เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 12
  พิมพ์  
อ่าน: 155653 แผ่นดินไหวและซึนามิ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 25 เม.ย. 12, 20:04

หวังว่าคงไม่ร้ายแรงเท่าเมืองนี้

!

Centralia, Pennsylvania

Johnathan Faust เป็นผู้ที่เปิดร้านขายเหล้าในเมือง Centralia ค.ศ. ๑๘๔๑ และต่อมาเขาได้เปิดบริษัทเป็นเหมืองผลิตถ่านหินใน ค.ศ. ๑๘๖๖ ซึ่งนับแต่นั้นมาบริษัทได้เป็นผู้สร้างรายได้หลักกับเมืองนี้และก่อเกิดเป็นชุมชนตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๖๐ นับแต่นั้นมา ซึ่งเมืองคราคร่ำไปด้วยผู้คน มีบริษัท ห้างร้านเปิดขึ้นมากมาย นับว่าเจริญขึ้นเป็นอย่างมาก แต่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เมืองนี้ได้ถูกทิ้งร้างก็เมื่อมีการเผาขยะมูลฝอยจากเมืองและทำให้ไฟลุกลามไปยังถ่านหินชั้นใต้ดิน มีการพยายามดับไฟที่ไหม้ถ่านหินอยู่ใต้ดินด้วยน้ำ หรือปูนซีเมนต์ ฉีดอันลงไป ซ้ำร้ายยังระเบิดด้วยแรงอัดจากไอน้ำ ไม่ประสบความสำเร็จไฟลุกลามอยู่ใต้ดินเป็นเวลาหลายปีตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๖๐ ถึง ๑๙๗๐ ควันที่เกิดจากการเผาไหม้ก่อเป็นสารเคมี คาร์บอนมอนอกไซต์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อฟุ้งกระจายในอากาศผสมกับน้ำฝนจะกลายเป็นฝนกรด



ใน ค.ศ. ๑๙๗๙ พื้นที่ดังกล่าวได้กำหนดให้เป็นพื้นที่เสี่ยงภัย เมื่อสถานีกาซเชื้อเพลิงได้ประกาศถึงอุณภูมิของถังเก็บก๊าซร้อนมากกว่าปกติถึงระดับอันตราย ๗๗.๘ องศาเซลเซียส และเป็นข่าวอันโด่งดังเมื่อมีเด็กอายุ ๑๒ ปี ตกลงไปในหลุมร้อนขนาด กว้าง ๔ ฟุต ยาว ๑๕๐ ฟุต ทำให้เสียชีวิต ในปี ค.ศ. ๑๙๘๔ ได้ใช้เงินถึง ๔๒ ล้านดอลล่าร์ เพื่อจัดการย้ายถิ่นฐานไปยังพื้นที่ใกล้เคียง Mount Carmel and Ashland ปัจจุบันไฟยังลุกไหม้ถ่านหินใต้ดินและจะไหม้ไปอีกนานถึง ๒๕๐ ปี

 เศร้า  ร้องไห้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 25 เม.ย. 12, 20:43

คงไม่หรอกครับ

ของเราในเรื่องนี้น้น จะให้ดับได้ไวๆก็คงต้องให้น้ำท่วมสักระยะหนึ่ง จนดินฉ่ำไปเลย

เรื่องเหมืองถ่านหินติดไฟนี้ มีหลายแห่งในโลก ส่วนมากก็จะพยายามควบคุมให้ได้ตั้งแต่แรก บ้างก็ดับกันได้ด้วยน้ำ บ้างก็ระเบิดออกมาให้หมด แต่หากอยู่ใต้ดินลึกๆก็ลำบากมากหน่อยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 20:51

เอาข่าวคืบหน้ามาลงให้อ่านค่ะ
http://www.komchadluek.net/detail/20120425/128819/%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.html

พบแก๊สพิษเกินค่า'หลุมไฟนครไทย'
กรมควบคุมโรคลงตรวจแก๊สหลุมไฟอำเภอนครไทย พบเกินค่ามาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อร่างกายระยะสั้นระคายเคือง ระยะยาวปวดกล้ามเนื้อ เจ็บป่วยทางสมอง เสนออบต.ทำแนวนั้นกั้นผู้คนให้ห่างหลุมไฟระยะ 500 เมตร

            เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 25 เมษายน  ที่หลุมไฟ ม.9 ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก กรมควบคุมโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จ.พิษณุโลก นำเจ้าหน้าที่พร้อมเครื่องมือตรวจวัดแก๊สพิษในบรรยากาศ ที่สามารถตรวจหาก๊าซพิษได้มากกว่า 100 ชนิด โดยตรวจสารพิษบริเวณรอบ ๆ หลุมไฟเนื้อที่ประมาณ 1 งาน
 
             นายกิตติ พุฒิกานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า หลังจากพบปรากฏการณ์หลุมไฟ ไฟลุกจากใต้ดินใน อ.นครไทย กรมควบคุมโรคได้นำเครื่องมือตรวจวัดแก๊สพิษในบรรยากาศได้มากกว่า 100 ชนิด หรือ miran มาทำการตรวจหาแก๊สพิษรอบ ๆ หลุมไฟ ซึ่งตรวจพบหลายชนิด ผลปรากฏว่า พบแก๊สหลายชนิด ทั้ง มีเทน แอมโมเนียที่มีปริมาณน้อย แต่ตัวที่มีปัญหามากมีสองชนิด คือ คาร์บอนไดซัลไฟล์ หรือ CS 2 ตรวจพบรอบหลุมไฟอยู่ที่ 23 ppm เกินค่ามาตรฐานทั่วไปที่ 20 ppm และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือ SO 2 ค่ามาตรฐานอยู่ที่ 0.12 ppm แต่ตรวจพบมากกว่าค่ามาตรฐาน 55 เท่า
 
             แต่ตัวที่มีปัญหาและน่าห่วงคือมากที่สุด แก๊สคาร์บอนไดซัลไฟล์ หรือ CS 2 ที่ตรวจพบเกินค่ามาตรฐานมา 3 ppm นั้น เป็นแก๊สที่อันตรายสำหรับผู้สูดดมอย่างมาก คาร์บอนไดซัลไฟล์เป็นแก๊สที่หนักกว่าอากาศ เวลาลอยจะลอยเรี่ยพื้น จึงอยู่ในระดับที่จมูกคนยืนพอดี สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ทั้งทางผิวหนังและทางเดินหายใจ ในระยะสั้นจะมีการระคายเคืองที่ดวงตาและผิวหนัง และถ้าได้รับเวลาหลายวัน จะมีอาการทางจิต มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ประสาทตาอักเสบ

ถ้าระยะยาว จะเจ็บหน้าออก ปวดกล้ามเนื้อ ความจำเสื่อม คล้ายคนป่วยโรคพารากิลสันที่สั่นตลอด รวมทั้งอาจผิดปกติทางสมอง เส้นประสาทอักเสบ หลอดเลือดแดงแข็งตัว ถือเป็นอันตรายมากสำหรับคนที่อยู่ใกล้ เราแนะนำว่าควรจะอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุ 500 เมตร เพราะอาจมีลมพัดสารพิษตัวนี้ไป สิ่งหนึ่งที่อยากเตือนเป็นพิเศษคือคนท้อง ไม่ควรมารับสารพิษชนิดเลย เวลานี้มีการศึกษาในสัตว์ทดลอง สารชนิดอาจจะมีผลต่อการก่อมะเร็ง แต่เรายังไม่ยืนยัน คนตั้งครรภ์ควรอยู่ห่างไกล
 
             นายกิตติ กล่าวว่า แก๊สมีเทนมีปริมาณที่น้อยมาก ส่วนที่ติดไฟลุกไหม้นั้น แก๊สคาร์บอนไดซัลไฟล์ก็มีคุณสมหลังจากที่กรมควบคุมโรคได้มาตรวจพบสารพิษที่เป็นอันตรายบริเวณนี้แล้ว ได้ประสานกับ อบต.หนองกะท้าว ให้นำป้ายนำเชือกกั้นกันผู้คนไม่ให้เข้ามาใกล้หลุมไฟแห่งนี้ ถ้าเป็นไปได้ก็ควบจะห่างกว่า 500 เมตร

             อย่างไรก็ตาม ในช่วงเย็นวันที่ 25 เมษายนนี้ปรากฏว่า มีชาว อ.นครไทยแห่มาชมปรากฏการณ์ไฟลุกใต้ดินอย่างมาก โดยพยายามเข้ามาให้ใกล้หลุมไฟเพื่อชมไฟลุกจากพื้นดิน แต่ก็ยังอยู่ในแนวกั้นที่ อบต.หนองกะท้าวทำไว้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:04

นั่งจดๆจ่อๆอยู่นานพอควรว่าจะเขียนเรื่อง Mitigation อย่างไรดี ที่ไม่ใช่ลักษณะของม้าเลียบค่าย แต่เอาไปปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
ผมจะใช้ภาษาไทยสำหรับคำ Mitigation ว่า การลดความหายนะ นะครับ

การลดความหายนะนี้ เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายประชาชน ซึ่งจะดำเนินการได้ก็ต่อทุกฝ่ายเมื่อมีความเข้าใจในตัวภัยและลักษณะของความเสียหายและความหายนะที่จะเกิดจากตัวภัยนั้นๆ

หลักการใหญ่ๆของฝ่ายรัฐนั้น คือ
    ในเชิงของนามธรรม    จะต้องเตรียมสถานที่ๆมีความแข็งแรงทนทานคงทนอยู่ได้โดยไม่ได้รับความเสียหายจากหายนะที่จะเกิดขึ้น มีการเตรียมการเพื่อเป็นแหล่งรวมพล แหล่งพักพิง แหล่งลี้ภัย แหล่งหลบภัย แหล่งช่วยชีวิต เพื่อการอยู่รอดในช่วงระยะเวลาหนึ่งของประชาชน และจะต้องมีขีดความสามารถในการติดต่อกับโลกภายนอก ระบบ Lifeline จะต้องเป็นแบบพื้นฐานที่ใช้เทคโนโลยีต่ำ ซ่อมแซมได้ง่าย
    ในเชิงของรูปธรรม    เช่น การกำหนดโดยผังเมืองให้มีเขตพื้นที่ราบกว้าง มีการสร้างอาคารและสถานพยาบาลชั้นเดียวที่แข็งแรงมากๆกว่าปรกติ อยู่ในบริเวณที่เป็นจุดเชื่อม (Junction) ของระบบโทรศัพท์ใช้สาย ของระบบไฟฟ้า ของระบบน้ำประปา ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดจะต้องเป็นระบบที่ซ่อมง่าย บำรุงรักษาง่าย (ใช้เทคโนโลยีระดับต่ำ) อาทิ การใช้ระบบโทรศัพท์ analog การใช้วิทยุสื่อสารในระบบ HF เหล่านี้เป็นต้น      การประเมินความเสียหายเบื้องต้นในช่วงคาบเวลาต่างๆ เช่น ช่วงเวลาทำงาน ช่วงเวลาหลังเลิกงานว่าจะมีคนอยู่ในอาคารหลังใดเป็นจำนวนเท่าใด เพื่อจะได้ระดมความช่วยเหลือที่เหทาะสม เหล่านี้เป็นต้น     การกำหนดเงื่อนไขทางวิศวกรรม เช่น ความแข็งแรงของอาคารต่ออัตราเร่งของผืนดินที่คาดว่าจะได้รับจากแผ่นดินไหวจากแหล่งใด  การออกแบบทางสถาปัตยกรรมให้แยกอาคารเป็นสองส่วน (รูปตัวแอลในภาษาอังกฤษ ฯลฯ) หรือเป็นอาคารที่เรียกกันว่ืา aseismic design เส้นทางการคมนาคมหลัก ระบบ Lifeline ต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดจำกัดของความทนทาน เหล่านี้เป็นต้น     การกำหนดพื้นที่รวมพล เส้นทางการหลบหนีไปสถานที่รวมพลสำหรับแต่ละชุมชนย่อยๆ การกำหนดอุปกรณ์มาตรฐานที่จะต้องมีประจำบ้านตามจำนวนผู้อยู่อาศัยสำหรับกรณีเมื่อภัยพิบัติ เพื่อลดระดับของความสูญเสียต่อชีวิต เหล่านี้เป็นต้น
    สรุปง่ายๆก็คือ เมื่อไม่สามามารถจะหลีกหนีเหตุของภัยพิบัติได้ พื้นที่นั้นๆจะต้องพังและเสียหายจนหมด จะต้องไม่พังทลายทั้งหมด จะต้องซ่อมแซมได้ง่ายๆในช่วงเวลาคับขัน จะต้องมีชีวิตอยู่รอดได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จะต้องสามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้ด้วยเทคโนโลยีระดับต่ำ

หลักการใหญ่ของภาคประชาชน คือ มีความพร้อมที่จะรักษาชีวิตและอยู่รอดในสถานการณ์ต่างๆ
    ในเชิงของนามธรรม   เช่น การศึกษาหาความรู้ลักษณะของภัย ลักษณะของความเสียหายจากภัยนั้นๆ สิ่งที่จะเกิดขึ้นที่จะทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต สถานที่ๆจะหลบไปเพื่อความอยู่รอด ขีดจำกัดของความอยู่รอดมีชีวิตของเรา (โรคภัยเฉพาะของตน ยาเฉพาะโรคที่สำคัญของตน ฯลฯ)
    ในเชิงของรูปธรรม   เช่น กรณีตัวอย่างน้ำท่วมเมื่อปี '54 ซึ่งผมคิดว่าทุกคนได้ทราบในขณะนี้แล้วว่า อะไรคือความจำเป็นของเรา อะไรที่เราจะต้องเตรียมการ อะำไรที่เราจะจะต้องปรับปรุง เหล่านี้เป็นต้น  
    
        สำหรับกรณีภัยแผ่นดินไหวนั้น  จะขอขยายต่อพรุ่งนี้ครับ                      
 
 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 21:59

เอาข่าวคืบหน้ามาลงให้อ่านค่ะ
 .....แต่ตัวที่มีปัญหาและน่าห่วงคือมากที่สุด แก๊สคาร์บอนไดซัลไฟล์ หรือ CS 2 ที่ตรวจพบเกินค่ามาตรฐานมา 3 ppm นั้น เป็นแก๊สที่อันตรายสำหรับผู้สูดดมอย่างมาก คาร์บอนไดซัลไฟล์เป็นแก๊สที่หนักกว่าอากาศ เวลาลอยจะลอยเรี่ยพื้น จึงอยู่ในระดับที่จมูกคนยืนพอดี สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ทั้งทางผิวหนังและทางเดินหายใจ ในระยะสั้นจะมีการระคายเคืองที่ดวงตาและผิวหนัง และถ้าได้รับเวลาหลายวัน จะมีอาการทางจิต มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ประสาทตาอักเสบ....

ก็มาอีกหนึ่งความน่ากลัว แต่เป็นความน่ากลัวที่ไม่อธิบายให้หมด เช่น จะต้องสูดดมต่อเนื่องในเวลากี่ชั่วโมง ฯลฯ
มันก็จัดเป็นแก๊สพิษอย่างหนึ่งที่พบได้ในธรรมชาติจากกระบวนการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุ โดยเฉพาะในพื้นที่ชื้นแฉะที่เป็นที่สะสมของวัชพืช
ค่ามาตรฐานที่อ้างถึงนั้น ผมเข้าใจว่าเอามาจาก WHO ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เกือบจะไม่สามารถพบได้ในธรรมชาติในถิ่นที่อยู่ของประชาชนในมากมายหลายประเทศทั่วโลก
เอาง่ายๆครับ หากจะเอามาตรฐานตาม WHO   ผมว่าน้ำบาดาลที่เราเจาะใช้กันนับเป็นแสนบ่อในประเทศไทย โดยเฉพาะบ่อน้ำบาดาลในภาคอีสานที่ช่วยให้ไม่ขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้กัน มีชีวิตพอเป็นสุขอยู่ในปัจจุบันนี้นั้น ในประเด็นเรื่องค่าของความกร่อยคงจะผ่านน้อยมากหรือเกินค่ามาตรฐาน WHO ทั้งหมดก็ว่าได้ และก็ไม่มีทางที่จะหาที่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานของ WHOได้ ค่ามาตรฐาน WHO ในนัยหนึ่งนั้น ใช้เป็นเพียงตัวเลขอ้างอิงอย่างคร่าวๆเท่านั้น เหมือนกับการบอกว่า ฝรั่งตัวใหญ่กว่าคนไทย มาตรฐานความสูงของฝรั่งจะอยู่ที่ประมาณ 180 ซม.ขึ้นไป เป็นต้น

ค่าที่เกินมาจากค่ามาตรฐานในปริมาณ 3 ppm (หรือ 3 ส่วนใน 1,000,000 ส่วน) นั้นน้อยมากจนอาจจะเกิดจากการวัดผิดพลาดก็ได้ หรือเป็นเฉพาะจุดที่วัดก็ได้

สำหรับค่า SO2 นั้น หากที่บริเวณไฟคุใต้ดินที่บ้านหนองกะท้าววัดได้ไม่เกิินมาตรฐานก็คงจะประหลาดแล้วครับ ไฟใหม้ที่ใหนก็ต้องมีแกสตัวนี้เสมอครับ ไฟใหม้เสื้อผ้า ยาง โฟม และรวมทั้งจากท่อไอเสียรถ ก็จะต้องมีแก๊สตัวนี้ปล่อยออกมา

อุตส่าห์เอาเครื่องมือไปตรวจวัดแล้ว บอกไม่มีอะไรน่าห่วง นายก็คงจะซัดเอา ก็คงต้องบอกไปตามจริงว่าวัดได้มากน้อยเพียงใด หากไม่บอกว่ามากน้อยเกินกว่ามาตรฐานเพียงใด ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องถูกนักข่าวซักถามอยู่ดี     
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 26 เม.ย. 12, 22:20

 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 11:16

แผ่นดินลุกเป็นไฟอีกแล้วค่ะ

แผ่นดินลุกเป็นไฟ โผล่อีกที่ลพบุรี

แผ่นดินลุกเป็นไฟโผล่อีกที่ จ.ลพบุรี บริเวณกลางทุ่งนา นายอำเภอเอารถดับเพลิงมาดับไฟ ควันไฟพุ่งมากกว่าเก่า แถมมีกลิ่นกำมะถัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณกลางทุ่งนา เขตหมู่ 6 ต.ถนนใหญ่ อ.เมือง จ.ลพบุรี พบมีควันไฟพวยพุ่งขึ้นมาจากใต้ดิน โดยบริเวณดังกล่าวเป็นบ่อขนาด 10 X 10 เมตร ลึกประมาณ 4 เมตร ต่อมานายอานนท์ ศรีรัตน์ นายอำเภอเมืองลพบุรี ได้ประสานขอรถดับเพลิงมาฉีดเพื่อดับไฟ เนื่องจากสงสัยว่าอาจจะมีไฟลุกไหม้อะไรอยู่ด้านล่าง เนื่องจากจุดดังกล่าวใช้เป็นสถานที่ทิ้งขยะ แต่ได้เลิกทิ้งมาเป็นเวลาประมาณ 10 ปีแล้ว แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ฉีดน้ำไปยังจุดที่ควันไฟพุ่งขึ้นมาแน่นหนากว่าเก่ามาก และยังมีกลิ่นของกำมะถันอีกด้วย

 ทั้งนี้ ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของนายมุนินทร์ กลางมณี อายุ 72 ปี อดีตข้าราชการครู เมื่อคราวน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2553 พื้นที่บริเวณนี้ก็ถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลากว่า 1 เดือน หลังน้ำลดและพื้นดินกลับคืนปกติ

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=sitcom&month=27-04-2012&group=47&gblog=469

ในเมื่อที่ดินตรงนี้น้ำท่วมไปหมาดๆ   ข้างใต้ไม่น่าร้อนจัดนะคะ    หรือคุณตั้งจะเห็นอย่างไร?
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 27 เม.ย. 12, 19:17

กรณีไฟใหม้ใต้ดินที่ลพบุรีนี้ ก็คงจะต้องคาดเดาเหตุผลที่จะอธิบายอีกเหมือนกัน ข้อมูลที่มีคือ เคยเป็นพื้นที่ทิ้งขยะแบบฝังกลบ ขุดหลุมลึกประมาณ 4 เมตร กว้างและยาวด้านละประมาณ 10 เมตร อยู่ในพื้นที่ทุ่งนา มีกลิ่นกำมะถัน

ข้อมูลนี้บอกให้ทราบว่า ส่วนที่้ลึกลงไปจากผิวดินนั้นคงจะต้องชื้นแฉะอยู่พอสมควร ขยะที่ทิ้งคงจะคละกัน มีทั้งที่เป็นอินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุ เมื่อเปิดดูสินค้า OTOP ของหมู่บ้าน พบว่ามีการทำไข่เค็ม มีการใช้เปลือกฝักข้าวโพด และมีการทำดินสอพอง ก็เลยทำไห้เดาต่อไปได้ว่าขยะฝังกลบเหล่านั้น ในหลุมบ่อที่เล็กขนาดนั้น น่าจะเป็นขยะที่เป็นพวกสารอินทรีย์เป็นส่วนมาก

ข้อมูลพื้นฐานนี้ ให้ภาพว่า ขยะที่ทิ้งนั้นไม่น่าจะถูกบดอัดแน่นมาก คิดว่าน่าจะมีการเผากันเป็นระยะๆอีกด้วย เมื่อเอาดินกลบมาแล้วเป็นเวลาประมาณ 10 ปี แน่นอนว่าจะต้องมีกระบวนการย่อยสลายด้วย Anaerobic microorganism ทำให้เกิดแก๊สมีเทน เกิดแก๊สไข่เน่า (ไฮโดรเจนซัลไฟด์) มีสารคาร์บอน (เถ้าถ่านจากการเผาและจากแกลบที่เอามาทำไข่เค็ม) เมื่อเป็นพื้นที่นาก็น่าจะมีการใช้ปุย ซึ่งประกอบไปด้วยธาตุโซเดียม ฟอสฟอรัส และโปแตสเซี่ยม ซึ่งจะตกค้างอยู่ในดิน ประกอบกับดินแถบนั้นก็น่าจะเป็นดินที่เกิดจากหินปูน สภาพแวดล้อมดังนี้ เมื่อเกิดการย่อยสลายของขยะนานเข้าและเกิดขบวนการทางเคมีต่อเนื่อง (ไม่ขยายความนะครับ) ผลที่ได้คือมีสารตั้งต้นที่เป็นองค์ประกอบหลักของดินปืนพร้อมสรรพ คือมีโปแตสเซียมไนเตรต มีถ่านคาร์บอน มีกำมะถัน มีแก๊สไวไฟ และยังมีเชื้อเพลิง (พลาสติก ฯลฯ) อีกด้วย การมีน้ำท่วมขังในช่วงน้ำท่วมก็กลับกลายเป็นตัวช่วยเร่งขบวนการปฏิกริยาทางเคมีบางอย่างให้มีการเพิ่มปริมาณสารประกอบที่สามารถติดไฟได้ในอุณภูมิที่ไม่สูงมาก ผมไม่แน่ใจว่าอะไรคือตัวการจุดประกายให้เกิดไฟ รู้แต่ว่าในขยะฝังกลบนี้มีสารที่เป็นองค์ประกอบครบสำหรับการติดไฟได้ด้วยตัวเอง
อุณหภูิมิเป็นเรื่องหนึ่งแน่นอน อากาศซึ่งมีอ๊อกซิเจนที่สามารถแทรกเข้าไปทำปฏิกริยา (เนื่องจากช่องว่างที่เกิดจากการหดตัวของดินเพราะแห้ง) ก็น่าจะเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยให้เกิดสันดาบได้ง่าย

อย่างที่บอกไว้แต่แรกว่าเป็นการคาดเดา เพียงแต่มีหลักอ้างอิงทางวิชาการครับ
คงจะต้องรอฟังคำอธิบายของผู้เชี่ยวชาญอื่นๆต่อไป   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 28 เม.ย. 12, 18:58

ดิฉันเอาข่าวต่างๆมาลง ก็เพื่อให้คุณตั้งช่วยเคลียร์  สำหรับคนที่เข้ามาอ่านในเว็บนี้จะได้รู้ว่าไม่มีอะไรอย่างที่กลัวกัน    จะได้ใจชื้นขึ้นว่า
ยังไงวันที่ 28 นี้ภูเก็ตก็ไม่จม   และธันวาคมปีนี้คุณประกอบก็ยืนยันนั่งยันว่าโลกไม่แตกแน่นอน 

ภูเก็ตไม่จมแน่แล้ว และอีก ๘ เดือนข้างหน้าโลกก็คงไม่แตก

หากจะมีมุขใหม่ ๆ มาให้คนขวัญอ่อนตกใจอยู่เสมอ

ไม่เชื่อคอยดู

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 28 เม.ย. 12, 20:39

ต่อครับ
เรื่องการลดความหายนะจากแผ่นดินไหว

ก่อนอื่น แผ่นดินไหวทำให้เกิดความเสียหายอะไรบ้าง  
ได้กล่าวมาแล้วว่าคลื่นแผ่นดินไหวมีสองลักษณะที่สำคัญ คือ แบบ High frequency และแบบ Low frequency   ทั้งสองแบบนี้มีลักษณะการทำลายต่างกัน

แบบ High frequency ที่มีอำนาจการทำลายสูงนั้น (คลื่นที่มีช่วงระหว่างยอดของคลื่นสั้น แต่มีความสูงของยอดคลื่นสูง) คลื่นลักษณะนี้จะมาจากแผ่นดินไหวที่มีจุดกำเนิดใต้ผิวดินในระดับตื้น (10 - 20 กม.) ความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับขนาด (ของพลังงาน) ของแผ่นดินไหว ซึ่ง ณ.บริเวณรอบๆจุดกำเนิดในรัศมีหนึ่งจะทำให้แผ่นดินขยับตัวในลักษณะขึ้นลงมาก การพังทะลายของอาคารบ้านเรือนจะเป็นผลของลักษณะที่เรียกกันว่าเสาระเบิด ดังภาพที่คุณเทาชมพูได้นำมาลงในความเห็นที่ 114  สำหรับพวกอาคารหลายๆชั้นก็จะพังในลักษณะทั้บซ้อนกันเป็นขนมชั้น และหากอยู่ในพื้นที่ราบที่เป็นแอ่งสะสมของโคลนตม อาคารก็อาจจะทรุดตัวจมลงไปในดิน     ในรัศมีที่ไกลออกไปความรุนแรง (Intensity _ frequency & amplitude) จะลดลงอย่างค่อนข้างจะรวดเร็ว กล่าวคือ ความถี่ของช่วงระหว่างยอดคลื่นจะขยายห่างมากขึ้น พร้อมๆไปกับความสูงของยอดคลื่นจะลดลง การพังทะลายของอาคารบ้านเรือนก็จะเกิดขึ้นน้อย อาจจะมีการร้าวบ้างเป็นธรรมดา

แบบ Low frequency ที่มีอำนาจการทำลายสูงนั้น (คลื่นที่มีช่วงระหว่างยอดคลื่นยาว ความสูงของยอดคลื่นน้อย) คลื่นลักษณะนี้จะมาจากจุดกำเนิดแผ่นดินไหวที่อยู่ไกลหลายร้อย กม. หรืออยู่ลึกหลายสิบหรือเป็นร้อย กม. ด้วยลักษณะของคลื่น หากอยู่ในรัศมีที่คลื่นยังเคลื่อนตัวเร็ว การพังของอาคารบ้านเรือนจะเป็นไปในในลักษณะของการล้ม แต่หากอยู่ในพื้นที่ๆค่อนข้างจะไกลมาก อาคารบ้านเรือนก็จะมีอาการไหวแกว่งเท่านั้น

ตรงนี้ก็คงจะมีคำถามว่า แล้ว กทม.จะเป็นอย่างไร คำตอบที่ดูจะเหมาะสมที่สุด คือ กทม.อยู่ในพื้นที่ๆได้รับผลกระทบจากคลื่นแผ่นดินไหวทั้งสองแบบนี้ในระดับที่เรียกได้ว่าน้อยมาก มิได้ตอบว่าจะไม่เกิดความเสียหายใดๆนะครับ ประเด็นไปอยู่ที่การออกแบบ การคำนวนโครงสร้าง และมาตรฐานของการก่อสร้าง ไม่มีการลดเหล็ก ไม่มีการลดปูน ใช้เหล็กที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ ใช้ปูนตาม strength ที่กำหนด เสาเข็มได้ขนาดและวางอยู่บนชั้นดินทรายที่เหมาะสม (มิใช่เอาแต่ความลึก)
แล้วสุดท้าย ที่เผื่อเป็น safety factor นั้นไปอยู่ในกระเป๋าใครมากน้อยเพียงใด ที่น่าห่วงมากกว่านั้นมีอยู่เพียงอย่างเดียว คือ ผู้คำนวณและผู้ออกแบบมักจะไปตรวจสอบอย่างเข้มข้นเฉพาะอาคารใหญ่ๆทั้งหลาย อาคารบ้านเรือนของประชนชนคนปรกติทั้งหลายจะได้มาตรฐานหรือไม่มากน้อยเพียงใดจึงยังเป็นที่น่าสงสัย

แล้วก็คงจะมีคำถามตามมาอีกว่า แล้วในต่างจังหวัดล่ะ ผมคิดว่าขึ้นอยู่กับความสำนึกและความใส่ใจของผู้ออกแบบ ผู้คำนวณ ผู้อนุญาต และผู้ก่อสร้าง เนื่องจากภัยจากธรรมชาติในพื้นที่ต่างๆมีไม่เหมือนกัน ในระดับความรุนแรงและอันตรายต่างๆกัน
  
ตรงนี้แหละครับคือประเด็นที่จะบอกกล่าว ต่อไป

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 29 เม.ย. 12, 11:07

ดิฉันเอาข่าวต่างๆมาลง ก็เพื่อให้คุณตั้งช่วยเคลียร์  สำหรับคนที่เข้ามาอ่านในเว็บนี้จะได้รู้ว่าไม่มีอะไรอย่างที่กลัวกัน    จะได้ใจชื้นขึ้นว่า
ยังไงวันที่ 28 นี้ภูเก็ตก็ไม่จม   และธันวาคมปีนี้คุณประกอบก็ยืนยันนั่งยันว่าโลกไม่แตกแน่นอน 

ภูเก็ตไม่จมแน่แล้ว และอีก ๘ เดือนข้างหน้าโลกก็คงไม่แตก

หากจะมีมุขใหม่ ๆ มาให้คนขวัญอ่อนตกใจอยู่เสมอ

ไม่เชื่อคอยดู

 ยิงฟันยิ้ม

เชื่อ และได้ดูแล้ว
แผ่นดินลุกเป็นไฟไงคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 29 เม.ย. 12, 19:26

การพังของอาคารบ้านเรือนในไทยเนื่องมาจากแผ่นดินไหว คงจะเิกิดขึ้นใน 2 ลักษณะที่สำคัญ เหมือนกับที่พบในญี่ปุ่นเมื่อคราวเกิดที่นิงาตะ (ทางตะวันตกจองญี่ปุ่น) คือ ล้มมาด้านหน้าลงไปบนถนนหน้าบ้าน และพังลงมาเนื่องจากน้ำหนักของหลังคา   
ลักษณะการพังแบบแรก พบว่าเกิดจากลักษณะของอาคารลักษณะตึกแถวที่มีพื้นที่ด้านหน้าเปิด (เป็นหน้าร้านขายของ) ไม่มีการก่อผนังเหมือนด้านข้างอีกสามด้าน ลักษณะการพังแบบที่สองที่เกิดจากน้ำหนักของหลังคานั้น เกิดจากสภาพเหมือนกับเอาของหนักๆไปทูนไว้บนหัวแล้วถูกเตะตัดขาเบาๆ    เมื่อประกอบกับตัวบ้านที่มักจะมีที่จอดรถอยู่ในพื้นที่ของตัวบ้าน ซึ่งมีเสาบ้านอยู่เพียงหนึ่งเสาค้ำยันพื้นชั้นสองของบ้าน หากเสานี้หักก็จะล้มทั้งหลัง

ดังนั้น การลดความหายนะด้วยตัวเราเอง จะทำได้ก็ต่อเมื่อเราสามารถเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้างที่อ่อนไหวต่อการรับแรงจากแผ่นดินไหว เช่น แทนที่จะก่อผนังด้วยอิฐเบาก็ก่อด้วยอิฐมอญ หรือทำผนังด้านข้างด้วยการเทปูน การทำเสาด้านหน้าให้แข็งแรงกว่าปรกติ และการลดน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคา เป็นต้น แต่ตัวอย่างดังกล่าวมานี้ก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น และจะกระทำได้ก็เมื่อเป็นการสร้างด้วยงบของตนเอง    อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องพยายามควบคุมผู้รับเหมาให้ใช้เหล็กใช้ปูนตามมาตรฐานและตามที่วิศวกรกำหนด และไม่เปลี่ยนแปลงแบบการก่อสร้างไปจากแบบที่สถาปนิกออกแบบจนมากเกินไป ก็ยังพอจะช่วยได้มาก

ในอินโดนีเซียซึ่งเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องหนึ่ง คือ การทำโครงสร้างรูปตัว X ไขว้ไว้ที่ผนังแล้วจึงก่ออิฐถือปูน และบริเวณรอยต่อระหว่างเสากับผนังนั้น จะใช้เหล็กฝังในเสาหรือตะแกรงลวดเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของผนังมิให้แยกเป็นอิสระแก่กันกับเสา ของไทยเราก็มี ในภาคเหนือแต่ไบราณนั้น การเชื่อมต่อหัวเสากับคานจะเป็นลักษณะการสอดทะลุกัน และแม้ในกระทั่งปัจจุบันในยุคเริ่มการสร้างบ้านจัดสรร พวกวงกบประตูหน้าต่างซึ่งเป็นไม้ ก็จะมีการตอกตะปูเพื่อให้ยึดติดกับผนังปูนที่ก่ออยู่รอบๆ หรือต้องมีเอ็นมีทับหลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรง    ผมเห็นว่าแม้แต่โครงสร้างของโบสถ์ทั้งหลายของไทยในสมัยก่อนก็ทำกัน คือ เสาจะเอียงสอบเข้าหากัน ไม่ตั้งตรง ซึ่งจะรับน้ำหนักของหลังคาและการโยกไหวได้มากกว่าเสาแบบตั้งตรง   

ที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องของความเสียหายทางทรัพย์สิน
 
สำหรับความสูญเสียต่อชีวิตเราก็ทำให้มันลดลงได้ด้วยตัวเราเองเช่นกัน
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 29 เม.ย. 12, 20:50

สิ่งที่ทำให้คนกรุงเทพขวัญผวากับแผ่นดินไหว น่าจะมาจากสาเหตุหนึ่งคือเราอยู่ในคอนโด อพาตเม้นท์สูงหลายชั้นกันมาก   ตั้งแต่สี่ห้าชั้นไปจนสามสิบกว่าชั้น      ถ้าพังแม้ไม่พังทั้งหมด  ก็เรียกได้ว่าไม่มีทางหนีเลย    และไม่มีใครตอบได้ว่าอาคารคอนโดเหล่านั้นต้านแรงแผ่นดินไหวได้มากน้อยแค่ไหน
เมื่อเกิดซึนามิคราวก่อน   ลูกสาวอยู่ในห้องพักสูงสามสิบกว่าชั้นพอดี  เล่าว่ากระเทือนจนรูปภาพและนาฬิกาผนังแกว่งไปมาเห็นชัด   ผู้คนรู้ว่าไม่ควรลงลิฟต์  ก็วิ่งกันโครมครามลงบันไดหนีไฟ  ขาลงมีแรงวิ่งลงกันได้  ขาขึ้นขึ้นกันไม่ไหว  กว่าจะหิ้วปีกกันขึ้นมาได้ก็อีกนานหลายชั่วโมง     เคราะห์ดีที่มันไหวอยู่ครั้งเดียว
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 29 เม.ย. 12, 23:37

มีกฎควบคุมอาคารของกระทรวงหมาดไทยที่ออกเดือน ธ.ค. ๒๕๕๐ กำหนดให้ตึกในเขตกรุงเทพและปริมณฑลที่สูงตั้งแต่ ๑๕ เมตรขึ้นไปต้องออกแบบให้รับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้ครับ

แต่รับได้แค่ไหนนั้น มีวิธีการคำนวณระบุไว้เรียบร้อย แต่ผมอ่านไม่เข้าใจครับ คงต้องให้วิศวกรโครงสร้างมาเล่าให้ฟัง

โดยอาคารที่เข้าข่ายนี้ก็คืออาคารที่ "ได้รับอนุญาต" หลังเดือน ธ.ค. ๒๕๕๐ เป็นต้นมาครับ

ส่วนอาคารที่ได้รับอนุญาตก่อนหน้านั้น จะถูกกำหนดโดยเรื่องการออกแบบให้ต้านแรงลมได้ตามที่กฎหมายกำหนด ตามที่ผมเข้าใจ ในบางกรณี (น่าจะขึ้นกับรูปทรงอาคาร) แรงลมอาจมีผลมากกว่าแรงแผ่นดินไหวตามกฎกระทรวง ๒๕๕๐ ครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 30 เม.ย. 12, 10:34

ู^
ถูกต้องแล้วครับ อาคารสูงมีเรื่องการคำนวณเกี่ยวกับแรงลมด้วย ซึ่งวิศวกรเชื่อมาตั้งแต่ครั้งแผ่นดินไหวในปี 2526 ว่าความแข็งแรงที่คำนวณเพื่อรับแรงลมนี้ สามารถรับแรงจากแผ่นดินไหวได้ แต่ภายหลังคงจะมีการศึกษากันมากขึ้นจนคิดว่าอาจจะไม่พอเลยต้องออกกฎเกณฑ์ใหม่ กว่าจะทำและเห็นตรงกันได้ก็ 25 ปีต่อมา

เมื่อครั้งเกิดแผ่นดินไหวที่โกเบปี พ.ศ. 2538 หรือที่เรียกว่า The great Hanshin earthquake นั้น ญี่ปุ่นเพิ่งจะรื้อวิธีการคำนวณสำหรับสิ่งก่อสร้างต่างๆกรณีเิกิดแผ่นดินไหว (จำได้ว่าขนาด เจ๋ง เริ่มบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2528  สำหรับอาคารที่สร้างก่อนหน้านั้นที่ไม่มีการปรับปรุงความแข็งแรงเกิดความเสียหายมากมาย สำหรับสิ่งก่อสร้างหลังจากการบังคับใช้การคำนวนแบบใหม่ก็ยังได้รับความเสียหายพอสมควร เช่น กรณีทางด่วนล้มตะแคง
ญี่ปุ่นได้เิริ่มบังคับใช้วิธีการคำนวนสำหรับสิ่งก่อสร้างทั้งหลายครั้งแรกๆหลังจากเกิดแผ่นดินไหว The great Kanto earthquake เมื่อ พ.ศ.2466 ซึ่งมีขนาดประมาณ 7.9 โดยศึกษาจากกรณีที่โรงแรม Imperial ที่ออกแบบโดย Frank Lloyd Wright ซึ่งยังคงทนอยู่ได้ในขณะที่อาคารอื่นๆพังทลายจนเกือบหมดสิ้น วิธีการคำนวณนี้ใช้มาระยะหนึ่งจึงมีการปรับปรุง และมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์หลักในการคำนวณอีกสองสามครั้งก่อนที่จะเกิดที่โกเบ ในปัจจุบันนี้ก็เปลี่ยนไปอีกแล้ว

ต่อมาในปี ค.ศ.2000 ที่อังกฤษ เมื่อมีการเปิดสะพานคนเดิน Millennium bridge ข้ามแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอน ปรากฎเหตุการณ์สะพานแกว่งไหวอย่างคาดไม่ถึง จนต้องมีการแก้ไข เนื่องจากไม่ได้มีการคำนวณในบางเรื่อง (การแกว่งไกวด้านข้าง) ผลจากเหตุการณ์นี้ ทำให้มีการปรับปรุงสะพานและโครงสร้างที่เป็นเหล็กไปทั่วโลก สำหรับญี่ปุ่นเอง ได้เร่งเสริมบรรดาคอสะพานต่างๆทั่วประเทศเพื่อมิให้คานของสะพานขยับตกลงมา ใช้โซ่ก็มี ใช้แป้นเหล็กกันก็มี ฯลฯ ผมไม่ทราบว่าในไทยมีการทำอะไรกันบ้างหรือเปล่า ดูสะพานคนเิดินข้ามถนนตามถนนต่างๆก็ยังเห็นเป็นคานเิทินอยู่บนหัวเสา

ที่เล่ามายืดยาวนี้ก็เพียงเพื่อจะบอกว่า แผ่นดินไหวเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใครออกใคร เป็นเรื่องที่ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการก่อสร้างทั้งหลายจะต้องตื่นตัว มิใช่เพียงแต่จะบังคับใช้กับสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ แต่จะต้องไม่ปล่อยปะละเลยกับสิ่งก่อสร้างเก่าๆ ต้องเข้าไปดู ไปสั่งการ ไปเสริมแต่ง ไปเตือนเจ้าของให้ต้องทำอะไรเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงที่เหมาะสม เช่น โดยพิจารณาจากจำนวนผู้อยู่อาศัย ความเป็นพื้นที่สาธารณะ ค่าใช้จ่าย ระบบการบรรเทาความหายนะ อายุของสิ่งก่อสร้าง เหล่านี้เป็นต้น

กฏเกณฑ์บางอย่างที่เมืองในต่างประเทศเขาบังคับใช้มีอาทิ การต้องทาสีทุกๆ 5 ปี ต้องมีการตรวจสอบอาคารทุกๆระยะกี่ปี สำหรับอาคารที่ทำการ อาคารชุดที่อยู่อาศัย อาคารที่มีการใช้โดยประชาชน หากเกินอายุแล้วต้องทุบทิ้งสร้างใหม่ตามมาตรฐานใหม่ เหล่านี้เป็นต้น

ผมก็อยากจะรู้ว่ากรณ๊ที่ภูเก็ตนั้น วิศวกรได้เข้าไปแนะนำอะไรให้กับชาวบ้านบ้าง การร้าวของผนังบ้่านนั้น หากเกิดจากแรง Shear ก็อาจจะบ่งบอกถึงโครงสร้างที่เข้าสู่ภาวะอันตรายแล้วก็ได้ ต่างจากการร้าวตามปกติซึ่งไม่มีอันตราย    และสำหรับกฎเรื่องการคำนวณแผ่นดินไหวสำหรับอาคารเกิน 15 เมตรนั้น จะบังคับใช้เฉพาะ กทม.และปริมณฑลเท่านั้นหรือ   ผมเห็นว่าจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือ ภาตะวันตก และภาคกลางด้านตะวันตก เหล่านี้ดูจะมีโอกาสได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว (vulnerable) มากกว่าพื้นที่ของ กทม. มากนัก 


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.463 วินาที กับ 20 คำสั่ง