เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 63796 ฉนวน มุข ระเบียง เฉลียง ชาน เจ้าอยู่แห่งใดในอาคารฤา
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 14:35

มาดูกัน



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 14:38

อีกตอนหนึ่ง

"...พระศรีรัตนอุโบสถกำหนดแต่พื้นฐานยัดเยื้องอโธภาคถึงที่สุดสูงสิบสี่วาสองศอกหกนิ้ว โดยรีวัดเพียงไพทีแทรกเสาเฉลียงเบื้องทิศอัษฎงค์ตรงไปถึงไพที แทรกเสาเฉลียงทิศอุทัยนับได้สิบห้าห้อง ยาวเส้นหนึ่งกับแปดวาสอก

ด้านสกัดวัดแต่ไพทีแทรกเสาเฉลียงทิศเหนือไปถึงไพทีแทรกเสาเฉลียงทิศใต้ โดยกว้างได้สองสองวา.....กระเบื้องอันมุงพื้นหลังคาในองค์แลหลังคาเฉลียง มุขน่าหลังสีงาม..."
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 14:46

คำว่า "เฉลียง" ข้างบนเป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนามว่า "เสา" หมายถึง "เฉียง" หรือเปล่าหนอ

เฉลียง [ฉะเหฺลียง] น. ส่วนของโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญที่ต่อออกมาโดยรอบ หรือส่วนของเรือนที่ต่อออกมาด้านหัวและท้ายเรือน สําหรับนั่งเล่นหรือเดินติดต่อกันเป็นต้น. ว. เฉียง.

 ฮืม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 14:56

ชี้จุดเฉลียง และเสาเฉลียง ตามจดหมายเหตุ



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 15:11

มุข, มุข- [มุก, มุกขะ-] น. หน้า, ปาก; ทาง; หัวหน้า; ส่วนของตึก
 หรือเรือนที่ยื่นออกมาจากส่วนใหญ่ มักอยู่ด้านหน้า. (ป., ส.).
 
 
มุขกระสันตะวันออก, มุขกระสันตะวันตก, พลัลพลาจตุรมุข, ตรีมุข

ยกตัวอย่างเช่น พระอุโบสถวัดบวรนิเวศ เดิมเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายหลังก่อมุขยื่นออกมา จนกลายเป็นพระอุโบสถแบบตรีมุข เป็นต้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 15:13

คุณหนุ่มอย่าเพิ่งไปเรื่องมุขครับ ขอร้อง

ผมกำลังงงว่า เสา๑๕ต้น ท่านนับจากไหนถึงไหน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 15:20

"....ช่อห้อยช่อตั้งกระจังฝังกระจกสี มีรูปบรมจักรกฤษณ์ทรงครุฑ สุบรรณยุคพาสุกรีตรีเศรียร ยืนตระหง่านเงื้อมสง่างาม และเฉลียงพระอุโบสถลดเชิงชายตามลำดับกันลงมาทั้งสี่ชั้น เชิงชายเฉลียงลดชั้นล่างนั้น จำหลักดอกจอกเรียบเรียงระยะเป็นจังหวะเป็นท่องแถว แล้วมีห่วงเหล็กแขวนกระดึงใบโพห้อยย้อยระย้าทั้งสี่ด้านโดยลำดับ

เฉลียงน่าจะอยู่ในส่วนที่ผมวงไว้ แต่นับเสาไม่ลงเลขคี่  ๑๕ต้นได้ไง ทำไมไม่เป็นเลขคู่


"...พระศรีรัตนอุโบสถกำหนดแต่พื้นฐานยัดเยื้องอโธภาคถึงที่สุดสูงสิบสี่วาสองศอกหกนิ้ว โดยรีวัดเพียงไพทีแทรกเสาเฉลียงเบื้องทิศอัษฎงค์ตรงไปถึงไพที แทรกเสาเฉลียงทิศอุทัยนับได้สิบห้าห้อง ยาวเส้นหนึ่งกับแปดวาสอก

ด้านสกัดวัดแต่ไพทีแทรกเสาเฉลียงทิศเหนือไปถึงไพทีแทรกเสาเฉลียงทิศใต้ โดยกว้างได้สองสองวา.....กระเบื้องอันมุงพื้นหลังคาในองค์แลหลังคาเฉลียง มุขน่าหลังสีงาม..."



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 15:26

โอ เข้าใจแล้วครับ ขอเวลาเฉลยความหน่อย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 15:27

ลงเรือนไทยไปธุระไม่กี่ชั่วโมง  กลับมากระทู้ติดจรวดวิ่งไป ๔ หน้าแล้ว   อ่านตามไม่ทันเอาเลยทีเดียว
ก่อนหน้ากระทู้นี้  คิดว่าเข้าใจพอสมควรว่าเฉลียงต่างกับระเบียงอย่างไร     เพราะรอยอินบอกทางไว้  แต่หลังจากอ่านถึงหน้า ๔  ก็เริ่มงงว่าอะไรคืออะไรกันแน่
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 15:28

โอ เข้าใจแล้วครับ ขอเวลาเฉลยความหน่อย

อั๋ยหย๋า อาจารย์ ๑๕ ห้อง คือ ๑๖ ช่วงเสานะครับ

ลงภาพให้ อาจารย์นับจำนวนระหว่างเสาได้ ๑๕ นะขอรับ ไม่ใช่เสา ๑๕ ต้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 15:31

ด้านหน้าพระอุโบสถ ๖ เสา ๕ ห้อง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 15:40

ใช่เลยคุณหนุ่มสยาม


ไพที : น. ที่รอง, แท่น, ขอบชายคา คือ ที่สุดชายคาชั้นบนต่อกับชายคาชั้นล่าง; ฐานบัวควํ่าบัวหงายที่พระเจดีย์. (ป., ส. เวที).


"...พระศรีรัตนอุโบสถกำหนดแต่พื้นฐานยัดเยื้องอโธภาคถึงที่สุดสูงสิบสี่วาสองศอกหกนิ้ว โดยรีวัดเพียงไพทีแทรกเสาเฉลียงเบื้องทิศอัษฎงค์ตรงไปถึงไพที แทรกเสาเฉลียงทิศอุทัยนับได้สิบห้าห้อง ยาวเส้นหนึ่งกับแปดวาสอก

นับได้๑๕ห้อง คือช่องระหว่างเสา๑๕ช่อง เท่ากับเสา๑๖ต้น  

ด้านสกัดวัดแต่ไพทีแทรกเสาเฉลียงทิศเหนือไปถึงไพทีแทรกเสาเฉลียงทิศใต้ โดยกว้างได้สองสองวา.....กระเบื้องอันมุงพื้นหลังคาในองค์แลหลังคาเฉลียง มุขน่าหลังสีงาม..."


แปลว่า ที่ว่างรอบอาคารพระอุโบสถ  จะเป็นทางเดินตามด้านยาว หรือเป็นโถงเอนกประสงค์ตามด้านสกัด โบราณล้วนเรียกว่า เฉลียงทั้งสิ้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 15:53

อ้างถึง
ดูแล้วเหมือนกับว่า เฉลียง เป็นทางด้านหนึ่งเป็นผนัง ด้านหนึ่งเป็นหน้าต่าง ตรงกลางเป็นทางเดินหรือเปล่า ?

ก็น่าจะใช่
แล้วในรูปนี้ล่ะครับ จะเรียกอะไร


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 15:54

มาต่อกันที่เฉลียงพระที่นั่งอัมรินทรฯ กันต่อ  ตกใจ

จากพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๑

"โปรดเกล้าให้องเชียงสือเข้าเฝ้าทุกวัน องเชียงสือขี่เรือญวน ๖ คนแจวมีคนถือร่มให้ ครั้นเข้าเฝ้า ครั้นเข้าเฝ้าโปรดเกล้าให้เฝ้าข้างพระเฉลียงพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย ด้านตะวันตกเหลี่ยมเสาท้องพระโรงหน้า เจ้าหน้าที่กรมพระตำรวจนั่งจัดสมาธิตามเพศญวน"

คงเป็นบริเวณจากภาพ เหล่าบรรดาองคมนตรีท่านยืนอยู่ "เฉลียงพระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย"  แต่ต้องบอกว่าในสมัยรัชกาลที่ ๑ เสานั้นเป็นเสาไม้นะครับ ไม่ใช่เสาปูนสี่เหลี่ยมดังภาพปัจจุบัน

ดังนี้แล้วเกิดคำถามคือ ทำไมเฉลียงอยู่ในตัวอาคารได้  ฮืม

ก็ต้องบอกว่าในรัชกาลที่ ๑ ท้องพระโรงยังเปิดโล่ง ไม่มีผนัง เป็นแบบท้องพระโรงที่พระราชวังเดิมขอรับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 15:57

ค่อยๆมะงุมมะงาหราตามมา   จับได้เอาค.ห.สุดท้ายก่อนหน้านี้


แปลว่า ที่ว่างรอบอาคารพระอุโบสถ  จะเป็นทางเดินตามด้านยาว หรือเป็นโถงเอนกประสงค์ตามด้านสกัด โบราณล้วนเรียกว่า เฉลียงทั้งสิ้น


ขอแยกซอยตื้นๆ  ไม่ลึกนัก  ด้วยการลองเทียบกับฝรั่งดูนะคะ

ตามโบสถ์ฝรั่ง เขามีสิ่งก่อสร้างเล็กๆตรงทางเข้า ก่อนจะถึงตัวห้องข้างในโบสถ์    พอเทียบได้กับโถงเอนกประสงค์ตามด้านสกัดในพระอุโบสถไทย  ที่ท่าน NAVARAT.C บอกไว้ในบรรทัดข้างบนนี้
ฝรั่งเขาเรียกว่า porch  หรือเจาะจงลงไป ถ้าอยู่ตามวัด คือ church porch

เฉลียง (ตามความหมาย ๑  ในบรรดาหลายๆความหมาย ) = porch


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง