เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6646 ความเป็นมาของรูปปั้นช้าง
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



 เมื่อ 29 เม.ย. 12, 05:00

น้องคนหนึ่งในห้องไร้สังกัด พันทิป เขาสงสัยเรื่องของรูปปั้นช้าง (หรือรูปหล่อโลหะ์?) ของช้างที่ตั้งอยู่หน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง
ผมก็ไม่ทราบที่ไปที่มา
ท่านใดพอจะช่วยชี้แจงความเป็นมาได้บ้างครับ
จากกระทู้
http://www.pantip.com/cafe/isolate/topic/M12021766/M12021766.html


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 เม.ย. 12, 06:27

คุณวิกกี้ บอกว่า

ที่ด้านหน้าสถานีมีสวนหย่อมและน้ำพุสำหรับประชาชน โดยข้าราชการรถไฟได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯ อุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระพุทธเจ้าหลวง อนุสาวรีย์ที่ว่านี้เป็นรูป “ช้างสามเศียร” มีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แกะสลักเป็นภาพนูนสูงประดิษฐานอยู่ด้านบน

เคยสงสัยอยู่เช่นกัน

สงสัยอยู่ ๒ ข้อ

๑. ระเบิดร่วงลงมาตรงหลุมหลบภัย แต่เหตุไฉนรูปปั้นช้างสามเศียรยังคงอยู่ไม่บุบสลาย

๒. รูปปั้นช้างสามเศียร เกี่ยวข้องอะไรกับสถานีรถไฟหัวลำโพง

 ฮืม

รูปช้างสามเศียรปรกติเราจะนึกถึงช้างเอราวัณ  แต่มีอีกความหมายหนึ่งให้พึงคิด

ตราแผ่นดินเดิมสมัย ร. 5 ก่อนที่เราจะใช้ตราครุฑเป็นตราแผ่นดินในราชการเดี๋ยวนี้นั้น ถ้าใครนึกไม่ออกก็ขอให้นึกถึงตราหน้าหมวกตำรวจ เพราะเมื่อไม่ได้ใช้เป็นตราแผ่นดินแล้วตำรวจไทยก็เชิญตรานี้ไปประดับหน้าหมวกจนปัจจุบันนี้

ลักษณะตราแผ่นดิน เป็นรูปโล่อยู่ตรงกลาง แบ่งเป็นสามส่วน ส่วนบนของโล่เป็นรูปช้างสามเศียร หมายถึงสยามเหนือ สยามกลาง สยามใต้ ส่วนล่างของโล่แบ่งอีกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นรูปช้าง (ธรรมดา มีหัวเดียว) 1 เชือก หมายถึงประเทศราชทางลาว ซึ่งขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของพระราชอาณาเขต อีกส่วนหนึ่งเป็นรูปกริช 2 เล่มไขว้กัน หมายถึงประเทศราชทางหัวเมืองมลายูทั้งหลาย ซึ่งตอนนั้นยังขึ้นกับไทยเหมือนกัน

เบื้องบนขึ้นไปจากโล่ มีพระมหาพิชัยมงกุฏเปล่งรัศมีอยู่ (มงกุฏไทยไม่ใช่มงกุฎทรงฝรั่ง แต่ความคิดเดียวกัน) มีตราพระราชวงศ์จักรีอยู่ใต้มหามงกุฎ มีพระมหาเศวตรฉัตรอยู่สองข้างมงกุฏ และมีเครื่องราชกกุธภัณฑ์ คือเครื่องหมายแสดงความเป็นพระราชาของราชบัลลังก์สยามประกอบอยู่รอบๆ

เบญจราชกกุธภัณฑ์นั้นมีห้าอย่าง หรือถ้าถามผมก็ว่าห้าอย่างครึ่ง เพราะไม่แน่ใจว่ามันห้าหรือหกอย่างกันแน่ อย่างแรกคือพระมหาพิชัยมงกุฏ อย่างที่สองคือพระแสงขรรค์หรือดาบ อย่างที่สามคือธารพระกรคือไม้เท้า ทั้งพระแสงดาบและไม้เท้านี้ไขว้กันประกอบอยู่สองฟากของโล่ เห็นแต่ด้าม อย่างที่สี่และสี่ครึ่งที่จริงเป็นสองอย่าง แต่โบราณท่านนับเป็นอย่างเดียวกัน คือที่บาลีเรียกว่าวาลวีชนี ซึ่งแปลออกมาได้เป็นสองอย่างคือพระแส้ปัดขนจามรีก็ได้ พัดก็ได้ ไม่แน่ใจว่าคืออะไรแน่ เพื่อให้ปลอดภัยโบราณท่านก็เลยสร้างไว้ทั้งสองอย่าง แต่เวลานับ นับเป็นอย่างเดียว อย่างที่ห้าคือฉลองพระบาทหรือรองเท้าเชิงงอน เครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้งห้านี้ล้วนเป็นส่วนประกอบของตราอาร์มแผ่นดินทั้งสิ้น อยู่รอบๆ โล่

สองฟากตรามีราชสีห์คชสีห์ประคองตรา ซึ่งเป็นความคิดฝรั่งเหมือนกัน แต่เมื่อมาถึงเมืองไทยแทนที่จะเป็นสิงโตกับยูนิคอร์น หรือมังกรในนิยายฝรั่ง ก็เป็นสัตว์ในนิยายไทยของเราเอง ซึ่งเคยอยู่ในตราเก่าของเราเอง

รอบโล่ตราแผ่นดินมีรูปสายสังวาลย์นพรัตน์ ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงมากตระกูลหนึ่ง (คล้ายๆ กับรูปสายเข็มขัดในตราแผ่นดินอังกฤษ ซึ่งมุ่งให้หมายถึงอิสริยาภรณ์ตราการ์เตอร์) ล่างลงมาเป็นสายสร้อยในเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ซึ่งเป็นอิสริยาภรณ์ชั้นสูงอีกตระกูลของเมืองไทย สถาปนาโดยในหลวง ร. 5 เอง

พื้นหลังของตราเป็นรูปฉลองพระองค์ครุย คลี่คลุมโล่หรือตราอยู่ เอาแบบมาจากพื้นหลังตราฝรั่งที่เป็นรูปผ้าคลุมหรือเสื้อคลุมเหมือนกัน

ล่างสุดเป็นแถบแพรหรือแถบริบบิ้น ในตราฝรั่งก็จะเป็นคำขวัญภาษาละตินบ้าง หรือภาษาอื่นๆ ของเราเป็นพระคาถาภาษาบาลี  

แปลว่า ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ ยังให้เกิดความเจริญ

นี่แหละครับ ตราอาร์มของไทยที่เทียบได้กับตราอาร์มของฝรั่ง




ก็ยังไม่ทราบความหมายของอนุสาวรีย์นี้อยู่นั่นเอง

 ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 เม.ย. 12, 10:40

อนุสาวรีย์ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นหลังจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๕๓ บรรดาข้าราชการรถไฟได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์เป็น "อนุสาวรย์น้ำพุ" สำหรับให้ประชาชนใช้สอยบริโภค เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การก่อสร้างและเปิดใช้เป็นสาธารณะเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๙ มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ๙,๒๒๔ บาท ๓๖ สตางค์

ที่มาราชกิจจานุเบกษา

ดังนี้แล้วการสร้างอนุสาวรีย์ดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนได้ใช้สอยบริโภคน้ำ ก็จัดอยู่ในจำพวกอุทกทานแบบหนึ่ง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 เม.ย. 12, 12:00

แผนที่ พ.ศ. ๒๔๕๐ บริเวณสถานีกรุงเทพ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 29 เม.ย. 12, 15:39

ขอบคุณที่ชี้แนะครับ

วันพรุ่งนี้สิ้นเดือน ก่อนวันหยุดของผู้ใช้แรงงาน ต้องแวะเวียนไปทำความรู้จักให้มากขึ้น สังเกตอยู่ว่ามีคำจารึกรอบฐานทั้งสี่ด้าน จะลุยน้ำเข้าไปอ่านให้จงได้ แล้วค่อยมาว่ากันต่อไป

แต่ใน รจ ก็ไม่ได้บอกที่มาของรูปอนุสาวรีย์ช้างสามเศียรนี้

บันทึกกันลืม - รจ เล่ม ๓๓ น่า ๑๐๓๑ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๕๙ แจ้งความกระทรวงคมนาคม พแนกรถไฟ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 29 เม.ย. 12, 18:22

^
^



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 29 เม.ย. 12, 19:06

อนุสาวรีย์นี้คงเอารูปลักษณะมาจาก เหรียญเงินหนึ่งบาท ร.ศ. ๑๒๗

เหรียญนี้สั่งเข้ามายังไม่ได้ประกาศใช้ พอดีผลัดแผ่นดินใหม่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเหรียญนี้เป็นที่ระลึกในงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี ร.ศ.๑๒๙

ชื่อที่เรียกทั่วไปคือ"เหรียญหนวด ช้างสามเศียร" ผลิตขึ้นตามพระราชบัญญัติมาตราทองคำ ร.ศ.๑๒๗ เพื่อใช้หมุนเวียนแทนเงินตรารุ่นเก่า สั่งผลิตจากโรงกษาปณ์ปารีส ประเทศฝรั่งเศส จำนวน ๑,๐๓๖,๖๙๑ เหรียญ

ด้านหน้าเป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ฉลองพระองค์เต็มยศทหารมหาดเล็ก มีอักษรพระปรมาภิไธย “จุฬาลงกรณ์ สยามมินทร์” ที่รอบขอบเหรียญ เหนือพระอังสาเบื้องซ้ายมีชื่อของผู้แกะสลักแม่แบบ A.PATEY (AUGUSTE PATAY)

ด้านหลังเป็นรูปช้างสามเศียร มีอักษร “สยามรัฐ ร.ศ.๔๑ ๑๒๗” และมีตัวอักษรบอกราคา “หนึ่งบาท” วงขอบนอกมีเฟือง ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “เหรียญหนวด” เพราะพระองค์ทรงไว้พระมัตสุที่งดงามมาก รูปช้างสามเศียร หมายถึง สยามเหนือ สยามกลาง สยามใต้ เลข ๔๑ บน ร.ศ. หมายความว่า ได้ครองราชมา ๔๑ ปีแล้ว

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 พ.ค. 12, 13:47

จะเห็นว่าลักษณะของน้ำประปาสาธารณะบริเวณหน้าสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ในภาพจะมีประชาชนมาตักน้ำนำไปใช้ ใต้โครงเหล็กหล่อครึ่งวงกลมทำเป็นหินอ่อนประดับ มีก๊อกน้ำแทงออกมา ที่ฐานล่างทำเป็นบ่อน้ำไว้รองรับน้ำ จะเห็นว่าไม่มีแผ่นหินอ่อนจารึกแต่ประการใดเลย

จารึกบนหินอ่อนที่เห็นในปัจจุบันนี้คงทำขึ้นมาใหม่หลังจากบูรณะอนุสาวรีย์หลังสงครามโลกคร้งที่สอง


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 07 พ.ค. 12, 14:05

เดินเข้าไปถ่ายภาพใกล้ ๆ ให้ดูลักษณะของสถาปัตยกรรมและอนุสาวรีย์


บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 18:06

เสนอรูปนี้


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 01 ส.ค. 12, 19:00

ภาพด้านบนนี้เป็นบรรยากาศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หมู่อาคารที่ตั้งอยู่ด้านหน้าแนวถนนหัวลำโพง (ถนนพระราม 4) ถูกระเบิดเสียหายหนักมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง