เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 64082 ฉนวน มุข ระเบียง เฉลียง ชาน เจ้าอยู่แห่งใดในอาคารฤา
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 21 เม.ย. 12, 22:45

เอ้า ถามมั่ง กูรูภาษาไทยประจำห้อง กรุณาค้นคำตอบให้หน่อย

ระเบียง  เฉลียง  นอกชาน ท่านเข้าใจว่าต่างกันอย่างไรครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 เม.ย. 12, 08:50

ความหมายของท่านรอยอิน

เฉลียง [ฉะเหฺลียง] น. ส่วนของเรือนที่ต่อออกมาด้านหัวและท้ายเรือน สําหรับนั่งเล่นหรือเดินติดต่อกันเป็นต้น.

ระเบียง น. พื้นเรือนที่ต่อออกไปทางด้านข้าง มีหลังคาคลุม.

นอกชาน น. พื้นเรือนที่ยื่นพ้นชายคาระเบียงออกมา.

รอท่านสถาปนิกใหญ่มาขยายความ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 เม.ย. 12, 19:40

ส่งการบ้านค่ะ  ไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่า
รูปที่ 1  เฉลียง
รูปที่ 2  ระเบียง
รูปที่ 3  นอกชาน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 เม.ย. 12, 19:47

แต่ใน ๒ รูปนี้ ไม่แน่ใจว่าเขาเรียกว่าอะไร
รูปซ้าย ตรงพื้นที่ชั้นบนที่มีลูกกรงกั้น เรียกว่าระเบียงหรือเฉลียง   และพื้นล่างที่มีร่มกางอยู่  เรียกว่านอกชานใช่หรือไม่
รูปขวา  พื้นที่ว่างเหนือบันได เรียกว่าเฉลียงหรือนอกชาน   ถ้ามีหลังคาคลุมเรียกว่าเฉลียง  ถ้าไม่มีหลังคาคลุมเรียกว่านอกชานใช่ไหมคะ?


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 เม.ย. 12, 20:17

ขอเพิ่มอีกคำนะคะ อาจารย์
"หน้ามุข"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 เม.ย. 12, 20:34

ผู้รู้ตัวจริงยังไม่เข้ามาตอบ   ก็เลยมีผู้รู้ไม่จริงขัดตาทัพไปก่อนค่ะ
เข้าใจว่าส่วนประกอบมีหลังคาคลุมที่ยื่นออกมาทางหน้าบ้าน  เรียกว่าหน้ามุข ค่ะ  (มุข แปลว่า หน้า)
บางทีก็เป็นห้อง  บางทีก็เป็นที่ว่าง มีลูกกรงกั้นแทนผนัง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 08:10

ที่ผมตั้งคำถามนี้ขึ้น ก็เพราะเห็นว่าเรามีความสับสนในการใช้คำว่าเฉลียงและระเบียงมาตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว ทั้งก่อนและหลังราชบัณฑิตสภาจะบัญญัติศัพท์ที่คุณเพ็ญค้นมาให้ดูนั่น

สมัยที่เรียนอยู่ที่คณะสถาปัตย์ ไม่มีครูบาอาจารย์ท่านใดเคยสอนเรื่องนี้ จะว่ามี แต่ไม่เข้าหูผม เพราะบังเอิญไปตรงกับช่วงที่ผมโดดเรียนพอดี ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะในวิชาออกแบบเขียนแบบ ก็เห็นว่าทุกคนก็ใส่กันสะเปะสะปะ คำว่าเฉลียงและระเบียงนั้น เราเข้าใจว่าเหมือนกัน อยากจะใช้คำใดก็เขียนลงไปในแบบ ไม่เคยได้ยินว่าใครถามใครตอบว่าผิดหรือถูก ครูบาอาจารย์ไม่เคยทักไม่เคยแก้ เอาอย่างนี้แล้วกัน หนังสือวิชาการที่สมาคมสถาปนิกผลิตออกมานั้น บรรยายรูปประกอบยังใช้คำว่าเฉลียงและระเบียงสับสนกับที่ราชบัณฑิตนิยามไว้ แต่คงไม่มีใครสังเกตุความสับสนดังกล่าว ผมเองแม้จะสงสัยศัพท์สองคำนี้มานาน แต่ตอนที่พยายามค้นคว้าหาคำตอบที่จะเขียนในกระทู้นี้แหละ ยิ่งใช้อินทรเนตรสอดส่องลงไปที่ไหน ก็เห็นว่าสถาปนิกทั้งหลายมีนิยามของตนเองในใช้คำว่าเฉลียงและระเบียง โดยไม่คำนึงถึงคำนิยามของราชบัณฑิตเลยสักนิดเดียว

จึงอยากจะเชิญชวน นักอักษรศาสตร์ หรือนักโบราณคดี และโดยเฉพาะนักอ่านที่ชำนาญทางวรรณคดีไทย เคยผ่านหูผ่านตามาเวลากวีสมัยก่อนบรรยายถึงส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารบ้านเรือน มีไหมที่เกี่ยวข้องกับคำเหล่านี้ ซึ่งผมขอตั้งเป็นหัวข้อของกระทู้ใหม่ว่า

ฉนวน มุข ระเบียง เฉลียง ชาน เจ้าอยู่แห่งใดในอาคารฤา

เผื่อว่า เราจะได้ที่มาที่ไปอย่างถูกต้องของศัพท์แสงดังกล่าว และบางที จะเป็นประโยชน์ในการที่สถาปนิกทั้งหลาย(รวมถึงสถาปนิกที่เป็นราชบัณทิตด้วย) จะพึงทบทวนการใช้ศัพท์บัญญัติ ที่ถูกต้อง และเป็นมาตรฐานเดียวกัน

ขอรบกวนท่านอาจารย์เทาชมพูช่วยกรุณาแยกออกจากกระทู้นี้ตรงไหนก็ได้ครับ แล้วแต่จะเห็นสมควร เพราะเรื่องใหม่นี้จะมีประเด็นมาก ผิดหัวข้อเรื่องเดิมที่ท่านตั้งตั้งไว้ ผู้ที่ยังติดใจเรื่องหลังคาไทยๆจะได้เข้ามาว่าต่อกันได้โดยสะดวก



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 08:53

เคยเรียนมาเหมือนกันค่ะ  อย่างที่ราชบัณฑิตฯหรือรอยอินบอกไว้

คำว่า "ชาน" เป็นคำอันดับแรกที่นึกขึ้นได้   ในวรรณคดีขุนช้างขุนแผน  บอกไว้ชัดเจนว่า
โจนลงกลางชานร้านดอกไม้                ของขุนช้างปลูกไว้อยู่ดาษดื่น
รวยรสเกสรเมื่อค่อนคืน                      ชื่นชื่นลมชายสบายใจ
กระถางแถวแก้วเกดพิกุลแกม               ยี่สุ่นแซมมะสังดัดดูไสว
สมอรัดดัดทรงสมละไม                      ตะขบข่อยคัดไว้จังหวะกัน

เรือนไทยหมู่แบบเรือนขุนช้างมีรั้วล้อมรอบตัวเรือน   ไม่ใช่ล้อมรอบพื้นที่บ้านอย่างบ้านเราสมัยนี้     เมื่อขุนแผนจะขึ้นเรือนก็ต้องปีนข้ามรั้ว     ปีนขึ้นแล้วก็โจนลงมาบนพื้นกระดาน แสดงกิริยาองอาจแบบไม่กลัวใคร  ไม่ใช่ปีนแล้วค่อยๆโหนตัวหล่นตุ้บลงมาจากรั้ว   ยังงั้นไม่สง่าสมเป็นพระเอก
พื้นที่กลางแจ้งในตัวเรือนหมู่   เป็นที่วางต้นไม้พวกไม้ดัด ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นของเศรษฐีไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์    พวกนี้เอาไว้ในเรือนไม่ได้ เดี๋ยวตายหมด
จึงดูออกว่า ชาน ที่เรียกนั้นคือพื้นที่ปูไม้กระดานระหว่างเรือน     แต่ก็เกิดมีคำว่า นอกชาน ให้งงขึ้นมาอีกว่า ด้านนอกของชานคือตรงไหน   เข้าใจว่าความหมายเดียวกัน  ฮืม
ข้างบนนี้บอกว่าขุนแผนโจนลง "กลางชาน"  ก็คือกลางพื้นที่ว่างระหว่างเรือนนี่ละค่ะ


บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 09:01

นึกได้อีกคำหนึ่งค่ะ แต่คำนี้ชัด ใช้เฉพาะบ้านทรงไทย

พะไล หรือ พาไล
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 09:21

^
ติดพะไล หรือ พาไลนี้ไว้ก่อนนะครับ


ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายงามขึ้นเรือนเข้าหาศรีมาลา มีบทกลอนตอนหนึ่งว่า

อีเม้ยรับหลับอยู่ที่เฉลียง      ได้ยินเสียงนายร้องก็จำได้
ลุกขึ้นด้วยตระหนกตกใจ      เข้าห้องในมองเมียงถึงเตียงพลัน


น่าสงสัยว่าอีเม้ยไปนอนอยู่ส่วนไหนของเรือนไทยโบราณ
      
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 09:32

เรือนไทย ทำด้วยไม้ การจะยื่นส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารออกไปแขวนไว้เฉยๆทำได้ยาก ไม่เหมือนคอนกรีต จึงไม่ค่อยจะนิยมทำกัน

อนึ่ง คนไทยไม่รู้จะไปนั่งตากอากาศให้ยุงกัดอยู่ที่พื้นที่แคบๆนั้นทำไม ในเมื่อมีชานเรือนกว้างใหญ่สบายๆอยู่แล้ว



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 09:43

ย้อนกลับไปนึกถึงวรรณคดีไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์    นึกไม่ออกว่ามีระเบียงหรือเฉลียงอยู่ในเรื่อง    นางในวรรณคดีทั้งหลายไม่เคยยืนบนระเบียงหรือเฉลียง  แต่อยู่ในห้องกันเป็นส่วนใหญ่ ถ้าจะสบตาพระเอกก็ล้วนแต่คุณเธอเปิดหน้าต่างออกมาเห็นทั้งนั้น    เช่นนางสีดาเปิดพระแกลออกมาเห็นพระรามตอนเดินทางเข้าเมืองจะมายกศร      
อิเหนาแต่งถ้ำให้บุษบาตอนเตรียมจะลักตัว  ก็ให้บุษบาอุดอู้อยู่ในถ้ำ ไม่เห็นให้ประสันตาสร้างเฉลียงหรือระเบียงนอกถ้ำไว้ให้นั่งเล่นรับลมบ้างเลย

นางเอกทั้งหลายที่มีโอกาสยืนหรือนั่งบนเฉลียงและระเบียง    ล้วนแต่อยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นต้นมา  เพราะอิทธิพลฝรั่งเข้ามาทำให้อยู่บ้านทรงโคโลเนียล  มีเฉลียงหรือระเบียงให้ชมจันทร์ได้แล้ว   ก่อนหน้านี้จะชมจันทร์  ต้องออกไปนั่งบนชานกลางบ้าน

ในเรือนไทยภาคกลาง  พอก้าวข้ามธรณีประตูห้องออกมา ก็ถึงพาไล ค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 09:48

ม่ายช่าย?



เฉลียง   ส่วนของเรือนที่ต่อออกมาด้านหัวและท้ายเรือน สําหรับนั่งเล่นหรือเดินติดต่อกัน
ระเบียง พื้นเรือนที่ต่อออกไปทางด้านข้าง มีหลังคาคลุม
ชาน     พื้นที่นอกตัวเรือน
 
(ที่มา : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542)

นอกชาน คือ พื้นที่ที่เป็นทางหรือลานไม้เชื่อมต่อระหว่างเรือนหลายหลังเข้าด้วยกัน บรรยากาศบริเวณนอกชานซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมระหว่างเรือนหลายหลังเข้าด้วยกัน มักปลูกต้นไม้ไว้ตรงกลางนอกชานเพื่อให้ความร่มรื่น สวนนอกชานส่วนใหญ่จะนิยมปลูกไม้กระถางซึ่งสามารถยกย้ายเปลี่ยนที่ได้

ชาน คือ ระเบียงที่อยู่ต่อเนื่องกับตัวเรือน ระเบียงนี้จะมีหลังคาคลุม และใช้เป็นที่ใช้สอยอเนกประสงค์


ข้างบนคือที่ผมลอกเขามา

ถ้าเป็นอย่างนั้น ชานและระเบียงบ้าน (ขอเน้นคำว่าบ้านหน่อย) ของเรือนไทยโบราณก็อยู่ตรงนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 09:49

จึงอยากจะเชิญชวน นักอักษรศาสตร์ หรือนักโบราณคดี และโดยเฉพาะนักอ่านที่ชำนาญทางวรรณคดีไทย เคยผ่านหูผ่านตามาเวลากวีสมัยก่อนบรรยายถึงส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารบ้านเรือน มีไหมที่เกี่ยวข้องกับคำเหล่านี้ ซึ่งผมขอตั้งเป็นหัวข้อของกระทู้ใหม่ว่า

เพลงยาวเรื่องหม่อมเป็ดสวรรค์ ของ คุณสุวรรณ

เมื่อวันถวายเสภาเวลาหลัง               หม่อมเป็ดนั่งกับคุณโม่งที่ในเฉลียง
กระซุบกระซิบกันสองคนบนระเบียง     ได้ยินออกชื่อเสียงก็ขัดใจ.....

ครั้นอรุณรุ่งรางสว่างฟ้า                   พระเดชพระคุณให้หาหม่อมเป็ดสวรรค์
เมื่อเพลาพลบค่ำทำไมกัน                จนชั้นเฉลียงเตียงหักกระจัดกระจาย 
หม่อมเป็ดทูลเบี่ยงเลี่ยงเจรจา            คนมานั่งฟังเสภามากหลาย
ตาแจ้งขับเสภาว่าแยบคาย               คนทั้งหลายไม่เคยฟังประดังมา
ประทุกมากหลายคนบนระเบียง          จนเฉลียงเก๋งหักลงหนักหนา
เป็นต้นเหตุผลเพราะเสภา                คนเข้ามาฟังนักจึ่งหักไป
พระทรงฟังกริ้วกราดตวาดดัง             ชะเจ้าช่างเบือนบิดคิดแก้ไข
เขาว่าเจ้านั่งอยู่สองคนบ่นร่ำไร           แคะไค้คมค้อนทำงอนรถ
กระทืบเท้าผึงผางกลางระเบียง           จนเฉลียงไม้สักเขาหักหมด
จะแกล้งมาพูดบิดเบี้ยวเลี้ยวลด          เขารู้พยศเจ้าทุกอย่างมาพรางกัน

อ่านดูแล้ว

ระเบียง กับ เฉลียง ดูจะเป็นที่เดียวกัน

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 09:53

^
เยี่ยมเลยครับ

แสดงว่า ทั้งเฉลียงและระเบียง ต่างอยู่บนเรือนทั้งสิ้น ไม่ใช่ส่วนที่ยื่นไปนอกรั้วนอกเรือน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 20 คำสั่ง