เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2721 อุเบกขา....อยู่ใน พระธรรม หัวข้ออะไรครับ
จมื่นฌองฌาค ล่ามโซ่
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 02 พ.ค. 01, 17:52

ได้ยิน คำว่า อุเบกขา มาจาก อ. ท่านหนึ่ง ซึ่งท่านก็ได้ สอน พระธรรม ในหมวดนี้อย่างละเอียด แต่ ผมไม่ดีเองจำไม่ได้ อยากจะขอความกรุณาจากท่านที่ทราบ อธิบาย ด้วยได้ไหมครับ ขอขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 เม.ย. 01, 23:50

เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
รู้สึกจะเรียกว่า  พรหมโลก๔
คุณสมบัติของพรหม ๔ประการ
บันทึกการเข้า
จมื่นฌองฌาค
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 เม.ย. 01, 00:29

ขอความกรุณาท่าน อธิบายความหมายด้วยได้ไหมครับ ขอขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
ชายต๊อง
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 เม.ย. 01, 07:50

อุเบกขา จัดอยู่ในหลัก พรหมวิหารสี่  ครับ  ตามที่ท่านผู้เฒ่าสอน พรหมวิหาร 4 ประกอบด้วย
1) เมตตา
2) กรุณา
3)มุทิตา
4)อุเบกขา
    เจ้าของกระทู้ถามเรื่องอุเบกขา ก็ขอขยายความเฉพาะอุเบกขานะครับ   ท่านผู้เฒ่าสอนเรื่องอุเบกขาดังนี้ครับ
   อุเบกขาหมายถึงการวางเฉย หรือการไม่ยินดียินร้าย
การวางเฉยในการนำไปปฏิบัติคือ  ถ้าหากว่าเราเจอกับเหตุการณ์ที่ต้องช่วยเหลือหรือสงเคราะห์บุคคลอื่นแต่มันสุดวิสัยที่เราจะช่วยได้  เราก็ต้องวางเฉย คือใจอาจคิดสงเคราะห์เพราะอาศัยพหรมวิหาร 4    3ข้อแรกเป็นพื้นฐาน     ในเมื่อไม่สามารถจะช่วยเหลือบุคคลนั้นได้ เราก็ต้องทำใจวางเฉย ไม่ทำใจให้ทุกข์จากการที่เราช่วยเขาไม่ได้ เพราะถือว่าสิ่งที่เขาประสบนั้นเป็นกฎของกรรมที่เขาต้องได้รับ ซึ่งตามธรรมดาของโลกแล้วกฎแห่งกรรมไม่มีใครจะหลีกเลี่ยงได้    
  ตัวอย่างเช่น   เรามีเงินอยู่ 3 บาท   มีคนที่เดือดร้อนมากต้องการยืมเงินเราห้าบาท    ถ้าเราให้ 3 บาทไปแล้วเราไม่เดือดร้อนอะไรก็ให้เขาไป แต่ถ้าเราให้ไปแล้วเราอดกินข้าว เราไม่ต้องให้(การให้ทานพระพุทธเจ้าท่านก็สอนไว้ครับว่าการให้แบบไหนถือว่าสมควร หรือไม่สมควร)   แต่เราไม่ต้องไปทุกข์ใจกับการที่เราไม่ได้ช่วยเขา ถ้าเราทุกข์ใจ จิตก็เศร้าหมอง เป็นการวางอารมณ์ไม่ตรงกับหลักของอุเบกขา   ก็ทำใจให้วางเฉยเสียเพราะมันสุดวิสัยที่เราจะช่วยเขาได้
  หวังว่าคุณคงจะเข้าใจนะครับ ผมจะลองไปค้นบันทึกของท่านผู้เฒ่าดูซึ่งละเอียดกว่าที่ผมจำได้มาก
บันทึกการเข้า
จมื่นฌองฌาค
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 เม.ย. 01, 18:10

ขอขอบพระคุณมากนะครับ คุณชายต๊อง (มรว.ต็อง -- แม่เรียกว่าต็อง 5 5 5 ล้อเล่นนะครับ ) แล้ว มุทิตา แปลว่าอะไรหรือครับ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 เม.ย. 01, 22:38

ท่านอาจารย์ท่านหนึ่ง เข้าใจว่าจะเป็นท่านเจ้าคุณธรรมปิฎก แต่ไม่แน่ใจ อธิบายไว้คล้ายๆ กับท่านผู้เฒ่าของชายต๊องครับว่า อุเบกขาเป็นเหมือนเบรค ในยามที่ไม่สมควรใช้เมตตากรุณามุทิตา 3 ข้อแรก เพราะถ้ามีแต่เมตตากรุณา ก็อาจจะเกิดฉันทาคติได้

พรหม หรือผู้เป็นใหญ่ นอกจากเมตตากรุณาแล้ว ต้องยุติธรรมด้วย ถ้าใครผิดก็ต้องว่าไปตามผิด จะเมตตากรุณาดะไปก็เสียผู้ใหญ่ ยกตัวอย่างเช่นเราเลี้ยงเด็ก เขาทำผิด เขาต้องรับกรรมของเขา เขาจะได้เรียนรู้ ดีกว่าโอ๋เลยเถิดไป จนเสียเด็ก อุเบกขานอกจากแปลว่าวางเฉยแล้ว ยังแปลว่าวางใจให้เป็นกลาง ให้เที่ยงธรรมตามที่ควรจะเป็น ด้วย และหมายรวมไปถึงการที่ชายต๊องบอก คือรักษาพื้นอารมณ์ให้เป็นปกติ ไม่ให้จิตเศร้าหมองด้วย

มุทิตาที่ถามมา แปลว่าความพลอยยินดีในความได้ดีของคนอื่น เป็นเครื่องกำจัดความอิจฉาครับ เห็นคนอื่นเขาได้ดีเราก็พลอยยินดีกับเขาด้วยไม่ริษยาเขา เรียกว่า มุทิตา

เมตตา คือ อยากให้คนอื่นมีความสุข
กรุณา คือ เห็นคนเขาทุกข์อยู่ อยากช่วยให้เขาพ้นจากทุกข์
มุทิตา คือ เห็นคนเขามีความสุขอยู่แล้วก็ไม่อิจฉาเขา ยินดีไปกับเขาด้วย
อุเบกขาคือ เห็นคนที่เขาทุกข์ ถ้าไม่ใช่เรื่องที่จะสงเคราะห์ด้วยกรุณาได้ ก็ต้องเบรคใจตัวเอง หรือพิจารณาเรื่องราวต่างๆ อย่างเป็นกลาง อย่างไม่ใส่อารมณ์เกินไป

ธรรมะของพระพุทธเจ้ามีลักษณะที่น่าทึ่งคือ ท่านจัดหมวดไว้สมดุลครับ ไปดูเถอะ ทุกหมวดธรรม มันจะมีข้อต่างๆ กำกับกันเองอยู่เสมอไม่ให้หนักไปทางไหนเกินไป
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 พ.ค. 01, 08:45

จําผิด  :-)
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 03 พ.ค. 01, 05:00

ผมว่า มุทิตาเป็นธรรมที่คนไทยน่าจะเจริญให้มากๆ นะครับ จะได้เลิกพูดว่า "จงทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน"  กันเสียที
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 03 พ.ค. 01, 05:52

สาธุ เห็นด้วยกับหลวงปู่ เอ๊ย คุณ นกข มากเลยค่ะ  คิดว่านอกจากจะเป็นข้อควรเจริญในทางธรรมแล้ว  ยังเป็นทางเจริญของสังคมด้วยค่ะ  เพราะเป็นการผันพลังงานของคนในสังคมไปในทางสร้างสรรค์  ดีกว่าจะเอามาใช้ในทางที่ไม่สร้างสรรค์ เช่น เลื่อยขา เจาะยาง ค่อนแคะกระแนะกระแหน กันจนเป็นที่น่าเสียดายในความสูญเปล่าทางปัญญาเหล่านี้จริงๆด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.056 วินาที กับ 19 คำสั่ง