เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 63797 ฉนวน มุข ระเบียง เฉลียง ชาน เจ้าอยู่แห่งใดในอาคารฤา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 11:21

ถ้าเฉลียงหมายถึงเตียงเก๋งแบบจีน  ความหมายอาจจะถูกลืมเลือนไปตั้งแต่รัชกาลที่ 4  ซึ่งเฟอร์นิเจอร์แบบฝรั่งเข้ามาแทนที่แบบจีนตามที่นิยมกันในรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 11:33

ครับ

ถ้างั้น เราจะผ่านเรื่องนี้ไปว่ากันต่อเรื่องของเฉลียงและระเบียงของอาคารกันเลย

ถ้าในอาคารในยุคตั้งแต่รัชกาลที่๕ คำว่าเฉลียงจะปรากฏมากในบรรดาวังและพระตำหนักที่สร้างขึ้นในรูปแบบตะวันตก ดังเช่น

พระตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เป็นตึก 2 ชั้น ทรงสี่เหลี่ยม ตกแต่งหน้าต่างชั้นบนเป็นซุ้มโค้งกลมประดับกระจกเป็นรัศมีพระอาทิตย์ครึ่งดวง เฉลียงชั้นสองของมุขหน้าเป็นเฉลียงกว้าง บนเสาของราวลูกกรงตั้งกระถางหล่อปลูกต้นไม้ เสาเหลี่ยมรับเฉียงประกอบด้วยซุ้มโค้งกลม ตัวอาคารมีเฉลียงเล็กทุกด้าน ผนังประกอบด้วยเสาอิงแบบ Doric และ lonic ผนังชั้นล่างสลักเป็นลายอิฐ ผนังส่วนใต้หลังคาเจาะช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า สลักปูนเป็นกรอบและมีหูช้างสลักลายประดับใต้ชายคา ช่องลมเหนือประตูตกแต่งด้วยลายไม้ฉลุลายละเอียด บริเวณสนามวงกลมด้านหน้าตั้งตุ๊กตาปูนปั้นแบบกรีก กระถางปูนประดับลายปูนปั้น

เฉลียงนี้ดูจะเป็นที่นั่งพักผ่อนสบายๆ รับลมอยู่ภายในอาคาร ในขณะที่เป็นทางผ่านไปสู่ห้องต่างๆด้วย



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 11:37

อาคารพระตำหนักเยาวภา เป็นอาคาร ๒ ชั้น  ยกพื้นสูงประมาณ ๑ เมตร ปูพื้นด้วยไม้สักทั้งหลัง หลังคาทรงสูงทำด้วยกระเบื้องว่าว สีเดิมของอาคารเป็นสีเขียว ต่อมามีการบูรณะปรับปรุงเป็นสีน้ำตาล ภายในอาคารแบ่งเป็นส่วนๆ คล้ายอาคารชุดประตูเปิดติดต่อกันมีช่องลมเป็นลายไม้จำหลักเหนือขอบประตูเป็นหน้าต่างเป็นบานกระทุ้ง ตรงกลางเป็นบานเกล็ด

ชั้นบนของอาคารมีเฉลียงด้านหน้ายาวตลอดทั้งอาคาร มีบันไดใหญ่ขึ้นลงแยกกัน ๒ บันไดและมีบันไดเล็ก ริมสุดของอาคารอยู่ทางทิศใต้ เสาของอาคารมีลายปูปั้น บันไดทางขึ้นด้านหน้าอาคารทำด้วยหินอ่อนสีขาว


โปรดสังเกตุ เราไม่มีทางเห็นเฉลียงที่อยู่หลังหน้าต่างชั้นบนเลย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 11:42

เรือนผ่องศรี

อยู่เนินเขา เป็นตึกกลมชั้นเดียว มีสามห้อง และมีเฉลียงรอบ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 11:48

ตึกวัฒนา

เป็นอาคารตึก ๒ ชั้น รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๑ เมตรโดยประมาณ หลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องเกล็ดเต่า ผนังก่ออิฐถือปูน กำแพงหนาประมาณ๐.๓๐ เมตร ด้านหน้าหันสูทะเล มีเฉลียงยาวตลอดทั้งชั้นบน และ ชั้นล่าง กว้างประมาณ๒.๐๐ เมตร มีลูกกรงไม้กันตก บันไดทางขึ้นอยู่กลางอาคารด้านหน้า เป็นบันไดก่ออิฐถือปูน
ขั้นบันไดทำด้วยหินทราย ชั้นล่างเป็นห้องโถงใหญ่ ขนาด กว้าง ๖.๐๐ เมตร ยาว ๗.๐๐ เมตร๑ ห้อง ห้องบันได ๑ ห้องและห้องเล็กข้างบันไดขนาดกว้าง ๓.๐๐ เมตร ยาว ๓.๕๐ เมตรโดยประมาณ

ชั้นบนเป็นเหมือนชั้นล่าง ส่วนบันไดประตู หน้าต่าง เพดาน และโครงหลังคาทำด้วยไม้สัก

รูปแบบของอาคารเป็นแบบตะวันตก ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยนั้น คือ มีเฉลียงแล่นตลอดความยาวของอาคาร รูปแบบเรียบง่าย ดูมั่นคงแข็งแรง ไม่มีสิ่งตกแต่งเกินความจำเป็น




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 11:50

อาคารเล็กลงมาสองหลังสุดท้ายนี้ เริ่มเห็นเฉลียง เป็นทางสัญจรนอกห้อง แต่ยังอยู่ภายใต้ชายคา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 11:54

พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์


เป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกแท้ มีรูปแบบเป็นปราสาทขนาดเล็กคล้ายปราสาทในสมัยกลาง จัดเป็นสถาปัตยกรรมแบบโรแมนติก ที่ผสมผสานระหว่างปราสาทแบบเรอเนสซองของฝรั่งเศส กับอาคารแบบฮาล์ฟ ทิมเบอร์ ของอังกฤษ

เป็นอาคารสองชั้น ภายนอกอาคารมีเฉลียงโดยรอบโดยเฉพาะเฉลียงด้านตะวันออก เป็นเฉียงกว้างรูปครึ่งวงกลม เน้นสร้างจุดเด่นของตัวอาคารด้วยหอคอยทรงสูงรูปวงกลมไว้ทั้ง 4 มุม บริเวณทางเข้าตำหนักมีมุขเล็กๆ ที่มีหลังคาคลุมยื่นออกมาจากผนัง และมีไม้ประดับผนังแบบเดียวกันกับบ้านแบบทิวดอร์ของอังกฤษ.

ตัวอาคารเป็นตึกผสมไม้ หลังคามุงกระเบื้องเกล็ด ช่องหน้าต่างเป็นบานไม้แบบลูกฟักกระดานดุน ชายคา และด้านหน้า เฉลียงประดับด้วยไม้ฉลุลายฝีมือละเอียดงดงาม เท้าแขนรองรับพื้นเฉลียง ทำเป็นไม้ทรงมุมฉากฉลุลายเป็นวงขด ซึ่งเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมมากในสมัยรัชกาลที่ 5

เป็นที่น่าเสียดายว่าอาคารหลังนี้ไม่ได้รับการซ่อมแซม จึงไม่ได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม หากแต่ความงดงามยังคงมีอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง


อาคารที่สร้างสมัยที่คนไทยนิยมนั่งเก้าอี้แทนการนั่งบนพื้น เฉลียงจึงทำไว้แค่เป็นทางสัญจรเท่านั้น


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 12:14

บรรยากาศแบบเฉลียง ๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 12:21

ถ้าอย่างนั้น  หลังประตูโค้งทั้งชั้นบนชั้นล่างของอาคารนี้ก็เรียกว่าเฉลียงเหมือนกันน่ะซีคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 12:23

ตำหนักสายสุทธานภดล
ส่วนของอาคารที่มีลูกกรงกั้นทั้งด้านหน้าและด้านข้าง  ชั้นบนและล่าง คือเฉลียง?  ไม่ใช่ระเบียง?


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 12:48

เรามาดูไปเรื่อยๆก่อนนะครับ ไม่อยากด่วนสรุป

ผมได้นำเฉลียงของพระตำหนักใหญ่ วังสระปทุมมาให้ชมไปแล้ว ขอมาต่อที่ระเบียงครับ

สำหรับ “พระตำหนักใหญ่” ที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้านั้น เป็นตำหนัก ๒ ชั้น ก่ออิฐถือปูน มีห้องใต้ดินอีก ๑ ชั้น รูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีระเบียงพื้นคอนกรีตยื่นออกมาโดยรอบพระตำหนัก มีขนาดกว้างประมาณ ๒๒ ม. ยาว ๔๐ ม. มีความสูงจากพื้นระเบียงรอบพระตำหนักถึงยอดหลังคาประมาณ ๑๓.๕๐ ม. องค์พระตำหนักยกพื้นสูงกว่าระเบียงโดยรอบ หันหน้าออกไปทางทิศเหนือ (คลองแสนแสบ) มีมุขเฉลียงยื่นออกนอกองค์พระตำหนัก ๔ ทิศ โดยมีบันไดหลักขึ้นสู่ตัวอาคาร ขึ้นจากทางทิศเหนือและมีบันไดขึ้นได้อีก ๒ ทิศ บริเวณมุขด้านทิศตะวันตกและทิศตะวันออก ทาสีเหลืองทั้งองค์พระตำหนัก

ระเบียงในภาพอยุ่ติดกับพื้นดิน มองเห็นราวระเบียงอยู่วอบๆแวมๆอยู่หลังพุ่มไม้
ภาพล่างคือมุขเฉลียง อะไรที่ยื่นออกมาจากอาคารเป็นแท่งๆก้อนๆ จะเรียกว่ามุขทั้งหมด โดยมีคำขยายความอีกทีหนึ่ง เช่นมุขเฉลียง คือมุขที่มีเฉลียงอยู่ข้างบน

ศัพท์เหล่านี้ใช้ในราชสำนักสมัยรัชกาลที่๕นะครับ ก่อนจะเพี้ยนไปหมดในสมัยหลังๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 13:20

อีกหนึ่งตัวอย่าง เพื่อแสดงว่า ระเบียง ใช้เรียกทางสัญจร ไม่ว่าจะอยู่บนอาคาร หรืออยู่นอกอาคาร

พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรเป็นพระที่นั่งเรือนไม้ 2 ชั้น มีสถาปัตยกรรมแบบชาเล่ย์ของสวิตเซอร์แลนด์ โดยทาสีเขียวอ่อนและสีขียวแก่สลับกันทั้งองค์ ประดับประดาไปด้วยลวดลายฉลุไม้แบบยุโรปที่แสนงดงาม มีระเบียงแล่นโดยรอบพระที่นั่ง ภายในมีการตกแต่งแบบยุโรปด้วยเครื่องเรือนฝรั่งเศสสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ที่เข้าชุดกันทั้งหมด พระที่นั่งองค์นี้ถือได้ว่าเป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานมากที่สุด


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 14:23

อีกหนึ่งตัวอย่าง เพื่อแสดงว่า ระเบียง ใช้เรียกทางสัญจร ไม่ว่าจะอยู่บนอาคาร หรืออยู่นอกอาคาร

พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรเป็นพระที่นั่งเรือนไม้ 2 ชั้น มีสถาปัตยกรรมแบบชาเล่ย์ของสวิตเซอร์แลนด์ โดยทาสีเขียวอ่อนและสีขียวแก่สลับกันทั้งองค์ ประดับประดาไปด้วยลวดลายฉลุไม้แบบยุโรปที่แสนงดงาม มีระเบียงแล่นโดยรอบพระที่นั่ง ภายในมีการตกแต่งแบบยุโรปด้วยเครื่องเรือนฝรั่งเศสสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ที่เข้าชุดกันทั้งหมด พระที่นั่งองค์นี้ถือได้ว่าเป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานมากที่สุด

อ. NAVARAT.C ต้องใช้ภาพนี้บรรยายประกอบครับ ภาพเรือนสีเขียวสร้างใหม่หลังจากไฟไหม้และสร้างอยู่พักหนึ่ง ก่อนจะเปลี่ยนรูปแบบใหม่หมดทั้งหลัง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 16:18

ขอบคุณนะครับ

ผมหลับไปงีบนึง ตกใจมีโทรศัพท์เข้า เออๆคะๆเสร็จมาเปิดกระทู้ดู เห็นฟ้ามันเหลืองๆเต็มจอ สงสัยตัวเองคงจะยังไม่ตื่น กำลังฝันอยู่

แหม คุณหนุ่มจะแก้เสียก่อนก็ไม่ได้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 16:34

ยังเหลืออะไรให้ติดใจเรื่อง"เฉลียงเก๋ง"  อยู่อีกเล็กน้อย

ถ้าเป็นละคร  ฉากเกิดขึ้นที่ระเบียง  ตัวละครมี 3 คนคือสาวชาววังเลสเบี้ยนสองคนนั่งเล่นอยู่ที่ "เฉลียง" เป็นเฟอร์นิเจอร์อย่างเดียวที่กล่าวถึงบนระเบียงนั้น   กำลังงอนกันอยู่  พอดีลุงคนหนึ่งเดินมาที่ระเบียงพอดี  ถามว่าทะเลาะอะไรกัน
สองคนตกใจและอาย  ก็ลุกขึ้นวิ่งหนี   เท้าหนักไปหน่อยไปเหยียบบนพื้นเฉลียงเก๋ง เล่นเอารอดหัก
จากรูปประกอบที่นำมาลงข้างล่างนี้  รอดของเฉลียงเก๋งเป็นไม้แผ่น ไม่ใช่ไม้ท่อน   ฝีเท้านางในสองคนทิ้งน้ำหนักลงไปโดยแรง ก็ไม่แปลกที่รอดหักลงไปทันตาเห็น



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.251 วินาที กับ 20 คำสั่ง