เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 63990 ฉนวน มุข ระเบียง เฉลียง ชาน เจ้าอยู่แห่งใดในอาคารฤา
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 16:37

ขอบคุณนะครับ

ผมหลับไปงีบนึง ตกใจมีโทรศัพท์เข้า เออๆคะๆเสร็จมาเปิดกระทู้ดู เห็นฟ้ามันเหลืองๆเต็มจอ สงสัยตัวเองคงจะยังไม่ตื่น กำลังฝันอยู่

แหม คุณหนุ่มจะแก้เสียก่อนก็ไม่ได้

ฟ้าเหลืองเลยหรอครับ อิอิ  ยิงฟันยิ้ม รูปแบบสถาปัตยกรรมพระที่นั่งงดงามมากเลยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 16:42

เหยียบรอดหัก หกล้มลงไปแล้ว ก็พูดแก้เก้อไปตามเรื่อง

ทำเป็นพูดเชือนแชพอแก้ตน   คุณสองคนก็ขึ้นนอนบนเตียงใหญ่
พลิกพลอดกอดก่ายสบายใจ   เทียบประทับหลับไหลไปด้วยกัน

มีคำถามอีกข้อคือ  เตียงอยู่ตรงไหน  ทำไมมีคำนี้โผล่ขึ้นมาดื้อๆ ไม่มีต้นสายปลายเหตุว่าเธอเดินเข้าห้องไปหรืออย่างไร
ถ้าเข้าห้องนอน    สาวชาววังสมัยนั้นไม่ได้นอนเตียง   แต่นอนบนฟูกที่ปูบนพื้นห้องในห้องที่อยู่ของแต่ละคน      คืนไหนเข้าเวร ที่นอนของสองสาวคือบนพื้น ปลายแท่นพระบรรทมของกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ
เป็นไปได้ไหมว่า เตียงคือส่วนหนึ่งของเฉลียงเก๋ง   คือฉากมันก็อยู่ตรงระเบียงนั่นแหละ   กวีจึงไม่ได้บรรยายว่าสองคนนี้เดินเข้าไปในห้องที่ตั้งเตียงไว้

ถ้าอย่างนั้นเตียงที่ว่าคืออะไร
ดิฉันเข้าใจว่าเป็นตั่ง ที่เป็นแท่นลดลงมาจากเฉลียงเก๋ง     ตัวพื้นเก๋งนอนไม่ได้แล้วเพราะรอดหัก  ขืนไปนอนพื้นอาจจะยุบลงไป
ก็เลยนอนบนตั่งข้างหน้าเฉลียงเก๋งแทน  กอดกันหลับไป
คำว่า เตียง บางครั้งก็ใช้เป็นคำคู่ของตั่ง   เหมือนในบทอาขยานสอนเรื่องไม้ม้วน    ที่ว่า "สิ่งใดอยู่ในตู้  มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง"

ดังภาพข้างล่าง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 16:47

^
ถ้าเป็นตั่ง ก็ไม่มีเก๋ง ซิครับผม แล้วเครื่องเรือนเตียงเก๋ง มองไกล ๆ เหมือนตู้บูชายังไงพิกลนะครับอาจารย์  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 16:59

มันเป็น 2 ชิ้นไงคะ   ไม่ใช่ชิ้นเดียวกัน   เตียงหรือตั่งที่ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่วางอยู่ข้างหน้าตัวเก๋ง
ป.ล.  เป็นเครื่องเรือนที่มีโครงสร้างแบบนี้  แต่ไม่อลังการเท่านี้    อาจเป็นเตียงมีหลังคาแบบเรียบๆ มีตั่งเป็นพื้นลดอยู่ข้างหน้า  เรียกว่าเตียง   คุณเธอไปเหยียบส่วนข้างในหักเสียแล้ว  พอจะนอนก็เลยต้องนอนบนตั่งข้างหน้าแทน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 18:41

หรือว่าเฉลียงเป็นส่วนที่อยู่ล่างก่อนขึ้นเตียง

 ฮืม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 18:47

ส่วนไหนจะเป็นส่วนไหนก็ตาม  เตียงต้องเป็นส่วนที่ไม่มีรอด   และแยกส่วนจากเฉลียง
รอดเฉลียงหัก  เตียงยังอยู่เป็นปกติ ไม่กระทบกระเทือนถึงกัน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 19:13

ท่านที่ยังติดใจประเด็นของเฉลียงเก๋งก็เชิญกลับมาต่อตามสบายนะครับ

ผมขอไปยังเฉลียงอาคาร และระเบียงอาคาร ค้างไว้ตรงที่น่าจะสรุปได้เล็กๆว่า ระเบียงคือส่วนที่อยู่ติดๆกับพื้นดิน แต่มานึกได้อีกที ระเบียงของพระที่นั่งจักรีอยู่ภายในอาคารชั้นบนๆ ผมก็เกิดอาการไปไม่ถูก ต้องไปนอนพักสมองจนเห็นฟ้าเหลือง

