เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 155666 แผ่นดินไหวและซึนามิ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 15 เม.ย. 12, 12:35

-"จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของผม ที่ได้ศึกษามาเชื่อได้ว่าจะเกิดสึนามิอีกแน่นอน เกิดได้จาก ๒ จุดที่จะกระทบฝั่งตะวันตกของไทยฝั่งอันดามันตั้งแต่จ.ระนองถึงสตูล และฝั่งตะวันออก ด้านอ่าวไทย
อยากให้เอาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ท่านว่า มาลงให้รู้กันหน่อยค่ะ   ว่ารู้ล่วงหน้านานขนาดนั้นได้ยังไง   สึนามิที่ว่าเกิดขึ้นในหนเดียวกันหรือว่าคนละหน   

พื้นที่ปลอดภัยที่สุดของประเทศไทยจะอยู่ที่ภาคอีสาน เพราะนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด ก็ศึกษาพบว่าในไม่กี่ปีข้างหน้า พื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม จะถูกน้ำท่วมถาวร
-อยากรู้ชื่อนักวิชาการคนที่ว่า  จะได้ตรวจสอบการวิจัยของเขา
ถ้าพื้นที่ในจังหวัดที่ว่าน้ำท่วม  แล้วจังหวัดเหนือกว่านั้น เช่นภาคกลางตอนบน  ภาคเหนือ ไม่ปลอดภัยหรือ  ทำไมต้องเป็นอีสาน

หากจะไม่ให้ท่วมก็ต้องทำเขื่อน ผมจะเสนอรัฐบาลให้สร้างเขื่อนปิดอ่าวไทยตั้งแต่จ.ฉะเชิงเทรา ถึงอ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ไม่ให้น้ำทะเลเข้ามาภายในได้
- น้ำท่วมมาจากทะเลหรือนี่  เพราะอะไรถึงท่วม  แล้วภาคใต้ล่ะ

ส่วนเรื่องน้ำที่ท่วมกรุงเทพฯ ปีที่แล้วไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ ต้องโทษมนุษย์ที่บริหารไม่เป็น ซึ่งการตั้งผมเป็นกยน. ก็มีการทักท้วงว่าผมวิจารณ์มากเกินไป ผมก็อยากให้ปลดจะได้วิจารณ์ได้มากขึ้น แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่ปลด ซึ่งอาจจะปลดในเร็ว ๆ นี้ก็ได้" นายสมิทธ กล่าว
- สรุปว่าสร้างเขื่อนกันน้ำท่วมจากอ่าวไทยและอันดามัน   แต่น้ำท่วมกรุงเทพที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ได้มาจากธรรมชาติ แต่มาจากมนุษย์
งั้นสร้างเขื่อนแล้ว มนุษย์ก็อาจจะทำให้ท่วมอีกได้ใช่ไหม

 ฮืม  ฮืม  ฮืม
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 15 เม.ย. 12, 13:49

แต่ปัญหาหนึ่งในปัจจุบันคือ มีคนที่อาศัยเรื่องราวโบราณ เช่นตำนาน คำทำนาย หรือแม้แต่เทคโนโลยี เอามาตีความมั่วซั่วตามอำเภอใจ เผยแพร่ออกมาเพื่อสร้างความกลัว และสร้างชื่อเสียงให้กับตัวเอง


เห็นด้วยกับคุณประกอบครับ
โดยส่วนตัวเห็นว่าเป็นปัญหาการศึกษา
แต่ก็เห็นอีกว่าเรื่องนิ้วมือแต่ละนิ้วยาวไม่เท่ากันนี่ก็เป็นปกติของมนุษยชาติครับ




อีก 500 ปีข้างหน้า อาจมีก้องภพ 2 สมิทธ 2 หรือใครก็ได้ ออกมาทำนายว่าโลกจะแตกอีกก็ได้ เพราะไม่ว่ายุคสมัยไหน คนที่ใช้อวิชชา ชอบเรื่องลี้ลับ ไม่ใช้หลักเหตุผล ก็ยังคงมีอยู่


ธรรมดาโลกครับ... ต่อให้ 'ความจริง' น่ากลัวสักแค่ไหน
คนก็ยังกลัวผี (ที่จับต้องไม่ได้) มากกว่าความจริงอยู่ดี... น่าเศร้าครับ




ผมก็อาจจะเว่อร์ไปนิดเหมือนกัน แต่ถ้าจะเป็นเช่นนั้นจริงๆ ให้Mr. Smithแกทายถูกยังดีกว่าเห็นมิคสัญญีที่คนทั้งโลกจะจับอาวุธออกมาฆ่าล้างโคตรกันเองนะขอรับ



ไม่เวอร์ดอกครับ ทุกวันนี้ก็มีคนชนิดนั้นอยู่เต็มไปหมดแล้ว
(โดยเฉพาะในวงการสื่อทั้งหลาย โผล่กันมาสลอนเชียว)
แต่ผมเชื่อว่าคนเรามีสิทธิ์ 'เลือก' นะครับ... คนที่รู้เท่าทันก็รู้จักหาที่ถูกที่ควรเอง
ส่วนคนที่ยังตื้นเขินอยู่... ก็คงต้องปล่อยเขาเล่นไปตามเกมหลอกลวงชนิดนั้นต่อไป
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 เม.ย. 12, 20:55

หากจะไม่ให้ท่วมก็ต้องทำเขื่อน ผมจะเสนอรัฐบาลให้สร้างเขื่อนปิดอ่าวไทยตั้งแต่จ.ฉะเชิงเทรา ถึงอ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ไม่ให้น้ำทะเลเข้ามาภายในได้
- น้ำท่วมมาจากทะเลหรือนี่  เพราะอะไรถึงท่วม  แล้วภาคใต้ล่ะ

มหาอุทกภัยครั้งนี้ ทุกคนทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีประเทศไทยมา แต่จริง ๆ แล้วน้ำท่วมครั้งนี้เป็นเพียงหนังตัวอย่างเท่านั้น เพราะท่วมชั่วคราว ท่วมแล้วยังมีลด  อีก ๒๕ ปีข้างหน้าเรื่องที่ร้ายแรงกว่านี้คือน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ อย่างถาวร หากรัฐบาลไทยไม่มีนโยบายเตรียมการป้องกันเรื่องนี้เสียแต่เนิ่น ๆ

เตือนอีก ๑๐ ปี กรุงเทพฯจมน้ำลึก ๒.๕ เมตร

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ กรรมการภูมิศาสตร์โลก และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า จากผลการวิจัยผลกระทบต่อการเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งได้รับทุนวิจัยมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วนจากบริษัท ปัญญา คอนเซาท์แตน จำกัด โดยการสนับสนุนของธนาคารโลก เมื่อปี ๒๕๕๑ คาดการณ์ว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ชั้นหินอ่อนจะเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมภายใน ๑๐ ปีตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ เป็นต้นไป โดยสถานการณ์จะรุนแรงกว่าปี ๒๕๓๘ เพราะจากการคำนวณพบว่าทุก ๆ ๒๕ ปี กรุงเทพฯ มีโอกาสจะเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง (ภายในปี ๒๕๖๓) ทั้งนี้หากคำนวณจากปัจจัยแผ่นดินทรุดเพียงกรณีเดียว พบว่าจะเกิดปัญหาน้ำท่วมภายใน ๒๕  ปี แต่ในความเป็นจริงปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วมไม่ได้มีเพียงแค่กรณีเดียว แต่ประกอบด้วย ๔ ปัจจัยดังต่อไปนี้

๑. ปริมาณฝนที่ตกลงมา ขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ ๕-๑๐ % ต่อปี
๒. การทรุดตัวของแผ่นดิน ซึ่งในอดีตแผ่นดินกรุงเทพฯ จะทรุดตัวต่ำลงประมาณปีละ ๑๐๐ มม. แต่ในปัจจุบันหลังมีมาตรการห้ามขุดเจาะน้ำบาดาล อัตราการทรุดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ๑๐-๒๐ มม.
๓. ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีอัตราน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยปีละประมาณ ๓ มม.
๔. ผังเมืองและความแออัดของชุมชนเมือง ทำให้พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ชุ่มน้ำของกรุงเทพฯ ลดลงกว่า ๕๐ % เมื่อมีน้ำเหนือไหลมาหรือมีปริมาณฝนมากขึ้นจึงไม่มีพื้นที่รองรับน้ำ

รศ.ดร.เสรี กล่าวต่อไปว่ากรุงเทพฯ มีแผ่นดินที่ติดน้ำทะเลเพียงแห่งเดียว คือ เขตบางขุนเทียน ซึ่งขณะนี้หลักเขตกรุงเทพมหานครในเขตบางขุนเทียนถูกน้ำทะเลล้ำเขตเข้ามาประมาณ ๑ กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่าแผ่นดินจมหายไป ๑ กิโลเมตร ทั้งนี้รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีสร้างคันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำทะเลหนุน โดยสามารถเลือกสร้างได้ทั้งคันดินสีเขียวเพื่อปลูกต้นไม้ หรือสร้างคันเป็นถนนสำหรับรถวิ่งลักษณะเดียวกับประเทศเวียดนามที่ก่อสร้างไปแล้วเป็นระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ลงมือแก้ปัญหาเพราะติดปัญหาทางการเมือง ปัจจุบันนี้การแก้ปัญหาน้ำท่วมดำเนินการโดยวิธีสูบน้ำเหนือที่ไหลทะลักให้แยกออกเป็น ๒ ฝั่ง คือฝั่งขวาให้ไหลลงแม่น้ำบางปะกง ส่วนฝั่งซ้ายให้ไหลลงแม่น้ำท่าจีน แต่ในอนาคตสิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องป้องกันน้ำทะเลหนุนให้ได้

ธนาคารโลกเคยนำเสนอปัญหาดังกล่าวต่อรัฐบาลไทยแล้ว เพราะที่ประชุมคณะกรรมการภูมิศาสตร์โลกมองว่ามีความเสี่ยงสูง แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือ ความนิ่งเฉยของรัฐบาลไทย ทั้งนี้เราไม่สามารถรู้ได้ว่าน้ำจะท่วมเมื่อใด แต่หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงคาดว่าระดับน้ำที่ท่วมจะสูงถึง ๑-๒.๕ เมตร สูงต่ำตามระดับพื้นดิน โดยจะรุนแรงมากในพื้นที่ฝั่งตะวันตก ฝั่งธนบุรี เขตคลองเตยจนถึงบางแค สำหรับฝั่งพระนครจะท่วมถึงบริเวณสวนหลวง ร.๙ เพราะฉะนั้นประชาชนชาวกรุงเทพฯ ควรเรียกร้องให้รัฐบาลและเขตการปกครองท้องถิ่นตระหนักถึงปัญหาตรงจุดนี้ เพื่อเร่งสร้างคันกั้นน้ำให้เร็วที่สุดเพราะการก่อสร้างต้องใช้เวลานานถึง ๕ ปี หากเราลงมือทำกันจริง ๆ วันนี้ก็ยังแก้ปัญหาทันอยู่ เพียงแต่เรายังไม่เริ่มเท่านั้น” ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว

วันที่ ๑๖/๐๗/๒๕๕๓


คุณเตรียมตัวรับมือเกี่ยวเรื่องนี้ไว้แล้วหรือยัง

 ตกใจ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 15 เม.ย. 12, 22:16

ขอตั้งหลักนั่งอ่านและประมวลเรื่องที่ได้ว่ากันมาสักหน่อยก่อนนะครับ ก่อนที่จะแจม
กำลังสนุกครับ

ในเบื้องแรกนี้พอจะเห็นภาพได้ว่า บรรดาข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏตามสื่อต่างๆนั้น เป็นเพียงภาพของการแสดงความสัมพันธ์แบบจับคู่กันระหว่างสาเหตุ เพื่อพยายามอธิบายผลที่เกิดขึ้นมาแล้ว และพยายามจะชี้ใ้เห็นว่ากรอบแนวคิดของตนนั้นถูกต้อง
ในธรรมชาติจริงๆนั้น มันเป็น Open system ซึงทุกอย่างมีความสัมพันธ์เชื่อมถึงกัน มิใช่เป็น Close system แบบ Direct relation (ขออนุญาตใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษนะครับ)

เช่น เคยได้รู้ว่า ในช่วง 60's 70's ที่อัฟริกาแล้งจัดนั้น หาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ จนเข้า 80's 90's เมื่อการพยายามลดมลพิษในยุโรปได้ผล ภัยแล้งในอัฟริกาก็หมดไป จึงได้พบว่าเกี่ยวพันกับปริมาณมลพิษในยุโรป (ตัวอย่างของ Butterfly effect)
 

 
   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 15 เม.ย. 12, 22:39

 
เช่น เคยได้รู้ว่า ในช่วง 60's 70's ที่อัฟริกาแล้งจัดนั้น หาสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้ จนเข้า 80's 90's เมื่อการพยายามลดมลพิษในยุโรปได้ผล ภัยแล้งในอัฟริกาก็หมดไป จึงได้พบว่าเกี่ยวพันกับปริมาณมลพิษในยุโรป (ตัวอย่างของ Butterfly effect)
ขออนุญาตคุณตั้ง  อธิบายความหมายของ Butterfly effect  เผื่อคนที่ยังไม่รู้จักคำนี้ นะคะ

ทฤษฎีเคออส (chaos theory) หรือเรียกกันทั่วไปว่า บัตเตอร์ฟลาย เอฟเฟ็ค (butterfly effect) หรือ "ผีเสื้อขยับปีก"  เปรียบเทียบเหตุการณ์เล็กน้อยบางอย่าง อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงได้  เช่น ผีเสื้อขยับปีกที่ประเทศบราซิลเป็นผลให้บรรยากาศโลกเคลื่อนไหวในรูปแบบที่อาจทำให้เกิดพายุทอร์นาโดได้ในเทกซัส
ที่มา เริ่มปรากฏแพร่หลายหลังจากการบรรยายของ เอ็ดเวิร์ด ลอเรนซ์ (Edward Lorenz) ในปี ค.ศ. 1972 ในหัวข้อที่ชื่อว่า  "Does the Flap of a Butterfly's Wings in Brazil Set Off a Tornado in Texas?"
ไทยมีสำนวนว่า "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว"  นัยยะเดียวกัน
 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 06:15

วลีว่า "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว" ดูจะเป็นสำนวนได้

แม้จะเป็นการอธิบายความของ "ทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก" The Butterfly Effect



เนื้อเพลงเป็นผลงานของ ฉัตรชัย ดุริยประณีต และ เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 09:50

ขอบคุณคุณเทาชมพูและคุณเพ็ญชมพูที่ช่วยขยายความครับ

Butterfly Effect มิใช่เป็นเพียงคำเปรียบเทียบเชิงอุปมาอุปมัยเท่านั้น แต่เป็นเครื่องเตือนใจสำหรับนักวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆว่า อย่าละเลยที่จะให้ความสนใจกับสิ่งเล็กๆน้อยๆที่ดูจะห่างไกลและดูเป็นเพียงเศษเสี้ยวที่ไม่มีความสำคัญ

ตังอย่างหนึ่งเช่น ในระบบการส่งข้อมูลสภาพอากาศของงานด้านอุตุนิยมวิทยาที่เชื่อมโยงกันทั่วโลกนั้น เขาใช้เป็นชุดตัวเลขประมาณ 8 ตัว   ณ.ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งหนึ่ง ได้รับข้อมูลตัวเลขที่ซ้ำๆกันเป็นทิวแถวยาวและได้ใช้ข้อมูลเพียงประมาณ 5 ตัวที่ซ้ำๆกันนั้นมาประเมินเป็นลักษณะอากาศ ละเลยอีก 3 ตัวเลขหลังเนื่องจากเห็นว่าเป็น variation เล็กๆน้อยๆ ผลคือสภาพอากาศที่เกิดขึ้นไม่ตรงกับคำพยากรณ์ เมื่อได้พยายามศึกษาหาสาเหตุจึงได้พบว่า ตัวเลข 3 ตัวหลังนั้นส่งผลอย่างมากที่ทำให้การพยากรณ์ผิดพลาด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 11:01

ขอกลับไปเรื่อง 13 รอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทยสักหน่อย ฟังดูน่ากลัวมากนะครับ และจะขออธิบายความเพื่อลดความน่ากลัวลง

ถูกต้องเลยครับ มันมี 13 รอยเลื่อนที่ว่ากัน ซึ่งก็อาจมีได้มากกว่านี้หรือมีได้น้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับกติกาหรือเงื่อนไข (Criteria) ที่เรากำหนดขึ้น
รอยเลื่อนมีพลังก็คือ มันมีพลังงานสะสมพร้อมที่จะเลื่อน ซึ่งจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว
เพื่อความเข้าใจและคลายกังวลสำหรับสาธารณะชน จึงจะขออธิบายขยายความให้เกิดความเข้าใจและได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนให้ลึกไปกว่านี้ ดังนี้

ประการแรก เอาอะไรมาบอกว่ามันเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง (Active fault) มีอยู่ 3 วิธีที่มักกระทำกัน คือ
   วิธีแรกด้วยการวัดจริงในสนาม เช่น ใช้กล้อง Survey หรือใช้ระบบ GPS เฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของผิวดินในสามมิติ หรือใช้วิธีวัดค่าการเปลี่ยนแปลงของเนื้อหินข้างๆหรือใกล้ๆรอยเลื่อน (ความดันในเนื้อหิน -pore pressure แรงดึึงระหว่างหินสองระนาบ อุณหภูมิ ก๊าซที่ปล่อยออกมา ฯลฯ)
   วิธีที่สองด้วยการประเมินจากข้อมูลในสนาม โดยใช้ลักษณะของการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อนและอายุของชั้นหินชนิดเดียวกันที่มีอายุเท่ากันแต่ไม่อยู่ด้วยกัน คือแยกกันอยู่คนละฝั่งของรอยเลื่อน
   วิธีที่สามด้วยการดูจากประวัติการเิกิด (ในช่วงอายุทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์) และใช้ข้อมูลจากการวัดหาอายุในหินที่บดอยู่ในระหว่างรอยเลื่อน (มีอยู่หลายวิธีการมาก)

ประการที่สอง แล้วเราจัดกลุ่มรอยเลื่อนแต่ละตัวอย่างไร   ตามปรกติก็จะจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มคือ Active, Potentially active, Dead   ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเวลาและกิจกรรมการเคลื่อนที่ของมัน 
  พวก Active หรือที่เราเรียกในภาษาไทยว่า รอยเลื่อนมีพลัง  พวกนี้มีการเคลื่อนตัวในช่วงประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนแล้วหยุดไปเลย หรือหยุดๆเคลื่อนๆ หรือกำลังเคลื่อนอยู่ในปัจจุบัน
  พวกมีศักยภาพที่จะเคลื่อนตัวได้ (Potentially active) ไม่ว่าด้วยตัวมันเองหรือจากการกระตุ้นโดยการกระทำของมนุษย์ พวกนี้จะมีการกำหนดกรอบเวลาไว้ เช่น เป็นรอยเลื่อนที่ไม่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องมาแล้วในช่วง 5 แสนปี


ขอเว้นวรรคไปทำธุระก่อนครับ



     

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 15:57

ต่อครับ
    พวกมีศักยภาพที่จะเคลื่อนตัวได้ (Potentially active) ไม่ว่าด้วยตัวมันเองหรือจากการกระตุ้นโดยการกระทำของมนุษย์ พวกนี้จะมีการกำหนดกรอบเวลาไว้ เช่น เป็นรอยเลื่อนที่ไม่มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องมาแล้วในช่วง 5 แสนปี ให้ถือว่ายอมรับได้ (กรณีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สมัยก่อน) และมีความเสี่ยงไม่สูงมาก แต่ต้องออกแบบกันเอาไว้ในระดับที่กำหนด หรือไม่เลื่อนในช่วง 50,000 บ้าง 20,000 ปีบ้าง ตามเงื่อนไขของงานทางวิศวกรรม
    พวกที่ไม่เลื่อนอีกแล้ว (Dead) พวกนี้เป็นร่องรอยเลื่อนเก่าๆที่คงเหลืออยู่ให้เห็น

สรุปเฉพาะสองเรื่องที่ว่ามานี้ ในไทยมีการทำอะไรไว้บ้าง
   การวัดจริงในสนาม ไม่เคยมีการกระทำอย่างจริงจัง มีแต่การประเมินจากข้อมูลในสนาม ผมเป็นผู้เสนอโครงการสำรวจและได้รับงบประมาณ เมื่อ 2527 เพื่อสำรวจทั่วประเทศ ซึ่งได้ผลผลิตเป็นแผนที่แสดงรอยเลื่อนที่มีพลังของไทยในเวลาต่อมา ซึ่งแท้จริงแล้วส่วนมากเป็นเพียงรอยเลื่อนในกลุ่มที่มีศักยภาพจะเคลื่อนตัว หลายรอยเลื่อนไม่ได้มีการสำรวจลงไปถึงระดับว่า ล่าสุดมันเคลื่อนตัวเมื่อคาบเวลาใด (กี่ล้านปี กี่แสนปีมาแล้ว) มีน้อยมากที่มีแผ่นดินไหวเกิดร่วมอยู่ด้วยในขนาดที่ไม่รุนแรงนักในคาบเวลาปัจจุบัน 

ประการที่สาม ความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่รอยเลื่อนนั้นๆจะปล่อยออกมา เป็นอย่างไร
  เรื่องนี้ค่อนข้างจะยุ่งยากสลับซับซ้อน เอาเป็นง่ายๆว่า หากอยู่ในพื้นที่ของแรงแบบอัด (Compression regime) ก็รุนแรง หากอยู่ในพื้นที่ของแรงแบบดึง (Extension regime) ก็ไม่รุนแรง แต่พื้นที่ทั้งสองนี้ก็ต้องดูด้วยว่าอยู่ในพื้นที่บริเวณใดของเปลือกโลก
  สำหรับประเทศไทยนั้น พื้นที่ทั้งหมดของเราอยู่ใน Extension regime จากการกระทำของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรอินเดียกับแผ่นที่ไทยเราตั้งอยู่ แม้ว่าบริเวณที่ชนกันเสียดสีกันนั้นจะอยู่ใน Compression regime ก็ตาม ดังนั้น แผ่นดินไหวที่จะเกิดในไทยคงจะไม่แรงไปกว่าที่เคยเกิดมา
  เพื่อความเข้าใจง่ายๆ ลองเอามีดคมๆชำแหละก้อนเนื้อหมูดู จะเห็นว่าส่วนแรกๆบริเวณที่คมเฉือนเข้าไปนั้น เนื้อหมูจะโป่งขึ้น (เป็นพื้นที่ของ Compression) เมื่อชำแหละเนื้อลึกเข้าไป มีดจะดันเนื้อยืดออกไป (เป็นพื้นที่ของ Extension)
  สรุปในขั้นนี้ เป็นการคาดการณ์หรือเดาอย่างมีเหตุผลรับฟังได้ คือ likelihood
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 17:24

ก่อนจะตอบคุณตั้งไม่กี่นาที   ได้ข่าวว่าแผ่นดินไหวที่ภูเก็ต    ที่มาคือแผ่นดินไหว 5.5 ริกเตอร์ที่ตอนเหนือของสุมาตรา
ทำไมในภูเก็ต มีคนออกปากว่าแรงจัง  แรงกว่าวันที่ 11 อีกค่ะ

http://www.pantip.com/cafe/news/
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 17:26

เข้ามาตามเรียนธรณีวิทยาจากคุณ naitang ครับ  แน่นดีมากๆ มาส่งเสียงบอกว่ายังตามเรียนอยู่ครับ

เรื่องธรณีวิทยานี่รู้สึกว่าคนไทยมีความสนใจหรือรู้เรื่องพวกนี้กันน้อยมาก และมักใช้ความเชื่อที่มาจากความรู้ครึ่งๆ กลางๆ พูดต่อๆ เล่าลือกัน
ที่ได้ยินมาตั้งแต่เด็กๆ เช่นกรุงเทพเป็นดินอ่อน สร้างรถไฟใต้ดินไม่ได้  จนเดี๋ยวนี้เรามีแล้ว



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 18:19

ภาพ จากแผ่นดินไหวที่ภูเก็ต วันนี้ค่ะ

http://www.pantip.com/cafe/news/topic/NE11967768/NE11967768.html


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 18:43

อยากทราบรายละเอียดของการเกิดแผ่นดินไหวที่ต่าง ๆ

ให้ลองเข้าไปหารายละเอียด ที่นี่  เวลาเป็น Coordinated Universal Time (UTC)  เวลาประเทศไทย = UTC + ๗

ข้อมูลแผ่นดินไหวครั้งนี้อยู่ในแถบสีฟ้า

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 18:48

เห็นภาพที่ท่านอาจารย์เทาชมพูเอามาลง ดูแล้วมันไหวกันขนาดภูเขาสะเทือนกันทีเดียว  รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 16 เม.ย. 12, 19:59

ศูนย์กลางอยู่ที่ภูเก็ตนี่เองถึงทำให้ภูเขาสะเทือนได้

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง