เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 11433 เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 12 เม.ย. 12, 09:41

ลองมาไล่เลียง เวลากันดูครับ

๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๔    ตราพระราชบัญญัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ รัตนวราภรณ์ (ฝ่ายหน้า)

๑๐ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๕     ตราพระราชบัญญัติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ รัตนวราภรณ์ ฝ่ายใน

๑๐ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๕     พระราชทาน ครื่องราชอิสริยาภรณ์ รัตนวราภรณ์ ฝ่ายใน แก่ พระวรราชชายาเธอ พระอิทรศักดิ์ศจี

๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕     พระราชทาน ครื่องราชอิสริยาภรณ์ รัตนวราภรณ์ ฝ่ายใน แก่ สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้า พระบรมราชเทวี


๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘     พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชนุภาพ ทรงเขียนคำนำ "ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม" พิมพ์ในงานฉลองพระชันสา พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒนากร



๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๘     พระราชทาน ครื่องราชอิสริยาภรณ์ รัตนวราภรณ์ ฝ่ายใน แก่ เจ้าจอมสุวัทนา

๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๘     พระบรมราชโองการว่าด้วยการออกพระนาม สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา
 
๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘     พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคต

๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘     สมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รัตนวราภรณ์ แก่ สมเด็จเจ้าฟ้า เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 12 เม.ย. 12, 09:44

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เจ้าจอมสุวัทนา (พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 12 เม.ย. 12, 09:46

ราชกิจจานุเบกษา เรื่อง สมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รัตนวราภรณ์ แก่ สมเด็จเจ้าฟ้า เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี)



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 12 เม.ย. 12, 09:54

หนังสือ "ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม" พ.ศ. ๒๔๖๘ พิมพ์ในงานฉลองพระชันสา พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒนากร ฉบับที่อยู่ที่ ตู้สมุด กองวรรณคดี (หอสมุดแห่งชาติ) มีการแทรกเพิ่มเติมไว้ด้วย แต่ไม่แน่ใจว่า เป็นลายมือเจ้าหน้าที่ หรือลายมือผู้ใด แต่น่าจะมาเขียนที่หลัง......

ผมสันนิษฐานว่า หมดหน้ากระดาษพอดี พระนามจึงตกไปกระมังครับ ..........



บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 12 เม.ย. 12, 09:57

ประกาศราชกิจจานุเบกษา คราว ท่านจอมพล ได้รับพระราชทาน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 12 เม.ย. 12, 10:29

หนังสือ "ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม" พ.ศ. ๒๔๖๘ พิมพ์ในงานฉลองพระชันสา พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี พิมพ์ที่โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒนากร ฉบับที่อยู่ที่ ตู้สมุด กองวรรณคดี (หอสมุดแห่งชาติ) มีการแทรกเพิ่มเติมไว้ด้วย แต่ไม่แน่ใจว่า เป็นลายมือเจ้าหน้าที่ หรือลายมือผู้ใด แต่น่าจะมาเขียนที่หลัง......

ผมสันนิษฐานว่า หมดหน้ากระดาษพอดี พระนามจึงตกไปกระมังครับ ..........

เฉพาะตอนที่ ๗ ที่ว่าด้วยเครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์นั้น  สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงพระนิพนธ์เล่าไว้ในคำนำหนังสือตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม หน้า (๒) ว่า

"การแต่งตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยามนี้  ยังมีความลำบาก
เกิดขึ้นอิกอย่างหนึ่ง  ด้วยในเวลาเมื่อกำลังแต่งนั้น  ผเอิญตัวข้าพเจ้า
เกิดอาการป่วยเจ็บ  จำต้องหยุดแต่งเสียหลายวัน  กำหนดงารก็จวน
วันเข้าทุกที  ถ้าไม่ได้อาศรัยวาน อำมาตย์เอก พระยานิวัทธอิศรวงศ์
(ม.ร.ว. กมล  นวรัตน ณอยุธยา) ช่วยแต่งตอนว่าด้วยเครื่องราช
อิศริยาภรณ์รัตนวราภรณ์   กับตอบอื่นๆ ซึ่งว่าด้วยเหรียญและเข็ม
ต่างๆ หนังสือนี้ก็อาจจะไม่สำเร็จทันงาร  ..."
(คงอักขรวิธีและวรรคตอนตามต้นฉบับ)

