เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 155500 แผ่นดินไหวและซึนามิ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 22 เม.ย. 12, 21:06

What to do when there's an earthquake in Japan

!
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 13:14

เรื่องแผ่นดินไหวครั้งนี้มัจะบอกอะไรและมันจะพาลไปถึงใหนนั้น ขอผลัดเป็นพรุ่งนี้ครับ

มันได้สะท้อนให้เห็นว่า เรานิยมเปลือกนอกมากกว่าเนื้อใน เนื้อข่าวและข้อมูลที่ปรากฏในสื่อสาธารณะนั้น โดยสรุปแล้ว จนกระทั่งบัดนี้ประชาชนทั่วไปได้มีความรู้เพิ่มเติมและเข้าใจอะไรเพิ่มขึ้นบ้าง ?? เราทราบเรื่องจากข่าวสองนาทีตามสถานีวิทยุ แล้วก็เอามาวิเคราะห์วิจารณ์กัน ตั้งตนเป็นกูรูแล้วก็ตั้งป้อมทำการ defense มากกว่าที่จะคิดต่อไปและนำเสนอในเรื่องทาง offense  ก็น่าจะแสดงว่าความรู้ต่างๆจำกัดอยู่ในวงของ Basic text book ?? ขาดการอ่านและศึกษาเพื่อความรอบรู้เพิ่มเติมจาก Journal ต่างๆ ??  หรืออย่างไร ??     การขยายเนื้อความของข่าวสารและสาระต่างๆที่เกี่ยวข้องถูกครอบงำไปด้วยเรื่องของเงินๆๆๆ มากกว่าในเรื่องของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน   เราขยายความน่ากลัวไห้แผ่กระจายไปในวงกว้างออกไปทั่วประเทศเพื่ออะไรก็ไม่ทราบ (โดยเอาแผ่นดินไหวขนาดเล็กๆน้อยๆมาออกข่าว) จะบอกว่าให้เตรียมตัว ?? ก็ไม่บอกว่าจะต้องทำอย่างไร ??

คราวนี้ก็ถึงเรื่องว่าแล้วมันจะไปเกิดที่ใหนและเมื่อใดอีก ตรงๆก็คือตอบไม่ได้ แต่รู้ว่ามีโอกาสมากที่รอยเลื่อนในไทยจะขยับปรับตัวปรับสมดุลย์ใหม่ (ซึ่งคงจะต้องมี) และจะเป็นขนาดใหญ่ก็ไม่ควรจะเกินขนาด 5 (เนื่องจากมันอยู่ในพื้นที่ของแรงใน Extension regime ดังที่เคยเล่าแล้ว) และผมเห็นว่ารอยเลื่อนทางภาคตะวันตกของเราสองสามรอยนั้น หากจะขยับปรับตัวก็คงจะต้องหลังจากที่เกิดแผ่นดินไหวในพม่าขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เสียก่อน
อันที่จริงแล้ว เรากำลังไปพะวงกับการปรับตัวของรอยเลื่อนต่างๆที่พบในไทยโดยผนวกเข้ากับการเกิดแผ่นดินไหวในขนาดที่อาจมีอำนาจทำความเสียหายได้ แต่ลืมคิดไปว่า แท้จริงแล้วพวกแผ่นดินไหวขนาดเล็กที่เกิดเกือบจะทั่วไปทั่วประเทศทุกวันและไม่นำออกมาให้ข่าวนั้น (ทั้งในอดีตและปัจจุบัน) มันก็คือพลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่อง ลดพลังงานที่จะสะสมสำหรับการเกิดขนาดใหญ่ลงไป เหมือนกับเปิดฝากาต้มน้ำไม่ให้ฝากานั้นถูกอัดให้เปิดกระเด็นออกมา
หากเอาข้อมูลแผ่นดินไหวขนาดเล็กๆ (ซึ่งประชาชนไม่ได้รับรู้สึก) ที่เก็บสะสมมาเปิดเผยทั้งหมด บางทีก็อาจจะเป็นการดีทำให้ลดความกลัวลง แต่บางทีก็อาจจะไม่ดีทำให้ยิ่งแตกตื่นกันมากขึ้นก็ได้

