สำหรับการพระราชทานนามสกุล "หิญชีระนันทน์" นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปลงมาจาก ถ้อยคำจากสกุลเดิมของบรรพบุรุษชาวจีนของท่านคือ
"หิ้นเจียน" ให้เข้ากับความหมายในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความยินดีรื่นเริงใจในโซ่ผูกช้าง
?? (แปลโดยผู้เรียบเรียงประวัติ ๕ รอบคุณพระฯ )คุณ Vee_Mee ได้ช่วยไขข้อข้องใจหนึ่งไว้ในหนังสือ "ทะเบียฬนามสกุล ที่เราได้ให้ไป วชิราวุธ ปร." ซึ่งสอบทานกับราชกิจจานุเบกษา และสมุดทะเบียฬของรัชกาลที่ ๖ ได้ความว่า
"หิ้นเจียน" เป็นชื่อ "ทวด" ไม่ใช่ ถ้อยคำจากสกุลเดิมของบรรพบุรุษชาวจีนของคุณพระฯ
หิญฺชีร แปลว่า m. a rope or chain for fastening an elephant's foot.
คำว่า หิญฺชีร ที่รัชกาลที่ ๖ ทรงนำมาตั้งเป็นนามสกุลนี้ ไม่ได้มุ่งเอาความหมายของคำ แต่มุ่งเอาเสียงของคำที่คล้ายกับชื่อบรรพบุรุษของตระกูลนี้
คือ หิ้นเจียน ฉะนั้นหากจะไปนามสกุลว่า ความยินดีรื่นเริงใจในโซ่ผูกช้าง ต่อไปหากว่าลูกหลานชั้นหลัง ไม่ได้สืบสวนที่มาของนามสกุลให้กระจ่าง
ก็จะเข้าใจคลาดเคลื่อนเหมือนกับนามสกุลพระราชทานอีกหลายนามสกุล นามสกุลหิญชีระนันทน์ ต้องแปลตามบริบทของต้นสกุลว่า
ลูกหลานหรือเชื้อสายของจีนหิ้นเจียน จึงจะถูกต้อง ถ้าแปลตามศัพท์ คนจะสงสัยว่า สกุลนี้เกี่ยวข้องอะไรกับช้าง
แล้วคนต้นสกุลนี้ไปเกิดยินดีอะไรกับเชือกหรือโซ่ล่ามช้าง ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีแม้แต่ช้างก็ตาม
(นันท์ หรือ นันทน์ เป็นคำศัพท์บาลีสันสันสกฤต มีความหมายหลายความหมาย หนึ่งในจำนวนนั้นคือความหมายว่าลูกชาย
ถามว่าทำไมคำนี้จึงแปลว่าลูกชาย อธิบายว่า ในสังคมชาวอินเดียแต่บรรพกาล ครอบครัวใดมีลูกชาย เป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง
เพราะลูกชายจะได้เป็นผู้สืบโคตรสกุลให้รุ่งเรืองต่อไป และทำให้พ่อแม่ไม่ต้องตกนรกขุมปุตระ เนื่องจากมีลูกชายทำพิธีศราทธพรตหรือสังสการ
อุทิศส่วนกุศลให้แก่พ่อแม่ที่ล่วงลับ ซึ่งลูกสาวทำไม่ได้)