เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 63804 ฉนวน มุข ระเบียง เฉลียง ชาน เจ้าอยู่แห่งใดในอาคารฤา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 15:59

อ้างถึง
ดูแล้วเหมือนกับว่า เฉลียง เป็นทางด้านหนึ่งเป็นผนัง ด้านหนึ่งเป็นหน้าต่าง ตรงกลางเป็นทางเดินหรือเปล่า ?

ก็น่าจะใช่
แล้วในรูปนี้ล่ะครับ จะเรียกอะไร

ตามรูปนี้  ฝรั่งเรียกว่า balcony


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 16:15

ภาพที่ 1  ฝรั่งเรียกว่า balcony   ภาพที่ 2 ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน แตกต่างกันแต่ว่าอยู่ใต้หลังคา  ก็น่าจะเป็น balconyเช่นกัน
ส่วนภาพที่ 3 และ 4 ถ้าจัดกลุ่มเข้ากับภาพที่ 1 และ 2 ได้ก็น่าจะเรียกว่า balcony ได้เหมือนกัน

แต่ถ้าท่าน NAVARAT.C บอกว่าไม่เหมือนกัน   คนละอย่าง   เดี๋ยวจะหาคำฝรั่งมาให้อีกคำค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 16:38

balcony  จะแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรครับ

ถ้าจะแปล กรุณาแปลคำว่า Terrace ด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 16:48

ถ้าแปลเป็นไทยจะงง   เพราะดูจากอินทรเนตร  balcony   แปลได้หมดไม่ว่า ระเบียง เฉลียง  มุข  ชาน
แปลอังกฤษเป็นอังกฤษง่ายกว่าค่ะ
bal·co·ny 
1. A platform that projects from the wall of a building and is surrounded by a railing, balustrade, or parapet.
2. A gallery that projects over the main floor in a theater or auditorium.

ความหมายที่สองคงอยู่นอกขอบเขตกระทู้   เอาความหมายแรก  คือพื้นที่ที่สร้างยื่นจากผนังอาคาร กั้นด้วยลูกกรง(มีได้หลายแบบ)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 16:54

คือ ฝรั่งเองก็สับสนในคำสองคำดังกล่าว เท่าๆก้บคนไทยกำลังสับสนกับคำว่าเฉลียงและระเบียงน่ะครับ

ถ้าเชื่อที่เราอภิปรายกันในคคห.ท้ายๆ ก็ต้องเฉลยว่า สองภาพหลังนี้ กรรมาธิการอนุรักษ์สิลปสถาปัตยกรรม สมาคมสถาปนิกสยาม บรรยายภาพว่า เป็นระเบียง ไม่ใช่เฉลียง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 17:09

ดิฉันว่าท่าน NAVARAT ไปเปิด dictionary ในอินทรเนตรดูหมดแล้วว่าฝรั่งแปล terrace ไว้ครอบจักรวาลขนาดไหน 
  1.
a. A porch or walkway bordered by colonnades.
b. A platform extending outdoors from a floor of a house or apartment building.
2. An open, often paved area adjacent to a house serving as an outdoor living space; a patio.
3. A raised bank of earth having vertical or sloping sides and a flat top: turning a hillside into a series of ascending terraces for farming.
4. A flat, narrow stretch of ground, often having a steep slope facing a river, lake, or sea.
5.
a. A row of buildings erected on raised ground or on a sloping site.
b. A section of row houses.
c. Abbr. Ter. or Terr. A residential street, especially on a slope or hill.
6. A narrow strip of landscaped earth in the middle of a street.

แต่เวลาดิฉันแปล terrace  ในนวนิยาย   ดูจากบริบท ผู้ประพันธ์น่าจะหมายถึงข้อ b กับข้อ 2 มากกว่าอย่างอื่น     คือเป็นชาน หรือลาน จะปูกระเบื้อง ปูหญ้า ปูด้วยไม้กระดาน อะไรก็ตาม  แต่ยื่นออกจากตัวบ้าน กว้างพอสมควร  (พอที่พระเอกนางเอกจะนั่งกินลมชมวิวกันได้ )  ไม่อยู่ในชายคา  สรุปว่าฝนตกก็เปียกละค่ะ 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 17:23

คำอธิบายต่อไปนี้ เอาความรู้สึกของผู้แปลนำหน้า  ไม่ได้เอาดิกชันนารีนำหน้า
terrace ของฝรั่งน่าจะใกล้เคียงกับคำว่า  ลาน  ชาน หรือ นอกชาน ของไทยมากกว่าระเบียงหรือเฉลียง     ถ้าถามว่าต่างกันยังไง อย่างแรกคือเทอเรสกว้างกว่าระเบียง  นั่งๆนอนๆ ยกเก้าอี้รับแขกไปตั้งทั้งชุดได้ พร้อมที่วิ่งเล่นให้ลูก   สอง เทอเรสเป็นลานเปิดเป็นส่วนใหญ่  หมายถึงว่าไปนั่งอยู่ที่นั่นแล้วแหงนชมฟ้าได้  ส่วนระเบียงมักจะแหงนเจอเพดานหรือชายคา
แต่ถ้าท่าน NAVARAT ซักต่อว่า แล้วเทอเรสแคบ กับระเบียงกว้างล่ะ   เนื้อที่อะไรจะมากกว่ากันถ้าคุณบอกว่าเทอเรสกว้างกว่าระเบียง   อย่างนี้ก็จนมุมเหมือนกัน  เพราะระเบียงบ้านมหาเศรษฐีอาจจะกว้างกว่าเทอเรสของชาวบ้านธรรมดาหลายเท่าก็ได้

สรุปว่าเอารูปไปดูเล่นอีก 2 รูปค่ะ   


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 17:34

A Terrace is a "setback" from the building line and contained within the "footprint" of the building.

A Balcony juts out beyond the building line.
In an interior court environment, you could have balconies overlooking the court yard but jutting out from the interior building line

A patio is on the ground.

ว่าแต่ว่า เราเอาเฉลียงกับระเบียงให้จบก่อนไม่ดีหรือครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 17:38

ขอเล่าถึงอีกคำหนึ่ง คือ porch   ถ้าจะแปลเป็นไทยเห็นจะเรียกว่าเฉลียงหน้าบ้าน ละมังคะ?

เมืองที่ดิฉันไปเรียน  ตั้งแต่ถนนสายที่ 1-10 กว่าๆ  เป็นบ้านแบบคล้ายกันหมดคือมี porch อยู่หน้าบ้าน   สาเหตุที่รูปแบบบ้านคล้ายคลึงกันก็เพราะมันเป็นเมืองจัดสรร  อันได้แก่เมืองที่สร้างขึ้นมาคราวเดียวกันหมด จากการอพยพตั้งถิ่นฐานของคนจากตะวันออกมาอยู่ทางตะวันตก  เมื่อปลายศตวรรษที่ 19    
พวกนี้ซื้อที่ดินเป็นแปลงๆที่จัดสรรกันไว้  สร้างพรึ่บเดียวเป็นเมือง  บ้านช่องเลยสร้างสมัยเดียวกัน คล้ายกันไปหมด    ไปใหม่ๆถ้าไม่จำเลขถนนให้แม่นว่าสายที่เท่าไหร่  กะเหรี่ยงไทยก็เดินหลงกลับบ้านไม่ถูก  เพราะดูสองข้างถนนบ้านมันเหมือนๆกันจนตาลาย

porch แบบนี้ไม่เคยเห็นในบ้านในกรุงเทพ     คงเป็นเพราะอิทธิพลของอเมริกันในตอนปลายศตวรรษที่ 19 ไม่ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลมาอย่างสไตล์โคโลเนียล    แต่ทำให้มีคำนี้เข้ามาในสมอง แต่ตอนนั้นไม่ได้นึกถึงคำว่าเฉลียง   ไปเรียกว่าระเบียงหน้าบ้าน

ป.ล. ๑  ชนกันกลางอากาศ  
       ๒  กลับมาที่เฉลียงแล้วนะคะ อาจารย์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 17:59

porch อื่นๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 19:14

ขอแยกซอยลึกเข้าไปอีก  เกี่ยวกับคำว่า porch
คำนี้แปลว่า "เฉลียง" ก็ได้ค่ะ    แต่ porch ก็มีความหมายกว้างกว่าเฉลียงอีกนั่นแหละ
ขึ้นชื่อว่าเฉลียง (ที่เราใช้ปนกับคำว่าระเบียง)  มันไม่ใช่ห้อง  เป็นส่วนที่ยื่นออกจากอาคาร  มีเสา และมีลูกกรงกั้น  แต่ไม่มีผนังครบ ๔ ด้าน    มักมีด้านหลังเป็นส่วนเชื่อมติดกับตัวบ้าน   ซ้ายขวาและด้านหน้า โล่งๆ  
ส่วน porch มีได้หลายแบบ    อย่างที่นำรูปมาให้ดูก็จัดเข้าประเภท porch เรียกว่า sun porch  คือสร้างเป็นห้องกระจกไว้รับแสงสว่างและความอุ่นจากแดดซึ่งเป็นที่ปรารถนาในประเทศหนาว   จะได้ไม่ต้องอุดอู้อยู่แต่ในบ้านซึ่งมีผนังทึบกับหน้าต่างจำนวนน้อย เพื่อกันความหนาว
ห้อง sun porch แบบนี้ เราคงไม่เรียกว่าเฉลียงกระมังคะ  ท่านอาจารย์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 19:36

สนทนามาถึงตรงนี้   อยากจะสรุปไว้ชั้นหนึ่งก่อนว่า
๑  คำว่าเฉลียง ถ้าแปลเป็นอังกฤษ  ใช้คำว่า porch   แต่คำว่า porch อาจแปลเป็นอย่างอื่นได้อีก นอกเหนือจากเฉลียง
๒  คำว่าระเบียง  ถ้าแปลเป็นอังกฤษ ใช้คำว่า balcony
คำอื่นๆแล้วแต่ท่านนวรัตนจะมาเฉลยค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 19:38

รายงานตัว
ลงมาจากหลังคาแล้ว เขียนไปแล้ว กดผิดหายไปแล้ว
คงจะต้องเรียบเรียงมาแจมเรื่องนี้ใหม่ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 19:42

^
เมาแหง๋
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 19:51

อ้างถึง
สนทนามาถึงตรงนี้   อยากจะสรุปไว้ชั้นหนึ่งก่อนว่า
๑  คำว่าเฉลียง ถ้าแปลเป็นอังกฤษ  ใช้คำว่า porch   แต่คำว่า porch อาจแปลเป็นอย่างอื่นได้อีก นอกเหนือจากเฉลียง
๒  คำว่าระเบียง  ถ้าแปลเป็นอังกฤษ ใช้คำว่า balcony
คำอื่นๆแล้วแต่ท่านนวรัตนจะมาเฉลยค่ะ

ผมยังหานิยามคำว่า ระเบียงกับเฉลียง ไม่ลงตัวเลยครับ แล้วจะไปแปลภาษาต่างด้าวมาเป็นไทยอย่างไรได้ คือ บอกตรงๆว่าผมไม่เห็นด้วยกับรอยอินทร์น่ะครับ ถ้าท่านว่า ระเบียงกับเฉลียงเหมือนกัน จะใช้อย่างไรก็ได้ยังดีกว่า เช่น รถยนต์เหมือนกับรถเก๋ง สตางค์เหมือนกับเงิน ฯลฯ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง