทรงให้พรไว้ ......


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 10:51



หมู่ขันครั่นคร้ามใจนัก  เมื่อเห็นท่ารำไหว้ครูของไอ้หนุ่มสวนกล้วยไม้
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 11:24

ส่วนหนึ่งของเอกสารที่ คุณกรุ่ม และบรรพบุรุษ เก็บรักษาไว้ (ผมขออนุญาตถ่ายเอกสาร ไว้อีกทีหนึ่ง ถึงเหลืออยู่แบบ ขาว-ดำ)

มีคำถามครับ คำว่า "หนังสือพิมพ์" เีริ่มมีใช้ครั้งแรกเมื่อใด ? ก่อนหน้า ร.ศ. ๑๑๒ หนังสือหรือวารสาร ที่พิมพ์ออกมา ใช้ชื่อว่า "หนังสือพิมพ์" หรือยัง?

คุณกรุ่มเล่าว่า "หนังสือพิมพ์ราชกุมาร" เจ้านายที่ทรงเีรียนโรงเรียนราชกุมาร ในพระบรมมหาราชวัง ทรงช่วยกันเขียน (และเป็น บรรณาธิการ - แม่แวร ) ออกอยู่ได้ไม่นาน ก็เลิกไป เพราะเครื่องพิมพ์เสีย ดัีงเอกสารแจ้ง ........ หนังสือพิมพ์นี้เป็นหนังสือสำคัญ เพราะเจ้านายหลายพระองค์ ทรงนิพนธ์เรื่องต่างๆ มาลงไว้ (น่าจะเป็นเรื่องนิทานทรงแต่ง สมัยยังทรงพระเยาว์ และอาจจะเป็นข่าวในพระราชสำนักสำหรับเจ้านายทีทรงพระเยาว์ เป็นต้น - อันนี้ คุณกรุ่ม ก็สันนิษฐานเอา ไม่ทราบท่านถามเจ้าคุณปู่หรือไม่ ) ท่านใดมีเอกสารนี้อยู่บ้างไหมครับ?


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
PAOPAI
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 15:56

ได้รับความรู้เรื่องดาบโบราณและป้านพระสุธารสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเพิ่มขึ้นมาด้วย ขอขอบพระคุณคุณ piyasann และทุกๆท่านครับ
ขออนุญาตนำรูป พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล กับ พระภูมีสวามิภักดิ์ มาลงไว้ครับ สองภาพนี้ได้มาจากหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพของท่าน
ถ้าคุณ piyasann มีรูปคุณกรุ่มและนำมาลงไว้ด้วยก็จะยิ่งดีครับ กระทู้นี้จะได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผู้ที่ไม่เคยมีโอกาสพบคุณกรุ่ม จะได้เห็นและเป็นเครื่องรำลึกถึงท่าน
(ถ้าหากนำไปรวมกับรูป พระยาอภัยพิพิธ (เศษ) ในกระทู้ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ ในเว๊บนี้ ก็จะได้รูปบุคคลในตระกูลสุรนันทน์รวม ๔ ชั่วคนพอดี)
บันทึกการเข้า
PAOPAI
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 11 พ.ค. 12, 16:01

รูป มหาเสวกตรี พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล (กริ่ม สุรนันทน์) ถ่ายเมื่อยังเป็นพระยาบำรุงราชบริพาร (ภาพนี้ท่านมอบให้พระพี่เลี้ยงหวน อนุภาณศิษยานุสรรค์ บุตรีของท่าน)


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 20 คำสั่ง