เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 16
  พิมพ์  
อ่าน: 64028 ฉนวน มุข ระเบียง เฉลียง ชาน เจ้าอยู่แห่งใดในอาคารฤา
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 25 เม.ย. 12, 22:54

ลองทบทวนดูว่าเข้าใจถูกหรือไม่
รูปข้างล่างนี้คือบ้านซอยสวนพลูของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
รูปซ้ายคือชาน  อยู่บนเรือนไทยหมู่ของท่าน   รูปขวาคือลาน อยู่บนพื้นดิน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 25 เม.ย. 12, 23:24

ถูกแล้วครับ

คำว่าลาน จะเป็นลานดินเฉยๆก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมีสิ่งก่อสร้างอะไร
แต่ถ้าปลูกหญ้า ท่านนิยมเรียกว่า "สนาม" ไปเสียอีก
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 25 เม.ย. 12, 23:43

นักอักษรศาสตร์กรุณาวิเคราะห์หน่อยเถิดครับ ผมเข้าใจว่า เฉลียงในเรื่องนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของเตียง(ขอบเตียง)ไม่ใช่อาคารอย่างหนึ่ง  และเป็นเหมือนกับระเบียง คือส่วนหนึ่งของพื้นอาคารอีกอย่างหนึ่ง สองลักษณะไม่เหมือนกัน

ใช่ไหมครับ

เมื่อวันถวายเสภาเวลาหลัง   หม่อมเป็ดนั่งกับคุณโม่งที่ในเฉลียง
กระซุบกระซิบกันสองคนบนระเบียง   ได้ยินออกชื่อเสียงก็ขัดใจ
แกล้งพูดเสียดเอาว่าเกลียดตาแจ้งบ้า   เฝ้าขับว่าเรื่องเราร่ำไปได้
ไม่รู้แล้วรู้รอดสอดพิไร   เฝ้าค่อนขอดแคะได้เจ็บใจจริง
ครั้นเห็นคนเดินมาหน้าเฉลียง   สงบเสียงผิดลุกจะผลุนวิ่ง
คุณโม่งยุดฉุดน้องประคองอิง   เรานั่งนิ่งอย่างนี้มิเป็นไร
ถึงลุงทองคนจะขึ้นมาเห็นหน้าเรา   จะหยิบเอาข้อผิดที่ไหนได้
หม่อมจะว่าตาแจ้งแกทำไม   ฉันชอบใจแกอยู่ดอกอย่าเดือดแค้น
ฝ่ายหม่อมเป็ดสวรรค์ครั้นได้ฟัง   ให้แค้นคั่งส่งเสียงขึ้นเปรี้ยงแป้น
คุณกลับเข้าข้าตาแจ้งแกล้งแก้แทน   ให้สุดแสนเจ็บใจใช่พอดี
กระทืบเท้าตึงตังกำลังทะเลาะ   พอลุงทองจีนเดินเดาะมาถึงที่
จึ่งร้องถามสองท่านไปทันที   มาอึงมี่วิวาทอะไรกัน
หม่อมเป็ดฟังคุณลุงสะดุ้งใจ   ลุกไถลหลีเลี่ยงไปจากนั่น
ทั้งสองคนวนวิ่งพัลวัน   มิให้ทันเห็นกายด้วยอายนัก
ลุกหลีกลัดแลงไปแฝงตน   ซ่อนตัวกลัวคนจะรู้จัก
วิ่งมาบนเฉลียงเสียงคิกคัก   จนรอดหักหกล้มลงด้วยกัน
คุณโม่งล้มปับทับหม่อมเป็ด   น้ำตาเล็ดผุดลุกขมีขมัน
แล้วคิดกลัวคนผู้รู้สำคัญ   แกล้งถลันกล่าวเกลื่อนให้กลบคำ
เพราะตาแจ้งขับเสภามาฟังนัก   เฉลียงหักยับไปไม่เป็นส่ำ
นึกเกลียดน้ำหน้าตาเจ้ากรรม   ใช้ตาแจ้งแกมาทำให้หนำใจ
ทำเป็นพูดเชือนแชพอแก้ตน   คุณสองคนก็ขึ้นนอนบนเตียงใหญ่
พลิกพลอดกอดก่ายสบายใจ   เทียบประทับหลับไหลไปด้วยกัน
 

ครั้นอรุณรุ่งรางสว่างฟ้า พระเดชพระคุณให้หาหม่อมเป็ดสวรรค์
เมื่อเพลาพลบค่ำทำไมกัน   จนชั้นเฉลียงเตียงหักกระจัดกระจาย
หม่อมเป็ดทูลเบี่ยงเลี่ยงเจรจา   คนมานั่งฟังเสภามากหลาย
ตาแจ้งขับเสภาว่าแยบคาย   คนทั้งหลายไม่เคยฟังประดังมา
ประทุกมากหลายคนบนระเบียง   จนเฉลียงเก๋งหักลงหนักหนา
เป็นต้นเหตุผลเพราะเสภา   คนเข้ามาฟังนักจึ่งหักไป
พระทรงฟังกริ้วกราดตวาดดัง   ชะเจ้าช่างเบือนบิดคิดแก้ไข
เขาว่าเจ้านั่งอยู่สองคนบ่นร่ำไร   แคะไค้คมค้อนทำงอนรถ
กระทืบเท้าผึงผางกลางระเบียง   จนเฉลียงไม้สักเขาหักหมด
จะแกล้งมาพูดบิดเบี้ยวเลี้ยวลด   เขารู้พยศเจ้าทุกอย่างมาพรางกัน
หม่อมเป็ดได้ฟังรับสั่งกริ้ว   ทำหน้าจิ๋วร้อนจิตคิดพรั่น
ใจระเริ่มรัวกลัวราชทัณฑ์   อภิวันท์สารภาพกราบกราน
ได้พลั้งพลาดขอพระราชทานโทษ   ขอพระองค์ทรงโปรดกระหม่อมฉาน
ไปเบื้องหน้าตาแจ้งถนนอาจารย์   จะขับเสภาว่าขานไม่เคืองใจ
พระสดับรับผิดหม่อมสารภาพ   เห็บเรียบราบแล้วก็โปรดยกโทษให้
จึงตรัสสั่งข้างหน้าทหารใน   ทำเฉลียงเก๋งใหม่ให้ดิบดี


มึนสุดๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 25 เม.ย. 12, 23:52

ขอผัดเป็นพรุ่งนี้ จะมาตอบนะคะ
อ่านจนมึนเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 07:48

ลองจัดความดู

เฉลียง = รอบบ้านยื่นออกจากตัวอาคารทั้งหัว ท้าย (อย่างทางเดินรอบอุโบสถวัดพระแก้ว พร้อมเสาเฉลียง) หลังคาร่วมกับอาคาร
ระเบียง = ทำยื่นออกจากเฉลียง หลังคายื่นจากอาคาร
รอด = ปัจจุบันคือ คาน เป็นไม้พาดระหว่างเสา ถึง เสา

"วิ่งมาบนเฉลียงเสียงคิกคัก   จนรอดหักหกล้มลงด้วยกัน" แสดงว่า รอดรับน้ำหนักไม่ได้จนหัก เหนือขึ้นไปย่อมเป็นเฉลียง

"ประทุกมากหลายคนบนระเบียง จนเฉลียงเก๋งหักลงหนักหนา" และ "กระทืบเท้าผึงผางกลางระเบียง   จนเฉลียงไม้สักเขาหักหมด" ย่อมแสดงว่าระเบียงต่อเชื่อมกับเฉลียง กระทืบทำให้ไม้ติดกับเฉลียงหักลงมาพร้อมกัน

เฉลียงเก๋ง ย่อมหมายถึง อาคารนี้สร้างอย่างจีน


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 08:00

พระตำหนักแดง

ขึ้นบันได มีเสารับอยู่ ๒ ช่วง ช่วงแรกมีกรงไม้กั้น ถัดไปยกพื้นติดกับเรือนมีเสาอีกชั้นหนึ่ง



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 08:04

รอด ในเรือนไทยก็คือคานนั่นเอง (ดูรูปแล้วน่าจะเขียนว่า"ลอด"เน๊อะ)

พื้นเรือนนั้น ถ่ายน้ำหนักให้ตง ตงถ่ายน้ำหนักให้รอด รอดถ่ายน้ำหนักลงเสา เสาถ่ายน้ำหนักสู่ฐานรากและกระจายลงดิน



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 08:42

คำว่าเก๋ง มิได้แปลว่า อาคารแบบจีนเสมอไป
โบราณใช้คำนี้เรียกประทุน รถ(โบราณ)ที่มีประทุนจึงเรียกรถเก๋ง รามทั้งเรือที่มีประทุนเป็นเรื่องเป็นราว ก็เรียกเรือเก๋ง
เตียง ที่มาจากเมืองจีน จะมีเก๋งสำหรับกางมุ้งมาด้วย ในวังรับเตียงเก๋งนี้มาทำเป็นลวดลายแบบไทยๆ

ข้างล่าง ภาพบนคือพระวิมาน ที่บรรทมของรัชกาลที่๑

ภาพล่าง คือเตียงเก๋งอย่างจีน เป็นแท่นใหญ่เกินจะนอนก็มี ส่วนข้างๆที่ไม่ได้ปูที่นอนอาจเรียกเฉลียง ทำไว้สำหรับนั่งเล่นก็ได้ ดังที่ผมสงสัยคำว่าเฉลียงเก๋งนั้น



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 09:42

คุณหนุ่มสยามมาปาดไปเสียแล้ว  เศร้า

จากกลอนหม่อมเป็ดสวรรค์    วิเคราะห์ออกมาได้ดังนี้
๑   เฉลียง เป็นเฟอร์นิเจอร์อย่างหนึ่งที่มีลักษณะให้เข้าไปนั่งได้ 
เมื่อวันถวายเสภาเวลาหลัง   หม่อมเป็ดนั่งกับคุณโม่งที่ในเฉลียง
โปรดสังเกต ท่านใช้คำว่า ใน เฉลียง   ไม่ใช่ บน เฉลียง
คนโบราณท่านแม่นคำบุพบทมากกว่าคนปัจจุบัน   ยิ่งเป็นกวีแล้ว ไม่น่าจะใช้ผิด

๒  เฉลียงตั้งอยู่บนระเบียง
กระซุบกระซิบกันสองคนบนระเบียง


๓  มีพื้นที่พอจะนั่งกันได้สองคนอย่างน้อย  โดยไม่เบียดเสียดอึดอัด
คุณโม่งยุดฉุดน้องประคองอิง   เรานั่งนิ่งอย่างนี้มิเป็นไร
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 09:51

๔   เฉลียง เป็นที่นั่งที่ไม่ใช่ของสูง  นางข้าหลวงก็นั่งได้  ไม่มีใครว่า
ถึงลุงทองคนจะขึ้นมาเห็นหน้าเรา   จะหยิบเอาข้อผิดที่ไหนได้

๕  เฉลียงในคำนี้ แสดงว่ากว้างพอที่ผู้หญิงสองคนจะวิ่งได้   มีรอดรองรับอยู่ข้างล่าง
ลุกหลีกลัดแลงไปแฝงตน   ซ่อนตัวกลัวคนจะรู้จัก
วิ่งมาบนเฉลียงเสียงคิกคัก   จนรอดหักหกล้มลงด้วยกัน


๖  เฉลียงเป็นสิ่งที่บอบบาง  ทานน้ำหนักคนขึ้นไปวิ่งไม่ได้   แสดงว่ามีไว้นั่ง ไม่ได้มีไว้เดินหรือวิ่ง
เพราะตาแจ้งขับเสภามาฟังนัก   เฉลียงหักยับไปไม่เป็นส่ำ

๗  แต่เฉลียงไม่ได้อยู่ที่สูง   มิฉะนั้นเวลาหักลงไป สาวสองคนนี้จะต้องหล่นกระแทกพื้นดินเบื้องล่าง  เจ็บตัวแน่ๆ  แต่นี่ไม่ได้เจ็บตัวตรงไหนเลย   ทำเฉลียงหักเสร็จก็ขึ้นนอนบนเตียง กอดกันหลับไป
เฉลียง เป็นคนละอย่างกับ เตียง  เพราะเมื่อเฉลียงหักไปแล้ว เตียงยังอยู่ในสภาพดี
ทำเป็นพูดเชือนแชพอแก้ตน   คุณสองคนก็ขึ้นนอนบนเตียงใหญ่
พลิกพลอดกอดก่ายสบายใจ   เทียบประทับหลับไหลไปด้วยกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 10:11

๘   เฉลียงอยู่บนระเบียง ทำด้วยไม้สัก แต่คงไม่แข็งแรงนัก      กลอนข้างล่างนี้แสดงว่าเฉลียงรับน้ำหนักคนมากๆไม่ได้  ส่วนระเบียงรับน้ำหนักได้จึงไม่หัก อยู่ในสภาพปกติ

ประทุกมากหลายคนบนระเบียง   จนเฉลียงเก๋งหักลงหนักหนา
เป็นต้นเหตุผลเพราะเสภา         คนเข้ามาฟังนักจึ่งหักไป

และ
กระทืบเท้าผึงผางกลางระเบียง   จนเฉลียงไม้สักเขาหักหมด

๙ เฉลียงนี้มีคำเต็มๆว่า เฉลียงเก๋ง  หมายถึงเฟอร์นิเจอร์ที่มีหลังคา     จะเป็นเฉลียงที่ตรงกับคำว่า porch ไม่ได้  เพราะ porch ไม่มีหลังคาเก๋ง   porch มีแต่หลังคา roof
จึงตรัสสั่งข้างหน้าทหารใน   ทำเฉลียงเก๋งใหม่ให้ดิบดี
 
