เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 49124 อยากทราบประวัติ คุณกรุ่ม สุรนันทน์
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 21:33

"จนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกยเสด็จเข้ามาปราบดาภิเษก เสวยศิริราชสมบัติณกรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนที่หลวงสุระสงคราม ขึ้นเปนพระบาสีหราชเดโชไชยๆ จึงยกครอบครัวมาตั้งบ้านเรือนอยู่ ตำบลบ้านตนาวริมถนนเฟื้องนครกับถนนศิริอำมาตย์ต่อมา

ทรงใช้สรอยเปนที่ไว้วางพระราชหฤทัยสนิทสนมมาก เมื่อเสด็จพระราชดำเนินในการพระราชสงครามคราวใด ก็ได้ตามเสด็จด้วยทุกครั้ง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้วฯ ให้เปนเจ้าพนักงานรักษาประตูค่ายน่าพลับพลาเสมอ ครั้นต่อมาทรบพระกรุณาโปรดเกล้าเลื่อนที่ขึ้นเปนพระยารามจตุรงจางวางอาษาหกเหล่า ได้พระราชทานทองกบี่ฝักทองแคร่กันยาเปนเกียรติยศ แล้วป่วยเปนลมอำมภาศถึงแก่กรรมในรัชกาลที่หนึ่ง แต่จะมีบุตร์หลานกี่คนไม่ปรากกแน่"


"เสร็จแล้วจึ่งมุขมลตรีทั้งหลายพร้อมกันกราบถวายบังคมทูลอัญเชิญเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัรเปนหลายครั้ง จึ่งทรงรับอาราธนา ครั้นตั้งการพรราชพิธีปราดาเสร็จแล้ว จึ่งพรราชทานบำเหน็จแก่ผู้มีความชอบเปนอันมาก โดยถานาศึกสมควนแก่ความชอบจึ่งโปรดให้ขุนสะระสงครามเปนพรยาสิงหราชเดโชไชย ถือศักดิ์นาหมื่นหนึ่ง พระราชทารถาดหมาก กราโถนทองคำ ประคำทอง ดาบฝักทองจำหลัก เสื้อหมวกทรงประภาด สัปรทนโตะเงินกับข้าวของกิน คนเชลย ชาย หญิง ที่บ้านนอกกำแพงด้าน ตะวันออกริมคลองคูพรนคร แต่ช่องกุดล่างจนช่องกุดบนทีเปนสภานเหลก ถนนเจริญกรุงทุกวันนี้ ผ่ายหลังชราลงทรงเหนว่ายังไม่สมควรแก่ความชอบ จึ่งโปรดเลื่อนยศขึ้นเป็นพรยารามจัตุรงค์ จังวางได้ว่าทหารทั้ง อาษา ๖ ๘ เหล่า ศักดินาเครื่องยศเดิมพรรยาท่านชื่อท่านทองอยู่ เปนท่านผู้หญิง

ครั้นต่อมาโปรดตั้งนายด้วง ผู้พี่เปนพรยาสมบัติบาล เจ้ากราพรคลังไนขวา โปรดตั้งนาสุจผู้น้องเปนจมื่นทิพรักษา ปลัดตำหรวจกรมสนมขวา

โปรดตั้งให้นายบุนมาน้องรองท่านผู้อยิงทองอยู่ เปนที่พระยารามคำแหง เจ้ากรมอาษาแปดเหล่า

อนึ่งนายขุนทองอยู่ที่บ้านท่าช้างฝั่งตะวันตกแควป่าศักครังแผ่นดินเจ้าพระนคอรธนบุรี เจ้าพระยาจักตรี ตั้งให้เปนที่ขุนสัจาบรักษ นายกองเลข สม ทนาย เมื่อไปทัพเมืองณครเสียมราปได้ตามไปด้วย ครั้นได้ราชสมบัติโปรดยกความชอบตั้งให้เปนที่พระยาท้ายน้ำได้พระราชทานเครื่องยศถาดมาก คนโฑ กระโถน ปรคำทองคำ เครื่องทรงประพาด สัปทน ดาบฝักทอง ที่บ้านในกำแพงริมคลองแต่เชิงสภาบช้าง ถึงริมถนนเจิรญกรุงเปนสี่เหลี่ยมที่ตั้งโรงหวยทุกวันนี้ ครั้นผ่ายหลังพระยาสมบัติบาล ท่านผู้หญิงทองดีพรรยา มีบุตที่ ๑ หญิงชื่อทองคำ บุตที่ ๒ หญิงชื่อหง ทำราชการเปนเจ้าจอมอยู่งานในพระบันฑูลที่ ๒ บุตที่ ๓ ชื่อนายบุนมีพระบันฑูลที่ ๒ ตั้งให้เปนที่หลวงวิจิตรภูษา ในกรมภูษามาลา บุตที่ ๔ ชื่อนายเสือเปนหมาดเลกไนกรมพระราชวังบวรแต่บุตพรรยาน้อยจะมีอีกกี่คนมิได้ปรากจ"



บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 21:35

แต่หน้านี้ต่อไป เป็นประวัติของบุคคลในตระกูล สุรนันทน์ ซึ่งประดิพัทธ์พัวพันกันหลายหลาก ......... จะเขียนก็เกรง จะมึนหัวปวดขมอง จึงขอยกยอด ขึ้นเรื่อง สกุล สุรนันทน์ ที่คุณ กรุ่ม ได้รวบรวมไว้ เป็นคนๆ จะเหมาะกว่า........................
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 21:45

ภาพพระภูมีสวามิภักดิ์และครอบครัวนั้น  ที่มุมล่างขวาของภาพมีลายมือเชียนไว้ว่า "ราชสาทิศ"
เป็นพยานยืนยันว่า ภาพนี้เป็นภาพถ่ายที่ร้านหลวงในงานฤดูหนาว พ.ศ. ๒๔๖๖ ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงฉาย
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 23:00

หน้าปก .......

ผมขอเล่าเก็บความจากในหนังสือเล่มนี้แทนการลอกมาทั้งหมดครับ สำหรับประวัติเมื่อครั้งวีระกรรมขุนสุระ หรือพระยาสีหราชเดโชไชย หรือพระยารามจัตุรงค์นี้ เห็นว่าน่าสนใจ และมีเอกสารเปรียบเทียบจึงเห็นควรนำลงให้อ่าน กึ่งฉบับ ในตอนสนุก ส่วนตอนท้าย ว่าด้วยประวัติบุตรหลาน ขอเขียนใหม่ ให้อ่านง่ายครับ ..........



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 23:17

ตามหนังสือประวัติตระกูล กล่าไว้ว่า  "สุรนันทน์" สืบเชื่อสายมาจากพราหมณ์ โหราจารย์ ในโบสถ์พราหมณ์ เทวสถานพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ในเมืองนครฯ (ถนนราชดำเนิน)


สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาพันธุวงศ์วรเดช ได้อธิบายสภาพของหอพระอิศวร ใน พ.ศ.๒๔๒๗ ไว้ในหนังสือชีวิวัฒน์ความตอนหนึ่งว่า (เครดิต คุณนภดล ในกระทู้เรือนไทย)
         
"...ข้างโบสถ์ด้านเหนือมีหอมุงกระเบื้องเฉลียงรอบตัวอยู่หลังหนึ่ง เป็นที่พวกพราหมณ์อาศัย ที่ลานโบสถ์นั้นมีเสาชิงช้าอันหนึ่งสูงประมาณ ๓ วา ที่เทวสถานนั้นมีพวกพราหมณ์นุ่งขาวอยู่หลายคน..."

ในจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ ของสักขี (พ.ศ.๒๔๕๘) ปรากฏความตอนหนึ่งว่า
         
"........ รูปแบบของหอพระอิศวรในปัจจุบันมีลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๘.๕๐ เมตร สูงจากฐานประมาณ ๙ เมตร ก่ออิฐถือปูนยกพื้นสูงเฉพาะตัวอาคารกว้าง ๔.๒๐ เมตร ยาว ๘.๙๐ เมตร ด้านหน้าก่อผนังทึบ ด้านข้างทั้ง ๒ ข้าง มีหน้าต่างข้างละ ๑ ช่อง ด้านหน้าเป็นประตุเข้า ๑ ช่อง โดยรอบเป็นระเบียงลูกกรงไม้ ห่างจากผนัง ๑.๓๐ เมตร หลังคาเป็นรูปทรงไทย มุงกระเบื้องดินเผา มีหางหงส์และใบระกา ด้านหน้าเป็นมุขลดหลั่นลงมา

ในทำเนียบข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราชครั้งรัชกาลที่ ๒ ระบุว่าให้มีตำแหน่ง สังกัดศาลตุลากร อย่างน้อยจำนวน ๑๖ ตำแหน่ง ถือศักดินา ๒๐๐ เป็นพนักงานปฏิบัติราชการเนื่องด้วยหอพระอิศวรและเสาชิงช้าภายใต้การกำกับของ ขุนยศโสธรณ์พญาริยศศรีนาคเทวัญ ถือศักดินา ๘๐๐

คุณกรุ่มเคยเดินทางไปตามสืบรากเหง้า ของตนที่จังหวัดนครฯ เมื่อประมาณปี ๒๕๐๐ ท่านยังพบญาติที่สืบเชื่อสายจากพราหมณ์ นครฯ และไปไหว้สุสานฮินดู ซึ่งยังเป็นสุสานของบรรพบุรุษท่านด้วย ไม่แน่ใจว่าปัจจุบันสุสานนี้ยังอยู่หรือไม่?

ภาพเทวสถานพระอิศวร ในปัจจุบัน (เครดิตภาพ : http://www.panoramio.com/photo/52965284 )
 



บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 23:27

ต้นตระกูลของท่าน ชื่อ เพง มีพี่น้อง ๔ คน ปรากฏชื่อดังนี้

๑. ชื่อ ด้วง ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น พระยาราชสมบัติบาล ก็เรียก พระยาสมบัติบาล ก็เรียก ตำแหน่งเป็น เจ้ากรมพระคลังในขวา

๒. ชื่อ เพง แต่ในประวัติสำนวน พระยาสุรนันทน์ฯ ไม่เรียกท่านว่า เพง เลย (เรื่องชื่อของท่าน มีประเด็นอีกหลายประการ) ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์สุดท้ายที่ พระรารามจัตุรงค์ จางวางว่ากรมทหารอาสา ๖ แล ๘ เหล่า

๓. ชื่อ สุจ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น จมื่นทิพรักษา ปลัดตำรวจ กรมสนมขวา

ส่วนนาม พี่น้องผู้หญิงอีก ๑ ไ่ม่ปรากฏ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 21 มิ.ย. 12, 00:03

ก่อนจะเข้าเรื่องนายเพง ขอผ่านไปเรื่องพี่น้องท่านก่อนครับ

๑. พระยาราชสมบัติบาล หรือ พระยาสมบัติบาล

วีระกรรมของท่านคือ ร่วมกับ พระยารามจัตุรงค์ ช่วยเชลยครัวไทย ให้รอดพ้นพม่า และถวายตัวเข้าสวามิภักดิ์ ร่วมรบ ช่วยพระยาสุริยอภัย (สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข - วังหลัง ) ทำศึกจนมีคุณงามความดี

เมื่อปราบดาภิเษกแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ พระยาราชสมบัติบาล เจ้ากรมพระคลังในขวา 

(ลองไปค้นๆ ดู ปรากฏว่า ตำแหน่ง เจ้ากรมพระคลังในขวา มีราชทินนามคือ "สมบัติธิบาล" เช่น พระสมบัติธิบาล หรือ "สมบัติยาธิบาล" เช่นพระยาสมบัติยาธิบาล (บุญเกิด อมาตยกุล สมัยกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งน่าจะเป็นตำแหน่ง "พระยาสมบัติยาธิบาล" เจ้ากรมพระคลังในขวา เก็บภาษี(บางประเภท)

พระยามีชื่อนี้ ได้ท่านผู้หญิงทองดี เป็นภรรยา มีบุตรด้วยกัน ๔ คนคือ

๑. หญิงชื่อทองคำ

๒. หญิงชื่อหง ทำราชการเป็นเจ้าจอมอยู่งานในพระบัณฑูรที่ ๒ (? น่าจะหมายถึง กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข หรือไม่ เพราะบิดาเคยรบเพื่อพระองค์มา)

๔. ชื่อนายเสือ เป็นหมาดเล็กไนกรมพระราชวังบวร

บุตรภรรยาน้อย ไม่ปรากฏ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 21 มิ.ย. 12, 00:19

จมื่นทิพรักษา (สุจ สุรนันทน์)

ประวัติมีน้อยมาก ที่ปรากฏ คือเช่นเดียวกับพี่ชายคนโต ตาม คห. ด้านบน........

ได้รับพระราชทานรางวัลตอบแทนในการศึก เป็นที่ จมื่นทิพรักษา ปลัดตำรวจกรมสนมขวา

บรรดาศักดิ์นี้ น่าจะเป็น ปลัดกรมพระตำรวจนอกขวา (เอ๋..... กรมเดียวกันป่าวหว่า?) มากกว่าครับ ตามตำราคือ จมื่นทิพเสนา ปลัดกรมพระตำรวจในขวา, จมื่นราชามาตย์ ปลัดกรมพระตำรวจในซ้าย,
จมื่นทิพรักษา ปลัดกรมพระตำรวจนอกขวา, จมื่นราชาบาล ปลัดกรมพระตำรวจนอกซ้าย

กรมพระตำรวจ สมัยนั้น ก็เปรียบเหมือนราชองครักษ์ อยู่ในกระบวนเสด็จ ฯ ถวายความปลอดภัย รวมทั้งควบคุมตัวนักโทษหน้าพระที่นั่ง ฯลฯ

จมื่นทิพรักษา มีบุตรชาย ๓ คน ที่ ๑ ชื่อ พลายเพ็ช ที่ ๒ ชื่อพลายบัว บุตรที่ ๓ ชื่อ นายน่วมเรือง
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 21 มิ.ย. 12, 10:46

ต้นตระกูล "สุรนันทน์"

พระยารามจัตุรงค์

ประวัติเดิม ท่านสืบเชื่อสายมาจากตระกูลพราหมณ์ เมืองนครศรีธรรมราช ".....มีอัถชาไศรยเหมือนกัน ชอบคบเพื่อนฝูงแลเที่ยวไปในที่ต่างๆ จึงได้เที่ยวมาจนถึงเมืองราชบุรีย์ ในเวลานั้นในรัชกาลที่ ๑ ยังทรงดำรงตำแหน่งพระยศเปนพระปลัดอยู่ในเมืองราชบุรีย์  จึงได้เข้าถวายตัวเปนข้าไต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทอยู่ในเมืองราชบุรีย์ต่อมา...." 

จากหนังสือประวัติตระกูล ไม่แน่ชัดว่า ท่านกับพี่น้อง จะเดินทางขึ้นมาจากเมืองนครฯ เลย หรือพ่อ-แม่ ย้ายครัว ขึ้นมาอยู่ ณ ที่แห่งใด ก่อนที่จะหนุ่มฉกรรจ์ ท่องเทียวจนสมัครใจ ฝากตัวเป็นคนของ "ท่านหลวงยุกรบัตเมืองราชบูรีย"

จนเมื่อถูกจับเป็นเชลยเมื่อคราวเสียกรุง คิดอ่านการดี ไม่ยอมไปเป็นตะพุ่นหญ้าช้าง เกี่ยวข้าวให้ช้าง ให้พม่า ฆ่าผู้คุม หว่านล้อม ชักชวน เชลยไทย แลรวบรวบชาวบ้านที่แตกกระเจิง รวมเป็นชุมชนตั้งอยู่บ้านวังม่วง แขวงป่าสัก จังหวัดสระบุรี  ได้รับแต่งตังจากพระยายมราช (รัชกาลที่ ๑) เป็น ขุนสุระสงคราม นายกองเลข กองนอก แขวงป่าสัก

เมื่อคราวกรุงธนบุรี เกิดจลาจล ขุนสุระฯ ได้ชักชวน นายบุนนาก บ้านแม่ลา* (เจ้าพระยาพลเทพ) ยกไพร่พลลงมายึดเอากรุงเก่า จับตัวพระพิชิตณรงค์ ผู้รักษากรุงประหาร แล้วยกพลมาช่วย พระยาสุริยอภัย (พระเจ้าหลานเธอฯ ในรัชกาลที่ ๑ - กรมพระราชวังหลัง)


ความตีรันฟันตู โปรดย้อนกลับไปอ่านในความเห็นที่ได้แสดงไว้ก่อนนี้.........


ขุนสุระฯ ทำการยุทธ ณ บ้านปูน สวนมังคุด คือที่บ้านของพระยาสุริยอภัย (ฝั่งธนบุรี ระหว่างวัดอมรินทราราม กับ วัดระฆัง - ถ้าดูตามแผ่นที่ ก็นับว่าไม่ห่างจากพระราชวังเดิมมากเท่าไหร่ คิดแล้วท่านก็ซ้องสุมผู้คนอยู่ใต้จมูกพระเจ้ากรุงธนนี่เอง !!!!!! )

เมื่อเสร็จการยุทธ จับตัวพระยาสรรค์ ซึ่งแปลพักต์ อาสาไปตีกรุงธนบุรี ( ก็บ้านพระยาสุริยอภัย ยุทธภูมิบ้านปูน ก็อยู่ข้างพระราชวังเดิม ต้องนับว่า "ไปตีข้างบ้าน" ...... คำว่า อาสาไปตีกรุงธนบุรี คงหมายถึง ยึดวัง - จับตัว พระเจ้ากรุงธน มากกว่าเข้าตี เพราะอยู่ในกรุงธนฯ อยู่แ้ล้ว ............) ในพงศาวดาร และ คำบอกเล่าของตระกูลสุรนันทน์ ว่า พระยาสรรค์จับตัวพระเจ้ากรุงธนได้ ก็คิดจะเอาบัลลังค์ไว้เอง ข้อความนี้ น่าคิดอยู่ ว่าท่านจะเอาราชสมบัติไว้เอง หรือยึดไว้ให้เจ้านายพระองค์อื่น?ฮืม  ก็แหม... ท่านเจ้าคุณราชสัมภารากร เขียนว่า เมื่อทราบว่า เจ้าพระยาจักรี จะยกทัพหลวงลงมา ท่านยังเปลี่ยนใจเปลี่ยนข้าง เพราะเกรงกำลังเจ้าพระยาจักรี คงจะประมาณกำลังตนไว้แล้วว่า สู้ไม่ได้ ครั้นจะเอาราชสมบัติไว้เอง ก็คงจะแปลก .......... )

เป็นอันที่สุดว่า พระยาสรรค์ถูกประหาร พร้อมกับ กรมขุนอนุรักษ์สงคราม (เจ้ารามรักษ์ - หลานเธอพระเจ้ากรุงธน) ดาบที่ใช้ประหารนี้ จะเป็นเล่มเดียวกับที่คุณกรุ่ม แขวนไว้ข้างฝา ก็ไม่อาจยืนยัน แต่ดาบนี้ ใช้ทำศึก ณ ยุทธภูมิบ้านปูนเป็นแน่


* นายบุนนาก บ้านแม่ลา นี้ เอกสารบางแห่งว่า เป็นเพื่อนกับ ขุนแก้ว น้องพระยาสรรค์ เมื่อตอนการยุทธ ณ บ้านปูน ก็มีรายละเอียดชิงไหวชิงพริบ ย้ายข้างกันอุตลุด หาอ่านได้ในพงศาวดารหลายเล่ม
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 21 มิ.ย. 12, 11:54

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปราบดาภิเษกแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ หลวงสุระสงคราม เป็นที่ "พระยาศรีราชเดโชไชยอะไภรีพิรียปรากรมภาหุ เดโช" เจ้ากรมอาสาหกเหล่าขวา ศักดินา ๑๐๐๐๐

ได้รับพระราชทาน  (ท่านใดมีความรู้ โปรดช่วยหน่อย.............)

๑. ถาดหมาก

๒.กระโถนทองคำ

๓.ประคำลูกทองคำ (จะเป็นอย่างเดียวกับที่ ภาพเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ท่านสวมประคำถ่ายภาพ และมีในภาพของกรมชัยนาทฯ หรือไม่? และมีเกณฑ์พระราชทานอย่างไร?)

๔.ดาบฝักทองจำหลักลาย

๕.เสื้อและหมวกทรงประพาส ( ขอรบกวนถามผู้รู้ครับ ในที่นี้ หมายถึง เสื้อทรงประพาส  และหมวกทรงประพาส  เสื้อทรงประพาส เป็นอย่างไร? มีหรือไม่ครับ หมวกทรงประพาส พอจะทราบอยู่ อย่างเดียวกับที่ อ้ายเสมา ใส่ออกรบนั้นแหล่ะ  เรื่องเสมา ขุนศึก ประเดี๋ยวมีความต่อไป..........)

๖.สัปทน (ร่มก้านยาว แต่ไม่ทราบชั้นไหน)

๗.โต๊ะเงินกับข้าวของกิน  ( คืออะไร ?)

๘.คนเชลย ชาย หญิง

๙. ที่บ้านนอกกำแพงด้านตะวันออก ริมคลองคูพรนคร แต่ช่องกุดล่างจนช่องกุดบน ที่เป็นสพานเหล็ก ถนนเจริญกรุงทุกวันนี้ (ตำบลกุดล่าง กุดบน อยู่ตรงไหนถึงไหนครับ?)
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 21 มิ.ย. 12, 14:30



โต๊ะเงิน  คือพานเงินปากผาย   วางชามอาหารคาวและหวาน  ซึ่งอาจจะเป็นชุดคาวสองพาน  และของหวานสองพานก็ได้


สัปทน    เป็นกระดาษหรือแพรจีนอาบขี้ผึ้ง  มีด้ามยาว
ขุนนางที่ยังไม่มียศ  ถึงจะเป็นบุตรคนเดียวของเจ้าพระยา  ก็เรียกได้เพียงว่า กั้นร่มจีนทาขี้ผึ้ง


คนเชลยชายหญิงนั้น  พระราชทานมายังผู้เป็นกำลังของแผ่นดิน
บิดาของนายโหมดเคยได้เชลยมาพันคน  ได้แบ่งไปหลายบ้าน   เชลยเหล่านี้ได้เป็นแรงงานทางเศรษฐกิจในการถมทราย  ปลูกวัด  ถมดิน  ขุดบ่อ  ตัดไม้
ปลูกบ้าน    ทำนา  ทำสวน  ทอผ้า  และอื่น ๆ


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 25 มิ.ย. 12, 20:38

โต๊ะเิงิน แบบไทย ตามบ้านท่านผู้ใหญ่สมัยเก่า จะมีเป็นเถา และเป็นคู่เสมอ ไม่ ๒ ก็ ๔ ก็ ๘ ชุด เรียงกันจากใหญ่ ไปเล็ก มีทั้งชุดเงิน ชุดทองเหลือง ชุดมุก ชุดลายคราม

ถ้าด้านขวามือเป็นโต๊ะไทย ด้านซ้ายมือของภาพ ก็น่าจะเป็นโต๊ะฝรั่ง ใส่ช็อกโกแลตสีสวย เคียงกัน............



บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 25 มิ.ย. 12, 20:45

ภาพเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี สวมลูกประคำ


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 21:42


๙. ที่บ้านนอกกำแพงด้านตะวันออก ริมคลองคูพรนคร แต่ช่องกุดล่างจนช่องกุดบน ที่เป็นสพานเหล็ก ถนนเจริญกรุงทุกวันนี้ (ตำบลกุดล่าง กุดบน อยู่ตรงไหนถึงไหนครับ?)

พอจะทราบเลาๆ ว่า ที่ดิีนที่พระราชทาน พระยาสีหราชเดโชไชย ก็คือ ตั้งแต่ริมคลองหลอดถัดพระบรมมหาราชวัง ยาวไปจนถึงสะพานดำรงสถิตย์ (หรือสะพานเหล็ก สามารถตามไปดูในกระทู้ เวิ้งนครเขษม เวิ้งนครสนุก ของคุณลุงไก่ ได้ครับ )

การพระราชทานที่ดินผืนมหึมานี้ เพราะคนสมัยก่อน จำเป็นต้องมีกำลังพลไว้ใช้งาน (ดังเช่นที่พระราชทานในข้อ ๘. ) ก็ต้องเลี้ยงคน หาที่ให้อยู่มากมาย และท่านก็ต้องอพยบคนจากบ้านวังม่วง แขวงกรุงเก่า มาตั้งครัว จึงพระราชทานที่พื้นใหญ่ให้ ........

อีกข้อความหนึ่ง คุณกรุ่มเคยเล่า (แต่ผมจำไม่ค่อยได้) คือ เดิม เจ้าคุณสีหราชฯ ท่านตั้งบ้านเรือนอยู่ ไม่ไกลจากพระบรมมหาราชวังมากนัก แต่ตอนหลัง ทายาทได้ถวายที่คืน หรือถูกเวรคืน หรือพระราชทานแลกที่ดิน ซักอย่างหนึ่ง  ทายาทต่อๆ มาก็ย้ายครัวมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณ วัดมหรรณพาราม จนปัจจุบัน

การพระราชทานที่ดิน ขนาดใหญ่นี้ ไม่ได้พระราชทานแก่เจ้าคุณสีหราชเดโชไชย ท่านเดียว มีความปรากฏว่า พระราชทานที่ดินสี่เหลี่ยมผืนใหญ่ น่าจะถัด ต่อๆ กันมาให้แก่ เจ้ากรมคู่กัน คือ พระยาสีหราชเดโชไชยท้ายน้ำ ซึ่งท่านมีความเกี่ยวพัน จะได้เล่าต่อไปครับ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 27 มิ.ย. 12, 22:51

ในคราว ที่รัชกาลที่ ๑ ปราบดาภิเษก ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์นี้ ได้พระราชทานตำแหน่งให้แก่ ญาติ และพี่น้อง ของ ขุนสุระฯ อีกดังที่ มีบันทึกคือ

"โปรดตั้งให้นายบุนมาน้องรองท่านผู้อยิงทองอยู่ เปนที่พระยารามคำแหง เจ้ากรมอาษาแปดเหล่า"

ท่านผู้หญิงทองอยู่นี้ ก็คือภรรยาของพระยาสีหราชเดโชไชย

และ

"อนึ่งนายขุนทองอยู่ที่บ้านท่าช้างฝั่งตะวันตกแควป่าศักครังแผ่นดินเจ้าพระนคอรธนบุรี เจ้าพระยาจักตรี ตั้งให้เปนที่ขุนสัจาบรักษ นายกองเลข สม ทนาย เมื่อไปทัพเมืองณครเสียมราปได้ตามไปด้วย ครั้นได้ราชสมบัติโปรดยกความชอบตั้งให้เปนที่พระยาท้ายน้ำ ได้พระราชทานเครื่องยศถาดมาก คนโฑ กระโถน ปรคำทองคำ เครื่องทรงประพาด สัปทน ดาบฝักทอง ที่บ้านในกำแพงริมคลองแต่เชิงสภาบช้าง ถึงริมถนนเจิรญกรุงเปนสี่เหลี่ยมที่ตั้งโรงหวยทุกวันนี้"

นายขุนทอง บ้านท่าช้าง แขวงป่าสัก สระบุรี ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากบ้านวังม่วง ท่านขุนทองนี้ ก็น่าจะได้สมบทกำลังพล ร่วมรบกับ นายบุนนาก บ้านแม่ลา และขุนสุระฯ คราวเดียวกัน จึงได้ัรับบำเน็จ ความชอบ คู่กัน กับท่าน เป็นพระยาสีหราชเดโชไชยท้ายน้ำ หรือ พระยาท้ายน้ำ ซึ่งเป็นตำแหน่งคู่กันกับ พระยาสีหราชเดโชไชย (เพง) ได้รับพระราชทานรางวัล ใกล้เคียงกัน อีกทั้งที่ดิน ใกล้เคียงกันอีกด้วย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.168 วินาที กับ 19 คำสั่ง