ู^
ถูกต้องแล้วครับ อาคารสูงมีเรื่องการคำนวณเกี่ยวกับแรงลมด้วย ซึ่งวิศวกรเชื่อมาตั้งแต่ครั้งแผ่นดินไหวในปี 2526 ว่าความแข็งแรงที่คำนวณเพื่อรับแรงลมนี้ สามารถรับแรงจากแผ่นดินไหวได้ แต่ภายหลังคงจะมีการศึกษากันมากขึ้นจนคิดว่าอาจจะไม่พอเลยต้องออกกฎเกณฑ์ใหม่ กว่าจะทำและเห็นตรงกันได้ก็ 25 ปีต่อมา
เมื่อครั้งเกิดแผ่นดินไหวที่โกเบปี พ.ศ. 2538 หรือที่เรียกว่า The great Hanshin earthquake นั้น ญี่ปุ่นเพิ่งจะรื้อวิธีการคำนวณสำหรับสิ่งก่อสร้างต่างๆกรณีเิกิดแผ่นดินไหว (จำได้ว่าขนาด

เริ่มบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2528 สำหรับอาคารที่สร้างก่อนหน้านั้นที่ไม่มีการปรับปรุงความแข็งแรงเกิดความเสียหายมากมาย สำหรับสิ่งก่อสร้างหลังจากการบังคับใช้การคำนวนแบบใหม่ก็ยังได้รับความเสียหายพอสมควร เช่น กรณีทางด่วนล้มตะแคง
ญี่ปุ่นได้เิริ่มบังคับใช้วิธีการคำนวนสำหรับสิ่งก่อสร้างทั้งหลายครั้งแรกๆหลังจากเกิดแผ่นดินไหว The great Kanto earthquake เมื่อ พ.ศ.2466 ซึ่งมีขนาดประมาณ 7.9 โดยศึกษาจากกรณีที่โรงแรม Imperial ที่ออกแบบโดย Frank Lloyd Wright ซึ่งยังคงทนอยู่ได้ในขณะที่อาคารอื่นๆพังทลายจนเกือบหมดสิ้น วิธีการคำนวณนี้ใช้มาระยะหนึ่งจึงมีการปรับปรุง และมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์หลักในการคำนวณอีกสองสามครั้งก่อนที่จะเกิดที่โกเบ ในปัจจุบันนี้ก็เปลี่ยนไปอีกแล้ว
ต่อมาในปี ค.ศ.2000 ที่อังกฤษ เมื่อมีการเปิดสะพานคนเดิน Millennium bridge ข้ามแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอน ปรากฎเหตุการณ์สะพานแกว่งไหวอย่างคาดไม่ถึง จนต้องมีการแก้ไข เนื่องจากไม่ได้มีการคำนวณในบางเรื่อง (การแกว่งไกวด้านข้าง) ผลจากเหตุการณ์นี้ ทำให้มีการปรับปรุงสะพานและโครงสร้างที่เป็นเหล็กไปทั่วโลก สำหรับญี่ปุ่นเอง ได้เร่งเสริมบรรดาคอสะพานต่างๆทั่วประเทศเพื่อมิให้คานของสะพานขยับตกลงมา ใช้โซ่ก็มี ใช้แป้นเหล็กกันก็มี ฯลฯ ผมไม่ทราบว่าในไทยมีการทำอะไรกันบ้างหรือเปล่า ดูสะพานคนเิดินข้ามถนนตามถนนต่างๆก็ยังเห็นเป็นคานเิทินอยู่บนหัวเสา
ที่เล่ามายืดยาวนี้ก็เพียงเพื่อจะบอกว่า แผ่นดินไหวเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใครออกใคร เป็นเรื่องที่ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการก่อสร้างทั้งหลายจะต้องตื่นตัว มิใช่เพียงแต่จะบังคับใช้กับสิ่งก่อสร้างใหม่ๆ แต่จะต้องไม่ปล่อยปะละเลยกับสิ่งก่อสร้างเก่าๆ ต้องเข้าไปดู ไปสั่งการ ไปเสริมแต่ง ไปเตือนเจ้าของให้ต้องทำอะไรเพิ่มเติมเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงที่เหมาะสม เช่น โดยพิจารณาจากจำนวนผู้อยู่อาศัย ความเป็นพื้นที่สาธารณะ ค่าใช้จ่าย ระบบการบรรเทาความหายนะ อายุของสิ่งก่อสร้าง เหล่านี้เป็นต้น
กฏเกณฑ์บางอย่างที่เมืองในต่างประเทศเขาบังคับใช้มีอาทิ การต้องทาสีทุกๆ 5 ปี ต้องมีการตรวจสอบอาคารทุกๆระยะกี่ปี สำหรับอาคารที่ทำการ อาคารชุดที่อยู่อาศัย อาคารที่มีการใช้โดยประชาชน หากเกินอายุแล้วต้องทุบทิ้งสร้างใหม่ตามมาตรฐานใหม่ เหล่านี้เป็นต้น
ผมก็อยากจะรู้ว่ากรณ๊ที่ภูเก็ตนั้น วิศวกรได้เข้าไปแนะนำอะไรให้กับชาวบ้านบ้าง การร้าวของผนังบ้่านนั้น หากเกิดจากแรง Shear ก็อาจจะบ่งบอกถึงโครงสร้างที่เข้าสู่ภาวะอันตรายแล้วก็ได้ ต่างจากการร้าวตามปกติซึ่งไม่มีอันตราย และสำหรับกฎเรื่องการคำนวณแผ่นดินไหวสำหรับอาคารเกิน 15 เมตรนั้น จะบังคับใช้เฉพาะ กทม.และปริมณฑลเท่านั้นหรือ ผมเห็นว่าจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือ ภาตะวันตก และภาคกลางด้านตะวันตก เหล่านี้ดูจะมีโอกาสได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว (vulnerable) มากกว่าพื้นที่ของ กทม. มากนัก