คำอธิบายของท่านนวรัตนถูกต้องแล้วค่ะ  ดิฉันขอแยะแยะคำว่า หลังคา มี 3 อย่าง
๑   หลังคาสิ่งก่อสร้างไทย  ตรงกับคำว่า roof  ไทยเรียกว่า หลังคา  
๒   หลังคาของสิ่งก่อสร้างจีน เรียกว่า เก๋ง  ไทยเอาคำนี้มาใช้ในความหมายของหลังคาสิ่งที่ไม่ใช่บ้านหรือสิ่งก่อสร้าง  คือหลังคารถ หรือเรือ

ส่วนรถเก๋งคือรถที่มีหลังคาที่เชื่อมติดกับตัวรถ ถอดแยกไม่ได้   อย่างรถยนต์ที่เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๗ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน   ไม่ว่ารถฮอนด้า โตโยต้า เบนซ์ บีเอ็ม  ฯลฯ ถ้าหลังคาติดกับตัวรถ เมื่อก่อนเรียกว่ารถเก๋งทั้งนั้น  ต่อมาคำนี้มันคงจะเชยไปตามสมัย ก็เลยเลิกเรียกกัน
หลังคารถยนต์ที่แยกส่วนจากตัวรถ  เรียกว่าประทุน   รถยนต์ยุคแรกๆ เช่นรถพระที่นั่งในรัชกาลที่ ๕ เป็นรถที่เปิดหลังคา หรือมีหลังคาเอาขึ้นลงได้  หลังคารถม้า phaeton  ที่เราใช้มาก่อน มีหลังคาเอาขึ้นลงได้ เรียกว่าประทุน  
ดิฉันโตทันอ่านนิยายรุ่นเก่าที่แยกแยะคำว่า " รถเปิดประทุน"   หมายถึงพวกรถ convertible เอาหลังคาขึ้นลงได้    นักประพันธ์สมัยนั้นแยกคำว่า รถเก๋ง กับรถเปิดประทุน ให้เห็นชัดเจน  

จึงตรัสสั่งข้างหน้าทหารใน   ทำเฉลียงเก๋งใหม่ให้ดิบดี
เฉลียงเก๋ง จึงเป็นอะไรอย่างหนึ่งที่มีหลังคา  ตั้งอยู่บนระเบียง  ทำด้วยไม้สัก  รองรับด้วยรอด   มีพื้นที่กว้างพอคนสองคนจะขึ้นไปนั่งได้ แต่ไม่ได้มีเอาไว้วิ่ง  ถ้าเผลอวิ่งโครมครามบนเก๋ง พื้นก็หักชนิดเสียหายหนัก   ต้องประกอบใหม่

ตอนพยายามวาดภาพว่าเก๋งเฉลียงคืออะไร   ใจก็นึกถึงเตียงแบบจีนขึ้นมา     แต่สงสัยว่าเตียงแบบนี้เขาตั้งไว้บนระเบียงหรือ  หรือว่าเป็นเตียงเก่ายกออกมาจากห้องด้านใน  ไว้นั่งรับลมเย็นๆที่ระเบียง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 10:29

ขอบคุณคร้าบ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 10:53

นึกภาพว่าเฉลียงหน้าตาเป็นอย่างนี้ค่ะ   ถึงเข้าไปนั่ง "ใน" เฉลียง  ได้สองคน  ลุกขึ้นวิ่งก็ได้ แต่เท้าหนักวิ่งโครมครามไปหน่อยพื้นไม้เลยหัก
รอดที่หักลงไปคือส่วนรองรับพื้นที่นั่งหรือเปล่าคะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 10:59

รอด ในที่นี้ก็คือโครงสร้างของพื้นเก๋งตามรูปนี่แหละครับ

ไม่ใช่ตัวเรือนแล้ว
.
.
อ้างถึง
ตอนพยายามวาดภาพว่าเก๋งเฉลียงคืออะไร   ใจก็นึกถึงเตียงแบบจีนขึ้นมา     แต่สงสัยว่าเตียงแบบนี้เขาตั้งไว้บนระเบียงหรือ  หรือว่าเป็นเตียงเก่ายกออกมาจากห้องด้านใน  ไว้นั่งรับลมเย็นๆที่ระเบียง
.
.
อ้างถึง
ประทุกมากหลายคนบนระเบียง   จนเฉลียงเก๋งหักลงหนักหนา

เก๋งวางอยู่บนระเบียงครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 11:09

ตีความ

คนนั่ง(หลายคน)บนเก๋งเฉลียง ห้อยเท้าอยู่ แล้วกระทืบเท้าลงไปบนระเบียง แต่น้ำหนักขย่มลงไปลงบนเก๋งเฉลียง ซึ่งโครงสร้างพื้นไม่แข็งแรงเท่าระเบียงเรือน รอดของเก๋งเฉลียงจึงหัก ส่วนระเบียงไม่เป็นอะไร
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 16
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง