ตอนนี้ก็คงกำลังสนุกที่จะบอกกล่าวเล่าเรื่อง ถามมาตอบไป ลืมนึกถึงผลกระทบในเชิงของความตกใจและ panic บางครั้งให้ข้อมูลหมดแต่ข่าวเอาไปลงไม่หมด ต้ดตอนเอาแต่ที่จะจั่วหัวและเอามันเข้าว่า
แทนที่จะไปถามต่อกับวิศวกรรมสถานว่า อาคารบ้านเรือนสิ่งปลูกสร้างต่างๆที่กรมโยธาฯ ฝ่ายโยธาฯ ต่างๆออกแบบบ้าง อนุญาตให้สร้างบ้างเหล่านั้น เป็นไปตาม building code แล้วทนแรงกระทำจากแผ่นดินไหวในระดับที่เกิดมาแล้วได้มากน้อยเพียงใด และจะทนกับระดับสูงสุดได้เท่าได เพื่อลดการ panic
คำตอบที่จะได้รับ เดาได้เลยว่า ทนได้แน่นอน แต่หากแรงจริงๆก็อาจมีร้าวและพังบ้าง ความผิดจะไปอยู่ที่ผู้รับเหมาทำผิดสเป็กและใช้ของไม่ได้มาตรฐาน
ผมทราบจาการทำงาน จากการประชุมสมัยเริ่มก่อตั้งคณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ เมื่อหลังเหตุการแผ่นดินไหวที่รู้สึกได้ที่ กทม.เมื่อปี 2526 ว่าสิ่งปลูกสร้างสูงทั้งหลายนั้น วิศวกรได้คำนวนการทนต่อแรงลมซึ่ง safe มากพอที่จะรองรับแรงจากแผ่นดินไหวในครั้งที่ได้รับรู้ใน กทม. เมื่อปี 2526
วิธีการจัดการกับพิบัติภัยจากธรรมชาตินั้น คือเรื่องของกระบวนการลดระดับความรุนแรงของความเสียหายล่วงหน้าหากเิกิดเหตุขึ้นมา (Mitigation) ซึ่งน่าเสียดายที่ฝ่ายบ้านเมืองเข้าใจในเรื่องนี้น้อยมาก จึงมุ่งเน้นไปในเรื่องของการกู้ภัยเสียมากกว่า (Salvation)
ออกข่าวแล้วยังไงต่อ

ให้เขา panic กันเล่นๆกระนั้นหรือ

แผ่นดินไหวขนาด 3-4 กว่าๆนี้ เกือบจะไม่สร้างความเสียหายใดๆเลย