เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 20515 ๐๐๐อยากทราบประวัติของมหาเสวกโทพระยาอัพภันตริกามาตร์(จ่าง ภาณุทัต)ค่ะ๐๐๐
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 13:31

ผมค้นได้ข้อมูลเล็กน้อย (ค่อยๆ หาไป) ว่า พระยาอัพภันตริกามาตย์ (จ่าง  ภาณุทัต)
ก่อนที่จะได้เป็นพระยาอัพภันตริกามาตย์ ท่านได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระอินทราทิตย์
สังกัดกรมสนมพลเรือน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 15:44

พระยาอัพภันตริกามาตย์ (จ่าง  ภาณุทัต) มีเอกภรรยา ชื่อ หม่อมราชวงศ์แดง  มาจากราชสกุลใดยังสืบไม่ได้
  ลังเล
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 15:48

พระยาอัพภันตริกามาตย์ (จ่าง  ภาณุทัต) มีเอกภรรยา ชื่อ หม่อมราชวงศ์แดง  มาจากราชสกุลใดยังสืบไม่ได้
  ลังเล

ท่านหาด้วยความยากลำบาก ชื่นชมที่สุด หากแต่อีก ๒ ท่านหลบร้อนพักผ่อน กินอาหารกันสนุกสนาน  แลบลิ้น


เรียนถามคุณหลวงเล็กว่า ข้าพเจ้าพบว่าการสะกดอย่างไรถูกต้อง ระหว่าง "ภันตริ" หรือ "ภันตรี"
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 16:11

ข้าพเจ้ามีเวลาว่างอยู่บ้างก็นั่งหาข้อมูลไปตามอารมณ์ แลในออฟฟิศกรมพระอาลักษ์หาได้ร้อนอบอ้าวไม่
จึงไม่ต้องหลบซ่อนความร้อนอย่างผู้อื่น  ข้อมูลที่หามาแสดงนี้  ก็อยู่ใกล้ๆ มือเพียงแต่จะปล่อยออกมาเมื่อไรเท่านั้น
เรื่องความลำบากอันใดก็ไม่มี  ใครจะสนุกสนานเห็นแก่การรับประทานอย่างไรก็ช่างเขาเถิด 
ข้าพเจ้าหาได้เดือดร้อนด้วยเสียเมื่อไร 

บรรดาศักดิ์นี้  ต้องเขียนว่า  อัพภันตริกามาตย์  จึงจะถูกต้อง 
ส่วนที่เป็นสระอีนั้น  ก็เห็นมีแต่พระนามเจ้านาย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา
ซึ่งเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแส (โรจนดิศ)
ธิดาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ  โรจนดิศ) กับขรัวยายบาง
บันทึกการเข้า
tikky1974
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 16:32

luanglek .....ขอบคุณมากๆนะค่ะ อายจัง
หม่อมราชวงศ์แดง หรือค่ะ ฮืม...อืมคุณพ่อเคยเล่าให้ฟังว่า ตอนเด็กๆคุณปู่พาไปฝากบ้าน"ฉัตรกุล"เป็นประจำ โตมาก็ด้วยหม้อข้าวบ้านนี้ แต่เกี่ยวดองกันอย่างไร
ไม่ทราบ เพราะโตขึ้นมาหน่อย...ปู่กับย่าก็พาไปอยู่ที่สวนแถวบางแคแล้ว อาจจะเกี่ยวกับราชสกุลนี้รึป่าวไม่ทราบค่ะ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 17:24

มีความเป็นไปได้ครับ  อาจจะเป็นเพราะได้เกี่ยวดองกับราชสกุลฉัตรกุล
ทางภรรยาพระยาอัพภันตริกามาตย์ (จ่าง  ภาณุทัต) นี้เอง  ทำให้คุณพ่อของคุณได้ไปที่บ้านฉัตรกุลบ่อยๆ
ชื่อหม่อมราชวงศ์แดง ปรากฏในบัญชีรายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ ตราจุลจอมเกล้า ฝ่ายใน
เมื่อปีฉลู  ๒๔๕๖  ปีนั้น พระยาอัพภันตริกามาตย์ ก็ได้รับพระราชทานตราทุติยจุลจอมเกล้าด้วย
ส่วนหม่อมราชวงศ์แดง ภรรยาเจ้าคุณได้รับพระราชทานตราตติยจุลจอมเกล้าฝ่ายใน

อนึ่ง  ปรากฏชื่อพระยาอัพภันตริกามาตย์ (จ่าง  ภาณุทัต)ในบัญชีรายนามข้าราชการฝ่ายหน้าสูงอายุที่ได้รับพระราชทานเงินตราผ้านุ่งห่ม
ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ เมื่อปี  ๒๔๗๔ และ ๒๔๗๕

ในปี ๒๔๗๔ นั้น  พระยาอัพภันตริกามาตย์ อายุได้ ๘๓ ปี
และปี ๒๔๗๕  อายุได้ ๘๕ ปี  นับว่าเป็นข้าราชการที่อายุมากอันดับต้นๆ ที่ได้รับพระราชทานเงินตราและผ้านุ่งห่มในการครั้งนั้น

ที่แปลกใจก็คือ  ก่อนหน้านั้น  ไม่ปรากฏรายชื่อเจ้าคุณในรายนามผู้ได้รับพระราชทานเงินตราและผ้านุ่งห่มในการพระราชพิธี
เฉลิมพระชนมพรรษาเลย  จะเป็นเพราะเหตุผลใดก็ยังนึกไม่ออก   ท่านเจ้าคุณคงมีอายุต่อมาอีกเท่าไรไม่ทราบแน่
แต่ต้องเกินปี ๒๔๗๗ ไปแล้ว  เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานการถึงแก่อนิจกรรมในช่วงปี ๒๔๗๗  แสดงว่าท่านอาจจะมีอายุยืนเกือบ ๙๐ ปี
ท่านเจ้าคุณเป็นพระยามาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕ อายุยืนมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๘ นับว่าครองบรรดาศักดิ์พระยานานทีเดียว

ภรรยาท่านเจ้าคุณ  หม่อมราชวงศ์ แดง  อัพภันตริกามาตย์ (ม.ร.ว.แดง ภาณุทัต) ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อไรไม่ทราบแน่
แต่คงอยู่ในปี ๒๔๗๔  ศพหม่อมราชวงศ์แดง  อัพภันตริกามาตย์  ได้รับพระราชทานเพลิงที่ปะรำเชิงบรมบรรพต
วัดสระเกศ  โดยได้พระราชทานรถยนต์วอรับศพไปยังปะรำด้วย  พร้อมพระราชทานเงิน ๑๐๐๐  สตางค์ กับผ้าขาว ๒ พับ ด้วย
พระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๔๗๔ พร้อมกับศพของนายร้อยโท ขุนทรงนิติธรรม (โต๊ะ  ภาณุทัต)
ข้าราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งรับพระราชทานเพลิงศพในวัน และสถานที่เดียวกัน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 18:13


คคห ๑๗

       เรามีกัน สี่ คนค่ะ  แบ่งเอกสารกันอุตลุต   ได้ไฟล์งานเขียน ๗ ปีของ กศร  มาแล้ว  รายการหวิดไม่สมบูรณ์

คุณที่อยู่ในซอย  ได้ สยามประเภท   เล่มสี่

คุณหลานคนเล็กได้นายโหมดไป ๒ เล่ม

รายงานข่าวกรองแจ้งว่าคุณหลวงเล็กได้เคยเขียนเรื่องพระยาอัพภันตริยามาตย์มาบ้างแล้ว   จึงไม่ประสงค์จะประชันข้อมูล

ข้อมูลแทบทุกเล่มที่ใช้  มาจากคลังส่วนตัว  ที่ส่วนราชการอยากได้เป็นนักหนา   นำมาใช้เพื่อลับสมองกับสหายทั้งปวงเท่านั้น

บันทึกการเข้า
tikky1974
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 21:15

  luanglek...คิดไว้เหมือนกันค่ะ...พ่อบอกว่าบ้าน"ฉัตรกุล"นี้ อยู่แถวหลังวัดอนงคาราม และต้องเกี่ยวข้อง
 กับราชสกุลปาลกะวงศ์ด้วยค่ะ เพราะพ่อจำได้ว่ามีเพื่อนที่วิ่งเล่นด้วยกันที่บ้านหลังนี้ ชื่อ....(ดิฉันจำไม่ได้)แต่นามสกุลปาลกะวงศ์ค่ะ...
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 22:27

 luanglek...คิดไว้เหมือนกันค่ะ...พ่อบอกว่าบ้าน"ฉัตรกุล"นี้ อยู่แถวหลังวัดอนงคาราม

"เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (ม.ร.ว. อรุณ ฉัตรกุล) เกิดที่บ้านบิดา เมื่อยังอยู่วังกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ อันตั้งอยู่ ณ ตำบลท่าเตียน
ในจังหวัดพระนคร.........ครั้นรัฐบาลต้องการที่จะสร้างศาลต่างประเทศ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เมื่อยังเป็น
เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุหพระกลาโหม จึงให้หม่อมเจ้านิลและหม่อมเจ้าองค์อื่นในกรมหมื่นสุรินทรรักษ์ ย้ายข้ามฟากไปอยู่ที่
สวนริมวัดบุบผาราม.........อันใกล้กับจวนของท่าน"

(ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๒๔ พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ จอมพล เจ้าพระยาบดินทร์เดชานุชิต)
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 28 เม.ย. 12, 09:04

คุณ Wandee กล่าวไว้ในความเห็นว่า "มีเสียงกระซิบจากบ้านสวนมังกรกำเนิดว่า  ตำแหน่งผู้อำนวยการ  คงไม่ถูกต้อง"

ที่ถูกน่าจะเป็นตำแหน่ง จางวางกรมสนมพลเรือน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 28 เม.ย. 12, 09:28



ช่วยกันค้นข้อมูลคนละไม้ละมือ  สนุกค่ะ  เพราะคำถามเป็นข้าราชการมีบันดาศักดิ์  พอจะตามกันได้

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 28 เม.ย. 12, 09:49

ร่วมด้วยช่วยค้น

กรมสนมพลเรือน ทำหน้าที่อะไรคะ?

กรมสนมพลเรือน

          หน่วยราชการในสมัยโบราณของไทยมีจำนวนมาก ทั้งที่ยุบเลิกไปแล้ว เปลี่ยนแปลงฐานะหน้าที่ หรือบางหน่วยงานยังมีอยู่มาจนปัจจุบัน  กรมสนมพลเรือนเป็นหนึ่งในหน่วยราชการที่มีมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน  สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑ ได้อธิบายว่า กรมสนมพลเรือน เป็นกรมย่อยในสังกัดกรมวัง มีมาแต่ครั้งสมัยอยุธยา เดิมชื่อ กรมพระสนม แบ่งออกเป็น กรมพระสนมซ้าย มีพระอินทราทิตย์พิพิธราชรักษา เป็นสมุหพระสนมซ้าย และกรมพระสนมขวา มีพระจันทราทิตย์พิพิธราชรักษา เป็นสมุหพระสนมขวา

          กรมพระสนมเป็นส่วนราชการฝ่ายพลเรือน ต่อมาจึงเรียกกันว่า กรมสนมพลเรือน มีหน้าที่กักขังผู้กระทำความผิดภายในพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่จนถึงข้าทาส ลักษณะการคุมขังแบบนี้เรียกว่า จำสนม หรือ ติดสนม ซึ่งพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ อธิบายว่า ถูกกักบริเวณในเขตพระราชฐานโดยอยู่ในความดูแลของพวกสนม และคำว่า สนม ในที่นี้หมายถึง เขตพระราชฐานซึ่งเป็นที่กักบริเวณผู้มีฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์หรือข้าทูลละอองธุลีพระบาทชั้นผู้ใหญ่

          ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหน้าที่กรมสนมพลเรือน โดยทำหน้าที่จัดการงานพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น งานโสกันต์ งานผนวช งานพระศพ  เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ กรมสนมพลเรือนได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเครื่องนมัสการ เครื่องโกศหีบ และการกักขังพระบรมวงศานุวงศ์ผู้กระทำผิด มีแผนกย่อย ๓ แผนก คือ แผนกเครื่องนมัสการ แผนกโกศหีบ และแผนกทลวงฟัน

          หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ กรมสนมพลเรือนมีการปรับเปลี่ยนฐานะเรื่อยมา ปัจจุบันกรมสนมพลเรือนมีฐานะเป็นแผนกสนมพลเรือน สังกัดกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง มีเจ้าพนักงานสนมพลเรือนปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการพิธีศพ ทำสุกำศพ (หมายถึง เอาผ้าขาวห่อศพและใช้ด้ายดิบมัดตราสัง แล้วบรรจุศพลงโกศหรือหีบศพซึ่งมีกระดาษฟางปูรองรับ) ดูแลรักษาเครื่องนมัสการและโกศหีบศพ.

ปิยรัตน์  อินทร์อ่อน

http://www.royin.go.th/TH/knowledge/detail.php?ID=3768

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
tikky1974
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 28 เม.ย. 12, 11:48

ขอบคุณทุกๆท่านนะค่ะ ที่กรุณาช่วยค้นข้อมูล ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกเยอะเลย...และพอจะลำดับ"ญาติ"ได้ลางๆแล้ว
ครอบครัวดิฉันน่าจะมาจากสายพระยาอัพภันฯค่อนข้างแน่นอน แต่จะเป็นทางฝ่าย"ภรรยา"คนใด ไม่ทราบได้....
แต่น่าจะเกี่ยวพันกับราชสกุล"ฉัตรกุล"เพราะคุณพ่อได้รับการเลี้ยงดูจากบ้านนี้ และน่าจะเชื่อมโยงไปถึงราชสกุลปาลกะวงศ์
ด้วย เพราะคุณพ่อบอกว่า..ยังจำได้..เด็กที่ถูกเลี้ยงที่บ้านนี้มาจากราชสกุลปาลกะวงศ์ด้วย...โตขึ้นแล้วเคยมีโอกาส
ได้พบกันครั้งนึง...ส่วนคุณปู่ของดิฉันก็ไม่ได้เล่าอะไรให้คุณพ่อฟังมากนัก เพราะท่านทำงานย้ายไปเรื่อย แรกเริ่มก็ทำงาน
ในสำนักพระราชวังแต่ก็มีอันต้องระเห็จ ย้ายมาอยู่กระทรวงคมนาคม และสุดท้ายมาเกษียรที่กรมไปรษณีย์ ส่วนคุณปู่ทวด
ของดิฉันคุณพ่อก็ทราบแต่เพียง...ว่าชื่อจำเริญ ทำงานอยู่ในสำนักพระราชวังแต่แล้วก็มีอันต้องระเห็จออกไปเหมือนกัน คราวนี้
ไปไกล..ไปเขมรพร้อมพี่สาวช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง...กลับมาท่านก็ตาย อายุยังไม่มาก ส่วนคุณย่าทวดท่านก็
แต่งงานใหม่กับคนสกุลชัยนาม...

เดี๋ยวมาต่อนะค่ะ...

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 29 เม.ย. 12, 09:49

คุณtikky1974

ผมคิดว่า ข้อมูลเท่านี้ยังไม่มากพอให้คุณสรุปเอาตามที่คุณกล่าวมาข้างต้น
พระยาอัพภันตริกามาตย์ (จ่าง  ภาณุทัต) เป็นผู้ขอพระราชทานนามสกุล ภาณุทัต จากรัชกาลที่ ๖
แต่ที่ยังไม่ทราบแน่ ว่า ในเวลานั้น มีคนที่ใช้นามสกุล ภาณุทัต นอกจากสายตรงของเจ้าคุณเองแล้ว
ยังมีสาย ภาณุทัต อื่นๆ อีกหรือไม่  เจ้าคุณท่านอาจจะมีพี่น้อง  ญาติข้างภรรยา หรือญาติสายใกล้เคียง
มาขอร่วมใช้นามสกุลด้วยก็ได้  ฉะนั้น  ลำพังข้อมูลเพียงเท่านี้  ยังไม่พอที่จะสรุปเช่นนั้น

อยากให้คุณtikky1974 ลองเขียนลำดับญาติเท่าที่คุณรู้แน่ๆ เผื่อจะเป็นแนวทางในการคลำหาข้อมูลต่อได้
บันทึกการเข้า
tikky1974
อสุรผัด
*
ตอบ: 27


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 29 เม.ย. 12, 20:59

เท่าที่ดิฉันทราบนะคะ..ดิฉันมีย่าทวดชื่อคุณเยื้อน ภาณุทัต คุณย่าเยื้อน ภาณุทัต เป็นลูกพี่ลูกน้องของปู่ทวดของดิฉัน
ซึ่งคุณปู่ของดิฉันเรียกท่านว่า"ป้าเยื้อน"แต่...คุณเยื้อนนี้เป็นลูกผู้น้องของปู่ทวดดิฉัน แต่อายุมากกว่าคุณปู่ทวด คุณปู่
ก็เลยเรียกป้าเยื้อน ซึ่งคุณเยื้อนนี้เป็นหลานลุงของพระยาอัพภันฯ ถึงได้มีโอกาสเข้าไปถวายงานฝ่ายใน  และที่ดิฉันมั่น
ใจว่าครอบครัวดิฉันมาจากทางสายพระยาอัพภันฯ ก็คือ พระยาอัพภันฯ มีพี่น้องที่เป็นผู้ชายแค่ 2คน คือจ่างและจอน จากคำบอกเล่าของคุณปู่ ซึ่งตอนนั้นดิฉันยังเป็นเด็กวัยรุ่นก็เลยไม่ได้ใส่ใจ มันแค่จำได้ลางๆ...พอได้มีโอกาศเจอคุณพ่อก็เลยได้ถาม พอก็บอกเหมือนกัน ว่าคุณย่าก็เคยพูดไว้ว่าคุณปู่เป็นหลานของพระยาอัพภันฯ แต่ก็เหมือนที่เรียนให้ทราบ สิ่งที่ดิฉันไม่แน่ใจก็คือ เกิดจากภรรยาคนไหนมากกว่า... ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง