เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 195 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 14:39
|
|
ตอนอยุ่ตึกสอง เตรียมอุดมศึกษา ไม่เคยเรียกเฉลียง ส่วนระเบียงก็ไม่เรียกว่าริมระเบียง เรียกกับเพื่อน ๆ ว่า "หน้าห้อง"  รุ่นพี่เตรียมฯ ท่านเล่าความหลังไว้สมัยเรียนเรือนไม้ รูปข้างล่างนี้ ทำให้ความหลังกลับคืนมา
เคยเรียนในเรือนไม้แบบนี้ สมัยอยู่ร.ร.เตรียมอุดมศึกษา เพื่อนๆสายวิทย์เรียนที่ตึกหนึ่งตึกสอง ตึกอะไรต่อมิอะไรกันทางถนนพญาไท ส่วนสายศิลป์ทั้งหมดถูกย้ายมาเรียนที่อาคารไม้สองชั้นด้านถนนอังรี ดูนังต์ ซึ่งเคยเป็นร.ร.เตรียมอรชรมาก่อน แต่ยุบเลิกไปแล้ว เป็นเรือนไม้สองชั้นแบบเหมือนกับในรูป ไม่มีผิด ชั้นล่างห้องแรกพอก้าวขึ้นบันไดสามขั้นจากพื้นคอนกรีต ก็คือห้องคิง ถัดไปคือห้องควีน ชั้นล่างมี ๔ ห้อง เท่ากับชั้นบน มีห้องศิลป์เยอรมัน ๑ ห้อง บันไดก็เหมือนกันกับในรูปนี้ ตรงราวระเบียงทั้งข้างบนข้างล่าง มีม้านั่งยาวตลอดความยาวของระเบียง
เนื้อที่ร.ร.เตรียมในสมัยนั้นโปร่งตา มีพื้นที่ว่างมากระหว่างตัวตึก เวลานั่งในห้องเรียน สายลมพัดผ่านเข้ามาทางหน้าต่างกว้างเรียงรายกัน ไม่ขาด จึงไม่เคยรู้สึกร้อนอบอ้าวแม้แต่ในยามบ่าย ไม่เคยต้องมีพัดลมเพดาน แสงสว่างก็มากพอเพียง ไม่เคยต้องเปิดไฟฟ้า
ส่วนที่มาของรูปนี้ เจอในกูเกิ้ล เป็นอาคารของโรงเรียนเก่าแก่ ชายล้วน ในกรุงเทพ แต่อุบชื่อไว้ก่อน ใครเป็นศิษย์เก่า นึกออกจะช่วยบอกคนอ่านด้วยก็ดีค่ะ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 196 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 14:41
|
|
ขอบคุณครับ ขอบคุณ
ท่านอื่นๆ กรุณาให้ข้อมูลต่อได้นะครับ
ส่วนความเห็นของคุณพวงแก้ว ผมก็ว่าไม่ผิดนะครับ แต่บางคนเขาเรียกพื้นที่อย่างเดียวกันนี้ว่าระเบียง จะไปว่าเขาผิดก็ไม่ได้เหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 197 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 15:14
|
|
ขอเชิญอ.พวงแก้ว. มาวิสัชนาเรื่องระเบียงต่ออีกสักเรื่องนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 198 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 15:33
|
|
เรือนเจ้าจอมเอิบ ในเขตพระราชฐานฝ่ายใน
โครงสร้างตึกสามชั้น (ชั้นที่สี่ต่อเติมภายหลัง) มีเฉลียงที่ชั้นที่สอง และเฉลียงชั้นที่สาม เจาะช่องโค้งปั้นลายปูนปั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 199 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 15:46
|
|
แถวเต็ง ในพระราชฐานฝ่ายใน
แถวเต็งท่อ ได้รับการเปลี่ยนแปลงขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๕ โดยเต็งแถวท่อจะเพิ่มเฉลียงขึ้นที่ทางเข้าด้านหน้าซึ่งเดิมไม่เคยมี นอกจากนั้นได้ย้ายบันไดจากภายในห้องมาไว้ที่เฉลียง และยื่นหลังคามุงด้วยสังกะสีมาคลุมเฉลียงไว้ทั้งหมด
ที่มา มรว.แน่งน้อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 200 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 16:06
|
|
ส่วนระเบียงนั้นน่าจะเป็นพื้นที่แนวยาว จุดประสงค์หลักน่าจะเป็นทางเดินเชื่อมระหว่างห้องที่เรียงเป็นแถว
เช่นห้องเรียงทางแนวขวา ทางแนวซ้ายจะไม่มีห้องเลย หรืออาจมีบ้างห้องสองห้อง เน้นความโปร่งโล่ง
เป็นหลัก มีที่เคยได้ยินว่าระเบียงอีกรูปแบบคือ เป็นพื้นที่กว้างอาจเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส หรือ สี่เหลี่ยมผืนผ้า
ยื่นออกมาจากบ้านชั้นสอง หรือชั้นที่สูงขึ้นไป แต่ไม่มีหลังคา มีเพียงแนวกั้น(เหมือนลูกกรง)สูงขึ้นมาระดับเอว
สามารถมายืนรับลม ชมวิวเช่นชายทะเล (ยามแดดอ่อนแสง หรือยามค่ำคืน) มีการตั้งโต๊ะอาหารเล็กๆ
ขนาดของพื้นที่แล้วแต่ขนาดของอาคาร และจุดประสงค์ในการใช้สอย
เช่นบางแห่งโรงแรมชายทะเล ก็ให้แขกมาทานอาหาร กลางสายลม เสียงคลื่นและชมจันทร์ กันที่ระเบียง
บรรยากาศแบบนี้น่าจะเป็นที่นิยมกันราว50-60 ปีมานี่เพราะ ผู้คนเริ่มมีการเดินทางที่สะดวกขึ้น
มีสังคมที่กว้างขึ้นและมีระเบียบในการใช้ชีวิตต่างจากเมื่อก่อน...และอาจรับเอารสนิยมแบบตะวันตก
เข้ามาในชีวิตของชนชั้นสูง...แล้วก็เป็นที่นิยมต่อๆกันมา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 201 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 16:48
|
|
ทางเดินที่เชื่อมต่อระหว่างตึกทั้งสองนี้ เรียกกันว่าระเบียง
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 202 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 16:55
|
|
เรียกระเบียงเหมือนกันค่ะ ที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ระเบียงแบบนี้คงไม่มีใครสับสนกับคำว่าเฉลียง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 203 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 17:24
|
|
บางทียุคสมัยก็มีส่วนในการกำหนดความหมายของคำ ...
คำว่าระเบียงกับเฉลียงไม่น่าจะมีความหมายเหมือนกันในสมัยโบราณ
แต่พอวิถีในการดำเนินชีวิตเปลี่ยน ความหมายของคำอาจกลายไป
หรือมีความหมายใกล้เคียงกัน จนกลายเป็น ใช้ในความหมายเดียวกันได้ไหมค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 204 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 17:34
|
|
^ ใช่เลยครับ
สรุปความเห็นของท่านอาจารย์พวงแก้ว
เฉลียง น่าจะหมายถึงส่วนของบ้านที่ใช้ทำกิจกรรมในชีวิตอย่างสบายๆ เช่นมีลักษณะเหมือนห้องมุขแต่ไม่มีผนัง มีแต่พื้น หลังคา และเชื่อมกันด้วยเสาที่แข็งแรง
ส่วนระเบียงนั้นน่าจะเป็นพื้นที่แนวยาว จุดประสงค์หลักน่าจะเป็นทางเดินเชื่อมระหว่างห้องที่เรียงเป็นแถว ระเบียงอีกรูปแบบคือ เป็นพื้นที่กว้างอาจเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้ายื่นออกมาจากบ้านชั้นสอง หรือชั้นที่สูงขึ้นไป แต่ไม่มีหลังคา มีเพียงแนวกั้น(เหมือนลูกกรง)สูงขึ้นมาระดับเอว สามารถมายืนรับลม ชมวิว
ซึ่ง มีการเรียกขานปนกันไปหมด สุดแต่ความรู้สึกของใครที่จะเป็นผู้เขียนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 205 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 18:14
|
|
ผมมีความคิดเห็นคล้ายๆท่านอาจารย์พวงแก้วครับ
เฉลียง นอกจากจะเป็นที่โล่ง ใช้เป็นทางผ่านได้แล้ว ยังใช้ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันอื่นๆด้วย
ส่วนระเบียง เป็นทางผ่าน ถึงแม้จะเป็นพื้นที่ใหญ่พอจะทำกิจกรรมอย่างอื่นได้ ก็ชั่วครั้งชั่วคราว เช่นเดินออกมารับอากาศ เด็กมาวิ่งเล่น หรือจัดงานเลี้ยงเป็นกรณีย์พิเศษเป็นต้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 206 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 18:30
|
|
ภาพในความเห็นที่ 205 ค่อนข้างชัดเจน ค่ะ น่าจะเข้าลักษณะที่ กำลังสงสัยกันอยู่
ขอบคุณที่คุณนวรัตน รับฟังนะคะ ...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 207 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 19:07
|
|
ขอบคุณครับ
(ความจริงผมก็รับฟังทุกความเห็นด้วยความเคารพเสมอนะครับ แต่ก็ถือเป็นสิทธิ์ ความเห็นทางวิชาการที่แสดงมาในเวทีเปิดนี้ ผมจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับท่านก็ขออนุญาตว่าไปตรงๆ ในขณะเดียวกัน ความเห็นของผมก็อาจผิด ถ้าแลกเปลี่ยนข้อมูลกันแล้วผมเห็นว่าท่านถูกมากกว่า ก็จะไม่ตะแบงเป็นอันขาด ผมยอมรับได้เสมอ ถึงหน้าจะแตกบ้างก็ซ่อมปะผุได้ ไม่ถึงกับต้องเสียหน้า)
ที่ผมเขียนไปว่าบางคนเขาเรียกพื้นที่อย่างเดียวกันกับเฉลียงว่าระเบียง หรือระเบียงว่าเฉลียงก็จะไปว่าเขาผิดก็ไม่ได้เหมือนกันนั้น เพราะตรวจเอกสารโบราณ ท่านก็เขียนตามสบายตามความรู้สึกของท่านนั่นเอง บรรยายภาพต้นๆของกระทู้นี้คือหลักฐาน คนสมัยนี้ยิ่งแล้ว เพราะบ้านที่อยู่อาศัยก็ถูกจำกัดจำเขี่ยมากขึ้น การใช้พื้นที่แบบสมัยก่อนหมดไปแล้ว เฉลียงที่มีไว้ทำการ ทำงาน ก็ย้ายไปใช้ห้องแอร์ ระเบียงก็มีไว้ใช้ตากผ้าเป็นต้น
ดังนั้น พื้นที่โล่งเล็กๆในบ้าน เขาก็เรียกขานไปตามที่ได้ยิน เซลล์แมนขายแบบบ้านต้องการคำหรูๆมาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าบ้าน ว่ามีไอ้โน่นไอ้นี่แยอะแยะ มีทั้งเฉลียงทั้งระเบียง สุดแต่เขาจะชี้ว่าตรงไหนเรียกอะไร คนซื้อก็เออออตามโดยไม่รู้ที่มาที่ไป ใครว่าอย่างไรก็ว่าอย่างนั้น จะเฉลียงหรือระเบียงก็ไม่เคยเป็นปัญหา
ท่านอาจารย์เทาชมพูคงจะเขียนสรุปได้แล้วกระมังครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33416
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 208 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 19:12
|
|
^ สรุปตามข้างบนนี้ค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 209 เมื่อ 27 เม.ย. 12, 19:14
|
|
ขอบคุณครับ
(ความจริงผมก็รับฟังทุกความเห็นด้วยความเคารพเสมอนะครับ แต่ก็ถือเป็นสิทธิ์ ความเห็นทางวิชาการที่แสดงมาในเวทีเปิดนี้ ผมจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับท่านก็ขออนุญาตว่าไปตรงๆ ในขณะเดียวกัน ความเห็นของผมก็อาจผิด ถ้าแลกเปลี่ยนข้อมูลกันแล้วผมเห็นว่าท่านถูกมากกว่า ก็จะไม่ตะแบงเป็นอันขาด ผมยอมรับได้เสมอ ถึงหน้าจะแตกบ้างก็ซ่อมปะผุได้ ไม่ถึงกับต้องเสียหน้า)
ที่ผมเขียนไปว่าบางคนเขาเรียกพื้นที่อย่างเดียวกันกับเฉลียงว่าระเบียง หรือระเบียงว่าเฉลียงก็จะไปว่าเขาผิดก็ไม่ได้เหมือนกันนั้น เพราะตรวจเอกสารโบราณ ท่านก็เขียนตามสบายตามความรู้สึกของท่านนั่นเอง บรรยายภาพต้นๆของกระทู้นี้คือหลักฐาน คนสมัยนี้ยิ่งแล้ว เพราะบ้านที่อยู่อาศัยก็ถูกจำกัดจำเขี่ยมากขึ้น การใช้พื้นที่แบบสมัยก่อนหมดไปแล้ว เฉลียงที่มีไว้ทำการ ทำงาน ก็ย้ายไปใช้ห้องแอร์ ระเบียงก็มีไว้ใช้ตากผ้าเป็นต้น
ดังนั้น พื้นที่โล่งเล็กๆในบ้าน เขาก็เรียกขานไปตามที่ได้ยิน เซลล์แมนขายแบบบ้านต้องการคำหรูๆมาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าบ้าน ว่ามีไอ้โน่นไอ้นี่แยอะแยะ มีทั้งเฉลียงทั้งระเบียง สุดแต่เขาจะชี้ว่าตรงไหนเรียกอะไร คนซื้อก็เออออตามโดยไม่รู้ที่มาที่ไป ใครว่าอย่างไรก็ว่าอย่างนั้น จะเฉลียงหรือระเบียงก็ไม่เคยเป็นปัญหา
ท่านอาจารย์เทาชมพูคงจะเขียนสรุปได้แล้วกระมังครับ
แบบนี้ก็ไม่ต้องฟ้าเหลืองอีกแล้วซิครับ อิอิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|