กลับมาทบทวนอีกทีหนึ่ง ย้อนกลับไปหาเรือนไทยดั้งเดิม และพจนานุกรมที่ราชบัณฑิตสถานแปลความให้ไว้

เฉลียง   ส่วนของเรือนที่ต่อออกมาด้านหัวและท้ายเรือน
ระเบียง พื้นเรือนที่ต่อออกไปทางด้านข้าง

ในทางเชิงช่าง มันน่าจะมีนัยมากกว่าด้านหัวด้านข้าง  ผมว่า น่าจะเป็นโครงสร้างส่วนพื้น ที่บ่งชี้ความแตกต่าง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 19:14

ลองดูภาพนี้นะครับ

ล่างซ้าย การใช้รอด ต่อมาได้เปลี่ยนไปใช้ไม้คานตีประกบกับเสาแทนการเจาะเสาให้เป็นรูเพื่อเอาไม้คานลอดออกมา คานนี้มีตงวางอยู่เพื่อถ่ายน้ำหนักพื้นอีกทีหนึ่ง

การจะต่อพื้นออกไปด้านสกัด หรือด้านยาว สามารถทำได้โดยการยื่นหัวคานออกไป หรือจะยื่นหัวตงออกไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 19:17

ถ้าเป็นด้านสกัด ก็ยื่นหัวคานออกไป แล้ววางตงบนนั้นอีกทีหนึ่ง ส่วนที่ยื่นออกไปนี้เรียกเฉลียง(มาจากภาษาเขมรหรือเปล่าก็ไม่รู้)

(ในรูปนี้ ส่วนบนที่ยื่นออกมาเห็นผนัง ถ้าเป็นเฉลียง ก็จะใส่ลูกกรงราวกันตกเข้าไปแทน)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 19:22

ถ้าเป็นด้านยาว ก็ยื่นหัวตงออกไปเลย อันนี้เรียกระเบียง ซึ่งโครงสร้างอาคารหลายชั้นขนาดใหญ่ ที่ภายในมีช่องโล่งและทางเดิน มักจะอยู่ในแนวยื่นตง นั่นเองที่อาจให้เกิดการเรียกพื้นที่ยื่นมาในส่วนนี้ว่าระเบียง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 19:47

น่าจะเป็นคำตอบว่าทำไมคนทั้งหลายจึงระบุว่าระเบียงอยู่ด้านยาว  เฉลียงอยู่ด้านสะกัด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 19:53

แต่ท่านที่ว่า เรือนสมัยใหม่ไม่ได้สร้างให้มีความกว้างความยาวชัดเจนเหมือนเรือนโบราณ แยกเฉลียงกับระเบียงไม่ออก ก็อาจแยกด้วยตำแหน่ง. ถ้าอยู่หน้าบ้านหลังบ้าน เรียกว่า เฉลียง เช่น เฉลียงหน้าบ้าน เฉลียงหลังบ้าน  ถ้าอยู่ข้างบ้าน เรียก ระเบียง
 
ก็ยังไม่เนียนอยู่ดี

อาคารสมัยนี้รูปทรงไร้เขตจำกัด  ถึงมองออกว่าอะไรเป็นหน้าบ้านหลังบ้าน แต่ของอย่างเดียวกัน ข้างๆเรียกอย่าง หน้ากับหลังเรียกอย่าง คงสับสนไปหมด


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 20:17

อย่าว่าแต่อาคารสมัยใหม่เลยค่ะ  อาคารสมัยเก่าบางแห่งก็ยากจะแบ่งระเบียงและเฉลียงออกจากกันได้  
อย่างตำหนักสายสุทธานภดล  



ถ้าถือว่าเฉลียงอยู่ส่วนหน้า ระเบียงอยู่ส่วนข้าง    ในภาพนี้เฉลียงเชื่อมติดกับระเบียงเป็นเนื้อที่เดียวกัน
คนยืนอยู่ด้านหน้าเรียกว่ายืนอยู่บนเฉลียง     ขยับมาอีกไม่กี่ก้าว กลายเป็นยืนอยู่บนระเบียงไปแล้ว   ยังงั้นหรือคะ?
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 20:22

ถ้าเป็นด้านสกัด ก็ยื่นหัวคานออกไป แล้ววางตงบนนั้นอีกทีหนึ่ง ส่วนที่ยื่นออกไปนี้เรียกเฉลียง(มาจากภาษาเขมรหรือเปล่าก็ไม่รู้)

มาจากภาษาเขมรทั้งเฉลียง, ฉนวน และระเบียง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 20:36

แล้วความหมายของเฉลียง ฉนวน  ระเบียง ในภาษาเขมร  แปลว่าอะไรคะ คุณเพ็ญชมพูทราบไหม
เผื่อจะได้ร่องรอยความหมายของคำเหล่านี้ขึ้นมาบ้าง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง