เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 63802 ฉนวน มุข ระเบียง เฉลียง ชาน เจ้าอยู่แห่งใดในอาคารฤา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 20:40

ความหมายของเฉลียงและระเบียง ที่พบในเว็บอื่น

เฉลียงกับระเบียงแตกต่างกันอย่างไร?

ไปพบความหมายของเฉลียง ในภาษาเขมร
 http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/th/main.php?p=dGhfd2ViX2NvbnRlbnQ=&c=%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B3~%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1&id=55

คำ “เฉลียง” ที่แปลว่า เสี้ยว เฉไปข้างๆ เขมรแผลงเป็น จำเหียง, จังเหียง แปลว่า ข้างซีก
ถ้าเฉลียงแปลว่าเสี้ยว หรือเฉไปข้างๆ  เขมรเรียกว่าจังเหียง  แปลว่าข้างซีก   ยังงั้นเฉลียงก็น่าจะอยู่ด้านข้างของบ้านมากกว่าด้านหน้า
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:10

^

จากข้างบน ฯลฯ จึงเกิดกระแสใหม่ที่นิยามพื้นที่ยื่นมานอกบ้านนี้ ถ้าอยู่บนดินก็เรียกเฉลียง ถ้าอยู่ชั้นบนๆขึ้นไปก็เรียกระเบียง เวปที่ขายบ้านจัดสรร หรือบ้านพร้อมปลูกสร้างทั้งหลายก็จะใช้ศัพท์ตามบัญญัตืใหม่นี้ตามๆกัน




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:12

แล้วความหมายของเฉลียง ฉนวน  ระเบียง ในภาษาเขมร  แปลว่าอะไรคะ คุณเพ็ญชมพูทราบไหม
เผื่อจะได้ร่องรอยความหมายของคำเหล่านี้ขึ้นมาบ้าง

ทราบเพียงว่า เฉลียง แผลงมาจาก เฉียง นึกไม่ออกเหมือนกันว่าเกี่ยวอะไรกับส่วนของอาคารที่เรียกว่าเฉลียง

ส่วน ระเบียง แผลงมาจาก เรียง   นึกเอาว่า (ไม่มีตำราอ้างอิง   ยิ้มเท่ห์) ถ้าส่วนของอาคารที่มีเสาหรือส่วนประกอบอื่นเรียงกันเยอะ ๆ ก็น่าจะเป็นระเบียง

อย่างรูปนี้ น่าจะเป็นระเบียง

บรรยากาศแบบเฉลียง ๆ



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:16

อ้างถึง
คำ “เฉลียง” ที่แปลว่า เสี้ยว เฉไปข้างๆ เขมรแผลงเป็น จำเหียง, จังเหียง แปลว่า ข้างซีก
ถ้าเฉลียงแปลว่าเสี้ยว หรือเฉไปข้างๆ  เขมรเรียกว่าจังเหียง  แปลว่าข้างซีก   ยังงั้นเฉลียงก็น่าจะอยู่ด้านข้างของบ้านมากกว่าด้านหน้า

ถ้าเช่นนั้น เฉลียงน่าจะแปลว่าเสี้ยว คือพื้นที่ต่อออกจากด้านสกัด มักจะขนาดไม่เต็มห้อง แต่เป็นเสี้ยวหนึ่งของห้องเป็นส่วนใหญ่

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:22

ระเบียง มีคำเรียกในภาษาเขมรแน่นอน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:31

ถ้าอย่างนั้น  หลังประตูโค้งทั้งชั้นบนชั้นล่างของอาคารนี้ก็เรียกว่าเฉลียงเหมือนกันน่ะซีคะ



นี่ก็น่าจะเป็น ระเบียง

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:46

 ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 22:01

เอามาจากเวปของเค้า

อาคารสวนกุหลาบ (ตึกยาว) เป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยที่สร้างขึ้นใหม่ มีลักษณะเป็นสถาปัตกรรมที่มีความโดดเด่นและสง่างาม มีประวัติความเป็นมาที่มีคุณค่ายิ่งต่อสังคมไทย ชาวสวนกุหลาบทุกคนจึงมีความภาคภูมิใจ และถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรงเรียน

 อาคารสวนกุหลาบ เริ่มสร้าง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เปิดใช้ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2454 มีเพียงชั้นบนและล่าง ตึกยาวมีความยาว 198.35 เมตร กว้าง 11.35 เมตร เนื้อที่ตึกยาวทั้งหมด 1ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา เป็นอาคารทรงยุโรป 2 ชั้น ขนานไปกับถนนตรีเพชร หลังคามุงด้วยกระเบื้องลอนสีอิฐ ภายในกั้นเป็นห้อง ๆ เป็นห้องขนาด 15 เมตร คูณ 9 เมตร 1 ห้อง สลับกับห้องเล็ก 9 เมตร คูณ 7 เมตร 2 ห้อง ตลอดความยาวของตึก

อาคารหลังนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เจ้าหน้าที่เขียนแบบ ซึ่งจะมีลวดลายมากกว่าในปัจจุบัน ซึ่งสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2452 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสร็จทอดพระเนตรทั้งๆ ที่ยังทรงพระประชวรอยู่ เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้เป็นผู้ทำพิธีเปิดตึกนี้ โรงเรียนสวนกุลาบได้ใช้ตึกนี้เป็นที่เล่าเรียนตลอดมา

ประวัติเดิมมีว่า วัดราชบูรณะจะสร้างตึกแถวเพื่อเก็บค่าเช่า ทางกระทรวงธรรมการจึงได้มีหนังสือกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทูลขอพระราชทานที่ตรงท้ายวัดราชบูรณะและขอเช่าตึกแถวทั้งหมดแทนประชาชน โดยเก็บจากนักเรียนคนละบาท และตึกนั้นจะต้องยาวไปตามถนนและข้างหน้าทำเป็นหน้าต่าง ข้างหลังจะให้ทำเป็นเฉลียงทางเดิน ค่าเช่าให้วัดโดยกระทรวงธรรมการให้ค่าเช่าวัดเป็นเงินร้อยละ 7.5

 ก่อนปี พ.ศ.2475 ได้มีการปรับปรุงต่อเติมตึกยาวในระยะที่มีการปรับปรุงถนนตรีเพชร เพื่อเตรียมฉลองครบรอบ 150 ปี กรุงเทพมหานคร มีห้องขนาดใหญ่ ( 15 x 9 เมตร ) และห้องขนาดเล็ก ( 9 x 7 เมตร ) 2 ห้อง สลับกันไปเช่นนี้ตลอดตึก บริเวณห้องเล็กๆ จะมีเฉลียง และมีประตูตามระเบียงหันออกด้านถนนตรีเพชร ต่อมาได้ก่อผนังทางด้านถนนตรีเพชรโดยตลอดตามความยาวของตึก
 
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2488 อาคารถูกระเบิดเสียหายเป็นบางส่วน ได้มีการบูรณะซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์อื่นๆ อีก เช่น เปลี่ยนพื้นระเบียงชั้นล่าง จากพื้นไม้เป็นพื้นหินขัด เปลี่ยนกระเบื้องหลังคาจากกระเบื่องสี่เหลี่ยมเป็นกระเบื้องลอน

ปัจจุบันอาคารหลังนี้ได้ขึ้นทะเบียนกรมศิลปากรเป็นโบราณสถานของชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษเล่ม 104 ตอนที่ 18 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2530 (พื้นที่โบราณสถานประมาณ 3 ไร่ 1 งาน 6 ตารางวา) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการบูรณะปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหลังนี้ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์สวยงาม และใช้เป็นสถานที่ดำเนินการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์การศึกษาแห่งชาติ และบางส่วนเป็นสถานที่เรียนของนักเรียน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 22:08

เฉลียง ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

จารึกวัดพระเชตุพน กล่าวว่า "ศาลาด้านหน้าพระมหาเจดีย์ทั้ง ๒ หลัง เดิมไม่มีเฉลียงชั้นลด รือทำให้มีเฉลียงชั้นลดทั้ง ๒ หลัง"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 22:14

เฉลียงชั้นลด เป็นยังไงคะ

กระทู้นี้ มีของแถมพิเศษให้ทุกท่านที่เข้ามาอ่าน 
v


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 22:15

ดูรูปตึกยาวโรงเรียนสวนกุหลาบต่อ

อ้างถึง
มีประตูตามระเบียงหันออกด้านถนนตรีเพชร ต่อมาได้ก่อผนังทางด้านถนนตรีเพชรโดยตลอดตามความยาวของตึก


รูปปัจจุบันยังเห็นระเบียงด้านบนอยู่ แต่ใต้ระเบียงที่เคยเป็นประตู ได้เป็นผนังไปหมดแล้ว



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 22:20

ด้านนี้คือเฉลียงทางเดิน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 22:23

แปลว่าทางเดินข้างบนคือระเบียง  ทางเดินข้างล่างคือเฉลียง   ฮืม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 22:26

^
ใจเย็นๆครับ อย่าเพิ่งมึน ทนอ่านไปอีกสักหน่อย ให้ถึงจุดสลบก่อนแล้วค่อยเข้านอน เช้าตื่นขึ้นมาฟ้าจะเป็นสีเหลืองสวยดี
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 22:42

อ้างถึง
มีประตูตามระเบียงหันออกด้านถนนตรีเพชร ต่อมาได้ก่อผนังทางด้านถนนตรีเพชรโดยตลอดตามความยาวของตึก

พอดีได้ภาพโบราณมาเปรียบเทียบ ระเบียงจะมีความหมายว่าเฉลียงแบบสั้นๆกระมัง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 20 คำสั่ง