เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
อ่าน: 77315 ใบพระราชทานนามสกุล
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 16:29

เพิ่มเติม "หิญชีระนันทน์" ครับ


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 16:55

อำมาตย์ตรี พระสอนถูกระบอบ ( เรือง หิญชีระนันท์)

เกิดเมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๘ (สมัยรัชกาลที่ ๕ - มีชีวิตอยู่ ๕ แผ่นดิน)

นายเรืองเป็นบุตรคนที่ ๖ ในจำนวน ๘ คนของนายตง และนางแสง ชาวบ้าน ตำบลบ้านโป่ง งูเหลือม (บ้านหัวตะเข้) ท่ายาง เมืองเพชรบุรี มีอาชีพ ทำไร่ ทำสวน แต่ฐานะดีครอบครัวหนึ่งในตำบล เริ่มต้นศึกษาที่วัดท่าคอย เขาย้อย เมืองเพชร เป็นเวลา ๕ ปีก่อนจะย้ายมาเรียน บาลี มูลบทบรรพกิจ และศาสนา กับพระภิกษุทัด ที่วัดเขากระจิว (วัดบรรพตาวาส) จนพระอาจารย์หมดภูมิจะสอนนายเรือง จึงแนะนำให้เข้ามาเีรียนต่อในพระนคร

แต่ขณะนั้น นายตงได้ล้มเจ็บ และเีสียชีวิตลง เมื่อนายเรืองอายุได้ ๑๒ ปี แต่ทางบ้านนายเรืองก็อุตสาหะ มารดาและพี่น้อง ๗ คนยินดีทำไร่ไถ่นา หาเลี้ยงชีพเพื่อให้นายเรืองได้มีโอกาสร่ำเรียนต่อ บังเอิญมีกระบวนเสด็จของเจ้านายจากบางกอก แปรพระราชฐานมาัยัง วังบ้านปืน นางแสงจึงฝากนายเรืองมากับคนรู้จักในกระบวนตามเสด็จฯ

เมื่อเข้ากรุงเทพฯ นายเรือง ไปพำนักอยู่บ้านของผู้พาเข้ากรุงฯ สัปดาห์หนึ่งแล้วจึงแจวเรือไปส่งไว้ที่วัง กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ป้อมพระสุเมรุ ที่วังให้คนนำไปฝากไว้กับ เจ้าคุณเขมาภิมุขธรรม วัดบวรวิเวศวิหาร พ.ศ. ๒๔๔๓ ได้เข้าเรียนที่โรงเรียนมหามกุฏราชวิทยาัลัย สอบไล่ได้ประกาศนียบัตรชั้น ๓ แล้วไปเรียนต่อที่โรงเรียนวัดมหรรพาราม สอบไล่ได้ชั้น ๓ ประโยค ๑ ปีถัดมา

ปีพ.ศ. ๒๔๔๕ สอบไล่ประโยค ๒ ที่วัดบวรนิเวศ แล้วไปเรียนโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส ได้ประกาศนียบัตรครูประถม ได้รับพระราชทานเงินเดือน เดือนละ่ ๒๕ บาท และสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรครูมัธยมสามัญ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ซึ่งมีเพียง ๔ คนที่สอบได้ เป็นอันจบการศึกษา ได้รับพระราชทาน ผ้าม่วงจาก สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นรางวัลในการสอบไล่ได้








บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 17:41

นายเรือง เริ่มรับราชการ "ครู" เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี สอนที่โรงเรียนวัดสุทัศน์ รับพระราชทานเงินเดือน เดือนละ ๖๕ บาท (พ.ศ. ๒๔๔๘)  สอนได้ ๔ ปี ทางการ รวมโรงเรียนวัดสุทัศน์ ไปรวมไว้กับโรงเรียนวัดราชบูรณะ จึงย้ายไปสอนที่ใหม่  มีตำแหน่งเป็น ครู(น้อย) เติบโตจนเป็น ครูใหญ่ ที่โรงเรียนวัดวินัยชำนาญ และโรงเรียนวัดนวลนรดิศ อายุได้ ๓๐ ปี รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนสอนถูกระบอบ" พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็นบรรดาศักดิ์คู่กับ "ขุนสอบถูกระบิล" (หลวงสอบถูกระบิล)

พ.ศ. ๒๔๖๑ กระทรวงธรรมการ ย้ายขุนสอนถูกระบอบ มารับราชการพนักงานสอบไล่ กองสอบไล่ รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงสอนถูกระบอบ เป็นคุณหลวงสอนฯ ได้ ๙ ปี ก็ได้รับพระราชทานเลื่อนเป็น พระสอบถูกระบอบ พ.ศ. ๒๔๗๐  

ข้าราชการกระทรวงธรรมการจะเป็นอยู่เป็นประจำคือ คุณหลวง นุ่งผ้าม่วงสีน้ำเงิน สวมเสื้อราชประแตนกระดุม ๕ เม็ด เรียบร้อย มาทำงานตรงเวลา ไม่เคยขาด ไม่เคยสาย ในส่วนการสอน ท่านพร่ำสอนศิษย์อย่างเอาใจใส่

"อย่าดื่มเหล้า อย่าเกียจคร้าน ตั้งใจเรียน และยึดมั่นในธรรมะ"

"อย่าเบียดเบียนผู้อื่น จงคิดเป็นกุศล และประกอบแต่กุศลกรรม"

อย่าตามใจตัวเองในทางที่ผิด จงรักษาสุขภาพทางกาย และทางใจอยู่เสมอ"

นอกจากการสอนในชั้นเรียน ท่านใช้เวลาแต่งตำราประกอบการสอนหลายเล่ม เช่น หนังสืออ่านประกอบวิชาภูมิศาสตร์สำหรับชั้นประถม และ ตำราภูมิศาสตร์แผนที่สำหรับชั้นมัธยมตอนต้น

บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 17 มิ.ย. 12, 17:53

พ.ศ. ๒๔๗๔ เลื่อนขึ้นเป็น ครูใหญ่ โรงเรีึยนวัดบวรนิเวศวิหาร (โรงเรียนเก่าของท่าน) แล้วย้ายไปเป็นพนักงานตรวจการแขวงธนบุรีตะวันตก ทำหน้าที่หัวหน้าแผนกสอบไล่ อยู่ ๒ ปี แล้วถูกปลดจากราชการ ฐาน "รับราชการมานาน" !!!!!   แต่ปีรุ่งขึ้น (๒๔๘๐) ก็ถูกเรียกกลับมารับราชการ แต่อยู่ในราชการได้อีกไม่นานก็ลาออก ขณะอายุได้ ๕๓ ปี รับราชการมา ๓๒ ปี

ชีวิตครอบครัว : สมรสกับนางสาวบุญเรือง สิงหบุระอุดม (นางสอนถูกระบอบ) บุตรีรองอำมาตย์โท ขุนอาวุธวัฒนา (บุญรอด สิงหบุระอุดม) มีบุตร-ธิดา ๑๐ คน เช่น พลโท นวล หิญชีระนันทน์ และ นางเรืองอุไร กุศลาศรัย ภรรยา นายกรุณา กุศลาศรัย เป็นต้น  ต่อมาท่านมีบุตรกับนางพยุงอีก ๘ คน

พระสอนถูกระบอบ มีอายุยืนยาวถึง ๑๐๐ ปี ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้ยกย่องท่านเป็น ครูอาวุโสตัวอย่าง ในวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๗

(เรียบเรียงจาก : ห้าแผ่นดิน ชีวประวัติของพระสอนถูกระบอบ พ.ศ. ๒๕๒๗ )



บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 19 มิ.ย. 12, 21:56

สำหรับการพระราชทานนามสกุล "หิญชีระนันทน์" นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงมาจาก ถ้อยคำจากสกุลเดิมของบรรพบุรุษชาวจีนของท่านคือ "หิ้นเจียน" ให้เข้ากับความหมายในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความยินดีรื่นเริงใจในโซ่ผูกช้าง ฮืม?? (แปลโดยผู้เรียบเรียงประวัติ ๕ รอบคุณพระฯ )


คุณ Vee_Mee ได้ช่วยไขข้อข้องใจหนึ่งไว้ในหนังสือ "ทะเบียฬนามสกุล ที่เราได้ให้ไป วชิราวุธ ปร." ซึ่งสอบทานกับราชกิจจานุเบกษา และสมุดทะเบียฬของรัชกาลที่ ๖ ได้ความว่า "หิ้นเจียน" เป็นชื่อ "ทวด" ไม่ใช่ ถ้อยคำจากสกุลเดิมของบรรพบุรุษชาวจีนของคุณพระฯ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 19 มิ.ย. 12, 22:01

"ตฤษณานนท์" (Trishnanonda) ควรจะอ่านว่า ตริด-สะ-หนา-นน ตามพจนานุกรม หรือ ตริดส์-นา-นน ดีครับ?


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 19 มิ.ย. 12, 22:39

นามสกุลนี้ พระราชทานมาแต่ นายกุหลาบ (ก.ศ.ร. กุหลาบ) นายชาย (ก.ห. ชาย) และครูนัดดา (หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์)

ทายาทของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ออกหนังสือ มีใจความมาว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสกุล เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ว่า "ตฤษณานนท์" โดยทรงเลียนจากชื่อนางตรุษผู้เป็นย่าของนายนัดดา


เรื่อง ตั้งนามสกุลตาม "เชื้อทางแม่" นี้ รัชกาลที่ ๖ ทรงเห็นว่า " ......ฝ่ายผู้หญิง ไม่ควรจะเอานามท่านเข้าไปเปนนาสกุล เพราะตามเกณฑ์ก็ว่า ผู้ชายเปนผู้ตั้งสกุล....."  ปรากฏอยู่ในใบพระราชทานนามสกุล "ศุภมิตร์" ซึ่งเดิม เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ ประสงค์จะให้ใช้นามสกุลผู้สืบเชื่อสาย ท่านเจ้าคุณนวล ราชินิกูล ว่า "บุนนาค-นวล"


เท่าที่อ่านทวนในสมุดทะเบียฬนามสกุลฯ แล้ว แทบจะไม่มีนามสกุลที่ตั้งตาม "เชื้อทางแม่" เลย ยกเว้น "สุจริตกุล" สำหรับผู้สืบเชื่อสายจาก ท้าวสุจริตธำรง (นาค) กับหลวงอาสาสำแดง (แตง)   .......(ท่านใดมีสำเนาใบพระราชทานฯ  โปรดแสดง)



บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 19 มิ.ย. 12, 22:53

ส่วนนามสกุลอื่นๆ กรณีตั้งตามชื่อ จะทรงตั้งตามชื่อตัว, ชื่อบิดาหรือบรรพบุรุษ แซ่สกุล ทางบิดาเท่านั้น ซึ่งก็น่าจะสมเหตุ เพราะดูจากตัวอย่างใบกราบบังคมทูลฯ ขอพระราชทานนามสกุล ใน คห. ๘๘ ก็บอกแต่ชื่อข้างฝ่ายบิดา เป็นสำคัญ เช่นในหมวด ต

ตปานนท์ ...... ปู่ชื่อตะ (เป็นมอญ)

ตมะวิโมกษ์ ...... บิดาชื่อหมอก (ตม - พจนานุกรมแปลว่า ความมืด ความเศร้าหมอง)

ตมัสปาณ .....ทวดชื่อหมอก

ตยังคชวนะ ......บิดาชื่อเตียงวัด

ตยังคะกนก ......ปู่ชื่อเตียง

ตยางคานนท์ ...... แซ่เดิม "เตียง"

ตะรุษานนท์ ..... ปู่ชื่อตรุษ

ตังคณะสิงห์ ..... บิดาชื่อจีนตังเซง

ตัณฑวณิช ......แส้ตัน

มีใกล้เคียงคือ ตฤณานนท์ (Trinananda) พระราชทาน นายร้อยตรีโมรา สัสดีเมืองสิงห์บุรี ปู่ชื่อแพรก (ตฤณ แปลว่าหญ้า )


ส่วน ตฤษณานนท์ นี้ พระราชทาน มหาดเล็กวิเศษนัดดา ครูโรงเรียนมหาดเล็กหลวง กับนายกุหลาบ(ปู่) และนายชาย(บิดา) ทวดชื่อ ตรึส

บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 19 มิ.ย. 12, 23:31

ทวดชื่อตรึส ตามที่ทรงจดไว้ในสมุดทะเบียฬฯ นี้ ตอนกราบบังคมทูล ครูนัดดาคงจะลงว่า "ทวดชื่อตรึส" ไม่ได้แจงว่า ทวดคือ ทวดชาย หรือ ทวดหญิง?

เพราะที่ทราบๆ กัน บิดา ของก.ศ.ร. กุลหลาบ ชื่อเสง  มารดาชื่อ ตรุษ หรือ ตรุศ ไม่มีปรากฏชื่อ "ตรึส" ในประวัติ ก.ศ.ร. (และก.ศ.ร. ก็เกิดวันตรุษไทย........ อันนี้น่าจะนอกประเด็น)


ในหลวงรัชกาลที่ ๖ เองก็คงไม่ทรงสืบแสวงหาบรรพบุรุษ ดังเช่นที่ ก.ศ.ร. ท่านเขียนประวัติตระกูลของผู้น้ำผู้ดีไปเสียหายคน  ......  เมื่อปรากฏว่า ทวดชืื่อตรึส ก็ ไม่ได้ทรงสอบสวนต่อ ตั้งไปตามที่กราบบังคมทูล .............. ฉนั้น ก็เป็นไปได้ว่า อาจจะทรงตั้งนามสกุล ตาม "เชื่อทางแม่" ไปโดยไม่ทรงทราบ ก็เป็นได้ ?

หรือ............ในหลวงรัชกาบที่ ๖  ก็อาจจะทรงอ่าน "สยามประเภท" แลหนังสืออื่นของ ก.ศ.ร. เช่นก้ัน (เพราะร่วมสมัย) อาจจะทรงทราบว่า มารดาของก.ศ.ร. เป็นคนมีเชื้อสาย เป็นคนบดี และบิดา ของก.ศ.ร. ก็แจวเรือไปมีบ้านใหม่  จึงทรงให้เกียรติ Single Mom (ทันสมัยมากกกกกก........) อิอิ


ฝากลายมือครูนัดดา (หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์) ปีพ.ศ. ๒๔๖๖ เผือท่านใดต้องการเทียบลายมือท่านซึ่งน่าสนใจ  เช่น ในหนังสือแจกงานศพ ก.ศ.ร. กุลาบ เรื่อง ตัมณาญธนบัตร์ ปีพ.ศ. ๒๔๖๑ เขียนมอบให้ใคร ห้องสมุดใด ก็เป็นลายมือ ครูนัดดา เป็นไปได้ว่าตอนหลังๆ  ครูนัดดา อาจจะเป็น ผู้ช่วย หรือเลขาฯ ของก.ศ.ร. กุหลาบ ?

ท่านพิมพ์หนังสือเล่มเล็กเท่าฝ่ามือ พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๖ หน้าไม่ถึง ๒๐ หน้าสนองคุณ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ฉลองพระชนมายุ ๖๕ พรรษา อ่านสำนวนคำนำแล้ว สุภาพ เจียมเนื้อเจียมตัว แทนคุณปู่ท่านจัง........... (รูปพระมนูแถลงสาร สีแดงชาด เพิ่งพิมพ์เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ จากตรางาช้างพระราชทาน ซึ่งไปซุกอยู่ในโต๊ะงานสังเค็ตงานพระบรมศพ รัชกาลที่ ๕ ที่ไม่มีใครเคยสนใจ .........  มีเด็กมือบอน แอบบปั๊มตราเก็บไว้ ก่อนที่จะส่งมอบคือหน่วยงานเจ้าของ หลังจากที่ตรานี้ สาบสูญไป ๒๐ ปี ......... )



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 20 มิ.ย. 12, 08:27

สำหรับการพระราชทานนามสกุล "หิญชีระนันทน์" นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงมาจาก ถ้อยคำจากสกุลเดิมของบรรพบุรุษชาวจีนของท่านคือ "หิ้นเจียน" ให้เข้ากับความหมายในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความยินดีรื่นเริงใจในโซ่ผูกช้าง ฮืม?? (แปลโดยผู้เรียบเรียงประวัติ ๕ รอบคุณพระฯ )


คุณ Vee_Mee ได้ช่วยไขข้อข้องใจหนึ่งไว้ในหนังสือ "ทะเบียฬนามสกุล ที่เราได้ให้ไป วชิราวุธ ปร." ซึ่งสอบทานกับราชกิจจานุเบกษา และสมุดทะเบียฬของรัชกาลที่ ๖ ได้ความว่า "หิ้นเจียน" เป็นชื่อ "ทวด" ไม่ใช่ ถ้อยคำจากสกุลเดิมของบรรพบุรุษชาวจีนของคุณพระฯ


หิญฺชีร แปลว่า m. a rope or chain for fastening an elephant's foot.

คำว่า หิญฺชีร ที่รัชกาลที่ ๖ ทรงนำมาตั้งเป็นนามสกุลนี้  ไม่ได้มุ่งเอาความหมายของคำ  แต่มุ่งเอาเสียงของคำที่คล้ายกับชื่อบรรพบุรุษของตระกูลนี้
คือ หิ้นเจียน  ฉะนั้นหากจะไปนามสกุลว่า  ความยินดีรื่นเริงใจในโซ่ผูกช้าง  ต่อไปหากว่าลูกหลานชั้นหลัง ไม่ได้สืบสวนที่มาของนามสกุลให้กระจ่าง
ก็จะเข้าใจคลาดเคลื่อนเหมือนกับนามสกุลพระราชทานอีกหลายนามสกุล   นามสกุลหิญชีระนันทน์ ต้องแปลตามบริบทของต้นสกุลว่า
ลูกหลานหรือเชื้อสายของจีนหิ้นเจียน  จึงจะถูกต้อง  ถ้าแปลตามศัพท์  คนจะสงสัยว่า  สกุลนี้เกี่ยวข้องอะไรกับช้าง 
แล้วคนต้นสกุลนี้ไปเกิดยินดีอะไรกับเชือกหรือโซ่ล่ามช้าง  ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีแม้แต่ช้างก็ตาม 

(นันท์ หรือ นันทน์ เป็นคำศัพท์บาลีสันสันสกฤต  มีความหมายหลายความหมาย  หนึ่งในจำนวนนั้นคือความหมายว่าลูกชาย
ถามว่าทำไมคำนี้จึงแปลว่าลูกชาย  อธิบายว่า  ในสังคมชาวอินเดียแต่บรรพกาล  ครอบครัวใดมีลูกชาย เป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง
เพราะลูกชายจะได้เป็นผู้สืบโคตรสกุลให้รุ่งเรืองต่อไป  และทำให้พ่อแม่ไม่ต้องตกนรกขุมปุตระ  เนื่องจากมีลูกชายทำพิธีศราทธพรตหรือสังสการ
อุทิศส่วนกุศลให้แก่พ่อแม่ที่ล่วงลับ  ซึ่งลูกสาวทำไม่ได้)
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 01 ก.ค. 12, 19:39

ศิริธร และ ศิริธร ณ พัทลุง

ซึ่ง มีผู้ใช่ ร่วมกัน คือ คุณปราณี ศิริธร ณ พัทลุง นักเขียนเรื่องลานนา (เพชรลานนา) นักหนังสือพิมพ์

และน้องชาย คุณ ปราโมทย์ ศิริธร นักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นภาคเหนือ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 01 ก.ค. 12, 19:40

ใบนี้ ก็ไม่ค่อยเคยเห็นครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Nithi Kanisthanon
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 07 ก.ค. 12, 02:48

พันเอกพระชิตสรการ (ยวง กนิษฐานนท์) เป็นผู้ขอพระราชทานนามสกุล

๐๗๑๑ กนิษฐานนท์ Kanishtha^nanda นายร้อยเอกยวง ผู้บังคับกองร้อยที่ ๒ โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม กระทรวงกระลาโหม ปู่เป็นหลวงอมรินทรรักษา (หนู) นายน้อย มหาดเล็กรัชกาลที่ ๓ เป็นทวด ปู่ทวดคือ หลวงสมบัติบดี (ฉิม) ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๖


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 18 ส.ค. 12, 23:48

"สุจริตกุล" ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทาน ที่ทรงตั้งจากทางฝ่ายหญิง (อาจจะมีเพียงนามสกุลเดียว ถ้าไม่นับรวม ราชสกุล ในพระพี่นาง - พระน้องนาง รัชกาลที่ ๑)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 18 ส.ค. 12, 23:49

สุจริตกุล แผ่นสอง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 20 คำสั่ง