เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 63984 ฉนวน มุข ระเบียง เฉลียง ชาน เจ้าอยู่แห่งใดในอาคารฤา
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 12:27

ตัวอย่าง สพานแห่งหนึ่งในฝ่ายใน ของพระบรมมหาราชวัง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 12:32

ไม่ว่ายาวหรือสั้น หรืออยู่ในพระราชวังก็ตาม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 12:39

เคยเห็นการกั้นผ้า ตั้งแต่ประตูอุดมสุดารักษ์ไปยังท่าราชวรดิฐ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่หาภาพไม่เจอ เลยหยอดภาพมุมมองที่ใกล้เคียงกัน เขากันผ้าบังไว้สำหรับฝ่ายในให้เสด็จออกจากวัง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 13:05

โอ๊ะโอ๋ ไม่เคยเห็น

เข้าซอยหน่อยครับ  ๒ปล่องที่เห็นคืออะไร อันในกำแพงพระบรมมหาราชวังนั่น โรงแกสที่ไฟไหม้หรือเปล่า
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 13:30

โอ๊ะโอ๋ ไม่เคยเห็น

เข้าซอยหน่อยครับ  ๒ปล่องที่เห็นคืออะไร อันในกำแพงพระบรมมหาราชวังนั่น โรงแกสที่ไฟไหม้หรือเปล่า

เข้าซอยนิดเดียวนะครับ อย่าเลี้ยวเข้าไปเยอะ เดี๋ยวเจอทางลัด  ยิงฟันยิ้ม

ปล่องไฟที่เห็นมีอยู่ ๒ ปล่อง

ปล่องซ้ายมือนอกกำแพงพระบรมมหาราชวัง คือ ปล่องไฟสำหรับเครื่องจักรสูบน้ำ เพราะตั้งอยู่กับถังสูบน้ำ (ปัจจุบันอยู่ที่นาวิกสโมสร ตรงสนามเทนนิส) ส่วนปล่องสูงใหญ่เป็นปล่องไฟเครื่องจักรไอน้ำที่ดรงกษาปณ์แห่งที่สอง ตรงกันข้ามกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์วัดพระแก้ว)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 13:51

อ้างถึง
         ส่วนระเบียงนั้นเป็นส่วนที่ต่อออกทางด้านข้าง. เรือนสมัยใหม่ไม่ได้สร้างให้มีความกว้างความยาวชัดเจนเหมือนเรือนโบราณ แยกเฉลียงกับระเบียงไม่ออก, ก็อาจแยกด้วยตำแหน่ง. ถ้าอยู่หน้าบ้านหลังบ้าน เรียกว่า เฉลียง เช่น เฉลียงหน้าบ้าน เฉลียงหลังบ้าน   ถ้าอยู่ข้างบ้าน เรียก ระเบียง เช่น ด้านข้างบ้านมีระเบียงยื่นออกไปให้ยืนรับลมได้ .

ด้วยความเคารพ ท่านเอาที่ไหนมาว่า บัญญัติศัพท์ขึ้นมาเองหรือไฉน  ศ.ภิญโญ สุวรรณคีรี   หรือราชบัณฑิตสาขาสถาปัตยกรรมท่าน อื่นๆ เคยมีสิทธิ์อภิปรายเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยบ้างไหม

จาก ปกในของผลงานเพลง "เฉลียงหลังบ้าน" ของ วงดนตรี "เฉลียง" ซึ่งสมาชิกหลายคนจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เฉลียงหลังบ้าน คนไทยนั้นมักใช้เป็นที่เก็บข้าวของที่แขกไม่เห็น แต่ของที่อยู่หลังบ้านนั้น ล้วนเป็นของจำเป็นทั้งสิ้น เช่น ครก ไห ตุ่ม รองเท้าแตะ ถังขยะ กาละมังแช่กางเกงใน ในขณะที่เฉลียงหน้าบ้านเป็นที่ที่ใครผ่านไปมาก็พบเห็น แต่สำหรับญาติมิตรสนิทสนมแล้ว คนไทยก็พาไปรับแขกถึงเฉลียงหลังบ้านกันทีเดียว และคราวนี้ เฉลียง ก็เปิดหลังบ้านมาให้ดูกันล่ะว่าเคยทำอะไรที่ใคร ๆ ไม่เคยเห็นบ้าง ที่จริงยังไม่หมดเสียทีเดียว แต่อันว่าคนเรานั้นกาละมังแช่กางเกงใน ซากรองเท้าขาด ๆ ก็ควรจะเก็บให้มิดชิดสักหน่อยจริงไหม

คำอธิบายข้างบนดูจะเดินตามคำอธิบายความหมายคำว่า "เฉลียง" ของท่านราชบัณฑิต  ศ. ดร.กาญจนา  นาคสกุล  

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 13:53

ขอบคุณคุณหนุ่มครับ

ไม่ใช่โรงแกสที่ไฟไหม้นะ


คราวนี้เรามาช่วยกันหาที่มาที่ไปของเฉลียงต่อกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 13:55

ผมติดตามหาคำว่าเฉลียงทั้งในหนังสือและในเวป หายากมากครับ ในหนังสิอพระบรมมหาราชวังกล่าวถึงเฉลียงของพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท โดยไม่มีรูปภาพประกอบ  เพราะเป็นส่วนที่เรียกว่า ห้องใต้หลังคา ห้องนั้นจะมีส่วนโค้งของเพดานชั้นถัดไปนูนขึ้นมา มีที่ราบเรียบตรงสองข้างของส่วนโค้งเป็นทางคนเดินได้ตลอด ท่านเรียกทางเดินนี้ว่า“เฉลียง”
 
เฉลียงของพระที่นั่งจักรีมิได้มีส่วนหนึ่งส่วนใดยื่นไปนอกอาคาร หรือมีช่องให้ชมวิวภายนอกเลย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 13:59

อีกแห่งหนึ่งคือพระตำหนักวังสระปทุม

สำหรับ “พระตำหนักใหญ่” ที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้านั้น เป็นตำหนัก 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน มีห้องใต้ดินอีก 1 ชั้น รูปทรงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีระเบียงพื้นคอนกรีตยื่นออกมาโดยรอบพระตำหนัก มีขนาดกว้างประมาณ 22 ม. ยาว 40 ม. มีความสูงจากพื้นระเบียงรอบพระตำหนักถึงยอดหลังคาประมาณ 13.50 ม. องค์พระตำหนักยกพื้นสูงกว่าระเบียงโดยรอบ หันหน้าออกไปทางทิศเหนือ (คลองแสนแสบ) มีมุขเฉลียงยื่นออกนอกองค์พระตำหนัก 4 ทิศ โดยมีบันไดหลักขึ้นสู่ตัวอาคารขึ้นจากทางทิศเหนือ และมีบันไดขึ้นได้อีก 2 ทิศ บริเวณมุขด้านทิศตะวันตกและทิศตะวันออก ทาสีเหลืองทั้งองค์พระตำหนัก
บริเวณเฉลียงในพระตำหนักใหญ่ชั้นบน ซึ่งเป็นบริเวณที่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโปรดที่จะประทับเมื่อทรงตื่นบรรทมแล้ว และเสวยพระกระยาหารในที่นี้ด้วย

เหตุการณ์ครั้งสำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่ง คือสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีซึ่งเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญสุดท้าย แห่งพระชนม์ชีพของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าคือ ทรงเป็นประธานในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 14:05

คือ หมายความว่า พิ้นที่มี่มีด้านยาวมากกว่าด้านกว้าง ที่อยู่หน้าหรือข้างๆห้องหลัก(ที่ด้านยาวมากกว่าด้านกว้างไม่มาก)นั้น จะเรียกว่าเฉลียง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 14:14

อ้างถึง
ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายงามขึ้นเรือนเข้าหาศรีมาลา มีบทกลอนตอนหนึ่งว่า

อีเม้ยรับหลับอยู่ที่เฉลียง      ได้ยินเสียงนายร้องก็จำได้
ลุกขึ้นด้วยตระหนกตกใจ      เข้าห้องในมองเมียงถึงเตียงพลัน

น่าสงสัยว่าอีเม้ยไปนอนอยู่ส่วนไหนของเรือนไทยโบราณ

ผมหาภาพอยู่นาน ยังหาที่ชัดๆกว่านี้ไม่ได้ เฉลียงในเรือนอยู่อาศัยของชาวบ้าน คือถ้าชานที่อยู่ด้านยาวของเรือนถูกเรียกว่าระเบียงไปแล้ว ชานที่อยู่ด้านสั้นคือด้านจั่ว ที่สถาปนิกเรียกว่าด้านสะกัด(ท่านราชบัณฑิต ศ.ดร.กาญจนา นาคสกุลเรียกด้านหุ้มกลอง)นั้น ก็คงเป็นเฉลียง

ภาพนี้ มองทะลุประตูออกไป คือเฉลียง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 14:16

ทั้งหมดของสถาปัตยกรรมโบราณที่ผมหามาให้ชมนี้ ไม่ว่าเฉลียง หรือระเบียง จะอยู่ภายใต้หลังคาทั้งนั้น อย่างถ้าเฉลียงอยู่นอกชายคา อีเม้ยจะนอนได้อย่างไร
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 14:26

ระบียงมาจากคำว่า พระระเบียง หรือระเบียงคดของวัด หรือในวังจะเรียกว่าระเบียงเฉยๆ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 14:29

ดูแล้วเหมือนกับว่า เฉลียง เป็นทางด้านหนึ่งเป็นผนัง ด้านหนึ่งเป็นหน้าต่าง ตรงกลางเป็นทางเดินหรือเปล่า ?


จัดไปให้ อ.NAVARAT.C ลองหาคำตอบนะครับ จดหมายเหตุการซ่อมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

"....ช่อห้อยช่อตั้งกระจังฝังกระจกสี มีรูปบรมจักรกฤษณ์ทรงครุฑ สุบรรณยุคพาสุกรีตรีเศรียร ยืนตระหง่านเงื้อมสง่างาม และเฉลียงพระอุโบสถลดเชิงชายตามลำดับกันลงมาทั้งสี่ชั้น เชิงชายเฉลียงลดชั้นล่างนั้น จำหลักดอกจอกเรียบเรียงระยะเป็นจังหวะเป็นท่องแถว แล้วมีห่วงเหล็กแขวนกระดึงใบโพห้อยย้อยระย้าทั้งสี่ด้านโดยลำดับ...."

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 14:30

ระบียงมาจากคำว่า พระระเบียง หรือระเบียงคดของวัด หรือในวังจะเรียกว่าระเบียงเฉยๆ

ที่เรียกระเบียงเฉย ๆ เพราะว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอาคารหลัก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง