เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 16
  พิมพ์  
อ่าน: 64049 ฉนวน มุข ระเบียง เฉลียง ชาน เจ้าอยู่แห่งใดในอาคารฤา
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 10:55

เฉลียงหน้า ก็ทางเดินมีเสาด้านหน้าอาคาร

เฉลียงหนัง ก็ทางเดินมีเสาด้านหลังอาคาร

เฉลียงรอบ ก็ทางเดินมีเสารอบอาคาร

"ตำหนักทรงพรต...ทรงรื้อกุฏิเดิมแล้วสร้างตึกพื้นสองชั้น ๙ ห้อง กั้นเป็น ๓ ห้อง ๒ หลังมีเฉลียงหน้าหันหน้าเข้าหากัน เรียกในบัดนี้หลังต่อหอเสวยแห่งพระปั้นหย่าออกมาว่า "ตำหนักพรต" หลังตรงกันว่า "หอสหจร"



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 10:59

^
ขอรูปให้ครบคำจำกัดความได้ไหมคะ  ได้นึกภาพออก

เฉลียงหน้าหันหน้าเข้าหากัน  มีรูปให้ดูไหมคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 11:16

^
ขอรูปให้ครบคำจำกัดความได้ไหมคะ  ได้นึกภาพออก

เฉลียงหน้าหันหน้าเข้าหากัน  มีรูปให้ดูไหมคะ

เฉลียงหันหน้าเข้าหากัน

ตำหนักทรงพรต กับ ตึกสหจร หันหน้าเข้าหากันครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 11:49

ไปเยี่ยมพระลูกชายที่ตำหนักทรงพรตบ่อย ห้องท่านอยู่หลังเฉลียงชั้นบนนั่นเองแหละครับ แต่ไม่เคยถ่ายรูปพระตำหนักชัดๆ เพราะไม่คิดว่าจะมีใครสงสัยอะไรกับตึกนี้



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 11:57

    บ้านพลอยอยู่ในคลองบางหลวง เรียกได้ว่าเป็นบ้านใหญ่ มีกำแพงอิฐเสริมรั้วเหล็กกั้นตลอดริมน้ำ ที่ท่าน้ำ มีศาลาหลังใหญ่ ทำด้วยไม้ ขึ้นจากกระไดท่าน้ำ เดินผ่านลานกว้าง ก็ถึงตัวตึก เป็นที่อยู่ของเจ้าคุณพ่อ ตึกนั้น จะพูดไปก็เป็นตึกทันสมัย สำหรับระยะเวลาระหว่าง พ.ศ. ๒๔๒๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๕ อันเป็นเวลาในรัชสมัยของ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมหาราช ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ตึกนั้นเป็นตึกก่อนอิฐฉาบด้วยปูนขาว หลังคามุงกระเบื้องจีนเป็นลูกฟูก หน้าตึกเป็นบันไดขึ้นสองข้างมาบรรจบกัน ตรงกลางเป็นชาลาย่อมๆ แล้วจากนั้น มีบันไดขึ้นตรงไปชั้นบนของตึก บนตึกมีเฉลียงเดินได้รอบ ลูกกรงมีลูกมะหวด กระเบื้องสีเขียวแก่ พ้นจากเฉลียงเข้าไป ก็มีห้องใหญ่ๆสามห้อง เป็นที่อยู่เจ้าคุณพ่อ
   
    เฉลียงเดินได้รอบ = เฉลียงหน้า + ระเบียงข้าง + เฉลียงหลัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 12:03

แบบนี้หรือเปล่าคะ ที่เรียกว่า "เฉลียงเดินได้รอบ"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 12:48

ตึกนั้นเป็นตึกก่อนอิฐฉาบด้วยปูนขาว หลังคามุงกระเบื้องจีนเป็นลูกฟูก หน้าตึกเป็นบันไดขึ้นสองข้างมาบรรจบกัน ตรงกลางเป็นชาลาย่อมๆ แล้วจากนั้น มีบันไดขึ้นตรงไปชั้นบนของตึก


บ้านนี้เป็นสไตล์โคโลเนียล    เดาว่าบ้านเจ้าคุณพ่อของพลอยเป็นโคโลเนียลประยุกต์   ม.ร.ว.คึกฤทธิ์บรรยายว่า
"มีบันไดขึ้นสองข้างมาบรรจบกัน ตรงกลางเป็นชาลา   แต่ว่าไม่มีบันไดอีกทอดหนึ่งขึ้นตรงไปชั้นบน"
เจ้าคุณพ่อคงจะนั่งอยู่ตรงส่วนที่มีลูกกรงกั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 13:00

ไม่เกี่ยวกับแม่พลอย แต่เกี่ยวกับคุณเปรมสยามหนุ่ม

อ้างถึง
อ. NAVARAT.C ช่วยแปลเรื่องเฉลียงให้ฟังหน่อยครับ

"การสร้างบ้านเรือนไทย : สอดรอดกับเสาเพื่อวางพื้นระเบียง จากนั้นก็วางฝาของเฉลียง แป กลอน ระแนง ตามลำดับ"
คุณหนุ่มสยามเล่นตัดมาเฉพาะช่วง ไม่ครบเนื้อความ เล่นอย่างนี้ผมมึนกว่าที่คุณเอารูปฟ้าเหลืองมาลงเสียอีก

ถ้าเอาข้อความในข้อก่อนนั้น คือข้อ๒๖ มาลงด้วย ก็จะทำให้ทราบว่า ตัวเรือนทำเสร็จไปแล้ว ฝาเฉลียงน่ะ อยู่บนระเบียงที่กำลังจะทำ 

26. เมื่อประกอบตัวเรือนสําเร็จแล้ว ก็จัดการทําระเบียงต่อไป โดยวางจันทันระเบียงปลายด้านใน ปลายจันทันระเบียงจะเลยเสาออกไปพอสมควรทําเป็นเดือยไว้เพื่อสอดเข้ากับเชิงกลอน  แล้วสลักด้วยไม้สลักบังคับไม่ให้เชิงกลอนดีดตัวออกไป หลังเชิงกลอนวางไม้ทําเป็นสะพานหนู
 27. สอดรอดกับเสาเพื่อวางพื้นระเบียง จากนั้นก็วางฝาของเฉลียง แป กลอน ระแนง ตามลําดับ

แต่ว่าฝาของเฉลียงในที่นี้เป็นอันเดียวกับฝาเสี้ยวหรือเปล่า
อ้างถึง
คำ “เฉลียง” ที่แปลว่า เสี้ยว เฉไปข้างๆ เขมรแผลงเป็น จำเหียง, จังเหียง แปลว่า ข้างซีก

ถ้าฝาของเฉลียงในข้อ๒๗ คัดมาผิดเพี้ยน และคือฝาเสี้ยวก็จบปัญหา  มันก็ว่าเป็นลำดับไปตามนั้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 13:10

อ้างถึง
ถามท่านผู้อ่านบ้างดีกว่า
ผมคิดว่าโรงเรียนที่ทุกท่านเคยเรียนมา จะมีทางเดินยาวหน้าห้องเรียนด้วยกันทั้งนั้น ท่าน(ถูกสอนให้)เรียกทางเดินยาวๆนั้นว่าอย่างไรกันบ้างครับ

ที่ผมถามอย่างนี้ ผมซีเครียสนะครับ คือผมอยากทราบจริงๆ
โรงเรียนของผมน่ะ เรียกระเบียงทุกแห่ง ตึกเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีแต่ระเบียง อาจเข้าข่ายเป็นเฉลียงตรงไหนไม่ทราบ แต่ทุกคน รวมทั้งครูบาอาจารย์ก็เรียกทางเดินยาวๆทุกๆชั้นว่าระเบียง

มีท่านอาจารย์เทาชมพูกรุณาตอบอยู่คนเดียว คนอื่นไม่สงเคราะห์ข้อมูลให้บ้างหรือครับ เราจะได้ถึงบทสรุปของกระทู้กันเสียที
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 13:58

ลองใช้อินทรเนตรส่องดู ๒ คำนี้

๑. ระเบียง ตึกยาว

๒. เฉลียง ตึกยาว

พบว่า "ชาวสวน" ทั้งหลายพร้อมใจกันเรียก "ระเบียงตึกยาว" กันอย่างพร้อมเพรียง

ถามท่านผู้อ่านบ้างดีกว่า
ผมคิดว่าโรงเรียนที่ทุกท่านเคยเรียนมา จะมีทางเดินยาวหน้าห้องเรียนด้วยกันทั้งนั้น ท่าน(ถูกสอนให้)เรียกทางเดินยาวๆนั้นว่าอย่างไรกันบ้างครับ

"ระเบียง" เป็นคำตอบสุดท้าย

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 14:02

ขอบคุณครับ

๒ ละ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 14:07

เมื่อครั้งเรียนที่คณะอักษรศาสตร์.    ทางเดินหน้าห้องเรียนที่วนไปรอบตึกทั้งหน้า. ข้างและหลัง. ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง.  เรียกว่าระเบียง.  ไม่มีใครเรียกว่าเฉลียง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 14:10

๒ ครึ่ง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 14:21

ตอนอยุ่ตึกสอง เตรียมอุดมศึกษา ไม่เคยเรียกเฉลียง ส่วนระเบียงก็ไม่เรียกว่าริมระเบียง

เรียกกับเพื่อน ๆ ว่า "หน้าห้อง"  ขยิบตา ขยิบตา


บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 14:29

เจ้าของกระทู้เข้าใจตั้งคำถามถึงความแตกต่างของคำเรียกส่วนต่างๆของบ้าน

ที่ คนเดี๋ยวนี้แทบจะไม่รู้จักเพราะอยู่บ้านที่มีความเรียบง่ายของโครงสร้างมากขึ้น  

ดิฉันนั่งนึกเล่นๆว่า  ...ตัวเองเคยได้ยินคำเหล่านี้แล้วเข้าใจว่าอย่างไร...

ก็พอนึกได้ว่า คำว่าเฉลียง น่าจะหมายถึงส่วนของบ้านที่ใช้ทำกิจกรรมในชีวิตอย่างสบายๆ

เช่นมีลักษณะเหมือนห้องมุขแต่ไม่มีผนัง มีแต่พื้น หลังคา และเชื่อมกันด้วยเสาที่แข็งแรง

คนไทยในอดีตนั้น ไม่ทำงานในห้องนอน กิจกรรมที่ทำในบ้านก็จะต้องมีสมาชิกช่วยกันหลายคน

อากาศร้อนจึงมักมานั่งทำกันที่เฉลียง(หน้าหรือหลัง)บ้านซึ่งมีหลังคาต่อเชื่อมจากตัวบ้าน กันแดด กันฝน

 มีพื้นแข็งแรงเชื่อมต่อมาจากตัวบ้านแต่ไม่มีผนัง เฉลียงมักจะมีต้นไม้ใหญ่อยู่ใกล้ๆเพื่อ

ลดความร้อน และเพิ่มความสดชื่น ความเย็นจากต้นไม้ ทำให้รู้สึกสบายนั่งได้ทั้งวัน

เช่นถ้ามีลูกหลานมาหาญาติผู้ใหญ่ ก็อาจไปนั่งคุยนอนคุยกันที่เฉลียง (เดาว่าน่าจะสร้างตามทิศที่มีลมตามธรรมชาติพัดเข้ามาในบ้านได้)

ไม่ต้องเข้าไปนั่งคุยอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในห้องรับแขก  อยู่ที่เฉลียง...ปากก็คุยไป ทำงานจุกจิกไป ทานของว่างไป

หรืออาจใช้เฉลียงเป็นที่สังสรรค์ในหมู่ญาติ ทานอาหารร่วมกัน เล่นดนตรีชิ้น 2 ชิ้น มีคนนั่งฟังแบบกันเองไม่กี่คนก็ได้

ขึ้นอยู่กับขนาดของบ้าน พื้นที่กว้างและฐานะของเจ้าของบ้าน


ทั้งนี้ถ้าเจ้าของบ้านมีเกียรติยศชื่อเสียงก็อาจประดับประดา ตกแต่ง ให้เป็นพื้นที่ที่สวยงามเป็นหน้าเป็นตาของบ้านก็ได้

ตั้งโต๊ะอาหาร  หรือตั่ง หรือปูเสื่อวางหมอนไว้เอนหลังก็ได้

ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือไม่นะคะ ไว้รอผู้รู้สรุปอีกทีค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง