เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 155503 แผ่นดินไหวและซึนามิ
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 19 เม.ย. 12, 22:26

ถ้าจำไม่ผิด เคยอ่านที่ไหนซักที่นานมาแล้ว มากกว่า 10 ปีขึ้นไป  ตึกสูงส่วนในบ้านเราจะออกแบบเผื่อพวกแผ่นดินไหวไว้แล้ว แต่เผื่อไว้ระดับไหน ขนาดไหนยังไม่รู้เหมือนกัน เลาๆ ว่าระดับ 7 หรือ 7.5   ต้องรอวิศวกรโยธาในเรือนไทยมาไขข้อข้องใจว่ากฏหมายไทย ให้ออกแบบเผื่อไว้เท่าไหร่ หรือไม่ได้บังคับไว้ แล้วตามหลักสากล เค้าเผื่อกันไว้ที่เท่าไหร่  เคยไปดูการทดสอบในงานจุฬาวิชาการ  แสดงให้เห็นว่าตึกยิ่งสูง ไหวมากยิ่งสั่นน้อย แต่พอไหวน้อยดันสั่นมาก   
ถ้าแผ่นดินไหวส่งผลกระเทือน กทม หนักมากจริงๆ นี่น่ากลัวกว่าอาจจะเป็นตึกไม่สูง หรือตึกแถว 2-3 ชั้น ที่ไม่ได้มีการออกแบบเผื่อไว้ พวกนี้น่าจะเสี่ยงต่อการถล่มมากกว่าตึก 20 - 30 ชั้น  ตอนนี้กระแสหายนะภัยแรง ต่อไปคอนโดใหม่ๆ อาจจะชูจุดขายใหม่ เช่นคอนโดนี้ แม้วิวไม่สวย เข้าซอยเปลี่ยว ห่างรถไฟฟ้า  แต่ทนแรงแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ ที่ศูนย์กลางระดับความลึก 100 เมตร ใต้ฐานคอนโดพอดีได้สบายมาก  มหาชนอาจจะแห่ไปจองก็ได้  ปัญหาและผลกระทบคือคือ ลูกค้าอาจจะต้องจ่ายแพงเกินจำเป็นไปอย่างมาก สำหรับโครงสร้างที่อาจจะไม่จำเป็นต้องให้แข็งแกร่งทนทานระดับนั้นก็ได้

เมื่อปี 2527 อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ท่านหนึ่งบอกว่า อาคารสูงในไทยได้มีการคำนวณในเรื่องของการรับแรงลมไว้แล้ว ซึ่งมีความแข็งแรงเพียงพอในการรับการไหวของแผ่นดินไหวที่เข้ามาถึง กทม. (เหตุการณ์เมื่อปี 2526)   ก็ต้องเชื่อเขา และอาจารย์ท่านนั้นก็ขอทำโครงการสำรวจตึกสูงต่างๆด้วยเครื่อง Accelerometer (เครื่องมือวัดอัตราเร่งของการเคลื่อนไหวของวัตถุจากการไหวคลอนต่างๆ) เพื่อจะได้ใช้เป็นมาตรฐานกำหนดในการคำนวณโครงสร้างของอาคารต่อไป ซึ่งผมไม่ทราบว่าได้ข้อมูลและได้ใช้ประโยชน์มากน้อยเพียงใดในเวลาต่อมา เราเคยคุยกันว่าหากต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้ต้องมีการออกแบบโครงสร้างที่กันแผ่นดินไหวได้ใดๆก็ตาม จะเกิดผลกระทบอย่างมากมายในเชิงเศรษฐกิจสำหรับอาคารเก่าต่างๆและอาคารใหม่ที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่จะได้มีการแทรกหรือซ่อนการคำนวณ Safety factor ไว้ตรงใหนในเวลาต่อมาบ้างผมก็ไม่ทราบ
ในความเห็นและความรู้ของผมนั้น อาคารที่ออกแบบให้มีการป้องกันแผ่นดินไหวนั้น จะสังเกตเห็น เช่น มีผนังเต็มสูงตลอดแนวที่ส่วนด้านหนึ่งด้านใดของอาคาร  หรือสำหรับอาคารสูงที่มีผู้คนอาศัยหรือทำงานอยู่มากจะมีการออกแบบให้แยกเป็นสองอาคารเป็นรูปตัวแอล (L) คลื่นแผ่นดินไหวมักจะไม่ทำให้เสียหายทั้งสองอาคารพร้อมกัน จะมีเพียงอาคารเดียวที่ได้รับวามเสียหายมาก     จะต้องออกแบบให้มีพื้นที่ๆทนทานต่อความพินาศและความเสียหายน้อยที่สุด เพื่อและให้เป็นจุดที่สามารถจะยังคงใช้หรือสามารถเข้าถึงเพื่อแก้ไขได้ เพื่อสงวนชีวิตและการติดต่อกับภายนอก ซึ่งก็คือ ระบบ Life line (ไฟฟ้า ประปา ระบบการสื่อสาร ฯลฯ) เป็นต้น
ผมก็ยังไม่เคยเห็นเด่นชัดนะครับ แต่อาจจะเป็นเพราะเป็นความสามารถในการออกแบบและการแทรกซ่อนไว้ได้อย่างกลมกลืนก็ได้

ไม่ทราบว่าวิศวกรและโยธาฯหายไปใหนหมด ไม่เห็นมาออกข่าวกันบ้างเลย คนรู้มากบ้างน้อยบ้างยังออกมาระดมวิเคราะห์กันขรมแล้ว     
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 06:48

20 เมษายน 2555 06:09 น.   


 
       เว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยาระบุในรายงานแผ่นดินไหวว่าเมื่อเวลาประมาณ 2.43 น. ได้เกิดแผ่นดินไหวระดับ 3.2 โดยมีศูนย์กลาง อ.ถลาง จ.ภูเก็ต อย่างไรก็ตามไม่มีรายงานถึงความเสียหายใดๆ
       
        เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่ถึงสัปดาห์ หลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 เขย่า อ.ถลาง จนก่อความตื่นตระหนกแก่ชาวบ้าน และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็เกิดแผ่นดินไหวไม่รุนแรงในอำเภอแห่งนี้ตามมาอีกหลายสิบครั้งตั้งแต่ระดับ 2.0 ถึง 3.1 และคราวนี้นับว่ามีระดับความรุนแรงมากที่สุด


ทำไมมันซ้ำๆแทบทุกวัน ? ? ?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 09:03

อาฟเตอร์ช็อคหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 18:38

วันนี้ตอนบ่าย  15.10 น.มีข่าวแผ่นดินไหวที่ถลาง อีกแล้วค่ะ

http://www.pantip.com/cafe/news/topic/NE11985359/NE11985359.html


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 19:47

       วันนี้ (20 เม.ย.) นายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการดำเนินการกับกลุ่มบุคคลที่โพสต์ข้อความ และทำใบปลิวเตือนเกาะภูเก็ตจมในวันที่ 28 เม.ย. นี้ ว่า อยากให้ประชาชนเชื่อมั่นในราชการ อย่าเชื่อข่าวลือที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ เพราะข่าวลือก็คือข่าวลือ ซึ่งเรื่องของข่าวลือนั้น ตนขอเอาตำแหน่งเป็นประกัน ถ้าหากเกิดเหตุเกาะภูเก็ตจม ตนพร้อมที่จะลาออกจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตทันที
       ส่วนการดำเนินการกับคนที่โพสต์ข้อความ และแจกใบปลิวจนทำให้ประชาชนตื่นตระหนก และสร้างความเสียหายให้แก่จังหวัดภูเก็ตนั้น ขณะนี้ได้มอบหมายให้ทางฝ่ายปกครองจังหวัดภูเก็ตเข้าแจ้งความต่อทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อดำเนินการทางอาญากับผู้กระทำการดังกล่าวแล้ว
       ซึ่งทางผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ตเองก็จะเร่งดำเนินการตรวจสอบ และหาตัวคนทำอย่างเร่งด่วน เพราะฉะนั้น คนที่ดำเนินการเรื่องนี้ควรจะหยุดพฤติกรรมดังกล่าวเพราะสร้างความเสียหายให้แก่จังหวัดภูเก็ตเป็นอย่างมาก
       ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ยังได้กล่าวต่อไปถึงการช่วยเหลือประชาชนที่บ้านเรือนได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว และการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน ว่า ในเรื่องของเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้น ได้สั่งการให้มีการตั้งศูนย์เฝ้าระวังเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นในทุกท้องถิ่นแล้ว ชาวบ้านสามารถแจ้งเหตุการณ์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนการช่วยเหลือประชาชนนั้น จะเร่งดำเนินการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือให้เสร็จโดยเร็วที่สุด
       ส่วนเรื่องของการให้ความรู้แก่ประชาชน จะเร่งจัดทำคู่มือการเตรียมความพร้อมในการรับมือเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งเหตุแผ่นดินไหวนั้นถือเป็นเรื่องใหม่ของจังหวัดภูเก็ต เพราะก่อนหน้านี้เคยมีเฉพาะเรื่องของสึนามิถล่มเท่านั้น และในเร็วๆ นี้ ทางผู้ประกอบการจะเชิญผู้เชี่ยวชาญเรื่องแผ่นดินไหวจากประเทศญี่ปุ่นมาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ และผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ด้วย เพื่อให้มีความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และสามารถนำไปถ่ายทอดให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้
       อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา 11.00 น. วันนี้ (20 เม.ย.) นายวิโรจน์ สุวรรณวงศ์ ป้องกันจังหวัดภูเก็ต นำหนังสือมอบอำนาจจากนายตรี อัครเดชา ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เข้าแจ้งความต่อ ร.ต.อ. เฉลียว ท้ายฮู้ ร้อยเวรสถานีตำรวจภูธรเมืองภูเก็ต เพื่อดำเนินคดีกับบุคคลที่โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก เรื่องเกาะภูเก็ตจมให้อพยพออกจากเกาะภูเก็ตภายในวันที่ 28 เม.ย. หรือบุคคลอื่นใดที่ให้ข่าวเผยแพร่ในลักษณะทำนองเดียวกัน ซึ่งมีผลให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตตื่นตระหนกตกใจกลัว สำหรับการแจ้งความในครั้งนี้ ขอให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบหาตัวคนที่โพสต์ข้อความดังกล่าวด้วย
       ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เป็นการกระทำความผิดตามมาตร 384 ผู้ใดแกล้งบอกเล่าความเท็จให้เลื่องลือจนเป็นเหตุให้ประชาชนตื่นตระหนก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
        ***********************
       ดีค่ะ จะได้หยุดลือกันเสียที
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 20 เม.ย. 12, 22:07

ข่าวอย่างนี้ถึงจะน่าเอาลง
เครดิตพันทิปค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 21 เม.ย. 12, 20:07

ไปเจอข่าวนี้เข้า ระบุชื่อนักวิชาการที่ให้ข่าวด้วยค่ะ   ไม่ได้อ้างลอยๆ  ก็เลยลอกเอามาให้อ่านกัน

มหันตภัยใต้สมุทร ภูเขาไฟใกล้ระนอง
 แม้เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.6 ริกเตอร์ บริเวณนอกชายฝั่งทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 11 เมษายน ที่ผ่านมา จะไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยซ้ำรอยเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปี 2547 แต่คนไทยทั้งประเทศคงไม่สามารถวางใจได้ หลังผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวระบุว่า แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดอาจไปกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่บริเวณหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ ซึ่งตั้งอยู่กลางทะเลอันดามัน ห่างจาก จ.ระนอง เพียง 200 กิโลเมตร ซึ่งหากเกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงมากกว่า 7.9 ริกเตอร์ บริเวณนี้ อาจทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิขนาดใหญ่พัดถล่มจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย สร้างความเสียหายร้ายแรงกว่าปี 2547 เสียอีก
          รศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล หัวหน้าหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 เมษายน มีความรุนแรงระดับ 8.8 ริกเตอร์ และซ้ำด้วย 8.9 ริกเตอร์ ในเวลาไล่เลี่ยกัน หลังจากนั้นยังมีอาฟเตอร์ช็อกระดับความรุนแรงขนาดมากกว่า 5 ริกเตอร์ ตามมาอีก 26 ครั้ง ในจุด เดียวกัน และเป็นที่น่าสังเกตว่า นับตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.2 ริกเตอร์ ทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรา เมื่อปี 2547 ได้เกิดแผ่นดินไหวลามขึ้นมาทางตอนเหนือมากขึ้นเรื่อยๆ โดยพื้นที่การไหวเป็นแนวซิกแซ็ก ระดับความลึกอยู่ในชั้นเมนทอล ลึกลงไปใต้ระดับพื้นดินประมาณ 22 กิโลเมตร ซึ่งต่ำกว่าชั้นเปลือกโลก
          "ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา เกิดแผ่นดินไหวซ้ำลามทั่วบริเวณบันดาอาเจะห์ จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า บริเวณนี้แผ่นดินไหวใหญ่แต่ละครั้งจะมีวงรอบห่างกัน 200-600 ปี แต่ระยะหลังเกิดแผ่นดินไหวบริเวณนี้ซ้ำหลายครั้งในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี แผ่นดินไหวครั้งล่าสุดลึกกว่าเมื่อปี 2547 ซึ่งอยู่ในระดับเปลือกโลก น่าติดตามว่า แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นครั้งนี้อาจกระตุ้นให้เกิดซ้ำอย่างรุนแรงได้อีก โดยจุดความเสี่ยงแผ่นดินไหวน่าจะอยู่ในแถบหมู่เกาะนิโคบาร์ ซึ่งเยื้องกับ จ.ระนอง ของประเทศไทย" รศ.ดร.ธนวัฒน์ วิเคราะห์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 21 เม.ย. 12, 20:09

      รศ.ดร.ธนวัฒน์ ขยายความว่า บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์รวมถึงหมู่เกาะอันดามัน ตั้งอยู่กลางทะเลอันดามันต่อเนื่องมาจากตอนเหนือของเกาะสุมาตรา อยู่ในความปกครองของอินเดีย และอยู่ในแนวรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลก ห่างจาก จ.ระนอง เพียง 200 กิโลเมตร แผ่นดินไหวใหญ่ครั้งที่ผ่านมาอาจไปกระตุ้นให้แผ่นเปลือกโลกบริเวณนี้เกิดการขยับตัวเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ได้ อีกทั้งบริเวณนี้ยังเป็นที่ตั้งของภูเขาไฟใต้ทะเลบาร์เรน (Barren) ซึ่งยังคุกรุ่นอยู่ ภูเขาไฟอาจปะทุทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้เช่นกัน และหากแผ่นดินไหวทำให้เกิดแผ่นดินถล่มใต้ทะเลก็จะทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มชายฝั่ง ซึ่งจะพัดถล่มจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยแถบ จ.ระนอง จ.พังงา ได้ภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที ซึ่งความรุนแรงจะมากกว่าปี 2547 มาก
          ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับ ดร.ภาสกร ปนานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว จากภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ระบุว่า แผ่นดินไหวครั้งใหญ่จะทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ มีการสะสมหรือปลดปล่อยพลังงาน ซึ่งจะเลื่อนขึ้นไปตามแนวรอยเลื่อน ขณะที่น่าจับตาคือบริเวณหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ เพราะเป็นแนวที่ติดกับบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งล่าสุด อาจเกิดการกระตุ้นให้เปลือกโลกบริเวณนี้ขยับตัวจนเกิดแผ่นดินไหว หากเป็นการไหวในแนวดิ่งไม่ว่าเลื่อนขึ้นหรือเลื่อนลงอาจทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดถล่มพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ไล่ตั้งแต่ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ อย่างรุนแรง และในเวลาอันรวดเร็ว เพราะจุดดังกล่าวอยู่ใกล้กับจังหวัดเหล่านี้มากกว่าทางตอนเหนือของเกาะสุมาตรามาก
         ดร.ภาสกร บอกด้วยว่า นอกจากภูเขาไฟใต้ทะเลบริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์แล้ว ไล่ลงมาทางตอนล่างไม่มากนัก บริเวณแถบไหล่ทวีปมะริด หรือที่เรียกกันว่า สะดือทะเล ห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางประเทศอินเดียประมาณ 200 กิโลเมตร ยังพบมีแนวโคลนร้อน หรือมัดโวคาโน ซึ่งถูกค้นพบเมื่อปี 2549 โดยคณะนักวิจัยชาวไทยคือ รศ.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ในขณะนั้นเชื่อว่าเป็นภูเขาไฟใต้น้ำจำนวน 4 ลูก มีฐานกว้างประมาณ 500 เมตร สูง 60-70 เมตร ก่อนจะได้รับการยืนยันว่าเป็นเพียงแนวโคลนร้อน ซึ่งในบริเวณนี้ก็ต้องศึกษาเช่นกันว่าจะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งที่ผ่านมา จนนำมาสู่การสะสมพลังงานหรือปล่อยพลังงานออกมาจนอาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้หรือไม่


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 21 เม.ย. 12, 20:12

 "นอกจากแนวรอยเลื่อน ภูเขาไฟและแนวโคลนร้อนในทะเลอันดามันแล้ว บนฝั่งของภาคใต้แถบ จ.ระนอง กระบี่ พังงา ภูเก็ต และตรัง ยังมีรอยเลื่อนที่ยังคงมีพลังงาน ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ก็เพิ่งเคยเกิดแผ่นดินไหวทั้งที่ จ.ตรัง และที่ จ.พังงา แต่ขนาดไม่ใหญ่มากประมาณ 3 ริกเตอร์ ซึ่งเท่าที่มีข้อมูลบริเวณนี้สามารถเกิดแผ่นดินไหวในระดับรุนแรงได้ไม่เกิน 7 ริกเตอร์     โดยระดับ 5 ริกเตอร์ถือเป็นเรื่องธรรมดา ที่พร้อมจะเกิดขึ้นได้ หากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในแหล่งชุมชนสามารถสร้างความเสียหายได้มากเช่นกัน" ดร.ภาสกร ขยายความ
  ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2547 มีความผิดปกติเกิดขึ้นในจังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในปี 2553 และ 2554 ทั้งเหตุการณ์แผ่นดินไหวใน จ.ตรัง และ จ.พังงา ที่สร้างความแตกตื่นเป็นพิเศษคือในเดือนพฤษภาคม 2554 เกิดดินแยกและมีโคลนร้อนปะทุขึ้นมาจากใต้ดินเป็นระยะทางยาวกว่า 100 เมตร ในสวนปาล์มของนายอุทิศ ชูมี ภายในหมู่บ้านตะเคียนงาน หมู่ 3 ต.บางหิน อ.กะเปอร์ จ.ระนอง
        เหตุการณ์ลักษณะนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนเมื่อปี 2548 ที่บริเวณปากคลองช้างแหก อ่าวแหลมสน หมู่ 8 ต.ราชกรูด อ.เมือง จ.ระนอง โดยครั้งนั้นชาวบ้านในพื้นที่พบเห็นฟองผุดขึ้นมาจากท้องทะเลเหมือนน้ำเดือดเป็นแนวยาวกว่า 1 กิโลเมตร เมื่อตรวจสอบอย่างละเอียดพบใต้ทะเล ซึ่งมีความลึกประมาณ 7 เมตร มีรอยแยกของพื้นดินกว้างประมาณ 3 นิ้ว ยาวนับกิโลเมตร
 ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นสร้างความแตกตื่นให้แก่ประชาชนใน จ.ระนอง และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีหน่วยงานใดยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า ปรากฏการณ์แผ่นดินแยก และโคลนร้อนที่ปะทุขึ้นจากพื้นดินเกิดจากสาเหตุอะไร

http://www.oknation.net/blog/Sp-Report/2012/04/21/entry-3


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 21 เม.ย. 12, 21:40

ทำไมมันซ้ำๆแทบทุกวัน ? ? ?
อาฟเตอร์ช็อคหรือเปล่าคะ

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นนั้น จำแนกออกเป็น 3 ระยะ คือ Fore shock, Main shock และ After shock
ลักษณะของ fore shock คือ เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ในพื้นที่โครงสร้างทางธรณ๊วิทยาบริเวณเดียวกัน (มิใช่ในตำแหน่งเดียวกัน) ขนาดอาจะประมาณเท่ากับที่เคยเกิดขึ้นมาในครั้งก่อนๆ แต่ส่วนมากมักจะมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมไม่มากนัก
จากนั้นจึงเกิด main shock คือแรงที่สุด (ปล่อยพลังงานออกมาสูงสุด)
เมื่อเกิดขนาดใหญ่แล้ว ก็มักจะมี after shock ตามมาในขนาดที่เล็กกว่าและค่อยๆลดขนาดลง แต่บางครั้ง after shock ก็จะมีขนาดใกล้เคียงกับ main shock

นักวิชาการแผ่นดินไหวจริงๆนั้น เขาจะเอาแผ่นดินไหวที่เกิดในพื้นที่โครงสร้างทางธรณีวิทยาเดียวกันมาพิจารณาดูความสัมพันธ์ระหว่างคาบเวลาและขนาดที่มันเกิดขึ้น (เอามา plot นั่นแหละครับ แกนตั้งเป็นขนาด แกนนอนเป็นเวลาปฏิทิน) โดยหลักการก็คือ เหตุการณ์ตามธรรมชาตินั้นจะมีลักษณะเป็นรูปทรงระฆังคว่ำ (bell shape) เพียงแต่จะเป็นทรงระฆังกว้างจนเหมือนกระทะคว่ำ หรือจะแคบจนเป็นทรงแก้วแชมเปญคว่ำ (flute glass)    แต่ก็มิใช่เสมอไปนะครับ มันก็มีแบบที่เกิดแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยแล้วตามมาด้วย after shock หรือ ค่อยๆเกิดถี่ขึ้นจนแรงมากแล้วก็หยุดไปเลย คือมีแต่ fore shock เท่านั้น หรือไม่มีทั้ง fore shock และ after shock  พวกไม่ปรกตินี้มีน้อย และมักเกิดในพื้นที่ที่ไม่มีโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่สำคัญ เช่น กลางประเทศอินเดีย กลางประเทศแคนาดา เป็นต้น

สำหรับแผ่นดินไหวขนาดเล็กๆ (มักจะต่ำกว่าขนาด 4 หรือไม่เกิน 5 ) ซึ่งเกิดบ่อยๆเกิดเป็นประจำในพื้นที่เดิมๆ เรียกว่าบ่อยจนเคยชินว่า เอาอีกแล้ว เช่นนี้  ลักษณะการเกิดแบบนี้เรียกกันว่า Earthquake swamp ซึ่งมีเกิดขึ้นในพื้นที่บางแห่ง และก็มักจะมีตามหลังการแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ภายหลังจากที่หมดระยะ after shock ไปแล้ว ง่ายๆก็คือเหมือนกับการต้มน้ำจนเดือดแล้วดับไฟเตา น้ำก็จะยังเดือดไปอีกสักครู่ แม้ผิวหน้าของน้ำในกาน้ำจะไม้เืดือดปุดๆแล้ว แต่ก็ยังมีฟองอากาศลอยปุดๆให้เห็น จะเห็นว่าฟองอากาศที่มันปุดออกมานั้นมีมากมายจนนับไม่ถ้วน ฉันใดก็ฉันนั้น แผ่นดินไหวก็เหมือนกัน การจะแบ่งเขตระหว่างที่จะเรียกว่า after shock กับ swamp นั้นก็อาจจะเป็นเรื่องยากเล็กน้อย ปรกติ after shock จะมีนัยหมายถึงพลังจากแผ่นดินไหวยังอยู่ในระดับที่จะสร้างความเสียหายซ้ำเติมได้ และ swamp จะมีนัยหมายถึงมันยังเกิดอยู่แต่จัดได้ว่าอยู่ในระยะที่มีความปลอดภัยแล้ว

คงจะเป็นคำตอบนะครับ



     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 21 เม.ย. 12, 21:44

เรื่องแผ่นดินไหวครั้งนี้มัจะบอกอะไรและมันจะพาลไปถึงใหนนั้น ขอผลัดเป็นพรุ่งนี้ครับ
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 22 เม.ย. 12, 02:03

ท่าน อ ตั้ง ทิ้งท้ายไว้ชวนติดตามมาก  ตอนนี้มานั่งตาแป๋วรอ lecture แล้วครับ  ขยิบตา
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 22 เม.ย. 12, 13:08

ทางการประกาศให้ถลางเป็นแหล่งภัยพิบัติฉุกเฉินแล้วค่ะ  
มีข่าวออกว่านักธรณีวิทยา เตือนให้ระวังรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยและรอยเลื่อนระนอง
แถมยังมีข่าวกรุงเทพมหานครแถลงแผนเตรียมป้องกันภัยพิบัติอีกด้วย
แผ่นดินไหว ไม่ใช่เรื่องไกลตัวแล้วหรือนี่

วิธีปฏิบัติเมื่อประสบเหตุการณ์แผ่นดินไหวสไตล์ญี่ปุ่น

http://lazysheep.exteen.com/




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 22 เม.ย. 12, 13:11

.





บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 22 เม.ย. 12, 13:16

.


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง