เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
อ่าน: 49099 อยากทราบประวัติ คุณกรุ่ม สุรนันทน์
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 15 พ.ค. 12, 15:54

ข้อมูลเรื่องบ้านสุรนันทน์นั้นฟังมาไม่แน่ชัด  ดูเหมือนว่าเมื่อพระยาสุรนันทน์นิวัทธกุลถึงอนิจกรรมไปแล้ว  ทายาทได้ดัดแปลงเป็นโรงเรียนหงส์สุรนันทน์  ปัจจุบันรื้อไปแล้วและสร้างเป็นอาคารพาณิชย์  แต่บ้านพระยาพิทักษ์เทพมณเฑียร (กระจ่าง  หงสกุล) ในละแวกเดียวกันนั้นยังมีทายาทพักอาศัยอยู่
บันทึกการเข้า
PAOPAI
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 15 พ.ค. 12, 20:00

บ้านหลังนี้หรือเปล่าครับ? ที่ว่าเป็นของพระยาพิทักษ์เทพมณเฑียร (ภาพจากเว๊บไซต์โค้กไทย) เห็นมีชื่อว่าบ้านหงสกุล

น่าเสียดายครับที่บ้านพระยาสุรนันทน์นิวัทธกุลถูกรื้อไปแล้ว


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 15 พ.ค. 12, 21:32

ผมคงจำคลาดเคลื่อนครับ .............

หลังที่คุณกรุ่มพาไปดู  น่าจะเป็นหลังนี้มากกว่า และคงไม่ใช่ตึกใหญ่ แต่จะเป็นบ้านที่ท่านเคยอาศัยอยู่หรือไม่ก็ยังสับสนอยู่ บ้านหลังนี้อยู่เลยสี่แยกวิ่งตรงไปทางถนนบุญศิริหน่อยหนึ่งด้านขวามือ ด้านขวามือที่ปัจจุบันเป็นลานจอดรถ เดิมเป็นบ้านชั้นเดียวทาสีเหลืองๆ เป็นบ้านของญาติคุณกรุ่ม ถัดไปด้านหลังคือบ้านเจ้าคุณพิทักษ์เทพมณเฑียร หันหน้าออกทางตรอกเสถียร ปัจจุบันมีตึกปลูกบังอาคารอยู่ ดังเช่นรูปที่คุณ PAOPAI โฟสไว้





บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 15 พ.ค. 12, 21:34

ตอนผ่านไป ไม่ได้ลงไปดูหรอกครับ นั่งชี้อยู่ในรถ แถมรำพันถึงหลานที่ได้รับมรดก แต่ไม่รักษา และเล่าไปถึงเรื่องเมื่อหนหลัง ซึ่งคุณกรุ่ม ก็เป็นต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้ หงสกุล-สุรนันทน์ มองหน้ากันไม่ติด........ จนเมื่อสิ้นคุณแม่(ถ้าจำไม่ผิดอีก) ท่านก็ต้องย้ายบ้านมาอยู่แถวถนนพิบูลย์สงคราม


บันทึกการเข้า
PAOPAI
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 16 พ.ค. 12, 00:07

ในที่สุดก็ทราบประวัติเป็นที่แน่นอนซักทีสำหรับบ้าน 2 หลังนี้ ขอบพระคุณคุณ piyasann ครับ ผมจะได้รีบไปบันทึกภาพบ้านทั้ง 2 ไว้ก่อนที่ภายหน้าอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปอีก
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 16 พ.ค. 12, 08:56

มีเรื่องที่คุณกรุ่มท่านเล่าถึงในหลวงรัชกาลที่ ๗ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณอย่างที่สุด

เรื่องนี้เวลาท่านเล่ากับเพื่อนๆ ท่านแล้วต้องย้อนกลับมาตรวจสอบเหมือนคุณหลวงเลยครับ

เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินไปรักษาพระองค์ครั้งสุดท้าย  เวลานั้นเป็นช่วงที่กำลังทรงขัดแย้างกับคณะราษฎรอย่างรุนแรง  เวลาเสด็จพระราชดำเนินอกจากที่ประทับ  จึงมีแต่นักเรียนวชิราวุธวิทยาลัยเพียงโรงเรียนเดียวที่ไปส่งเสด็จ  ตอนที่ไปส่งเสด็จนี่แหละครับบางท่านว่า ที่วังศุโขทัย  แต่คุณกรุมท่านว่าที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน  เรื่องนี้ตรวจสอบแล้วเป็นที่พระตำหนักจิตรลดา  แต่ท่านเล่าตรงกันคือ พอรถยนต์พระที่นั่งเคลื่อนผ่าแถวนักเรียน  ในหลวงทรงชะโงกพระพักตร์ออกมาทางหน้าต่างรถพระที่นั่ง  ทรงโบกพระหัตถ์ลานักเรียน  แล้วที่สำคัญคือ ทุกคนสังเกตพระอัสสุชลไหลหลั่งบนพระพักตร์  เหมือนจะทรงอำลาว่าจะไม่ได้ทรงพบกับนักเรียนกันอีก  แล้วจากนั้นไม่นานก็มีประกาศสละราชสมบัติ  ถัดมาอีกหน่อยพระยาบรมบาทบำรุง (พิณ  ศรีวรรธนะ) ผู้บังคับการก็โดนคำสั่งปลดจากตำแหน่ง  พร้อมกับมีพระบรมราชโองการเปลี่ยนนายกกรรมการโรงเรียนจากรัฐมนตรีศึกษษะิการเป็นนายกรัฐมนตรี
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 16 พ.ค. 12, 09:18

สอบถามทายาทพระยาพิทักษ์เทพมณเฑียรแล้วครับ  บ้านในความเห็นที่ ๔๖ นั้นเดิมเป็นบ้านของพระยาพิทักษ์เทพมณเฑียร (กระจ่าง  หงสกุล)  ที่ตกทอดมาจนถึงรุ่นเหลนในปัจจุบัน
ท่านว่าดูจากร่องรอยเดิมแล้ว  ตัวบ้านภายนอกทาสีเขียว  ด้านในบ้านเป็นสีแดง

ส่วนบ้านอีกหลังนั้นเป็นบ้านเดิมของคุณกรุ่ม  สุรนันทน์  แต่เดิมบ้านในบริเวณนี้ต่อเชื่อมถึงกันหมด  เมื่อมีการเวนคืนตัดถนนผ่านโรงเรียนหงส์สุรนันทน์จึงทำให้บ้านในบริเวณดังกล่าวถูกรื้อถอนไปเกือบหมด  บริเวณโรงเรียนหงส์สุรนันทน์ส่วนที่ยังเหลืออยู่ก็ถูกแปลงเป็นที่จอดรถของบริษัททนายความที่เป็นตึกเหลืองๆ ติดกับบ้านพระยาพิทักษ์เทพมณเฑียร
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 19:28

ได้รับเอกสาร เรื่อง "สุรนันทน์" และคุณกรุ่ม มาแล้วครับ แมลงเมาส์ เริ่มทำงาน.........


ก่อนอื่น ขอเล่าประวัติตระกูลสุรนันทน์ ผ่านข้อเขียนของ พระยาราชสัมภารากร(เลื่อน สุนนันทน์) และพระยาสุรนันทน์วิวัทธกุล (กริ่ม สุรนันทน์) โดยท่านทั้งสองได้เขียนประวัติตระกูลไว้เช่นกัน แต่มีรายละเอียดต่างกัน ซักเล็กน้อย  


ของเจ้าคุณราชสัมภารกรนี่ เขียนขึ้นเมื่อ จ.ศ. ๑๒๓๖ = พ.ศ. ๒๔๑๗  ส่วนของเจ้าคุณสุรนันทน์ฯ ไม่ระบุปีเขียน แต่มาคัดลอกใส่สมุดฝรั่ง เดิม น่าจะเขียนลงสมุดไทยก่อนแล้วนำมาเขียนในสมุดฝรั่ง ต้องเป็นหลัง ร.ศ. ๑๒๐ เพราะสมุดที่ใช้เขียน ระบุ ร.ศ. ๑๒..... (เป็นสมุดนักเรียนของ โรงเรียนนายร้อยทหารบก)  โดยเจ้าคุณสุรนันทน์ ลอกท่อนแรก พระภูมีฯ บุตรชาย ลอกท่อนหลัง  (- คุณกรุ่มเล่าให้ฟัง) ลักษณะของการเขียนดูตัวอย่างได้ที่ คห. ๙ และ ๑๐


ทั้งสองสำนวนนี้ สำนวนหนึ่ง ได้สอบทานกับต้นฉบับของท่านเจ้าของ แลทั้งสองนี้ ได้เคยพิมพ์ลงใน ราชสัมภารากรลิขิต อนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิง หม่อมขาว เกษมศรีฯ ท.จ. ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุภโยคเกษม ณ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๑ กรกฏาคม ๒๕๐๕ (ซึ่งเป็นสำนวนเดียวกันกับที่พิมพ์ เมื่อคราว ๑๐๐ ปี พระพี่เลี้ยงหวน หงสกุล)

เมื่ออ่านทั้งสองสำนวนแล้ว เห็นแง่มุมน่าสนใจดี เข้าใจว่า การบันทึกประวัติศาสตร์ก่อนที่จะมีการเขียนลงในสมุด เป็นการเล่า ปากต่อปาก ย่อมมีความคลาดเคลือนในรายละเอียดไปบ้าง เมื่อนำมาเทียบกันแล้ว ก็จะเิกิดการสอบทาน ทั้งความน่าสนใจแตกต่างกันออกไป แม้ประวัติศาสตร์เหล่านี้จะเป็น Oral History แต่ก็ให้ความรู้ ความเข้าใจเหตุการณ์ได้มากขึ้น

ที่จะนำมาเปรียบเทียบกันนี้ มิใช้หมายใจว่า ของท่านใดผิด ท่านใดถูก แต่อยากให้เกิดมุมมองในเรื่องเดียวกันจากต่างคนเล่า ต่างคนคิด เพื่อเกิดการวิจารณ์ ชนิดไม่จับผิด แลหวังใจว่าจะเกิดแง่มุมที่สร้างสรรค์ขึ้นต่อไปภายภาคหน้าครับ

ขอขอบพระคุณ คุณโกศล ช่อผกา ที่กรุณามอบเอกสารส่วนตัวของคุณกรุ่ม เรื่องตระกูลสุรนันทน์ ให้เผยแพร่ครับ..........

บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 19:39

การสอบเทียบนี้ ผมขอใช้ สำนวนของ พระยาสุรนันทน์นิวัทธกุล ขึ้นนำก่อน โดยใช้เป็นตัวหนังสือสีแดง  และ สำนวนของพระยาราชสัมภารกร ใช้เป็นตัวปกติสีดำต่อท้ายกันไปในเนื้อความที่ใกล้เีีคียงกัน

ตามจริงแล้ว สำนวนของพระยาราชฯ น่าจะเขียนขึ้นก่อน แต่ด้วยท่านให้รายละเอียดมากกว่า ประเดี๋ยวอ่านยาวแล้วจะจืดเสียหมด และของเจ้าคุณสุรนันทน์ นั้น สั้นกระชับ เขียนอย่างมองเห็นภาพเหตุการณ์ดีกว่า จึงขอนำขึ้นต้น

โดยแต่ละสำนวน ผมได้เรียงตามเนื้อหาที่ท่านเขียนไว้ ไม่ตัดต่อ โยกย้าย หรือเปลี่ยนตัวสะกดครับ (อาจจะมีเว้นวรรค หรือย่อหน้าใหม่บ้าง เพื่อให้อ่านง่าย สบายตาขึ้น)

หลังจากจบเรื่องตระกูลสุรนันทน์ทั้งสองสำนวนแล้ว จะเป็น รายละเอียดของคนในตระกูลสุรนันทน์ ที่คุณกรุ่ม บันทึกเป็นคนๆ มีรายละเอียดเพิ่มเติมจากในหนังสือ หลายๆ คนในตระกูลท่าน เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ น่านำเสนอ ตามที่คุณกรุ่มตั้งใจค้นคว้าไว้  แลตอนท้าย ก็จะเป็นเรื่องของคุณกรุ่ม ที่ผมได้รับเอกสารมา เพื่อตอบคำถามของท่าน จ.ข.ก.ท. ครับ

ขอเชิญปูเสื่อ......... seat back relax and enjoy
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 19:43

"ลำดับวงษ์ตระกูล ขุนสุรสงคราม นายบ้านๆ ม่วง แขวงกรุงเก่า คือต้นตระกูลชั้น ๑  เปนพรามณ์โหราจาริย ตั้งบ้านเรือนเคหถานอยู่ณะหลังเทวสถานพระอิศวร ในกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช มีบุตร์ ชาย๓ หญิง๑ แต่ชื่อไม่ปรากฏ แต่บุตร์ชาย ๓ คนนั้นมีอัถชาไศรยเหมือนกัน ชอบคบเพื่อนฝูงแลเที่ยวไปในที่ต่างๆ"

"ข้าพเจ้าหลวงอินทรโกษา กรมพระคลังราบการ ได้เรียบเรียงเรื่องราวลำดับกรกูณยาติ ซึ่งได้สืบทราบแต่ท่านผู้ใหญ่ต่อๆ มา หวังให้บุตรหลานเหลนหลือหลืด แจ้งความไว้จะได้เว้นสิ่งชั่วประกอบการดี และมีจิตรคิดถึงพระเดชพระคุณ ประกอบความสุจริดกระตัญู ภาคเพียนจนได้ยศศักดิทรัพย์สมบัตทั้งมวนบริวาร และทรงไว้ซึ่งกระกูณได้ต่อเนื่องลงมาจนถึงปัตยุบันนี้ ก็ควนจะเอาเปนแบบอย่างได้ แม้ผู้ใดมิได้ทรงไว้ซึ่งกระกูณให้ดำรงไปได้ก็จะเปนที่รับแห่งความติเตียนดั่งเปนผู้ไม่มีความสุจริตปราษจากกระตัญูกะตะเวธี ต่อกระกูณที่ท่านแต่ก่อนได้ภาคเพียนสั่งสมไว้ จะมีชื่อชั่วไปสิ้นกานนาร เว้นไว้แต่กำมนำสนอง ถ้าผู้ใดมีความเพียนประกอบการสุจริต ปริบัติการดีให้กรกูณถวารต่อเนื่องไปได้ด้วยตนปติบัตชอบแล้วนั้น จะเปนที่สันระเสินแก่เทพดามนุษจะมีความเจริญด้วย อายุสม วัณะ ศุข ผะละ และจะบริบูรณด้วย ยศ ทรัพย สิงฆาน บริวาร ปราษจากสรัพไภยและสัตรู เปนแท้

ข้าพเจ้าได้ทราบว่ายังมีท่านผู้กุสลอุตหนุนซึ่งเปนต้นกระกูณนี้ สามคนพี่น้องจะร่วมปิตุมารดาต่างมิได้ปรากจ ที่ ๑ ชื่อ ด้วง อายุสมศัก ๒๖ ๒๗ฯ ปี ที่ ๒ ชื่อเพง อายุสมประมาร ๒๔ ๒๕ฯ ปี ที่ ๓ ชื่อสุจ อายุสมราว ๑๘ ๑๙ ฯ ปี ได้ความว่าท่านเปนกระกูณพราหม มาแต่เมืองณครศรีธรรมราช"
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 19:45

"จึงได้เที่ยวมาจนถึงเมืองราชบุรีย์ ในเวลานั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ในรัชกาลที่ ๑) ยังทรงดำรงตำแหน่งพระยศเปนพระปลัดอยู่ในเมืองราชบุรีย์  จึงได้เข้าถวายตัวเปนข้าไต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทอยู่ในเมืองราชบุรีย์ต่อมา จนถึงเมื่อพม่าข้าศึกยกเข้าล้อมกรุงเทพ พระมหานครบวรทวารวดีแล้ว   
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ทรงพระรำพึงจะใคร่ทรงทราบ ข้อราชการเรื่องพม่าข้าศึกยกมาตีกรุงเทพพระมหานครบวรทวารวดีก็ไม่มีใครรับอาษาไปสืบข้อราชการมาถวายได้ จึงขุนสุระสงครามกับพี่น้องสองคน เข้ารับอาษาจะสืบข้อราชการมาถวายให้จงได้ จึงกราบบังคมลาออกเดินแต่เมืองราชบุรีไปถึงกรุงเทพย์ฯ เข้าไปพักอยู่ในบ้านพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าวังน่าในเวลานั้นยังทรงดำรงตำแหน่างพระยศเปน นายสุดจินดา หุ้มแพร อยู่"


"มาอยู่กรุงเทพมหาณครอมรทวารวดีศรีอยุทยา จะมาด้วยกิจสิ่งใดมิได้ปรากจ ในครั้งนั้นท่านมิได้เกี่ยวข้องในราชการ แต่เดิมเมื่อท่านจะเข้ามานั้น ท่านมาทางเมืองเพชบูรีย ท่านได้รู้จักคุ้นเคยไปมารู้จัก จึ่งได้ไปภักอยู่ที่บ้านท่านหลวงยุกรบัตเมืองราชบูรียหลายวันแล้ว จึงได้เข้ามากรุงเทพฯ "
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 19:50

"ในเวลานั้นพม่ายังหาได้ยกเข้าล้อมกรุงไม่ พอพม่ายกเข้าล้อมกรุง ขุนสุรสงครามจึงได้ติดอยู่ในกรุงจนกรุงเสียแก่พม่าข้าศึกๆ จึงได้กวาดต้อนครอบครัวไทยเชลย กับขุนสุระสงคราม แลพี่น้องลงในเรือมอใหญ่ลำหนึ่งมีทหารพม่าถือดาบ คุมไปหัวเรือคนหนึ่งท้ายเรือคนหนึ่ง มีกองทัพพม่าเดินบกคุมครอบครัวไปสองฟากฝั่งน้ำเจ้าพระยา"   

"ครั้นศักราช ๑๑๒๙ ปีกุน นพศก กรุงเสียแก่พม่าฆ่าศึก ครั้งนั้นราชกระกูณโบรานและข้าราชการ พ่อค้าสมณชีพราหมนาจาร ราษฎรทั้งหลายถึงกาลพินาดฉิบหาย อดอยากล้มตายเปนอันมาก พม่ากวาดต้อนไปก็มาก และท่านทั้งสามคนพี่น้องนี้ พม่าจึงได้ให้ทหารพม่า ๒ คนคุมมาในเรือโกลนเรือลำหนึ่งกับด้วยคนหลายครัวแต่มิได้พันทนาการจองจำ ครั้นเรือล่องลงมาถึงบางเขนแขวงเมืองนนทบูรีย"
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 19:54

"พม่าใช้ให้ไทยเชลยผลัดเปลี่ยนกันถ่อเรือ เมื่อถึงเวลาค่ำก็ใช้ให้นั่งยามระวังรักษากันเองมิให้ทัยหนีไปได้ ในเวลานั้นกันดาลเสบียงอาหารยิ่งนัก พวกไทยเชลยไม่มีอาหารแลเกลือจะกินได้ ความลำบากอดอยากยิ่งนัก ถ้าเห็นต้น ฝรั่ง มขาม ไทร ก็แวะเรือเข้าไปรูดเอาใบมากินต่างอาหารพอประทังชีวิตไปวันหนึ่ง

จึ่งขุนสุระสงครามจึ่งปฤกษากับพี่ชายแลน้องชายว่า เรารับอาษานายของเรามาสืบข้อราชการในกรุงเพื่อจะได้นำข้อราชการไปกราบทูลให้ทรงทราบ ก็พวกรุงเสียแก่พม่าๆ ก็กวาดต้อนเรามาเปนเชลยเช่นนี้ เพราะนั้นควรเราจะคิดฆ่าพม่าที่คุมเรามาเสีย แล้วหนีกลับไปทูลประพฤติเหตุต่อเจ้านายเรา  จึงจะสมควรที่เปนชายท่านทั้งสองจะเห็นอย่างใด"


"เวลาเช้าห้าโมงเสศ พม่าจอดเรือลงนอนหลับไปทั้งสองคน ฝ่ายนายเพงเหนอ้ายพม่านอนหลับแล้วจึงนั่งนิ่งคิดพิจารณาดูคนทั้งหลายในลำเรือที่จะปฏกษาหาฤาเป็นคู่คิดแต่สักคนหนึ่งไม่มีเลย เหนเปนแต่นั่งพูดจาหลับนอนเป็นปรกติ ให้มีจิตรเกิษความสังเวศแด่คนทั้งหลายเหล่านั้นอยิ้งนัก ดุจมีความท้อถ่อยเหนื่อยหน่ายจากความเพียนและมาณะที่จะคิดเกี่ยงแก้คนทั้งหลายให้พ้นจากภัยพม่า เปนเดชะกุสลบันดาลดลจิตรคิดกลับใจเหตุที่จะได้ทำราชการฉลองพระเดชพระคุณและจะได้เปนหัวน่านำกระกูณต่อไปในเบื้องน่า"
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 19:57

"ท่านผู้พี่ตอบว่าถ้าเราฆ่าพม่าผู้คุมเสียแล้วเราหนีไปกลัวจะไปพบกองทัพพม่าที่คุมเรามาสองฟากแม่น้ำเข้าก็จะจับเราทั้งสามฆ่าเสีย พี่เห็นว่าจะหนีไปไม่พ้นก็จะเปนอันตรายแก่ตัว แต่ว่าเมื่อน้องเห็นดีอย่างใดแล้วก็ตามใจ แต่ท่านผู้น้องนั้นเห็นดีด้วยขุนสุระสงคราม"

"จึงพันเอินให้มีจิตรคิดมาณะตั้งมั่นมิได้คั่นคร้ามหวาดหวั่นไหว จึ่งค่อยกระซิบปฤกษาด้วยนายด้วงผู้พี่ นายสุจผู้น้อง ว่าเวลาก็จวนเทียง ตำบลบางเขนนี้นามก็เปนไชยมงคลและเทพยดาก็บันดาลที่จะให้เราพ้นเงื้อมมืออ้ายพม่าในเวลานี้เปนแน่ จึงพันเอินเรือกองทัพมิได้ล่องลำลงมา ข้าคิดจะฆ่าอ้ายพม่าทั้งสองเสีย แล้วเราภากันขึ้นบกจะได้ไปคิดการต่อไปจะเหนอย่างไร นายด้วงผู้พี่จึงว่าซึ่งเจ้าคิดนี้ก็ชอบอยู่ แต่จะจลาจลขึ้นบัดนี้ ถ้ามิตลอดจะมิภากันตายเสียหรือ อนึ่งถ้าจะหนีขึ้นบกก็เปนทำเลท้องทุ่ง เกลือกเรือกองทัพยกลงมารู้ว่าเราทำอันตรายพม่าภาพันหนีจะจัดกันแยกกองออกก้าวสกัดติดตาม ที่ไหนเราจะหนีไปพ้นเล่า นายเพงจึงตอบว่าซึ่งพี่ว่านั้นก็ควนแล้ว แต่พี่คิดเหนการเกินไป ถ้าเราฆ่ามันได้แล้วล่มจมเรือทิ้งสภเสีย ไหนอ้ายพวกกองทัพจะรู้ว่าเราหนีขึ้นกรงไหน ถึงมาทแม้นถ้ามันจะรู้ว่าเราหนี ซึ่งจะอาจทิ้งครัวขึ้นไปติดตามเรานั้นไม่มีเปนแน่ นายสุจน้องผู้น้อยจึ่งว่าการที่พี่คิดนี้ชอบแล้ว จะให้ข้าทำประการใดก็อย่าช้าเลย มันตื่นจะทำยาก"
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 20:01

"(ขุนสุระ)จึงได้นัดหมายกันว่าเวลาค่ำวันนี้ ให้คอยสังเกตดูถ้าเห็นพม่าผู้คุมแอบหลับสนิทแล้ว ก็ย่องเข้าไปแย่งเอาดาบที่พม่าผู้คุม ฆ่าพม่าผู้คุมเสียให้ได้ จงพร้อมกันทั้งสองคน ถ้าเห็นว่าพม่าตื่นจะทำการไม่สำเร็จก็ให้แก้ตัวว่าจะเข้าไปบอกให้รู้ว่าคนครัวหนี ครั้นนัดหมายกันเสร็จแล้วก็ต่างคนไปคอยคุมเชิงพม่าอยู่ ครั้งเวลาสองยามเศษ เห็นพม่าผู้คุมนอนหลับสนิทแล้ว ทั้งสองคนจึงค่อยย่องเข้าไปที่พม่านอนทั้งเรือแลท้ายเรือ ฉวยได้ดาบของพม่าทั้งสองคนแล้ว จึงให้สัญญาฟันพม่าลงพร้อมกันตายทั้งสอง "

"นายเพงจึ่งว่า ถ้าดังนั้นเจ้าจงไปค่างน่าเรือทำกิริยาตามอุบาย เมื่อเข้าชิดแล้วลอบชักเอาพร้าของมันให้ได้ แล้วจึ่งเลี้ยวมาให้สัญา พี่จะฆ่าอ้ายคนค่างท้ายให้พร้อมกัน ครั้นพูดนัดกันแล้วก็นุ่งผ้าคาดกระสันมั่นคง ต่างค่อยเดินกรงเข้าไปประดุจมีกิจที่จะเข้าไปแจ้งความ พวกครัวไทที่อยู่ในเรือเป็นหมู่ๆ ก็มิได้มีความสงไส ครั้นเข้าไปได้ชิดเหนอ้ายพม่าหลับสนิดสิ้นสมปรดี ต่างก็อยิบพร้ายาวที่วางไว้ค่างตัวมาได้ แล้วผินมาพยักหน้าให้สัมคัญ ต่างก็ฟันอ้ายพม่าสีสะขาดตายด้วยคมพร้า แล้วก็ถีบอาสภอ้ายพม่าตกน้ำจมไปทั้ง ๒ สภ "
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง