han_bing
|
เมื่อไม่นานมานี้ก่อนเทศกาลเช็งเม็ง (清明节:qing ming jie) ข้าพเจ้าเดินทางไปเที่ยงเมืองเซี่ยงไฮ้ (上海:shang hai) เนื่องจากอากาศกำลังดี แต่ว่าข้าพเจ้าไม่ได้ไปตอนเช็งเม็ง เพราะตอนนั้นคนจะเยอะ
ระหว่างเดินทัศนาทิวทัศน์และบ้านเรือนสวยๆในเซี่ยงไฮ้ในเขตซินเทียนตี้ (新天地:xin tian di) ซึ่งเป็นย่านอยู่อาศัยเดิม แต่ภายหลังรัฐบาลได้ปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ข้าพเจ้าเดินชมตึกไปพลาง ฟังเพลงจากมือถือไปพลาง เพลงหมุนวนไปถึงเพลงชื่อ “เหลียงซานป่อและจูเลียต” (梁山伯与朱丽叶:liang shan bo yu zhu li ye) ร้องคู่กันโดยนักร้องชายชื่อเฉาเกอ (曹格: cao ge ) และนักร้องหญิงชื่อ จั่ว เหวิน ซวน(卓文萱 :zhuo wen xuan) ข้าพเจ้าชอบเพลงนี้มาก เนื้อเพลงเป็นทำนองว่าชายคนหนึ่งรักหญิงคนหนึ่งมาก แต่ไม่กล้าพูดคำว่ารัก จนในที่สุดฝ่ายหญิงก็กล่าวว่า จะพูดอะไรก็พูดมาเถิด อย่างไรก็ตกลง... ฟังดูน่ารักเสียนี้กระไร
ภาพย่านซินเทียนตี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:01
|
|
นอกจากนี้เพลงดังกล่าวยังใช้ตัวละครจากวรรณกรรมรักอมตะของวัฒนธรรมตะวันออก และตะวันตกมาเป็นสัญลักษณ์แทนความรักในบทเพลง คือ เหลียงซานป่อ (梁山伯:liang shan bo) ซึ่งเป็นพระเอกมาจากนิยายจีนเรื่อง “ม่านประเพณี” (梁山伯与祝英台:liang shan boy u zhu ying tai) ซึ่งปรกติแล้วจะต้องคู่กับนางเอกที่ชื่อว่า จูอิงไถ (祝英台:zhu ying tai) แต่ในบทเพลงนี้กลับนำมาคู่กับจูเลียต จากบทละครเรื่องโรมิโอกับจูเลียต (Romeo and Juliet) ซึ่งปรกติต้องคู่กับโรมิโอ
แม้ทั้งสองตัวละครจะมาจากคนละวัฒนธรรม แต่ผู้แต่งก็นำสองตัวละครจากสองซีกโลกมาผสมผสานกันได้อย่างเหมาะเจาะ
การผสมผสานกันของเพลงนี้ช่างคล้ายกับอาคารบ้านช่องของเซี่ยงไฮ้เสียนี้กระไร
ภาพนักร้อง ภาพเหลียงซานป่อและจูอิงไถ ภาพโรมิโอและจูเลียตตามลำดับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:14
|
|
บ้านเรือนแบบ “สือคูเหมิน” (石库门:shi ku men)
อาคาร “สือคูเหมิน” (石库门:shi ku men) เป็นลักษณะอาคารที่พักอาศัยที่โดยเด่นมาในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของเซี่ยงไฮ้ (上海:shang hai) เป็นอาคารที่ผสมผสานกันระหว่างบ้านเรือนแบบเจียงหนาน (江南:jiang nan) กับการประดับประดาอาคารแบบตะวันตกเข้าด้วยกัน เริ่มต้นขึ้นกลางศตวรรษที่ ๑๘ ซึ่งเป็นช่วงที่เมืองจีนเกิดกบฏไท่ผิง (太平天国:tai ping tian guo) อันเริ่มต้นตั้งแต่ปี ๑๘๕๑ ถึง ๑๘๖๔ โดยก่อการกบฎในบริเวณพื้นที่ทางใต้แม่น้ำแยงซีเกียงของจีนเป็นหลัก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือในแถบเจียงหนานนั้นเอง
ในช่วงเวลานั้นชาวตะวันตกได้เขามายึดครองพื้นที่บางส่วนของจีน โดยถือว่าเป็นเขตเช่ามาพักใหญ่แล้ว หนึ่งในนั้นคือแถบเซี่ยงไฮ้ เหล่าขุนนาง เศรษฐี เรื่อยไปจนผู้พอมีอันจะกินและมีความสามารถจะหลบหนีได้ ได้หนีเข้ามาอยู่ในเขตเช่า เมื่อชาวจีนจำนวนมากได้อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว
นักอสังหาริมทรัพย์ชาวจะวันตกจึงได้สร้างบ้านเรือนที่พักอาศัยเพื่อขายให้แก่ชาวจีนเหล่านั้นโดยอาคารเป็นการผสมผสานระหว่างผังอาคารสถาปัตยกรรมแบบเจียงหนานกับการประดับตบแต่งแบบตะวันตก อย่างไรก็ตามจะนิยมสร้างแบบเรียบง่ายมิได้หรูหราเต็มไปด้วยการประดับประดาจากลายแกะสลักตามแบบอาคารบ้านเรือนของเจียงหนานแต่เดิม
ภาพพื้นที่ก่อการกบฎของกบฎไท่ผิง ภาพบ้านเรือนแบบเจียงหนานตามลำดับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:19
|
|
เหตุที่เรียกอาคารแบบดังกล่าวว่า “ซือคูเหมิน” มีที่มาจากการบรรยายลักษณะการก่อสร้างอาคารที่จะใช้หินเป็นกรอบประตู โดยแต่เดิมจะเรียกว่า “ซือกู่เหมิน” (石篐门:shi gu men) ซึ่งคำว่า ”ซือ” (石:shi) แปลว่า “หิน” , “กู่” (篐:gu) จะแปลว่า “รัด” หรือ “ห่วงสำหรับรัดสิ่งของ” และคำว่า “เหมิน” (门:men) แปลว่าประตู ดังนั้นชื่อของเป็นการบรรยายว่าอาคารดังกล่าวคือการใช้หินล้อมรัดเป็นกรอบประตูนั้นเอง ภายหลังชาวเซี่ยงไฮ้ได้เรียกเพี้ยนไปเป็น “ซือคูเหมิน” (石库门:shi ku men) โดยใช้คำว่า “คู” (库:ku )อันแปลว่า คลัง หรือโกดังที่เก็บสิ่งของ แทนคำว่า “กู่” ที่แปลว่าล้อมรัดแต่เดิม
ทั้งนี้ท่านใดจะไปเซี่ยงไฮ้ไม่ต้องไปเรียกให้ถูกต้อง หรือเขียนให้ถูกต้อเพราะจะกลายเป็นผิดไป ด้วยเขาเรียกผิดอย่างนี้หลายร้อยปีแล้ว จนคำผิดกลายเป็นคำที่ถูกต้อง
ภาพประตูของสือคูเหมิน ที่ได้รับการตบแต่งแบบตะวันตก
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:20
|
|
ลักษณะของอาคารจะเป็นผังอาคารสี่เรือนล้อมลานแบบเจียงหนาน กล่าวคือ มีลานเล็กตรงกลางบ้าน และมีการวางตัวบ้านล้อมอาคารนั้นๆ ลักษณะตบแต่งอาคารซือคูเหมินนี้จะตบแต่งประตูทางเข้าอาคารเป็นสำคัญ มีลายสลักอย่างงดงาม ในช่วงแรกเป็นการสลักลวดลายแบบจีน ภายหลังจึงมีการสลักลวดลายตามศิลปะตะวันตก อาคารอาจใช้อิฐสีเทาฉาบปูนสีขาว หรือไม่ก็ใช้เพียงอิฐสีเทาเท่านั้น ทั้งนี้ลักษณะพิเศษของอาคารแบบสือคูเหมิน อีกอย่างหนึ่งคือประตูนั้นจะทาแล็กเกอร์สีดำสนิท และจะนิยมทำเป็นประตูแบบมีสองบานประตู ภายหลังจึงเริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นแบบประตูเดียว
ลักษณะการก่อสร้างสือคู่เหมินนี้จะเป็นการผสมผสานกันกระหว่างโครงสร้างไม้และโครงสร้างอิฐ และมีลักษณะเด่นผิดจากอาคารจีนอื่นๆคือบนหลังคาจะมีการทำช่องหน้าต่างเล็กๆด้วย ช่องหน้าต่างนี้ในภาษาจีนจะเรียกว่า “หน้าต่างตาเสือ” (老虎窗:lao hu chuang)
ตัวประตูของสือคูเหมินจะนิยมตบแต่งอย่างงดงาม นิยมใช้หินหรืออิฐสีเทาแบบจีนมาสร้างเป็นกรอบประตูและทำการแกะสลักอย่างงดงาม เริ่มต้นอาจนิยมใช้ศิลปะจีนแต่ภายหลังนิยมใช้ศิลปะตะวันตกในการตบแต่งเป็นลายแกะสลักมากกว่า
ภาพบ้านสือคูเหมินแบบต่างๆลักษณะยุคปี ๑๙๑๐ ลงมา และหน้าต่างแบบตาเสือ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:30
|
|
ความเปลี่ยนแปลงของการตบแต่งและวัสดุในสถาปัตยกรรมแบบซือคูเหมินอาจเรียงลำดับได้ดังนี้
กล่าวคือ ในช่วงกลางศตวรรษที่ ๑๙ การสร้างอาคารนี้จะสร้างโดยใช้ผังอาคารแบบเจียงหนานอย่างเต็มที กล่าวคือ มีลานตรงกลาง และมีอาคารล้อมรอบลานกลางบ้าน ประตูนิยมทำเป็นสองบาน กำแพงอาคารนี้ก็นิยมทำสูงใหญ่มากตามแบบบ้านเรือนของเจียงหนาน คือสูงเกือบครึ่งหนึ่งของอาคารชั้นสอง
ภาพสือคูเหมินในยุคแรก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:34
|
|
อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าสู่ต้นศตวรรษที่ ๒๐ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในผังอาคาร ช่วงทศวรรษที่ ๑๙๑๐ ผังอาคารมีการเปลี่ยนแปลงคือ แทนที่จะทำอาคารล้อมลานทั้งสี่ด้าน ก็มีการลดเหลือแค่สามด้าน โดยห้องบริวารที่อยู่ข้างซ้ายและขาวของลานเหลือเพียงห้องเดียว หรืออาจจะไม่มีห้องบริวารซ้ายขวาเลย เรื่อยไปจนประตูก็ใช้เพียงบานประตูเดียว นอกจากนี้ลักษณะพิเศษของยุคหลังคือ จากเดิมหลังคาของอาคารประธานจะทำเป็นลาดลงมีความยาวมากทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่แบบใหม่นี้ส่วนหลังคาด้านหลังได้เปลี่ยนเป็นหลังขนาดสั้นกว่าด้านหน้า และทำเป็นระเบียงและมีรั่วเหล็กล้อมรอบ และพื้นที่ใต้ระเบียงทำเป็นห้องเล็กๆอาจใช้เป็นห้องเก็บของหรือห้อนอนคนก็ได้ (แต่ไม่ค่อยสบายนัก)
ภาพสือคูเหมินยุคศตวรรษที่ ๒๐ ช่วงทศวรรษ ๑๙๑๐ และภาพการสร้างระเบียงในด้านหลังของอาคาร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:39
|
|
อิฐที่ใช้ในอาคารยุคนี้จะนิยมใช้ทั้งอิฐสีแดง สีชมพู และสีเทาผสมผสานกันในการก่อสร้างอาคาร ไม่ได้ใช้แค่อิฐสีเทาฉาบปูนขาวแบบดั้งเดิม สันหลังคาก็มีใช่ทำทรงสันหลังคาแบบหัวม้า (马头墙:ma tou qiang)อย่างที่นิยมกันในแถบเจียงหนาน ทำเป็นหน้าจั่วแบบอาคารตะวันตกบ้าง หรือแบบอื่นๆแล้วแต่นายช่างจะรังสรรค์
นอกจากนี้กรอบประตูที่แต่เดิมนิยมใช้หินในการก่อสร้างยุคใหม่นี้ก็นิยมใช้อิฐแทน เรื่อยไปจนมีการสลักเสลาอย่างงดงามด้วยศิลปะแบบตะวันตก
ภาพอาคารที่ใช้อิฐสีแดง และภาพสันหลังคาแบบหัวม้าอย่างดั้งเดิม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:45
|
|
อย่างไรก็ตามอาคารแบบสือคูเหมินเริ่มเสื่อมความนิยมในทศวรรรษที่ ๒๐ และ ๓๐ เมื่อเริ่มมีการสร้างอาคารแบบใหม่ๆขื้น อาทิ อาคารแบบตึกแถว ทาวเฮาส์ที่มีสวน เรื่อยไปจนบ้านเดี่ยว ซึ่งอาคารแบบนี้จะเรียกในภาษาจีนว่า “ซินชื่อหลี่หล่ง” (新式里弄:xin shi li long) ซึ่งมีลักษณะคล้ายตึกแถวหรืออาคารทาวเฮาส์ และ “ฮัวหยวนชื่อหลี่หล่ง” (花园式里弄:hua yuan shi li long) ที่มีลักษณะเป็นแบบบ้านเดี่ยวมีสวยรายล้อม
ภาพ “ซินชื่อหลี่นหล่ง” คือสองภาพแรก และภาพ“ฮัวหยวนชื่อหลี่หล่ง” คือสองภาพหลัง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 26 เม.ย. 12, 22:03
|
|
คราวนี้กลับไปที่เพลงที่ฟังบ้าง
เนื้อเพลงเขาร้องดังนี้ ร้องสลับกันไปชายกับหญิง
我的心想唱首歌给你听,歌词是如此的甜蜜 ในใจของฉันมีเพลงเพลงหนึ่งอยากร้องให้เธอฟัง เนื้อเพลงนี้แสนหวานเหลือเกิน 可是我害羞我没有勇气,和你说一句我爱你 แต่ว่าฉันอาย...แล้วก็ไม่กล้าที่จะพูดประโยคที่ว่า...ว่ารักเธอ 为什么你还是不言不语,难道你不懂我的心 ทำไมเธอไม่มีคำพูดคำจาเช่นนั้นละ มิน่าเธอไม่ค่อยเข้าใจความในใจของฉัน 不管你用什么方式表明,我会对你说我愿意 ไม่ว่าเธอจะใช้วิธีใดแสดงความนัยของเธอ คำตอบของฉันก็คือ “ตกลง” 千言万语里只有一句话能来表白我的心 ในหมื่นแสนคำอันมหาศาล มีเพียงคำเดียวเท่านั้นที่จะแสดงความในใจของฉันใด 千言万语只有一句话就能够让我们相偎相依 ในหมื่นแสนคำอันมหาศาล มีเพียงคำเดียวเท่านั้นที่จะทำให้ฉันให้อยู่ใกล้ชิดเคียงข้างกับเธอ 我爱你,你是我的茱丽叶;我愿意变成你的梁山伯 ฉันรักเธอ เธอคือจูเลียตของฉัน และฉันก็ยินดีที่จะเป็นเหลียงซานป่อของเธอ 幸福的每一天,浪漫的每一天 มีความสุขไปทุกๆวัน หวานชื่นไปทุกๆวัน 把爱,永远,不放开,I LOVE YOU รักมั่นไม่มีวันแปร, โอ้ I love you 我爱你,你是我的罗蜜欧,我愿意变成你的祝英台 ฉันรักเธอ เธอคือโรมิโอของฉัน ฉันยินดีทีจะเป็นจูอิงไถของเธอ 幸福的每一天,浪漫的每一天 มีความสุขไปทุกๆวัน หวานชื่นไปทุกๆวัน 美丽的爱情祝福着未来 ความรักอันงดงามของสองเราจะอวยพรไปยังอนาคตของเราข้างหน้า
ถ้าถอดเป็นกลอนแปดขอถอดดังนี้
มีเพลงหนึ่งหวานล้ำหวานฉ่ำแสน หมายจะแทนความนัยให้เธอหนา แต่ยามที่ฉันเอยซึ่งวาจา พจนาว่ารักบ่กล้าเลย
โอ้เธอหนอเหตุใดจึงไร้พจน์ วจีหมดสิ้นไร้ให้นิ่งเฉย ช่างไม่เข้าใจในฉันเสียเลย จะกล่าวเอ่ยใดไซร้ฉัน “ยินดี”
พันหมี่นพจน์มีเพียงหนึ่งคำกล่าว บอกเรื่องราวความในใจฉันนี้ พันหมื่นพจน์มีเพียงหนึ่งวจี ให้ฉันมีโอกาสชิดเคียงกาย ฉันรักเธอเจ้า “จูเลียต” ของฉัน ตัวฉันนั้น “เหลียงซานป่อ” สมหมาย คอยอยู่เคล้าเคียงคู่บ่รู้วาย สุขสบายทุกวันบ่ผันไป
ฉันรักเธอเจ้า“โรมิโอ”แก้ว ตัวฉันแล้วบ่แคล้ว“จู่อิงไถ” รักของเราสองผ่านกาลเท่าไร ให้วิไลสดใสชั่วกาลเอยฯ
ฟังเพลงข้างต้นได้จากเว็ปนี้
ส่วนตัวของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่าเพลงบทนี้เป็นตัวแทนของของบางอย่างแม้จะแตกต่างกัน แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างดี กลายเป็นความงดงามที่กลมกลืนเหมือนกับอาคาร “สือคูเหมิน” ของเซี่ยงไฮ้ที่เป็นการผสมระหว่างศิลปะและสถาปัตยกรรมระหว่างตะวันตกและตะวันออกอย่างลงตัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 26 เม.ย. 12, 22:11
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 10:42
|
|
เคยได้ยินมานานแล้วว่าเซี่ยงไฮ้เจริญมาก เป็นเมืองธุรกิจของจีนแผ่นดินใหญ่ แต่สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น เมื่อไปเที่ยวครั้งแรก ขึ้นไปชมเมืองบนหอไข่มุก มองลงมาเมื่อตะวันตกดินแล้ว แสงสีในเซี่ยงไฮ้ละลานตาทุกซอกทุกมุมจนไม่รู้จะมองตรงไหน ทั้งตึกรามบ้านช่องและแม่น้ำล้วนแต่อาบด้วยแสงไฟสีรุ้งสารพัดสี ยิ่งกว่าดิสนีย์แลนด์สัก ๑๐๐ เท่า จำได้ว่ากลางแม่น้ำมีจุดพลุเป็นระยะด้วย เรือที่ลอยลำเปิดไฟหลากสี ยิ่งถนนหนทางยิ่งประชันขันแข่งด้วยแสงไฟ จนตาลาย จำไม่ได้ว่าถนนไหนเป็นถนนไหน
รู้แต่ว่าเซี่ยงไฮ้ยามราตรี ข่มนิวยอร์คให้ดูจืดลงไปเลยเมื่อเทียบกัน
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 12:52
|
|
จริงๆนึกอยากจะเอารูปเมืองเซี่ยงไฮ้ที่ตัวเองถ่ายมาลงด้วย แต่กลัวจะเป็นการอวดฝีมือการถ่ายภาพที่ธรรมดาของตนต่อสาธารณชนเลยละไว้ในฐานที่เขิน ไปเซี่ยงไฮ้คราวนี้กับเพื่อนๆไปเพื่อถ่ายรูป...ไม่ใช่ถ่ายรูปวิวนะ...ถ่ายรูปตัวเองเป็นหลัก แต่ละคนเตรียมกล้องไป เตรียมเสื้อผ้าไปประหนึ่งว่าจะเดินแบบ ตอนไปมีคนจีนมามุงด้วยเห็นเสื้อผ้าข้าพเจ้ากับขนาดของกล้อง เรื่อยไปจนถึงท่าทางประหนึ่งว่าไปถ่ายแบบจริงๆ เด่นถึงขนาดฝรั่งมาขอถ่ายรูปร่วม ด้วยเขานึกว่าเป็นกองแฟชั่นจากเมืองไทยมา แรงจริงอะไรจริงคนไทย 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ติบอ
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 29 เม.ย. 12, 00:16
|
|
อิจฉาคนอยู่เมืองหนาวครับ... ได้ใส่เสื้อผ้าหลายตัว หลายชั้น อยู่เมืองไทย... อุณหภูมิขนาดนี้ เห็นทีต้องเอาดีด้วยการ 'ถอด' มากกว่า 'ใส่'... จะร้อนไปถึงไหนก็ไม่รู้
กลับเข้าหัวข้อกระทู้เสียหน่อย... ตึกสวยมากครับผม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|