ผมต้องเขียนเรื่องเหล่านี้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากตนเองเคยได้รับประสบการณ์มาเมื่อครั้งเกิดแผ่นดินไหวที่เมืองกาญจนบุรีปี 2526 ในวันนั้นบังเอิญผมยืนอยู่ตรงโทรศัพท์พอดี ก็มี 191 โทรเข้ามาสอบถามข้อมูลและขอความรู้เรื่องแผ่นดินไหวเพื่อการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสม เนื่องจากมีโทรศัพท์มาสอบถาม 191 มากเหลือเกิน ด้วยไม่คิดอะไรมากก็ให้ความรู้ทางวิชาการที่เป็นจริงไป แล้วก็บอกว่าอาจจะมี after shock ตามมา แต่ไม่ทราบว่าเมื่อใด เขาก็ถามนำว่าสัก 2-3 ชั่วโมงได้ ผมก็ตอบว่าเป็นได้ทั้งนั้น แล้วก็ย้ำแล้วย้ำอีกว่าไม่ต้องตกใจนะ มันจะไม่รุนแรงเท่าที่เกิดมาแล้ว เท่านั้นเองแหละครับ คงจำกันได้ ลือกันให้แซดเลยว่าจะเกิดอีกตอนเที่ยง พวกพนักงานในตึกสูงทั้งหมดพากันลงมายืนอยู่ข้างล่างกันหมด จำจนวันตายเลยครับ เรื่องพวกนี้ทำให้เกิด panic ได้ง่ายมากๆ ข้อมูลที่ผมให้นั้นเขาเอาไปบอกต่อไม่หมด ก็คงเป็นอีหรอบเดียวกันกับข่าวที่ปรากฏในสื่อต่างๆในกรณีภูเก็ต             

 



 

* andaman spreading_.doc (56.5 KB - ดาวน์โหลด 398 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 14:01

เรื่องโคลนร้อนและ Mud volcano ที่คุณเทาชมพูนำมาโพสต์นั้น

สำหรับผมแล้ว มันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องอะไรกับแผ่นดินไหวเลย และก็คงไม่ได้รับผลกระทบใดๆจากแผ่นดินไหวที่สุมาตาอีกด้วย
มันมีแผ่นดินไหวเกิดร่วมอยู่ในบริเวณนั้นแน่ๆในลักษณะ Earthquake swamp เนื่องจากมันเป็นพื้นที่ที่ท้องทะเลขยายตัวกว้างขึ้น เรียกพื้นที่บริเวณนั้นกันทั่วไปว่า Andaman seafloor spreading ซึ่งทำให้ในพื้นที่บริเวณนั้นย่อมจะต้องร้อนเป็นธรรมดา และเมื่อร้อนแล้ว บรรดาก๊าซที่เกิดจากซากอินทรีย์วัตถุและก๊า๊ซที่อยู่ในระหว่างรูพรุนของตะกอนดินทรายก็จะขยายตัวและหนีลอยออกมาผสมผสานกับตะกอนดินทรายที่ละเอียดมากๆ ทำให้เห็นภาพที่เหมือนเดือดปุดๆ เมื่อช่องทางหนีของก๊าซนี้เป็นเหมือนปล่องเหมือนท่อ ปากทางของมันก็จะมีลักษณะเป็นปล่อง มันก็เหมือนกับลาวาพ่นออกจากภูเขาไฟ 

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 15:44

ข่าวของทางการ มีน้อย  บางทีกว่าจะออกข่าวได้ก็ช้าเกินการ    เพราะในยุคสื่อสารไร้พรมแดน    ช้าไปวันเดียวก็ถือว่าช้าไปแล้ว 
ประชาชนตื่นตระหนกขวัญหนีดีฝ่อไปกับข่าวของเอกชน (เช่นสื่อหนังสือพิมพ์ หรือเว็บไซต์ต่างๆในอินทรเนตร) จนยากจะกลับลำมาเชื่อปุบปับว่าไม่มีอะไรน่าวิตก
ดิฉันเอาข่าวต่างๆมาลง ก็เพื่อให้คุณตั้งช่วยเคลียร์  สำหรับคนที่เข้ามาอ่านในเว็บนี้จะได้รู้ว่าไม่มีอะไรอย่างที่กลัวกัน    จะได้ใจชื้นขึ้นว่า
ยังไงวันที่ 28 นี้ภูเก็ตก็ไม่จม   และธันวาคมปีนี้คุณประกอบก็ยืนยันนั่งยันว่าโลกไม่แตกแน่นอน 

ส่วนการให้สัมภาษณ์   ขอแนะนำคุณตั้งหลีกเลี่ยงการให้สัมภาษณ์สดลงหนังสือพิมพ์ เพราะอาจเกิดความผิดพลาดได้ง่ายมาก   ไม่ฝ่ายเราก็ฝ่ายเขา      ถ้าทำได้ ควรจะให้สัมภาษณ์ทางอีเมล์ เพื่อมีลายลักษณ์อักษรยืนยัน   หรือไม่ก็ถ่ายวิดีโอไว้แล้วขอให้เขาเอาลง DVD ส่งมาให้เสียเลยค่ะ สบายใจกันทั้งสองฝ่าย
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 18:11

เรื่องแผ่นดินไหวสึนามินี่ทำให้มองเห็นปัญหาหลายๆ ส่วนในบ้านเรา

ปัญหาแรกคือสื่อ
สื่อเองก็ไม่ได้มีความรับผิดชอบพอที่จะนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์  แต่กลับมุ่งที่จะขายความตื่นเต้น หวือหวาเพื่อให้คนติดตามมากกว่า
เวลาสื่อไปสัมภาษณ์ ก็มักจะสัมภาษณ์หรือนำเสนอสิ่งที่พวกโหร หรือพวกนักทำนายภัยพิบัติพูด มากกว่านำเสนอข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญจริง
พวกนักทำนาย พูดแต่เรื่องหวือหวาน่าตื่นเต้น แต่พวกนักวิชาการจริงๆ มันจะน่าเบื่อกว่า ขายข่าวไม่ได้
ถ้าไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ก็มักจะตัดต่อเอาแต่ส่วนที่หวือหวามาออกข่าว เพราะผู้เชี่ยวชาญมักจะตอบแบบกลางๆ ไม่ฟันธง แต่สื่อฟันธงซะเอง
บางทีผู้เชี่ยวชาญอธิบายมายืดยาว  สื่อตัดเอาแต่คำพูดประโยคเดียว แต่สื่อความหมายไปคนละทางเลย แถมเล่นตัดแต่ตรงที่พูดถึงหายนะหรือภัยพิบัติ
นี่เป็นเรื่องที่พบได้บ่อยๆ   แถมเป็นกันทุกสื่อ

ปัญหาที่สอง คนรับสื่อเองก็ไม่ค่อยมีวิจารณญาณ
บ้านเราคนจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะเชื่อคนจากชื่อเสียงหรือวุฒิ โดยไม่สนใจว่าคนคนนั้นรู้หรือเชี่ยวชาญเรื่องที่พูดจริงไหม
ถ้ามีคำว่า ดร. นำหน้าชื่อแล้ว ก็จะได้รับความเชื่อถือทันที โดยไม่ได้ดูว่าเป็น ดร. ด้านอะไร เชี่ยวชาญเรื่องที่พูดจริงไหม
แถมถ้าเป็น ดร. แล้วมียี่ห้อนาซ่าปะด้วย ยิ่งได้รับความเชื่อถือ  ดร. 2-3 คนในบ้านเรา ไปไหนมาไหนเลยต้องพกยี่ห้อนาซ่าไปด้วย
แม้ว่าจะพูดเรื่องบ้าบอคอแตก มนุษย์ต่างดาว พลังจิต สิ่งลี้ลับ อะไรก็ตามที่ยังพิสูจน์ไม่ได้  ก็มีคนพร้อมจะเชื่อ เพราะผู้พูดเป็น ดร. แถมมีคำว่านาซ่า
ยิ่งถ้าอ้างพุทธ เอาหลักธรรมะมาด้วยหละก็  อู๊ยยยย ยิ่งดัง ถูกจริตคนจำนวนไม่น้อย   ตอนนี้ของเก๊เลยระบาดตามหน้าจอ หน้า นสพ หรือเว็บไซต์ต่างๆ

ผมไปอ่านเว็บ pantip มา ห้องข่าว เห็นยังมีคนคนจำนวนไม่น้อย  อ้างว่าต้องถือคติว่าต้องฟังหูไว้หู หรือฟังไว้ดีกว่าไม่ฟัง เค้าเตือนก็ต้องฟังไว้
แล้วก็เอนเอียงมาทางพวกมียี่ห้อปะพวกนี้  แล้วก็ตระหนก แตกตื่นกันต่อไป   เพราะพวกนักเตือน มันเล่นเตือนกันทุกวัน
เราไม่สามารถใช้เหตุผลกับคนทุกคนได้จริงๆ

อีกเรื่องที่ไม่มีคือ เราไม่มีการเตรียมการรับมือหายนะต่างๆ อย่างจริงจังเลย หลังสึนามิ เราเห่อกันพักหนึ่ง แต่พอมีการอพยพที่ภูเก็ตไม่กี่วันก่อน  คนที่อยู่ในเหตุการณ์บอกว่าค่อนข้างวุ่นวาย
คนแห่กันขับรถหนีขึ้นเขา รถติดกัน ไปไหนไม่ได้ หนีไปแล้วก็ไม่รู้ต้องอยู่บนเขานานถึงเมื่อไหร่  น้ำอาหารก็ไม่มี  โปรศัพท์ก็ช่องสัญญาณเต็ม เจ้าหน้าที่ก็ไม่มีฯลฯ
เราไม่มีการซักซ้อม เตรียมการกันแบบจริงๆ จัง แผนรับมือมีไว้เก็บใส่แฟ้ม แต่ไม่ซ้อม  ไม่ประเมินการซ้อมอย่างจริงๆ จังๆ  
ขนาดจะตัดสัญญาณถ่ายทอด TV ยังไม่มีคนกล้ารับผิดชอบเลย   ดังนั้น ภัยพิบัติของจริงมาเมื่อไหร่ การรับมือก็จะมั่วๆ ซั่วๆ เหมือนเดิม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 19:33

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 23 เม.ย. 12, 21:45

ตอนนี้ ข่าวแผ่นดินไหว ซึนามิจะมา  เขื่อนจะแตก  ค่อยๆซาลงไปบ้างแล้ว  อาจเป็นเพราะยังไม่มีข่าวใหม่ที่แสดงว่าคำทำนายทั้งหลายจะเป็นจริง
หรือไม่ก็ท่านผู้ว่าฯภูเก็ตเอาจริง 
พ้น 28 เมษายน  ข่าวคงจะเงียบไปเองค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 24 เม.ย. 12, 21:24

แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ลมพายุ น้ำท่วม ซึนามิ คลื่นยักษ์ ดินโคลนถล่ม เหล่านี้ เป็นเหตุการณ์ในธรรมชาติ ซึ่งหากมีขนาดและกำลังแรงก็จะเกิดเป็นภัยพิบัติต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์

เราจัดให้เหตุการณ์เหล่านี้เป็นภัยจากธรรมชาติ (Natural hazard) ซึ่งภาษาทางราชการเรียกว่า พิบัติภัยทางธรรมชาติ (ฮืม) เหตุการณ์ทางธรรมชาติเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องสร้างให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเสมอไป แต่เมื่อใดที่มันมีความรุนแรงมากพอหรือสร้างให้เกิดความเสียหายต่อหลายๆชีวิต ทัพย์สิน และชุมชน ภัยธรรมชาติเหล่านี้ก็จะเป็นภัยที่สร้างความหายนะ (Natural disaster) ซึ่งภาษาทางราชการเรียกว่า ภัยพิบัติจากธรรมชาติ (ฮืม)

(ไม่ทราบว่าใช้ศัพท์ภาษาไทยถูกหรือไม่ เห็นมีใช้ทั้งสองคำ แถมยังตัดคำว่าธรรมชาติทิ้งไปอีกด้วย)

ภัยจากการกระทำของธรรมชาติเหล่านี้ บางอย่างเราก็พอจะกำหนดช่วงเวลาที่มันจะเกิดขึ้นได้ค่อนข้างจะแม่นยำ (คือใกล้เคียงมากที่สุด) หรือสามารถคาดได้ว่ามันจะต้องเกิดขึ้น เมื่อได้มีการติดตามวัดและทราบค่าในเชิงของปริมาณและคุณภาพบางอย่างที่เปลี่ยนไปจากเดิมจนถึงขีดจำกัดสูงสุดของคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุของพื้นที่นั้นๆ
โดยความเป็นจริงก็คือ เราไม่สามารถห้ามธรรมชาติหรือดำเนินการใดๆเพิ่อป้องกันมิให้มันเกิดขึ้นได้ เราทำได้เพียงการลดขนาดและระดับความรุนแรงของมันที่จะมีผลกระทบต่อเรา ซึ่งโดยนัยก็คือ การลดระดับความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินให้มีเกิดขึ้นน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

โดยสรุป เราพยายามทำให้สภาพของภัย (Hazard) กลายไปเป็นสภาพของหายะนะ Disaster ให้ได้น้อยที่สุด  ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า Natural hazard mitigation หรือเรียกสั้นๆกันว่า Mitigation
ไม่ทราบจะแปลเป็นคำไทยที่ถูกต้องอย่างไรดี หลายคนแปลว่าบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งคำนี้ถูกใช้มานานมากจนกลายเป็นกิจกรรมที่ไปเน้นอยู่ในเรื่องของการกู้ภัย (Salvation) และยังแยกออกไปจากการกู้ชีพ (Rescue หรือ Life saving) อีกด้วย

Mitigation เป็นเรื่องของการเตรียมการและการกระทำก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ใดๆ เนื่องจากรู้อยู่แล้วว่าเหตุการณ์มันจะต้องเกิดขึ้นไม่วันใดก็วันหนึ่งแน่นอน ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะต้องมีความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินน้อยที่สุดทั้งในเชิงของบุคคลและสาธารณะชนส่วนรวม

ภาพที่คุญเพ็ญชมพูนำมาแสดงเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดแผ่นดินไหวของญี่ปุ่นนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งน้อยนิดในเรื่องของ Mitigation

ผมจะค่อยๆเล่าขยายความไปเรื่อยๆนะครับ รัฐบาลและราชการยังไม่ขยับในเรื่องนี้เลย (คุยกันตั้งแต่ 27 โน่น) เราขยับตัวเราเองก็ได้ครับ

แล้วก็ต้องขออภัยที่จะขอใช้คำภาษาอังกฤษจนกว่าจะนึกคำที่เหมาะสมได้นะครับ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 24 เม.ย. 12, 21:51

ไม่ทราบเหมือนกันว่า Mitigation มีศัพท์บัญญัติว่าอะไร  แต่ถ้าแปลอย่างธรรมดาก็แปลว่าการบรรเทา
Natural hazard mitigation น่าจะแปลว่า การบรรเทาพิบัติภัยทางธรรมชาติ     ยาวเอาการเหมือนกันค่ะ   
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 25 เม.ย. 12, 13:39

เอารูปมาฝากให้ดูค่ะ

http://www.pantip.com/cafe/news/topic/NE12005489/NE12005489.html



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 25 เม.ย. 12, 14:57

ขออนุญาตเข้าซอยพิบัติภัยทางธรรมชาติ

แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ลมพายุ น้ำท่วม ซึนามิ คลื่นยักษ์ ดินโคลนถล่ม เหล่านี้ เป็นเหตุการณ์ในธรรมชาติ ซึ่งหากมีขนาดและกำลังแรงก็จะเกิดเป็นภัยพิบัติต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์

เราจัดให้เหตุการณ์เหล่านี้เป็นภัยจากธรรมชาติ (Natural hazard) ซึ่งภาษาทางราชการเรียกว่า พิบัติภัยทางธรรมชาติ (ฮืม) เหตุการณ์ทางธรรมชาติเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องสร้างให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเสมอไป แต่เมื่อใดที่มันมีความรุนแรงมากพอหรือสร้างให้เกิดความเสียหายต่อหลายๆชีวิต ทัพย์สิน และชุมชน ภัยธรรมชาติเหล่านี้ก็จะเป็นภัยที่สร้างความหายนะ (Natural disaster) ซึ่งภาษาทางราชการเรียกว่า ภัยพิบัติจากธรรมชาติ (ฮืม)

(ไม่ทราบว่าใช้ศัพท์ภาษาไทยถูกหรือไม่ เห็นมีใช้ทั้งสองคำ แถมยังตัดคำว่าธรรมชาติทิ้งไปอีกด้วย)

ตอนเช้านี้ดูข่าวทางโทรทัศน์ รู้จักกับพิบัติภัยทางธรรมชาติเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งคือ "แผ่นดินลุกเป็นไฟ" (ความหมายตามตัวอักษร มิใช่สำนวน)

เนื้อข่าวว่าเกิดที่นครไทย พิษณุโลก



นักธรณีวิทยามีความเห็นว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรหนอ

 ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 25 เม.ย. 12, 15:45

http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/357451.html

"พิษณุโลกเกิดไฟระอุใต้พื้นดินลวกชาวบ้าน-สัตว์เลี้ยง"

พิษณุโลก 25 เม.ย.-เกิดปรากฏการณ์ไฟระอุใต้พื้นดินที่ อ.นครไทย จ.พิษณุโลก กินพื้นที่ 100 ตารางวา ทำให้ชาวบ้านถูกไฟลวกเท้า และสัตว์เลี้ยงล้มตาย
ก่อนนักธรณีวิทยาจะมา   ขอถามนักวิทยาศาสตร์ก่อนก็ได้ค่ะ ว่าเป็นไปได้ไหม

เจ้าหน้าที่ป้องกันและป้องกันสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก และเจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 เข้าตรวจสอบบริเวณหมู่ 9 บ้านเนินตาโนน ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก จุดที่เกิดไฟระอุอยู่ใต้พื้นดินกินพื้นที่กว้าง 100 ตารางวา ริมถนนสายนครไทย-ด่านซ้าย พบซากสุนัขถูกไฟคลอกจนไหม้เกรียม และพบรอยแยกของพื้นดินความลึก 50 เซนติดเมตร ถึง 1 เมตร เมื่อนำเศษไม้และกระดาษโยนลงไปเกิดไฟลุกไหม้ทันที นอกจากนี้ ยังมีชาวบ้าน 3 คน ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากถูกไฟลวกที่ฝ่าเท้า วัวตาย 1 ตัว รวมทั้งสุนัขและแมว

สำหรับพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นโรงเลื่อย คาดว่าขี้เลื่อยที่ทับถมกันมานาน ประกอบกับอุณหภูมิโลกสูงขึ้น อาจทำให้เกิดการปฏิกิริยาสันดาปจากคลื่นความร้อนกระทบกับขี้เลื่อย จนเกิดประกายไฟ

ล่าสุด เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกะท้าวได้นำเชือกมาล้อมกันพื้นที่ พร้อมเขียนป้ายห้ามเข้าเขตอันตราย และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาพิสูจน์ถึงสาเหตุของการเกิดไฟระอุใต้พื้นดินครั้งนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 25 เม.ย. 12, 17:26

จบเรื่องแผ่นดินไหว  สื่อได้ข่าวใหม่มาให้ตื่นเต้นอีกแล้ว

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1335334418&grpid=03&catid=03


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 25 เม.ย. 12, 17:35

ข้อมูลเพิ่มเติม

เบื้องต้นจากการสอบถามและซักประวัติพื้นที่ทราบว่า ที่เกิดเหตุในช่วงฤดูน้ำหลากจะถูกน้ำท่วมเป็นประจำเนื่องจากอยู่ติดกับแม่น้ำห่างออกไปประมาณ ๑๐๐ เมตร และทุกครั้งที่น้ำท่วมจะมีดินตะกอนทับถมสะสมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และย้อนกลับไป เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ณ จุดดังกล่าวเคยเป็นโรงเลื่อยทำไม้ซึ่งชาวบ้านยังเคยใช้เป็นพื้นที่เผาถ่านด้วยบางครั้ง

 ขยิบตา

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 25 เม.ย. 12, 19:43

เนื่องจากๆไม่เห็นพื่นที่จริง ก็ต้องประมวลจากข้อมูลเท่าที่มี มีความเห็นพอจะอธิบายได้ ดังนี้

ชื่อตำบล คือ หนองกะท้าว แสดงว่าเดิมพื้นที่นั้นเป็นหนองน้ำ ตอนนี้รู้แล้วว่าสถานที่นั้นอยู่ห่างจากแม่น้ำประมาณ 100 เมตร ก็บอกต่อได้อีกว่าเป็นพื้นที่ๆเรียกว่า Back swamp ซึ่งเมื่อน้ำมากก็จะท่วมถึงและขังอยู่ น่าจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ตะกอนดินทรายที่มากับน้ำจะเป็นพวกเนื้อละเอียดไหลมาตกตะกอนเป็นโคลนตม พื้นที่ลักษณะนี้จะมีวัชพืชน้ำขึ้นอยู่หนาแน่น ทั้งในหนองน้ำและรอบๆชายขอบของหนองน้ำ ข้อมูลอีกอย่างหนึ่ง คือ เคยเป็นที่ตั้งโรงเลื่อยเก่า และทำกิจการต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควร จึงมีขี้เลื่อยและเปลือกไม้เป็นกากขยะสะสมอยู่ไม่น้อย และก็คงจะมีไม่น้อยที่ไหลเทลงไปสะสมอยู่ในที่ลุ่มชื้นแฉะ

สรุปเป็นภาพได้ว่า มีขี้เลื่อย เปลือกไม้และเศษวัชพืชเน่าเปื่อยปะปนกันอยู่ ซึ่งทั้งหมดนี้คลุกเคล้าผสมกับดินโคลน ลักษณะการสะสมก็น่าจะพอแบ่งออกเป็นลักษณะของการสลับกันเป็นชั้นๆระหว่างชั้นที่เป็นดินโคลนผสมอยู่มากกับชั้นที่มีขี้เลื่อยปะปนอยู่มาก

จากภาพนี้ อะไรจะเกิดขึ้นได้บ้าง
ในส่วนที่ลึกจากผิวดินที่มีชั้นโคลนดินปิดทับอยู่ด้านบนนี้จะขาดอากาศ พวกจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลาย (กัดกิน) อินทรีย์วัตถุจะเป็นพวก Anaerobic bacteria ซึ่งก็คือเป็นพวกที่ไม่ต้องการออกซิเจนในอากาศในการดำรงชีพ พวกนี้จะกัดกินเนื้อไม้และใช้ออกซิเจนที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของสารอินทรีย์วัตถุ ซึ่งประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอน (Carbon) ไฮโดรเจน (Hydrogen) และออกซิเจน (Oxygen) เมื่อออกซิเจนถูกเอาไปใช้หมด สารอินทรีย์นั้นก็จะคงเหลือแค่ไฮโดรเจนกับคาร์บอน ที่เราเรียกกันว่าไฮโดรคาร์บอนนั่นแหละ (ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน) เกิดเป็นก๊าซมีเทน (Methane) สะสมอยู่ในรูพรุนในเนื้อดิน ซึ่งก๊าซนี้ติดไฟได้ง่าย 
นอกจากนั้นจุลินทรีย์พวกนี้ยังใช้ออกซิเจนจากสารประกอบซัลเฟต (SO4 อื่นๆอีกด้วย ซึ่งจะทำให้เหลือสารตกค้างเป็นพวก Ferrous sulfide ซึ่งคือแร่ชนิดหนึ่งที่มีส่วนประกอบหลักเป็นธาตุเหล็กกับกำมะถัน แต่ยังคงสะสมปนอยู่ในเนื้อของตะกอนดิน ทั้งหมดนี้คือสภาพของตะกอนที่แปรสภาพไป ในภาษาที่เรารูจักกันก็คือดินพรุ ในภาษาทางวิชาการเรียกว่า Peat bog หรือบางทีก็เรียกว่า Bog หรือ Bog swamp (ซึ่งโยงไปหากระทู้ของคุณเทาชมพู ว่าด้วยหลังคาแบบฝรั่ง ที่ยังไม่ได้กล่าวถึงบ้านที่สร้างในแถบทุ่งหญ้าแพรรี_Prairie_)   
ในส่วนใกล้ผิวดิน พวกจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุจะเป็นพวกใช้อากาศในการดำรงชีพ (Aerobic bacteria) พวกนี้มีชิวิตสุขสบายจึงกัดกินเฉพาะส่วนที่อ่อนของเนื้อไม้ คงเหลือแต่เซลลูโลส (Cellulose) ซึ่งเป็นโครงสร้างของเซลและเยื่อไม้ ทำให้เหลือเนื้อไม้ที่ยังทรงรูปเป็นท่อนไม้ กิ่งไม้อยู่

จะด้วยคนทิ้งก้นบุหรี่บนพื้นดิน ซึ่งจะไปจุดไฟเยื่อไม้เหล่านั้นแล้วพาลลามลึกลงไปถึงส่วนล่าง หรือจะเป็นเพราะอุณหภูมิสูงมากพอจนเกิดการสันดาบด้วยตัวเองของสารประกอบไวไฟในชั้นตะกอนที่ลึกลงส่วนไปก็ไม่ทราบได้ แต่ทั้งสองต้นเหตุนี้ก็จะไปทำให้เกิดไฟลามทุ่งอยู่ใต้ดิน ดังเช่นที่เกิดในพื้นที่ดินพรุทางภาคใต้ของไทยและที่เกิดในอินโดนีเซียจนส่งผลกระทบมาถึงมาเลเซียและไทย

ดับยากครับ และก็จะขยายวงพื้นที่ไปเรื่อยๆ มันคุอยู่ได้นานมาก

ต่ออีกหน่อยครับ ที่อธิบายมาก็คือกระบวนการเกิดถ่านหินอย่างง่ายๆ (ก่อนที่จะเกิดไฟใหม้ใต้ดิน)

 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.054 วินาที กับ 19 คำสั่ง