เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 155631 แผ่นดินไหวและซึนามิ
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 22:18

ตอนนี้ก็คงกำลังสนุกที่จะบอกกล่าวเล่าเรื่อง ถามมาตอบไป ลืมนึกถึงผลกระทบในเชิงของความตกใจและ panic บางครั้งให้ข้อมูลหมดแต่ข่าวเอาไปลงไม่หมด ต้ดตอนเอาแต่ที่จะจั่วหัวและเอามันเข้าว่า

แทนที่จะไปถามต่อกับวิศวกรรมสถานว่า อาคารบ้านเรือนสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่กรมโยธาฯ ฝ่ายโยธาฯ ต่างๆออกแบบบ้าง อนุญาตให้สร้างบ้างเหล่านั้น เป็นไปตาม building code แล้วทนแรงกระทำจากแผ่นดินไหวในระดับที่เกิดมาแล้วได้มากน้อยเพียงใด และจะทนกับระดับสูงสุดได้เท่าได เพื่อลดการ panic

คำตอบที่จะได้รับ เดาได้เลยว่า  ทนได้แน่นอน แต่หากแรงจริงๆก็อาจมีร้าวและพังบ้าง ความผิดจะไปอยู่ที่ผู้รับเหมาทำผิดสเป็กและใช้ของไม่ได้มาตรฐาน

ผมทราบจาการทำงาน จากการประชุมสมัยเริ่มก่อตั้งคณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ เมื่อหลังเหตุการแผ่นดินไหวที่รู้สึกได้ที่ กทม.เมื่อปี 2526 ว่าสิ่งปลูกสร้างสูงทั้งหลายนั้น วิศวกรได้คำนวนการทนต่อแรงลมซึ่ง safe มากพอที่จะรองรับแรงจากแผ่นดินไหวในครั้งที่ได้รับรู้ใน กทม. เมื่อปี 2526
 
วิธีการจัดการกับพิบัติภัยจากธรรมชาตินั้น คือเรื่องของกระบวนการลดระดับความรุนแรงของความเสียหายล่วงหน้าหากเิกิดเหตุขึ้นมา (Mitigation) ซึ่งน่าเสียดายที่ฝ่ายบ้านเมืองเข้าใจในเรื่องนี้น้อยมาก จึงมุ่งเน้นไปในเรื่องของการกู้ภัยเสียมากกว่า (Salvation)

ออกข่าวแล้วยังไงต่อ ฮืม ให้เขา panic กันเล่นๆกระนั้นหรือ ฮืม แผ่นดินไหวขนาด 3-4 กว่าๆนี้ เกือบจะไม่สร้างความเสียหายใดๆเลย
 

 

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 17 เม.ย. 12, 22:46

สงสัยว่าจะต้องขอแปะฮวยอิ๊วด้วยคนครับ

ฟังหูไ้ว้ไ้ว้หูก่อนนะครับ

ผมยังเชื่อข้อมูลของ USGS อยู่นะครับ เนื่องจากเป็นข้อมูลจากระบบโครงข่ายมาตรฐานที่มีอยู่หลายสถานีทั่วโลกที่นำมา plot หาจุดกำเนิด รอให้เขา refine อีกสักหน่อยครับ

สังเกตใหมครับ คนที่บอกยืนยันว่าจุดกำเนิดแผ่นดินไหวอยู่ที่ภูเก็ตเป็นอธิบดี (ไม่ใช่นักธรณีฯ) สำหรับนายเลิศสิน (นักธรณีฯ) ไม่กล่าวถึงชื่อภูเก็ตใดๆเลย แต่กล่าวถึงแขนงของรอยเลื่อนซึ่งอยู่ในทะเลฝั่งอ่าวพังงาครับ

 
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 18 เม.ย. 12, 10:37

เพิ่งกลับจากไปท่องเที่ยวที่กระบี่ในช่วงสงกรานต์มาค่ะ  เห็นกระทู้นี้ก็ตามอ่านเพราะก่อนไป 2 วันมีข่าวแผ่นดินไหว8.9 เล่นเอาแทบจะยกเลิกการเดินทาง ...แต่ก็เสียดายเพราะเตรียมใจไว้นานแล้วว่าจะไปทางใต้อีกสักครั้ง(ห่างจากครั้งแรก 20กว่าปี ) ในเมื่อไหวไปแล้ว ที่จะตามมาก็คงจะไม่มากนัก (คิดเข้าข้างตัวเอง ) ก็ลองดู (ตามข่าวแล้วคิดว่าน่าจะเสี่ยงได้...แม้จะหวาดๆอยู่บ้างก็ตาม ) นี่ถ้าอ่านกระทู้นี้ก่อนไป คงสบายใจมากกว่านี้ค่ะ

       จากก.ท.ม.นั่งรถไปเรื่อยๆ เกือบ 12 ช.ม.กว่าจะถึงกระบี่ รุ่งขึ้นก็นั่งเรือไปเที่ยวเกาะปันหยีขณะที่มีอีกกลุ่มแยกไปดำน้ำดูปะการังและปลาสวยๆที่เกาะพีพี (ทั้งที่อยากไปดำน้ำแต่กลัวสึนามิ) วันรุ่งขึ้นได้ไปแช่น้ำแร่ร้อนที่กระบี่ โอ๊ะ ...คุณภาพระดับเดียวกับญี่ปุ่นเลยค่ะ เพียงแต่สบายใจกว่าไปออนเซ็นที่ญี่ปุ่นเพราะ เป็นแบบไทยๆ...อิอิ

       มีการบ้านเล็กๆมาถามนักธรณีฯ แต่ขอย่อขนาดรูปก่อนนะคะ
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 18 เม.ย. 12, 10:57

ภูเขาแถบนี้เป้นภูเขาหินปูน แต่ส่วนที่พื้นผิวกระเทาะเห็นเป็นเส้นสีส้ม (สีอิฐ)

เนื้อแท้ของเขาหินปูนจะมีสีแบบนี้ทุกแห่งไหมคะ



บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 18 เม.ย. 12, 11:05

เกาะปันหยี ที่เห็นเป็นหมู่บ้านกลางทะเล มองดูรอบๆเห็นว่ามีแนวไม้โกงกางอยู่ฝั่งตรงข้าม เหมือนเป็นสองฝั่งทะเลที่คล้ายฝั่งคลองขนาดใหญ่  เวลาเกิดคลื่นสึนามิจะได้รับผลกระทบอย่างไรคะ หรือแนวไม้จะกลั้นคลื่นจากทะเลเปิดไว้ได้ ....

ภาพลักษณ์ของเกาะปันหยีในวันนี้เปลี่ยนไปมาก ขนาดของชุมชนใหญ่ขึ้นเกือบ 3 เท่า มีลักษณะเป็นแหล่งท่องเที่ยวชัดเจนมาก การจัดระเบียบดีขึ้น ร้านรวงดูหรูหรา สะดุดตา ต่างจากบ้านเรือนชาวประมงขนาดเล็กที่เงียบสงบมาก
เรือท่องเที่ยวมีทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเรืองหางยาวของชาวบ้าน เรือยอร์ชสีขาว และเรือสำราญ




บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 18 เม.ย. 12, 11:32

ส่งภาพเพิ่มเติมค่ะ เห็นเรือใหญ่แบบนี้แล้วนึกถึงปันหยีอีก30 ปีข้างหน้า... ตกใจ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 18 เม.ย. 12, 16:02

ตอนตีสี่ เมื่อคืนนี้  เกิดแผ่นดินไหวที่ภูเก็ตอีกแล้วค่ะ
มีคนบอกว่า บ้านสั่นไหวแรงจนรู้สึก

http://www.pantip.com/cafe/news/topic/NE11973971/NE11973971.html


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 18 เม.ย. 12, 20:41

ประเด็นเรื่องจุดกำเนิดอยู่บริเวณใต้เกาะยาวหรือใต้ อ.ถลาง
พอจะมั่นใจได้แล้วครับว่า อยู่ใต้ อ.ถลาง เพราะทราบว่ามีเครื่องมือวัดแผ่นดินไหวตั้งอยู่แถวๆสนามบินภูเก็ต ประกอบกับมันมีการไหวอยู่หลายครั้งและเป็นขนาดเล็ก ซ้ำๆอยู่ในบริเวณเดิม หากยังบอกผิดไปก็คงจะแย่แล้ว แผ่นดินไหวขนาด 2, 3 เหล่านี้มีพลังไม่มากที่จะทำให้คลื่นกระจายไปได้ไกล ดังนั้นสถานีวัดไกลๆก็จะรับได้เฉพาะเมื่อสถานีนั้นมีการตั้งค่าการขยายสัญญาณไว้สูงมากๆ
อนึ่ง เมื่อไปตรวจสอบแผนที่ธรณีฯให้ละเอียดมากขึ้น ก็พบว่าบริเวณที่เป็นจุดกำเนิดนั้น (เห็นได้จากลักษณะภูมิประเทศอีกด้วย) เป็นรอยต่อระหว่างเขาหินแกรนิตกับพื้นที่ราบ ซึ่งแสดงถึงการมีรอยเลื่อน (เล็กๆหรือแขนงของรอยเลื่อนหลัก) พาดผ่านบริเวณรอยต่อนั้น

คราวนี้มาวิเคราะห์กัน
จุดเกิดแผ่นดินไหวที่สุมาตราเป็นบริเวณพื้นที่ของแรงดัน (Compression regime) ห่างออกมาประมาณ 500 กม.แถวๆภูเก็ตจะอยู่ในพื้นที่ของแรงถ่าง (แรงดึง)(Extension regime) ทั้งสองแรงนี้มีความสัมพันธ์กัน  ดังนั้นเมื่อฝ่ายที่มีแรงมากเคลื่อนไหว (พื้นที่แรก) ก็อาจจะทำให้ฝ่ายที่มีแรงน้อย (พื้นที่ๆสอง) ต้องปรับตัวขยับไปด้วย แต่การเคลื่อนไหวทั้งหมดมิจำเป็นต้องเกิดในเวลาพร้อมๆกัน      แผ่นดินไหวในพื้นที่ของแรงถ่างจะอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่รุนแรง ประมาณ 5 ริกเตอร์

เราพอทราบแต่เดิมว่า รอยเลื่อนคลองมะรุ่ยนี้มีศักยภาพในการเคลื่อนตัว ข้อมูลจากการสำรวจในปัจจุบันล่าสุดได้พบว่า มันมีการเคลื่อนตัวครั้งล่าสุดในคาบเวลาระหว่าง 1000 -2000 ปี ซึ่งได้จากการวิเคราะหาอายุตะกอนดินในอายุเดียวกันที่เคลื่อนที่แยกจากกันตามแนวรอยเลื่อน (คนละฝั่งของแนวรอยเลื่อน) ก็เป็นอันว่ามันจัดเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง (Active fault) ที่ผมคิดแต่เดิมว่ามันมีเพียงศักยภาพที่จะเคลื่อนตัวได้นั้น ก็เป็นอันว่าผิด แต่ก็ดีใจนะครับเพราะเป็นการแสดงว่ามีพัฒนาการทางวิชาการและได้รับงบประมาณสนับสนุนเพียงพอในการทำงาน ในการพิสูจน์ทราบ และมีข้อยุติที่มีข้อมูลยืนยัน แล้วก็ดีใจที่ได้เป็นคนเริ่มต้นเสนอโครงการสำรวงจตั้งแต่ 2527 แล้วได้เห็นผลที่มีคุณค่าในอีกเกือบสามสิบปีต่อมา

ขอเว้นวรรคไปเขียนต่อในวันพรุ่งนี้นะครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 18 เม.ย. 12, 21:32

^
น่าภาคภูมิใจแทนจริงๆ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 19 เม.ย. 12, 00:43

พระเจ้าช่วยกล้วยทอด ...อ่านจาก Facebook ค่ะ

[[[ข้อมูลสำคัญจากอ.ปิยะชีพ ส. วัชโรบลนะครับ สรุปเหตุการณ์แค่วันเดียวได้รุนแรงมาก ยังเหลือ 18-28 ที่น่าจะหนักกว่าอีกหลายสิบเท่าให้เราได้ลุ้นว่า ชายฝั่งตะวันตก หรือ กทม. ใครจะโดนพิบัติภัยก่อนกัน

การเตือนเราคงเตือนก่อน 3 วัน หรือ 6 ชั่วโมงล่วงหน้านะครับ สำหรับชายฝั่งตะวันตก อันดามัน หากเกิดเหตุ ขอให้มองที่สูงไว้ สูงจากระดับน้ำทะเลอน่างน้อน 12 เมตร บนเขา บนต้นมะพร้าว บนตึก ได้หมดระครับ เฉพาะเดือนเมษายนถึงมิถุนายนนะครับ

ส่วน กรกฏาคม ต้องหนีอย่างน้อย 25 เมตร
ส่วนกันยายน อย่างน้อย 40 เมตร
ส่วนธันวาคมเป็นต้นไป อย่างน้อย 300-400 เมตรนะครับ

และข้อมูลพายุสุริยะ อันตรายที่เพื่อนต่างชาติเตือนจากคลิปก่อน น่าจะมาจากการระเบิดครั้งวันที่ ๑๖ และแน่นอน น่าจะมีอีกหลายลูกในวันที่ ๑๘-๑๙ http://iswa.gsfc.nasa.gov:8080/IswaSystemWebApp/iSWACygnetStreamer?timestamp=2038-01-23+00%3A44%3A00&window=-1&cygnetId=261

และวันนี้ วันที่ 17 เมษายน 2555 ดวงอาทิตย์ได้ปลดปล่อยพลังงานออกมาอีกแล้ว http://pic.free.in.th/id/ea150aa004be6aa5c54452a8b3f6ca3d]]]]]
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 19 เม.ย. 12, 00:47

ล่าสุด ก็เตือนอีกดังนี้ค่ะ

[[[ฉุกเฉินนะครับ!!
ดร.ก้องภพ อยู่เย็น นักวิศวะฯจากองค์การ NASA ได้ประกาศเตือนเย็นวันนี้ 18 เมษายน 2555 ไว้ว่า

"ขณะนี้โลกกำลังมีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ภายใน 1-4 วัน ครับ ขอให้ผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้รอยแยกเปลือกโลกก็มีความตระหนักถึงภัยแผ่นดินไหวช่วงนี้เป็นพิเศษครับ"

ประกาศตรงๆแบบนี้ งานน่าจะเข้าอย่างที่อ.ปิยะชีพ ส. วัชโรบล ว่าไว้เลยครับ

และดร.ก้องภพ อยู่เย็นยังได้เพิ่มเติมในการเตือนไว้อีกว่า

"นอกจากภัยแผ่นดินไหวแล้วยังมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงจากสภาพอากาศอย่างมีนัยสำคัญ หรือ ภูเขาไฟระเบิดอีกด้วย ดังนั้นก็ควรติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติโดยรวมอย่างใกล้ชิดครับ"]]]

ขอความเห็นจากผู้รู้ค่ะ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 19 เม.ย. 12, 01:06

สงสัยคืนนี้อดนอนแน่ ๆ ค่ะ ไม่น่าเปิด Facebook เลย

[[นี่เป็นรูปถ่ายที่ตรงแถวๆ บางกะปิ วันที่ 17 เมษายน 2012 เย็นๆ
เมื่อรังสีสุริยะมาถึงโลก ทั้งพลังงานต่างๆ ที่มาจากดวงอาทิตย์ โปรตอน อิเล็กตรอน ประจุไฟฟ้า พลาสมา เมื่อมายังโลกก็เกิดปฏิกิริยาบนชั้นบรรยากาศโลก มีการสปาร์คกันขึ้น และส่งผลให้ประจุไฟฟ้ารวมถึงโปรตอนหนาแน่นมากบนชั้นบรรยากาศโลก เมฆที่เห็นจึงดูเหมือนระเบิดแต่ไม่ใช่ เป็นการสปาร์คกันของประจุไฟฟ้าและพลังงานต่างๆนั่นเอง
และผลที่ตามมาคือภัยพิบติขนานใหญ่เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ้า พายุ ฉับพลันแบบสุดโต่ง]]]


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 19 เม.ย. 12, 01:13

ตอนนี้แผ่นดินไหวบ่อย นักทำนายออกมาประกาศกันใหญ่ อย่าไปแตกตื่นครับ ใจเย็นๆ  ของไหนโฆษณามาก มักไม่ใช่ของจริง

ก้องภพก็คือก้องเพี้ยนครับ อย่าไปให้น้ำหนัก ดร. คนนี้มาก  การเป็น ดร. ไม่ได้หมายความว่าเป็นพหูสูตรรู้ทุกอย่างครับ
ติดตามผลงาน ดร. คนนี้มานานพอสมควร จนเครดิต ดร คนนี้ในสายตาผมไม่มีเหลือแล้วครับ เพราะแกจับแพะชนแกะ หาแต่ข้อมูลโน่นนี่มาสนับสนุนการทำนายแก
การทำนายของแกดูเผินๆ จะวิทยาศาตร์ดี  แต่จริงๆ ไม่ใช่ครับ เอาแต่ปรากฏการณ์ต่างๆ มาสนับสนุนคำทำนายแกแบบไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์จริงๆ สนับสนุนเลย

ดร ก้องภพ ทำงานที่นาซ่า เป็นวิศวกรไฟฟ้า ไม่ได้ทำเรื่องอวกาศ แผ่นดินไหว หรือพายุสุริยะ
เรื่องพายุสุริยะ เป็นเพียงความสนใจส่วนตัว และรู้สึกแกมักจะสนใจพวกเรื่องลี้ลับ พลังเหนือธรรมชาติ อะไรพวกนี้เป็นพิเศษ
เพียงแต่คำว่านาซ่ามันขายคนไทยได้  เลยเข้ากับ ดร. สมิทธเป็นปี่เป็นขลุ่ย

นอนอย่างสบายใจได้เลยครับ ก้องภพ ไม่ต่างกับโสรัจจะครับ เดาอย่างเดียว
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 19 เม.ย. 12, 01:40

เพิ่มเติมจากรูปเมฆที่เอามาลงครับ  เมฆแบบนี้ไม่ได้มีบ่อยๆ แต่ไม่ใช่มาจากรังสีสุริยะแน่ๆ และเมฆที่รูปร่างแปลกกว่านี้ ขนาดเหมือนจานบินยังมีเลยครับ
ลองหาภาพเมฆแปลกๆ ในอินทรเนตรดูก็ได้ แบบนี้ไม่ถือว่าแปลกมาก มันมีกลไกการเกิดของมัน แต่ไม่ใช่การการสปาร์คของรังสีสุริยะหรอกครับ
ถ้าเมฆแบบนี้ เกิดจากรังสีสุริยะจริง ทำไมไปมีแต่แถวบางกะปิหละครับ ในเมื่อพื้นที่รับรังสีสุริยะมันคงไม่ใช่พื้นที่แคบๆ แค่แถวประเทศไทยเท่านั้น มันต้องเกินเป็นบริเวณกว้างหลายๆ ประเทศแล้ว

จำไว้ครับ อย่าไปเอาอะไรมากกับก้องเพี้ยน สมิทธ โสรัจจะนักครับ ฟังเล่นๆ ได้ แต่ต้องใช้หลักเหตุผลกรองต่อมากๆ ครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 19 เม.ย. 12, 09:44

ภาพรูปเมฆที่นำมาลงนั้น ผมเห็นว่าเป็นภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ที่มี focal length สั้น เป็นพวก wide angle lens ใกล้ๆ fish eye lens จึงมี distortion สูง ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่แสดงความสัมพันธ์ของว้ตถุต่างๆในเชิงของเส้นหรือระนาบโค้ง (ไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานของระนาบหรือเส้นตรง)  ภาพที่ได้ถ่ายจากเล็นส์แบบนี้สามารถเก็บข้อมูลวัตถุต่างๆที่มีอยู่ได้ครบในวงกว้างและแสดงความสัมพันธ์กันในเชิง relative เท่านั้น (รูปทรง รูปร่าง ขนาด และระยะ จะไม่ตรงกับความเป็นจริง)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 20 คำสั่ง