ความผิดพลาดนี้  เกิดจากอำมาตย์เอก พระยานิวัทธอิศรวงศ์ (ม.ร.ว. กมล  นวรัตน ณอยุธยา)
ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ โปรดให้เป็นผู้แต่งหนังสือตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม ต่อจากที่ทรงพระนิพนธืค้างอยู่
เพราะทรงประชวร  ให้จบเสร็จและส่งพิมพ์เป็นเล่ม ทันแจกในงานฉลองพระชันษาพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี  พระราชเทวี  
เป็นไปได้ว่า  เจ้าคุณนิวัทธอิศรวงศ์ อาจจะรีบเรียบเรียงเนื้อหาให้เสร็จ ไม่สามารถสำรวจตรวจทานรวบรวมข้อมูลได้ละเอียดถี่ถ้วนนัก
ทำให้ลืมลงพระนามสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ไป  

ส่วนที่ว่าหมดหน้ากระดาษนั้น ก็อาจเป็นไปได้  เพราะขึ้นหน้าต่อไป (๑๑๓) เป็นตอนที่ ๘  ว่าด้วยเครื่องราชฯ อันมีศักดิ์รามาธิบดี

ในฉบับที่หอสมุดแห่งชาติ ที่รอยเขียนเพิ่มพระนามสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิสจี  พระวรราชชายา ลงไป  อาจจะมาตรวจทราบภายหลัง
ที่พิมพ์หนังสือออกมาแล้ว   ว่าตกพระนามไป  จึงได้เขียนเติม  คาดว่าน่าจะเขียนเติมหลังจากพิมพ์เสร็จไม่นาน  มิฉะนั้น ถ้าเขียนล่ากว่าปี ๒๔๖๘
ก็น่าจะต้องลงพระนามพระเจ้าสุวัทนา  พระวรราชเทวี กับสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ ด้วย
อีกทั้งหนังสือนี้ก็พิมพ์ครั้งเดียว  แล้วไม่ได้พิมพ์อีกเลย   ทำให้ไม่ได้แก้ไขข้อมูลใหม่ให้ถูกต้องสมบูรณ์
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 12 เม.ย. 12, 11:17


ความผิดพลาดนี้  เกิดจากอำมาตย์เอก พระยานิวัทธอิศรวงศ์ (ม.ร.ว. กมล  นวรัตน ณอยุธยา)
ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ โปรดให้เป็นผู้แต่งหนังสือตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม ต่อจากที่ทรงพระนิพนธืค้างอยู่
เพราะทรงประชวร  ให้จบเสร็จและส่งพิมพ์เป็นเล่ม ทันแจกในงานฉลองพระชันษาพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี  พระราชเทวี 
เป็นไปได้ว่า  เจ้าคุณนิวัทธอิศรวงศ์ อาจจะรีบเรียบเรียงเนื้อหาให้เสร็จ ไม่สามารถสำรวจตรวจทานรวบรวมข้อมูลได้ละเอียดถี่ถ้วนนัก
ทำให้ลืมลงพระนามสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ไป 

ส่วนที่ว่าหมดหน้ากระดาษนั้น ก็อาจเป็นไปได้  เพราะขึ้นหน้าต่อไป (๑๑๓) เป็นตอนที่ ๘  ว่าด้วยเครื่องราชฯ อันมีศักดิ์รามาธิบดี

ในฉบับที่หอสมุดแห่งชาติ ที่รอยเขียนเพิ่มพระนามสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิสจี  พระวรราชชายา ลงไป  อาจจะมาตรวจทราบภายหลัง
ที่พิมพ์หนังสือออกมาแล้ว   ว่าตกพระนามไป  จึงได้เขียนเติม  คาดว่าน่าจะเขียนเติมหลังจากพิมพ์เสร็จไม่นาน  มิฉะนั้น ถ้าเขียนล่ากว่าปี ๒๔๖๘
ก็น่าจะต้องลงพระนามพระเจ้าสุวัทนา  พระวรราชเทวี กับสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ ด้วย
อีกทั้งหนังสือนี้ก็พิมพ์ครั้งเดียว  แล้วไม่ได้พิมพ์อีกเลย   ทำให้ไม่ได้แก้ไขข้อมูลใหม่ให้ถูกต้องสมบูรณ์


ท่านเจ้าคุณนิวัทธอิศรวงศ์ ท่านคงผิดพลาดไปจริง เพราะลองไปค้น ราชกิจจานุเบกษา ปรากฏว่า ประกาศพระราชทานฯ สมเด็จอินทรศักดิ์ศจี ประกาศลงที่ เล่ม ๓๙ น่า ๒๒๙๒ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๖๕

ส่วนประกาศเพิ่มเติมพระราชบัญญํติฯ นี้ ลงประกาศที่ เล่มที่ ๓๙ น่า ๓๐๒-๓๐๓  ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๖๕ แถมมีประกาศเพียง ๕ บรรทัด 

ท่านฯ คงตกไปจริงๆ ครับ.........

ผมสังเกตุว่า ลายมือที่เขียนลงในหนังสือ เล่มนี้ (ที่อยู่กับหอสมุดแห่งชาติ) มีส่วนคล้ายกับ ลายพระหัตถ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ แต่ไม่กล้ว ฟันธงครับ เพราะลายมือคนสมัยก่อน ก็คล้ายกันไปหมด (ข้าราชการสมัยนั้น ก็มักจะเขียนลายมือ เลียนแบบเจ้านายด้วยบ้าง) ฟันธงไป เดี๋ยวเรื่องถึงครูอังคณา ซ่ะเปล่า...... 
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 12 เม.ย. 12, 21:28

ลองมาไล่เลียง เวลากันดูครับ

๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘     สมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รัตนวราภรณ์ แก่ สมเด็จเจ้าฟ้า เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี


ขอกราบ ประทานอภัยครับ รีบพิมพ์ เพื่อไปทำธุระ อ่านหัว อ่านหางประกาศ สับสนอลหม่าน....  มาอ่านก็ตกใจ ว่าจะสมโภชเดือนได้อย่างไร เพราะพระชันษา ยังไม่ถึงสัปดาห์ ดีที่คุณ luanglek ท่านช่างสังเกตุ ช่วยกรุณาสะกิดแจ้ง

สมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รัตนวราภรณ์ แก่ สมเด็จเจ้าฟ้า เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ต้องเป็นวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๔๖๘

ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา อ้างอิง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 14 เม.ย. 12, 15:40


ขอกราบ ประทานอภัยครับ รีบพิมพ์ เพื่อไปทำธุระ อ่านหัว อ่านหางประกาศ สับสนอลหม่าน....  มาอ่านก็ตกใจ ว่าจะสมโภชเดือนได้อย่างไร เพราะพระชันษา ยังไม่ถึงสัปดาห์ ดีที่คุณ luanglek ท่านช่างสังเกตุ ช่วยกรุณาสะกิดแจ้ง

สมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ รัตนวราภรณ์ แก่ สมเด็จเจ้าฟ้า เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ต้องเป็นวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๔๖๘

ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา อ้างอิง

ก็ยังไม่ถูกอยู่ดีครับ  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์แก่สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๔๖๘

ข้อความในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๔๒ หน้า ๓๐๙๔-๓๐๙๖ มีดังนี้

การสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่เจ้าฟ้าพระราชธิดา
ในพระบาทสมเด็จพระมงกูฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูตอ
เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๘
ที่ในพระบรมมหาราชวัง

วันที่ ๒๙ ธันวาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๘  เจ้าพนักงาน
ได้ตกแต่งตั้งโต๊ะหมู่ทองณพระที่นั่งเทพยสถานพิลาส เชิญพระ
ไชยเนาวโลหะรัชกาลที่ ๖ ประดิษฐานพร้อมด้วยพระเต้าน้ำพระ
พุทธมนตร์ และเครื่องเจริญพระเกษา  ตั้งพระเบญจาพระอู่
สิ่งต่างๆ เข้าพิธีไว้พร้อม  เวลา ๔ นาฬิกาหลังเที่ยงเศษ เจ้า
พนักงานสังฆการีได้อาราธนาพระสงฆ์ ๑๐ รูป  มีพระเจเาวรวงศ์
เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์  สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเปน
ประธานเจริญพระพุทธมนตร์

วันที่ ๓๐ ธันวาคม เวลา ๗ นาฬิกา ๓๕ นาที ๔๓ วินาทีเปน
ประถมพระฤกษ์ ถึงเวลา ๘ นาฬิกา ๕ นาที ๔๓ วินาทีก่อนเที่ยง
เปนที่สุดพระฤกษ์  เวลาถึงพระฤกษ์  สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้า
พระบรมราชเทวี เสด็จทรงเปนประธานพระราชทานน้ำพระสังข์
ภูษามาลาพระยาอุไทยธรรมเจริญพระเกษา  พนักงานประโคม
ฆ้องไชยแตรสังข์เครื่องดุริยางค์  กรมแสงในขับไม้บัณเฑาะว์
พราหมณ์ทำพิธีน้ำสรงในพระขันสาคร  เมื่อเสร็จการเจริญพระ
เกษาแล้ว  เลี้ยงอาหารบิณฑบาตแก่พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธ
มนตร์วานนี้เสร็จแล้ว

เวลา ๒ นาฬิกา ๓๗ นาที ๔๓ วินาทีหลังเที่ยง เปนประถม
พระฤกษ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับพระที่นั่งเทพยสถาน
พิลาส ทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนตร์ในพระเต้าลงในพระขันสาคร
ที่สำหรับสรง  พระราชครูวามเทพมุนีพราหมณืพิธี เชิญเจ้าฟ้า
พระราชธิดาลงสรงในพระขันสาครเสร็จแล้วเชิญขึ้น  เจ้าคุณ
พระประยุรวงศ์เชิญอุ้มไว้  พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช
และดับเทียนแล้วถวายเจิม  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน
หลั่งน้ำพระมหาสังข์จรงเจิมแล้ว  เจ้าคุณพระประยุรวงศ์เชิญ
ลงสู่พระอู่ภายใต้พระเบญจา  พราหมณ์กล่าวเปิดไกรลาศและ
ปิดไกรลาศถวายกล่อมแล้ว  ภูษามาลาขับไม้ถวายกล่อมอีก
ครั้ง ๑ แล้ว  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระนามโดยพระราชหัดถเลขาผนึกไว้ที่ทองคำรูป
แผ่นอิฐหนัก ๑๐๘ บาท ๕๖ กล่ำว่า  สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตน
ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี  และพระราชทานตรารัตนวราภรณ์
ฝ่ายใน
  กับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๖ ชั้นที่ ๑
แด่สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสร็จแล้ว
เสด็จขึ้น เปนเสร็จการ


วันที่ ๒๙ ธันวาคม เป็นวันเตรียมการพระราชพิธี ยังไม่ใช่วันประกอบพระราชพิธี
วันประกอบพระราชพิธี คือ วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๔๖๘  ทั้งนี้ได้ตรวจสอบกับจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน
รัชกาลที่ ๗ ภาคต้นแล้ว  ตรงกัน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 15 เม.ย. 12, 02:02

แก้ไขคำบางคำที่สะกดผิดพลาดไป


ข้อความในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๔๒ หน้า ๓๐๙๔-๓๐๙๖ มีดังนี้

การสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่เจ้าฟ้าพระราชธิดา
ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประสูติ
เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๘
ที่ในพระบรมมหาราชวัง

วันที่ ๒๙ ธันวาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๘  เจ้าพนักงาน
ได้ตกแต่งตั้งโต๊ะหมู่ทองณพระที่นั่งเทพยสถานพิลาส เชิญพระ
ไชยเนาวโลหะรัชกาลที่ ๖ ประดิษฐานพร้อมด้วยพระเต้าน้ำพระ
พุทธมนตร์ และเครื่องเจริญพระเกษา  ตั้งพระเบญจาพระอู่
สิ่งต่างๆ เข้าพิธีไว้พร้อม  เวลา ๔ นาฬิกาหลังเที่ยงเศษ เจ้า
พนักงานสังฆการีได้อาราธนาพระสงฆ์ ๑๐ รูป  มีพระเจ้าวรวงศ์
เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์  สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเปน
ประธานเจริญพระพุทธมนตร์

วันที่ ๓๐ ธันวาคม เวลา ๗ นาฬิกา ๓๕ นาที ๔๓ วินาทีเปน
ประถมพระฤกษ์ ถึงเวลา ๘ นาฬิกา ๕ นาที ๔๓ วินาทีก่อนเที่ยง
เปนที่สุดพระฤกษ์  เวลาถึงพระฤกษ์  สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้า
พระบรมราชเทวี เสด็จทรงเปนประธานพระราชทานน้ำพระสังข์
ภูษามาลาพระยาอุไทยธรรมเจริญพระเกษา  พนักงานประโคม
ฆ้องไชยแตรสังข์เครื่องดุริยางค์  กรมแสงในขับไม้บัณเฑาะว์
พราหมณ์ทำพิธีน้ำสรงในพระขันสาคร  เมื่อเสร็จการเจริญพระ
เกษาแล้ว  เลี้ยงอาหารบิณฑบาตแก่พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธ
มนตร์วานนี้เสร็จแล้ว

เวลา ๒ นาฬิกา ๓๗ นาที ๔๓ วินาทีหลังเที่ยง เปนประถม
พระฤกษ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับพระที่นั่งเทพยสถาน
พิลาส ทรงหลั่งน้ำพระพุทธมนตร์ในพระเต้าลงในพระขันสาคร
ที่สำหรับสรง  พระราชครูวามเทพมุนีพราหมณ์พิธี เชิญเจ้าฟ้า
พระราชธิดาลงสรงในพระขันสาครเสร็จแล้วเชิญขึ้น  เจ้าคุณ
พระประยุรวงศ์เชิญอุ้มไว้  พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช
และดับเทียนแล้วถวายเจิม  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน
หลั่งน้ำพระมหาสังข์ทรงเจิมแล้ว  เจ้าคุณพระประยุรวงศ์เชิญ
ลงสู่พระอู่ภายใต้พระเบญจา  พราหมณ์กล่าวเปิดไกรลาศและ
ปิดไกรลาศถวายกล่อมแล้ว  ภูษามาลาขับไม้ถวายกล่อมอีก
ครั้ง ๑ แล้ว  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานพระนามโดยพระราชหัดถเลขาผนึกไว้ที่ทองคำรูป
แผ่นอิฐหนัก ๑๐๘ บาท ๕๖ กล่ำว่า  สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตน
ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี  และพระราชทานตรารัตนวราภรณ์
ฝ่ายใน
  กับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ ๖ ชั้นที่ ๑
แด่สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสร็จแล้ว
เสด็จขึ้น เปนเสร็จการ


วันที่ ๒๙ ธันวาคม เป็นวันเตรียมการพระราชพิธี ยังไม่ใช่วันประกอบพระราชพิธี
วันประกอบพระราชพิธี คือ วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๔๖๘  ทั้งนี้ได้ตรวจสอบกับจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน
รัชกาลที่ ๗ ภาคต้นแล้ว  ตรงกัน
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 15 เม.ย. 12, 16:55

เหรียญรัตนวราภรณ์ องค์จำลอง สำหรับประดับกับชุดราตรีสโมสร ของฝ่ายหน้า 

เหรียญจริง เล็กย่อส่วนเหลือประมาณ นิ้วชี้ สูงไม่เกิน ๘ ซม. (ไม่ได้วัดขนาดมาด้วยซี) น่าจะเท่ากับรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน แต่ไม่ได้ประดับเพชร ของจริงแกะบล๊อก คม กริบบบบบ...... จับแล้วถึงเจ็บมือเพราะโดนคมตำ

เหรียญนี้ ของท่านผู้ใหญ่ นักสะสม เจ้าของชื่อซอยถนนสาทร ๑ ผู้ที่ผมเคารพนับถือ  กรุณาให้ถ่ายรูปไว้ เมื่อตอนงานพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ


บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 15 เม.ย. 12, 16:57

ที่ว่า เป็นตลับแก้วนั้น มีตลับอยู่ทั้ง องค์จริง และองค์จำลอง ลักษณะเป็นดังนี้ครับ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง