เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 15793 Poetic license สิทธิพิเศษที่เป็นบัตรผ่านของกวีและศิลปิน
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 17 เม.ย. 12, 15:23

คุณ SILA  ขอไว้ในกระทู้    ทวิภพ ๒๕๔๗ The Siam Renaissance การเดินทางครั้งใหม่ของมณีจันทร์
ให้อธิบายคำว่า Poetic license 
คำนี้มีผู้แปลว่า สิทธิพิเศษของกวี     บางคนเรียกว่า กวียานุโลม    แต่จะเป็นคำไหนก็ตาม  ถ้าไม่อธิบายแล้วคนอ่านก็งงเท่ากัน
จึงขอเล่าสู่กันฟังในกระทู้นี้ ค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 15:48

บัตรผ่านที่วงวรรณคดีมอบให้กวีและศิลปินในฐานะผู้สร้างงานศิลปะ   คือคำรับรองว่า คนเหล่านี้มีสิทธิพิเศษที่จะ "ฉีกแนว" หรือได้รับการยกเว้น ว่าจะแต่งอะไรที่ออกนอกแบบแผน นอกกรอบกำหนด   หรือผิดจากความจริงก็ทำได้เหมือนกัน   ไม่ถือว่าเป็นข้อเสียหาย   หากว่าเป็นความตั้งใจของพวกเขาที่จะแต่งแหวกออกไปจากขนบจริงๆ  โดยมีเหตุผลรองรับ    ไม่ใช่ว่าแต่งไม่เป็น   หรือว่าแต่งเลอะเทอะเลื่อนเปื้อน
หรือแม้ว่าต่อให้เขียนผิดพลาดลงไป  ด้วยความไม่รู้  ก็ได้รับการอภัยโทษด้วยบัตรผ่านใบนี้ละค่ะ  

ฟังแต่ชื่อก็รู้ว่าคำนี้มาจากอังกฤษ ไม่ใช่ไทย      นี่เป็นทรรศนะของคนในวรรณคดีของยุโรป    ไทยเราไม่รู้จัก  แต่กวีไทยทั้งๆไม่รู้ก็เอามาใช้อยู่เหมือนกัน   เพราะพรสวรรค์ทางศิลปะไม่ได้ถูกจำกัดด้วยเชื้อชาติหรือชนชั้นวรรณะ   ศิลปินเอกมีสิทธิ์ถือกำเนิดได้ในทุกประเทศ  ไม่ใช่แต่ในประเทศอังกฤษหรือฝรั่งเศสเท่านั้น
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 15:58

ยิงฟันยิ้ม รูปในข้อความแรก  ยิงฟันยิ้ม

         เข้ามาแสดงตัวติดตามเป็นคนแรก ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 16:02

คนที่นิยามคำนี้ขึ้นมาคือกวีอังกฤษ John Dryden   เขาให้คำจำกัดความว่า   the nature of poetic licence คือ

... the Liberty, which Poets have assum'd to themselves in all ages, of speaking things in Verse, which are beyond the severity of Prose.'tis that particular character, which distinguishes and sets the bounds betwixt  Oratio soiuta, and Poetry .

ต้องปูพื้นอธิบายว่าในสมัยก่อนโน้น   งานที่ถือกันว่าเป็นวรรณคดีนั้นเขียนกันด้วยร้อยกรอง  ไม่ใช่ร้อยแก้วอย่างภาษาพูดในชีวิตประจำวัน    ไดรเด็นเห็นว่า เมื่อกวีเป็นผู้ผลิตงานวรรณศิลป์ขึ้นมา    กวีก็ย่อมมีสิทธิ์จะเลือกเฟ้นถ้อยคำในภาษาให้ผิดแผกไปจากภาษาพูด  หรือแม้แต่ในฉันทลักษณ์มาตรฐานที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อกำหนดกรอบคำกันอยู่   เช่นอย่างในภาษาละตินที่เป็นแม่แบบของภาษาในยุโรป
 คล้ายบทบาทของรอยอินที่คุณเพ็ญชมพูนิยมนำมาอ้างเป็นมาตรฐานบ่อยๆในการพิจารณาว่าคำไหนถูกคำไหนผิด

เพราะไดรเด็นเห็นว่าศิลปะเป็นงานสร้างสรรค์ ซึ่งไม่สมควรถูกตีกรอบไว้ด้วยหลักเกณฑ์อะไรจนกระดิกกระเดี้ยไม่ได้     ถ้าหากว่าถูกจำกัด   ภาษาก็จะไม่งอกงาม   ไม่มีเสรีภาพในการนำเสนอ หรือการคิดค้นคำขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับจินตนาการของกวีได้    เช่นสมัยก่อนนั้นในการสัมผัสของบทกวี  ใช้คำคล้องจองกันตามที่ออกเสียง    อย่าง win  ก็ต้องสัมผัสกับ sin  bin  pin   จะไปสัมผัสกับเสียงอื่นไม่ได้
แต่ไดรเด็นเห็นว่าถ้ากวีจะฉีกแนวออกมา ให้เกิดสัมผัสตามตัวสะกด  ไม่ได้สัมผัสตามเสียง  ก็ทำได้  เช่นจะเอา daughter  ไปสัมผัสกับ laughter เสียอย่าง  ถ้าแต่งบทนี้ออกมาแล้วงดงาม ประสบความสำเร็จดี    ใครหน้าไหนจะมาบอกว่าแต่งผิด ย่อมบอกไม่ได้   เพราะกวีมี "สิทธิพิเศษ" หรือ "บัตรผ่าน" ในการสร้างสัมผัสใหม่ขึ้นมาตามจุดประสงค์ส่วนตัวของเขา
มิฉะนั้น   วรรณศิลป์ก็จะไร้อิสระในการเจริญเติบโต   ไม่มีใครคิดอะไรใหม่ขึ้นมาได้   อย่างน้อยในทางภาษาก็ต้องวนเวียนอยู่ในกรอบเดิมๆที่ยึดมั่นกันมาไม่รู้กี่ร้อยปีแล้ว  
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 16:19

ขออนุญาตถามครับ

1. บัตรผ่านนี้ออกให้โดยสถาบันใดหรือครับ และสถาบันแห่งนี้เป็นที่ยอมรับในสังคมได้อย่างไร

2. มีหลักเกณฑ์การออกบัตรให้กับผู้หนึ่งผู้ใด ว่าต้องผ่านวรรณกรรมชิ้นใดบ้าง หรือ ต้องไปสอบ

3. การจดทะเบียนมีค่าธรรมเนียมน้ำหมึกไหมครับ

4. ที่บ้านเรามีบัตรผ่านแบบนี้ไหมครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 16:24

ไดรเด็นเริ่มเอาไว้แค่นี้   แต่คำนี้ต่อมาก็ได้รับการขยายกว้างออกไป ไม่เฉพาะแต่กวีสามารถเลือกถ้อยคำที่ไม่ได้อยู่ในกรอบภาษา  และเลือกแต่งบทกวี แหวกออกไปจากกรอบฉันทลักษณ์เดิมๆ ได้เท่านั้น    แต่รวมความถึงสามารถเขียนถึงอะไรก็ได้ที่ไม่จำเป็นต้องมีจริงในโลกแห่งความเป็นจริงได้ด้วย    
เมื่อถือบัตรผ่านนี้  ก็ไม่มีใครจะมาชี้หน้าได้ว่าผิด หรือเป็นความบกพร่องของงานชิ้นนั้น

สุนทรภู่ เคยใช้บัตรผ่านของกวีในการเลือกคำในบทกลอนโดยท่านไม่รู้ตัวว่านั่นแหละคือ Poetic license  เช่นใช้คำว่า "เจ้ากรมยมราช" ในขุนช้างขุนแผนตอนกำเนิดพลายงาม
ขุนแผนแสนสวาทจะขาดจิต         กะจิริดรู้ว่าจะหาไหน
น่าสงสารท่านย่าพลอยอาลัย       น้ำตาไหลพรากพรากเพราะยากเย็น
ขุนแผนว่าจะอยู่ดูไม่ได้              ในคุกใหญ่มันยากแค้นถึงแสนเข็ญ
เหมือนกับนรกตกทั้งเป็น              มิได้เว้นโทษทัณฑ์สักวันเลย
แต่พ่อนี้ท่านเจ้ากรมยมราช         อนุญาตให้อยู่ทับในหับเผย
คนทั้งหลายนายมุลก็คุ้นเคย        เขาละเลยพ่อไม่ต้องถูกจองจำ
 
เจ้าพระยายมราช เป็นเสนาบดีหนึ่งในสี่ของจตุสดมภ์   ใหญ่กว่าเจ้ากรมซึ่งโดยมากเป็นแค่พระยา    ถ้าเป็นหนังสือราชการส่งไปมาถึงกัน  จะเรียกท่านว่าเจ้ากรมไม่ได้เป็นอันขาด ถือว่าผิดร้ายแรง ต้องรีบเอาหนังสือกลับมาแก้ไขใหม่     จะว่าสุนทรภู่ผู้เป็นอาลักษณ์ ไม่รู้จักตำแหน่งขุนนางก็ไม่ใช่แน่นอน    เพียงแต่ในเชิงกวี  สุนทรภู่เห็นความงามของสัมผัสในยิ่งกว่าความถูกต้องของระเบียบราชการ      
คำว่า "เจ้ากรมยมราช" อ่านแล้วก็รื่นหู ลงจังหวะพอดีในการขับเสภา มากกว่าท่านจะแต่งว่า "แต่พ่อนี้ท่านเสนาบดีเจ้าพระยายมราช" ซึ่งไม่รื่นหูและไม่ลงจังหวะตรงไหนเลย    
เมื่อมีคนเข้าใจบัตรผ่านของกวี    ก็ไม่มีใครตำหนิสุนทรภู่ได้ว่าตรงนี้เป็นจุดอ่อนของงานกวีของท่าน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 16:32

ขออนุญาตถามครับ

1. บัตรผ่านนี้ออกให้โดยสถาบันใดหรือครับ และสถาบันแห่งนี้เป็นที่ยอมรับในสังคมได้อย่างไร
2. มีหลักเกณฑ์การออกบัตรให้กับผู้หนึ่งผู้ใด ว่าต้องผ่านวรรณกรรมชิ้นใดบ้าง หรือ ต้องไปสอบ
3. การจดทะเบียนมีค่าธรรมเนียมน้ำหมึกไหมครับ
4. ที่บ้านเรามีบัตรผ่านแบบนี้ไหมครับ

หลักเกณฑ์ทางวรรณคดีตะวันตก  เป็นทฤษฎีความคิดที่ตกทอดกันมาจากนักคิดนักเขียน ศิลปิน  ในยุคสมัยต่างๆ ตั้งแต่หลังยุคกลางจนถึงปัจจุบัน    ไม่ใช่ตัวบทกฎหมายที่จะประทับตราออกบัตรให้ได้   แต่ถ้าเรียนวรรณคดีอังกฤษและอเมริกันแล้วก็จะรู้จักค่ะ

ตอบเสร็จแล้วเฉลียวใจนึกขึ้นได้
คุณหนุ่มสยามหมายถึงใบในค.ห. 1 ละมัง     ดิฉันใช้สิทธิพิเศษของกวีออกให้ตัวเองค่ะ   เอาลงเฉพาะกระทู้นี้เพื่อเป็นสีสันของกระทู้เท่านั้นเอง



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 16:45

ขออนุญาตถามครับ

1. บัตรผ่านนี้ออกให้โดยสถาบันใดหรือครับ และสถาบันแห่งนี้เป็นที่ยอมรับในสังคมได้อย่างไร
2. มีหลักเกณฑ์การออกบัตรให้กับผู้หนึ่งผู้ใด ว่าต้องผ่านวรรณกรรมชิ้นใดบ้าง หรือ ต้องไปสอบ
3. การจดทะเบียนมีค่าธรรมเนียมน้ำหมึกไหมครับ
4. ที่บ้านเรามีบัตรผ่านแบบนี้ไหมครับ

หลักเกณฑ์ทางวรรณคดีตะวันตก  เป็นทฤษฎีความคิดที่ตกทอดกันมาจากนักคิดนักเขียน ศิลปิน  ในยุคสมัยต่างๆ ตั้งแต่หลังยุคกลางจนถึงปัจจุบัน    ไม่ใช่ตัวบทกฎหมายที่จะประทับตราออกบัตรให้ได้   แต่ถ้าเรียนวรรณคดีอังกฤษและอเมริกันแล้วก็จะรู้จักค่ะ

ตอบเสร็จแล้วเฉลียวใจนึกขึ้นได้
คุณหนุ่มสยามหมายถึงใบในค.ห. 1 ละมัง     ดิฉันใช้สิทธิพิเศษของกวีออกให้ตัวเองค่ะ   เอาลงเฉพาะกระทู้นี้เพื่อเป็นสีสันของกระทู้เท่านั้นเอง



ตกม้าตาย  อายจัง ผมก็มัวแต่ตื่นเต้นกับบัตรผ่าน ลองอ่านดูชื่อ......ตกม้าตายครับ  อายจัง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 16:52

จะเอาสักใบไปดูเล่นไหมล่ะคะ   ดิฉันจะออกให้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 17:06

^  ยิงฟันยิ้ม กระทู้วิชาการประพันธ์ แต่ช่างขำขันเหลือเกิน

โดยเฉพาะเมื่อเห็นลูกเล่น - คลิปประกอบคห. ๗ ของ คุณ siamese

อ้างถึง
ถ้าหากว่าถูกจำกัด   ภาษาก็จะไม่งอกงาม   ไม่มีเสรีภาพในการนำเสนอ
หรือการคิดค้นคำขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับจินตนาการของกวีได้

            อ่านพบว่า  Shakespeare คิดคำ(invented) ขึ้นมาใช้ในงานของเขา
ถึง 1,700 คำ (รวมทั้งอีกมากมายหลายวลี) 
            ส่วนในโลกปัจจุบัน โลกวัยรุ่น โลกไซเบอร์นี้ ก็มีคำเกิดใหม่(หลายคำดัดแปลงมาจาก
คำๆ เดิม) มากมาย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 17:40

ภาษาที่ยังไม่ตาย จะมีคำใหม่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา   เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
คำที่เป็นสะแลง (slang)ในยุคหนึ่ง เมื่อใช้กันแพร่หลายติดปากต่อกันมานาน ก็หายจากสะแลงกลายเป็นคำที่ยอมรับกันในทั่วไป   คำว่า "เชย" หรือ "ทึ่ง" ตอนถือกำเนิดก็เป็นสะแลง   เดี๋ยวนี้ไม่มีใครเห็นอย่างนั้นอีกแล้ว
แต่ว่าภาษาที่เกิดขึ้นโดยสิทธิพิเศษของกวี  ตั้งใจใช้ในการสร้างงานวรรณกรรม   ไม่ใช่ภาษาพูดในชีวิตประจำวัน

(ต่อ)
จากการเริ่มต้นของไดรเด็น ที่เน้นทางด้านภาษา    สิทธิพิเศษนี้ก็ขยายกว้างออกมาถึงองค์ประกอบด้านอื่นของวรรณกรรม  เช่นด้านฉาก และรายละเอียดต่างๆที่ผิดเพี้ยนไปจากข้อเท็จจริง     
อย่างหนึ่งคือการบรรยายผิดยุคผิดกาลสมัย   ซึ่งมีกันมากมายจนบัญญัติเป็นศัพท์ได้ เรียกว่า Anachronism  โดยมากก็เกิดขึ้นเมื่อ
1. กวีหรือศิลปินสร้างงานที่ไม่ถูกต้องตามประวัติศาสตร์  เช่นให้พลเมืองสมัยพ่อขุนรามคำแหงพูดถึงชาตินิยมหรือประชาธิปไตย 
2. จับผู้คน สิ่งของหรือเหตุการณ์ใส่ไว้ผิดยุค   ตัวอย่างคลาสสิคก็เช่นในบทละครของเชคสเปียร์   กวีเอกท่านนี้ให้พระนางคลีโอพัตราสวมชุดชั้นในคอเซ็ตต์แบบเดียวกับพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1    เล่นบิลเลียด   มีนาฬิกาตัวเลขเดินด้วยเครื่องจักรกลอยู่ในสมัยโรมัน

ทำไมความผิดพลาดเหล่านี้จึงได้รับการยกเว้น   ก็เพราะอย่างแรก ถ้าวรรณกรรมหรือละครเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่สร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนการปกครองประชาธิปไตย หรือสนับสนุนแนวคิดชาตินิยม    นี่ก็คือจุดมุ่งหมายใหญ่สุดของงาน   จะเลือกเนื้อเรื่องถอยกลับไปในอดีตสมัยไหนก็เป็นจุดมุ่งหมายรองลงไป     ดังนั้นถ้าขุนนางของพ่อขุนรามฯออกมาพูดถึงเลือดรักชาติกันฉาดฉานในยุคที่คำว่า "ชาติ" ยังไม่เกิด  เกิดแต่ "อาณาจักร"  ก็ถือว่าอนุโลมเข้าทางสิทธิพิเศษของกวี

เรื่องพระนางคลีโอพัตราแต่งตัวนุ่งกระโปรงสุ่มไก่ สวมชั้นในรัดทรงผิดยุคโรมันก็เหมือนกัน   มันมีเหตุผลรองรับ  คือนักแสดงบนเวทีสมัยเชคสเปียร์เขาไม่ได้แต่งตัวกันตามสมัยในเรื่องเหมือนหนังฮอลลีวู้ด    แต่ทุกคนแต่งกายด้วยชุดดีที่สุดของตัวเอง  เนื้อเรื่องจะเป็นศตวรรษที่เท่าไรก็ตามไม่สำคัญ    มาร์คแอนโทนีก็แต่งตัวหล่อแบบหนุ่มสมัยนั้น  นางเอก(ซึ่งแสดงโดยผู้ชาย) ก็นุ่งสุ่มไก่ สวมวิกตามแฟชั่นสาวๆยุคนั้น   ฉากก็มีข้าวของตามยุคตามสมัยของอังกฤษ   ดังนั้นในการเขียนบท  เชคสเปียร์ก็บรรยายไปตามสภาพของยุคนั้น  โดยไม่เห็นเป็นของแปลก  คนดูก็รับได้ไม่แปลก     ไม่ต่างอะไรกับลิเกของเราที่คนดูก็รับได้ว่าพระเอกเดินป่าแต่งองค์ทรงเครื่องประดับเพชรไปทั้งตัว    หรือรามเกียรติ์ พระรามจะออกรบทีก็อาบน้ำแต่งตัวสวมชฎา สวมสร้อยสังวาลย์บานพับหรูหราออกไปรบกับยักษ์   ไม่มีใครสงสัยว่าทำไมพระรามไม่แต่งชุดนักรบให้รัดกุมกว่านี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 18:24

แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า  อะไรๆที่ไม่เข้าที่เข้าทางก็อนุโลมเป็นสิทธิพิเศษของกวีได้เสียหมด      ถ้าถือคำนี้อย่างเถรตรงเกินไป  จะไม่มีวรรณกรรมเรื่องไหนเลยที่มีข้อผิดพลาด   เพราะเขียนผิดๆถูกๆยังไง   จับเข้าตรงไหนก็ดิ้นหลุดไปได้ด้วยคำว่า สิทธิพิเศษของกวี  กันหมด 
สิทธิพิเศษของกวี อนุโลมให้เฉพาะที่ว่าสิ่งที่ไม่มีจริง หรือสิ่งที่แหวกออกจากกฎเกณฑ์นั้น เป็นสิ่งสำคัญและเป็นความสำเร็จของเรื่องชนิดที่ความถูกต้องตามกฎเกณฑ์  ข้อเท็จจริง  หรือประวัติศาสตร์ไม่อาจแทนที่ได้        หรือไม่ ก็เป็นว่าสิ่งที่ไม่ถูกต้องนั้นเป็นข้อปลีกย่อย  ไม่อาจบั่นทอนคุณสมบัติอื่นๆที่เป็นความยิ่งใหญ่ของวรรณกรรมชิ้นนั้นได้     จะเห็นได้ว่าถ้าเรามัวจับผิดว่า นิทานเรื่อง The Little Mermaid หรือเงือกน้อยของแฮน คริสเตียน แอนเดอร์สัน มีข้อเสียหายตรงที่ตัวเอกเป็นนางเงือกซึ่งไม่มีจริงตามวิชาสัตววิทยา(หรือวิชาอะไรก็ตามที่ว่าด้วยสัตว์)   เราก็จะข้ามแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ของแอนเดอร์สันที่แต่งเรื่องนี้  ตลอดจนวรรณศิลป์ที่มีอยู่ในเรื่องไปหมด
ความคิดผิดๆจะเห็นได้อย่างเดียวกัน  ถ้าเราวิจารณ์ "เพชรพระอุมา" ของพนมเทียนว่าบกพร่องตรงที่มรกตนครไม่มีจริงอยู่ในภูมิศาสตร์ที่ใดๆในโลก      หรือ Star Wars มีข้อเสียตรงที่อาณาจักรต่างดาวนั้นเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 18:35

เหตุผลอีกอย่างของการมีสิทธิพิเศษก็คือ การเปิดจินตนาการของศิลปินได้แทบไม่มีขอบเขตจำกัด   ขอให้เป็นแต่ว่าสร้างขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์  ไม่ใช่ความเลอะเทอะผิดพลาดเท่านั้น      ด้วยเหตุนี้คนอ่านและคนดูจึงรับได้ว่าโรงเรียนฮอกวาร์ดของบรรดาพ่อมดแม่มด  มีอยู่จริงที่ใดที่หนึ่งในอังกฤษ   พ่อมดน้อยและแม่มดน้อยในโรงเรียนเหล่านั้นก็มีสิทธิ์จะมีชีวิตชีวาเป็นที่รักของคนอ่านได้เท่ากับมนุษย์จริงๆเหมือนกัน

ย้อนกลับมาที่หนังเรื่องทวิภพ   แม่มณีอาจจะนุ่งผ้ายกห่มสไบกรองทองมานั่งถ่ายรูปได้ในรัชกาลที่ ๔  ถ้าผู้กำกับเห็นงามตามนั้น  แต่อย่าลืมคำนึงว่า หนังเรื่องนี้สร้างขึ้นเพื่องามหรือว่าเพื่อถูกต้องตามข้อเท็จจริง     ถ้าหากว่าองค์ประกอบอย่างอื่นมุ่งความถูกต้องตามรายละเอียดในอดีต  ฉากนั้นก็เห็นข้าทาสชาวบ้านมอมแมมอยู่กับฝุ่นกับดิน   ฉากนี้บ้านเรือนก็ดูบ้านๆ ไม่ได้เสริมแต่งอะไรให้พิเศษ  แม่มณีก็น่าจะงามด้วยสไบผ้าฝ้ายทอมือและผ้านุ่งอย่างสามัญชนดีกว่า
แต่ถ้าองค์ประกอบอย่างอื่นมุ่งความหรูหราอลังการ เพื่อให้เป็นงานศิลป์ที่สวยงามเกินกว่าภาพแห่งความเป็นจริงในอดีต     แม่มณีแต่งตัวเกินหน้าเจ้าจอมก็ถือบัตรผ่านของศิลปินผ่านไปได้เช่นกัน
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 18 เม.ย. 12, 00:23

ขอบพระคุณสำหรับกระทู้นี้ครับอาจารย์
เป็นเรื่องน่าสนใจที่ผมไม่เคยทราบมาก่อนเลย

โดยส่วนตัว เวลาทำงานของตัวเอง มองงานขาดออกจากกันเป็น 2 พวก
คือ 'งานใช้จินตนาการ' (อาจจะเรียกว่ากวีก็คงได้)
ผมก็ใช้อะไรเรื่อยเปื่อยไปตามความคิดตัวเองไม่คิดตำหนิ

กับ 'งานวิชาการ' ที่ต้องอาศัยความละเอียดลออเข้ามาทำงานมากกว่า
กรณีนี้ผมยอมตัวเองให้ใช้ได้แค่การสร้างภาษา หรือ คำแปลกๆได้บ้าง
แต่ข้อมูลพื้นฐานจำเป็นต้องสืบค้นมาแล้วในระดับหนึ่ง

สำหรับเรื่องพร๊อพประกอบหนัง... โดยส่วนตัวเห็นว่า 'หลุด' ครับ
เพราะสังคมไทยเอง คนจะศึกษาประวัติศาสตร์สังคมมีน้อยเต็มที
พอมาแปลงตัวอักษรให้กลายเป็นภาพ... หลายอย่างๆก็เลอะเทอะไปบ้าง ไม่แปลกอะไร

ระยะหลังมานี้โทรทัศน์ไทยนำเอาภาพยนต์เกาหลีมาฉายอยู่หลายช่อง
เห็นฉากในหนังหลายๆเรื่องแล้วผมอดอิจฉาแวดวงประวัติศาสตร์เกาหลีไม่ได้จริงๆ
การจะได้ผลชนิดนั้น จำเป็นจะต้องพึ่งทั้ง 'ต้น' และ 'เหง้า' ที่แข็งแรงกว่าที่เราจะหาได้โดยง่ายในสังคมไทยนัก


เอาเถอะ... ขออนุญาตชื่นชมสิทธิพิเศษของกวีต่อไปดีกว่า
รำพันพิลาป และ พระอภัยมณีเป็นเรื่องน่าสนุกสำหรับผมเสมอครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 18 เม.ย. 12, 10:00

ดูการใช้สิทธิ์ศิลปินในหนัง ครับ

                ย้อนไปที่กระทู้เก่า  - ฉากประทับใจในหนังเก่า     

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=4255.525

             หนึ่งในฉากเด่นโด่งดังจากหนังเรื่อง The Deer Hunter นั่นคือ
ฉากเกม russian roulette

อ้างถึง
ผู้กำกับใช้อภิสิทธิ์ศิลปิน (artistic license) แต่งฉากนี้ที่ไม่มีในเหตุการณ์จริงขึ้นมา
เพื่อสื่อถึงความรู้สึกและอารมณ์ของทหารในสงคราม ที่มีทั้งความกดดัน สั่นประสาท ความหวาดกลัว
วิตกในความไม่แน่นอน-คาดการณ์ไม่ได้ของความเป็นและความตายที่วนเวียนไม่ไกลแค่เหนี่ยวไกเท่านั้นเอง

             นักวิจารณ์แถวหน้า Roger Ebert อธิบายฉากนี้ว่า

        "it is the organizing symbol of the film:
       Anything you can believe about the game, about its deliberately
random violence, about how it touches the sanity of men forced to play it,
will apply to the war as a whole.
       It is a brilliant symbol because, in the context of this story,
it makes any ideological statement about the war superfluous."


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 20 คำสั่ง