ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ประวัติศาสตร์ไทย
>
อยากทราบประวัติ คุณกรุ่ม สุรนันทน์
หน้า:
1
...
9
10
[
11
]
พิมพ์
อ่าน: 47722
อยากทราบประวัติ คุณกรุ่ม สุรนันทน์
piyasann
พาลี
ตอบ: 379
ความคิดเห็นที่ 150
เมื่อ 08 ก.ค. 12, 17:24
นอกจากพระยาราชสัมภารากร จะแต่งโคลงรามเกียรติ์ และนิราศระยะทางเมืองนครเชียงใหม่แล้ว ท่านยังได้คัดลอก วรรณกรรมล้านนา ๒ เรื่อง กลับลงมาด้วย ซึ่งทายาท ได้จัดพิมพ์ลงในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมขาว เกษมศรี บุตรีของท่าน เป็นเอกสารอ้างอิงในการศึกษาวรรณกรรมล้านนา อีกสำนวนหนึ่งของไทย
"น่าต้น โคลงหริภุญชัย เปนนิราศไปไหว้พระสุเทพหนานเจาแต่ง แปรตามโวหาร ความเหน"
พระยาราชสัมภารากร ได้คัดลอก นิราศเรื่องนี้ ซึ่งแต่งขึ้นเป็น คำเมือง (ภาษาเหนือ) ตั้งแต่สมัยอยุธยา และมีผู้แปลเป็นภาษาไทยภาคกลางไว้ โดยท่านเจ้าคุณได้แต่งตอนท้ายเพิ่มเติม ๒ บท ว่า
โคลงยวนแยงถ่องถ้อง แถมฉงน จิ่มเอ
มคธพาคยขอมชวนปน เบือกเคล้า
สกฏะสยามสน สูตรม่าน เมงหน่า
หวันเจตรจำเคิงเม้า โบ่มแก้ว กุมแมน
เมิลโคลงมองมิ่งกั้ง แกมผัน
เพียรพากยฮ่ายจองหวัง จิบช้าย
เวรลุนเยียยักตัน งวมงืด
ปวะเล่ห์ไบ้แบบบ้าย ฮ่ามฮื้อ คำสนอง
พร้อมกันนั้น ท่านยังทำคำอธิบาย ความหมายของคำเมือง ให้ผู้่อ่านภาคกลาง เข้าใจได้ด้วย.......
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
ตอบ: 379
ความคิดเห็นที่ 151
เมื่อ 08 ก.ค. 12, 17:35
ส่วนอีกเรื่องหนึ่งคือ
ประทุมสังกา
ซึ่งเป็นโคลงบทอัศจรรย์ (บทอีโรติก !!) ของล้านนา
ว่าด้วยกษัตริย์ ไปทายชื่อนางที่เกิดจากดอกบัว ซึ่งพระฤษีเลี้ยงดู ถ้าทายถูกก็จะยกให้ เนื้อเรื่องมีน้อยนิดมาก แต่บทพิศดารนี้ ถึงพริกถึงขิง เหลือเกิน !!!!!!!!
ท่านเจ้าคุณท่านเขียนบทนำว่า
"บัดนี้ ข้าพเจ้าจะนำเรื่อง ประทุมสังกา ซึ่งข้าพเจ้าขึ้นไปได้มาแต่นครเชียงใหม่ ที่ผู้่รู้ฉลาดในหมู่โยนกเรียบเรียงเปนเรื่องไว้ มาลอกลงในเล่มนี้ด้วย ภอเปนที่ยินดีแด่ท่านผู้ประสงค์สดับในเรื่องต่างๆ แลสำนวนโวหารแปลกๆ พระยาคราวแต่งต้นเรื่องประทุมสังการแต่นี้" และมีต่อตอนท้ายว่า
ตั้งบดน้อมเกล้ากราบ ทูลถวาย
สดับกลอนยาดยังยาย กราบท้าว
เอกโทเค้าคำปลาย ถมบาด โคลงเอ
กรบำรุงน้อมน้าว กราบท้าวเจ้าคุณฯ
เทาสัตะทัศหกแส้ง ดำนาร
กลอนกล่าวคำโคลงสาร สืบอ้าง
เปนสุดเรื่องปราณ โยนเยื่อง แปงเอ
เสาะมุ่งจำรุงส้าง ส่ายไว้เปนอุเปนฯ
ไปค้นๆ ดู มีผู้ทำวิจัย วิเคราะห์เรื่องประทุมสังกาไว้อยู่น่าสนใจดีครับ หรือเวลาใครพูดถึงเรื่องประทุมสังกา
ก็มักจะยกบทอัศจรรย์ บนหลังช้าง
ซึ่งวาบหวามมมมม...มากกกกกกกกก เป็นตัวอย่าง
ท่านใดอยากทราบ โปรดหาอ่านตามห้องสมุดได้ครับ เพราะโป๊ เหลือใจ ไม่กล้านำลง .........
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
ตอบ: 1436
ความคิดเห็นที่ 152
เมื่อ 08 ก.ค. 12, 18:16
ตำแหน่งข้าหลวง ณ เมืองเชียงใหม่นั้น มีทั้งข้าหลวงพิเศษ ข้าหลวงสามหัวเมือง ณ ศาลต่างประเทศ ข้าหลวงห้าหัวเมือง ข้าหลวงใหญ่รักษาราชการมณฑลพายัพ อุปราชและมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพ ท่านใดดำรงตำแหน่งช่วงใดรวบรวมมาได้ดังนี้ครับ
รายพระนามและรายนามข้าหลวง
ที่ทรงพระกรุณาโปรดกล้าฯ ให้ขึ้นไปประจำปฏิบัติราชการที่เมืองนครเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๔๑๘ – ๒๔๗๖
***************
ข้าหลวงพิเศษจัดระเบียบปกครองสามหัวเมือง
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร
พ.ศ. ๒๔๒๖ – ๒๔๒๗
ข้าหลวงพิเศษจัดการป้องกันพระราชอาณาเขตทางเมืองเชียงใหม่ที่ต่อกับยางแดงและเงี้ยว
พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต
พ.ศ. ๒๔๓๑ – ๒๔๓๓
ข้าหลวงพิเศษจัดการปกครองเมืองนครเชียงใหม่
เจ้าพระยาพลเทพ (พุ่ม ศรีไชยันต์)
พ.ศ. ๒๔๓๓ – ๒๔๓๕
**********
ข้าหลวงสามหัวเมือง
พระนรินทรราชเสนี / พระยาเทพประชุน (พุ่ม ศรีไชยันต์)
พ.ศ. ๒๔๑๗ – ๒๔๒๓
พระยาราชเสนา (ชุ่ม พยัฆนันทน์)
พ.ศ. ๒๔๒๓ – ๒๔๒๕
พระยาราชสัมภารากร (เลื่อน สุรนันท์)
พ.ศ. ๒๔๒๕ – ๒๔๒๗
ข้าหลวงห้าหัวเมือง
พระยามนตรีสุริยวงษ์ (ชื่น บุนนาค)
พ.ศ. ๒๔๒๗ – ๒๔๓๐
พระยาเพชรพิไชย (จีน จารุจินดา)
พ.ศ. ๒๔๓๐ – ๒๔๓๒
พระราชวรินทร์ / พระยามหาเทพกระษัตริ์สมุห (บุศย์ บุณยรัตพันธุ์)
พ.ศ. ๒๔๓๒ – ๒๔๓๓
พระยาไกรโกษา (เทศ ภูมิรัตน์)
พ.ศ. ๒๔๓๓ – ๒๔๓๖
ข้าหลวงใหญ่รักษาราชการมณฑลลาวเฉียง / มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ / มณฑลพายัพ
พระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค)
พ.ศ. ๒๔๓๕ – ๒๔๔๒
พระยานริศรราชกิจ (สาย โชติกสถียร)
พ.ศ. ๒๔๔๒ – ๒๔๔๖
พระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ / เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร)
พ.ศ. ๒๔๔๖ – ๒๔๕๘
อุปราชมณฑลภาคพายัพ และสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลพายัพ
มหาเสวกโท เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร)
๒๔๕๘
นายพลโท หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร
พ.ศ. ๒๔๕๙ - ๒๔๖๕
มหาเสวกโท เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦาชัย (พร จารุจินดา)
พ.ศ. ๒๔๖๕ – ๒๔๖๘
สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลพายัพ
มหาอำมาตย์โท พระยาราชนกูลวิบุลยภักดี (อวบ เปาโรหิต)
พ.ศ. ๒๔๖๙ – ๒๔๗๑
มหาอำมาตย์โท นายพลโท พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์
พ.ศ. ๒๔๗๑ – ๒๔๗๕
มหาอำมาตย์ตรี พระยากัลยาณวัฒนวิสิษฐ์ (เชียร กัลยาณมิตร)
พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๗๖
บันทึกการเข้า
หน้า:
1
...
9
10
[
11
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.03 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...