ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
หน้าต่างโลก
>
ว่าด้วยเรื่องของหลังคาแบบฝรั่ง
หน้า:
1
...
6
7
[
8
]
พิมพ์
อ่าน: 50429
ว่าด้วยเรื่องของหลังคาแบบฝรั่ง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
ความคิดเห็นที่ 105
เมื่อ 23 พ.ค. 12, 10:04
น้ำบนหลังคาไหลตกลงบนหลังคาอีกส่วนได้ และใช้ระบบให้น้ำหมุนเวียนกันไปที่เดิมได้ตลอด
กลายเป็นระบบปรับอากาศให้ตัวบ้านเย็นสบายด้วยค่ะ
คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
ความคิดเห็นที่ 106
เมื่อ 23 พ.ค. 12, 10:49
กำลังย้ายกระทู้เก่าจากหน้าต่างโลกเข้าห้องประวัติศาสตร์โลก ก็เจอไปเจอกระทู้ที่มีรูปเมืองเก่าของดิฉัน ถ่ายเอาไว้ในช่วงฤดูหนาว
หลายรูปมีบ้านที่เห็นหลังคาแบบต่างๆ
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1613.0
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
ตอบ: 5794
ความคิดเห็นที่ 107
เมื่อ 24 พ.ค. 12, 21:43
เห็นภาพที่คุณเทาชมพูนำมาลงแล้ว ทำให้ผมได้จินตนาการต่อไปถึงเหตุผลบางอย่างในอีกมุมมองหนึ่งว่า ทรงหลังคาต่างๆนั้นคงมิใช่เกิดขึ้นในมุมคิดในเชิงการตั้งรับกับสภาพทางธรรมชาติเท่านั้น ในหลายๆกรณีอาจจะเป็นเรื่องของมุมคิดในเชิงของการใช้ในการแสวงประโยชน์จากสภาพทางธรรมชาติก็ได้
เช่น หลังคาทรงสี่เหลี่ยมและบ้านทรงสี่เหลี่ยม (ตามภาพ) ที่หลังคาทำด้วยวัสดุกึ่งซึมน้ำ อาจจะเหมาะที่สุดสำหรับในพื้นที่ๆเรียกว่ากึ่งแห้งแล้ง (semiarid area) คือในอากาศมีความชื้นแต่มีฝนตกน้อย ได้ทั้งความเย็นในช่วงกลางวัน ความอบอุ่นในช่วงกลางคืน และรวบรวมหยดน้ำให้ไหลมากักเก็บไว้ใช้ หรือหลังคาแบบจั่วที่มีมุมลาดชันหลังคาต่างๆกันในแต่ละท้องถิ่น อาจจะเหมาะสำหรับลักษณะของฝนที่ตกในฤดูประจำปีที่ต่างๆกัน เช่น ตกในลักษณะปรอยๆเม็ดฝนห่างๆ (shower) ตกแบบเป็นห่าใหญ่ๆช่วงเวลาสั้นๆ (thunder shower หรือ heavy rain) ตกแบบจั้กๆต่อเนื่อง (rain) ตกแบบหยุมหยิม (precipitation) ตกแบบเป็นฝอยๆเม็ดเล็กๆ (mist) หลังคาแบบมีความชันสูงมักจะไม่มีรางน้ำ เนื่องจากต้องการให้น้ำไหลออกไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งน่าจะเป็นลักษณะประจำของถิ่นที่มีฝนตกหนักเป็นปรกติ และมีน้ำท่าสำหรับใช้สอยอย่างมากมายเหลือใช้ แต่หลังคาแบบความชันต่ำมักจะมีรางน้ำเพื่อรวบรวมน้ำไปทิ้งในจุดที่ต้องการ หรือเอาไปเก็บไว้ในภาชนะเพื่อใช้สอยต่อไปในยามขาดแคลน ซึ่งน่าจะเป็นลักษณะประจำของถิ่นที่มีฝนตกแบบไม่หนักและหายไปเป็นช่วงๆ เหล่านี้เป็นต้น
สำหรับภาษาอังกฤษที่ผมเอามาใ่ส่ในวงเล็บนั้น จะตรง จะผิด หรือจะถูกอย่างไรก็ไม่แน่ใจครับ เป็นคำที่เห็นฝรั่งเขาใช้เรียกกันสำหรับฝนที่ตกในลักษณะต่างๆ แต่เมื่อสื่อด้วยคำเหล่านี้ก็ดูจะเห็นภาพตรงกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
ความคิดเห็นที่ 108
เมื่อ 24 พ.ค. 12, 22:44
ในรัฐนี้ ไม่มี rain มีแต่ shower ค่ะ เมื่อได้ยินทีแรกก็ไม่เข้าใจว่าฝรั่งหมายถึงอะไร เพราะฝนของเราคือ rain อย่างเดียว ต่อมาก็เริ่มเข้าใจว่าบ้านเขาไม่มีฝนตกจั้กๆอย่างเรา มีอย่างมากก็ละอองฝนซึ่งนานมากจะตกสักที โดยมากเป็นช่วงย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิ อากาศอุ่นขึ้น น้ำเมื่อกลั่นตัวลงจากฟ้าแทนที่จะเป็นหิมะ ก็เลยกลายเป็นละอองน้ำ เรียกว่า shower
กลับไปดูรูปในเมืองอีกที ชายคาไม่มีรางน้ำ เพราะฝนไม่ค่อยตก ส่วนหิมะที่ตกเป็นภูเขาเลากาแค่ไม่กี่วันมันก็ระเหยหายไป เหลือจับเป็นเกล็ดแข็ง ผสมควันท่อไอเสียสกปรกอยู่ตามริมถนนและสนามหญ้า พวกนี้แหละเหยียบแล้วลื่นเหมือนกระจก หกล้มก้นกระแทกกันง่าย พออากาศอุ่นขึ้นอีกก็กลายเป็นน้ำไหลลงท่อไปในที่สุดค่ะ ไม่มีการรองหิมะใส่โอ่งเอาไว้เป็นน้ำกินน้ำใช้
เรื่องหลังคาแบบต่างๆ ถ้าท่านสถาปนิกใหญ่เพื่อนของคุณตั้งจะมีเวลาแวะเข้ามาอธิบาย ก็คงได้คำตอบอีกมากค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
ตอบ: 5794
ความคิดเห็นที่ 109
เมื่อ 28 พ.ค. 12, 20:13
กลัวเหงา กล่าวถึงเรื่องโรงนามาเยอะ เลยหาเพลงมาประกอบให้ฟังครับ
ทางตะวันออก เล่นด้วย Dulcimer
ทางตะวันตก ต้อง Line dance
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
ความคิดเห็นที่ 110
เมื่อ 29 พ.ค. 12, 21:48
line dance เต้นเก่งมาก เป็นประเภท country dance ที่เต้นกันในหลายรัฐทางตะวันตก
ส่วนDulcimer ไม่คุ้นเลยค่ะ
เมื่อวานนั่งรถมาตามถนนในเมือง ตอนนี้เริ่มสังเกตหลังคามากกว่าดูแต่หน้าบ้านอย่างก่อนๆ พบว่าหลายบ้านมีหลังคาแบบโรงนา เมื่อก่อนไม่ได้สังเกตเลย
หาย jet lag เมื่อไรจะไปเก็บรูปมาให้ดูกันค่ะ ตอนนี้อยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ แดดดีมาก ดอกไม้บานเต็มเมือง เหมาะจะถ่ายรูป
บันทึกการเข้า
หน้า:
1
...
6
7
[
8
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.03 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...