เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12
  พิมพ์  
อ่าน: 155664 แผ่นดินไหวและซึนามิ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 13 พ.ค. 12, 20:24

เข้ามาทักทายคุณตั้งค่ะ
ถ้าพาอุณหภูมิ 20 องศาและฝนโปรย อัดกระป๋องมาแจกจ่ายแถวกรุงเทพ และปริมณฑลได้ก็จะดีไม่น้อย   แถวบ้านดิฉันยังร้อนอยู่เหมือนเดิมค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 13 พ.ค. 12, 21:21

ดินฟ้าอากาศในหมู่บ้านด้วยนะครับ มิใช่บนดอย หัวค่ำเอาผ้าห่มปิดหน้าอก ตกดึกสงัดต้องคลี่ลงไปคลุมเท้า
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 14 พ.ค. 12, 19:57

คลื่นแผ่นดินไหวดูเหมือนกับว่าจะมีแต่ในทางที่เป็นโทษ ที่จริงแล้วก็มีในทางที่เป็นคุณด้วย

เรื่องแรกก็คือ ด้วยการที่คลื่นแผ่นดินไหวเดินทางไปในบริเวณกว้างทั่วโลก เมื่อเกิดแ่ผ่นดินไหว ณ.จุดใด ประเทศต่างๆทั่วโลกก็สามารถจะประเมินได้ว่า ณ.จุดนั้นๆจะเกิดความเสียหายมากน้อยเพียงใด ทำให้การเตรียมการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมเป็นไปได้อย่างที่เหมาะสม

คลื่นต่างๆทั้งหลายเดินทางผ่านตัวกลาง คุณสมบัติของตัวกลางเป็นตัวกำหนดให้คลื่นเดินทางผ่านด้วยวิธีการอย่างใด ด้วยความเร็วเพียงใด และจะดูดซึมซับให้พลังของคลื่นให้ลดน้อยถอยลงเพียงใด นอกจากนั้นแล้วคุณสมบัติของตัวกลางยังทำให้เส้นทางการเดินทางของคลื่นหักเหหรือสะท้อนกระเด็นกระดอนไปอีกด้วย

คลื่นแผ่นดินไหวจึงทำให้เราได้ทราบถึงลักษณะภายในของโลกว่า แบ่งออกเป็นกี่ชั้น แต่ละชั้นเป็นของแข็งหรือของเหลว ลึกและหนาเพียงใด และมีองค์ประกอบที่น่าจะเป็นอย่างไร

เครื่องมือชิ้นแรกที่มนุษย์เอาไปวางทิ้งไว้บนดวงจันทร์ก็คือเครื่องวัดแผ่นดินไหวนั่นเอง ต่อมาในสำรวจดาวอังคารก็มีเครื่องวัดแผ่นดินไหวรวมอยู่ด้วยกับเครื่องมือสำหรับการสำรวจอื่นๆ

ด้วยการที่คลื่นเปลี่ยนคุณสมบัติไปจากเดิมเมื่อเดินทางผ่านไปตามตัวกลางนี้เอง ทำให้เราสร้างคลื่นแผ่นดินไหวเทียมขึ้นมา (ด้วยการระเบิดใต้ผิวดิน หรือการกระแทกบนผิวดิน หรือในน้ำ) แล้ววางระบบตรวจจับอย่างเป็นระบบ หลายจุดตามระยะที่กำหนดที่เหมาะสม หรือตามความลึกที่ต้องการ โดยแยกการดำเนินการเป็นสองวิธี คือ ระบบการวัดคลื่นหักเห (Refraction) ซึ่งเรียกวิธีการสำรวจแบบนี้ว่า Seismic refraction survey ระบบนี้ใช้สำหรับการสำรวจชั้นดินและความหนาของแต่ละชั้นดินหรือชั้นตะกอนในระดับที่ไม่ลึกมากนัก หนึ่งในวิธีการสำรวจหาหลุมศพและเมืองโบราณในสมัยฉินซีฮ่องเต้ของจีนใช้วิธีการนี้
อีกระบบคือการวัดคลื่นสะท้อน (Reflection) เรียกวิธีการสำรวจแบบนี้ว่า Seismic reflection survey ระบบนี้เป็นระบบหลักที่ใช้ในการสำรวจหาแหล่งน้ำมันและแกสธรรมชาติ เป็นระบบที่ใช้วัดชั้นหินและโครงสร้างทางะรณีวิทยาในระดับลึก ซึ่งจะแสดงแนวและระนาบของรอยเลื่อน โครงสร้างที่เป็นแหล่งสะสมของน้ำมัน ฯลฯ เรียกได้ว่าในการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียมทั้งหมดใช้วิธีการนี้

คลื่นที่วัดได้ที่สถานีวัดแผ่นดินไหวยังบอกเล่าถึงตำแหน่งที่มีการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดินอีกด้วย รวมทั้งการระเบิดขนาดใหญ่บนผิวดิน เช่น การระเบิดของภูเขาไฟ ซึ่งยังใช้ในการตรวจสอบตำแหน่งของหินละลายของภูเขาไฟว่าอยู่ตื้นลึกเพียงใดใกล้จะระเบิดแล้วหรือไม่

นอกจากคลื่นแผ่นดินไหวที่สามารถเดินทางผ่านชั้นดินชั้นหินได้อย่างดีแล้ว ก็ยังมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave_ EM) ที่สามารถเดินทางผ่านตัวกลางที่เป็นดินและหินได้ จึงมีการพัฒนาเครื่องปล่อยคลื่น EM ในความถี่ต่างๆและด้วยความแรงต่างๆ เพื่อใช้ทั้งระบบการนำร่องและสื่อสารของเรือดำน้ำ สำรวจหาแหล่งแร่ เครื่องตรวจหากับระเบิด หาแหล่งน้ำบาดาล ฯลฯ




 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 15 พ.ค. 12, 18:00

มาลงชื่อว่านั่งอ่านอยู่ค่ะ  แต่กระเถิบไปหลังห้องเพราะไม่มีความรู้ ขอฟังเลกเชอร์อย่างเดียว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 15 พ.ค. 12, 19:37

เมื่อวานนี้ผมไปจบลงที่เรื่องการหาแหล่งน้ำบาดาล ก็เพื่อจะแยกเข้าซอยไปจบกระทู้ที่เรื่องภัยแล้งที่คุณเทาชมพูปรารภ

เพิ่งหมดข่าวซีนามิไปหมาดๆ  คนไทยก็หันมากังวลกับภัยแล้ง  และน้ำหลาก ในเวลาเดียวกัน
ให้ได้อย่างนี้ซี ประเทศไทย

คำว่าภัยแล้งในภาษาไทยนี้ ไม่ทราบว่าตรงกับคำภาษาอังกฤษว่าอย่างไร ความแห้งแล้งที่จัดเป็นภัยพิบัตินั้นผมคิดว่าตรงกับคำว่า Drought คือฝนไม่ตกตามฤดูกาล (หรือตกมาน้อยมาก) และเป็นมาอย่างต่อเนื่องหลายปีจนกระทั่งไม่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปรกติสุขอันพึงมี คือ ขาดน้ำกินน้ำใช้สำหรับคนและสัตว์ และไม่มีน้ำเพื่อการทำเกษตรกรรมและกสิกรรม   โดยนัยก็คือ ไม่เป็นในลักษณะของ seasonal drought แต่เป็นในลักษณะของภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปจากปรกติ
  
ที่เรียกว่าภัยแล้งของไทยเรานั้น ในสมัยก่อนนั้นอาจจะจัดได้ว่าเป็นภัยจริง โดยเฉพาะในภาคอีสาน คือ ขาดทั้งน้ำกินน้ำใช้ และน้ำสำหรับการเกษตรกรรมและกสิกรรม แต่อย่างไรก็ตามก็ยังอยู่ในลักษณะของการที่ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล หรือตกน้อยในบางพื้นที่ในช่วงระยะเวลาที่ควรจะเป็น ทั้งๆที่ปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั้งภาคทั้งปียังอยู่ในเกณฑ์ปริมาณเหมือนเดิม
หลังจากที่ภาครัฐได้พยายามแก้ไขปัญหาพื้นฐาน ซึ่งเิริ่มต้นด้วยการทำให้ชาวบ้านมีน้ำกินและน้ำใช้ด้วยการเจาะนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ผนวกด้วยสร้างฝายและอ่างเก็บน้ำ พัฒนาต่อมาจากมีกินมีใช้พอเพียงไม่ตายไปสู่การมีกินมีใช้อย่างอยู่ดีกินดี จนกระทั่งในปัจจุบันนี้แทบจะกล่าวได้ว่าชาวบ้านก็สามารถจะมีน้ำใช้ในปริมาณเฉลี่ยเกือบเท่ากับคนในเมืองที่ใช้กันต่อคนต่อวัน
 
สรุปว่าตลอดทั้งปีคนไทยเกือบทั้งหมดมีน้ำกินน้ำใช้พอเพียงสำหรับแต่ละบุคคลในแต่ละวัน ที่เรียกว่าแล้งนั้นก็คือ ไม่สามารถมาถทำเกษตรกรรมได้เท่าเทียมกับพื้นที่ที่อยู่ในเขตชลประทาน (ซึ่งสามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี)  ในเชิงของภาครัฐและรัฐบาลก็ใช้ประโยชน์จากเรื่องของความแล้งนี้ไปในเชิงของงบประมาณและฐานเสียงทางการเมือง จึงยังคงมีพื้นที่ภัยแล้งซ้ำซากอยู่ตลอดมา

เมื่อฝนตกมาน้ำก็หลากท่วม ภัยแล้งก็หมดไปกลายเป็นภัยน้ำท่วมทับซ้อนอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ในหลายๆพื้นที่ชาวบ้านได้ประโยชน์จากการที่พื้นที่ถูกน้ำท่วม เขาอยู่กับมันมาชั่วชีวิต ปรับตัวอยู่ได้กลายเป็นวิถีของชีวิตประจำปี เมื่อน้ำลด ปลาก็จะถอยร่นเข้าไปรวมอยู่ในปลัก เก็บเกี่ยวกันมาทำเป็นสินค้า เช่น ปลาร้า ปลาแห้ง น้ำปลา ฯลฯ กลายเป็นรายได้หลักที่เป็นกอบเป็นกำประจำปีอีกอย่างหนึ่ง ภาครัฐก็ใช้ประโยชน์จากการเรื่องน้ำท่วม คิดเป็นความเสียหาย คิดให้ ทำให้ เออเองไปหมด ได้ทั้งงบประมาณ ผลงาน และฐานเสียง

เอาละครับ ในเชิงวิชาการคิดได้อย่างไรบ้าง
น้ำบาดาลก็คือน้ำที่กักเก็บอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดกรวดเม็ดทรายที่อยู่ใต้ผิวดิน เป็นไปได้ใหมครับว่า เมื่อน้ำมากก็เอาไปเก็บไว้ในชั้นทรายใต้ดิน เมื่อขาดน้ำก็สูบนำออกมาใช้

คิดได้แล้วทำจริงได้ใหม
ทำได้ครับ มีเป็นสิบวิธีที่ปฎิบัติกันในโลก  แต่จะไม่เล่านะครับ จะยกมาเพียง 2 ตัวอย่าง คือ Rain harvesting และ Artificial recharge

  




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 16 พ.ค. 12, 20:43

ภัยแล้งก็คือ Drought นั่นละค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 16 พ.ค. 12, 20:53

Rain harvesting
  ก็คือการเอาน้ำฝนที่ตกบนหลังคาบ้าน ไหลรวมกันในรางน้ำตลอดชายคา แล้วต่อท่อให้ไหลลงสู่ถังซึ่งทำด้วยท่อปูนกลมๆที่เอามาตั้งต่อกันให้เป็นถังน้ำวางอยู่บนพื้นดิน แล้วแต่ขนาดความจุที่ต้องการ ทำเป็น 2 ถังคู่กัน ต่อท่อเชื่อมกันเพื่อให้น้ำที่ล้นจากถังแรกไหลไปเก็บต่อไว้ในถังที่สอง ที่ก้นถังที่สองต่อท่อขนาดประมาณ 4 นิ้วพร้อมก็อกปิดเปิด แล้วต่อท่อกับท่อน้ำที่เจาะลงไปในดินถึงระดับชั้นทรายที่อยู่ใต้ผิวดิน บางแห่งอาจจะลึกมากบางแห่งอาจจะก็ลึกน้อย อย่างไรก็ตาม ส่วนของท่อที่อยู่ในช่วงของชั้นทรายนั้น หากเป็นไปได้ก็ควรจะยาวตลอดความลึกของชั้นทราย เอาเป็นว่าให้ลึกมากหน่อยก็แล้วกัน  ท่อส่วนที่อยู่ในระดับชั้นทรายนี้เจาะรูเล็กๆรอบๆแล้วกรุด้วยตาข่ายขนาดมุ้งลวดเพื่อกันทรายเข้ามาในท่อ

ระบบการทำงานก็คือ เมื่อฝนตกลงมา นำน้ำไปเก็บไว้ในถังแรกซึ่งคำนวณให้มีความจุเพียงพอสำหรับการใช้ในช่วงที่ขาดแคลนจริงๆ เมื่อน้ำฝนมากเกินพอก็จะไหลล้นเข้าสู่ถังที่สองซึ่งจะใช้เป็นถังเก็บน้ำสำรองไว้ใช้อีกใบหนึ่ง เมื่อถังที่สองเต็ม ก็เปิดก๊อกให้น้ำใหลลงสู่ชั้นทรายใต้ดิน  ผลที่ได้รับคือ หากทำกันทั้งหมู่บ้าน อย่างน้อยที่สุดระดับน้ำใต้ดินก็จะยกตัวสูงขึ้น สามารถขุดบ่อน้ำหรือเจาะบ่อบาดาลระดับตื้นนำน้ำมาใช้ทำไร่ทำสวนได้ ต้นไม้ที่เคยเหี่ยวแห้งในฤดูแล้งก็จะดูสดใสมีชีวิตชีวาขึ้น

ระบบเติมน้ำใต้ดินนี้ ทำกันในอินเดียเป็นโครงการใหญ่และกระจายอยู่ในพื้นที่ที่เป็น drought area ซึ่งได้ผลสัมฤทธิ์ดียิ่ง แก้ปัญหาผืนดินขาดความชุมชื้นได้มาก สามารถทำการเพาะปลูกได้   ในไทยก็มีการทำเช่นกัน ผมจำไม่ได้ว่ามีอยู่กี่หมู่บ้าน เป็นโครงการทดลองและได้ผลดี หมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ได้ไปดูอยู่ในเขต อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ชาวบ้านพอใจมากครับ


Artificial recharge
  ทำได้หลายวิธี เช่น สูบน้ำอัดลงไปใต้ดิน หรือขุดสระลึกให้ถึงชั้นทรายแล้วชักน้ำเข้ามาให้ค่อยๆซึมลงไป ในไทยก็ทดลองทำ กรณีแรกในพื้นที่ จ.สุโขทัย กรณีที่สองอยู่ในพื้นที่ในเขตเดียวกันก้บที่ได้กล่าวมา ก็ได้ผลดี   นึกออกเลยใช่ใหมครับว่าแต่ละปีที่ได้รับงบประมาณสำหรับการขุดลอกคูคลองในหลายๆพื้นที่ (ในต่างจังหวัด)นั้น หากสภาพทางธรณีฯมีความเหมาะสม เราก็สามารถจะดำเนินการในลักณะนี้ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่เดียวกันที่มีทั้งน้ำท่วมและแล้งน้ำเป็นประจำทุกๆปี

โครงการเหล่านี้เป็นประโยชน์มากในการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง แต่ดูเหมือนฝ่ายรัฐและรัฐบาลจะไม่นิยมแก้ด้วยวิธีการทำโครงการแก้ปัญหาระยะยาว ทำระยะสั้นได้ฐานเสียงดีกว่ามาก ฝ่ายนักวิชาการผู้ปฏิบัติงานที่ตั้งใจทำงานนั้น กว่าจะของบประมาณเพื่อทำโครงการทดสอบความเป็นไปได้ก็แทบตาย ดีนะครับที่ไม่ยังไม่ย่อท้อกัน ยังอึดยังสู้อยู่    ทุกคนยังยึดอยู่ในคำขวัญที่ติดหราอยู่ที่ตึกประธานมาหลายๆสิบปีแล้วว่า ทั้งใต้ดินบนดินถิ่้นของเรา หนักก็เอาเบาก็สู้ บูชาธรรม

กระทู้นี้ก็คงจะผ่านไป แล้วก็ลาโรงไปด้วยเรื่องที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง  
เอวังก็ด้วยประการะฉะนี้
    
  
 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 16 พ.ค. 12, 20:56

อ้าว  กำลังตามอ่านเพลินๆ    จบซะแล้ว


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 16 พ.ค. 12, 22:17

กลัวจะเป็นวิชาการมากเกินไป จะเบื่อกันนะครับ
ผมเองก็จะแย่เหมือนกันเพราะต้องพยายามหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์ทางเทคนิค และยังต้องพยายามหาคำอธิบายที่ตรงกับความหมายลึกๆของศัพท์นั้นๆ เหมือนกับความพยายามที่ผมจะอธิบายความต่างระหว่างคำว่า beautiful, pretty, cute, gorgeous, lovely, charming, passion, attraction ฯลฯ ของผู้หญิงใดๆคนใดคนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดก็คือมีความสวยในองค์รวม แต่ในมุมใหน ฮืม

ขออย่าได้เห็นว่าเป็นการขยายขี้เท่อใดๆของผมนะครับ เข้าใจอย่างนั้นก็ว่าไปอย่างนั้นตรงๆ 


 
 

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 16 พ.ค. 12, 22:20

ถ้าคุณตั้งจะมีเรื่องใดมาอธิบายอีก ไม่ว่าในกระทู้นี้ หรือกระทู้อื่น หรือตั้งกระทู้ใหม่    ก็คงมีผู้ติดตามด้วยความสนใจแน่นอนค่ะ
ขอเชิญไว้ก่อน
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 12:00

มาสนับสนุนคำพูดในความเห็นสุดท้ายของอ.เทาชมพูคะ

เรื่องการเก็บน้ำไว้ในชั้นหินลึกๆ (น้ำบาดาล) ในประเทศเรา หน่วยงานของรัฐกระตือรือร้น ในเรื่องนี้แค่ไหนคะ

เคยได้ยินว่าบริษัทผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งที่มีโรงงานอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้โรงเรียนดัง

สูบน้ำจากใต้ดินลึกมาใช้ผลิตจริงไหมคะ... ระดับน้ำใต้ดินในก.ท.ม. ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง

และแถวอิสาน ที่แล้งมากๆมาเป็นร้อยปีแล้ว ความรู้ในยุคนี้ กับความจริงใจของรัฐบาลทุกรัฐบาล

จะแก้ปัญหาได้หรือยังคะ  แหล่งผลิตข้าวเช่นทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งมีข้าวดีที่สุดจริงไหม และยังแล้งอย่างที่ตำนานเขาเล่าหรือเปล่าคะ




บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 18:58

ถ้าคุณตั้งจะมีเรื่องใดมาอธิบายอีก ไม่ว่าในกระทู้นี้ หรือกระทู้อื่น หรือตั้งกระทู้ใหม่    ก็คงมีผู้ติดตามด้วยความสนใจแน่นอนค่ะ
ขอเชิญไว้ก่อน
มาสนับสนุนคำพูดในความเห็นสุดท้ายของอ.เทาชมพูคะ.......

ขอบคุณครับ ไม่ได้มีเรื่องกังวลใจอะไรมากหรอกครับ เพียงเพื่อมิให้เป็นไทยคำฝรั่งคำเท่านั้น จึงใช้เวลามากหน่อยในการคิดหาประโยคหรือวลีที่อธิบายความที่สั้น ตรง และได้เนื้อหาที่เข้าใจได้ในทันที


คุณพวงแก้วอยากทราบข้อมูลในเรื่องเกียวกับน้ำบาดาล

ผมจะยกขึ้นไปเป็นกระทู้ใหม่สั้นๆ เพื่อแยกออกไปจากเรื่องของกระทู้นี้นะครับ
บันทึกการเข้า
พวงแก้ว
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 18 พ.ค. 12, 19:07

ขอบคุณคะคุณตั้งที่ จะกรุณาตอบ...

น้ำบาดาลเป็นเรื่องใกล้ตัวคนไทยมาก ทั้งในกทม. และในต่างจังหวัด

สนใจวิธีการเก็บน้ำไว้ใต้ดินในระดับลึก เรามีน้ำจืดจากฟ้าฝนเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
แต่กลับปล่อยให้ไหลลงทะเลเสีย...ทั้งที่ในอนาคตก็พูดกันว่า เราอาจขาดแคลนน้ำจืด
สำหรับประเทศเกษตรกรรมอย่างไทย  น้ำมีค่ายิ่ง ถ้าในอนาคตจีนเขาทำเขื่อนกั้นน้ำ
ที่แม่น้ำโขง...อะไรจะเกิดขึ้นกับภาคอีสานของเรา รวมทั้งภาคเหนือด้วย

ความรู้เรื่องการเก้บน้ำแบบนี้คงไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับนักวิชาการด้านนี้ในบ้านเรา
แล้วทำไมจึงยังทำให้ทุกพื้นที่ที่ขาดน้ำ หรือแห้งแล้ง ดีขึ้นไม่ได้สักที

ถามมากมาย...ไม่รู้ขยายขี้เท่อหรือเปล่านะคะ  แต่เป็นความสงสัยที่มีมานานแล้วค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 21 พ.ค. 12, 19:18

คิดว่าจะจบกระทู้นี้แล้ว  แต่เจอข่าวแผ่นดินไหวในอิตาลี วันนี้   เลยขอนำมาลงเป็นความรู้อีกทีค่ะ

เมื่อวันที่ 20 พ.ค.2555 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโรม ประเทศอิตาลีว่า ประชาชนแตกตื่นเผ่นหนีลงมาบนท้องถนน เพราะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี เมื่อเช้าวันนี้ ยังผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 ศพและบาดเจ็บอีก 2 คน

เจ้าหน้าที่กู้ภัยของอิตาลี ระบุว่า แผ่นดินไหวรุนแรงวัดได้ 5.9 ริคเตอร์ เกิดขึ้นเมื่อเวลา 04.04 น.เช้าวันนี้ ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งตรงกับ 09.04 น.เช้าวันเดียวกันนี้ตามเวลาในประเทศไทย สร้างแรงสั่นสะเทือนรุนแรงขึ้นในแถบภูมิภาคเอมิเลีย-โรแมกนา และพื้นที่โดยรอบเมืองเวนิซ ทางตอนเหนือของประเทศ โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ดิน 10 กม.และห่างจากเมืองโบโลญญ่าขึ้นไปทางเหนือ 10 กม. การสั่นสะเทือนกินเวลาอยู่นานราว 20 วินาที แล้วยังมีอาฟเตอร์ช็อกหรือแรงสั่นสะเทือนตามหลังมาอีกหลายครั้ง ก่อนหน้านี้ มีแผ่นดินไหวรุนแรงวัดได้ 4.1 ริคเตอร์ สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ในเขตภูมิภาคลอมบาร์ดี้ ซึ่งอยู่โดยรอบเมืองมิลาน ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญด้านเศรษฐกิจและการเงินของประเทศอิตาลี




บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 22 พ.ค. 12, 19:25

เห็นเรื่องบอกเล่าจากคุณเทาชมพู ตั้งเมื่อวานนี้ แต่ขอไปตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม

สรุปได้ดังนี้ครับ
แผ่นดินไหวในอิตาลีมีเกิดขึ้นเป็นปรกติและค่อนข้างจะมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นเทือกเขาตลอดทั้งเทือกเขาที่เป็นสันกลางของประเทศ รวมทั้งในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศที่ติดกับเทือกเขา Alps   ซึ่งเกือบทั้งหมดจะเป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก (น้อยกว่า 4 ริกเตอร์) มีน้อยครั้งที่เป็นขนาดใหญ่  ครั้งที่เกิดล่าสุดนี้ถือว่าได้ว่าเป็นขนาดใหญ่ ทำให้มีคนเสียชีวิตและอาคารบ้านเรือนพังทลาย

ในทางธรณีวิทยานั้น เทือกเขา Alps เกิดจากแผ่นเปลือกโลกสองแผ่น (แผ่นอัฟริกาและแผ่นยุโรป) เคลื่อนที่เข้าชนกัน แต่เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกทั้งสองแผ่นนี้เป็นผืนแผ่นดินทั้งคู่ ซึ่งหมายถึงมีความหนาแน่นของวัตถุพอๆกัน จึงไม่เกิดสภาพแผ่นใดแผ่นหนึ่งมุดลงและอีกแผ่นหนึ่งเกยขึ้น จึงทำให้ชนกันจนโก่งเป็นภูเขา (เป็นลักษณะของ collision มิใช่ในลักษณะ subduction เหมือนรอบๆมหาสมุทรแปซิฟิก) แรงที่ดันในทั้งสองแผ่นชนกันนี้เกิดต่อเนื่องมามากกว่า 60 สิบล้านปีแล้วและยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน เมื่อด่านหน้าชนกันจนยกตัวสูงขึ้น ระลอกที่ตามมาก็พยายามจะสุมอัดต่อไป จนเกิดการอัดในแนวใหม่ คือการยกตัวสูงขึ้นเป็นทิวเขาที่กั้นระหว่างสเปนกับฝรั่งเศสและทิวเขาที่เป็นแกนกลางของประเทศอิตาลี ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับการตัดกล้วยหอมแบบเฉลียงๆแล้วดันมันเข้าไปรวมกัน รอยเลื่อนตามลักษณะที่ตัดนี้เป็นรอยเลื่อนชนิดที่เรียกว่า Thrust fault ซึงแผ่นดินไหวที่เิกิดร่วมด้วยตามปรกติจะมีขนาดไม่ใหญ่ และมักจะอยู่ตื้น (ในระดับ 10+ กิโลเมตร)

อิตาลีอยู่ในพื้นที่ของทะเลเมดิเตอเรเนียน (Mediterranean sea) คำว่า medi (um) คือกลาง และคำว่า terra หรือ terrain คือแผ่นดิน  เอาคำสองคำนี้มารวมกันหมายความถึงทะเลที่อยู่ระหว่างแผ่นดิน ซึ่งทะเลนี้ก็เกิดมาจากการที่แผ่นดินสองแผ่นดินบีบแคบเข้ามานั่นเอง

ภาพที่คุณเทาชมพูได้นำมาแสดงนั้น จะสังเกตเห็นว่า รอยแตกที่ผนังอาคารเป็นแนวรอยในลักษณะไขว้เหมือนตัว X ซึ่งเป็นลักษณะของความเสียหายจากแผ่นดินไหวที่เกิดในระดับตื้น (ซึ่งจะให้คลื่นแผ่นดินไหวที่มีความถี่สูง__high frequency seismic wave__ดังที่ได้บอกเล่ามาแล้ว) คลื่นเคลื่อนตัวในลักษณะขึ้นลงมาก ความเสียหายต่ออาคารจึงเสมือนหนึ่งเอาฆ้อนทุบแรงๆบนแท่งดินแห้งๆ

ที่น่าสนใจคือ จะเห็นว่าอาคารเก่าๆสมัยโบราณไม่พังหรือได้รับความเสียหายมากนักเมื่อเทียบกับอาคารสมัยใหม่ ทั้งๆที่ไม่มีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มิฉะนั้นแล้วคงไม่หลงเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบันอย่างมากมาย  นี่แหละครับภูมิปัญญาของท้องถิ่นในแต่ละท้องถิ่น  ภูมิปัญญานี้เราก็มี (โดยเฉพาะในภาคเหนือ) ในอินโดนีเซียก็มี ในญี่ปุ่นก็มี ซึ่งผมคิดว่าเราไม่ค่อยจะได้ให้ความสนใจกันมากนัก

เอาตัวอย่างหนึ่งง่ายๆ เป็นเรื่องไม่เกี่ยวกับเรื่องแผ่นดินไหวเลยนะครับ   ใบขี้เหล็ก ทุกท่านก็ทราบว่ามันขม ในปัจจุบันนี้เราใช้วิธีต้มน้ำทิ้งสองสามครั้งเพื่อให้หายขม ในภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น เอาใบขี้เหล็กสดๆมาต้มกับมะเขือพวงสักสิบยี่สิบลูก ครั้งเดียวใบขี้เหล็กนั้นก็หายขมแล้ว แถมจะออกหวานมันอีกด้วย เอามากินกับน้ำพริกอ่องก็อร่อยแฮไปเท่านั้น 

ก็คงจะมีเรื่องของแผ่นดินไหวมาเป็นระยะๆ เอาเป็นว่ากระทู้นี้ยังไม่ได้ปล่อยหรือลากม่านมาจนปิดสนิทนะครับ   

 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง